Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๑. ไปร่วมงานปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๑. ไปร่วมงานปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดการประชุม  “CoP – Teaching  # 8  การประยุกต์การปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ”    ตอนบ่ายวันที่ ๑๖ ก.ย. ๕๖    และเชิญผมไปเป็นวิทยากรให้ความเห็น

 

ไปเห็นแล้วชื่นใจ   ที่ได้เห็นความพยายามทั้งระดับมหาวิทยาลัย  และคณาจารย์จำนวนหนึ่ง ดำเนินการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ ไปเป็น Active Learning อย่างจริงจัง

 

หลังจบการประชุม นักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ปี ๒ มาสัมภาษณ์ว่า จากกิจกรรมนี้นักศึกษาได้อะไร

 

ทำให้ผมได้โอกาสคุยกับนักศึกษา   และได้ตระหนักว่า ผมไม่มีโอกาสคุยเรื่อง Learning Reform กับนักศึกษาเลย    ได้แต่คุยกับครูอาจารย์ ซึ่งก็เห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง    และแม้แต่ที่เห็นด้วย ก็มักไม่ได้นำไปปฏิบัติ    คือยังคงยึดติดกับการสอนแบบถ่ายทอดความรู้อยู่อย่างเดิม    เพราะมันง่าย สะดวกต่อครู/อาจารย์

 

ผมบอกนักศึกษาว่า    กิจกรรมเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้นี้   ทั้งหมดทำเพื่อนักศึกษา    เพราะอนาคตข้างหน้าเมื่อนักศึกษาจบออกไปทำงานและดำรงชีวิต    ไม่มีใครรู้ว่า โลกในอนาคต ๑๐ - ๒๐ - - ๕๐ ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร    เรารู้แต่ว่ามันจะไม่เหมือนในปัจจุบัน   ดังนั้น เนื้อความรู้ที่เรียนจากมหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้ไม่ได้ในอนาคต   นักศึกษาจึงต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญชีวิตที่ไม่แน่นอน ในอนาคต   โดยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนให้ครบด้าน ไม่ใช่แค่เรียนวิชา    คือต้องเรียนให้ได้ทักษะด้านพัฒนาการ เชิงอารมณ์  เชิงสังคม  เชิงจิตวิญญาณ  และด้านกายภาพ  ไปพร้อมๆ กัน    การเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลพัฒนาการ อย่างบูรณาการ ทำไม่ได้โดยการฟังเล็กเชอร์    ต้องเรียนโดยการลงมือทำ    ทำแล้วคิดไตร่ตรองเอง และไตร่ตรองร่วมกับเพื่อนๆ  โดยอาจารย์คอยโค้ช    คำว่าไตร่ตรองนี้ ภาษาอังกฤษว่า reflection    ภาษา KM ว่า AAR (After Action Review)    ภาษาพระว่า โยนิโสมนสิการ

 

ผมให้คำแนะนำแก่คณาจารย์จำนวนประมาณ ๕๐ คนที่มาประชุมว่า   Active Learning โดยตัวของมันเอง ไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริงเสมอไป    จะให้เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริง    การเรียนแบบลงมือทำต้องตามด้วย reflection ๓ แบบ

๑. Self reflection   ทำโดย นศ. แต่ละคนเขียนบันทึกการเรียนรู้ของตนเองทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ - ๒ ครั้ง    ว่าที่ทำกิจกรรมนั้นๆ ตนเองหวังได้ประโยชน์ อะไรบ้าง    เมื่อทำแล้วส่วนไหนได้มากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้   เพราะอะไร   ส่วนไหนยังไม่ค่อยได้  เพราะอะไร   คิดจะปรับปรุงวิธีการอย่างไรบ้าง    เพราะอะไร    จะเอาความรู้ที่ได้ส่วนไหน ไปใช้ประโยชน์ในอนาคต    สิ่งที่ได้เรียนรู้อธิบายทฤษฎี ก, ทฤษฎี ข อย่างไรบ้าง  ฯลฯ

จะยิ่งดี หากให้ นศ. เขียนบันทึกออกแบ่งปันกับเพื่อนๆ ทาง โซเชี่ยล มีเดีย    เพื่อจะได้เรียนรู้มุมมอง และประสบการณ์ที่แตกต่างของเพื่อนๆ และจะยิ่งดีขึ้นไปอีก หากอาจารย์เข้าไปอ่าน และเลือกบันทึกเด่นประจำสัปดาห์ ๓ บันทึก    บอกให้ นศ. ช่วยกันบอกว่า บันทึกเหล่านั้นดีอย่างไร   เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีเขียนบันทึก reflective journal ที่ดี

 

๒ การเรียนรายงานผลงานของทีม   และนำเสนอต่อชั้นเรียน   โดยอาจไม่นำเสนอเป็น presentation ก็ได้   เช่นเสนอเป็นละคร  เป็นหนังสั้น

 

๓ การทำ AAR ในชั้นเรียน หลังจากจบวิชานั้น  หรือจบตอน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ย. ๕๖

 

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

อธิการบดี ดร. มัทนา สานติวัตร กล่าวเปิดการประชุม

 

อ. กุลเชษฐ์ เล็กประยูร ผช. คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

นำเสนอเรื่องวิชา Broadcasting Production Technique

 

ผศ. ยุบลวรรณ ตั๋นเธียรรัตน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว

นำเสนอเรื่องGE 111 Value of Graduates

 

ผศ. ประสิทธิ์ สันติกาญจน์ ผอ. ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ

กล่าวนำวิชา GE 114 Thai Citizens, Global Citizens

ท่านอธิบายความหมายของ civil society ได้จับใจผมมาก

 

อ.พรพจน์ เพ็ชรทวีพรเดช และ อ. ศุภชัย อิทธิปาทานันท์

เสนอเรื่อง GE 114 Thai Citizens, Global Citizens

 

 

อ. เสาวณี แซ่ตั้ง ผอ. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ และ

อ. ศิริพร กนกชัยสกุล ผอ. สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา

เสนอเรื่อง GE 112 Information Technology and the Future World

Imagine Room สถานที่ประชุม ถ่ายจากด้านหลัง เมื่อเลิกประชุมแล้ว

 

อีกมุมหนึ่งของ Imagine Room

 

อาคาร A3

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2013 เวลา 17:04 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๑. ไปร่วมงานปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8625056

facebook

Twitter


บทความเก่า