Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > ประชุมผู้นำด้านน้ำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก มีผลกระทบต่อความเข้มแข็งในการจัดการน้ำของไทยในอนาคตอย่างไร

ประชุมผู้นำด้านน้ำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก มีผลกระทบต่อความเข้มแข็งในการจัดการน้ำของไทยในอนาคตอย่างไร

พิมพ์ PDF

ผมสนใจว่า ประเทศไทยได้ใช้การประชุมผู้นำครั้งนี้ เพื่อสร้างรากฐานความเข้มแข็งด้านการจัดการน้ำของประเทศอย่างไรบ้าง  เมื่อมีโอกาสจึงสอบถามนักวิชาการด้านนี้ท่านหนึ่ง ของ มช.  ได้ความว่า วิชาการกร่อยไป  โดยที่ในตอนแรกทำท่าคล้ายๆ ต้องการจำกัดผู้เข้าร่วม   ไม่ประกาศเชิญชวนอย่างกว้างขวาง

หลังการประชุม มีการประชุมวิพากษ์การประชุมนี้ ดังข่าวนี้

ไร้ดอกผล ....... เวทีผู้นำ......."น้ำเอเซีย-แปซิฟิก"

เมื่อผู้แทนนักการเมือง นักสิ่งแวดล้อม และภาคประชาสังคม วิพากษ์การประชุมผู้นำ “น้ำเอเชียแปซิฟิก” ที่เพิ่งปิดม่านที่เชียงใหม่เมื่อ 20 พ.ค. อย่างตรงไปตรงมา ผ่านเวทีเสวนาชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

ก็ตั้งความหวังต่างกัน  นิทรรศการเราตั้งความหวังว่ารัฐบาลจะมีบูทที่ใหญ่ที่สุด  และมีข้อมูลจากหนึ่งปีที่ผ่านมาว่ามีแผนแม่บทป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้นำมาแสดง  และก็มีคนมาอธิบายให้ฟัง  ส่วนเทคนิคเคอร์เวริคชอปเนี่ยผมก็ตั้งความหวังเอาไว้ว่าจะได้ความรู้จากผู้ที่มีความรู้ในเชิงเทคนิคด้วยนะครับ 3 วัน  โดยเฉพาะมาต่างประเทศเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เราหาได้ยาก  และหวังว่ารัฐบาลจะมีสักพื้นที่นึง  เพราะเขาแบ่งเป็น 8 ห้อง  มีพื้นที่สำหรับบ้านเราเองที่จะมาร่วมกันคิดร่วมกันทำร่วมกันสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม” หาญณรงค์  เยาวเลิศ ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ  กล่าว

“หรือถ้าจะพูดถึงสถานการณ์เมื่อ 2 ปีก่อน  ปี 54 ในการจัดการน้ำแล้วเสนอเป็นทางออกก็อยากจะตัด 9 โมดูลนี่ออกก่อน  แล้วมาหาทางเลือกว่าการจัดการที่ดีคืออะไร  แล้วให้ต่างประเทศมาแนะนำ  แล้วก็ลองฟังทั้ง 2 ฝ่าย  หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือว่าเราเอา 9 โมดูลมาเปรียบเทียบ  และก็เอาสถานการณ์น้ำปี 54  แล้วก็เอาแนวความคิดแนวความเห็นของชาวบ้าน  และค่อยฟังแนวความเห็นของต่างประเทศก็จะได้ความคิดเห็นที่ต่างกัน” ปรเมศวร์  มินศิริ ตัวแทนจาก www.thaiflood.com กล่าว

ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพก็ควรจะมีบทสรุป  เพราะประเทศไทยรับผลตรงจากน้ำท่วมเมื่อปลายปี 54 อย่างฉกาจฉกรรจ  แปลว่าเมื่อเกิดน้ำท่วมขนาดนี้วิถีปฏิบัติที่มาโดยเฉพาะโครงสร้างใหญ่ที่เกี่ยวกับน้ำมันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง  ทำอย่างไรที่จะเกิดเวทีที่จะเป็นเรื่องของประเทศไทยโดยเฉพาะ  มันถึงจะช่วยให้เกิดบทเรียนหรือการสรุปบทเรียนที่เป็นจริง” ประสาร  มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา  กล่าว

เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของความคาดหวังขั้นต่ำ ที่หลายฝ่ายตั้งไว้ว่าจะได้จากการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Asia Pacific water summitครั้งที่ 2  ซึ่งจัดขึ้นที่เชียงใหม่ระหว่างวันที่  14-20 พ.ค. ที่ผ่านมา

ด้วยจุดประสงค์หลักของการประชุมที่ประกาศชัดเจนว่าจะ เป็นการประชุมสำคัญที่คุยกันเรื่องความมั่นคงด้านน้ำในมิติต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างผู้นำ 37 ประเทศ จะมีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ กว่า 1,200 คนมาแลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อคิดเห็นที่น่าสนใจรวม 47 วาระ ทั้งหมดเพื่อจะหาคำตอบให้กับปัญหาความมั่นคงด้านน้ำซึ่งจะเป็นหนึ่งปัญหาท้าทายทั้งของไทยและเพื่อนบ้านทั้งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก รวมถึงคนทั้งโลก

เทียบสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุม กับงบประมาณจัดงานที่รัฐบาลทุ่มลงกว่า 150 ล้านบาทแล้ว ถือว่าน่าจะคุ้มมาก

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงดูเหมือนจะตรงกันข้าม หากพิจารณาจากเสียงส่วนหนึ่งของผู้ที่ติดตามการประชุมครั้งนี้อย่างใกล้ชิด ที่สะท้อนผ่านเวทีเสวนาหัวข้อ  “วิพากษ์เวทีน้ำอาเซี่ยน 3.5 แสนล้าน คนไทยได้อะไร?”  ที่จัดขึ้นโดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  เมื่อเช้าวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา

“จึงควรจะมีเวทีที่เป็นของคนไทยเราเอง  อย่างน้อยมีหองเวริคชอปอย่างน้อย 1 ห้องก็ไม่มี  และโดยรวมจากรัฐบาลที่สรุปปัญหาน้ำท่วมเกิด 2 ปีก่อนก็ไม่มี  มันก็เลยการประชุมที่ว่างเปล่าล่องลอยในอากาศ  ไม่ได้ไปสัมผัสหรือแตะต้องปัญหาที่แท้จริงของไทย” ประสาร  มฤคพิทักษ์ กล่าว

”มันมีวิธีการตั้งหลายวิธีในการที่จะนำมาซึ่งเกิดประโยชน์ในการร่วมคิดร่วมกันทำ  ซึ่งร่วมกับประเทศอื่นด้วย  แต่ว่าที่เกิดขึ้นคือเราไม่เห็นมิตินี้เราเห็นแต่มิติแบบเอาแหละรัฐบาลเดินหน้าแน่มีวางกรอบวางอะไรไว้ชัดเจน  และทั้งหมดมันก็ไม่ได้ถูกนำเสนอกับภาคส่วนอื่นๆ  ที่มีส่วนร่วมด้วย  โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบที่อยู่ในแผนตรงนี้  เช่นชุมชนที่ถูกโยกย้าย ชุมชนในลุ่มน้ำ  อันนี้มันเป็นความห่วงกังวลและได้รับแต่คำที่สาดกันไปสาดกันมา  ไม่ได้เป็นมิติการจัดการ” หาญณรงค์  เยาวเลิศ กล่าว

“จริง ๆ ก็สถานที่จัดก็ใหม่ดูโอ่โถงดี  พอเราเดินเข้าไปเราไปเจอความโดดเด่นของบริษัทเกาหลี  ไม่ว่าจะเป็นความใหญ่ของบูท  ความพร้อมในการเอามาโชว์เจ้าหน้าที่ คนแต่งกายประจำชาติ  ของแจก  ในฐานะที่เราเป็นประเทศเจ้าภาพ  เราเห็นบริษัทเกาหลีเด่นที่สุด  ผมว่าเด็ก ๆ ได้ประโยชน์  ส่วนภาคเอกชนก็สนุกสนาน  ภาคราชการก็เป็นความรู้ง่าย ๆ ให้เด็กเข้าใจ  แต่คนที่จะมาเรียนรู้จริง ๆ  ตามแนวคิดของงานก็คงจะผิดหวังเล็กน้อยในเรื่องของนิทรรศการ”

“ส่วนเรื่องเทคนิคคอลเวริคชอป  ผมได้ความรู้มากจากประเทศต่างๆ  โดยที่ไม่ต้องบินไปประเทศนั้น  แต่ก็เสียดายที่เห็นหลายห้องมันว่างอยู่  รัฐบาลไม่ได้มีในส่วนนี้  เวทีเรื่องที่คนไทยสนใจโครงการ 3 แสนล้าน  แล้วก็มีคนที่เป็นภาคส่วนของแต่ละลุ่มน้ำมาอยู่ในที่เดียวกันแล้ว  แต่ไม่มีให้เค้าเลือกไงว่าถ้าเค้ามาห้องนี้จะได้พบกับ กบอ.  แล้วจะส่งเรื่องให้น่ายกก็ไม่มี  แล้วอีกเรื่องที่น่าเสียดายคือเนื่องจากแบ่งเป็นหลายห้องเราอบบากจะเห็นการรวบรวมเป็นองค์ความรู้  ก็ไม่เห็นตรงนั้นว่าจะสรุปอย่างไร” ปรเมศวร์  มินศิริ กล่าว

นอกจากปัญหาการไม่อนุญาตให้เครือข่ายประชาชนมีส่วนร่วมกับการประชุม เนื้อหาการประชุมก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนักว่า ค่อนข้างเป็นนามธรรม และไม่เข้าถึงปัญหาจริงของแต่ละประเทศ จึงทำให้ข้อตกลงที่ได้ในนาม “ปฏิญญาเชียงใหม่” นั้นปราศจากน้ำหนักของรูปธรรมความร่วมมือที่คาดหวังได้

อาทิในส่วนของประเทศไทย โครงการแผนแม่บทการจัดการน้ำทั้งประเทศ มูลค่า 3.5แสนล้าน ซึ่งรัฐบาลประกาศผลักดันเตรียมกู้เงินนั้นก็มิได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในเวที เพื่อถกเถียงแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายคาดเดาว่า เหตุที่ไม่มีการหยิบยกเรื่องแผนแม่บทการจัดการน้ำดังกล่าวเข้าไปในเวทีอาจเป็นเพราะแผนไม่มีข้อมูลชัดเจนมากพอ

“หนึ่งผมคิดว่าเขาไม่มีความแจ่มชัดในเหตุและผลของโครงการ เอาง่ายๆ การศึกษาความเป็นไปได้ก็ยังไม่ได้ทำ EHIA ก็ยังไม่ได้ทำ  แล้วในทางปฏิบัติมันจะเกิดการสะดุดอีกหลายจังหวะ  และความชอบธรรมมันก็ไม่มี  เมื่อไม่มี ปปช.ก็ชี้ออกมาจะมีช่องโหว่ตรงนั้นตรงนี้  แต่รัฐบาลก็ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  เพราะฉะนั้นงานนี้จะไม่สามารถผ่านตลอดอย่างที่ตัวเองต้องการ” ประสาร  มฤคพิทักษ์ กล่าว

“ถ้าคิดว่าแผนเราดี  จนกระทั่งเอาไปออกเป็น TOR  หลายๆ  บท  ให้เขาจ้างบริษัทต่างๆ  ด้วยปริมาณสูงก็ควรจะเอามาโชว์  นี่คือความเข้าใจผมนะ  คือขนาดจ้างได้แพง ๆ เนี่ยก็ควรจะนำมาโชว์แต่ก็เสียดายที่ในพื้นที่ไม่ถูกนำมาโชว์  คือผมคิดว่าเมื่อนำออกมา  คนเราจะนำเสนออะไรก็พร้อมที่จะรับคำถามอ่ะ  ในสิ่งที่เขาอาจจะไม่เข้ามาโชว์ก็คือว่าถ้ามีการถาม ใครจะเป็นผู้ตอบ” ปรเมศวร์  มินศิริ กล่าว

“ผมมีความรู้สึกว่ารัฐบาลอยากจะจัดการเอง  อยากรวบการจัดการไว้สำหรับผู้รับผิดชอบเท่านั้น  ไม่อยากให้ใครมาวิพากษ์วิจารณ์และกลัวจะไม่เสร็จตามแผนกรอบเวลาของรัฐบาลมีเวลาน้อย  เช่นจะไปคำนึงถึง้อกำหนดที่ว่าพระราชบัญญัติเงินกู้จะหมดเวลาแล้ว  ถ้าเราไม่ปรับแผนมันอาจจะไม่ทันตามเวลา  เราเข้าใจว่าแผนอย่างงี้เมื่อถูกรวบแผนแล้วถ้าใครเข้ามาอาจรับคำวิจารณ์ไม่ได้”

“ผมว่าเป็นเรื่องของงบประมาณด้วยแหละ  งบประมาณมีจำนวนสูง  ตั้งแต่แรกที่เราเข้าใจว่าการดำเนินการเขาเอางบเป็นตัวตั้ง  ที่เหลือโครงการบางโครงการเขาก็เอามาใส่ถ้าเราวิจารณ์มากเขาก็อาจจเปรึเปล่า  ก็เลยเกิดสถานกาณ์ที่เขาไม่อยากรับฟัง” หาญณรงค์  เยาวเลิศ กล่าว

ดังนั้นเมื่อถูกถามถึงสิ่งที่คนไทยได้จากการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิครั้งนี้ คำตอบที่ได้จากเวทีเสวนาคือ..

“เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  ไม่ได้เกิดประโยชน์โผดผลอะไรขึ้นมา” ประสาร  มฤคพิทักษ์ กล่าว

ผมว่าหนึ่งเป็นการถกเถียงกันนอกเวทีอันหนึ่ง  อันนี้ไม่รู้เรียกว่าได้หรือไม่ได้นะ  อีกอันจะเห็นเจตนาของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา 3.5แสนล้านมีเจตนาอะไร อันที่สามเราจะเห็นว่าการท้วงติงฝ่ายรัฐบาลก็ยิ่งไม่ฟัง  ส่วนเรื่องว่าจะได้แบบอื่นหรือไม่  ก็คนที่มาจากต่างประเทศก็มีประมาณ 1 พันคน  ก็ได้เห็นภูมิประเทศบ้านเมือง  ได้เก็บเกี่ยวจากการประชุมนั้นผมยังไม่เห็นข้อสรุป “

เพราะฉะนั้นก็ยังไม่เห็นว่าจากการที่ไทยเป็นเจ้าภาพได้ประมวลประสบการณ์ของแต่ละอันมาสรุปในวันสุดท้ายหรือเปล่า  ถ้าฟังวันสุดท้ายก็ไม่มีข้อสรุป  เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละหัวข้อไปแทน  ไม่ได้ตอบโจทย์ของการแก้ปัญหาน้ำท่วมเลย  เหมือนกับที่มีการประกาศก่อนหน้านี้ว่างานประชุมนี้จะได้ประโยชน์สูงสุด” หาญณรงค์  เยาวเลิศ กล่าว

เน้นรูปแบบมากกว่าเนื้อหาอยู่แล้ว  รูปแบบก็จัดงานดีมั้ย อาหารดีหรือไม่  มีโชว์อะไรมาเปิด  พูดอะไรดีดีมั้ย  แต่เนื้อหาต่างๆ  ที่ถูกละเลย  เราทำรูปแบบดีนะครับ  แต่ผมคิดว่ายังไม่สายที่จะให้ทีมวิชาการรวมรวบสิ่งที่ได้จากงานนี้  และนำไปขับเคลื่อนต่อไป” ปรเมศวร์  มินศิริ กล่าว

ขวัญชนก เดชเสน่ห์ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม GreenNewsTV รายงาน

ข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกลางๆ อ่านได้ ที่นี่

ข่าวสารนิเทศ : การประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒

เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์การประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ (The 2nd Asia-Pacific Water Summit: 2nd  APWS) บรรยายสรุปผลการประชุม 2nd  APWS ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การประชุมฯ ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม เริ่มต้นโดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒  กล่าวสรุปผลการประชุมผู้เชี่ยวชาญ (Focus Area Sessions) และเวทีหารือเชิงวิชาการ (Technical Workshops) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงและเชิญผู้นำจากบรูไนฯ ฟิจิ จอร์เจีย  บังกลาเทศ สาธารณรัฐเกาหลี สปป. ลาว นีอูเอ และวานูอาตู รวมทั้งประธานสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ ๖๗ ประธาน  Asia- Pacific Water Forum (APWF) รองเลขาธิการสหประชาชาติและเลขาธิการ ESCAP และประธาน  Asia Development Bank (ADB) กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นเชิงนโยบายของแต่ละประเทศต่อทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทาจิกิซสถานได้กล่าวถ้อยแถลงเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ผู้นำจากภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิกต่างแสดงความปรารถนาให้เรื่องน้ำเป็นนโยบายเร่งด่วนทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ มุ่งไปสู่การพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ให้ประเทศในภูมิภาคให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอันจะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติ ตลอดจนส่งเสริมความตระหนักรู้ในการบริหารน้ำด้วย โดยผู้นำได้รับรองปฏิญญาเชียงใหม่ ซึ่งแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของผู้นำในเรื่องนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
การประชุมในเวทีนี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทนำของไทยในการบริหารจัดการน้ำ การจัดการปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำอันสืบเนื่องจากอทุกภัยเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ตลอดจนสร้างความร่วมมือและประสบการณ์ด้านน้ำ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของสังคมโลกต่อรัฐบาลไทยในนโยบายและวิธีการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประเทศอื่นๆ ด้วย  อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่าประโยชน์ที่ประชาชนชาวไทยได้รับจากการจัดการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ความตระหนักรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนถึงแนวความคิด วิสัยทัศน์ของผู้นำในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิกต่อการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้ จะเป็นการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวของเชียงใหม่ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๔๐ ประเทศ รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดการแสดงทางวัฒนธรรมที่อิงประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ในช่วงการเลี้ยงอาหารค่ำที่เวียงกุมกามซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพ

การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า ๑,๕๐๐ คน รวมทั้งสื่อมวลชนกว่า ๖๖๐ คน ซึ่งเป็นสื่อต่างประเทศที่เข้าร่วมทำข่าวการประชุมกว่า ๑๐๕ คน
หมายเหตุ: คำกล่าวสุนทรพจน์ของผู้นำสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://info.apwatersummit2.org/news/

และข่าวที่ผมค้นจาก อินเทอร์เน็ต ก็เป็นเพียงข่าวเหตุการณ์  นสพ. บางฉบับก็ชื่นชมความอลังการของการประชุม โดยเฉพาะการแสดง

ข่าวว่า ใช้เงินไป ๑๕๐ ล้านบาท

 

คำถามของผมคือ การประชุมนี้มีผลกระทบต่อความเข้มแข็งในการจัดการน้ำของไทยในอนาคตอย่างไร  ข่าวใน นสพ. บอกว่าทางรัฐบาลบอกว่าปลายปีจะจัดการประชุมแบบนี้อีก  ผมสงสัยว่าจัดไปทำไม

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540475

 

 
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > ประชุมผู้นำด้านน้ำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก มีผลกระทบต่อความเข้มแข็งในการจัดการน้ำของไทยในอนาคตอย่างไร

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5602
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590159

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า