Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > วิธีเลี้ยงลูกให้มีนิสัยใจคอดี

วิธีเลี้ยงลูกให้มีนิสัยใจคอดี

พิมพ์ PDF

วิธีเลี้ยงลูกให้มีนิสัยใจคอดี

บทความเรื่อง The Education of Character เขียนโดย Ingrid Wickelgren ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2012 และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012 เล่าเรื่องวิธีช่วยให้เด็กพัฒนานิสัยใจคอ หรือให้มีบุคลิกที่ดีที่ฝรั่งเรียกว่า Character

ตัวคุณสมบัติทางสมองที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ Executive Function (EF) นั่นเอง โดยสมองส่วนควบคุม EF อยู่ที่ Amygdala ที่ฝังอยู่ตรงกลางสมอง และ Prefrontal cortex อยู่ที่ผิวสมองตรงหน้าผาก สองส่วนนี้จะมีใยประสาท ต่อถึงกัน ทำงานร่วมกันอย่างขมักเขม้น เพื่อสร้างคุณสมบัติความเป็นคนที่รอได้ ควบคุมตนเองได้ รวมทั้งการมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และทักษะในการผ่อนคลายจิตใจของตนเอง ความสามารถเก็บข้อมูลสารสนเทศไว้ในใจ นำเอาสารสนเทศนั้นมาใช้ในจังหวะที่เหมาะสม ไม่เกิดความสับสนระหว่างสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้มีขีดความสามารถในการเรียนรู้สูง อดทน มีความานะพยายามเมื่อเผชิญความยากลำบาก รวมทั้งมีความสามารถยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ได้ ไม่แสดงปฏิกิริยาที่ไม่เหมาะสมออกไป

บทความนี้มีลักษณะเป็นการทบทวนผลงานวิจัย ทั้งที่แสดงอิทธิพลของ EF ต่อวิถีชีวิตของแต่ละคน และที่เป็นหลักฐานยืนยันว่า เด็กกลุ่มที่ EF ดี จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีชีวิตดีประสบปัญหาชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ EF ต่ำ

คุณสมบัตินี้เชื่อมโยงกับ IQ แต่สำคัญต่อชีวิตยิ่งกว่า

วิธีพัฒนา EF

ในบทความนี้แนะนำหลายวิธี ได้แก่

1. วิธีการฝึกสมาธิหลากหลายแบบ รวมทั้งวิธีกำหนดลมหายใจ มาตรวัดอารมณ์ (mood meter) การตรวจสอบความเครียดที่ Amygdala บัตรใบหน้าแสดงอารมณ์ (facial-expression card) วิธีใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมชื่อ MindUp ซึ่งใช้หลักการ จิตวิทยาเชิงบวก เป็นวิธีการฝึกที่คิดค้นจากความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาการเรียนรู้ มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

วิธีฝึกการหายใจ ช่วยทำให้ Amygdala 'เชื่อง' ลง และทำให้ Prefrontal Cortex เข้มแข็งมั่นคงขึ้น คือรับสัญญาณอารม์ที่ป้อนมาจาก Amygdala อย่างมีสติยับยั้งชั่งใจ

Amygdala ที่ยัง 'เถื่อน' อยู่ จะส่งสัญญาณอารมณ์แบบดิบๆ และรุนแรงสัญญาณแบบนี้จะมีส่วนสร้างความอ่อนแอให้แก่ Prefrontal Cortex ลดความสามารถในการคิด และการเรียน

การทำสมาธิ (mindfullness) มีส่วนช่วยลดมรสุมความเครียด เพราะมันทำให้จิตอยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่หันไปคิดเรื่องปัญหาในอดีต หรือคิดวิตกกังวลต่อสิ่งที่ยังมาไม่ถึง คืออนาคต เป็นการตัดวงจรความเครียด และนี่คือตัวหลักการของ คอมพิวเตอร์โปรแกรม MindUp

ความเครียด เป็นตัวบ่อนทำลาย EF นี่คือคำอธิบายอย่างหนึ่งว่า ทำไมเด็กจากครอบครัวที่มีเศรษฐฐานะไม่ดีจึงมี EF ต่ำ เพราะเขาตกอยู่ ใต้สภาพชีวิตที่มีความเครียดเรื้อรัง

2. CASEL (Collaborative for Academic, Social and Emotional Learning) เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะการแก้ปัญหา การจัดการความขัดแย้ง การตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ การพัฒนาความสัมพันธ์ การกำหนดเป้าหมายความมุ่งมั่น และความมีวินัยในตน

3. หนังสือเอ่ยถึงวิธีฝึกสติ ให้สติจดจ่อกับผัสสะในขณะนั้นของตน ที่เรียกว่า Sensory Mindfullness ซึ่งทำให้ผมนึกถึงการฝึกสติสำนักหลวงพ่อเทียน

4. มีการทดลอง Exercise Mindfullness ให้เด็ก ป. ๒ - ป. ๓ กลุ่มหนึ่งฝึกนั่งสมาธิ, ออกกำลังกาย, และเล่นเกมที่คิดขึ้น แล้ววัดทักษะด้านการยับยั้งชั่งใจ การกำหนดใจจดจ่อ ความจำใช้งาน และการควบคุมอารมณ์ พบว่าหลังฝึกไป ๘ สัปดาห์ เด็กกลุ่มทดลอง มีทักษะที่กล่าวถึง ดีกว่ากลุ่ม control อย่างชัดเจน

5. วิธีการฝึกอีกแบบหนึ่งเป็นขององค์กรที่ชื่อ PATHS (Promoting Alternative Thinking Strategies)

6. เครื่องมือ Tools of the Mind

7. วิธีแขวนภาพสมอง ระบุส่วนสำคัญ ๓ ส่วนให้เด็กเห็นอยู่เสมอ พร้อมทั้งครูคอยอธิบาย กลไกการเรียนรู้ในช่วงขณะนั้นๆ เชื่อมโยงกับสมองแต่ละส่วน ส่วนสำคัญ ๓ ส่วนคือ (1) Amygdala ศูนย์ทางผ่านกระแสอารมณ์ (2) Prefrontal Cortexศูนย์ความมีสติยับยั้งชั่งใจ และ (3) Hippocampus ศูนย์ความจำ วิธีแขวนภาพและเอ่ยถึงภาพเช่นนี้ ช่วยเชื่อมโยง กิจกรรมการเรียนรู้ กับการเติบโตหรือพัฒนาการของสมอง จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ขั้นตอน การเรียนรู้ของตนเอง ที่เรียกว่า Metacognition ช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น ครบถ้วนขึ้น และช่วยสร้างกระบวนทัศน์ 'พรแสวง' ในการเรียนรู้ กระบวนการนี้ ช่วยให้ นักเรียนเห็นประจักษ์ ว่าตนเองสามารถฝึกควบคุมการคิด และการเรียนรู้ของตนเองได้ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้งอกงาม

8. การแยกความรู้สึกออกจากตน เฝ้ามองความรู้สึกโดยไม่เข้าไปพัวพัน ไม่ตกเป็นทาส ของความรู้สึกนั้น

9. สร้างอารมณ์บวก อารมณ์ Dopamine โดยครูหาวิธีทำให้การเรียนสนุกสนาน

ปัญหาของการวิจัยเพื่อพัฒนา EF ก็คือ ยังไม่มีวิธีวัด EF ที่แม่นยำ

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๕๖

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 06 ตุลาคม 2013 เวลา 19:06 น.  
Home > Articles > การศึกษา > วิธีเลี้ยงลูกให้มีนิสัยใจคอดี

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8626979

facebook

Twitter


บทความเก่า