Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๑. ความเห็นใจ (๒) การจัดการเด็กที่ไม่เชื่อฟัง / การจัดการความสัมพันธ์

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๑. ความเห็นใจ (๒) การจัดการเด็กที่ไม่เชื่อฟัง / การจัดการความสัมพันธ์

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๙ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21stCentury เขียนโดย Annie Fox, M.Ed. 

ตอนที่ ๑๑นี้ ตีความจากบทที่ ๕ How Can I Make It Better? Modeling Compassion to Teach Kindness   โดยที่ในบทที่ ๕มี ๔ ตอน   ในบันทึกที่ ๑๐ได้ตีความตอนที่ ๑ และ ๒ ไปแล้ว    ในบันทึกที่ ๑๑ จะเป็นการตีความตอนที่ ๓ และ ๔

ทั้งบทที่ ๕ ของหนังสือ เป็นเรื่องการฝึกลูก/ศิษย์ ให้รู้จักให้อภัย   ทั้งให้อภัยตนเอง และให้อภัยผู้อื่น   ไม่ถือเอาความผิดพลาดมาเป็นอารมณ์ที่กัดกร่อนจิตใจ   แต่ถือเป็นการเรียนรู้

ตอนที่ ๓เป็นเรื่องถ้าไม่ทำตามสั่งจะถูกสเปรย์พริกไทย นี่เป็นเรื่องจริงในสหรัฐอเมริกา  ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ป. ๒ และเป็น “เด็กพิเศษ” ที่อาละวาดในโรงเรียน ครูเอาไม่อยู่   จึงเรียกตำรวจ    ซึ่งมาพร้อมอาวุธ คือ สเปรย์พริกไทย    และขู่ว่าหากไม่หยุดอาละวาดจะโดนสเปรย์พริกไทย    เมื่อเด็กไม่หยุด ตำรวจก็สเปรย์จริงๆ    พ่อจึงไปฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย และเป็นข่าว

นั่นเป็นวิธีนำเรื่องของผู้เขียน เข้าสู่ประเด็นที่ลูก/ลูกศิษย์ ไม่เชื่อฟัง จะทำอย่างไร

คำตอบคือ การเลี้ยงลูก หรือดูแลลูกศิษย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน   ต้องใช้ความรักความเข้าใจเป็นหลัก    ไม่ใช่ใช้ความรุนแรงเป็นหลัก (อย่างสเปรย์พริกไทย)    การแก้ปัญหาโดยใช้ความรักความเข้าใจทำโดย ค่อยๆ แสดงมุมมองของตน  สังเกต  ตั้งคำถาม  ฟัง  ทำความเข้าใจ  และแสดงออกด้วยความเมตตาเห็นอกเห็นใจ

ยามลูก/ศิษย์ แสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง    ให้ตั้งคำถามว่า “เมื่อเธอมีความรู้สึกเช่นนี้ เธอต้องการให้ผู้อื่นช่วยเหลือเธออย่างไร”   แล้วฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำความเข้าใจ

ยามที่มีคนในบ้าน/โรงเรียน มีอารมณ์เศร้าหรือก้าวร้าวรุนแรง    ให้ถือโอกาสถามลูก/ศิษย์ ว่าเราควรช่วยเหลือเขาอย่างไร

จะเห็นว่า เราสามารถใช้ชีวิตจริงของการมีอารมณ์รุนแรงควบคุมตัวเองไม่ได้ ทั้งของตนเอง และของผู้อื่น เป็นบทเรียน ฝึกฝนเรียนรู้ “ความเป็นคนดี” ของเรา (และของลูก/ศิษย์ ของเรา) ได้เสมอ

ในบ้าน ควรทำความตกลงกันระหว่างพ่อแม่ลูก ว่ายามที่มีคนมีอารมณ์หรือแสดงความก้าวร้าว   คนอื่นๆ จะช่วยตั้งคำถามว่า ตนจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

คำถามของครูของลูกผู้เขียน “ลูกสาวอายุ ๑๕ ขออนุญาตออกเดทกับชายหนุ่มอายุ ๑๘   ตนไม่อนุญาต โดยอธิบายว่า ระดับความเป็นผู้ใหญ่ต่างกันมากเกินไป   เธอไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่เถียง    ต่อมาจับได้ว่ายังคบเพื่อนชายคนนั้นอยู่   จึงริบโทรศัพท์มือถือ และห้ามออกนอกบ้าน   และบอกว่า เมื่อเลิกคบชายคนนี้ ก็จะได้รับความเชื่อถือกลับมาใหม่    และจะได้รับสิ่งต่างๆ คืน    เราทำเกินไปหรือเปล่า    เราจะช่วยให้ลูกสาวเข้าใจเรา และช่วยแนะนำเธอได้อย่างไร”

คำตอบของผู้เขียน “ตอบยากว่าพ่อแม่ทำเกินไปหรือไม่   เพราะไม่ได้ฟังคำปรึกษาหารือ และน้ำเสียงที่พูดกับลูก   แต่เห็นด้วยว่าลูกสาวยังเด็กเกินไปที่จะคบเพื่อนชายอายุ ๑๘   และคุณได้อธิบายแก่ลูกอย่างชัดเจนแล้ว    เมื่อเธอโกหก การลงโทษที่ทำไปน่าจะเหมาะสมแล้ว

สำหรับคำถามว่า ทำอย่างไรให้ลูกสาวเข้าใจคุณนั้น   ขอบอกว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะให้เด็กอายุ ๑๕ เข้าใจความคิดของคนอื่น ที่แตกต่างจากความคิดของตน   จึงแนะนำให้ทั้งครอบครัวไปขอคำแนะนำช่วยเหลือจาก นักครอบครัวบำบัด (family therapist) ที่มีความรู้ความชำนาญ   ในบรรยากาศที่เป็นกลาง ด้วยความช่วยเหลือของนักวิชาชีพ   การสื่อสารกันในครอบครัวน่าจะดีขึ้น”

คำถามรอบ ๒ จากพ่อ “ได้ติดต่อนัดไปขอคำแนะนำจากนักครอบครัวบำบัดแล้ว    แต่เมื่อบอกลูกสาว เธอก็โวยวาย   ว่าพ่อแม่ไม่ไว้ใจถึงกับพาไปหาคำปรึกษาเชียวหรือ   ตนเกรงว่าเรื่องจะไปกันใหญ่   เกรงว่ายิ่งห้ามจะเหมือนยิ่งยุ”

คำตอบของผู้เขียน “คุณทำถูกต้องแล้ว   ขอให้บอกความคาดหวังต่อพฤติกรรมของลูกสาวให้ชัดเจน   เมื่อไรก็ตามที่สังเกตเห็นพฤติกรรมที่ถูกต้องของลูกสาว ให้รีบกล่าวยกย่อง แสดงความพอใจว่าเป็นการแสดงวุฒิภาวะ   และเมื่อเธอทำไม่ถูกต้อง ก็ให้เข้มงวดวินัย   อย่าไปสนใจคำโวย   ให้บอกเสมอว่า พ่อแม่รักลูก และเรารู้ว่าเราทั้งครอบครัวต้องการความช่วยเหลือ   ไม่ใช่เฉพาะลูกที่ต้องการความช่วยเหลือ   เราทั้งครอบครัวจะไปรับความช่วยเหลือด้วยกัน

ขอให้โชคดีกับนักครอบครัวบำบัด   และอย่าคิดว่าไปครั้งเดียวจะเห็นผลเด็ดขาด   ขอให้ไปตามนัดครั้งต่อไป   แต่ถ้านักครอบครัวบำบัดคนแรกไม่ดี ขอให้หาคนใหม่   แล้วไปรับบริการสม่ำเสมอ   ช่วงวัยทีนเป็นช่วงที่ยากทั้งต่อเด็กและต่อพ่อแม่   นักครอบครัวบำบัดที่ดีจะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น   แต่พ่อแม่ต้องอดทน ช่วยกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว”

ตอนที่ ๔ เป็นเรื่อง อย่าด่วนสรุป เล่าเรื่องตัวผู้เขียนเองที่หมั่นทำดร เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีแก่เด็กๆ    แต่แล้ววันหนึ่งก็เกือบพลาด    ว่าสีเสื้อผ้าไม่ได้ทำให้และกำลังเดินจากไป    ลางสังหรณ์ทำให้ผู้เขียนเดินข้ามถนนไปหายายแก่ เพื่อถามว่าต้องการให้ช่วยอะไร    แล้วจึงได้โอกาสทำความดี นำบัตรอวยพรคริสตมาสไปส่งไปรษณีย์

เป็นการแสดงตัวอย่างว่า คนเราไม่ควรด่วนสรุปในเรื่องใดๆ    ควรฟังหรือหาข้อมูลให้ถ่องแท้เสียก่อน    เพื่อจะได้ไม่ “ก้าวพลาด”

คำถามของหนุ่ม ๑๖ “ผมชอบเสื้อผ้าสีดำ    แต่แม่บอกว่า นั่นมันชุดนักเลง  และเป็นพวกติดยา    ผมพยายามบอกว่านี่มันเป็นเรื่องแฟชั่น    แม่ไม่ฟัง และขู่ว่าจะไม่ให้ผมออกนอกบ้าน    ผมพยายามทำความเข้าใจจากมุมของแม่   ว่าผมกำลังจะเสียคน   ทำอย่างไรจะให้แม่เข้าใจว่า การแต่งชุดดำจะไม่เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดของผมไปในทางชั่วร้าย”

คำตอบของผู้เขียน “ฉันชื่นชมที่เธอเข้าใจความคิดของแม่    และอคติต่อการแต่งชุดดำของแม่    เพราะแม่มีอคตินี้ และเพราะแม่รักเธอมาก    แม่จึงกลัวเธอเสียคนเมื่อเธอชอบแต่งชุดดำ    วิธีทำให้แม่สบายใจ ว่าการแต่งชุดดำไม่ได้ทำให้เธอชั่วร้ายก็คือพิสูจน์ความประพฤติของเธอให้แม่เห็น    ว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลง

ขอให้เข้าใจแม่ ว่าแม่แดร์ต่อมุมมองของคนอื่น โดยเพาะอย่างยิ่งมุมมองของคนในเครือญาติ ต่อลูกของตน    ดังนั้นขอให้คุยกับแม่ ว่าเธอรู้และเข้าใจความรักและความห่วงใยของแม่ ที่ต้องการให้ลูกเติบโตเป็นคนดี    และเธอจะไม่ทำให้แม่ผิดหวัง”

อ่านบทนี้แล้ว ผมคิดว่าชีวิตของคนแต่ละคนเปรียบเสมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย    ทางแพร่งระหว่างทางสู่ความดี กับทางสู่การเสียคนดูไม่ต่างกันมาก   และมีมายาความหลอกสวงซ่อนอยู่    พ่อแม่/ครู เป็นคนที่มีคุณค่ายิ่งที่จะช่วยเด็กให้แยกแยะทางทั้งสองได้

 

วิจารณ์ พานิช

๘ เม.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:14 น.  
Home > Articles > การศึกษา > สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๑. ความเห็นใจ (๒) การจัดการเด็กที่ไม่เชื่อฟัง / การจัดการความสัมพันธ์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606457

facebook

Twitter


บทความเก่า