Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ทุนมนุษย์ กับ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

ทุนมนุษย์ กับ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

ทุนมนุษย์ กับ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

เรียบเรียงจาก

โครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา

Introduction

ธุรกิจบริการการท่องเที่ยวเป็นสาขาการบริการที่มีความสำคัญมาก มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจของนานาประเทศ องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourist Organization: WTO) มีการคาดคะเนว่าภายในปี 2563 จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกถึง 1,600 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวระยะไกลจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น แต่นักท่องเที่ยวจะใช้เวลาท่องเที่ยวในแต่ละสถานที่ลดน้อยลง โดยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวของชาติที่มีการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ ประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ส่วนนักท่องเที่ยวชาติใหม่ๆ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในระดับสูง ได้แก ประเทศจีน และรัสเซีย

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมากและครอบคลุมแทบทุก ประเภท ทั้งที่เป็นธรรมชาติเฉพาะอุทยานธรรมชาติ มีทั้งสิ้น 71 แห่ง (ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคกลาง 13 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 แห่ง และภาคใต้ 7 แห่ง) 1 และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเฉพาะวัด อย่างเดียวมีจำนวนถึง 33,902 แห่ง สำหรับ วัง พระราชวัง และพระตำหนัก มีไม่น้อยกว่า 46 แห่ง พิพิธภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 273 แห่ง น้ำตกไม่น้อยกว่า 764 แห่ง เป็นต้น ซึ่งปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของแหล่ง ท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติมักมีปัญหาเสื่อมโทรม ขาดการดูแลรักษา โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินกลางที่ใครๆก็สามารถเข้ามาใช้ได้ มีการบุกรุกเข้าไปก่อสร้างและพัฒนาอย่างไม่มีการวางแผน ผิดประเภท และไม่ให้ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทำให้ทรุดโทรม เกิดมลภาวะทางภูมิทัศน์ ขาดความปลอดภัย นอกจากนี้ยังขาดการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวให้เกินกว่าความสามารถของทรัพยากรในการฟื้นคืนสภาพ ซึ่งเป็นการทอนขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวในที่สุด

ด้วยบุคลิกของคนไทยที่ยิ้มแย้มแจ่มใสมีอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อผู้อื่นได้รับการขนาน นามว่า “สยามเมืองยิ้ม” จึงน่าจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการประกอบธุรกิจด้านบริการโดยเฉพาะธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยว ที่ต้องมีการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขก ผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

นอกจากนี้วัฒนธรรมประเพณีความเป็นอยู่ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยมของคนในแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ก็สามารถก่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการนำประเพณีวัฒนธรรมมาเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยว ก็อาจนำไปสู่ความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรมประเพณีหากมีการปรับรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีนั้นให้สอดคล้องกับธุรกิจการท่องเที่ยว แทนที่จะเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปเรียนรู้รากเหง้าแห่งภูมิปัญญาหรือที่มาของการก่อเกิดวัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านั้น ประเพณีวัฒนธรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนก็จะมีค่าเพียงการแสดงที่ถูกจัดฉากขึ้นมิใช่เป็นการดำเนินชีวิตหรือการสานต่อทางวัฒนธรรมประเพณีตามค่านิยมหรือความเชื่อที่มีสืบต่อกันมา

ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจึงอาจจะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบไปเพื่อเป็นความภาคภูมิใจแก่ชนรุ่นหลังและเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้มาสู่ชุมชนหรือประเทศอย่างยั้งยืนต่อไป แต่หากไม่มีการจัดการด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงก็อาจกลายเป็นการทำลายวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม หรือลดคุณค่าแห่งวัฒนธรรมประเพณีนั้นให้เป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวชมโดยขาด จิตวิญญาณทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นทะเล น้ำตก ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นการเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมบัติส่วนกลางที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ อย่างแท้จริง หากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือนักท่องเที่ยว ต่างก็เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยผลักภาระหน้าที่ในการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด สุดท้ายย่อมจะนำความเสื่อมโทรมมาสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านั้น และส่งผลให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในที่สุด อีกทั้งผู้ที่ต้องแบกรับผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมโทรมของธรรมชาติโดยตรงก็คงจะ หนีไม่พ้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นโดยที่อาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวมากเท่าผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ประกอบการที่มาจากถิ่นอื่น

สำหรับความเสื่อมโทรมหรือการทำลายแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอาจเกิดจาก สาเหตุอื่น ๆ เช่น การขยายตัวของเมืองโดยไม่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ การขยายตัวของโรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงไป ดังจะเห็นได้จากการเกิดภาวะน้ำท่วมหนักและโคลนถล่มในภาคเหนือ หรือการเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงจนเกิดความแห้งแล้งอย่างหนักในบางพื้นที่จนส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว จึงควรมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่อไป

ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจะประกอบด้วยธุรกิจหลักใน 3 ส่วนคือ 1) ธุรกิจบริการที่พัก   2) ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และ 3) ธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์โดยธุรกิจเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นการให้บริการที่ประกอบกัน (complementary services) และเกี่ยวโยง กับแหล่งท่องเที่ยว หากโรงแรมหรือที่พักได้รับการออกแบบมาอย่างดีสอดคล้องเหมาะสมกับสถานที่ท่องเที่ยวก็จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกับบรรยากาศและทิวทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ อีกทั้งโรงแรมหรือที่พักยังมีความจำเป็นในฐานะเป็นที่พักผ่อนและค้างแรมหลังจากนักท่องเที่ยวได้เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมาตลอดทั้งวัน ส่วนธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มก็มีส่วนช่วยเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับธุรกิจบริการที่พัก เพราะอาหารและเครื่องดื่มที่อร่อยและสะอาดย่อมมีส่วนช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น สำหรับธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จะช่วยเชื่อมโยงและสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่นักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเลือกมาหาประสบการณ์ใหม่ๆ เนื่องจากจะมีส่วนในการแนะนำหรือคัดสรรบริการหรือแหล่งท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือช่วยเผยแพร่จุดเด่นที่น่าประทับใจของแหล่งท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวขยายระยะเวลาการท่องเที่ยวหรือมีความประทับใจจนต้องกลับมาเที่ยวซ้ำและอาจแนะนำนักท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้มารู้จักกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่น่าประทับใจดังเช่นที่ตนเองเคยได้รับ

ธุรกิจบริการที่พักมีด้วยกันหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้แก่โรงแรม คอนโดเทล เกสท์เฮาส์ บังกะโล บ้านพักตากอากาศ บ้านพักเชิงนิเวศ พื้นที่ให้เช่าสำหรับกางเต็นท์เป็นต้น สำหรับในธุรกิจบริการที่พักที่ SMEs น่าจะสามารถเข้ามา ประกอบกิจการได้คงจะเป็นเกสท์เฮาส์ บังกะโล บ้านพักเชิงนิเวศขนาดเล็ก หรือพื้นที่ให้เช่าสำหรับ กางเต็นท์

ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พบว่าจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวในปี 2547 มีจำนวนทั้งหมด 16,950 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 16,751 ราย และในปี 2548 มีจำนวน ผู้ประกอบการทั้งหมด 17,853 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 17,650 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 5.33 และ 5.37 ตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณาตามขนาดของวิสาหกิจจะพบว่าผู้ประกอบการกว่า ร้อยละ 99 เป็นผู้ประกอบการ SMEs  สำหรับด้านการจ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและ ที่พักชั่วคราว  พบว่าในปี 2547 มีจำนวนการ จ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพัก และที่พักชั่วคราวทั้งหมด 232,916 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 156,554 คน คิดเป็นร้อยละ 67.21 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราว ส่วนในปี 2548 การจ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวทั้งหมดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปี 2547 คิดเป็น ร้อยละ 0.03 หรือมีจำนวนเท่ากับ 232,988 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 156,626 คน คิดเป็นร้อยละ 67.22 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวใน ปี 2548

ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม อาจให้บริการในหลายลักษณะด้วยกัน เช่น ภัตตาคาร บริการจัดเลี้ยง ร้านอาหารทั่วไปไปหรือร้านอาหารริมทาง ร้านอาหารรถเข็นหรือเรือ หาบเร่ ตลาดน้ำ ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ร้านโชวห่วย เพิงขายผลไม้และเครื่องดื่มริมทาง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ SMEs สามารถเข้าไปประกอบการได้ยกเว้นภัตตาคาร หรือบริการจัดเลี้ยงขนาดใหญ่เท่านั้น หากพิจารณาด้านจำนวนวิสาหกิจและการจ้างงานในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขาย อาหารและบาร์จะพบว่าผู้ประกอบการในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์กว่า ร้อยละ 99 เป็น ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งนั้นในปี 2547 มีจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและ บาร์ทั้งหมดจำนวน 138,488 รายเป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 138,476 ราย และในปี 2548 มีจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์เพิ่มขึ้นเป็น 139,130 ราย เป็น ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 139,118 ราย คิดเป็นสัดส่วนการเพิ่มของจำนวนวิสาหกิจจากปี 2547 เท่ากับร้อยละ 0.46 และ 0.46 ตามลำดับ ส่วนการจ้างงานของธุรกิจภัตตาคาร ร้านขาย อาหารและบาร์จะเห็นว่าในปี 2547 มีการจ้างงานในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์ทั้งหมด เท่ากับ 402,332 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 380,453 คน คิดเป็นร้อยละ 94.56 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์และในปี 2548 มีการจ้างงาน ในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์ทั้งหมดเท่ากับ 403,860 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากปีก่อน เป็น การจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 381,981 คน คิดเป็นร้อยละ 94.58 ของการจ้างงาน ทั้งหมดในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์

ธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นการให้บริการเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวหรือบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันและช่วยประสานงานในเรื่อง ต่าง ๆ ได้แก่การสำรองและจัดหาพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง การสำรองที่พักและอาหาร การจัดโปรแกรม การเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นธุรกิจที่ SMEs น่าจะสามารถเข้ามาประกอบการได้ในเกือบทุกส่วน เพราะเป็นการให้บริการในลักษณะประสานงานเพื่อเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เกี่ยวกับจำนวนวิสาหกิจและการจ้างงานตาม ISIC 6304 ซึ่งเป็นธุรกิจตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จะเห็นว่า จำนวนวิสาหกิจกว่าร้อยละ 99 เป็น SMEs โดยในปี 2547 มีจำนวนวิสาหกิจที่เป็นตัวแทนธุรกิจการ ท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมดจำนวน 4,563 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 4,556 ราย และในปี 2548 มีจำนวนวิสาหกิจที่เป็นตัวแทน ธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมท้ังการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมด 5,616 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 5,609 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 23.08 และ

23.11 ตามลำดับ  ด้านการจ้างงานของตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการ บริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นเป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหมด โดยในปี 2547 มีการจ้างงานของตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยวรวมทั้งการบริการ นักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมด 13,431 คน และในปี 2548 มีการจ้างงานทั้งหมด 14,209 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.79

จากการศึกษาของศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับภาคบริการการท่องเที่ยว (มีนาคม 2549) พบว่าแรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวยังขาดคุณภาพ ความรู้และทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ รวมทั้งขาดทักษะและความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ปัจจุบันประเทศไทยมีบุคลากรด้านมัคคุเทศก์จำนวนมากเกินกว่าความต้องการของธุรกิจ แต่ยังขาดมัคคุเทศก์ทีมีคุณภาพ เช่น ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษารวมทั้งจรรยาบรรณของการให้บริการ ส่วนหนึ่งคงมาจากการขาดนโยบายสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐ รวมทั้งปัญหาความจำกัดของกําลังคนและงบประมาณในการควบคุมคุณภาพมัคคุเทศก์

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เคยทำการสำรวจแรงงานในสาขาบริการการท่องเที่ยวในปี 2543 พบว่าแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังมีระดับการศึกษาที่ต่ำเกินไป แรงงานเกินกว่าร้อยละ 50 จบการศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า และมีไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, โครงการสำรวจ แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปี 2543)

ทั้งนี้ยกเว้นธุรกิจการนำเที่ยวที่แรงงานมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าถึงร้อยละ 49 การที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะทางรัฐบาลมีข้อกําหนดบังคับให้ผู้ที่ขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์ต้องมีระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและความจำเป็นในการใช้ภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวนั้นมีมากกว่าสาขาอื่นๆ

 

การที่แรงงานในสาขาบริการการท่องเที่ยวมีการศึกษาที่ไม่สูงเพียงพอ มีสาเหตุมาจาก การที่แรงงานส่วนใหญ่มักเป็นแรงงานชั่วคราวซึ่งปกติประกอบอาชีพอื่นเป็นหลัก แต่ย้ายเข้ามาทำงานในสาขานี้ในช่วงฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลของงานหลักของตน เช่น ชาวประมงที่หันมาให้บริการรับส่งนักท่องเที่ยวทางเรือระหว่างที่ไม่ใช่ฤดูจับปลา ชาวนาที่นำรถอีแต๋นมาขนส่งนักท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูเพาะปลูก เป็นต้น การจ้างงานในลักษณะชั่วคราวนี้ทำให้แรงงานไม่เกิดการฝึกฝนทักษะเฉพาะด้านในการให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ปัญหาอีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแรงงานเองก็ยังมองไม่เห็นเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพ (career path) ที่ชัดเจน เมื่ออุตส่าห์ลงทุน เพิ่มพูนทักษะด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ด้านผู้ประกอบการเองก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งเสริมให้พนักงานของตนมีการอบรมหรือฝึกทักษะที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นัก เพราะไม่แน่ใจว่าพนักงานที่มีทักษะสูงขึ้นจากการลงทุนของตนจะอยู่ทำงานด้วยนานเพียงพอที่จะคุ้มค่าหรือไม่  ระบบการศึกษาด้านการท่องเที่ยวเองก็ยังไม่สามารถผลิตบุคคลากรที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมได้เท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะหลักสูตรการศึกษาด้านการ ท่องเที่ยวในปัจจุบันยังไม่มีการคำนึงถึงความต้องการของสาขาบริการนี้โดยมักสอนด้วยการเน้นการให้ความรู้แต่ไม่ได้มีการฝึกทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ศึกษาอย่างเพียงพอ โดยมักจะเน้นการปูความรู้ที่การเตรียมให้ผู้จบการศึกษาไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป ขาดการเน้นการสอนเพื่อการออกไปทำงานจริง ผู้สำเร็จการศึกษาจึงได้ใบประกาศนียบัตรแต่ขาดทักษะในการปฏิบัติงานที่แท้จริง หลักสูตรการอบรมส่วนใหญ่ก็ยังมีสัดส่วนจำนวนชั่วโมงในการฝึกปฏิบัติที่น้อยมาก คือมีเพียง ร้อยละ 3 ในหลักสูตรปริญญาตรีของรัฐบาล และเพียงร้อยละ 11 ในหลักสูตรปริญญาตรีและอาชีวศึกษาของเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดของกระทรวงศึกษาธิการที่กําหนดให้มีการฝึกภาคปฏิบัติเพียง 1 ภาคการศึกษาจากการอบรม 8 ภาคการศึกษา      ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวถึง 401.14 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2547 รายได้จากธุรกิจการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นถึง 701.58 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 11 ของ GDP  หากพิจารณาสถิติอื่น ๆ เกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจะพบว่าสัดส่วน รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะน้อยกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศก็ตาม โดยในปี 2540 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าท่องเที่ยวจำนวน 7.22 ล้าน คน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยจำนวน 220.75 พันล้านบาท สำหรับในปี 2549 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 15.12 ล้านคน คิดเป็นรายได้ประมาณ 533 พันล้านบาท  การที่ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีระยะเวลาการพักค้างแรมเฉลี่ยและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย โดยในช่วงปี 2540 – 2549 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีระยะเวลาพักค้างแรมเฉลี่ย 7.77 – 8.40 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคนประมาณ 3,671.87 – 4,300 บาทต่อคนต่อวัน ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยจะมีระยะเวลาพักค้างแรม เฉลี่ย 2.31 – 2.67 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคนประมาณ 1,466 – 2,050 บาทต่อคนต่อวัน เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2547 พบว่าจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันจำนวน 4,057.85 บาท ต่อคนต่อวัน ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะใช้ไปเพื่อการซื้อสินค้าและของที่ระลึกเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.32 รองลงมาจะใช้เป็นค่าที่พัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.31 และค่าอาหารและเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 16.84 ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง คิดเป็นร้อยละ 12.40 ค่าพาหนะเดินทางในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 7.77 ค่าบริการท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 5.44 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด คิดเป็นร้อยละ 2.92  จากรายละเอียดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวดังกล่าว เห็นได้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางและท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวกับธุรกิจในภาคบริการและภาคการผลิตอื่นๆทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงไปข้างหน้า(forward linkage) และการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (backward linkage) โดยธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยววจะเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งน่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับการผลิตสินค้าและของที่ระลุกที่มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสูงสุด ส่วนที่มีความเชื่อมโยงรองลงมาคือ บริการธุรกิจและสังคม คิดเป็นร้อยละ 17 และร้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 16

จากการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและวิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง ผลกระทบจากการใช้จ่ายของ นักท่องเที่ยวต่อรายได้และการจ้างงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาโดยใช้แบบจำลองปัจจัย การผลิต – ผลผลิตภาค โดยภาคภูมิ สินนุธก พบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อเนื่องต่อ ระบบเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า ผลกระทบตัวคูณ (multiplier effect) ถึง 1.98 เท่า แสดงว่าทุก 1 บาทที่นักท่องเที่ยวใช้จ่าย จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตเป็นลูกโซ่ประมาณ 1.98 บาท ความเชื่อมโยงของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวนอกจากจะพิจารณาจากสัดส่วน ผลกระทบของรายได้จากการท่องเที่ยวต่อภาคการผลิตและบริการซึ่งเชื่อมโยงในลักษณะ forward linkage และในลักษณะ backward linkage แล้ว ยังสามารถพิจารณาความเชื่อมโยงในลักษณะของ เครือข่ายธุรกิจ (cluster) ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ โดยธุรกิจที่เชื่อมโยงโดยตรงจะประกอบด้วย การจัดจำหน่าย, กิจกรรมนันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา, การศึกษา, กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ และ บริการอื่น ๆ ส่วนธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่เข้ามาเชื่อมโยงเป็น cluster กับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ได้แก่สินค้าที่เป็นของที่ระลึก, สินค้า OTOP, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร และเสื้อผ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงเป็น cluster กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ได้แก่การขนส่ง เทคโนโลยี สารสนเทศ การก่อสร้าง และการเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะcluster                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              รัฐบาลทุกยุคต่างก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นเมื่อปี 2545 เพื่อจะได้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในปี 2549 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น ได้มีการร่วมกันจัดทำแผนด้านการท่องเที่ยวในช่วง 5 ปีคือ ปี 2550 – 2554 โดยมีแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่ตั้งเป้าว่าในปี 2550 จะ สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (ตลาดต่างประเทศ) ให้เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 หรือคิด เป็นมูลค่ารายได้ 5.4 แสนล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 15 ล้านคน ส่วน ตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทย (ตลาดในประเทศ) คาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 คิดเป็นมูลค่า รายได้ 3.8 แสนล้านบาท หรือประมาณ 81.99 ล้านคน/ครั้ง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 15 มีนาคม 2554

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 11:57 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ทุนมนุษย์ กับ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610595

facebook

Twitter


บทความเก่า