Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ความสัมพันธ์เศรษฐกิจจีน-มาเลเซีย “แนบแน่น” แค่ไหน

ความสัมพันธ์เศรษฐกิจจีน-มาเลเซีย “แนบแน่น” แค่ไหน

พิมพ์ PDF

ความสัมพันธ์เศรษฐกิจจีน-มาเลเซีย “แนบแน่น” แค่ไหน

โดย ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/aksornsri/20111103/416929/ความสัมพันธ์เศรษฐกิจจีน-มาเลเซีย-แนบแน่น-แค่ไหน.html

 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันต้องทิ้งภารกิจรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่บ้าน เพื่อบินไปร่วมงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 8 ณ นครหนานหนิงของจีน ทำให้ได้รับรู้รับทราบพัฒนาการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดด้านใต้ของไทยด้วยความอิจฉา ดิฉันกำลังหมายถึงประเทศมาเลเซียค่ะ

หนังสือพิมพ์จีนหลายฉบับโดยเฉพาะ China Daily ได้ลงข่าวและบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่“สุดแสนจะแนบแน่น”ระหว่างสองประเทศนี้ ทำให้ดิฉันยิ่งเกิดอาการตาร้อนขึ้นมาขอไล่เรียงให้เห็นทีละประเด็นกันเลยนะคะ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในบรรดา 10 ประเทศในอาเซียน มาเลเซียมีมูลค่าการค้าขายกับจีนมากที่สุด โดยสามารถแซงหน้าสิงคโปร์มาได้ร่วม 3 ปีติดต่อกันแล้ว การค้าจีน-มาเลเซียมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าการค้าจีน-อาเซียนทั้งหมด และขยายเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2000 ซึ่งเป็นปีแรกที่อดีตนายกฯ จูหรงจีของจีนได้เริ่มจีบอาเซียนให้ร่วมจัดทำความตกลง ASEAN-China FTA

ภายใน 10 ปีต่อมา พบว่า การค้าจีน-มาเลเซียได้ขยายตัวจนมีมูลค่าสูงกว่า 74,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ ประเทศไทยเพิ่งจะมีมูลค่าการค้ารวมกับจีนแตะหลัก 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2010 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ จีนก็ได้ขยับขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของมาเลเซียตั้งแต่ปี 2008 และล่าสุด รัฐบาลสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2015 จะขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ทะลุหลัก 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงชัดเจนว่า สองประเทศนี้มีความสัมพันธ์ทางการค้าที่สนิทแนบแน่นแค่ไหน

ด้านสินค้าหลักที่ค้าขายกับจีน พบว่า สินค้าที่มาเลเซียส่งออกไปจีนก็มิได้เป็นเพียงสินค้าเกษตรมูลค่าต่ำที่ต้องใช้แรงงานทำไร่ไถนาพรวนดินรอฟ้ารอฝน หรือต้องหมั่นรดน้ำรอวันเวลากว่าจะออกดอกออกผลตามฤดูกาล (เหมือนบางประเทศ) แต่มาเลเซียสามารถส่งออกสินค้าชิ้นเล็กๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มต่อชิ้นสูง (high value-added) และยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ในจีนได้อีกด้วย โดยเฉพาะสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งจากมาเลเซียไปจีน คือ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน คิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 51.4 ของสินค้าส่งออกทั้งหมดจากมาเลเซียไปจีน นอกจากนี้ มาเลเซียยังเป็นผู้ส่งออกหลักสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูงอย่าง “ปาล์มน้ำมัน” โดยสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดจีนมากถึงร้อยละ 60 ของปาล์มน้ำมันนำเข้าทั้งหมดของจีน

ด้านการลงทุน หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า นักธุรกิจมาเลเซียได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในจีน และบางธุรกิจยังสามารถขยายสาขาครอบคลุมไปทั่วแผ่นดินจีนจนแทบจะครบทุกมณฑล ตัวอย่างเช่น ธุรกิจของเศรษฐีมาเลเซียนายโรเบิร์ต ก๊วก ที่เปิดให้บริการโรงแรมห้าดาว Shangri La ไปทั่วประเทศจีนกว่า 32 แห่งรวมไปถึงโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในหลายเมือง และกรณีห้างสรรพสินค้า Parkson ของทุนมาเลเซีย ซึ่งเปิดสาขาตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศจีนกว่า 30 แห่ง

ที่สำคัญ นอกจากจะเป็นดินแดนเสือเหลืองแล้ว มาเลเซียยังเป็น “เสือปืนไว” ด้วยการเปิดโครงการร่วมมือกับจีนเพื่อลงทุนสร้าง “นิคมอุตสาหกรรมจีน-มาเลเซีย” หรือชื่อทางการว่า “China-Malaysia Qinzhou Industrial Park” ในเมืองชินโจวของกวางสี

ทำไมดิฉันเรียกมาเลเซียว่าเป็น “เสือปืนไว” ก็เพราะโครงการร่วมจัดตั้งนิคมจีน-มาเลเซียฯ แห่งนี้เพิ่งจะเริ่มเกริ่นพูดขึ้นมาในระหว่างที่นายกฯ เวินเจียเป่าของจีนเดินทางไปเยือนมาเลเซียเมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา และดิฉันได้เคยเขียนถึงเรื่องนี้ในบทความชื่อ “เหตุอันใดนายกฯ จีน (บินข้ามไทย) ไปเยือนมาเลเซีย-อินโดนีเซีย” หากสนใจ ลองไปค้นหาอ่านได้ใน web ค่ะ

มาบัดนี้ ปรากฏว่า ภายใน 6-7 เดือน แนวคิดดังกล่าวก็สามารถก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างได้อย่างน่าทึ่ง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาที่นครหนานหนิง นายกรัฐมนตรีของจีนและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดตัวโครงการนิคมจีน-มาเลเซียฯ ดังกล่าว ซึ่งจะตั้งอยู่ในเมืองชินโจว ของกวางสี ดินแดนที่มีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็น “ประตูสู่อาเซียน”ของจีน ในขณะนี้ ชินโจว เป็นเมืองที่รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลในการพัฒนาและผลักดันให้เป็นเมืองริมทะเลด่านหน้าในการเชื่อมโยงกับอาเซียน นอกจากจะมีโรงกลั่นน้ำมันในเมืองชินโจว และการเร่งพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตปิโตรเคมีที่สำคัญของจีน รวมทั้งมีท่าเรือชินโจว ที่สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ถึง 3 แสนตัน ล่าสุด รัฐบาลจีนยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจากเมืองชินโจวไปยังนครหนานหนิงด้วย จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมทั้งสองฝ่ายจึงได้เลือกที่จะตั้งนิคมจีน-มาเลเซียฯ ที่เมืองศักยภาพสูงแห่งนี้

ในงาน China-ASEAN Expo ปีนี้ ได้มีการจัดบูทใหญ่โตเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการนิคมจีน-มาเลเซียฯ ดังกล่าว แต่ดิฉันตั้งใจไม่นำมาเขียนในคอลัมน์นี้ เพราะไม่อยากช่วยประชาสัมพันธ์ให้พวกเขาค่ะ ในงานนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวง MITI ของมาเลเซียยังเล่าให้ฟังว่า “ตอนนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานเฉพาะเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ”และย้ำว่า“มาเลเซียได้เลือกแล้วอย่างแน่วแน่ที่จะก้าวไกลไปกับจีน”

เมื่อกลับมาย้อนคิดว่า แล้วไทยแลนด์แดนสนธยาของเราได้ทำอะไรกับเขาบ้าง (เนี่ย) ท่านผู้อ่านก็คงพอจะเห็นภาพแล้วมังค่ะ ว่าทำไมดิฉันต้องเกิดอาการอิจฉาตาร้อนมาเลเซีย !!!



--

Aksornsri Phanishsarn, Ph.D.

Assistant Professor

Faculty of Economics

Thammasat University, THAILAND

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 มกราคม 2012 เวลา 13:25 น.  

คอมเมนต์คอมเมนต์ 

 
#4 profile 2018-10-31 23:29
Need cheap hosting? Try webhosting1st, just $10 for an year.

 
 
#3 profile 2018-10-31 22:11
Need cheap hosting? Try webhosting1st, just $10 for an year.

 
 
#2 Madonna 2014-03-15 15:11
Excellent post. Can you write a post about fertility monitors
also?
Your writing skills are quite impressive, and I can see it definitely spurred some heated debate!

Quite an impressive discussion this story started.
 
 
+1 #1 clearblue fertility 2014-03-15 13:23
Excellent post! Can you write a post about a fertility monitor too?

Your writing skills are quite impressive, and I can see it definitely
spurred some heated debate!
Quite an impressive discussion this story started!
 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ความสัมพันธ์เศรษฐกิจจีน-มาเลเซีย “แนบแน่น” แค่ไหน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5581
Content : 3036
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8538575

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า