Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๐. ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๐. ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajoncซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี“พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน(Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของAppendix A : In the Classroom  เขียนโดย Mirabai Bush, Executive Director, The Center for Contemplative Mind in Societyเล่าเรื่อง Contemplative Practice Fellows ของศูนย์  ที่นำวิธีการปฏิบัติใคร่ครวญ หรือจิตตภาวนา ไปใช้กับ นศ.  แล้วเกิดผลดี ทำให้ นศ. เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนๆ และเข้าใจโลก

วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจิตตภาวนานี้ ควรนำไปใช้ในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา  เพื่อให้ นศ. เกิดการเรียนรู้บูรณาการ / เรียนรู้แบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน  ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ตามปกติ ที่เรียกว่าวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

กล่าวใหม่ว่า ในอุดมศึกษา นศ. ควรได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ ๒ สายไปด้วยกัน คือสาย Contemplative Inquiry  กับสาย Critical Inquiry  จะทำให้เกิดการเรียนรู้บูรณาการ ๒ สาย และเกิดการเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน  ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข มีมิตรภาพ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้  เกิดความเจริญงอกงามครบด้าน (สมอง ใจ และวิญญาณ)

The Center for Contemplative Mind in Society มีทุนสนับสนุนสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาด้วย อ่านได้ ที่นี่ สถาบันในประเทศไทยที่สนใจจริงๆ อาจลองติดต่อพูดคุยกับเขาได้

บทความนี้เล่าเรื่องศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ๓ คน  จาก ๑๔๕ คน ที่ได้รับการสนับสนุนเป็น fellow ฝึกจิตตภาวนา  และนำวิธีการจิตตภาวนาไปใช้ในชั้นเรียน

ท่านแรกเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์  ให้ นศ. วาดแผนที่และรูปตอนเป็นเด็ก  เพื่อสะท้อนความประทับใจของตน  จะเป็นรูปบ้าน อะพาร์ตเม้นท์  โรงเรียน  ห้องเรียน  บ้านเพื่อน ฯลฯ หรืออะไรก็ได้  สำหรับอธิบายความประทับใจชีวิตวัยเด็กของตน  ศาสตราจารย์ท่านนี้ นำประสบการณ์มาเล่าในการประชุม Uncovering the Heart of Higher Education ว่าการเรียนรู้แบบดังกล่าวช่วยให้ นศ. เข้าใจความหมายของการสร้าง และการดำรงชีวิตที่มีความหมายในโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง ว่าเป็นอย่างไร

นศ. สถาปัตยกรรมศาสตร์ เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งก่อสร้าง กับการดำรงชีวิตที่มีความหมาย ในท่ามกลางโครงสร้างทางวัตถุนั้น  ทำให้สถาปนิก มีการเรียนรู้บูรณาการรอบด้าน  เข้าใจสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นศาสตร์แข็งหรือปัญญา (สมอง) เท่านั้น  แต่เข้าใจลึกและครอบคลุมส่วนที่เป็นศาสตร์อ่อน คือ ใจ และวิญญาณ ด้วย

อีกท่านหนึ่ง เป็นรองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา สอนวิชา Food and Hunger : Contemplation and Action โดย นศ. ออกไปทำงานร่วมกับองค์กรช่วยเหลือผู้หิวโหยในพื้นที่  และไปฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้หิวโหย

รศ. ท่านนี้รายงานต่อที่ประชุมว่า นศ. เข้าใจจิตใจและอารมณ์ของตนดีขึ้น  รวมทั้งเข้าใจเรื่องความอดหยากหิวโหย ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงขึ้น

อีกท่านหนึ่งเป็นทั้งศาสตราจารย์และเป็นกวี  ได้รับ fellowship ให้ไปสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหาร เวสต์ พ้อยท์  โดยเลือกสอนวิชาร้อยกรอง และสมาธิภาวนา แก่นักเรียนนายร้อยที่ต่อมาถูกส่งไปสมรภูมิที่อิรัก  หลังจากนั้น ศ. ท่านนี้ (เป็นผู้หญิง) ได้รับอีเมล์จากศิษย์กลุ่มนี้หลายคน  ว่าวิชาที่ได้เรียนรู้ทั้ง ๒ วิชานี้ ช่วยเขาในยามวิกฤตอย่างไร

Contemplative Practice Fellows 145 คน จาก ๑๐๑ สถาบันการศึกษา นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Fetzer Instituteเขาทำงานร่วมมือกับทั่วโลก เพื่อขยายพลังของความรักและการให้อภัย  ผมเอามาลงไว้เผื่อบางมหาวิทยาลัยจะติดต่อทำงานร่วมมือกับเขา

เขาบอกว่า วิธีการฝึกจิต (จิตศึกษา, จิตตปัญญาศึกษา) นี้ เขาทำหลายวิธีแตกต่างกัน  เช่น ทำสมาธิ,  ฝึกจี้กง,  โยคะ,  lectio divina,  เป็นต้น   เป็นการฝึกจิตให้เปิดรับโอกาสใหม่ๆ  สร้างเสริมปัญญาจากการเปิดรับความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในโลก  สร้างจิตที่เห็นแก่ผู้อื่น และเสียสละ ผ่านความเข้าใจความเชื่อมโยงถึงกันหมดของสรรพสิ่ง และทุกชีวิต  เป็นการเรียนเพื่อเสริมการเรียนรู้ในแนวทางวิทยาศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ่งชี้ว่า การฝึกจิต ช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาข้ามศาสตร์ เช่นการตัดสินใจ สมาธิ ปัญญาญาณ ความจำ  รวมทั้งทักษะด้านอารมณ์ เช่น ความมีสติ การควบคุมตนเอง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

จะเห็นว่า การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ช่วยให้การศึกษานำไปสู่การสร้างมนุษย์ที่มีใจสูง เพิ่มศักยภาพในการทำความดี  ตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เพิ่มอำนาจทำลายล้าง

การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ที่เรียนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แนววิทยาศาสตร์ และการคิด  ช่วยพัฒนามนุษย์ทั้งตัว ให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ  การเรียนรู้ตามแนวกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวันพัฒนามนุษย์ได้เต็มศักยภาพ

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539791

 
Home > Articles > การศึกษา > การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๐. ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608817

facebook

Twitter


บทความเก่า