Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์ ทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑

ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์ ทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิง เพื่อให้เป็น "ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑" ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๐ หรือศตวรรษที่ ๑๙ ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม   การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker และเป็น learning person   ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker   ชาวนาหรือเกษตรกร ก็ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker    ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ ๒๑ จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ หรือ learning skills

ที่การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคนไปเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง และพลิกผัน คาดไม่ถึง   คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะสูงในการเรียนรู้และปรับตัว

ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มี learning skills  และในขณะเดียวกันมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งไม่เหมือนการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๑๙

ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C


3R ได้แก่ Reading, 'Riting และ 'Rithmetics
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving
Creativity & innovation
Cross-cultural understanding
Collaboration, teamwork & leadership
Communications, information & media literacy
Computing & ICT literacy
Career & learning skills


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คือการเรียนรู้ 3R x 7C

ครูเพื่อศิษย์เอง ต้องเรียนรู้ 3R x 7C   เรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง   ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง

ดู 21st Century Learning Framework ได้ที่นี่

ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น facilitator ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) ของศิษย์   ผมจะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบันทึกต่อๆ ไป

ย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน   เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู

ครูจะต้องปรับตัวมาก  ซึ่งเป็นเรื่องยาก  จึงต้องมีตัวช่วย คือ PLC (Professional Learning Community)   ซึ่งก็คือการรวมตัวกันของครูประจำการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสกการณ์การทำหน้าที่ครูนั่นเอง   และ มสส. กำลังจะจัด PLC ไทย เรียกว่า ชร.คศ. (ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์)   หรือในภาษา KM เรียกว่า CoP (Community of Practice) ของครูเพื่อศิษย์นั่นเอง

ชร.คศ. คือตัวช่วยการเรียนรู้ของครู   ให้การปรับตัวของครู เปลี่ยนชุดความรู้และชุดทักษะของครู ไม่เป็นเรื่องยาก แต่จะสนุกเสียด้วยซ้ำ

เรื่อง PLC และ ชร.คศ. นี้ ผมจะเขียนโดยพิสดารในบันทึกต่อๆ ไป

 

วิจารณ์ พานิช
๑๕ ธ.ค. ๕๓
คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/415058

 
Home > Articles > การศึกษา > ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์ ทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606212

facebook

Twitter


บทความเก่า