Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๔. ความเป็นผู้ประกอบการ

นิยามหรือความหมาย ของความเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย ไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรฐาน   ผมขอรวบรวมมาจากการฟัง ถาม สังเกต และ ลปรร. กับคณะที่ไปดูงานด้วยกัน

หลังจากไปฟังการนำเสนอในการดูงาน และกลับมาไตร่ตรองแล้ว ผมฟันธงว่า ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)เป็นสมรรถนะ (competency) ที่ต้องการอย่างหนึ่งของบัณฑิตทุกสาขา ในทุกประเทศ สำหรับยุคศตวรรษที่ ๒๑   โดยที่จริงๆ แล้ว ต้องมีการปลูกฝังพัฒนามาตั้งแต่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย   และต้องยิ่งกระตุ้น ในการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย

ผมตีความและนิยามเอาเองว่า ความเป็นผู้ประกอบการหมายถึง ความสามารถนำเอา สินทรัพย์ (assets) ที่อยู่เฉยๆ ไม่ก่อประโยชน์ใดๆ   มาจัดการหรือดำเนินการให้เกิดมูลค่า คุณค่า หรือผลกำไร

เมื่อตีความและนิยามเช่นนี้แล้ว   บทบาทของมหาวิทยาลัยกับความเป็นผู้ประกอบการจึงหมายถึง การที่มหาวิทยาลัยทำให้นักศึกษาของตน เปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (transform) จากวิญญาณผู้บริโภค   มาสู่วิญญาณผู้ผลิต   หรือให้มีน้ำหนักของ วิญญาณผู้ผลิต มากกว่าวิญญาณผู้บริโภค

การตีความ และนิยามเช่นนี้ สอดคล้องกับแนวทาง 21st Century Learning   ซึ่งเน้นที่เรียนโดยปฏิบัติ (learning by doing)  เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษา เรียนโดยการผลิตหรือสร้างความรู้   ซึ่งก็คือ เป็นการนำเอา ความสามารถ หรือศักยภาพภายในตัว นศ. ที่อยู่เฉยๆ มาทำหน้าที่ ผู้ผลิต” ความรู้ เผื่อแผ่แก่เพื่อน ในกระบวนการเรียนรู้เป็นทีม   หรือเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนเอื้อเฟื้อกัน    ในลักษณะ collaborative learning   ซึ่งก็จะช่วยบ่มเพาะนิสัยร่วมมือ (collaboration) หรือเป็นหุ้นส่วนกัน (partnership)   ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)

การหล่อหลอมวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ   กับการเรียนรู้ตามแนวทางแห่งศตวรรษที่ ๒๑   จึงเป็น ๒ หน้าของเหรียญเดียวกัน

ในระดับมหาวิทยาลัย / หน่วยงาน ต้องมีความสามารถในการหารายได้มาใช้ในการทำหน้าที่ สถาบันอุดมศึกษาให้แก่สังคม   มหาวิทยาลัยจึงเป็นผู้ประกอบการสังคม   หรือที่ท่าน ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน เรียกว่า เป็นวิสาหกิจสังคม (Social Enterprise)  คือทำธุรกิจเพื่อหารายได้มาเลี้ยงตัวเอง    โดยหวัง ผลประกอบการหรือ กำไร” เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อสังคม

ความสัมพันธ์กับรัฐ ตามอุดมคติของผู้ประกอบการ จึงไม่ใช่การ ขอ” งบประมาณ   แต่เป็นการเจรจากัน ว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ จะทำประโยชน์อะไรบ้าง ให้แก่สังคม   โดยรัฐ ซื้อ” บริการเหล่านั้น ตามอัตราที่เหมาะสม กับคุณภาพของผลงาน ของมหาวิทยาลัยนั้น ที่เคยทำผลงานไว้

วิธีคิดแบบนี้ เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทยเพียงใด   ผมไม่มีคำตอบ   เพราะสังคมของเรา ยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ หรือต่างตอบแทนกัน แบบพวกใครพวกมัน    ไม่ได้เน้นที่การซื้อบริการตามคุณภาพ ของผลงาน

ที่เราไปศึกษาดูงาน ได้เห็นความแตกต่างอย่างยิ่ง ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการของ University of Northampton  กับ UCL (University College London)   เพราะสองมหาวิทยาลัยนี้มี สินทรัพย์” แตกต่างกัน   คือ UCL เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นเยี่ยมของโลก   มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขั้นแนวหน้า    ดังนั้น กิจกรรมของ Social Enterprise ของเขาที่ชื่อ UCL Business ก็คือ TLO (Technology Licensing Office) ในชื่อเก่านั่นเอง   และกิจกรรม SE ของนักศึกษาของ UCL ก็มักอยู่บน technology platform ที่ได้จากผลงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยนั่นเอง   ดังกรณีที่ศาสตราจารย์ Muki Haklay เล่าให้เราฟังเรื่อง ‘Extreme Citizen Science’ Group ที่ผนวกพลังพลเมือง (citizen) กับพลังเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน   เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม   โดยที่ในที่นี้เทคโนโลยีคือ Web-based mapping โดยใช้ GPS    กิจกรรมหนึ่งที่กลุ่มนี้ทำ คือทำแผนที่เสียงรบกวน ที่ก่อมลภาวะทางเสียง (noise pollution)  และอาจจำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการแก้ปัญหาสังคมได้อีกมากมาย อาจารย์ผู้นี้ได้ตั้ง SE ชื่อ Mapping for Change โดยได้รับการสนับสนุนจาก UnLtd

แต่ SE ของ University of Northampton จุดแข็งคือนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ถือว่าตัวมหาวิทยาลัย ทั้งมหาวิทยาลัย เป็นSE (Social Entreprise)  และทำหน้าที่สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะผู้ประกอบการ และมีจิตสาธารณะ คือเป็น Social Entrepreneur  เท่าที่เราไปฟังนักศึกษา ๓ กลุ่มมาเล่ากิจการ SE ของเขา   ก็อยู่บนฐานของความริเริ่มสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นหลัก   โดย นศ. คนที่ผมประทับใจที่สุดคือคุณ Marvin คนผิวดำผู้กลับใจ    จากเป็นเด็กเกเร ก่อปัญหาให้แก่สังคม   กลายเป็นนักธุรกิจ ตั้งบริษัทฝึกอบรมศิลปะการออกแบบ เพื่อการค้นพบตนเองของเยาวชน

อีกมิติหนึ่งของมหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ในการยกระดับความเป็นมหาวิทยาลัย SE ของตน    คือการเข้าไปถือหุ้นของ CIC(Community Interested Company)  ชื่อ Goodwill Solutions เพื่อใช้ฐานธุรกิจ เพื่อสังคมของ Goodwill Solutions เป็นที่ฝึกจิตใจเพื่อสังคมให้แก่นักศึกษา และเพื่อทำงานวิชาการด้าน ธุรกิจเพื่อสังคม จากประสบการณ์ของ Goodwill Solutions

ส่วน SE ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด เน้นทำงานวิชาการด้านนี้

Entrepreneurship ในระดับอาจารย์   อาจารย์ต้องแสดงความสามารถในการหารายได้ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม   หรือกล่าวใหม่ว่า ต้องแสดงหลักฐานว่า ทำไมต้องมีตนเองอยู่ในหน่วยงาน หรืออยู่ในมหาวิทยาลัย   ไม่ใช่บอกว่าตนเองสมัครเข้ามาทำงานแล้ว ต้องได้รับความมั่นคงในหน้าที่การงาน และรายได้

รายการดูงานรายการสุดท้ายเป็นหน่วยงานส่งเสริมวิญญาณนักประกอบการ (นักประกอบการทั่วไป ไม่ใช่นักประกอบการสังคม) ให้แก่นักศึกษา ชื่อ NACUE (The National Association of College and University Entrepreneurs)    ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่ค้ากำไร ตั้งขึ้นโดยนักศึกษา เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว    โดยทำกิจกรรม ๓ กลุ่ม  (๑)​ เชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจโดยนักศึกษา   (๒) จัดอีเว้นท์ และการประชุม  (๓) ทำวิจัย และสื่อสารนโยบาย

เนื่องจากทั้งรัฐบาล และหลายๆ ฝ่ายในสหราชอาณาจักร มองว่าประเทศจะพัฒนาและแข่งขันได้ในยุคนี้   ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง NACUE จึงพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในเวลา ๔ ปี   โดยตอนนี้มีเจ้าหน้าที่ ๔๐ คน   อายุเฉลี่ย ๒๓ ปี   นี่คือตัวอย่างของความเป็นผู้ประกอบการตัวจริง

ความเป็นผู้ประกอบการมี ๒ แบบ   คือประกอบธุรกิจเพื่อกำไรตามแบบธุรกิจทั่วๆ ไป    กับ ประกอบการเพื่อสังคม   โดยที่ ๒ แบบนี้ไม่แยกกันเด็ดขาด    เพราะธุรกิจค้ากำไร ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ ของสังคมด้วย   ต้องไม่ประกอบธุรกิจโดยหวังกำไรสูงสุด โดยไม่เอาใจใส่ว่าตัวธุรกิจนั้นก่อผลร้ายต่อสังคม อย่างไรบ้าง    ไม่สนใจลดผลร้ายลงไป   ซึ่งนี่คือหลักการการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม    สรุปว่า ธุรกิจแบบแรก เน้นกำไรที่เป็นตัวเงินเป็นหลัก   ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรอง

ความเป็นผู้ประกอบการแบบที่สอง เน้นผลประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลัก    เงินกำไรเป็นรอง

ใน Ppt นำเสนอของ Prof. Muki Haklay ระบุนิยามของคำว่า ผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ดังนี้

- UnLtd นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์  แรงบันดาลใจ  ความมุ่งมั่น  และการลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

- Ashoka นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิธีที่แปลกใหม่ ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม   เป็นคนที่ทะเยอทะยาน และลงมือทำอย่างคงเส้นคงวา   เข้าไปแก้ปัญหาสำคัญของสังคม   และเสนอแนวความคิดใหม่   เพื่อการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

ผมเขียนบันทึกนี้แบบตีความสุดๆ   ไม่ทราบว่าเป็นการตีความเข้าป่าเข้าดง   ไปหรือไม่   ท่านผู้อ่านพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:18 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

ผมร่วมคณะศึกษาดูงานของสถาบันคลังสมอง ไปสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๘ ๑๓ ก.ย. ๕๖   โดยมีเป้าหมายในใจว่า ต้องการไปดูว่าการทำหน้าที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของอังกฤษ ต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลง อย่างไรบ้าง เพราะอะไร เขามีการจัดระบบการทำงานอย่างไร

ไปเห็นรูปธรรมของขบวนการพัฒนาอาจารย์ ด้านการเรียนการสอน และสนับสนุนการเรียนรู้  โดย

· การจัดตั้ง HEA เป็นองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อน

· HEA ร่วมกับภาคี สร้างเครื่องมือ UKPSF ขึ้นมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน   โดยไม่บังคับ แต่ชักชวน และสร้างคุณค่าของการเป็น Fellow ของ HE Academy    Fellowship มีอายุ ๓ ปี และมี ๔ ระดับ    สะท้อนหลักการว่า อาจารย์ต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

· มหาวิทยาลัยจัด Workshop ฝึกอาจารย์ใหม่ ให้มีทักษะในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมิน   เพื่อช่วยให้อาจารย์เข้าเป็น Fellow ของ HE Academy ได้   และมีหน่วยงานช่วยเหลืออาจารย์ที่สนใจยกระดับของการเป็น Fellow ขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้น (มี ๔ ระดับ จากขั้นต่ำสู่ขั้นสูง คือ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow, และ Principal Fellow)

· มีหลักสูตรประกาศนียบัตร และปริญญาโท ด้านการเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัย แอสตัน จัดโดย CLIPP (Centre for Learning Innovation & Professional Practice)    ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนโดยเฉพาะ

· มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด มีOxford Learning Institute ทำหน้าที่พัฒนาทักษะด้านการเรียนการสอน และการสนับสนุนการเรียนรู้    ให้แก่อาจารย์ และแก่นักศึกษา    โดยหลักสูตรและกิจกรรมของเขาจัดให้เหมาะแก่สถานการณ์ หรือบริบท ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด

· มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ระบุไว้ใน KPI ด้าน Intellectual Resource ตัวหนึ่ง   ว่าดูที่ร้อยละของอาจารย์ที่มีคุณวุฒิด้านการเรียนการสอน (% of Academics with formal or accredited teaching qualifications)   แต่เขาไม่ได้เล่า ว่าเขาช่วยเหลืออาจารย์ให้ได้คุณวุฒิเหล่านั้นอย่างไร

เราไปดูงานเพียง ๔ มหาวิทยาลัย และบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ดูเรื่องการพัฒนาอาจารย์    แต่ผมเดาว่า ในสหราชอาณาจักร มีกระแสรุนแรงมาก ในเรื่องการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน    เพื่อให้อาจารย์จัด การเรียนการสอนแบบใหม่ ที่เน้น Active Learning   ไม่เน้นการสอนแบบบรรยายอย่างแต่ก่อน    เพื่อประโยชน์ของนักศึกษา    และได้ทราบว่า กระแสต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ไม่น้อย    ซึ่งก็เป็นธรรมดาโลก

มีเอกสารแนะนำอาจารย์ใหม่ เผยแพร่โดย University of Wales น่าอ่านมาก อ่านได้ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๒๘ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:24 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๔. ความเป็นผู้ประกอบการ

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๔. ความเป็นผู้ประกอบการ

นิยามหรือความหมาย ของความเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย ไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรฐาน   ผมขอรวบรวมมาจากการฟัง ถาม สังเกต และ ลปรร. กับคณะที่ไปดูงานด้วยกัน

หลังจากไปฟังการนำเสนอในการดูงาน และกลับมาไตร่ตรองแล้ว ผมฟันธงว่า ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)เป็นสมรรถนะ (competency) ที่ต้องการอย่างหนึ่งของบัณฑิตทุกสาขา ในทุกประเทศ สำหรับยุคศตวรรษที่ ๒๑   โดยที่จริงๆ แล้ว ต้องมีการปลูกฝังพัฒนามาตั้งแต่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย   และต้องยิ่งกระตุ้น ในการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย

ผมตีความและนิยามเอาเองว่า ความเป็นผู้ประกอบการหมายถึง ความสามารถนำเอา สินทรัพย์ (assets) ที่อยู่เฉยๆ ไม่ก่อประโยชน์ใดๆ   มาจัดการหรือดำเนินการให้เกิดมูลค่า คุณค่า หรือผลกำไร

เมื่อตีความและนิยามเช่นนี้แล้ว   บทบาทของมหาวิทยาลัยกับความเป็นผู้ประกอบการจึงหมายถึง การที่มหาวิทยาลัยทำให้นักศึกษาของตน เปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (transform) จากวิญญาณผู้บริโภค   มาสู่วิญญาณผู้ผลิต   หรือให้มีน้ำหนักของ วิญญาณผู้ผลิต มากกว่าวิญญาณผู้บริโภค

การตีความ และนิยามเช่นนี้ สอดคล้องกับแนวทาง 21st Century Learning   ซึ่งเน้นที่เรียนโดยปฏิบัติ (learning by doing)  เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษา เรียนโดยการผลิตหรือสร้างความรู้   ซึ่งก็คือ เป็นการนำเอา ความสามารถ หรือศักยภาพภายในตัว นศ. ที่อยู่เฉยๆ มาทำหน้าที่ ผู้ผลิต” ความรู้ เผื่อแผ่แก่เพื่อน ในกระบวนการเรียนรู้เป็นทีม   หรือเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนเอื้อเฟื้อกัน    ในลักษณะ collaborative learning   ซึ่งก็จะช่วยบ่มเพาะนิสัยร่วมมือ (collaboration) หรือเป็นหุ้นส่วนกัน (partnership)   ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)

การหล่อหลอมวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ   กับการเรียนรู้ตามแนวทางแห่งศตวรรษที่ ๒๑   จึงเป็น ๒ หน้าของเหรียญเดียวกัน

ในระดับมหาวิทยาลัย / หน่วยงาน ต้องมีความสามารถในการหารายได้มาใช้ในการทำหน้าที่ สถาบันอุดมศึกษาให้แก่สังคม   มหาวิทยาลัยจึงเป็นผู้ประกอบการสังคม   หรือที่ท่าน ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน เรียกว่า เป็นวิสาหกิจสังคม (Social Enterprise)  คือทำธุรกิจเพื่อหารายได้มาเลี้ยงตัวเอง    โดยหวัง ผลประกอบการหรือ กำไร” เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อสังคม

ความสัมพันธ์กับรัฐ ตามอุดมคติของผู้ประกอบการ จึงไม่ใช่การ ขอ” งบประมาณ   แต่เป็นการเจรจากัน ว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ จะทำประโยชน์อะไรบ้าง ให้แก่สังคม   โดยรัฐ ซื้อ” บริการเหล่านั้น ตามอัตราที่เหมาะสม กับคุณภาพของผลงาน ของมหาวิทยาลัยนั้น ที่เคยทำผลงานไว้

วิธีคิดแบบนี้ เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทยเพียงใด   ผมไม่มีคำตอบ   เพราะสังคมของเรา ยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ หรือต่างตอบแทนกัน แบบพวกใครพวกมัน    ไม่ได้เน้นที่การซื้อบริการตามคุณภาพ ของผลงาน

ที่เราไปศึกษาดูงาน ได้เห็นความแตกต่างอย่างยิ่ง ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการของ University of Northampton  กับ UCL (University College London)   เพราะสองมหาวิทยาลัยนี้มี สินทรัพย์” แตกต่างกัน   คือ UCL เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นเยี่ยมของโลก   มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขั้นแนวหน้า    ดังนั้น กิจกรรมของ Social Enterprise ของเขาที่ชื่อ UCL Business ก็คือ TLO (Technology Licensing Office) ในชื่อเก่านั่นเอง   และกิจกรรม SE ของนักศึกษาของ UCL ก็มักอยู่บน technology platform ที่ได้จากผลงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยนั่นเอง   ดังกรณีที่ศาสตราจารย์ Muki Haklay เล่าให้เราฟังเรื่อง ‘Extreme Citizen Science’ Group ที่ผนวกพลังพลเมือง (citizen) กับพลังเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน   เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม   โดยที่ในที่นี้เทคโนโลยีคือ Web-based mapping โดยใช้ GPS    กิจกรรมหนึ่งที่กลุ่มนี้ทำ คือทำแผนที่เสียงรบกวน ที่ก่อมลภาวะทางเสียง (noise pollution)  และอาจจำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการแก้ปัญหาสังคมได้อีกมากมาย อาจารย์ผู้นี้ได้ตั้ง SE ชื่อ Mapping for Change โดยได้รับการสนับสนุนจาก UnLtd

แต่ SE ของ University of Northampton จุดแข็งคือนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ถือว่าตัวมหาวิทยาลัย ทั้งมหาวิทยาลัย เป็นSE (Social Entreprise)  และทำหน้าที่สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะผู้ประกอบการ และมีจิตสาธารณะ คือเป็น Social Entrepreneur  เท่าที่เราไปฟังนักศึกษา ๓ กลุ่มมาเล่ากิจการ SE ของเขา   ก็อยู่บนฐานของความริเริ่มสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นหลัก   โดย นศ. คนที่ผมประทับใจที่สุดคือคุณ Marvin คนผิวดำผู้กลับใจ    จากเป็นเด็กเกเร ก่อปัญหาให้แก่สังคม   กลายเป็นนักธุรกิจ ตั้งบริษัทฝึกอบรมศิลปะการออกแบบ เพื่อการค้นพบตนเองของเยาวชน

อีกมิติหนึ่งของมหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ในการยกระดับความเป็นมหาวิทยาลัย SE ของตน    คือการเข้าไปถือหุ้นของ CIC(Community Interested Company)  ชื่อ Goodwill Solutions เพื่อใช้ฐานธุรกิจ เพื่อสังคมของ Goodwill Solutions เป็นที่ฝึกจิตใจเพื่อสังคมให้แก่นักศึกษา และเพื่อทำงานวิชาการด้าน ธุรกิจเพื่อสังคม จากประสบการณ์ของ Goodwill Solutions

ส่วน SE ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด เน้นทำงานวิชาการด้านนี้

Entrepreneurship ในระดับอาจารย์   อาจารย์ต้องแสดงความสามารถในการหารายได้ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม   หรือกล่าวใหม่ว่า ต้องแสดงหลักฐานว่า ทำไมต้องมีตนเองอยู่ในหน่วยงาน หรืออยู่ในมหาวิทยาลัย   ไม่ใช่บอกว่าตนเองสมัครเข้ามาทำงานแล้ว ต้องได้รับความมั่นคงในหน้าที่การงาน และรายได้

รายการดูงานรายการสุดท้ายเป็นหน่วยงานส่งเสริมวิญญาณนักประกอบการ (นักประกอบการทั่วไป ไม่ใช่นักประกอบการสังคม) ให้แก่นักศึกษา ชื่อ NACUE (The National Association of College and University Entrepreneurs)    ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่ค้ากำไร ตั้งขึ้นโดยนักศึกษา เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว    โดยทำกิจกรรม ๓ กลุ่ม  (๑)​ เชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจโดยนักศึกษา   (๒) จัดอีเว้นท์ และการประชุม  (๓) ทำวิจัย และสื่อสารนโยบาย

เนื่องจากทั้งรัฐบาล และหลายๆ ฝ่ายในสหราชอาณาจักร มองว่าประเทศจะพัฒนาและแข่งขันได้ในยุคนี้   ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง NACUE จึงพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในเวลา ๔ ปี   โดยตอนนี้มีเจ้าหน้าที่ ๔๐ คน   อายุเฉลี่ย ๒๓ ปี   นี่คือตัวอย่างของความเป็นผู้ประกอบการตัวจริง

ความเป็นผู้ประกอบการมี ๒ แบบ   คือประกอบธุรกิจเพื่อกำไรตามแบบธุรกิจทั่วๆ ไป    กับ ประกอบการเพื่อสังคม   โดยที่ ๒ แบบนี้ไม่แยกกันเด็ดขาด    เพราะธุรกิจค้ากำไร ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ ของสังคมด้วย   ต้องไม่ประกอบธุรกิจโดยหวังกำไรสูงสุด โดยไม่เอาใจใส่ว่าตัวธุรกิจนั้นก่อผลร้ายต่อสังคม อย่างไรบ้าง    ไม่สนใจลดผลร้ายลงไป   ซึ่งนี่คือหลักการการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม    สรุปว่า ธุรกิจแบบแรก เน้นกำไรที่เป็นตัวเงินเป็นหลัก   ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรอง

ความเป็นผู้ประกอบการแบบที่สอง เน้นผลประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลัก    เงินกำไรเป็นรอง

ใน Ppt นำเสนอของ Prof. Muki Haklay ระบุนิยามของคำว่า ผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ดังนี้

- UnLtd นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์  แรงบันดาลใจ  ความมุ่งมั่น  และการลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

- Ashoka นิยามว่า เป็นบุคคลที่มีวิธีที่แปลกใหม่ ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม   เป็นคนที่ทะเยอทะยาน และลงมือทำอย่างคงเส้นคงวา   เข้าไปแก้ปัญหาสำคัญของสังคม   และเสนอแนวความคิดใหม่   เพื่อการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

ผมเขียนบันทึกนี้แบบตีความสุดๆ   ไม่ทราบว่าเป็นการตีความเข้าป่าเข้าดง   ไปหรือไม่   ท่านผู้อ่านพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:27 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๑๗. สังสรรค์เสวนากันเอง ในกลุ่มผู้ร่วมดูงาน ที่มหาวิทยาลัย Northampton

พิมพ์ PDF

ช้าวันจันทร์ที่ ๙ ก.ย. ๕๖ ฟ้าต้อนรับคณะของเราด้วยรุ้งกินน้ำสองวงซ้อน โดยที่ฝนตกตั้งแต่ ฟ้ายังไม่สาง    และเมื่อ อวิม(วณิชาชื่นกองแก้วสวมเสื้อกันฝนออกไปวิ่งได้สักครูก็กลับมาเอากล้องถ่ายรูป บอกว่ามีรุ้งกินน้ำสองวง สวยมาก    ผมจึงได้ออกไปถ่ายรูปรุ้งกินน้ำเหนือฟ้ามหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน กับเข้าด้วย    ได้ผสมโรงวิ่งออกกำลังท่ามกลาวฝนพรำอยู่ ๑๕ นาที   รุ้งหายไปผมก็กลับ

ระหว่างนั่งรัประทานอาหารเช้าที่ Sunley Conference Centre   กัน ๔ คน มี ดร. กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดี มวล., ผศ. ดร. ชลวิทย์ เจียรจิตต์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มศว., และ อ.สมาน ศรีสะอาด รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มรภ. มหาสารคาม และผม    ตอนหนึ่ง ดร. ชลวิทย์เล่าเรื่องประสบการณ์ ๑ สัปดาห์ ของท่านที่สวนโมกข์   และเล่าเรื่องท่านพุทธทาสสอนคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช แบบไม่สอน   โดย ดร. ชลวิทย์ ฟังจากปากของคุณหญิงพรทิพย์โดยตรง

ราวๆ ปี ๒๕๒๓ ๒๔ มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน เงินบาทราคาตกลงไปมาก    ทำให้หนี้สินของบริษัท ของคุณหญิงพรทิพย์เพิ่มขึ้นมากมาย   คุณหญิงเป็นทุกข์มาก   หาวิธีผ่อนคลายความทุกข์อย่างไร ก็ไม่สำเร็จ   จึงไปหาท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์   ได้เข้าไปเล่าความทุกข์อย่างยืดยามโดยท่านพุทธทาสนั่งฟังอย่างสงบ   ไม่ขัดจังหวะใดๆ    จนคุณหญิงหยุดเล่า    ท่านก็เอ่ยว่าให้ไปยกก้อนหินก้อนโน้น (ซึ่งก้อนโตหนักมาก    พอยกขึ้นก็ต้องวางทันที) แล้วกลับมาคุยกันใหม่

เมื่อกลับมาท่านก็ถามว่า ก้อนหินหนักไหม   ตอบว่าหนักมาก   ท่านถามต่อว่า เมื่อวางลงเสียแล้ว เป็นอย่างไร    คุณหญิงซึ่งเป็นคนมีปัญญาก็สว่างวาบทันทีว่า    ที่ท่านทุกข์ก็เพราะไม่ปล่อยวางนี่เอง

ผมได้จังหวะ จึงบอกวงสนทนาว่า    นี่คือการสอนแบบเซน สอนแบบไม่สอน ให้สัมผัสเอง และตระหนักรู้เอง    ดีกว่าการสอนด้วยคำพูดร้อยเท่า    เพราะได้ความรู้จากการตระหนักรู้ด้วยตนเอง    ตรงกับหลัก 21st Century Learning หรือ Cognitive Psychologyสมัยใหม่   ที่ต้องเรียนโดยลงมือปฏิบัติ    แล้วไตร่ตรองสำนึกรู้ของตนเอง เกิดความรู้ มือหนึ่ง ก็จะเกิดสภาพที่ รู้จริง”    แตกต่างจากกรรับถ่ายทอดความรู้ ‘มือสอง’ มาจากผู้อื่น ยากที่จะรู้จริง

ดร. กีร์รัตน์ ชวนคุยเรื่อง เหตุเกิดที่สวนโมกข์ในขณะนี้   จึงได้คุยกันเรื่องอติมานะ และกิเลสอื่นๆ ของสมมติสงฆ์   ที่วงการสงฆ์ไทยหลงตามอย่างวงการฆราวาส   ดังนั้น แทนที่สงฆ์จะตั้งหน้าฝึกฝนเรียนรู้ วิธีดำรงชีวิตที่กิเลสเบาบาง    เอาไว้ช่วยฆราวาสยามทุกข์   สมมติสงฆ์เองกลับมีกิเลสหนา และเกิดเหตุการณ์ที่  ไม่พึงเกิดกับสงฆ์อยู่บ่อยๆ

ผมเล่าให้ฟังว่า ผมไม่สนิทกับสวนโมกข์    ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือสวนโมกข์หากไม่ได้รับการร้องขอ   คนที่สนิทกับสวนโมกข์มากสมัยที่ท่านพุทธทาสยังอยู่  และสมัยท่านอาจารย์โพธิ์ คือ นพ. บัญชา พงษ์พานิช   ที่เป็นผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุพุทธทาสในขณะนี้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.ย. ๕๖

Sunley Conference Centre, U of Northampton

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:56 น.
 

เรียนรู้วิธีลดคอรัปชั่นจากฮ่องกง : 1. คณะกรรมาธิการอิสระต่อต้านคอรัปชั่น

พิมพ์ PDF
ICAC ทำงาน ๓ ด้าน คือสอบสวน ป้องกัน และการศึกษาแก่ชุมชน

เรียนรู้วิธีลดคอรัปชั่นจากฮ่องกง : 1. คณะกรรมาธิการอิสระต่อต้านคอรัปชั่น

คุณ Dominic Regester, Deputy Director Education, East Asia ของ บริติชเคาน์ซิล เป็นผู้สะกิดใจผมว่า ตัวอย่างของประเทศที่แก้ปัญหาคอรัปชั่นอย่างได้ผลมีอยู่    คือประเทศฮ่องกง    ที่ช่วงก่อนคริสตทศวรรษที่ 1970 คอรัปชั่นในฮ่องกงรุนแรงมาก   จึงมีมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าว    และได้ผลจริงๆ โดยผมเชื่อว่าต้องทำอย่างเป็นระบบ และระยะยาว

ผมกลับมาค้น กูเกิ้ล ที่บ้าน   พบเรื่อง Independent Commission against Corruption (Hong Kong) (ICAC)   ที่ตั้งโดยผู้ว่าราชการของฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1974 สมัยยังอยู่ใต้ปกครองของอังกฤษ โดยมีเป้าหมายลดคอรัปชั่นในหน่วยราชการ    ใช้ ๓ มาตรการ คือ การบังคับใช้กฎหมาย  การป้องกัน  และการศึกษาของชุมชน

ICAC เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย    มีฐานะเป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากราชการ    รายงานตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง    และผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้    โดยหลังปี 1997 ที่ฮ่องกงกลับมาอยู่ใต้ปกครองของจีน   คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งโดยสภาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการฮ่องกง

บทความที่เอ่ยถึงข้างบนใน Wikipedia เล่าเหตุการณ์ที่เป็นต้นเหตุของการระบาดของโรคคอรัปชั่นในสังคมฮ่องกง    มาจากความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒    แต่อัตราเงินเดือนของข้าราชการต่ำมาก   เกิดการเรียก(และให้)เงินใต้โต๊ะอย่างแพร่หลาย   โดยตอนนั้นหน่วยปราบคอรัปชั่นอยู่ที่ตำรวจ   แต่พบว่าตำรวจนั่นแหละเป็นตัวการ   มาตรการต่อต้านและปราบคอรัปชั่นโดยกลไกตำรวจไร้ผล   และคอรัปชั่นระบาดไปทั่วทุกวงการ   ไม่ใช่เฉพาะในราชการ

เมื่อตั้ง ICAC คนฮ่องกงไม่เชื่อถือ   เยาะเย้ยกันว่า ย่อจาก I Can Accept Cash   และเจ้าหน้าที่ของ ICAC ในช่วงแรกมาจากตำรวจ และทำงานไม่เป็น   คือทำเป็นแค่ไล่จับมาสอบสวน

แต่ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 นั่นเอง ICAC ทำงานใหญ่    ดำเนินการสอบสวนข้าราชการที่ต้องสงสัยจำนวนมาก    คนผิดชัดเจนถูกลงโทษ ถูกปลด   คนที่ผิดบางคนถูกปลด แต่ไม่ลงโทษรุนแรง    มาตรการของ ICAC ทำให้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ยอมรับกันว่า สะอาดจากคอรัปชั่น ดีกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในโลก

ช่วงทศวรรษ 1990 พบการทำผิดโดยสมาชิกของ ICAC เอง   แต่แปลกที่บทความนี้บอกว่า ภาพลักษณ์ของ ICAC ไม่เสียหายมากนัก   เดาว่าคงจะเป็นเพราะผลงานดี

เมื่อฮ่องกงกลับมาอยู่กับจีน รัฐสภาจีน ออกกฎหมายตั้ง ICAC   ทำให้ ICAC ยิ่งมีฐานะมั่นคง    และในปี 2005 ICAC แจ้งจับคอรัปชั่นจากหลักฐานการสืบข้อมูลลับ    และศาลยอมรับหลักฐานนั้น และลงโทษผู้ผิด    และในปีต่อมาก็มีการออกกฎหมายกำหนดวิธีการให้ ICAC สืบข้อมูลลับได้

ในปี 2003 เจ้าหน้าที่สอบสวนของ ICAC ถูกสอบสวนและลงโทษจำคุก ๙ เดือน ฐานให้ข้อมูลเท็จ    เป็นการทำผิดครั้งเดียวของเจ้าหน้าที่ของ ICAC 

ย้ำอีกทีว่า ICAC ทำงาน ๓ ด้าน   คือสอบสวน  ป้องกัน  และการศึกษาแก่ชุมชน    แม้ว่าเจ้าหน้าที่ ๓ ใน ๔ อยู่ในแผนกสอบสวน    แต่ ICAC ก็ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและการศึกษาเท่าเทียมกับการสอบสวน    โดยได้พยายามเปลี่ยนความคิดของผู้คน ให้ไม่ยอมรับการติดสินบนหรือเงินตอบแทน   และหากประชาชนเดือดร้อนจากการไม่ยอมรับการติดสินบน ICAC จะเข้าไปสอบสวน

ที่น่าทึ่งคือ มีการสร้างหนังเรื่อง I Corrupt All Cops เพื่อเผยแพร่ผลงานของ ICAP ด้วย   โดยตัวอักษรย่อของชื่อหนังคือ I. C. A. C.

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ต.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:03 น.
 


หน้า 381 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610973

facebook

Twitter


บทความเก่า