Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home

ทำไมการศึกษาประเทศไทยจึงล้มเหลว

พิมพ์ PDF

ทำไมการศึกษาประเทศไทยจึงล้มเหลว

 

          เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วหน้าว่านโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทยล้มเหลว ได้มีการพูดกันมามากและเป็นจุดอ่อนของทุกรัฐบาลในช่วงระยะเวลาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านนี้ต่างก็ได้รับคำตำหนิกันไปโดยทั่วหน้า ไม่ว่าผู้บริหารท่านใดเข้ามาจัดการแก้ไขก็ไม่สำเร็จ ไม่สามารถทำให้การศึกษาประเทศเราดีขึ้นแต่กลับเลวร้ายลงเรื่อยๆ คุณภาพและมาตรฐานของผู้จบการศึกษาตกต่ำลง

                ที่ว่าการศึกษาประเทศไทยล้มเหลว อะไรเป็นตัวชี้วัดว่าล้มเหลว ประชาชนคนไทยโง่ลงหรือ  ผมว่าไม่ใช่ ปัจจุบันเรามีผู้จบปริญญาตรีจำนวนมากกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน มีผู้จบทั้งปริญญาโท ปริญญาเอก มากมาย เดินชนกันทุกวัน แสดงว่าคนไทยจบการศึกษาระดับสูงขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น มีผู้มีความรู้และการศึกษาสูงจำนวนมากกว่า 10 ปีก่อน เด็กไทยไม่โง่ สามารถสู้เด็กชาติอื่นได้สบาย เพียงแต่เด็กไทยขาดโอกาส ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร

                สังคมเป็นผู้ทำให้การศึกษาของประเทศไทยล้มเหลว คนไทยมีความสามารถในการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้มาสร้างปัญญาเพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรื่องก้าวหน้าได้ไม่แพ้ประเทศใดในโลก ปัญหาอยู่ที่ค่านิยมที่ผิดๆของสังคมไทยที่ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศไทยล้มเหลว ไม่ใช่ความผิดของผู้บริหารคนหนึ่งคนใด  สังคมทุนนิยมได้เข้ามาครอบงำสังคมไทยเป็นเวลานานกว่า 10 ปี ผู้ที่มีเงินเป็นผู้กำหนดทุกอย่าง ทุกคนจึงแข่งขันกันหาเงินเพื่อสร้างอำนาจและโอกาสให้กับตัวเองและครอบครัว ผู้มีเงินและอำนาจมีสิทธิเหนือกว่าผู้ไม่มีเงินและอำนาจ ผู้มีเงินและอำนาจไปที่ไหนก็ได้รับการต้อนรับและยกย่อง

                รัฐบาลได้ให้การศึกษาฟรีกับเด็กไทยทุกคนเป็นเวลา 12 ปี เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าเรียนรู้การศึกษาในระบบ หลังจากนั้นเด็กจะต้องแข่งขันกันเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อเรียนให้จบปริญญาตรี เพราะสังคมได้กำหนดว่าผู้จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจะมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตได้น้อย กลายเป็นประชาชนขั้นสองของสังคม ไม่สามารถเข้าทำงานราชการ หรือเข้าทำงานในบริษัทที่มั่นคงได้ ไม่สามารถเข้าสมัครเป็นผู้แทนของประชาชน ดังนั้นถ้าต้องการมีชีวิตที่ก้าวหน้า จะต้องจบปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ

                เด็กจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา หรือ สายอาชีพ ถ้าไม่ได้เรียนต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จนจบปริญญาตรี จะมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตยากเพราะสังคมกำหนดว่าเป็นผู้มีความรู้น้อย รัฐไม่ได้ให้การสนับสนุนประชาชนทุกคนให้ได้รับโอกาสเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา สถานศึกษาของรัฐมีไม่พอเพียงกับจำนวนเด็กที่จบมัธยมในแต่ละปี ผู้ที่เรียนเก่งในระดับเกรด เอ ก็มีโอกาสเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐ และสามารถเลือกเรียนคณะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานได้ สำหรับผู้ที่เรียนเก่งพอประมาณจะสามารถเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้ แต่ไม่สามารถเลือกเรียนคณะที่ต้องการได้ เด็กส่วนมากไม่ได้คำนึงว่าจะทำอาชีพอะไร ควรจะต้องเรียนคณะไหน เพียงแต่คิดว่าเรียนคณะไหนก็ได้ขอให้ได้เข้าไปเรียน และจบเร็วๆ ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้ ก็ต้องเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน เสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมาก กว่าจะจบการศึกษา

                สถานบันการศึกษากลายเป็นธุรกิจ เด็กต้องลงทุนเข้าศึกษาเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมว่าเป็นผู้มีความรู้ ทุกอย่างได้มาด้วยเงิน อยากได้ความรู้ก็ต้องมีเงิน  ทุกอย่างต้องลงทุน เมื่อมีการแข่งขันมากก็ยิ่งต้องลงทุนสูงเพื่อให้ตัวเองอยู่เหนือผู้อื่น ทุกคนจึงต้องแข่งขันกันหาเงินเพื่อนำมาเป็นทุนให้กับลูกหลาน มีเงินก็มีอำนาจ มีอำนาจก็มีโอกาสมากกว่าผู้อื่น ทุกอย่างจึงวนอยู่กับ เงิน อำนาจ และการแข่งขัน

               

เพราะค่านิยมที่ผิดๆ ทำให้คนแสวงหาความรู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเอาเปรียบผู้อื่น รู้ในสิ่งผิดๆ นำความรู้ที่ได้มาสร้างฐานให้กับตัวเอง ครอบครัว และพวกพร้อง โดยไม่เข้าใจความพอเพียง เราเน้นแต่สร้างคนให้มีความรู้ แต่เราไม่ได้สร้างคนให้มีปัญญา  คนที่มีปัญญาจริงๆจะไม่คิดสั้น ไม่ทำอะไรแบบเอาเฉพาะตัว เห็นแก่ ตัวเอง ครอบครัว และ พวกพร้อง คนที่มีปัญญาจะมองการไกล คิดถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ ไม่สร้างค่านิยมผิดๆ ดังนั้นถ้าต้องการสร้างคุณภาพและมาตรฐานด้านการศึกษาให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพ เพื่อช่วยกันสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติและประชาชนโดยรวม สังคมจะต้องเปลี่ยนค่านิยม หันมายกย่องคนดีมีคุณธรรม มากกว่าคนมีเงิน และอำนาจ  ช่วยกันสร้างคนที่มีปัญญา ไม่ใช่คนที่มีความรู้

จำนวนประชาชนชาวไทยที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ในการดำรงชีวิต จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและมาตราการศึกษาของประเทศไทย

 

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

17 ธันวาคม 49

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:52 น.  
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8599033

facebook

Twitter


บทความเก่า