Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > เที่ยวน้ำตกอีกัวซู สุดยอดมหัศจรรย์ธรรมชาติ หนึ่งในเจ็ดของโลก

เที่ยวน้ำตกอีกัวซู สุดยอดมหัศจรรย์ธรรมชาติ หนึ่งในเจ็ดของโลก

พิมพ์ PDF

เที่ยวน้ำตกอีกัวซู สุดยอดมหัศจรรย์ธรรมชาติ หนึ่งในเจ็ดของโลก (๑) ฝั่ง อาร์เจนตินา

 

สายวันที่ ๘ พ.ย. ๕๖ คณะ ๘ คน บินจาก ริโอ เดอ จาเนโร ไป อีกัวซู ด้วยสายการบิน TAM ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง    บนเครื่องบินเขาเสิรฟอาหารกล่องห่อซองอย่างดี   ผมเก็บไว้เป็นเสบียง    กินแต่น้ำส้มกับน้ำ

เครื่องบิน แอร์บัส A 320 ชั้นประหยัดทั้งลำ    ที่นั่ง 3 – 3 คนประมาณ 80%   มีผู้สูงอายุมาด้วยหลายคน ท่าทางบอกว่าคงจะไปเที่ยวน้ำตกเพราะสวมเสื้อกันฝน แบบครึ่งตัวกันมาหลายคน

ถึงสนามบิน อีกัวซู มีข้อแปลกคือกระเป๋ามาเร็วมาก    ใบที่มาช้าที่สุดคือของผม    เดาว่าคงจะมารอบแรกแล้วเรายังไปไม่ถึงสายพาน กระเป๋าจึงวนไป ๑ รอบ

วันนี้เป็นวันโชคดีของคณะ หลังจากเมื่อวานเป็นวันโชคร้าย ๓ ประการ   โดยผู้รับเคราะห์คือ อ. หมอภิเศก    ได้แก่ (๑) ไอโฟนตกหาย แถวชายฝั่งทะเลเมือง ริโอ   (๒) ติดอยู่ในลิฟท์โรงแรมตอนไฟดับ กดกริ่งก็ไม่มีคนมาช่วย    แต่ก็ใช้ความสามารถ ใช้มือและกำลังแขนเปิดประตูออกมาได้ หลังติดอยู่ราวๆ ๒ นาที ที่ชั้น ๑   ไฟดับตอน ๓ ทุ่มกว่า และดับอยู่นานเกือบครึ่งชั่วโมง ที่โรงแรม Linx  (๓) ข้อนี้ที่จริงเกิดเช้าวันนี้ ที่โรงแรม Linx ตอนกินอาหารเช้า    อาจารย์หมอภิเษก ฉีกซองที่คิดว่าเป็นซองน้ำตาลใส่กาแฟ แต่เป็นซองเกลือ

แต่วันนี้ ที่ อีกัวซู  อาจารย์หมอภิเศก เป็นผู้ทำให้เกิดโชคดี ๓ ประการ ต่อเนื่องกัน คือ   (๑) ได้ไกด์ และบริการนำเที่ยวดี   (๒) ได้ความรู้เรื่องประเทศละตินอเมริกา และชีวิตคนบราซิล โดยเฉพาะเกษตรกร จากไกด์   (๓) ได้ กินอาหารเย็นที่อร่อย    ที่จริงมีข้อ  (๔) ด้วย คืออากาศดี แดดจ้า แต่ก็ร้อนน้อยกว่าบ้านเรา

พอเข็นกระเป๋าออกมา อ. หมอภิเศกทำหน้าที่หาแท็กซี่ เพื่อไปโรงแรมที่จองไว้ ชื่อ San Martin ซึ่งอยู่หน้าทางเข้าป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ของน้ำตก     เจ้าที่ที่เคาน์เตอร์แท็กซี่ถามว่ากี่คน นอกจากไปโรงแรมแล้วจะไปเที่ยวไหนบ้าง    แล้วพาไปที่บริษัทนำเที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ   ชื่อบริษัท FallsVision Receptivo (www.fallsvision.com.br)    คุณ Fabio Wandscheer ( อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ที่น่าจะเป็นผู้จัดการ อธิบายว่าเขาบริการพาไปเที่ยวได้อย่างไร   บอกราคาต่อหัวเสร็จสรรพ    โดย อ. วิม แย้งว่า ต้องการให้วันนี้พาไปเที่ยวฝั่งประเทศ อาร์เจนตินา ก่อน   วันพรุ่งนี้ค่อยเที่ยวชมน้ำตกฝั่ง บราซิล    เขาก็จัดกำหนดการใหม่ทันที่   ตกคนละ ๑๒๓ เหรียญสหรัฐ ไม่รวมค่าลงเรือ ๗๓ เหรียญ    ผมให้ เว็บไซต์ และ อีเมล์ ติดต่อไว้ สำหรับท่านที่มีโอกาสไปเที่ยว จะได้เลือกใช้บริการ    เราลงมติว่าเขาเป็นคนซื่อสัตย์ต่อลูกค้าดีมาก

การเช็คอิน ที่โรงแรม ซาน มาร์ติน ใช้เวลานาน   เพราะเขามีแขกมาก และเจ้าหน้าที่ก็ทำงานไม่คล่อง

เสร็จแล้ว เรานั่งรถข้ามแม่น้ำ ไปฝั่ง อาร์เจนตินา    ที่สะพาน มองไปทางหนึ่งเห็นประเทศปาราไกว ซึ่งไม่มีน้ำตก   แต่มีสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ราคาถูก ให้คนบราซิลไปซื้อ   และให้ขบวนการลักลอบขนของหนีภาษี ทำมาหากิน    รถต้องผ่านด่านฝั่งบราซิล  ขับไปอีกหน่อย ผ่านด้าน อาร์เจนตินา    แต่ละด่านใช้เวลา ๑๐ ๒๐ นาที    ทำให้ผมนึกถึงสมัยอยู่ที่หาดใหญ่ ขับรถไปเที่ยวฝั่งมาเลเซีย ขบวนการยุ่งยากชักช้ามาก รอเป็นชั่วโมง    เป็นช่องทางคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่

ระหว่างนั่งรถ เราพบว่ามีผีเสื้อบินว่อนบนถนน   ช่วงเดือน ต.ค. - ธ.ค. เป็นฤดูผีเสื้อ   มีมากจริงๆ   คุณฟาบิโอ บอกว่า บางปีมีมากกว่านี้มาก    ผมว่าผีเสื้อช่วยให้ความสุขสดชื่นแก่นักท่องเที่ยวได้มาก    ถือเป็นทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง    นอกจากนั้นยังมีเสียงนกร้อง    นกที่ผมเข้าใจว่าคือ ไนติงเกล ร้องที่น้ำตก และที่โรงแรม ขณะที่ผมกำลังพิมพ์อยู่นี้ คือเวลา ๖.๒๐ น. เช้าวันที่ ๙ พ.ย.   เสียงไพเราะมาก    และร้องติดต่อ โต้ตอบกัน    ตอนกลางคืนก็มีเสียงจิ้งหรีด   เหล่านี้เป็น tourism assets ทางอ้อมทั้งสิ้น    ไม่ควรมองข้าม

รวมแล้ว  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">จากโรงแรม ถึงสถานีน้ำตกฝั่งอาร์เจนตินา ใช้เวลาราวๆ ๔๕ นาที    แต่ยังไม่ถึงน้ำตกนะครับ    ยังอีก ๒ ขยัก คือนั่งรถไฟเล็ก กับเดินเท้า    นั่งรถไฟเล็กน่าจะหลายกิโล เลียบฝั่งแม่น้ำเล็กๆ    เดินเท้าบนสะพานข้ามแอ่งน้ำ ไปยังน้ำตก ๑.๒ ก.ม.  แล้วเดินกลับ    ที่น้ำตก เราได้เห็นน้ำไหลวนตกหน้าผาลงไปต่อหน้า    รวมทั้งเห็นตกหน้าผาไกลๆ    บางช่วงละอองน้ำถูกลมหอบขึ้นมาโปรยปรายสนองความครึกครื้นให้แก่ผู้ไปชม  เป็นที่สนุกสนาน    ถือเป็นการอุ่นเครื่อง หรือทำความคุ้นเคยแก่การเปียกน้ำ ก่อนจะไปลงเรืออาบน้ำตก (และน้ำแม่น้ำ)

หลังจากนั่งรถไฟเล็กกลับมาจากน้ำตกแล้ว คุณ ฟาบิโอ พาเราเดินไปประมาณครึ่งกิโล ไปลงหน้าผา ไปยังสถานีลงเรือ    วิวน้ำตกสวยงามตื่นตาไปอีกแบบ   ก่อนลงเรือผมสวมหมวกและสวมเสื้อกันฝนที่เอามาจากบ้าน    คุณฟาบิโอเตือนว่าคงไม่ช่วยมากนัก    ก่อนลงเรือจริงๆ เขาแจกถุงพลาสติคหน้าให้สวมใสสิ่งของกันเปียก    และสวมชูชีพทับเสื้อกันฝน   ผมเดินไปนั่งด้านหลังเพื่อให้ได้ที่นั่งริม กะว่าจะได้ถ่ายรูปวิวได้ชัด    ซึ่งก็ได้สมใจ และได้มากกว่าที่คิด    คือโดนน้ำมากกว่าใครๆ ในกลุ่ม    คือผมเปียกโชกทั้งตัว เพราะไม่ใช่แค่โดนน้ำตก   แต่คนขับเรือเขากระแทกเรือให้น้ำแม่น้ำกระฉอกเข้ามาโดนผมเต็มตัว เหมือนโดนเอาน้ำราดตัวสัก ๒ ปี๊บ    เปียกทั้งตัว รวมทั้งถุงเท้ารองเท้า

การลงเรือชมน้ำตกที่นี่กับที่น้ำตกไนแอการ่าต่างกัน   วัตถุประสงค์คนละอย่าง    ที่นี่เป็นการลงไปเปียก เอามัน เอาความตื่นเต้นผจญภัย ตามสไตล์แซมบ้าบราซิล   แต่ที่ไนแอการ่าลงเรือไปชมน้ำตก ไปสัมผัสน้ำตกจากมุมด้านล่าง   และเข้าไปอยู่ใต้น้ำตกเลยทีเดียว    เรือที่ใช้ก็ต่างกัน ที่ไนแอการ่าเป็นเรือล่องแม่น้ำ แล่นเอื่อยๆ    ที่นี่ใช้เรือยาง สำหรับแล่นฉวัดเฉวียนเอาหวาดเสียว

หลังจากเปียกทั่วกันแล้ว เรือพาเราแล่นไปตามแม่น้ำไกลที่เดียว ไปขึ้นฝั่งอีกที่หนึ่ง    โดยเดินขึ้นง่ายกว่า แต่ก็ยังชันอยู่ดี    ผมต้องเดินขึ้นช้าๆ และหยุกพักบ้าง    คุณเดือน ซึ่งยังสาวอยู่ สารภาพว่า หอบเหมือนกัน    คุณฟาบิโอสั่งไว้ว่าเมื่อขึ้นจากเรือ ให้เดินขึ้นไปข้างบนและนั่งรถบรรทุกไปที่สถานีแรกที่รถจอด    เขาจะเอารถไปรับที่นั่น

พอถึงเวลา เราก็ขึ้นรถบรรทุก ที่มีที่นั่งเรียงหน้ากระดานเป็นแถวๆ    ผมเลือกนั่งแถวหน้าที่ริม เพราะเล็งว่าเป็นทำเลถ่ายภาพ    คนแคนาดาที่นั่งติดกันบอกว่าระวังนะ เขาตัวเปียก   ผมตอบว่าผมก็เปียกทั้งตัวเหมือนกัน    เขาว่าคนเรานี้แปลกดีนะ ยอมจ่ายสตางค์ตั้งแพง (๗๓ เหรียญสหรัฐ) เพื่อไปเปียก    แต่ที่จริงแล้ว ประสบการณ์นั่งเรือในลำน้ำ มีน้ำตกอยู่ข้างบน เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า

สำหรับผม ประสบการณ์ขึ้นรถบรรทุก นั่งไปตามทางลูกรังในป่าฝนเขต subtropical ของอาร์เจนตินา    โดยมีไกด์เจ้าหน้าที่ของป่าสงวนแห่งชาติ เป็นผู้บรรยายสองภาษา (ปอร์ตุกีส และอังกฤษ) ให้คุณค่าไม่แพ้การชมน้ำตก    ผมได้รู้จักป่าเขตกึ่งร้อนและชื้น    ซึ่งต่างจากป่าฝนเขตร้อนอย่างบ้านเรา ตรงที่มันทึบน้อยกว่า    และมี epiphyte ต้นโตๆ ตามค่าคบต้นไม้ใหญ่มากกว่า    เขาบอกว่า สำหรับป่าฝนเขตกึ่งร้อน ต้นไม้มี ๓ กลุ่ม คือไม้ใหญ่  เถาวัลย์  และต้นไม้อิงอาศัย (epiphytes) 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๙ พ.ย. ๕๖

 

 

รถไฟเล็กกำลังพาเราไปยังจุดเดินเท้าสู่น้ำตก

 

เดินเท้าบนสะพาน ๑.๒ กม. กลางแดด สู่น้ำตก

 

น้ำที่ตกลงไปต่อหน้า

 

น้ำตกจากหน้าผาไกลออกไป

 

เห็นรุ้งกินน้ำ

 

บริเวณชมน้ำตก และอาบละอองน้ำ โปรดสังเกตละอองน้ำที่พลุ่งขึ้นมาเป็นรูปครึ่งวงกลม

 

กลุ่มผีเสื้อ

 

เรือลำก่อนเราตีวงกลับเข้าไปอาบละอองน้ำตกอีกครั้งหนึ่ง

 

ก่อนเรือออก

 

 

ถ่ายจากในเรือ

 

 

รุ้งกินน้ำ โค้งน้อย

 

เรือลำก่อนเรา เตรียมชาร์จเข้าไปอาบละอองน้ำตก  คนขับนั่งอยู่บนที่สูงหลังเรือ

 

ขึ้นรถบรรทุก

 

บนรถ

 

บนรถ

 

รถบรรทุกอีกคันสวนมา

 

ป่าฝนกึ่งเขตร้อน

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/556889

เที่ยวน้ำตกอีกัวซู สุดยอดมหัศจรรย์ธรรมชาติ หนึ่งในเจ็ดของโลก (๒) ฝั่ง บราซิล

 

วันที่ ๙ พ.ย. ๕๖ เป็นวันชมน้ำตกจากฝั่งบราซิล   ซึ่งง่ายกว่าไปฝั่ง อาร์เจนตินามาก    เพราะอยู่ใกล้กับโรงแรมของเรานั่นเอง    รถออกไป ๕ นาทีก็ถึงทางเข้า    เราต้องลงรถไปเดินเข้าโดยแสดงบัตรผ่านคนละใบ    แล้วคุณฟาบิโอ เอารถไปรับด้านใน    คนอื่นๆ ที่ไปเอง มีรถบัสคันใหญ่จำนวนมากมายให้บริการพาไปจุดเดินชมน้ำตก    ซึ่งก็ห่างออกไปหลายกิโลเมตร

คุณฟาบิโอบอกว่า นักท่องเที่ยวที่มาชมน้ำตก อีกัวซู ฝั่งบราซิล ปีละ ๑.๕ ล้านคน    ฝั่งอาร์เจนตินามากกว่าเล็กน้อย    โดยนักท่องเที่ยวที่มาส่วนใหญ่ไปชมทั้งสองฝั่ง อย่างที่พวกเราทำ    เครื่องบินมาลงฝั่งบราซิลวันละ ๒๒ เที่ยว   ฝั่งอาร์เจนตินาวันละ ๘ เที่ยว   และฝั่งปารากวัย วันละเพียง ๑ เที่ยว ทั้งๆ ที่สนามบินของปารากวัยดีที่สุด

รถไปจอดหน้าโรงแรม Caracatas ซึ่งแปลว่าน้ำตก    ทางลงไปเดินชมน้ำตกอยู่ตรงนั้น    แล้วมีทางเดินชมวิวน้ำตกตลอดทาง    โดยภาพน้ำตกที่เห็น อยู่ทางฝั่งประเทศอาร์เจนตินา    จนสุดทางเดิน และมีบันไดลงไปยังสะพานชมน้ำตก และรับละอองน้ำตก    ช่วงนี้น้ำตกอยู่ทางฝังบราซิล    ได้ชมและรับคำอธิบายเช่นนี้ จึงเห็นชัดว่า น้ำตก อีกัวซู ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ อาร์เจนตินา

นอกจากสะพานชมน้ำตกแล้ว ฝั่งบราซิลยังสร้างหอชมน้ำตก เป็นหอหลายชั้น   ให้เดินขึ้นบันไดไปชมและถ่ายรูปน้ำตกใกล้ๆ ในระดับต่างๆ

ผมใช้คำว่า ชมและถ่ายรูปน้ำตก”   ตามความหมายของผม    แต่คนอื่นคงไม่ได้คิดและทำอย่างผม    คือเขาถ่ายรูปตนเองกับน้ำตก   หรือถ่ายรูปคนที่เขารักกับน้ำตก    ผมไม่ได้ถ่ายรูปตนเองเลย   แต่หากพบคนในคณะเดียวกัน ผมก็หาทางถ่ายรูปให้ แบบไม่ให้รู้ตัว

ผมตาไม่ดี ไม่เห็นคนที่ชมน้ำตกทางฝั่ง อาร์เจนตินา ที่อยู่ไกลลิบๆ    เมื่อมีคนชี้จึงพอสังเกตเห็น   แต่เมื่อใช้กล้อง Canon PowerShot SX 260 ถ่ายโดยซูมเต็มที่ ๒๐ เท่า ก็เห็นแถวคนที่กำลังชมน้ำตกอยู่ทางฝั่งประเทศ อาร์เจนตินา ที่เราไปยืนชมเมื่องานนี้ชัดเจน

สำราญใจกับการชมและรับไอน้ำตก จนถึงเวลา ๑๑ น. เศษ เราก็ได้เวลาเดินทางไปสนามบิน    ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง ๓ ก.ม.   เพื่อเดินทางไป Recife ด้วยเครื่องบินของสายการบิน TAM    โดยไปต่อเครื่องที่ Sao Paolo  และนั่งรอที่สนามบิน ๔ ชั่วโมง    ผมพิมพ์บันทึกนี้เสร็จระหว่างรอที่สนามบิน Sao Paolo นี้

 

วิจารณ์ พานิช

สนามบิน Sao Paolo, Brazil

๙ พ.ย. ๕๖

 

ทางเข้าเปิด ๙ โมงเช้า  เวลา ๙.๐๕ น. คนแน่นแล้ว

 

สัมผัสแรกที่เห็นน้ำตกจากฝั่งบราซิล  น้ำตกอยู่ฝั่งอาร์เจนตินา

 

ทางเข้าเส้นทางเดินชมวิว มีป้ายต้อนรับ

 

ผมชอบเส้นทางเดินชม (และถ่ายรูป) น้ำตกฝั่งบราซิล เพราะเหมือนเดินอยู่ในป่า

 

เห็นน้ำตกสองชั้น

 

น้ำตกไหลลงแม่น้ำ

 

มีสะพานให้ลงไปชมน้ำตกใกล้ๆ และรับละอองน้ำ  ส่วนนี้เป็นน้ำตกฝั่งบราซิล

 

น้ำตกกับสะพานชมวิวและรับละอองน้ำ

 

ถ่ายจากสะพานชมวิวและรับละอองน้ำ

 

นี่ก็ถ่ายจากสะพาน

 

อีกมุมหนึ่งที่ถ่ายจากสะพาน

 

และอีกมุมหนึ่ง

 

แม่น้ำทั้งสาย ตกลงหน้าผา

เมื่อวานเราลงไปนั่งเรือในแม่น้ำแถวนี้

 

เมื่อวานเราไปยืนชมน้ำตกฝั่งอาร์เจนตินา เหมือนคนเหล่านี้

ถ่ายจากหอชมวิวฝั่งบราซิล ด้วยกล้องกำลังขยาย ๒๐ เท่า

 

หอชมน้ำตก

 

บนหอชมน้ำตก

 

หอฯ ถ่ายจากด้านบน

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/557157

เที่ยวน้ำตกอีกวาซู สุดยอดมหัศจรรย์ธรรมชาติ หนึ่งในเจ็ดของโลก (๓) พืชและสัตว์

 

ระหว่างไปเที่ยวน้ำตก อีกัวซู ในวันที่ ๘ - ๙ พ.ย. ๕๖    ผมได้ถ่ายรูปพืช/ดอกไม้ และสัตว์ไว้จำนวนหนึ่ง    จึงขอนำมา ลปรร. ด้วย

ระบบนิเวศของน้ำตกที่ใหญ่โตมโหฬารและมหัศจรรย์เช่นนี้    จะต้องแตกต่างจากระบบนิเวศของป่าฝนเขตกึ่งร้อนอย่างแน่นอน    โดยเฉพาะบริเวณที่ละอองน้ำโปรยไปถึง    ผมจึงสังเกตดอกไม้และต้นไม้ระหว่างเดินไปยังจุดชมวิว    แต่คงได้ไม่มากนัก ที่ได้มากคือภาพถ่ายสวยๆ หรือแปลกๆ

แต่ระหว่างวิ่งออกกำลังตอนเช้าวันที่ ๙ พ.๕๖  และในบริเวณโรงแรม San Martin มีดอกไม้และนกสวยๆ    จะอยู่ในบันทึกตอนต่อไป

 

 

วิจารณ์ พานิช

สนามบิน Sao Paolo, Brazil

๙ พ.ย. ๕๖

ที่สนามบินเมือง Sao Paolo

เมล็ดสีแดงสวยขาดนี้ ไม่เคยเห็น

 

ดอกหญ้าริมทางรถไฟเล็ก

 

ไม่ทราบต้นอะไร มีทั่วไปตอนเดินไปน้ำตกฝั่ง เวเนซูเอลา  ออกดอกเต็มต้น

 

เช่นต้นนี้

 

ดอกนี้งามเป็นพิเศษ ด้วยพลังแสงแดดส่อง

 

ต้นที่มีดอกเหลืองสดใสนี้พบบ่อยที่น้ำตกฝั่งอาร์เจนตินา

 

ต้นนี้พบทั้งสองประเทศ

 

ต้นนี้อยู่ที่เกาะเล็กๆ เห็นกอเดียวนี้

 

ปลาดุก อีกวาซู

 

กาน้ำผึ่งแดดหลังดำน้ำจับปลา

 

สีแดงเตะตา

 

สีม่วงก็สวย

 

ผีเสื้อเกาะกลุ่ม

 

สีขาวก็สวยได้

 

 

 

 

ตัว badger ที่เชื่อง ทางอุทยานแห่งชาติประกาศระวังมันกัด เป็นแผลเหวอะหวะ

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/557229

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2013 เวลา 10:36 น.  
Home > Articles > การศึกษา > เที่ยวน้ำตกอีกัวซู สุดยอดมหัศจรรย์ธรรมชาติ หนึ่งในเจ็ดของโลก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8612444

facebook

Twitter


บทความเก่า