Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

พิมพ์ PDF

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

ข่าวนี้ บอกเราว่า มีผู้เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป  แต่เมื่ออ่านรายละเอียดแล้ว พบว่าเป็นข่าวที่ไม่แม่นยำอย่างยิ่ง  และในความเห็นของผม เป็นการให้ความเห็นผิดๆ ต่อสาธารณชน  แต่ข่าวนี้มีส่วนน่าสนใจตรงนำเราไปสู่บทความในวารสาร Nature เรื่องEducation : The PhD Factory ที่น่าอ่านมาก

บทความใน Nature นี้ เป็นการนำเสนอสถานภาพของบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอกของทั่วโลก  เปรียบเทียบระหว่างประเทศ

เริ่มด้วยประเทศญี่ปุ่น ที่มีปัญหามาก  รัฐบาลมีนโยบายและแผนเพิ่มจำนวนผู้จบปริญญาเอก และ postdoc  แต่เมื่อจบแล้วคนเหล่านี้ไม่มีงานทำ  รัฐบาลถึงกับต้องจ่ายเงินให้บริษัทจ้างคนเหล่านี้ไปทำงาน  แต่บริษัทก็บอกว่า ไม่รู้จะจ้างไปทำไม เพราะความรู้ความสามารถไม่ตรงความต้องการ  ผมไม่นึกเลยว่าจะได้ยินเรื่องแบบนี้จากประเทศญี่ปุ่น ที่ผมนับถือว่ามีความรอบคอบสูง

ถัดมาคือจีน ที่เวลานี้ผลิตบัณฑิต ป. เอกสูงที่สุดในโลก คือปีละ ๕ หมื่นคน  แต่มีปัญหาคุณภาพ  และเขามีวิธีแก้ปัญหาหลายอย่าง

สหรัฐอเมริกา ผลิต ป. เอกได้มากเป็นที่ ๒ รองจากจีน  มีความท้าทายเรื่อง การผลิตให้ตรงความต้องการ  ข้อมูลในบทความเกี่ยวกับเงินเดือน น้อยกว่าที่ผมคิดมาก  และบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์ตกงานมากอย่างน่าตกใจ  ในขณะที่คนจบ ป. เอกสาขาสังคมศาสตร์หางานง่ายกว่ามาก  เป็นความจริงที่ผมแปลกใจ

เยอรมนี ดูจะเป็นประเทศที่มีความสำเร็จสูงที่สุด  โดยที่ในอดีตมีปัญหาผลิตมากเกินไป  การเรียน ป. เอกในเยอรมันมีลกษณะพิเศษ ๒ อย่าง  (๑) ไม่ถือเป็น นศ.  แต่ถือเป็นทีมวิจัย  (๒) ไม่เน้นผลิตไปทำงานวิชาการเท่านั้น  แต่เน้นผลิตไปทำงานในภาคการผลิตด้วย  เขาบอกว่า เพียงร้อยละ ๖ ของคนจบ ป. เอกสายวิทย์ ไปทำงานในภาควิชาการ  คำอธิบายคือ เงินเดือนต่ำ และก้าวหน้าช้า

อีก ๓ ประเทศที่เขาเอ่ยถึงคือ โปแลนด์  อียิปต์ และอินเดีย

สรุปได้ว่า ประเด็นสำคัญของการศึกษาระดับปริญญาเอกก็คือ ทำอย่างไรให้มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การพัฒนาประเทศ  ให้มันสอดคล้องกับงาน และความต้องการคนของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ   ในประเด็นนี้ ตรงกับข่าวในเดอะเนชั่น  ที่รองเลขาธิการ กกอ. บอกว่า  สกอ. ไม่มีตัวเลขทำนายความต้องการ ของประเทศ  แต่ผมคิดว่า สกอ. น่าจะมีตัวเลขจำนวนการผลิตในสาขาต่างๆ มาบอกสังคม  และตามข่าว ที่บอกว่า ประเทศไทยขาดแคลนคนจบ ป. เอกด้านการศึกษานั้น ผมคิดว่าไม่จริง  ผมคิดว่าเราผลิต ป. เอกด้านการศึกษาแบบเฟ้อจำนวน แต่หย่อนคุณภาพอย่างน่าตกใจ

ผมคิดว่า ประเทศไทยต้องดำเนินการวางแผนการผลิต ป. เอกของตนเอง  เชื่อมโยงกับแผนการส่งคน ไปเรียนต่อต่างประเทศ  เราไม่ควรมองว่า หากจะให้ได้บัณฑิต ป. เอกที่มีคุณภาพ ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ เท่านั้น

และในขณะเดียวกัน ต้องหาทางป้องกัน การผลิต ป. เอก แบบคุณภาพต่ำ

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544529

 
Home > Articles > การศึกษา > บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606202

facebook

Twitter


บทความเก่า