Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > มิติใหม่ของการเรียนรู้

มิติใหม่ของการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

บันทึกนี้มาจากการไปฟังการนำเสนอของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล ตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว

 

เขาบอกว่ามิติใหม่นี้มี ๕ ด้าน ที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่

 

New Learners นักศึกษาในยุคปัจจุบัน เติบโตมาในโลกที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง หากมองจากมุมของโลกเทคโนโลยี เพื่อการติดต่อสื่อสาร (และการเรียนรู้)    เขาบอกว่าคนที่เข้ามหาวิทยาลัยปีนี้ส่วนใหญ่เกิดปี ค.ศ. 1995   ซึ่งในช่วงชีวิตได้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ ตามลำดับดังนี้   เกิด Google เมื่ออายุ ๓ ขวบ, เกิด iPod เมื่อายุ ๖ ขวบ, เกิด Facebook เมื่ออายุ ๙ ขวบ, เกิด Twitter เมื่ออายุ ๑๑ ขวบ, เกิด iPhone เมื่ออายุ ๑๒ ขวบ, เกิด App เมื่ออายุ ๑๓ ขวบ, และเกิด iPad เมื่ออายุ ๑๕

 

สภาพเช่นนี้บอกเราว่า เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนรุ่นก่อนเรียน   และการศึกษาต้องเตรียมเขาออกไปเผชิญโลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคาดไม่ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร    การเรียนรู้ต้องสนุก ท้าทาย และให้คุณค่าอย่างชัดเจน นักเรียนจึงจะเรียน

 

New Connections เวลานี้โลกเป็นโลกแห่งการเชื่อมต่อ   นักเรียน/นักศึกษาอยู่กับการเชื่อมต่อวันละ ๒๔ ชั่วโมง สัปดาห์ละ ๗ วัน   ICT ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยี แต่ได้กลายเป็นระบบนิเวศในชีวิตของเด็ก   หรือได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของชีวิตเด็กโดยสิ้นเชิง    โดยที่ปัจจุบันเนื้อความรู้หาง่าย จาก connection   เกิดระบบนิเวศที่ความรู้มาก และสับสน ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด   หรืออันไหนถูกในสถานการณ์ไหน    อีกอันหนึ่งถูกในสถานการณ์ที่แตกต่าง อย่างไร

 

New Content เนื้อหาความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มในยุคปัจจุบัน คือเนื้อหาที่มีบริบทแนบอยู่ด้วย    พลัง ไอซีที ได้ทำให้สามารถเสนอเนื้อหาที่มีบริบทได้หลากหลายช่องทาง    เช่นของ แอ๊ปเปิ้ล มี iTunes U 600,000 รายการ, iBooks 1.8 ล้านรายการ, Learning App 65,000 รายการ

 

เขาอวด iBook เล่มแรกสำหรับการศึกษาชื่อ E.O. Wilson’s Life on Earth  ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ฟรี ที่นี่

 

เขาบอกว่า ด้วยพลังของ iBook Author software นักเรียนสามารถพิมพ์หนังสือขายผ่านช่องทาง iTune โดยได้รับค่าลิขสิทธิ์ร้อยละ ๗๐

 

New Communities เป็นชุมชนเรียนรู้ในชั้นเรียน   และกระจายออกไปนอกชั้นเรียน และทั่วโลก    เปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์ได้มากกว่าที่เราคิด   ด้วยพลังสนับสนุนจาก ไอซีที

 

แน่นอนครับ  เขาต้องยกตัวอย่างว่า iPad เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิด New learning communities อย่างไร   และผมคิดว่า นี่คือโอกาสที่วงการศึกษาทั่วโลกจะหาทางร่วมมือกับบริษัท ไอซีที พัฒนารูปแบบที่เหมาะสม ต่อประเทศของตน   ผมฝันอยากให้ท่านเลขาธิการ กกอ. ท่านใหม่ รศ. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ จับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

New Challenges แน่นอนว่า ความท้าทายใหม่มีขึ้นได้ตลอดไปไม่สิ้นสุด    แต่ที่เขาเอามาบอกเราคือ Challenge Based Learning ที่ Apple พัฒนาเทคโนโลยีและ learning platform ขึ้นมาช่วยทำให้เกิด collaborative learning ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก   ที่การเรียนรู้เป็นจุดบรรจบหรือ synergy กันระหว่าง content – community – context

 

ผมได้เรียนรู้ทฤษฎีหรือมุมมอง SAMR ในการใช้ ไอซีที เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้    ที่เรียกว่า Transformative Learning    และ TPCK ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นักเทคโนโลยีใช้มองความรู้และการเรียนรู้    เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี (และธุรกิจของตน) ให้สนอง New Learners   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสร้าง Pedagogocal process ที่ตรงใจผู้เรียน ที่แตกต่างกัน    และจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ    โดยเป้าหมายในยุคต่อไปคือ Targeted / Individualized Pedagogy  ซึ่งเป็นคำที่เลียนแบบ Targeted / Individualized Therapy    ต่อไปการเรียนรู้จะมี ICT ช่วยให้เป็นการเรียนแบบ “จัดให้เหมาะสมกับแต่ละคน” (tailor-made)    แต่จะยังคงใช้พลังการเรียนรู้เป็นทีม คือ Learning Community ไว้

 

การซักถามนำไปสู่ปัญหาโลกแตกในสังคมไทย คือจะเปลี่ยนอย่างไร    คำตอบก็เป็นคำตอบมาตรฐาน คือ Visionary Leadership ที่จัดการให้เกิดความเป็นเจ้าของการเปลี่ยนแปลง(ownership)    ซึ่งจะมีกรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน UAE   อยู่ในบันทึกต่อไป

 

ประเด็นประทับใจยิ่งของผม คือวิธีมองการเรียนรู้ และเทคโนโลยี เป็นระบบนิเวศ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:34 น.  
Home > Articles > การศึกษา > มิติใหม่ของการเรียนรู้

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607054

facebook

Twitter


บทความเก่า