Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > การกำกับดูแลการวิจัย (Research Governance)

การกำกับดูแลการวิจัย (Research Governance)

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๘ ส.. ๕๖ ผมไปฟังเรื่อง University / Faculty's Research and Academic Services โดย ศ. ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล   ในหลักสูตรคณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง (DFC) รุ่นที่ ๓

อ่าน ppt ก่อนการประชุม   ทำให้ผมตระหนักว่า ในเรื่องงานวิจัยนั้น ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่อง  ต้องมีทั้งการลงมือทำ การบริหาร และการกำกับดูแล   ผมเคยเขียนหนังสือเรื่องการบริหารงานวิจัย แต่ผมยังไม่ได้ตระหนักในประเด็นเรื่องการกำกับดูแลงานวิจัย ppt ของ ศ.ดร. ศันสนีย์ ทำให้ผมได้คิด

เนื่องจากงานวิจัยเป็นเรื่องของคนมีความรู้ จึงต้องมีความรับผิดชอบด้วย (ยิ่งรู้มาก ฉลาดมาก ก็ยิ่งมีโอกาสก่อความเสียหายแก่ส่วนรวมได้มาก หากเป็นคนไม่ดี  ตัวอย่างในวงการเมืองไทยในขณะนี้เห็นอยู่จะจะ) วงการวิจัยจึงควรเน้นจัดให้มีระบบกำกับดูแลแบบเน้นกำกับตนเองและกำกับกันเอง (self-governance) เป็นหลักใหญ่   เพื่อให้ระบบกำกับดูแลจากภายนอก ที่เป็น top-down governance มีน้อยที่สุด ให้มีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

คงต้องตั้งต้นคิดเรื่องระบบกำกับดูแล ว่ามีเพื่ออะไร   คำตอบของผมคือ เพื่อให้กิจการหรือวงการนั้นทำประโยชน์ได้จริง และไม่ก่อโทษ   ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อโทษแก่ตนเอง แก่เพื่อนร่วมองค์กร/วงการ และแก่สังคม   รวมทั้งเพื่อธำรงรักษาชื่อเสียง/ความน่าเชื่อถือในสังคม

วงการวิจัยจึงควรรวมตัวกัน กำหนดกติกา และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้มีระบบกำกับดูแลตนเองที่เข้มแข็ง

การกำกับดูแลต่างจากการบริหารหรือการจัดการ

การบริหาร/จัดการ เน้นผลลัพธ์ที่กำหนด

การกำกับดูแล เน้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม   ซึ่งมองในมุมหนึ่ง เป็นเรื่องของการยืนยันว่า องค์กร/วงการ นั้นๆ ควรดำรงอยู่ เพราะมีคุณค่าต่อสังคม   มีผลดีมากกว่าผลเสียต่อสังคมอย่างมากมาย

. ดร. ศันสนีย์ กล่าวถึงหลักการกำกับดูแลที่ดี ๖ ประการคือ

๑. Transparency

๒. Ethics

๓. Accountability

๔. Participation

๕. Rule of Law

๖. Value for Money

 

 

แต่ละเรื่องของการกำกับดูแลการวิจัยที่ดีมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย   การที่ผมได้ฟังการบรรยายนี้จึงประเทืองปัญญา อย่างยิ่ง   และทำให้ผมสรุปกับตัวเองว่า การวิจัยก็เช่นเดียวกับกิจกรรมที่ทรงคุณค่าอย่างอื่น    อาจดำเนินการไปในทางมิจฉาทิฐิได้    จึงต้องมีกลไกตรวจสอบกำกับดูแล อย่างจริงจัง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2013 เวลา 18:26 น.  
Home > Articles > การศึกษา > การกำกับดูแลการวิจัย (Research Governance)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8631282

facebook

Twitter


บทความเก่า