Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน (CoPs) ทางออนไลน์ใน GotoKnow

เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน (CoPs) ทางออนไลน์ใน GotoKnow

พิมพ์ PDF

เนื่องจากมีสมาขิกเก่าและใหม่และผู้สนใจที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกหลายท่านให้ความสนใจในโครงการนี้ ดิฉันจึงขอสรุปและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้ดังต่อไปนี้นะคะ

GotoKnow คือ ชุมชนเสมือนและเป็นคลังความรู้ของคนทำงานทั้งในระดับบุคคลหรือองค์กรชุมชนที่เข้ามาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตในประเด็นความสนใจต่างๆ ด้วยการบันทึกข้อความ รูป ไฟล์ หรือ ลิงก์วิดีโอ ลงในสมุดบันทึกหรือบล็อกใน GotoKnow ค่ะ

สมาชิกของ GotoKnow สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ความสนใจและผู้คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้ด้วยเครื่องมือที่สำคัญ 4 อย่างดังนี้ค่ะ

1. ระบบคำสำคัญของบันทึก

เพียงแค่ประชาสัมพันธ์ให้ใส่คำสำคัญเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงชุมชนได้แล้วค่ะ

2. ระบบการติดตาม

สมาชิกชุมชนจะไม่พลาดการติดตามบันทึกของสมาชิกท่านอื่นด้วยการกดติดตามค่ะ

3. ระบบแพลนเน็ตหรือรวมบล็อก *กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง

4. ระบบชุมชน *กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง

 

ความหมายของกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ

กลุ่มชนชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice - CoPs) หรือที่ดิฉันขอเรียกเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็น กลุ่มชุมชนคนทำงาน นั้นหมายถึง การรวมตัวของผู้ที่มีความสนใจเดียวกันมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นกันอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ที่ช่วยเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการร่วมมือระหว่างกันค่ะ

ในด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า กลุ่มชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการร่วมมือกันแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้เกิดการถ่ายทอดแนวปฏิบัติดีๆ (Best practices) ได้ไม่ยากค่ะ เพราะด้วยสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นข้ามสายงานและองค์กรที่เกิดขึ้นจากกลุ่มชุมชนนั่นเองค่ะ

ทาง GotoKnow จึงเข้ามาสนับสนุนการสร้างกลุ่มชุมชนอย่างเป็นทางการขึ้นค่ะ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยได้มีพื้นที่ของกลุ่มชุมชนและคลังความรู้ที่เกิดจากผู้คนที่รวมตัวกันข้ามสายงาน ข้ามหน่วยงาน หรือข้ามองค์กร มาร่วมกันสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งขึ้นใน GotoKnow ค่ะ

 

เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน

ที่ผ่านมา GotoKnow ได้สนับสนุนกลุ่มชุมชนคนทำงานไปแล้วจำนวน 9 ชุมชนค่ะ ได้แก่

 

  • ชุมชนวิทยากรกระบวนการ (Facilitators)
  • ชุมชนครูเพื่อศิษย์
  • ชุมชนพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
  • ชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
  • ชุมชนสุขภาวะชุมชนหนองบัว
  • ชุมชนเยาวชนจิตอาสา
  • ชุมชนกิจกรรมบำบัด
  • ชุมชมองค์กรสุขภาวะและการสร้างพื้นที่แห่งความสุข
  • ชุมชนอาหารเพื่อสุขภาพ

 

ดิฉันได้ลองถอดบทเรียนของชุมชนเหล่านี้ออกมาเป็นเทคนิคต่างๆ ในการสร้างกลุ่มชุมชนทางออนไลน์ดังนี้นะคะ และหวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงานใน GotoKnow ในครั้งนี้ค่ะ

1. สร้างความเป็นตัวตนจริงๆ

ในหน้าโปรไฟล์ (Profile) ควรระบุความเป็นตัวตนที่ชัดเจนของสมาชิก เช่น ชื่อ นามสกุล องค์กร รูปถ่ายจริง เป็นต้น เพราะผู้คนจะให้ความร่วมมือและความสนใจในเนื้อหาและชุมชนมากขึ้นหากสัมพันธภาพมีมากขึ้นซึ่งแสดงง่ายๆด้วยการให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะเปิดเผยตัวตนของบุคคลนั้นๆ ค่ะ

2. ดำเนินกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์

สัมพันธภาพและความรู้จะงอกเงยขึ้นได้ด้วยกิจกรรมที่นำมาสู่การร่วมมือกันค่ะ เช่น ในทางพื้นที่จริงนั้นมีการจัดกิจกรรมเพื่อพบปะสังสรรค์หรือร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา หรือในทางออนไลน์มีการจัดกิจกรรมร่วมกันถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ผ่านรูปถ่าย หรือ บันทึกใน  GotoKnow ค่ะ

3. มีทีมกระตุ้นการร่วมมือสร้างกลุ่ม

กลุ่มชุมชนที่รวมตัวขึ้นมาจะต้องมีทีมหลักที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นในเกิดการร่วมมือในกิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์ชุมชน และมีหน้าที่ในการอบรมให้สมาชิกในชุมชนได้รู้จักใช้เครื่องมือออนไลน์ของ  GotoKnow หรืออบรมทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ของชุมชนค่ะ ที่สำคัญคือทีมจะต้องมีใจรักการเขียนการอ่านนะคะ

4. ให้ความสำคัญกับการให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการให้รางวัลตอบแทน

ทีมหลักของชุมชนต้องให้ความสำคัญกับการร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในระดับต่างๆ กัน เช่น สมาชิกที่ร่วมกิจกรรมออนไลน์บ่อยที่สุด สมาชิกที่มีบันทึกมากที่สุด สมาชิกที่ต่อยอดความเห็นมากที่สุด เป็นต้นค่ะ และควรสนับสนุนกระตุ้นการร่วมมือนี้ด้วยรางวัลตอบแทนค่ะ ซึ่งอาจจะเป็นรางวัลที่สัมผัสได้และมีคุณค่าแก่ผู้ได้รับค่ะ ส่วนรางวัลการเป็นที่ยอมรับในชุมชนย่อยและชุมชนใหญ่ของ GotoKnow นั้นจะเห็นได้ชัดจากการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วค่ะ

5. สร้างแบรนด์ของกลุ่มชุมชน

ชื่อเรียกชุมชน เป้าหมายการรวมตัว หรือวัตถุประสงค์ของชุมชน ที่ตอกย้ำอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่ GotoKnow มีให้ เช่น การบันทึกความรู้หรือภาพกิจกรรม การอีเมลส่งตรงถึงสมาชิกแต่ละคน ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างความเหนียวแน่นให้กลุุ่มชุมชนค่ะ

6. ผู้นำทำเป็นตัวอย่าง

ทีมผู้นำชุมชนจะเป็นคนที่กระตุ้นให้เกิดการร่วมมือของสมาชิกได้ดีที่สุดค่ะ ดังนั้นทีมผู้นำจะต้องเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแบบอย่างให้สมาชิกค่ะ เขียนบ้าง ไม่เขียนบ้าง ปล่อยปละละเลย จะทำให้สมาชิกหมดไฟในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์นะคะ

7. สกัดความรู้ให้เข้าใจง่าย

ในสังคมปัจจุบันนี้ ให้อะไรก็ไม่ดีเท่ากับการให้ความรู้สู่สังคมค่ะ คุณค่าของการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ของสมาชิกในชุมชนคือ การที่ความรู้ของเขาได้เกิดการผสมผสานความรู้กับผู้อื่นและเกิดเป็นชุดความรู้ที่เข้าใจง่ายเพื่อให้สังคมไทยได้มีความรู้ที่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริงค่ะ การสกัดความรู้ที่ชุมชนถ่ายทอดออกมาจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของทีมผู้นำชุมชนค่ะ

8. ต้อนรับสมาชิกใหม่

น้องใหม่ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนต้องได้รับการต้อนรับและให้คำแนะนำอย่างดีค่ะ และมีกิจกรรมอบรมและสร้างแรงบันดาลใจในการใช้เครื่องมือ GotoKnow  หรือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกันเป็นระยะๆ ค่ะ

9. สร้างชุมชนอย่างมีแบบแผน

ทีมผู้นำชุมชนอาจจะคิดไว้ก่อนหน้าแล้วว่า อยากให้เกิดเนื้อหาความรู้ในประเด็นใดบ้าง หรืออยากให้เกิดสมาชิกในสายงานอาชีพหรือความสนใจใด จะช่วยให้สร้างชุมชนได้อย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเกิดชุดความรู้ที่มีแกนหลักของเนื้อหาครบถ้วนค่ะ

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541908
 
Home > Articles > การศึกษา > เทคนิคการสร้างกลุ่มชุมชนคนทำงาน (CoPs) ทางออนไลน์ใน GotoKnow

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608171

facebook

Twitter


บทความเก่า