Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > โครงการพัฒนาผู้นำหัวใจรับใช้สังคม

โครงการพัฒนาผู้นำหัวใจรับใช้สังคม

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajoncซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน(Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลักเพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๑ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของAppendix A : In the Classroom  เขียนโดย Alma G. Blount, Director, Hart Leadership Program, Terry Sanford Institute of Public Policy, Duke University เล่าเรื่อง SOL (Service Opportunities in Leadership) ของโครงการ Hart Leadership Programเป็นโครงการสำหรับ นศ. ระดับปริญญาตรี  ที่ นศ. ที่ได้รับคัดเลือกออกไปทำโครงการในภาคฤดูร้อน ในชุมชน  แล้วกลับมานำเสนอในมหาวิทยาลัยในภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง  แต่ก่อนหน้านั้น นศ. ต้องลงเรียนรายวิชา Border Crossing : Leadership Value Conflicts, and Public Lifeเสียก่อน  โปรดอ่านรายละเอียดของ course syllabus นะครับ จะเห็นวิธีปฏิบัติ  เขาเรียกว่าเป็นวิชาเตรียมความพร้อมสู่กิจกรรมเรียนรู้ด้วย research – service

Hart Leadership Program นี้ เขาทำมา ๒๕ ปีแล้ว

นี่คือตัวอย่างการออกแบบการเรียนรู้ที่วิเศษสุดสำหรับพัฒนาคนให้ครบด้าน หรือการเรียนรู้บูรณาการ  และสำหรับให้เกิด Transformative Learning คืองอกงามจากภายในตน จากการปฏิบัติด้วยตนเอง  โดยมหาวิทยาลัยจัดระบบสนับสนุน

จะเห็นว่า สถาบันนโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยดุ๊กจัดระบบสนับสนุนนศ. ของตนให้เกิด Transformative Learning โดยจัดให้มีโครงการ SOL ผนวกกับรายวิชา Border Crossing

วิธีการจัดการเรียนรู้นี้ เปรียบเสมือน 4 in 1 คือกิจกรรมเดียว ให้ผลงาน ๔ ด้าน คือ (๑) ด้านการผลิตบัณฑิต  (๒) ด้านการให้บริการสังคม  (๓) ด้านการวิจัย และ  (๔) ด้าน internationalization

ผมจะเล่าลงรายละเอียดมากหน่อย เพราะโครงการนี้น่าทำมาก


โครงการ SOL

โครงการ SOL รับสมัครคัดเลือก นศ. เข้าร่วมโครงการ มีการแข่งขันสูงมาก  นศ. ที่มีสิทธิ์สมัครเป็น นศ. ชั้นปี ๑ - ๓ โดยจะเรียนวิชาเอกใดก็ได้  ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๐  เขาเรียก นศ. ที่ได้เข้าโครงการว่า SOLster(ผู้นำอาสา)

ในช่วง ๑๕ ปี ที่ผ่านมา ผู้นำอาสาเหล่านี้เดินทางไปประเทศในแถบอเมริกากลาง  ยุโรปตะวันออก  อัฟริกาใต้ รวมทั้งในเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา  เพื่อไปทำโครงการพัฒนาชุมชน  เช่น โครงการ microlending, บริการผู้ลี้ภัย, โครงการพัฒนาบริการสุขภาพ, โครงการพัฒนาเยาวชน เป็นต้น

นศ. ผู้นำอาสาเหล่านี้ต้องมีสถาบันเจ้าภาพ ในประเทศหรือเมืองที่ไปทำโครงการ  และมีอาจารย์ที่ปรึกษา (mentor) ของมหาวิทยาลัย ดุ๊กโดยมีเป้าหมายว่า จะเกิดความสัมพันธ์กับสถาบันเจ้าภาพ  ชุมชนที่ไปทำโครการ และกับ mentor เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว หรือตลอดชีวิต  (อ่านถึงตรงนี้ ผมนึกถึงโครงการเยาวชน ของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล)

นศ. ยกร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ที่จะทำระยะยาว  ระบุโจทย์วิจัย และวิธีดำเนินการวิจัย และนำเสนอผลข้อค้นพบ  แล้วไปดำเนินการในช่วงปิดภาคฤดูร้อน  มีการจดบันทึกเหตุการณ์ที่ไปพบเห็น  และสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามโครงการที่กำหนดไว้ ทั้งในด้านสาระ และเชิงกระบวนการวิจัย   เมื่อจบเวลาภาคฤดูร้อน นศ. ผู้นำอาสา ส่งมอบผลงานของโครงการ (ซึ่งมักต้องทำต่อเนื่อง) ให้แก่ภาคีหุ้นส่วนในพื้นที่

เมื่อ นศ. ผู้นำอาสา กลับมามหาวิทยาลัยในภาคเรียนฤดูใบไม้ผลิ  ก็จะเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ในการสัมมนานโยบายสาธารณะ  เพื่อให้ นศ. ได้ฝึกบูรณาการสิ่งที่ตนได้เรียนมาในช่วงฤดูร้อน เข้ากับทฤษฎีหรือหลักการด้านการเมือง นโยบาย และภาวะผู้นำ

นศ. ผู้นำอาสา ต้องทำเอกสารรายงานผลการค้นคว้าประเด็นทางสังคม โดยมี ๖ ส่วน ดังนี้

๑.  เรียงความ ในหัวข้อเชิงนโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ไปทำในภาคฤดูร้อน  เพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากประสบการณ์ตรงของตนเอง

๒.  ผลการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง ในงานตามหัวข้อในเรียงความในข้อ ๑  เพื่อสะท้อนว่า ผู้ปฏิบัติงานจริงมีความเห็น ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร  สอดคล้องหรือแตกต่างจากที่ นศ. อ่านจากตำราหรือแหล่งความรู้แหล่งอื่นอย่างไร

๓.  เขียนบันทึกเชิงนโยบาย ว่าในหัวข้อเชิงนโยบายนั้น มีทางเลือกที่แตกต่างกันกี่ทางเลือก  แต่ละทางเลือกมีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร  และ นศ. เห็นว่าทางเลือกใดเหมาะสมที่สุด เพราะอะไร

๔.  เขียนข้อสรุปเชิงวิเคราะห์  นำเสนอข้อเสนอแนะ ว่าต้องการภาวะผู้นำทางการเมืองอย่างไร  เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะของตน ให้ประสบความสำเร็จ

๕.  นำเสนอรายงานตาม ๔ ข้อข้างบนต่อชั้นเรียน  เพื่อตอบข้อซักถามและรับฟังข้อคิดเห็น ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะ อย่างกว้างขวาง  สำหรับนำไปปรับปรุงเอกสารรายงาน

๖.  ส่งรายงาน เพื่อให้อาจารย์ให้คะแนน


รายวิชา Border Crossing : Leadership, Value Conflicts, and Public Life

นศ. ที่จะสมัครเข้าโครงการ SOL ต้องเรียนวิชานี้เสียก่อน  เพื่อเตรียมความพร้อมไปเผชิญชีวิตและการทำงานในสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ตนไม่คุ้นเคย  และเพื่อเตรียมพื้นความรู้ในการทำวิจัยในชุมชน ในโครงการ SOL หรือในโครงการservice learning โครงการอื่น  เพื่อให้เข้าใจความซับซ้อนของการทำงานรับใช้สาธารณะ

นศ. จะได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาเชิงทฤษฎี และทักษะในการใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างเข้มข้น (critical reflection skills)  สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานวิจัย (และพัฒนา) ร่วมกับองค์กรชุมชน

ผมตีความว่า reflection skills ก็คือทักษะการทำ AARรวมทั้งทักษะในการทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” ของกระบวนการ AAR นั่นเอง

โปรดอ่าน course syllabusของวิชานี้เอาเองนะครับ  ผมขอเชิญชวนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยอ่าน เพื่อเรียนรู้วิธีใช้ เอกสารรายละเอียดของรายวิชาสื่อสารกับ นศ. อย่างมีคุณภาพ

หลังจากเขียนบันทึกนี้ ๒ เดือน กลับมาอ่านทบทวนใหม่  ผมนึกถึง วิชาการสายรับใช้สังคม

 

 

วิจารณ์  พานิช

๘ ก.พ. ๕๖ ปรับปรุง ๕ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540554

 
Home > Articles > การศึกษา > โครงการพัฒนาผู้นำหัวใจรับใช้สังคม

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606710

facebook

Twitter


บทความเก่า