Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

KM วันละคำ : ๖๒๕. วิธีนำ Tacit Knowledge มาใช้งาน

พิมพ์ PDF

ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว    ที่คุณหมอสมศักดิ์ชวนทีมเขียนหนังสือ Tacit Knowledge ที่ร่วมกันเขียนร่างแรกเสร็จ มาร่วมประชุม เพื่อปรับปรุงต้นฉบับหนังสือ    ซึ่งจะนำเสนอวิธีการนำ TK มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนานโยบายและระบบสุขภาพ

ผมตีความง่ายๆว่า TK อยู่ในกลุ่มคนทำงานที่ประสบความสำเร็จ ที่เรียกว่า Success Story    ดังนั้นหากต้องการบรรลุผลงานเรื่องใด    ให้นำกลุ่มคนที่มี micro success ในเรื่องนั้น     มาตั้งวง ลปรร. กัน ที่เรียกว่า SSS – Success Story Sharing

เมื่อ ลปรร. เรื่องราวของความสำเร็จ    แล้วนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อมุ่งสร้าง ความสำเร็จตามเป้าหมาย    แล้วเอาผลงานวนกลับมา ลปรร. กันอีก เป็นวงจรเรื่อยไป    ก็เท่ากับเป็นการใช้พลังของ TK

นพ. ยงยุทธ พงษ์สุภาพ ซึ่งทำงานอยู่ที่ สปสช. เขียนเล่าเรื่องการจัดการเรียนรู้ ที่ท่านเรียกว่า CBL – Context-Based Learning เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับปฐมภูมิของระบบบริการสุขภาพ (รพสต.) เรียนรู้เพื่อพัฒนา สมรรถนะในการทำงานในบริบทของหน่วยงานของตน    เน้นที่การเรียนรู้คุณค่า และสร้างความมั่นใจ ในการทำหน้าที่    ซึ่งผมอยากเรียกว่า Values-Based Learning    และผมเชื่อว่า เป็นการเรียนรู้บนฐานของ TK เป็นหลัก หรือเน้น TK มากกว่า EK (Explicit Knowledge)

เจ้าหน้าที่ของ รพสต. นี้ ยังหมุนเวียนไปทำงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ให้บริการวิชาชีพเดียวกัน หรือต่างวิชาชีพ ในโรงพยาบาลอำเภอด้วย    ผมมีความเชื่อมานานแล้วว่า เมื่อไรก็ตามมีการหมุนเกลียวความรู้ ผ่านพรมแดน (border)     ไม่ว่าพรมแดนแบบใด TK จะถูกแบ่งปัน และยกระดับ    CBL จึงเป็นกุศโลบายนำ TK มาใช้งานอย่างแยบยล

เรื่องการใช้งาน TK นี้ มีความท้าทายมาก    ว่าจะได้รับการยอมรับแค่ไหน    เพราะโลกความรู้ของเรา พัฒนาขึ้นบนฐานของ EK ที่เน้น evidence-based    จึงมักเกิดคำถามว่า EK ที่เราพูดถึง มีความแม่นยำน่าเชื่อถือ แค่ไหน    ซึ่งก็คือประเด็นการตรวจสอบความถูกต้องน่าเชื่อถือ (validation) ของ TK

ร่างต้นฉบับเขียนถึง TK validation ว่ามี ๔ แบบ    ซึ่ง ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด บอกว่า ตามปกติเราไม่ validate แต่เรา acknowledge และ appreciate   แต่ผมมีความเห็นว่า เราทำ micro-validation หรือ embedded validation ผ่านการตรวจสอบผลของการใช้ความรู้นั้น    โดยอาจใช้เวลาในเสี้ยววินาที เราก็รู้แล้วว่า เราต้องปรับ การใช้ TK นั้นอย่างไร     คือเป็นการปรับให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ของงานในขณะนั้น

ในการประชุมนี้ ผมได้แนวคิดว่า โลกเราถูกครอบงำโดยจารีตของ EK    เมื่อนำ TK มาใช้ หากเราหลงใช้ กระบวนทัศน์ จารีต และแนวทางของ EK ก็จะผิดฝาผิดตัว     ไม่เกิดผลดี

ในการนำ TK มาใช้ประโยชน์ เราจึงต้องสร้างจารีตของ TK ขึ้นมาคู่ขนาน และ synergy กับจารีตของ EK

วิธีนำ TK มาใช้งานให้เกิดพลัง    ต้องรู้จักใช้ EK เข้ามาหนุน    และต้องระวังอย่าให้จารีต EK เข้ามาปิดกั้น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 13:42 น.
 

ผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ : ๒. นักเรียนนักติว

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้รวม ๖ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Who Owns the Learning? : Preparing Students for Success in the Digital Ageโดย Alan November ซึ่งผมตีความว่า เป็นเรื่องการใช้ digital technology ช่วยให้เกิด active learning หลากหลายรูปแบบ    ทำให้เปลี่ยนแปลงบทบาทของนักเรียน เป็นผู้ทำงานสร้างสรรค์ หรือสร้างความรู้เพื่อการเรียนรู้ของตน   ครูเปลี่ยนไปทำหน้าที่ โค้ช หรือ “คุณอำนวย” (learning facilitator)

บ่อยครั้งที่นักเรียนเรียนรู้ได้ดีกว่า หากเรียนจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง    และหลักการเรียนรู้ตาม Learning Pyramid คือ คนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการสอนคนอื่น

หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑   และการเรียนรู้แบบ active learning   ก็คือ นักเรียนต้องมีบทบาท สำคัญ ในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง และของเพื่อนๆ    รวมทั้งเผื่อแผ่ออกไปนอกชั้น นอกโรงเรียน และนอกประเทศ ด้วย

หนังสือเล่าเรื่องของเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป. ๖ ที่ทำงานผลิตวีดิทัศน์ติวเพื่อนเรื่องวิธีแยกแฟกเตอร์ด้วย  ตัวเลขจำนวนเฉพาะ (prime number)     อย่างเอาจริงเอาจังและรับผิดชอบ เพื่อสอนเพื่อน และเผื่อแผ่แก่เพื่อนนักเรียนทั่วโลก ทาง อินเทอร์เน็ต    และเพื่อให้ตนเอง เรียนอย่างรู้จริง

นี่คือสภาพของการเรียนแบบผู้สร้างความรู้ หรือผู้ลงมือทำ    ในสภาพที่เป็น “การเรียนอย่างแท้จริง” (authentic learning)    ไม่ใช่เรียน/ทำหลอกๆ หรือสมมติสถานการณ์

เมื่อเอา วีดิทัศน์ ติววิธีแยกแฟกเตอร์ ไปห้อยไว้ใน อินเทอร์เน็ต   นักเรียนเจ้าของผลงานก็จะได้มีโอกาส มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียนทั่วโลก   ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สนใจอื่นๆ    ถึงตรงนี้ผมขอหมายเหตุว่า ครูต้อง ชวนนักเรียนเตรียมความพร้อมในการออกสู่โลกกว้างทาง อินเทอร์เน็ต   ให้รู้เท่าทันคนที่จิตวิปริต หาทางหลอกเด็ก

หลักการคือ ครูทำหน้าที่ดูแลว่า เนื้อหาใน “บทติว” ที่นักเรียนสร้างขึ้นนั้น ถูกต้องแม่นยำ     โดยครูทำหน้าที่ให้คำแนะนำป้อนกลับ (feedback) ต่อการทำงานของนักเรียน    โดยมีหลักการว่า ครูอย่าให้คะแนน แก่งานสร้างสรรค์    แต่ให้นักเรียนเข้าใจคุณค่าของงานของตนเอง โดยสังเกตจากการมีผู้เข้ามาเยี่ยมชม (ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต)    และจากความเห็นของผู้มาเยี่ยมชม

ถึงตรงนี้ผมขอหมายเหตุว่า ครูต้องบอกศิษย์ว่า เขาต้องฝึกความซื่อสัตย์ ไม่ไปบอกเพื่อนๆ หรือพ่อแม่ให้เข้ามาเยี่ยมชมหลายๆ ครั้ง ด้วยเป้าหมายเพื่อนับคะแนนจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม แข่งขันกัน    แต่ ชวนเข้ามาเยี่ยมชม เพื่อขอคำแนะนำติชมได้    ครูต้องระมัดระวัง ไม่สร้างนิสัยขี้โกงให้แก่ศิษย์ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

นี่คือรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง    นักเรียนไม่ใช่ผู้คอยรับถ่ายทอดความรู้จากครู    แต่เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ ทดสอบการใช้ความรู้นั้นจนมั่นใจว่ารู้จริง    โดยมีครูคอยช่วยเป็น โค้ช    แล้วนักเรียนจึงทำบทเรียน (บทติว) ออกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้    ผ่านการสร้างสรรค์บทเรียน ออกเผื่อแผ่แก่เพื่อน และแก่โลก    ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต   โดยนักเรียนจะได้ฝึกการใช้เทคโนโลยีสำหรับสร้างบทติวเช่น Camtasia, Jingและอื่นๆ ทำให้การเรียนคือการทำงาน   จึงเป็นการเรียนที่แท้จริง (genuine learning)    โดยนักเรียนเป็น “นักสร้างสรรค์”     และครูทำหน้าที่ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาผลงานของนักรียนแก่โลก (global publisher)

บทติวเพื่อนของนักเรียนแต่ละทีมมีสไตล์แตกต่างกัน   โดยมีรายการตำราเรียน และแหล่งความรู้ ออนไลน์ ที่ใช้   แล้วใช้บันทึกเหล่านี้จัดทำบทติวเพื่อน ซึ่งมักเป็นวีดิทัศน์ความยาวประมาณ ๓ นาที   เริ่มด้วยการแนะนำตนเอง  วัตถุประสงค์ของบทติว   หลังสาระของบทติว จบด้วยคำกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น   นักเรียนทีมงานจะใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้บทติวมีความถูกต้องแม่นยำ   เพราะว่าเขาจะต้องรับผิดชอบสาระ เพื่อการเผื่อแผ่แก่เพื่อน และแก่โลก

วีดิทัศน์ติววิชาแก่ศิษย์เกิดขึ้นครั้งแรกโดยครู Eric Marcos ใช้ แทบเล็ตและโปรแกรม Camtasia ทำวีดิทัศน์อธิบายโจทย์และวิธีตอบวิชาคณิตศาสตร์ที่ศิษย์ อีเมล์ถามตอนกลางคืน   เมื่อครูอีริกเห็นว่าบทติวที่เอาไปแขวนไว้ให้นักเรียนเข้าไปศึกษาท าง อินเทอร์เน็ต เป็นที่ชื่นชอบของนักเรียน   ครูอีริกก็ทำเพิ่มและนักเรียนได้รับประโยชน์มาก   จนวันหนึ่งนักเรียนคนหนึ่งมาถามครูว่าตนจะขอทำวีดิทัศน์บทติวนั้นบ้างได้ไหม   จึงเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการทำบทเรียนวีดิทัศน์ติวเพื่อน   บทติวเหล่านี้อยู่ใน เว็บไซต์ MathTrain.TV ซึ่งเราเข้าไปดูได้    ตัวอย่างของวีดิทัศน์ติววิชาที่มีชื่อเสียงทั่วโลกคือ Khan Academy

นักเรียนสามารถใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด   ทั้งในด้านวิธีการนำเสนอ  วิธีตั้งโจทย์และตอบโจทย์  การเลือกใช้เครื่องมือ ไอซีที เพื่อสื่อสารบทติวเพื่อนของตน   เช่นนักเรียนทีมหนึ่งเน้นแลกเปลี่ยนผ่าน สมาร์ทโฟน และเครื่องเล่น MP 3   อีกทีมหนึ่งเน้นแลกเปลี่ยนผ่าน iPod เป็นต้น  ผมลองค้นใน App Store ของ Apple พบว่ามี App Video Maker มากมาย  และมีหลายแบบ เช่นแบบ การ์ตูน, App ScreenChomp เป็นต้น   ครูน่าจะชักชวนนักเรียนช่วยกันเลือกสักแบบ สำหรับใช้ในชั้นเรียน   หรือจะยิ่งดี หากมีบริการระดับชาติ ให้ครูและนักเรียนนำไปใช้ฟรี    ซึ่งหมายความว่ามีเว็บไซต์ระดับชาติ ให้ชั้นเรียนที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบ "ฟาร์มเรียนรู้ในยุคดิจิตัล" เข้าไปใช้ ซอฟท์แวร์ สำหรับทำวีดิทัศน์ และนำเสนอบทติวของตน   โดยผู้บริหารเว็บไซต์ อาจเข้าไปอ่าน และยกย่องให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ แก่ผลงานเด่น    โดยอาจจัดเป็นผลงานเด่นด้าน ...  ผลงานเด่นประจำสัปดาห์/เดือน/ปี

ผมได้ทดลอง ดาวน์โหลด screencast program ชื่อ Jing มาอ่านคำแนะนำวิธีใช้ แล้วลองนำเสนอวีดิทัศน์เรื่อง การเรียนรู้แบบรู้จริง ที่นี่ เรื่องการทำความรู้จักและใช้ ไอซีที นี้    ผมขอแนะนำครู ว่าวิธีดีที่สุดคือถามจากศิษย์  ขอร้องให้ศิษย์ช่วยสอนให้

ระบบ ไอซีที เพื่อการศึกษาระดับชาติ อาจใช้ระบบ School Wiki สำหรับเป็นฐานข้อมูลการเรียนรู้ของนักเรียน   โดยให้ตัวนักเรียนเอง (โดยการ โค้ช ของครู) เข้าไปลงบทติวเพื่อน ได้ด้วย

ครูจะไม่ทำตัวเป็น "ผู้ตรวจข้อสอบ" ให้เกรดหรือคะแนนแก่ผลงาน   เพราะจะเปลี่ยนเป้าหมายของงาน เป็นทำเพื่อคะแนนทันที กลายเป็นการเรียนปลอมๆ หลอกๆ   ไม่เป็นการเรียนแบบจริงแท้ (genuine learning)   ครูต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า การใช้หลักการ "ทำฟาร์มเรียนรู้ในยุคดิจิตัล" เพื่อการเรียนรู้จากการลงมือทำงานของนักเรียนนั้น   นักเรียนต้องเป็นเจ้าของความคิด วิธีการ การลงมือทำ ผลงาน และการประเมินคุณภาพของผลงาน

สิ่งที่ครูทำ และต้องทำเพื่อเพิ่มคุณค่าของครู คือคอยจับตาตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนรู้ของศิษย์   โดยตรวจสอบเป็นรายคน และประเมินการเรียนรู้ทุกด้าน (ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑) อย่างบูรณาการ   ซึ่งผมคิดว่า เป็นการประเมินที่มีคุณค่าสูงสุดต่อศิษย์   และครูต้องฝึกฝนเรียนรู้ความแม่นยำในการประเมินนี้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

หน้าที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งของครู คือคอยหมั่นสร้างแรงบันดาลใจ และตระหนักในคุณค่าของการทำงานใน "ฟาร์มเรียนรู้" ว่าจะมีคุณค่าต่อชีวิตในอนาคตของศิษย์อย่างไรบ้าง   รวมทั้งการย้ำความระมัดระวังด้านความซื่อสัตย์คุณธรรมจริยธรรม   เช่นเมื่อคัดลอกผลงานมาจากแหล่งใดต้องเคารพให้เกียรติเจ้าของผลงาน โดยการอ้างอิง   หากผลงานนั้นมีสิทธิบัตร ก็ขออนุญาตก่อนนำมาใช้ เป็นต้น

ครูต้องคอยเตือนสตินักเรียนว่า ใน "ฟาร์มเรียนรู้" นี้ การเรียนรู้เพื่ออนาคตของนักเรียนไม่ได้อยู่แค่ผลงานบทติวเพื่อนเท่านั้น   ยังอยู่ที่การฝึกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในทีมงาน กับเพื่อนคนอื่นๆ ในชั้นเรียน ในโรงเรียน และในโลก   เช่นต้องรู้จักฟังเพื่อน  รู้จักชื่นชมผลงานของเพื่อน  รู้จักแลกเปลี่ยนแบ่งปัน   รู้จักยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อที่แตกต่างจากความเชื่อของเรา    โดยไม่ตัดสินถูกผิด   รู้จักตรวจสอบตนเอง ว่าชอบหรือถนัดด้านไหน   รู้จักตรวจสอบปรับปรุงวิธีเรียนรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลา  เป็นต้น

การที่นักเรียนได้ทำหน้าที่ ติวเต้อร์ ให้แก่เพื่อนๆ    และเผื่อแผ่แก่ทั้งโลก จุทำให้นักเรียนภูมิใจมาก    สร้างความมั่นใจ  ความมีอิสระ (autonomy)  มีทักษะในการเรียนแบบรู้จริง (mastery)  และมีชีวิตที่มีเป้าหมายสูงส่ง (sense of purpose)

 

วิจารณ์ พานิช

๓๑ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 13:50 น.
 

ลือกตั้งอาจไม่ได้นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยเสมอไป

พิมพ์ PDF
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ 
ชี้เลือกตั้งอาจไม่ได้นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยเสมอไป

สหรัฐฯ ชี้การเลือกตั้งอาจไม่ใช่เครื่องมือที่นำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสมอไป หากผู้นำประเทศนั้น ๆ ขาดความโปร่งใส จนไม่สามารถมอบความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แก่ประชาชนได้

สำนักข่าวเอเอฟพี มีรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ระบุ จอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ แถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 กุมภาพันธ์) ถึงประเด็นสถานการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศบนโลก ที่เป็นผลมาจากแนวคิดแตกต่างทางการเมือง พร้อมเตือนว่า การเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเสมอไปในหลายประเทศ

โดย จอห์น แคร์รี ได้กล่าวถึงกรณีเหตุประท้วงนานหลายเดือนที่นำไปสู่การก้าวลงจากตำแหน่งของอดีตประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ของยูเครน ในฐานะตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ "พลังประชาชน" ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่ได้ออกมารวมตัวกันประท้วงเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยอย่างชอบธรรม โดยมีการเคลื่อนไหวที่ยิ่งใหญ่และขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่องค์กรการเมืองจะตั้งรับได้ทัน

การโค่นอำนาจประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ที่เกิดขึ้นจากการรวมพลังของประชาชน และการรวมตัวของประชาชนชาวอียิปต์เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ผู้นำคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ลงจากอำนาจเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าต้องมาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

จอห์น แคร์รี กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศคือกรณีศึกษาที่น่าสนใจว่า แม้รัฐบาลจะมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมาย แต่ประเทศนั้นกลับขาดซึ่งแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นระบบและโปร่งใส ที่จะสามารถมอบความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงให้กับประชาชน ผลที่ตามมาจึงเป็นการทุจริตอย่างแหลกลาญ และระบบอุปถัมภ์พวกพ้อง ที่ล้วนเป็นเครื่องทำลายเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น

"ประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว คุณอาจมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อาจไม่มีการปฏิรูปอย่างเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์" 

ทั้งนี้ จอห์น แคร์รี ยังปิดท้ายด้วยการย้อนกลับไปกล่าวถึงยูเครนในยุคยานูโควิช ว่าเต็มไปด้วยการบริหารบ้านเมืองอย่างฉ้อฉล ไม่คำนึงถึงศีลธรรมและประชาชนที่เป็นผู้มอบอำนาจให้ ไม่รับฟังเสียงของฝ่ายค้านและส่งพวกเขาเข้าคุกแทน ซึ่งนั่นไม่ใช่การปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

คัดลอกจาก facebook พิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 07:23 น.
 

เลขาธิการสหประชาประชาชาติ

พิมพ์ PDF
เลขาธิการสหประชาประชาชาติ
หักหน้า รัฐบาลไทย
สร้างความรุนแรงขึ้นมาเอง..ต้องแก้ไขเอง..

เลขา UN บัน คี มูน ปฏิเสธคำเชิญของ รมต.ต่างประเทศของไทย ที่ไม่รู้เอาหลักการหรือแนวคิดมาจากไหน ที่จะไปเชิญเขามาแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้.โดย นายปัน คี มูน กล่าวแถมท้ายว่า ปัญหาความรุนแรงและความแตกแยกที่เกิดขึ้น รัฐบาลไทยต้องแก้ไขเอง เพราะเป็นผู้สร้างมันขึ้นมาเอง จึงไม่ควรที่จะดึงองค์กรใดๆจากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง ทั้งนี้เพราะปัญหาทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้ก่อต้องรับผิดชอบและแก้ไขให้ได้!!

ประวัติ :

ชื่อ-นามสกุล : บัน คี มูน

วันเดือนปีเกิด : วันที่ 13 มิถุนายน 2487 

ถิ่นกำเนิด : หมู่บ้านอุมซอง ทางเหนือของเมืองจุงเจียง ประเทศเกาหลีใต้

ชื่อคู่สมรส : ยู ซูน แต๊ก นามสกุลเดิมของคู่สมรส 

จำนวนบุตร-ธิดา : 3 คน บุตร 1 คน ธิดา 2 คน

ประวัติครอบครัว 

นายบัน คี มูน เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหาล้มละลาย เป็นพี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน มีน้องชาย 4 คนและน้องสาว 2 คน

การศึกษา 
- ปี 2528 จบปริญญาโททางด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี 2513 จบปริญญาตรีทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
- การศึกษา นักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการของสภากาชาด ซึ่งเขาชนะเลิศจากการแข่งขันภาษาอังกฤษ และได้ไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งปัจจุบัน 
- 2 มกราคม 2550 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คนที่ 8

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ 
- ผู้อำนวยการคณะรัฐมนตรีต่างประเทศของยูเอ็น
- หัวหน้าคณะผู้แทนเกาหลีใต้ประจำยูเอ็น
- ประธานการประชุมสมัชชายูเอ็นครั้งที่ 56 
- มกราคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้
- รัฐมนตรีการค้าของเกาหลีใต้
- 19 ตุลาคม 2549 ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้
- 14 ธันวาคม 2549 เข้าพิธีสาบานรับตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คนที่ 8
- 2 มกราคม 2550 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คนที่ 8 (ต่อจากนายโคฟี อันนัน นับเป็นชาวเอเชียคนที่ 2 ที่เข้ารับตำแหน่งนี้ และเป็นหนึ่งในศิษย์เก่าที่น่าภาคภูมิใจคนหนึ่งของวิทยาลัยเคเนดีของฮาร์วาร์ด (Hardvard's Kennedy School)

ทำงานอื่นๆ : รองประธานคณะกรรมการควบคุมดูแลความร่วมมือด้านนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้

คัดลอกจาก facebook พิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 07:27 น.
 

เรียนเพื่อคะแนน หรือเรียนเพื่อตัวเอง

พิมพ์ PDF
ค่านิยมเรียนเพื่อสอบ สอนเพื่อสอบ เป็นมารร้ายตัวใหญ่ที่สุดของการศึกษาไทย ที่เราต้องช่วยกันกำจัดให้ได้

 

จากข้อคิดเห็นของ อ. ภาทิพ ใน บันทึกนี้ ทำให้ผมได้เข้าใจว่า    การศึกษาไทยในปัจจุบัน ได้สร้างค่านิยมผิดๆ ให้แก่นักเรียน อย่างน่าตกใจ    ค่านิยมผิดๆ นี้ จะเป็นตัวทำลายเด็ก

ค่านิยมเรียนเพื่อสอบ สอนเพื่อสอบ เป็นมารร้ายตัวใหญ่ที่สุดของการศึกษาไทย    ที่เราต้องช่วยกันกำจัดให้ได้

สิ่งที่ครู/อาจารย์ ต้องทำคือ   หมั่นพูดคุยกับศิษย์ ว่าเรียนไปทำไม    การเรียนจะมีคุณประโยชน์อะไร แก่ชีวิตของศิษย์ในภายหน้า    หากไม่เรียน ศิษย์จะพลาดโอกาสอะไรในชีวิต

ให้ศิษย์ได้เข้าใจว่า สิ่งที่สำคัญ หรือเป็นเนื้อแท้ของการเรียน คือการเรียนรู้ที่แท้จริง    ไม่ใช่คะแนน   ตัวคะแนนเป็นเพียงเครื่องสะท้อน บอกว่าตัวเด็กได้เรียนรู้อะไรไปแค่ไหนแล้ว

ต้องให้ศิษย์เกิดความเชื่อว่า การเรียนนั้น เป้าหมายเพื่ออนาคตของตนเอง    ไม่ใช่เรียนเพื่อคะแนน

ครูต้องมีทักษะในการชวนศิษย์ “ทบทวนไตร่ตรอง” (reflection/AAR) ว่าตนได้เข้าใจบทเรียน ที่ผ่านไปแล้วอย่างไรบ้าง    ส่วนไหนที่มีเป้าหมายต้องการเรียนรู้ แล้วได้เรียนรู้มากกว่าที่คิด    เพราะอะไร   ส่วนไหนที่ยังรู้น้อย เพราะอะไร    จะปรับปรุงวิธีการเรียนของตนอย่างไรบ้าง    และคิดว่า จะเอาความรู้ที่ได้ ไปทำอะไรในช่วงเป็นนักเรียน    และเอาไปทำอะไรตอนทำงานเป็นผู้ใหญ่แล้ว     กระบวนการแบบนี้ มีอยู่ในหนังสือ ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ ที่ครูเรฟ คอยหมั่นปลุกใจลูกศิษย์ตัวน้อยๆ ชั้น ป. ๕   จนเกิดความมั่นใจตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจต่อการเรียนเพื่ออนาคตของตนเอง

 

 

วิจารณ์ ​พานิช

๓ ก.พ. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 13:36 น.
 


หน้า 385 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611019

facebook

Twitter


บทความเก่า