Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > คู่มือประยุกต์การเรียนรู้โดยใช้ปัยหาเป็นฐาน

คู่มือประยุกต์การเรียนรู้โดยใช้ปัยหาเป็นฐาน

พิมพ์ PDF

เครื่องมือสำหรับใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ หรือการจัดการความรู้ในองค์กร มีมากมาย ที่องค์กรสามารถคัดเลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้ เครื่องมือที่ง่ายและใช้กันทั่วไปอย่างหนึ่งคือ วงจรเดมมิ่ง ที่เราเรียกว่า PDCA สามารถนำมาใช้ยกระดับคุณภาพงานทีละเล็กทีละน้อยเป็นวงจรต่อเนื่อง และพนักงานสั่งสมความรู้และการเรียนรู้ต่อเนื่อง จนถึงจุดหนึ่งเกิดการยกระดับการทำงานในลักษณะที่จัดว่าเป็นนวัตกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับวงจรเดมมิ่ง เป็นส่วนของกันและกัน

 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 596. KM ใน ธกส.

ผศ. ดร. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ขอให้ผมเขียนคำนิยม หนังสือที่จัดทำให้แก่โครงการ KM ธกส.  จึงนำมาเผยแพร่ ดังต่อไปนี้

คำนิยม

คู่มือประยุกต์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

ในงานประจำของการประกอบธุรกรรม : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

วิจารณ์​พานิช

ผมตีความว่า หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นสำหรับใช้เป็นคู่มือการดำเนินการจัดการความรู้ หรือเรียนรู้ ต่อเนื่องภายในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ที่เจ้าหน้าที่ของ ธกส. ดำเนินการกันเอง หลังจากโครงการฝึกอบรมโดยทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จบสิ้นลง

ขั้นตอนการฝึกอบรมเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางไกล หรือการดำเนินการจัดการความรู้ จากการทำงานประจำ ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นวงจรที่ไม่มีจุดจบสิ้น  จึงจะได้ประโยชน์แท้จริง  ดังนั้นการทำหนังสือคู่มือสำหรับช่วยเป็น Knowledge Assets ที่จะใช้ต่อยอดการดำเนินการ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ผมเข้าใจว่า หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะของการสังเคราะห์ความรู้ที่เป็นทั้งความรู้เชิงทฤษฎี (Explicit Knowledge) และความรู้จากการปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ที่ได้จากโครงการฝึกอบรมฯ

โครงการฝึกอบรมนี้ เน้น “การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน”  และได้สรุปไว้อย่างชัดเจน (น. ๓๐) ว่า ความสามารถในการตั้งคำถามที่ท้าทาย มีความสำคัญอย่างยิ่ง   และที่จริงข้อความในหนังสือ ระบุการเรียนรู้จากความสำเร็จด้วย  เนื่องจาก ธกส. เป็นหน่วยงานที่มีสาขาจำนวนมาก ที่ทำงานเดียวกัน แต่อยู่ต่างพื้นที่   ซึ่งมีบริบทแตกต่างกัน  สาขาหนึ่งอาจแก้ปัญหา ก ลุล่วงด้วยดี  ในขณะที่อีกสาขาหนึ่งยังมีปัญหาที่แก้ไม่ตก  การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสาขาที่แก้ปัญหา ก ได้ดี กับสาขาที่ยังมีปัญหา จะเป็นประโยชน์ต่อ ธกส. ในภาพรวมอย่างยิ่ง  และความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้สามารถจดบันทึกไว้เป็น Knowledge Assets ไว้ใช้งานใน ธกส. ทั้งหน่วยงาน ได้ต่อไป  ดังที่ผู้เขียนได้เขียนไว้เป็นกรณีตัวอย่างในภาคผนวก

ผลจากการฝึกอบรมครั้งนี้ ทั้งที่เป็นทักษะ/ความรู้ ติดตัวพนักงานที่เข้ารับการอบรม  และที่เป็นหนังสือคู่มือเล่มนี้  น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  ในการส่งเสริมให้พนักงานของ ธกส. ดำเนินการเรียนรู้และพัฒนางานประจำของตน  โดยการรวมตัวกันเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน  โดยควรจัดให้มี “พื้นที่” สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งที่เป็นพื้นที่จริง (เช่น ตลาดนัดความรู้)  และพื้นที่เสมือน (virtual space) คือพื้นที่ใน cyberspace ซึ่งมีหลากหลายเครื่องมือ  และที่ใช้งานง่ายที่สุดในปัจจุบันคือ social media

เครื่องมือสำหรับใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ หรือการจัดการความรู้ในองค์กร มีมากมาย  ที่องค์กรสามารถคัดเลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้  เครื่องมือที่ง่ายและใช้กันทั่วไปอย่างหนึ่งคือ วงจรเดมมิ่ง ที่เราเรียกว่า PDCA  สามารถนำมาใช้ยกระดับคุณภาพงานทีละเล็กทีละน้อยเป็นวงจรต่อเนื่อง  และพนักงานสั่งสมความรู้และการเรียนรู้ต่อเนื่อง  จนถึงจุดหนึ่งเกิดการยกระดับการทำงานในลักษณะที่จัดว่าเป็นนวัตกรรม  การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับวงจรเดมมิ่ง เป็นส่วนของกันและกัน

ผมขอแสดงความชื่นชมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และทีมวิทยากร คือ รศ. นพ. ทวีศักดิ์ นพเกษร และ ผศ. ดร. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ  ที่ร่วมกันดำเนินการโครงการประยุกต์การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  และขออำนวยพรให้การดำเนินการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การดำเนินการต่อยอด จัดการความรู้ สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/537220

 
Home > Articles > การศึกษา > คู่มือประยุกต์การเรียนรู้โดยใช้ปัยหาเป็นฐาน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8600152

facebook

Twitter


บทความเก่า