Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ โดย ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ โดย ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก

พิมพ์ PDF

หลักการและเหตุผล

ธุรกิจบริการไม่ต่างจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ เพราะปัจจัยมนุษย์มีความสำคัญสูงในการให้บริการ ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญเท่านั้น หากยังต้องการความรับผิดชอบ ความสามารถในการบริการและการมีคุณธรรมและจริยธรรม มนุษย์หรือบุคลากรจึงต้องมีการลงทุนด้านการศึกษาและพัฒนาในการเพิ่มทักษะให้ตนเอง การพัฒนาดังกล่าว ต้องอาศัยทุนทั้งที่เป็นของตัวเองหรือได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ดังนั้น เราจึงพบว่ามนุษย์มักได้รับการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของตนหรือผู้ปกครองเป็นสำคัญ

การบริการการศึกษาในปัจจุบันแม้ว่ามีการให้บริการอย่างกว้างขวาง มีธุรกิจภาคการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความต้องการของมนุษย์ แต่สถานศึกษาส่วนมากเน้นการประกอบการทางธุรกิจเป็นสำคัญ ประกอบกับการให้การศึกษามักเป็นการผลิตแบบภาพรวมไม่ได้เน้นที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่าที่ควร และยังด้อยด้านการสร้างและพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพที่เหมาะสมอย่างแท้จริง ในขณะที่ภาคธุรกิจบริการมีความขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้านสูง และประสงค์จะให้มีการเตรียมและส่งเสริมแรงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับแรงงานที่ขาด

 

ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากไม่มีงานทำหรือทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนต่ำ ทั้งๆที่ภาคธุรกิจบริการขาดบุคลากรที่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับล่างทุกตำแหน่ง  รวมถึงพนักงานบริหารทุกระดับ ทำอย่างไรให้คนไทยที่ตกงานมีโอกาสได้รับการอบรมเพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของแรงงาน และให้พนักงานที่เข้าทำงานอยู่ในภาคธุรกิจบริการอยู่แล้วมีโอกาสพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของพนักงานเอง และให้ได้รายรับที่ยุติธรรมและพอเพียงต่อการยังชีพของตัวเองและครอบครัว

ภาคธุรกิจบริการต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ด้านจิตวิญญาณ และทักษะเฉพาะในแต่ละตำแหน่งงานมากกว่าความรู้ที่จบปริญญาตรี เช่น พนักงานทำความสะอาดห้องพักลูกค้าในโรงแรม พนักงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีใจรักในการทำงาน สนุกสนานและมีความพอใจในภารกิจที่จะต้องทำโดยไม่รังเกียจ มีความซื่อสัตย์ รู้ผิดรู้ชอบ พอใจในสิ่งที่ตัวมี ไม่ยึดเอาของคนอื่นมาเป็นของเราเอง มีทักษะในงานเฉพาะที่จะต้องทำ เป็นต้น จึงเป็นโอกาสดีที่ จะมีหน่วยงานให้บริการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ ซึ่ง โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ จะเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ที่ขาดโอกาสให้ได้เข้ารับการเรียนรู้และสร้างมูลค่าของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจบริการ ทำให้ภาคธุรกิจบริการมีบุคลากรที่มีมาตรฐานพอเพียงต่อการขยายตัวและการแข่งขันในระดับสากล ช่วยลดการว่างงานของประชาชนชาวไทย ช่วยส่งเสริมศักยภาพความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ผู้ประกอบการ

ดังนั้น บุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ร่วมก่อตั้ง ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ขึ้นเป็นชมรมที่จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการบริหารการพัฒนามนุษญ์ในทุกมิติ โดยไม่แสวงผลกำไร และมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาสังคมโดยรวม ชมรมจะได้รับพัฒนาองค์การให้เป็นมูลนิธิต่อไปในอนาคต

ชื่อองค์กร

“ศูนย์บูรณาการการพัฒนามนุษย์” (ศบม.)

“Integrated Human Development Center” (iHDC)

วัตถุประสงค์ของ ศบม.

๑.      เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งและยั่งยืนโดยการรวบรวมสมาชิกที่มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ และความต้องการสอดคล้องกับองค์กร

๒.    เป็นเวที (ศูนย์กลาง) ให้กับทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นสมาชิก เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมเป็นที่ต้องการของแรงงานเข้าทำงานในภาคธุรกิจบริการและภาคอื่นๆให้พอเพียงกับความต้องการ

๓.    เป็นศูนย์กลางในการศึกษาและวิจัย และรวบรวม พัฒนาฐานข้อมูลและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการแรงงานในภาคบริการ มาตรฐานของแต่ละแรงงาน ความเหมาะสมของรายได้ของแรงงานในแต่ละมาตรฐานแรงงาน

๔.    เป็นกลไกลในการจัดอบรม สัมมนา เสวนาในการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งให้การดำเนินการเอง และประสานงานให้หน่วยงานงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา

๑. ทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการและอื่นๆ (ประชาชนคนไทยที่ด้อยโอกาส)

๒. ผู้ประกอบการธุรกิจ (SMEs) และองค์กรร่วมของเอกชนที่เกี่ยวข้อง

๓. ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการและสวัสดิการสังคม

๔. สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการ

๕.ภาคชุมชนในรูปแบบกลุ่มต่างๆ

วิสัยทัศน์ของ ศบม.

พัฒนา ก้าวหน้า อยู่ดี มีสุข อย่างมั่นคง ตามหลักธรรมาภิบาล (ถูกต้อง ชอบธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ให้มีส่วนร่วม ฯ)

กรอบการดำเนินการของ ศบม.

ลักษณะภายในองค์กร

๑. เป็นองค์กรที่มีลักษณะเปิดกว้างทางความคิด (Open mind) รับฟังความคิดที่สร้างสรรค์ เลือกรับมาพัฒนา

๒.           เป็นอิสระ (Independence) เป็นตัวของตัวเอง

๓.           เป็นองค์ทางเลือกที่เป็นที่พึ่งได้ (Reliable) เป็นที่ยอมรับได้

๔.           กระชับ (compact) คล่องตัว (flexible)

๕.           เริ่มพัฒนา (Development by Action) ด้านใดที่พร้อมอย่างเป็นขั้นตอน

ภาพลักษณ์ต่อภายนอก

๑.             เป็นองค์กรที่ทำงานในเชิงสร้างสรรค์ (Creativity organization)

๒.           เป็นองค์กรของผู้รู้แบบมืออาชีพ (Professional) มีนักคิด นักปฏิบัติ

๓.           เป็นองค์กรที่สร้างพันธมิตร (Partnership) โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ

๔.           สร้างองค์กรให้เข้มแข็ง มีพลัง เพื่อพัฒนาคนและสังคม

๕.           เป็นองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องให้เกิดการบูรณาการ (Technology Innovation) และรายได้ต้องมาโดยชอบธรรม คืนกำไรกับสังคม (Corporate Social Responsibility)

๖.            เป็นองค์กรที่ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม (Win-Win)

๗.           เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Organization)

๘.           เป็นองค์กรแห่งภูมิปัญญา (Wisdom Organization)

แนวทางการดำเนินงานของ ศบม.

แนวทางการดำเนินงานของ ศบม. จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ เอกชน สมาชิก และผู้เสียสละเข้าร่วมโครงการ โดยมีความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการในรูปที่ 1


ศบม.

ภาครัฐ

(กก.   ททท.  สพท.)

ภาคเอกชน

(สภา สมาคม ชมรม ท่องเที่ยวฯ) สพท.)

แหล่งเงินทุน

วิชาการ

วิทยากร

Data & Knowledge Based

ผู้ประกอบการ

บุคคล

กลุ่มบุคคล

จัดฝึกอบรม

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ

หลักสูตร

ปชส.

ขอสนับสนุน

บริหารงานบุคคลธุรกิจบริการ

การจัดการ

การบริการ

เทคนิค

การบริการ

ประเมินผล

Certificate

ปชส.

สนับสนุน

ความต้องการ

ความต้องการ

Staffs

สมาชิกกลุ่ม

“Integrated Human Development Center”

Working for Experiences and Skills with Morals and Ethics

ส่วนบุคคล

รูปที่ 1  ผังแสดงความเชื่อมโยงทางความคิด กิจกรรม และกระบวนการทำงานของ ศบม.


๑. ภารกิจแรกในการเตรียมความพร้อมของ ศบม. คือการจัดทำ Data and Knowledge Based ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ (เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว) เอกชน (เช่นผู้ประกอบการ สภา สมาคม ชมรม ขิงธุรกิจภาคบริการ) สถาบันทางวิชาการ โดยปัจจัยที่ ศบม. ต้องรวบรวมคือ ความรู้ทางวิชาการที่จำเป็นสำหรับโครงการ ผู้รู้ที่เป็นวิทยากรให้โครงการได้ และแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม

๒.     ศบม. จัดหาสมาชิกที่เป็นองค์กรนิติบุคคล กลุ่มบุคคลและ ปัจเจกบุคคล ที่สนใจสนับสนุนโครงการทั้งที่เป็นส่วนผู้ให้และผู้รับ ทั้งนี้ ศบม. ต้องจัดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการในรูปของเอกสารเผยแพร่ การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซท์ของตนเองหรือพันธมิตร และการจัดกิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์ เป้นต้น เพื่อให้สมาชิกได้ทราบข้อมูลต่างๆอย่างทันท่วงที และขยายไปสู่ผู้ประกอบการและทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการต่างๆ

๓.      การจัดหลักสูตรการอบรมหรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เป็นภารกิจที่สำคัญนำไปสู่การผลิตผลผลิตที่ต้องการ หลักสูตรที่เหมาะสมได้จากการศึกษา วิจัย แลกเปลี่ยนในเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาความต้องการ (ที่เป็นอุปทานโครงการ) และความสามารถในการตอบสนอง (อุปสงค์ของโครงการ) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งได้สมาชิกเป้าหมาย การวิจัยดังกล่าวยังเป็นการพัฒนาและอัพเดท ฐานข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ใน ข้อ ๑ อีกด้วย

๔.     แนวทางพื้นฐานและหลักการการอบรมหรือกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ครอบคลุมบริหารงานบุคคลธุรกิจบริการ (สำหรับ SMEs ในการบริหารตนเอง) เทคนิคการบริการ (เช่น maid waiter & waitress, cook and assistance in kitchen เป็นต้น) และการจัดการการบริการ ศบม. คาดหวังว่าผู้ผ่านการอบรมจะได้การรับรองที่เหมาะสมเป็นประกาศนียบัตร หรือการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างหลักประกันการมีงานทำหรือการยกระดับการทำงานต่อไป

อนึ่ง สาระทางวิชาการที่ ศบม. จะจัดให้นั้นมีทั้งที่เป็นเรื่องราวทั่วไป (เน้นหลักการ หรือทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ) และเรื่องเฉพาะ (เน้นปฏิบัติมากกว่าหลักการหรือทฤษฎี) นอกจากนี้ ในอนาคตจะพัฒนาองค์ความรู้ในด้านอื่นๆ ที่จำเป็นนอกจากด้านวิชาชีพ เช่น ด้านการดำรงชีพ คุณธรรม จริยธรรม และสังคมสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

๕.     กลุ่มเป้าหมายในระยะแรกให้เน้นทรัพยากรมนุษย์ในสามกลุ่ม คือ กลุ่มพนักงานลูกจ้างของสถานประกอบการที่ธุรกิจบริการต้องการเพิ่มพูนความรู้หรือยกระดับขีดความสามารถ กลุ่มลูกจ้างที่เข้าสู่วงการใหม่ ที่ผู้ประกอบการรับสมัคร หรือบุคคลสนใจในการพัฒนาเรียนรู้ก่อนปฏิบัติงานจริงในรูปของการปฐมนิเทศ หรืออบรมภาคปฏิบัติก่อนการเริ่มทำงาน ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาตนเองก่อนหางานที่เหมาะสม

๖.การติดตามและประเมินผลเป็นกิจกรรมที่ต้องติดตามทบทวนเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข ให้โครงการมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การดำเนินงานของ ศบม. มี ๗ ขั้นตอนดังนี้

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2011 เวลา 16:07 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ โดย ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590480

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า