Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > ท่องเที่ยว > เที่ยวสวิส

เที่ยวสวิส

พิมพ์ PDF

คืนวันที่ ๑๐ พ.ค. ๕๖ ผมนอนรวดเดียว ๗ ชั่วโมงเศษ ด้วยความช่วยเหลือของยานอนหลับ Lorazepam 0.5 mg.  ตื่นตีห้าเพราะนาฬิกาปลุก

พอ ๖ โมงเช้า ฟ้าสาง ผมก็ออกไปวิ่ง อากาศไม่เย็นมากอย่างที่คิด  ผมวิ่งไปทางซ้ายของโรงแรมพบตลาดนัดวันเสาร์  แล้ววิ่งกลับมาที่จตุรัสโรงข้าวโพด(Kornhausplatz)  ไปข้ามสะพานโรงข้าวโพด(Kornhausbruecke) ข้ามแม่น้ำอาเรอ  ชื่นชมธรรมชาติยามเช้า  รวมทั้งวิวของบ้านเรือนอันสวยงาม  และเสียงนกไนติงเกลร้องขับกล่อม

ที่โรงแรม เบิร์น ที่ผมพัก ก็มีเสียงนกร้องขับกล่อมให้ความสดชื่นอย่างยิ่ง

หลังกินอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จ เราเดินไปดูตลาดนัด ยังเช้ามากร้านยังไม่เปิด  เขากำลังจัดร้านกันอยู่  แต่ตอนนั่งรถรางไปสถานีรถไฟ เวลา ๘ น. เศษ  เห็นตลาดนัดคับคั่งมาก

เปลี่ยนใจไป Pilatus เพราะพยาการณ์อากาศว่าฝนไม่ตก  โดยไปรถ bls RegioExpress เที่ยว 8.36 น.  รถไฟขบวนนี้ไปลูเซิร์นใช้เวลา 1 1/2 ชม. แทนที่จะใช้เวลาเพียง ๑ ชม. อย่างเมื่อวาน เพราะวิ่งช้าและผ่านบริเวณที่ชุ่มน้ำ ที่เป็น UNESCO Bio-Sphere Reserve

ที่สถานีรถไฟคนมากกว่าเมื่อวาน  คงเพราะเป็นวันเสาร์ คนนัดกันออกไปเที่ยว

โบกี้รถ bls แปลกกว่าขบวนอื่นตรงที่มีแคร่เหนือศีรษะให้วางสัมภาระ  โบกี้นี้มองจากภายนอกดูใหม่ แต่ดูจากห้องน้ำแล้วเป็นโบกี้ที่เก่า

รถไฟ เบิร์น ไปลูเซิร์นผ่าน UNESCO Bio-Sphere Reserve แล่นผ่านสถานีต่างๆ ดังนี้ Bern - Konolfingen - Langnau - Trubschachen (อ่านว่า ทรุปชาเฮ่น) - Escholzmatt - Schuepfheim - Entlebuch - Wolhusen - Malters – Luzern  ระหว่างทางมีคนลงไปเดิน trekking   เส้นทางนี้วิวสวยกว่า  มีป่า พื้นที่เป็นเนินทุ่งหญ้าและป่าผมลองเดินไปดูลาดชั้น ๑ ที่นั่งแถวละ 1+2  ทั้งโบกี้มีคุณลุงนั่งเหงาอยู่คนเดียว  เราคิดถูกแล้วที่ซื้อตั๋ว สวิสพาสชั้น ๒

รถแล่นผ่านระบบชลประทานสวิส ซึ่งมีลักษณะคล้ายชลประทานราษฎร์ ที่พัฒนามาเป็นพันปี  มากกว่าที่กรมชลประทานจัดทำให้แบบไทย

ระหว่างท่องเที่ยวถ่ายรูป ผมได้ความคิดว่า รถไฟสายชมวิว(scenic) ควรใช้กระจกชนิดไม่สะท้อนแสง  จะช่วยให้นักถ่ายรูปถ่ายผ่านกระจกได้โดยไม่มีเงา   รถไฟสวิสก็จะยิ่งมีชื่อเสียงยิ่งขึ้นไปอีกในความสะดวกสบาย

ที่สถานีลูเซิร์น เรากำลังหาทางไป Alpnachstad คุณลุงเจ้าหน้าที่มาถามจะไปไหน  แล้วบอกว่าชาลา ๑๓ อีก ๑ นาที  พอเรานั่งในรถ รถไฟก็ออก  นั่งรถไฟชมวิวเกือบถึง Alpnachstad ฝนตก ฟ้าปิด เราจึงตัดสินใจไม่ลง  ไม่ไป Mt. Pilatus เพราะคิดว่าคงได้บรรยากาศไม่ต่างจากเมื่อวาน  นั่งรถต่อไปท่ามกลางสายฝนและความหนาวซ้ำกับทางเดิมเมื่อวานนั่นเอง  ระหว่างทางมีทางคนเดิน trekking ริมทะเลสาบขนานไปกับทางรถไฟ  ระยะทางของเส้นทางเดินออกกำลังริมทะเลสาบน่าจะหลาย ก.ม.

รถไฟไปจอดนานที่ Giswil  เราคิดว่าเราเป็นราชาประจำรถอยู่สองคน  นั่งอยู่นานจึงมีคุณป้าขึ้นมา  คุยกันด้วยภาษา Deutsch กับอังกฤษ จึงรู้ว่ารถสุดทาง  และจะกลับไปลูเซิร์น  เราก็ยินดีกลับไปเดินเที่ยวลูเซิร์น เสียหน่อย  ยังไม่ได้เดินเที่ยวเลย

รวมแล้วเรานั่งรถชมทะเลสาบช่วงนี้ถึง ๓ รอบ  เป็นเส้นทางชมวิว(scenic line) ส่วนตัวของเรา  บรรยากาศเกือบเหมือนหมุนเวลากลับ  เพราะแม้แต่เรือลำหนึ่งที่มีคนตกปลา ๒ คน ก็อยู่ที่จุดเดียวกันเหมือนเมื่อวาน

เรากินอาหารเที่ยงบนรถไฟ กินแซนวิชฝีมือสาวน้อย  ที่อร่อยกว่าเมื่อวานเสียอีก  โดยเฉพาะมีแตงกวาที่ซื้อจากร้าน COOP เมื่อวาน

ลงท้ายพระเจ้าช่วย ให้เราได้ไปเที่ยว ๔ สถานที่ของลูเซิร์น  คือ (๑) ไปเดินที่สะพาน คาเพลล์ (Kapellbrucke)  (๒) เที่ยวตลาดชาวนา ตรงเชิงสะพาน  (๓) เดินไปเยี่ยมสิงโตหิน  โดยจุดไฮไล้ท์ คือ (๔) พิพิธภัณฑ์ธารน้ำแข็ง(Glacier Garden Lucernewww.gletschergarten.ch) ที่อยู่ติดกัน  เป็นพิพิธภัณฑ์โบราณคดีของลูเซิร์น ที่เก่าแก่ที่สุด คือ ๒๐ ล้านปี  มีจุดอธิบายเรื่องราวถึง ๔๕ จุด ที่ให้ความรู้ดีมาก  เป็นหลักฐานทางธรรมชาติว่าบริเวณนี้ เมื่อ ๒๐ ล้านปีก่อนอยู่ใต้ทะเล  ยกขึ้นมาพร้อมกับการเกิดเทือกเขา แอลป์ เมื่อ ๕ - ๑๐ ล้านปีก่อน  และเริ่มยุคธารน้ำแข็งเมื่อ ๒ ล้านปีก่อน  สลับกับยุคน้ำแข็งละลาย  โดยยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเกิดเมื่อ ๒ หมื่นปีก่อน พร้อมทั้งเกิดรูในหิน ที่เรียก pothole จากอิทธิพลของธารน้ำแข็ง  โดยยุคนั้นมนุษย์เกิดแล้ว และมีชีวิตอยู่ร่วมกับช้าง แมมมอธ  ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายจบไปเมื่อ ๑ หมื่นปีก่อน  ความสำคัญของพื้นที่นี้ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๗๒  คือเกือบ ๑๕๐ ปีมาแล้ว

แม้จะมีเวลาชมไม่นาน และได้ชมไม่ทั่ว  แต่พิพิธภัณฑ์ธารน้ำแข็ง ที่เกิดจากการค้นพบบริเวณที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดี  แล้วจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้แก่ผู้คน  ก็เป็นเครื่องอธิบายว่า ทำไมบ้านเมืองสวิส จึงน่าอยู่อย่างที่เห็น

วันนี้ สาวน้อยทำหน้าที่ ทัวร์ไกด์ของผม  ถามทางไปชมสิงโตหิน จนได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธารน้ำแข็ง ซึ่งเป็นไฮไล้ท์ ของวันนี้

เราไปเห็นสภาพความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวสวิสของ ลูเซิร์น ในวันนี้  เดิมเราคิดจะพักที่ลูเซิร์น แล้วเปลี่ยนใจไป เบิร์น  ไม่ทราบว่าคิดถูกหรือคิดผิด

เรากลับเบิร์นด้วยรถ IR เที่ยว 15.00 น. จอดสถานี Suree และ Zofingen  ตามปกติ ใช้เวลา ๑ ช.ม.  แต่วันนี้เสียชื่อรถไฟสวิส ที่เสียเวลา ๒๐ นาที  รถนี้ต่อไปถึงสนามบินเจนีวา

ที่สถานีรถไฟ เบิร์น เราแวะร้าน COOP ซื้อCaesar Salad กลับมากินที่โรงแรม

สาวน้อยยังมีปัญหาปวดเข่าอย่างเดิม แต่ดีที่ไม่รุนแรงมาก  คนแก่เที่ยวได้ขนาดนี้ก็นับว่าเก่งแล้ว  ระหว่างเดินทางเราได้ใช้แผนที่ Swiss Travel System ที่คุณหยกแห่ง PMAC จัดหามาให้  ร่วมกับหนังสือ ใครๆ ก็ไปเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ โดย อดิศักดิ์ จันทร์ดวง เป็นประโยชน์มาก


วิจารณ์ พานิช

๑๒ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540100

 
Home > Articles > ท่องเที่ยว > เที่ยวสวิส

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608170

facebook

Twitter


บทความเก่า