Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > วิวัฒนาการบรรจบวัฒนธรรมที่โรงเรียน

วิวัฒนาการบรรจบวัฒนธรรมที่โรงเรียน

พิมพ์ PDF
การใช้สมองในเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์นั้นหากใช้แบบที่ ๑ (อัตโนมัติ) จะแทบไม่ ต้องใช้ความพยายามเลย สมองไม่เหนื่อย แต่หากใช้แบบที่ ๒ (ต้องตั้งสติ ใช้ความพยายาม) สมองจะเหนื่อย หากสมองรู้ว่าทำไปก็เท่านั้น มีประโยชน์น้อย สมองก็จะไม่ทำงาน นี่คือคำอธิบายความสำคัญของแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้ และเป็นคำอธิบายความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง ว่าเป็นการฝึกฝนเพื่อย้ายสิ่งที่สมองต้อง ใช้ความพยายาม ให้กลายเป็นสิ่งที่สมองทำได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม

วิวัฒนาการบรรจบวัฒนธรรมที่โรงเรียน

บทความเรื่อง Primal Brain in the Modern Classroom เขียนโดย David C. Geary  ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2011  และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นวัฒนธรรมใหม่ของมนุษย์    แต่สมองเด็กมาจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน มาจากสัตว์ที่ต่ำกว่า   และมาจากวิถีชีวิตมนุษย์ ๒ แสนปี  การจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจึงต้องเข้าใจความแตกต่าง ระหว่างสองสิ่งนี้   และหาทางจัดให้มันเสริมส่ง (synergyกัน

เมื่อเด็กเล็กไปโรงเรียน   เด็กจะสนใจเพื่อน มากกว่าสนใจการเรียน   เพราะวิวัฒนาการกำหนดให้คนเรา ต้องเรียนรู้ที่จะสังคมกับเพื่อนมนุษย์คนอื่น    คล้ายๆ ความสนใจเพื่อนมาจากสัญชาตญาณ    ส่วนความสนใจ การเรียนต้องฝึก    เป็นการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม

บทความนี้บอกว่า ความรู้ของคนมี ๒ ชนิด   คือความรู้แนวชาวบ้าน (folk knowledge - มากับสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์)  กับความรู้แนว วิทยาศาสตร์ (scientific knowledge - ต้องฝืนใจฝึกฝน เพราะมนุษย์ไม่คุ้นเคย)

มนุษย์เราเมื่อได้รับสารสนเทศ จะจัดการ ๒ แบบ   คือแบบเป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องตั้งใจหรือตั้งสติ   กับแบบที่ต้องเอาใจใส่ ใช้ความพยายาม

การจัดการแบบอัตโนมัติ ใช้กับกิจกรรมเชิงสังคม และสภาพแวดล้อมรอบตัว    ส่วนการจัดการแบบ ต้องตั้งสติใช้เรียนรู้หลักการหรือกระบวนทัศน์ใหม่ๆ ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว

ผมตีความว่า การเรียนรู้ที่ดี ที่เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริง (mastery learning)   เป็นการย้ายให้สารสนเทศ ที่เดิมต้องจัดการแบบที่ ๒   ไปสู่การจัดการแบบแรก คือแบบอัตโนมัติ    เท่ากับการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลง ตัวตน (transform) ตัวผู้เรียน   ให้มีความรู้แนววิทยาศาสตร์ หรือแนววัฒนธรรมมนุษย์ เข้าไปฝังจนกลายเป็น ความรู้สัญชาตญาณ (folk knowledge) ประจำตัวของตน    ผมตีความว่า นี่คือวิธีตีความคำว่า transformative learning อีกแบบหนึ่ง    ที่เป็นการเปลี่ยนนิสัย หรือสันดาน

ความสนุก (และยาก) ของครูคือ เด็กแต่ละคนมีความรู้ ๒ แบบนี้แตกต่างกัน   จึงเป็นเรื่องที่ครูที่รัก การเรียนรู้จากชีวิตการเป็นครู จะมีโอกาสได้เรียนรู้สร้างสรรค์วิชาการว่าด้วย transformative learning แนวนี้อย่างไม่รู้จบ

บทความอธิบายการเรียนรู้ของทารกแรกเกิดอย่างน่าสนใจมาก   อ่านแล้วจะเข้าใจกลไกการเรียนรู้ ที่แท้จริง    ซึ่งเราจะไม่มีวันรู้ตัว    แต่จะเป็นกระบวนการที่ทารกใช้สัมผัสทางประสาททุกด้าน ไปกระตุ้น การเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง และร่างกาย   ผมตีความว่า นี่คือกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง    คือผลสุดท้ายไปอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในสมองและร่างกาย โดยเราไม่รู้ตัว    ผมตีความต่อว่า การเรียนรู้แบบ ที่เรารู้ตัวนั้น ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่ลึกจริง    ผมตีความเข้าป่าหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ย้ำอีกที ว่าผมเชื่อว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์ เป็นกลไกการเรียนรู้แบบเดียวกันกับที่บทความนี้ อธิบาย    การเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้ใหญ่ก็ผ่านกลไกนี้   แต่เราหลงไปสมาทานระบบการศึกษาแบบรับถ่ายทอด ข้อสรุปจากครู/อาจารย์ หรือผู้รู้ เป็นหลัก เพราะมันสะดวก    แต่มันจะไม่ทำให้เรารู้จริง    ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดี ในปัจจุบันจึงต้องผสมผสานอย่างพอดี ระหว่างการเรียนรู้จากสัมผัสของตนเอง กับการเรียนรู้จากการรับถ่ายทอด ข้อสรุป

บทความนี้สรุปว่า วิธีการที่มนุษย์เรียนรู้ในปัจจุบันเป็นลูกผสมระหว่าง วิธีการของสัญชาตญาณ  กับวิธีการเชิงวิชาการ ที่เราเรียนจากระบบการศึกษา

สิ่งที่มนุษย์มีเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นคือ ... จินตนาการ    ความสามารถท่องเที่ยวไปในความคิด เดินหน้าถอยหลัง ตัดฉาก เวลาได้อย่างไม่จำกัด    สมมติตนเอง และตัวละครอื่นขึ้นมาสร้างเรื่องราวในใจได้    รวมทั้งมีความรู้สึกเป็นตัวตน   มีความทรงจำระยะยาวเกี่ยวกับตนเอง เชื่อมโยงหลากหลายเรื่องราว เรียกว่า self-schema ซึ่งผมขอเรียกว่า “ก้อนอัตตา”    (ก้อนอัตตานี้น่าจะเป็นชื่อที่ผิดเพราะจริงๆ แล้วมันเป็นเครือข่าย ใยประสาท)    ก้อนอัตตานี่แหละที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งเรื่องการเรียนรู้    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พฤติกรรมมีเป้าหมายชีวิต เป้าหมายการเรียนรู้   และความมานะพยายามเมื่อเผชิญความยากลำบาก

นอกจากก้อนอัตตาแล้ว คนเรายังมีก้อนความรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่น และสิ่งอื่นๆ    สำหรับใช้ในเครือข่าย สังคม และการดำรงชีวิตของเรา    และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิต

คุณภาพสุดยอดของสมองมนุษย์ คือ ความระลึกรู้ (consciousness) ขั้นสูง    ระลึกรู้ได้แม้กระทั่งสิ่งที่ ไม่มีอยู่จริง คือจินตนาการ

การใช้สมองในเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์นั้นหากใช้แบบที่ ๑ (อัตโนมัติ) จะแทบไม่ ต้องใช้ความพยายามเลย สมองไม่เหนื่อย    แต่หากใช้แบบที่ ๒ (ต้องตั้งสติ ใช้ความพยายาม) สมองจะเหนื่อย    หากสมองรู้ว่าทำไปก็เท่านั้น มีประโยชน์น้อย สมองก็จะไม่ทำงาน    นี่คือคำอธิบายความสำคัญของแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้    และเป็นคำอธิบายความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง    ว่าเป็นการฝึกฝนเพื่อย้ายสิ่งที่สมองต้อง ใช้ความพยายาม ให้กลายเป็นสิ่งที่สมองทำได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม

การเรียนรู้ จึงเป็นการฝึกให้เกิดสภาพอัตโนมัติของสมอง (และร่างกาย)    โดยครูทำหน้าที่โค้ช

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2013 เวลา 11:52 น.  
Home > Articles > การศึกษา > วิวัฒนาการบรรจบวัฒนธรรมที่โรงเรียน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8651588

facebook

Twitter


บทความเก่า