Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > เศรษฐกิจ > กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC

กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC

พิมพ์ PDF

มายาคติ

“ในปี พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบการอาเซียนจะสามารถ

เข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีกับผู้ประกอบการไทย

ในทุกสาขาบริการ”

ข้อเท็จจริง

1. กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC มิได้เป็น

ข้อผูกพันทางกฎหมายหากแต่เป็นเพียง“Roadmap”

เพื่อให้การเจรจาในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน

มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนต่างจากการเจรจาใน

อดีต

2. การเปิดเสรีภายใต้ AEC Roadmap มิใช่การเปิดเสรีที่

สมบูรณ์แบบเหมือน EU

การเจรจาด้านการค้าบริการในอาเซียน

 

1.การเจรจาการค้าบริการในอาเซียนซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS) ใช้รูปแบบ request/offer ซึ่งลอกเลียนมาจากการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการในองค์การการค้าโลก (GATS)

2.เป็นการเปิดเสรีตามความพร้อมของรัฐสมาชิกเนื่องจากการเปิดเสรีภายใต้ AFAS ไม่คืบหน้าจึงได้มีการกำหนด“Roadmap”ในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียนโดยมีการกำหนด“เป้าหมาย” และ“เงื่อนเวลา” ในการเปิดเสรีใน AEC Blueprint เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการเปิดเสรีตาม Roadmap ดังกล่าวประเทศสมาชิกจะต้องยื่นข้อผูกพันที่จะเปิดเสรีภาคบริการในการเจรจาใน AFAS 4 ครั้ง้ในปีค.ศ. 2009, 2011, 2015 และ 2016

 

เป้าหมายการเปิดเสรีภายใต้ AEC มีข้อจำกัด

1.กรอบการเปิดเสรีจำกัดเฉพาะ การเพิ่มสัดส่วนการถือหุุ้นของนักลงทุนอาเซียนในธุรกิจบริการไม่รวมกฎกติกาภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคกีดกันการแข่งขัน

2.กรอบแนวทางการเปิดเสรีให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกที่ไม่พร้อมที่จะดำเนินการตาม Roadmap ที่กำหนดไว้ใน AEC ทำให้การเปิดเสรีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

 

ข้อสรุป

1.ชาติสมาชิกอาเซียนมิได้เดินตาม“Roadmap” ของ AEC ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดอยู่แล้ว

2.ข้อเสนอการเปิดเสรีของไทยล่าสุดสะท้อนให้เห็นนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการสร้างฐานการผลิตอาเซียนที่มีการค้าบริการที่เสรีระหว่างกัน

3.ความเป็นไปได้ที่อาเซียนจะเปิดเสรีภาคบริการได้ตาม Roadmap ในปีพ.ศ. 2558 จึงมีน้อยมาก

ข้อมูลเบื้องต้นได้จากการนำเสนอ ของ                                                                                                                                                         ดร.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

และ ดร.วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี

 

 

 

ในงาน

สัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ของ

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

 

 

 

26 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 มิถุนายน 2556

 
Home > Articles > เศรษฐกิจ > กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559474

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า