Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทย เป็น potential conflict of interest

องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทย เป็น potential conflict of interest

พิมพ์ PDF

สภามหาวิทยาลัยไทย มีองค์ประกอบเป็นไตรภาคี  คือมีฝ่ายคณาจารย์หรือบุคลากร  ฝ่ายบริหาร  และฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  ฝ่ายละเท่าๆ กัน

ที่จริง ไม่ว่ากรรมการจากสภามหาวิทยาลัยจากฝ่ายไหน ต่างก็มี potential conflict of interest ทั้งสิ้น  เช่นกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจมี potential conflict of interest ที่ต้องการดึงมหาวิทยาลัยไปทำประโยชน์ให้แก่กิจการที่ตนสนใจ หรือตนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง  หรือต้องการเอาพรรคพวกของตนเข้าทำงานในมหาวิทยาลัย  หรือต้องการให้มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาที่พวกตนต้องการ

สภาพตามย่อหน้าบน อาจเป็น conflict of interest หรือไม่ก็ได้  ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และเจตนาของผู้นั้น   เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่มีเส้นแบ่งชัดเจน  นี่คือความยากในเรื่องเชิงจริยธรรม

หลักการที่ง่ายที่สุด ในการดูแลไม่ให้เกิด conflict of interest คือ กรรมการสภามหาวิทยาลัยทุกคน ต้องเข้ามาทำหน้าที่โดยยึดถือผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นที่ตั้ง  ไม่เข้ามาเอาตำแหน่งกรรมการสภาฯ เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์อย่างอื่น   นี่คือหลักการ ที่ฟังดูง่าย  แต่ในทางปฏิบัติ ทุกคนที่เป็นปุถุชน ก็เบี่ยงเบนได้ง่าย  ต้องมีการเตือนสติ มีกลไกให้ระมัดระวัง  และหากมีสัญญาณว่าเกิดพฤติกรรมที่ส่อว่า กรรมการท่านใดท่านหนึ่งกำลังทำสิ่งที่เน้นประโยชน์ตนเหนือประโยชน์ขององค์กร  ก็ต้องมีคนเตือน โดยเพื่อนกรรมการสภาฯ ด้วยกันช่วยเตือน  และบุคคลที่สำคัญที่สุดคือนายกสภาฯ

จริงๆ แล้ว potential conflict of interest สูงที่สุดในคนที่ทำงานในมหาวิทยาลัยนั่นเอง  คือทั้งกรรมการสภาฯ ผู้แทนฝ่ายบริหาร  ผู้แทนคณาจารย์  และผู้แทนบุคลากรสายสนับสนุน ต่างก็มีโอกาสเกิด “ผลประโยชน์ขัดกัน” ได้ง่าย  และที่ร้ายที่สุดคือ ตอนตัดสินเลือกผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดขององค์กร

จึงเกิดความรวนเร ไม่สงบ ทะเลาะเบาะแว้ง ได้บ่อย ในการสรรหาอธิการบดี  ในสภาพปัจจุบัน มหาวิทยาลัยที่มีวัฒนธรรมความดีงามเข้มแข็ง ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเคารพเชื่อถือกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ  โอกาสที่ความขัดแย้งจะสงบโดยเร็วก็สูง  แต่ยังมีมหาวิทยาลัยอีกจำนวนมากในประเทศไทย ที่สภาพไม่เป็นเช่นนั้น  โอกาสที่ความขัดแย้งลุกลามจึงสูง

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า  องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทยแบบไตรภาคี อย่างในปัจจุบัน ยังจะต้องมีวิวัฒนาการต่อไปอีก  และเดาว่า ต่อไปจะต้องเป็นสภาฯ ที่องค์ประกอบเป็นกรรมการภายนอกทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด  โดยที่คนเหล่านี้ต้องเสียสละทำงานให้แก่สังคม และต้องรู้และมีทักษะด้านการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/543565

 
Home > Articles > การศึกษา > องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทย เป็น potential conflict of interest

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611258

facebook

Twitter


บทความเก่า