Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

พิมพ์ PDF
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือชุมชน ของนักวิชาการ ดำเนินการเพื่อนำผลงานวิชาการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และช่วยกันให้คำแนะนำให้ยกระดับผลงานวิชาการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เป็นกลไกสำคัญยิ่งของการพัฒนาวิชาการ

คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์

 

 

คำนิยม

หนังสือ พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์

 

ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

ประธานมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ม.สคส.)

……………

 

ผมขอขอบคุณ ดร. เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ บรรณาธิการ ที่ให้เกียรติผมเขียนคำนิยมหนังสือเล่มนี้   ทั้งๆ ที่ผมไม่มีความรู้เรื่องวิศวกรรมไฟฟ้าเลย   ผมเดาว่าคงเป็นเพราะชื่อรองของหนังสือ คือ “ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

ดร. เกียรติศักดิ์ และผมมีจริตร่วมกันในเรื่องนี้

หลังจากได้อ่านต้นฉบับของหนังสือ ผมก็เกิดปิติ ที่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพัฒนาการ  ที่ไม่ใช่แค่ของการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ดำเนินการมาครบ ๓๕ ปีเท่านั้น   แต่ได้เรียนรู้พัฒนาการของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทยทั้งหมดทีเดียว   และเป็นช่วงเวลาที่ยาวกว่า ๓๕ ปี   การได้เห็นภาพรวมของเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นบ่อเกิดของปัญญา   หนังสือเล่มนี้จะเป็นขุมปัญญาของคนไทย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการวิศวกรรมไฟฟ้า   ไปอีกนานเท่านาน

ผมติดใจคำพูด (ที่จริงเขียน) ของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ในบทที่ ๖ ที่กล่าวว่า “โดยหลักการแล้ววิศวกรรมไฟฟ้าก็คือฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรไฟฟ้าก็คือนักฟิสิกส์ประยุกต์”

ในบทที่ ๗ เป็นเรื่องของนักฟิสิกส์ คือ ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน ที่ช่วยตอกย้ำคำกล่าวของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ว่า ศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จะก้าวหน้าได้ ต้องมีพื้นฐานวิชาการที่มั่นคง    และผมขอเพิ่มเติมว่า ต้องมีการเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ อย่างกว้างขวางและเหมาะสมด้วย

การเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นเกิดขึ้นได้ง่าย หรือเป็นอัตโนมัติ ณ จุดประยุกต์ใช้ความรู้    คือ ณ จุดของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนากระบวนการนั้น ต้องนำเอาความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาใช้อย่างบูรณาการ   ผมเคยอ่านพบว่า ในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน ไอที มีการจ้าง นักมานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropologist) มาทำหน้าที่ในหน่วยศึกษาความสัมพันธ์กับลูกค้า   มีหน้าที่เดินทางไปในประเทศต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้เครื่องมือไอทีของผู้คน   สำหรับนำมาบอกฝ่ายพัฒนา hardware และ software ให้พัฒนาให้เหมาะสมต่อพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า

ผมจึงมีข้อเสนอต่อคณะผู้จัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย   ว่าควรพิจารณายกระดับการประชุมนี้ใน ๒ ประเด็นใหญ่    (๑) คือการส่งเสริมให้ฝ่าย “ผู้ใช้” หรือฝ่ายอุตสาหกรรม/ธุรกิจ นำเอาประสบการณ์ประยุกต์ใช้ความรู้ของตน (เท่าที่จะเปิดเผยได้) มานำเสนอในที่ประชุม    ซึ่งจะนำไปสู่โจทย์วิจัยให้แก่นักวิจัยในมหาวิทยาลัย   ให้ทำวิจัยตามโจทย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายผู้ใช้    และนำไปสู่ความร่วมมือกัน   และ (๒) การเชิญชวนให้นักวิจัยสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าที่มีเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าอยู่ภายใน   ให้มานำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทยด้วย

หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของการประชุมวิชาการเท่านั้น   แต่ยังนำเสนอเรื่องราวที่นำไปสู่พัฒนาการของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย อย่างน่าสนใจยิ่ง    ดังตัวอย่างบทที่ ๘ ศ. ดร. โมไนย ไกรฤกษ์ นักวิชาการสายพันธุ์ไทยแท้  และบทที่ ๑๐ บทบาทวิศวกรสตรี รศ. ดร. ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ    ซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิชาการรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี   วิธีคิดในการพัฒนาตนเอง สร้างโอกาสแก่ตนเอง แบบไม่เดินตามแนวที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ของ ดร. ทิพรัตน์ น่าสนใจมาก

ที่จริง ทุกบทของหนังสือเล่มนี้ ให้ความรู้ และให้ข้อคิดที่มีคุณค่าสูงส่ง ทั้งสิ้น   โปรดอ่านคำนำของบรรณาธิการ เพื่อให้ได้คุณค่าในภาพรวม

หนังสือเล่มนี้บอกเราว่า การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือชุมชน ของนักวิชาการ   ดำเนินการเพื่อนำผลงานวิชาการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   และช่วยกันให้คำแนะนำให้ยกระดับผลงานวิชาการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น   เป็นกลไกสำคัญยิ่งของการพัฒนาวิชาการ

วิชาการที่เป็นเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือ วิศวกรรมไฟฟ้า    ซึ่งในช่วงเวลา ๓๕ ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวพัฒนาการเชื่อมโยงออกไปอย่างกว้างขวาง   ทำคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเหลือคณา

วิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าใน ๓๕ ปีข้างหน้า จะก้าวหน้ารวดเร็วยิ่งกว่า ๓๕ ปีที่ผ่านมา   และผมขอทำนายว่า พัฒนาการจากมุมของฝ่ายธุรกิจ หรือฝ่ายประยุกต์ จะมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าพัฒนาการของฝ่ายวิชาการโดยตรง   ดังนั้นคณะผู้จัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย จึงควรพิจารณาเชื้อเชิญ “นักวิชาการ” หรือจริงๆ แล้วคือนักพัฒนา จากภาคธุรกิจเอกชน เข้าร่วมเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย    ผมคิดว่า นักวิชาการหรือนักพัฒนาในภาคธุรกิจเอกชนนี่แหละ คือผู้ดำเนินการข้าม “หุบเหวมรณะ” ที่ระบุในบทความของ ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์

และต้องไม่ลืมเชิญชวน นักวิจัย/พัฒนา ในสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมด้วย

ผมขอขอบคุณคณะผู้จัดทำหนังสือ พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์เล่มนี้ แทนสังคมไทย   ผมเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้จะทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิชาการและนักพัฒนาวิศวกรรมไฟฟ้าของไทยรุ่นใหม่ ไปอีกนานเท่านาน

วิจารณ์ พานิช

๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:59 น.  
Home > Articles > การศึกษา > คำนิยม หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์”

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607426

facebook

Twitter


บทความเก่า