Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๗๐. เรียนรู้เรื่องจิตไร้สำนึก

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๗๐. เรียนรู้เรื่องจิตไร้สำนึก

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Our Unconscious Mind ลงพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ฉบับเดือนมกราคม 2014    เขียนโดยศาสตราจารย์ John A. Bargh หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Automacity in Cognition, Motivation and Evaluation แห่งมหาวิทยาลัย เยล น่าสนใจมาก

อ่านแล้วผมสรุปว่า ชีวิตของคนเราควบคุมโดยจิตไร้สำนึก มากกว่าส่วนที่ควบคุมโดยจิตสำนึกหลายเท่า    เพราะจิตไร้สำนึกเป็นส่วนของชีวิตอัตโนมัติ ตัดสินใจเร็ว    หรือทำโดยไม่ต้องคิด   ซึ่งจำเป็นสำหรับความอยู่รอด สมัยมนุษย์อยู่ในป่าร่วมกับสิงสาราสัตว์และภยันตรายรอบด้าน

ส่วนจิตสำนึก ที่มากับความรอบคอบ คิดไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ มาทีหลัง    แม้สมองส่วนนี้แหละที่ทำให้มนุษย์ กลายเป็นสัตว์ที่ครองโลก    แต่เราก็ใช้สมองส่วนนี้น้อยกว่าส่วนจิตไร้สำนึกอย่างมากมาย ในชีวิตประจำวัน

ฟรอยด์ บอกว่า จิตไร้สำนึกเป็นตัว id ความเห็นแก่ตัว หรือจิตฝ่ายต่ำ    ส่วนจิตสำนึกเป็น ego ต้องการสร้าง ความยอมรับจากผู้อื่น    เป็นจิตฝ่ายสูง    แต่ผลการวิจัยด้านจิตวิทยาสมัยใหม่บอกว่า จิตไร้สำนึกหรือพฤติกรรมอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องเป็นจิตฝ่ายต่ำเสมอไป    คนเราสามารถฝึกฝนจิตใจตนเอง ของลูก ของคนใกล้ชิด หรือของศิษย์ ให้จิตไร้สำนึกเป็นจิตฝ่ายสูง ที่เห็นแก่ผู้อื่น    เป็นจิตที่เสียสละ ได้ กล่าวใหม่ด้วยคำไทยไม่สุภาพว่า ฝึกสันดานได้

แต่จะฝึกสันดานหรือจิตไร้สำนึก ต้องเข้าใจความลี้ลับ หรือพลังของจิตไร้สำนึก ที่เราไม่รู้สึกหรือไม่ตระหนัก    ว่ามันครอบงำความประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเราไม่รู้ตัว และคาดไม่ถึงว่าเราโดนสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมหลอกโดยเราไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เรื่องราวที่เล่าในบทความนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มนุษย์โดนจิตไร้สำนึกหลอกในชีวิตประจำวัน

เช่น เรื่อง พฤติรรมเลียนแบบ (chameleon effect),   เรื่องstereotype threat ที่คนเราตกอยู่ใต้ความครอบงำ ของความเชื่องมงาย เช่นเชื่อว่าผู้หญิงด้อยกว่าผู้ชาย คนดำด้อยกว่าคนขาว    เขาเล่าการทดลองทางจิตวิทยา ว่าเพียงแค่เตือนสตินักเรียนก่อนให้ทำข้อสอบ ว่านักเรียนเป็นคนดำนะ หรือเป็นผู้หญิงนะ    นักเรียนจะทำข้อสอบได้ด้อยลง กว่าไม่บอกอะไรเลย เป็นต้น

ผม AAR การอ่านบทความนี้ ลากเข้าสู่เรื่องการเรียนรู้ หรือการศึกษา    และมองว่า สุดยอดของการศึกษา คือการฝึกจิตไร้สำนึก หรือจิตอัตโนมัติ    ให้เป็นจิตใหญ่ จิตของโพธิสัตว์ หรือของพรหม    ไม่ใช่จิตที่แคบ หรือจิตเล็ก เอาแต่ผลประโยชน์ของตนเอง    ผมมีความเชื่อว่า นั่นคือส่วนสำคัญที่สุดของการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดี

มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง    และหมั่นฝึกฝนเพียงพอ    นี่คือ จิตตปัญญาศึกษา    และคนที่กิเลสหนาอย่างผม ต้องหมั่นฝึกฝนเรื่อยไปไม่ย่อท้อ   แม้จะอายุมาก ก็ยังฝึกได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ธ.๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 มกราคม 2014 เวลา 07:49 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๗๐. เรียนรู้เรื่องจิตไร้สำนึก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8609643

facebook

Twitter


บทความเก่า