Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๕. จริยธรรม (๒) ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นตัวของตัวเอง

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๕. จริยธรรม (๒) ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นตัวของตัวเอง

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21stCentury เขียนโดย Annie Fox, M.Ed.

ตอนที่ ๕นี้ ตีความจากบทที่ ๒How Should I Know What to Do? Doing the Right Thing is Good Karma โดยที่ในบทที่ ๒มี ๔ ตอน ในบันทึกที่ ๔ได้ตีความตอนที่ ๑ และ ๒ ไปแล้ว ในบันทึกที่ ๕ จะเป็นการตีความตอนที่ ๓ และ ๔

ตอนที่ ๓ของบทที่ ๒เป็นเรื่องการทำสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่หวังผลตอบแทน อ่านชื่อหัวข้อแล้ว ผมนึกถึง คนระดับ ๖ และระดับความต้องการตามแนวคิดของ Maslow แต่ข้อความในหนังสือไม่ตรงกันกับที่ผมตีความหัวข้อ คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพสังคมในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่ตกอยู่ใต้แรงกดดัน และการรังแก จากเพื่อน เพราะวัยรุ่นมีความต้องการการยอมรับจากเพื่อนสูงอย่างไร้เหตุผล

ผมอ่านสาระในตอนนี้แล้วตีความว่า เป็นเรื่องของการเคารพตนเอง และเคารพคนอื่น (เพื่อน) เด็กและเยาวชนต้องได้รับการฝึกฝนให้มีความเคารพตนเอง (มั่นใจตนเอง) และเคารพคนอื่น (เพื่อนๆ) ในเวลาเดียวกัน ให้พื้นฐานจิตใจส่วนนี้แข็งแรงมั่นคง เพื่อให้บังคับใจตนเองให้มีการ ตัดสินใจอย่างยึดมั่นในคุณธรรม (ethical decision-making) ได้ แม้ยามมีอารมณ์ชั่ววูบ ไม่ปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบนั้นเข้าครอบครองตัวตน จนแสดงพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายหรือรังแกผู้อื่น ผู้เขียนใช้คำว่า thoughtful reflective behavior

คำถามของครูของลูกผู้เขียน ตนพบว่าลูกชายวัยรุ่นของตนมีนิสัยเอาแต่ใจตัว ชอบบังคับเพื่อนหญิงให้ทำตามที่ตนต้องการ เมื่อเพื่อนไม่ทำตามก็ทิ้งเพื่อน ตนเองเป็นแม่ที่เลี้ยงลูกคนเดียว จึงเสียใจมาก ที่ลูกมีนิสัยเช่นนี้ ตนจะคุยกับลูกอย่างไรดี

คำตอบของผู้เขียน หลักการพูดกับลูกวัยรุ่นคือ ให้หลีกเลี่ยงการเทศนา หรือสั่งสอนลูก แต่ให้ตั้งคำถามให้ลูกคิด และให้เป็นฝ่ายรับฟังลูกมากกว่าเป็นผู้พูด ผู้เขียนแนะนำให้หาโอกาสคุยกับลูกชายเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อน ทั้งเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ ใครก็ตามที่อยากได้เพื่อนที่ดี ตนต้องเป็นเพื่อนที่ดีก่อน เพราะความสัมพันธ์เป็น ถนนสองทาง เราต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราต้องการให้เขาดีต่อเราอย่างไร เราต้องดีต่อเขาอย่างนั้น ผู้เขียนแนะให้แม่ถามลูกชายว่า รู้ไหมว่าเพื่อนชายที่ดีเป็นอย่างไร แล้วให้ปิดปากไม่พูดอะไรอีก

ถ้าลูกชายตอบว่า ผมไม่ทราบ ก็ให้บอกว่า ถ้าอย่างนั้นแม่จะบอกให้ ในฐานะที่แม่เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ชอบให้มีคนมากดดันให้ทำในสิ่งที่ตนไม่พร้อมที่จะทำ ผู้ชายที่กดดันผู้หญิงเพื่อความต้องการของตนเองฝ่ายเดียว เป็นคนที่ไม่เคารพอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้หญิงที่ดี เป็นคนที่เคารพตนเอง และจะไม่ยอมทำตามแรงกดดันใดๆ และจะบอกให้อีกฝ่ายหนึ่งเลิกกดดัน ลูกเองมีสิทธิที่จะบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้เลิกกดดันให้ลูกทำสิ่งที่ลูกไม่ชอบ และต้องเคารพในสิทธิของเพื่อนหญิงที่จะบอกให้ลูกเลิกกดดันในเรื่องนั้น

ตอนที่ ๔ ของบทที่ ๒ เป็นเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของแรงกดดันจากเพื่อน (peer pressure) ผู้เขียนแนะนำให้พ่อแม่/ครู ชวนเด็กทำแบบสอบถามตรวจสอบความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งเขามีคำเฉพาะว่า Sheeple Quiz แล้วนำผลมาคุยกัน เพื่อให้เด็กเข้าใจว่า ตนต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นเหมือนแกะในฝูง ที่ทำตามๆ กันไป

ผมเองมองต่างจากข้อเขียนในตอนนี้ ว่าการเรียนแบบ PBL และเรียนเป็นทีม ที่มีช่วงเวลา reflection/AAR จะค่อยๆ หล่อหลอมทักษะการเป็นตัวของตัวเอง และเคารพความแตกต่างของคนอื่น ขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เป็นทักษะที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติและเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว หากค่อยๆ หล่อหลอมตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ เมื่อเข้าวัยรุ่น สภาพตกเป็นเหยื่อของแรงกดดันจากเพื่อน ก็จะไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก การเรียนรู้ที่ถูกต้องในวัยเด็ก จึงเป็นการป้องกันปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นไปโดยปริยาย หรือกล่าวในมุมกลับว่า สภาพปัญหาการข่มเหงรังแก และพฤติกรรมถูกกดดันจากเพื่อน เป็นอาการของความผิดพลาดของระบบการศึกษา

คำถามจากครูของลูกผู้เขียน พ่อแม่ส่วนใหญ่กลุ้มใจที่ลูกทำตามกระแส แต่ตนกลุ้มใจจากพฤติกรรมตรงกันข้ามของลูกสาว คือเธอชอบนุ่งกางเกงขาสั้นและเสื้อเชิ๊ร์ตของผู้ชาย ข้อดีคือเธอไม่บ้าผู้ชาย แต่ก็ไม่แต่งผมแบบผู้หญิง ตนอยากให้ลูกสาวเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็กังวลว่าลูกสาวจะเป็นพวกต่อต้านประเพณีนิยม และเป็นห่วงว่าลูกสาวไม่มีเพื่อน เพราะทำตัวแตกต่างมาก ตนควรตักเตือนลูก หรือปล่อยให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง

คำตอบของผู้เขียน จงมองลูกในแง่ดี และมองหาแง่ดีของลูกให้พบ และเลิกวิตกกังวลกับลูกสาว เพราะลูกเป็นคนเข้มแข็ง กล้าแตกต่าง สิ่งที่แม่ควรทำคือเน้นให้ positive reinforcement แก่ลูก เพื่อให้ลูกค่อยๆ ค้นพบตัวเอง จงส่งเสริมให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ให้ลูกเป็นอย่างที่แม่อยากให้เป็น

จะเห็นว่า การหล่อหลอมให้เด็กเติบโตเป็นคนดีนั้น เกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมาก ในหลายกรณีพ่อแม่หลงทำร้ายลูกด้วยความรัก และความปรารถนาดีต่อลูก โดยการตั้งความหวังให้ลูกเป็นอย่างที่ตนต้องการ ไม่ได้เน้นส่งเสริมสนับสนุนให้เขาเติบโตเป็นคนดีตามแบบที่ตัวเขาเองอยากเป็น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ มี.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2013 เวลา 08:11 น.  
Home > Articles > การศึกษา > สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๕. จริยธรรม (๒) ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นตัวของตัวเอง

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8628947

facebook

Twitter


บทความเก่า