Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๕๗. สาธารณรัฐ กูเกิ้ล

พิมพ์ PDF

นสพ. The Times ฉบับวันที่ ๗ พ.ย. ๕๖   ลงข่าวหน้า ๑๐ เรื่อง Tech elite outline plans to quit US for Google Republic บอกว่า มีนักไอทีสติเฟื่องชื่อ Balaji S. Srinivasan  เสนอให้ Silicon Valley แยกตัวออกมาจากสหรัฐอเมริกา ออกมาเป็นรัฐอิสระ

อ่านมาถึงตรงนี้   ผมปิ๊งแว้บว่า หากมีคนไทยสติเฟื่องเสนอคล้ายๆ กัน จะโดนจับข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดนไหม

คุณศรีนิวสัน ไม่ใช่คนจิ๊บจ๊อยนะครับ   ท่านเป็นอาจารย์ด้านไบโอเทคที่มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด   และเป็นผู้ประกอบการด้านไบโอเทคที่ประสบความสำเร็จสูงมาก    เรียกได้ว่าเป็นคนที่มีหัวสร้างสรรค์เหลือเฟือ

เขาบอกว่า เวลานี้ สรอเป็น ประเทศไมโครซอฟท์”    และดำเนินการภายใต้ โค้ด โบราณ อายุ ๒๓๐ ปี (หมายถึงรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าล้าสมัย   ดังกรณีปิดรัฐบาล (government shutdown เนื่องจากการงัดข้อระหว่างสองพรรค เป็นเวลา ๒ สัปดาห์เมื่อเร็วๆ นี้   เป็นอาการของโรครัฐธรรมนูญโบราณ ดังนั้น เพื่อให้บริษัทเทคโนโลยีในอาณาบริเวณ Silicon Valley สามารถเจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง Silicon Valley ควรแยกตัวออกมาเป็นประเทศอิสระ

การทดลองตั้งประเทศ/รัฐ อิสระ   ปลอดจากกฎหมายที่ขัดขวางการทดลองเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ใช่ของใหม่   พวกหัวก้าวหน้ามีข้อเสนอแนะมากมาย   ทั้ง ไปตั้งรัฐอิสระบนดาวอังคาร ไปตั้งนอกอ่าวในทะเล  เป็นต้น

ผู้เขียนบทความนี้บอกว่า ที่จริงแล้ว กูเกิ้ล กำลังยึดครองโลก    ดังนั้นถ้าฉลาดจริง พวกนักเทคโนโลยีสติเฟื่องทั้งหลาย   ควรถ่อมตัวเข้าไว้    ไม่ช้าทั้งโลกก็จะเป็นสาธาณรัฐ กูเกิ้ล    ในรูปของ สาธารณรัฐเสมือน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ย. ๕๖

บนเครื่องบินไปริโอ เดอ จาไนโร

 

ถ่ายจาก นสพ. The Times, November 7, 2013

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:03 น.
 

ยามเฝ้าแผ่นดิน โดย ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

พิมพ์ PDF

ยามเฝ้าแผ่นดิน โดย ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

ประเทศไทยนั้นมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรค่อนข้างจะสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากลแล้ว แต่ที่เรามีวิกฤตการเมืองซ้ำซากนั้น เป็นเพราะเรามีปัญหาพิเศษ คือเรามีนักการเมืองที่เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า psychopathy คือเป็นคนบ้าเงิน-บ้าอำนาจ โลภมากสุดๆ ใช้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองนั้นอย่างขาดหิริโอตตัปปะ ละเมิดกติกา-กฎหมายที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของตัวและพรรคพวก และมีความชำนาญพิเศษในการซ่อนเร้นความจริงให้อยู่ภายใต้ภาพหลอนที่ดูสวยอย่างสนิทแนบเนียน จนคนทั่วไปจับผิดได้ยากประกอบกับสังคมไทย ยังมีคนยากจนมากที่ยังไร้เดียงสา ถูกหลอกถูกซื้อตัวได้ง่าย รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 และกฎหมายลูกได้จัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่ก็สู้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองไม่ได้

อนาคตของ กปปส : ยามเฝ้าแผ่นดิน

 

ข้าพเจ้าเคยแสดงความคิดเห็นไว้ในโอกาสต่างๆ หลายครั้งแล้วว่าประเทศไทยนั้นมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรค่อนข้างจะสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากลแล้ว แต่ที่เรามีวิกฤตการเมืองซ้ำซากนั้น เป็นเพราะเรามีปัญหาพิเศษ คือเรามีนักการเมืองที่เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า psychopathy คือเป็นคนบ้าเงิน-บ้าอำนาจ โลภมากสุดๆ ใช้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองนั้นอย่างขาดหิริโอตตัปปะ ละเมิดกติกา-กฎหมายที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของตัวและพรรคพวก และมีความชำนาญพิเศษในการซ่อนเร้นความจริงให้อยู่ภายใต้ภาพหลอนที่ดูสวยอย่างสนิทแนบเนียน จนคนทั่วไปจับผิดได้ยากประกอบกับสังคมไทย ยังมีคนยากจนมากที่ยังไร้เดียงสา ถูกหลอกถูกซื้อตัวได้ง่าย  รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 และกฎหมายลูกได้จัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่ก็สู้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองไม่ได้ ปัญหาสำคัญคือกลไกในการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ทำตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้  ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องใช้อำนาจอธิปไตยของตนเข้าไปควบคุมกลไกในการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง เป็นมาตรการสุดท้าย นั่นคือจัดตั้งเป็นองค์กรภาคเอกชน ทำหน้าที่เป็น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” แทนประชาชน ดังจะกล่าวต่อไปในบทความเรื่องนี้

  1. หลักการและเหตุผล

ประชาธิปไตยของไทยล้มลุกคลุกคลาน และเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ผ่านการปฏิวัติ-รัฐประหารมาหลายครั้ง ทุกครั้งก็จะต้องล้มล้างรัฐธรรมนูญ โทษว่ารัฐธรรมนูญบกพร่องต่างๆ นานา แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พูดถึงการปฏิรูปการเมืองซ้ำซาก แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานการเมืองก็เข้าสู่วงจรอุบาทว์ดังเดิม หรือเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

ปัญหาที่สำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราแก้ปัญหาไม่ถูกจุด “เกาไม่ถูกที่คัน” เราลองมาช่วยกันออกแบบโครงสร้างอำนาจของรัฐเสียใหม่ โดยให้ประชาชนเป็นยามเฝ้าระวังนักการเมือง-ข้าราชการ-ตำรวจ-ทหาร ที่กินเงินเดือนของประชาชน แต่ทุจริต ไม่ทำงานตามที่กฎหมายกำหนด

ถามว่า “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ที่ว่านี้มีต้นแบบที่ไหนในโลกหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่มี” เพราะในโลกนี้คนที่มีอำนาจเงิน-อำนาจการเมือง และเป็นโรคจิต psychopathy นั้นหาได้ยาก เราจึงต้องมีกลไกพิเศษภาคเอกชนมาใช้กับสถานการณ์ของไทยโดยเฉพาะ

  1. พันธกิจของยามเฝ้าแผ่นดิน

2.1   ตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ ดูว่าบุคคลหรือหน่วยงานทุกภาคส่วนของรัฐ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและบริษัททั้งหลายว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้องชอบธรรมหรือไม่

2.2   เมื่อพบว่ารัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่สัมพันธ์กับสิทธิและหน้าที่ของเอกชนนั้นมีจุดอ่อน-ช่องโหว่-ขาดความสมบูรณ์ ก็ควรเสนอให้องค์กรที่มีอำนาจแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ โดยจะต้องติดตามให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว

2.3   ตรวจสอบ-ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ให้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคล งานการเงิน และงานบริการชุมชน

2.4   เมื่อพบว่าผู้ใด (หรือองค์กรใด) ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการการเมือง ข้าราชการพลเรือน-ทหาร-ตำรวจ ทำผิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรือกฎระเบียบของทางราชการ ให้ถือเป็นภารกิจในการติดตามเอาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีให้ถึงที่สิ้นสุด

ยามเฝ้าแผ่นดินสามารถรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างไร? ยกตัวอย่างเมื่อครั้งทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีสังหารหมู่ชาวมุสลิมที่มัสยิดกรือเซะ การใช้กำลังสลายการชุมนุมของชาวมุสลิมที่ตากใบ บัดนี้เวลาผ่านไปเกือบสิบปีแล้วยังไม่มีใครหรือหน่วยงานใดเอาตัวผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบมาดำเนินคดีแต่อย่างใด

กรณีทำนองนี้ ถ้ามีกลไกยามเฝ้าแผ่นดินภาคประชาชนประจำจังหวัดหรืออำเภอที่เกิดเหตุ ให้ถือเป็นภาระที่จะต้องติดตามตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ให้ทำการดำเนินคดี ตรวจสอบสำนวนคดีว่าทำเรื่องฟ้องร้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ตามจี้ให้ทำงานโดยมิชักช้า เช่นเดียวกัน เมื่อเรื่องไปถึงศาล ถ้าพบว่าใคร “ปล่อยเกียร์ว่าง” หรือ “เตะถ่วง” ให้ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. กล่าวหาบุคคลหรือหน่วยงานว่าปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

ผลที่จะได้รับก็คือ คนทำผิดกฎหมายต้องรับโทษ ญาติมิตรของผู้ตายและบาดเจ็บใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะไม่หันไปสนับสนุนผู้ก่อการร้าย หรือผู้แบ่งแยกดินแดนดังที่เป็นอยู่ ประชาชน-ครู-ทหาร-ตำรวจ ผู้บริสุทธิ์ก็ไม่ต้องตายและบาดเจ็บจำนวนมากเช่นนั้น ทรัพย์สินที่เสียหายจากการระเบิดก็จะไม่เกิดขึ้นเป็นรายวันดังที่เป็นอยู่

  1. องค์กร การจัดตั้งและบุคลากร

3.1   ให้ กปปส. ในขณะนี้เริ่มเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เครือข่าย การตรวจสอบอำนาจรัฐภาคเอกชน โดยจะใช้ชื่ออะไรอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

3.2   บุคลากรขององค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐภาคเอกชนนี้ล้วนเป็นอาสาสมัครที่ไม่รับเงินเดือน

3.3   การจัดตั้งองค์กร สาขา และเครือข่ายทั่วประเทศให้ขานรับกับพันธกิจที่จะต้องทำตามข้อ 2 คือสามารถตอบสนองความต้องการของงานด้านการรับเรื่อง ร้องเรียน สืบสวนสอบสวน ร้องเรียนหรือฟ้องร้อง ฯลฯ เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ และบรรษัทธุรกิจเอกชนด้วย

3.4   เชิญชวนสื่อมวลชน สภาทนายความ กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ องค์กรพัฒนาชุมชน และองค์กรเอกชนที่ไม่เป็นฝักเป็นฝ่ายของพรรคการเมืองเข้าร่วมงาน หรือเป็นพันธมิตร ในฐานะต่างๆ ตามแต่จะตกลงกัน มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรนี้ให้โปร่งใส ปราศจากอคติ

  1. ปรัชญาในการทำงาน

4.1   ยึดถือคุณธรรม หลักกฎหมาย และสันติวิธี เป็นหลักการในการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4.2   ส่งเสริมความสามัคคี-ความปรองดองในการต่อสู้กับศัตรูของประชาชน

4.3   ไม่เป็นฝักเป็นฝ่ายทางการเมือง แกนนำองค์กรในระดับต่างๆ จะต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ผู้ร่วมงานในฐานะอื่นที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองจะต้องพิสูจน์ตัวให้เห็นว่าเป็นคนมีคุณธรรมที่มีความเที่ยงธรรมในการทำงานสาธารณะ

4.4   ปฏิบัติต่อพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความขัดแย้งกันโดยยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง

4.5   ส่งเสริมธรรมาภิบาล คนทำความดี ป้องกันคนชั่วที่จะเข้าไปทำงานทางการเมือง

4.6   ใช้ศิลปในการจูงใจฉันมิตรอย่างละมุนละม่อมก่อน จนไม่มีทางเลือกจึงใช้พลังกดดันทางสังคม และกล่าวหาฟ้องร้องเป็นคดีความ โดยมีลำดับจากเบาไปหาหนัก

4.7   พัฒนาองค์กรของตนให้ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล โดยผลิตเอกสารความรู้เกี่ยวกับงานแจก และมีการประชุมอบรมจริยธรรมให้สมาชิกพัฒนาตนเองเป็นครั้งคราว

  1. แผนงาน งานหลักและงานรอง

5.1   ให้แกนนำ (จะเรียกอะไรก็ตาม) กำหนดแผนงานประจำปี (รวมทั้งแผนงาน 2, 3, 4 ปีด้วย) โดยผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ขององค์กร

5.2   ในการทำงานนั้น ให้จัดลำดับความสำคัญ และความเร่งด่วนไว้ด้วย งานหลักที่สำคัญมากก็เช่น การตรวจสอบ ตามจี้เอาผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้แทนระดับต่างๆ ไม่ใช่ปล่อยให้คนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ จนกระทั่งเป็นรัฐมนตรีเป็นแรมปี หรือจนหมดสมัยจึงตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด

ตัวอย่างการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเราได้ ส.ส. ฝูงแกะเข้าไปนั่งในสภา พรรคเพื่อไทยและส.ส.ของพรรคทำผิดกฎหมายกันเกือบทั้งหมด แต่กลไกของรัฐ ตำรวจ ก.ก.ต. ไม่ทำอะไรเลย ถ้ามียามเฝ้าแผ่นดินภาคประชาชน พวกเขาน่าจะจัดการกับนักการเมืองและเจ้าพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ได้ดังนี้

ให้อาสาสมัครของยามเฝ้าแผ่นดินประจำเขตเลือกตั้งจับตาดูพรรคการเมือง และผู้สมัคร ส.ส. ที่มีคะแนนนิยมนำในอันดับที่อาจจะได้รับเลือกตั้งในแต่ละเขตว่าได้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่

(1)พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 53 ส่วนหนึ่งบัญญัติว่าห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดจัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณได้เป็นเงิน

เมื่อตรวจดูป้ายโฆษณาหาเสียง คำพูดบนเวทีของผู้สมัคร ใบปลิวหาเสียง สื่อมวลชนทุกประเภทจะได้ข้อสรุปว่า พรรคเพื่อไทยและผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคส่วนมากทำผิดกฎมายแน่นอน มีความผิดตามกฎหมายฉบับเดียวกัน มาตรา 137 ว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 10 ปี นอกจากนั้น ถ้า ก.ก.ต. และอัยการสูงสุด ดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมาตามมาตรา 94 (1), 94 (2) และ ม. 95 ศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยให้ยุบพรรคได้

(2) หาหลักฐานอื่น ๆ ที่กฎหมายระบุว่าเป็นความผิด เช่น พรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส. จะใช้เงินหาเสียงเลือกตั้งเกินที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 50 และตามประกาศของ ก.ก.ต. ไม่ได้ ปรากฏว่าผู้สมัคร ส.ส. ส่วนมากทำผิดกันทั้งนั้น

กรณีเหล่านี้ให้แมวมองเก็บหลักฐานทั้งหมดที่หาได้ ทำสำเนาเก็บไว้ให้เรียบร้อย เอาไปแจ้งให้ ก.ก.ต. ดำเนินคดี (ตาม ม. 95) ถ้า ก.ก.ต. ไม่รับแจ้ง หรือรับแจ้งแล้วไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย ก็ไปแจ้ง ป.ป.ช. กล่าวโทษ ก.ก.ต. ว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีฯ และถ้า ก.ก.ต. หรืออัยการสูงสุด “เตะถ่วง” หรือทำเรื่องล่าช้า ก็ให้แจ้ง ป.ป.ช. ดำเนินคดีในทำนองเดียวกัน

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ว่า”สภาประชาชน”ที่เสนอโดย กปปส.นั้นจะเกิดได้หรือไม่ก็ตาม และการเลือกตั้งส.ส.จะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการปฏิรูปก็ตาม ถ้ามวลชน” 9 ธันวามหาสามัคคี”ภายใต้การนำของแกนนำ กปปส. สามารถแปรสภาพเป็นองค์กรภาคเอกชนที่มีเครือข่ายเฝ้าระวังองค์กรภาครัฐได้ทั่วประเทศ จะสามารถทำงานใหญ่ที่การชุมนุมใหญ่และการปฏิวัติ-รัฐประหารครั้งก่อนๆ ไม่สามารถทำได้สำเร็จดังนี้

 

6.1 สามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของขบวนการต่อต้านระบอบทักษิณ” 9 ธันวามหาสามัคคี”ได้ ใครหรือพรรคการเมืองใดก็ตามที่จะมาเป็นรับบาลโดยคิดคดทรยศต่อชาติ ก็ต้องเผชิญกับพลังต่อต้านจากมวลชนจนต้องร้องไห้อีก

6.2 ถ้า กปปส. แปรสภาพเป็นองค์กรภาคเอกชน คนพันธุ์ทักษิณ- เสื้อแดง ก็จะต้องยอมรับโดยดุษณียภาพ เป็นการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ขจัดปัญหาความขัดแย้งยืดเยื้อจากการที่ฝ่ายหนึ่งได้อำนาจจัดตั้งรัฐบาล ฝ่ายตรงข้ามก็จะตั้งแง่ปลุกระดมพลต่อต้านอย่างยืดเยื้อ

6.3 ถ้าแกนนำ กปปส. เลิกทำงานการเมืองในระบบพรรค อุทิศตนมาทำงานสานเจตนารมณ์ “9 ธันวามหาสามัคคี”ต่อในฐานะยามเฝ้าแผ่นดิน พวกเขาจะมีคุณูปการมากกว่าการเป็นผู้นำพรรคการเมืองมาก จะทำงานเพื่อธำรงรักษาความถูกต้องเพื่อชาติโดยรวม ซึ่งสามารถทำได้อย่างเป็นอิสระเที่ยงธรรมได้ดีกว่าอยู่ในองค์กรภาครัฐหรือสังกัดพรรคการเมือง

6.4 สามารถทำงานสำคัญที่สุดในสังคมไทยเพราะปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไม่ทำงานตามอำนาจหน้าที่กันอย่างแพร่หลายเป็นงานหลักของการปฏิรูปการเมือง ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นงานรอง

6.5 จะสามารถช่วยกำจัดและป้องกันคนโกง เช่น คนในระบอบทักษิณให้เกิดขึ้นมาใหม่ สังคมจะย่างเข้าสู่ยุคแห่งการปรองดอง มีความสงบเรียบร้อย และปราศจากการทำรัฐประหาร

 

7. การเงินและงบประมาณ

ในเบื้องต้น องค์กรภาคเอกชน ยามเฝ้าแผ่นดินนี้ ดำเนินงานโดยอาสาสมัครทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่มีค่าตอบแทน รายจ่ายสำนักงานและการปฏิบัติงานภาคสนาม สนับสนุนโดยเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา

 

หมายเหตุ

ข้อความที่เสนอแนะไว้ในเอกสารนี้ เป็นเพียงตุ๊กตาสำหรับปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น

 

 

เขียน ธีระวิทย์

17 ธันวาคม 2556

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:54 น.
 

ความเคลื่อนไหวของคนไทยในต่างแดน แก้ความเข้าใจผิดของสื่อตะวันตก คุณปีเตอร์ ตั้งเพียรกิจ

พิมพ์ PDF
ข้อความยาวหน่อย แต่เขียนดี ชัดเจน น่าอ่านมาก

ความเคลื่อนไหวของคนไทยในต่างแดน แก้ความเข้าใจผิดของสื่อตะวันตก

คุณปีเตอร์ ตั้งเพียรกิจ

 

สวัสดีพี่น้อง

เมื่อคืนผมได้ส่ง จ.ม. ภาษา อ. ที่ผมใช้เวลาเขียนตั้งหลาย ช.ม. ไปให้ นาย Thomas Fuller ผู้สื่อข่าว NY Times เพื่อไปต่อว่าเขาให้เขารู้ว่า เขาเขียนบทความรายงานข่าวที่ไม่เป็นจริงและไม่ถูกต้อง พร้อมกับเรียกร้องให้เขาทำหน้าที่ให้ดึถูกหลักจรรยาบันสื่อ เสนอความจริงอย่างไม่เข้าข้างใคร จ.ม. นั้นค่อนข้างยาวและก็ดูได้จากข้างล่างสุดของ ภายใต้ เส้น -----  ของเมล์ฉบับนี้

และเพื่อให้มั่นใจว่าเขาได้รับ ผมเลยส่งไปให้ Editor ของเขา พร้อมกับแสดงความจำนงว่า อยากให้ Editor เขาส่งต่อไปยังผู้บริหารสูงสุด เพื่อให้เขาตระหนักถึงการทำหน้าที่ที่ใช้ไม่ได้ของ นาย Thomas Fuller จ.ม. ที่ผมเขียนให้กับ Editor ก็อยู่ข้างล่าง เส้น xxxxxx นี้  Editor ของ NY Times ก็ได้รับ จ.ม. ของผมแล้ว และตอบรับมาให้ผม โปรดดู ไฟล์ที่แนบมา

ผมขอเชิญชวนให้พี่น้อง ถ้ามีเวลาสักหน่อย ช่วยกันเขียนไปร้องเรียนให้ สำนักสื่อต่างชาติทราบ ถ้าผู้สื่อข่าวในสังกัดของเขาไม่ได้ทำหน้าอย่างตรงไปตรงมา ลงข่าวที่บิดเบือนความจริง เท่าที่ผมสังเกตุมา มีผู้สื่อขาวคนไทยช่วยเขียนข่าวหลอกลวงชาวโลกด้วย โปรดจำชื่อเขาและเขียนไปต่อว่าเขาด้วย

ป.

 

จดหมายถึงบรรณาธิการ New York Times

Date: Monday, December 16, 2013, 11:41 PM

Dear Sir or Madam,

I've written a letter to your SE Asian correspondence,

Thomas Fuller, to inform him that his report contained

distorted facts and was not in line with the practice of

good journalism.  I want to share the facts with him so

that he can file accurate and fair reports in the future for

the benefit of general readers worldwide as well as your

organization.  I sent my letter below to him at his email

address next to the articles he wrote.

 

Since am not so sure if he would receive my letter and be

able to read it in the entirety, I am emailing my letter

(below the dotted line) to you.  I would greatly appreciate

if you will forward it to him and to your editor as well as

the Executive in charge.  I just want to help you ensure

that your correspondence will adhere to the high ethical

standard in journalism and to do his/her job in a

professional and responsible manner.

 

A internationally renowned news media like you should not

condone any reporter who writes his/her article that

contains fault hood and/or twisted fact, is biased and with

hidden motive.  As you know, allowing inaccurate, unfair

and faulty reports to be published will have negative

impacts and not be beneficial to your organization.

 

Sincerely,

Peter Tang-piankij

 

To:    Thomas Fuller

The New York Times – SE Asian

correspondence

Dear Thomas,

For any Westerner like you who dared to try Durian and has

fallen in love with the king of the fruits, I have to say

that you’re not an ignorant person.  But after I read

your article “Economic Realignment Fuels Regional

Political Divisions in Thailand” published on 12/3/13 in

the New York Times (your employer), I couldn’t help but

join other well-informed readers of Thai nationality to form

the opinions that perhaps you are.  Any readers worldwide

would come to the same conclusion if they’ve read the

articles on the same subject separately written by Philip J

Cunningham and Tony Cartalucci.  Nonetheless, I will give

you the benefit of the doubt for now that you might have

been misled to hook up with the wrong crowd in Thailand in

your quest for sensational stories.  To help you return to

the practice of good journalism (accurate, fair and truthful

reporting), I’d like to point out the flaws in your article.

You only interviewed two individuals (Nidhi Eoseewong and

Charles Keyes) who are known to strongly support or

sympathize with the fugitive former ex-PM, Thaksin

Shinawatra, his puppet regimes (PMs Samak Sundaravej,

Somchai Wongsawat, Yingluck Shinawatra) and his red-shirt

followers.  You failed to provide the equal opportunity to

other qualified individuals who have opposing views.  Thus,

you’ve practically denied your readers or general public

the information they should have to balance out the

different perspectives and to make their own conclusion

which side of the stories is more sensible and credible.

For Nidhi Eoseewong and Charles Keys to tell you and your

readers that the cause of conflict or the mass protests came

from socioeconomic change or classes, from power struggles

or dialectic variation in the northeastern provinces, and

from the uncertainty on the royal succession in the future

are totally irrelevant, so ridiculous and nonsense!  These

two men totally missed it when they conveniently blamed the

conflict or unrest on the economic disparity or jealousy

between the elite (rich) in Bangkok and the poor or the

wealthier farmers in the rural provinces.  They did not

know that Thai government in 1980s had crafted the plans for

the Board of Investment (BOI) to provide incentives for

investors to set up factories in provinces for the purposes

of spreading economic growth and jobs outside Bangkok.

Despite the bountiful truth involved, their misstatements

and fact-distortion here and elsewhere can only be

interpreted as ill-will toward Thailand and Thai people.

 

As you know, on the truth and being truthful, President

Abraham Lincoln said “you can fool all the people some of

the time, and some of the people all the time, but you

cannot fool all the people all the time.”, while Buddha

said three things cannot be long hidden: the sun, the moon,

and the truth.

But for these two educators, the passage of time and the

expanded availability of factual information on the charges

of corruption and/or misconducts by Thaksin and his cronies

have not helped them reduce their ignorance.  The two men

like to act as spokesman for Thaksin and his cronies,

crediting Thaksin’s populist policies aimed to exploit the

poor and ill-informed Thai people, and defending the

misconducts or corruption charged against Thaksin and his

cronies. They like to sidestep the issues involved while

frequently conjecturing the words military coup, majority

votes, democratically elected, politically motivated,

undemocratic, etc.  The two men continue to bend the

attention and focus on the root causes that have fueled the

ongoing turmoil.  They even won’t hesitate to

irrelevantly link the conflicts to the Thai Royal

institution and our beloved king as well as the Lese Majesty

law; all favorite points attempting to fool foreigners and

quickly get the attention from Western media!  These two

men have been known to have distorted mind and twisted views

consistently making unconstructive statements on

controversial issues in favor of Thaksin Shinawatra, his

political parties and red-shirt supporters while against

anyone who opposes the convicted fugitive ex-PM.  This fact

was reaffirmed in your report here when they knowingly

misrepresented the cause of conflict as between the old

elite and new wealthy farmers, between people in Bangkok and

the north and northeast provinces.

In case you missed it, please be informed that the

wrongdoings committed or involved by Thaksin and his cronies

are not allegation but factual.  It’s fairly easy to find

the information from various sources; in print, audio and

video (YouTube).  The long list of his wrongdoings and

details can also be found at the http://www.antithaksin.com/SiteMap.php website.

With the factual information gathered, you will find that

Thaksin and his cronies are definitely the root cause of the

problems (not the socioeconomic change that Nidhi Eoseewong

distorted).  As long as Thaksin owns the largest political

party in Thailand and as long as he continues to meddle in

Thailand’s governmental affairs, he is definitely in the

center of conflicts.  However, in addition to uprooting the

Thaksinomics, we want to comprehensively reform our nation

to, once and for all, clean up the wrongdoing messes and

prevent unpleasant political crisis from recurring.

And if you have listened objectively to the unified voices

of anti-government protesters, you would easily know that

the massive peaceful protests are not the conflicts between

classes, not between Bangkok and outlying provinces, and not

between the yellow-shirts and the red-shirts.  You would

also learn that it was the last three series of misconducts

that compelled the silent majority to come out in millions

on the street to peacefully protest against the current

gov’t demanding Yingluck Shinawatra to step down from the

PM post.  The last straw that broke the camel's back

involves:

•    Their attempt to enact a blanket amnesty bill that

would whitewash all wrongdoings committed by everyone during

2004 through 2013.  This means that Thaksin, his cronies

(which many are in the current cabinet) and all convicted

criminals would be set free from their crimes and

misconducts.

•    Their hasty passage of resolution to approve a

project that would put Thai people and their descents in

debt for at least 50 years.

•    Their covert actions to amend the Constitution

promoting nepotism to allow family members to be elected

members of both lower and upper Houses.  They openly

denounced the Court's decision and announced that they would

not accept the verdict after the Constitution Court decided

and declared that the amended provision was illegal because

they knowingly voted for their absent colleagues, altered

the wordings and supporting documents in the version

subsequently submitted to the Court that significantly

different from the original version.  Their act and

declaration clearly are unconstitutional and disrespectful

to the judicial branch.

Due to the lack of an effective check-and-balance system or

any provision in the Constitution that allows the recall and

removal of the sitting Prime Minister found to be

incompetent, unethical, irresponsible, or unaccountable,

Thai protesters have no choice but to resort to mass

protests. Since a military coup d’état is no longer

acceptable or can be counted upon, Thai demonstrators

believe it's their own duty to protect the Constitution,

their rights, and the interests of the people.

The majority of Thai people (who were silent in the past) no

longer can tolerate or accept the authoritarian or fascist

system Thaksin’s regimes used in disguise of democracy to

rule the country.  We want leaders and politicians who are

ethical, responsible and accountable – not the crooks,

convicts and terrorists in the current government and former

cabinets under Thaksin’s control.  Based on VDO and audio

clips, it’s the fact that Thaksin has been the one who,

from his residence overseas, remotely sets policies for his

puppet governments to follow, and calls the shots when

things failed to go his way.  This fact was even confirmed

by the article you reported and published in your NY Times

on 1/29/13.  We also want the real democratic system that

will lead Thai people to greater freedoms and rights, real

equal opportunities and better standard of living for all.

Thai people want to have more says, power and participation

as the check/balance mechanism.  We’re very eager to quickly

embark on the comprehensive reforms which include systems of

election, voting, political party, and campaign financing to

get rid of vote selling and party buying.  This means

temporarily putting the elections aside until the reforms

are done so that there won’t be any repeated political

crisis, prolonged conflict and senseless impasse with

uncontrolled corruption and unaccountable leaders and/or

representatives.

By badly misdiagnosing the real cause of the conflict and

the purposes of the massive protests in your article,

you’ve tarnished your reputation and lowered your

journalism ethics.  Whoever and whatever influenced you to

take the low road and join the conspiracy group against

Thailand and the majority of good Thai people, I’d suggest

that you reconsider your relationship with him or her; the

unconstructive collaboration should be terminated.  As a

goodwiil gesture from a human being to another fellow man, I

sincerely urge you to choose the high road in your journey

to attain greater professional achievements.  You should

follow the path of high ethical journalism standard that

Water Cronkite, Bill Moyer, Ted Koppel, Dan Rather, Peter

Jennings, Tom Brokaw, Jim Lehrer and Robert MacNeil have

traveled and helped them earn immense respect and trust from

people all over the world.

I also strongly hope you would reexamine your stand and do

the right things by timely and appropriately taking the

corrective actions to put yourself on the same path that

those great journalists and correspondence have traveled,

and be on the same side with the majority of Thai people and

fair-minded foreign readers all over the world.

Sincerely,

Peter Tang-piankij

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:56 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๕๗. เถียง Malcolm Gladwell

พิมพ์ PDF

หนังสือเล่มใหม่ของ Malcolm Gladwell ชื่อ David and Goliath: Underdogs, Misfits and the Art of Battling Giantsh ผมถือไปอ่านต่อบนเครื่องบิน ระหว่างเดินทางไปบราซิล    อ่านแล้วเกิดปิ๊งแว้บ ว่าเรื่องที่เขานำมาเล่าอย่างน่าอ่านน่าติดตามนั้น    เราไม่จำเป็นต้องสรุปอย่างที่เขาพยายามสรุปให้เราฟัง/เข้าใจ

กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า Gladwell ผิดนะครับ    ข้อสรุปของเขาถูกต้อง และประเทืองปัญญาอย่างยิ่ง    ประเด็นเรียนรู้ตามในหนังสือเล่มนี้ ถ้า Gladwell ไม่เอามาชี้ให้เห็น ผมจะไม่มีวันเข้าใจ

แต่ ในความเป็นจริง หนึ่งเรื่อง สรุปได้หลายบทเรียน”    ผมจึงลองสรุปข้อเรียนรู้จากเรื่องในหนังสือเล่มเดียวกันนี้แหละ    แต่สรุปด้วยทฤษฎีหรือหลักการอื่น

ข้อสรุปนี้ไม่รับรองว่า เป็นของผมล้วนๆ  หรือด้วยอิทธิพลของไวน์ที่อร่อยยิ่ง ของสายการบิน เอมิเรตส์ ชื่อ Chateau Phelan Segur 2004 St Estephe

ประเด็นหลักของหนังสือเล่มนี้ของ มัลคอล์ม แกลดเวลล์ คือ    ยุทธศาสตร์การเอาชนะการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่า     ต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะกับข้อได้เปรียบของตนเอง    ไม่ใช่หลงใช้ยุทธศาสตร์ที่ยึดถือกันโดยทั่วไป ที่ก่อความได้เปรียบแก่ผู้แข็งแรง    ลูกเล่นและวิธีหาข้อมูลเรื่องราวมาเล่า และนำสู่ข้อสรุป ให้ทั้งความบันเทิงในการอ่าน และได้ปัญญา … เหมือนเดิม

แต่ … ผมหาข้อสรุปใหม่ ข้อเรียนรู้ใหม่ (ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใหม่ เพราะใช้ทฤษฎีที่เล่าต่อๆ กันมาเป็นพันปีต่อเรื่องที่ แกลดเวลล์เล่า    ว่า ไม่ว่าผู้แข็งแรงกว่า หรือผู้อ่อนแอกว่า  ยุทธศาสตร์เพื่อการเอาชนะคือ รู้เขา - รู้เรา” (รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง) ของ ซุนวู

อ่านเรื่องราวที่เดวิด ตัดหัวโกไลแอท แล้ว    ผมเห็นด้วยว่า โกไลแอท มีดีอย่างเดียวคือตัวโต และพละกำลังมาก    แต่มีข้อด้อยสุดๆ คือโง่    คิดว่าการต่อสู้มีแบบเดียวคือฟาดกันด้วยดาบ    เดวิดตัวเล็กและไม่มีเกราะ รู้เขา” ว่ารบตามรูปแบบในสมัยนั้น คือรบประชิด ฟาดกันด้วยดาบ แพ้แหงๆ    ไม่มีทางเอาชนะพลังของยักษ์ได้    ต้องรบระยะห่าง ใช้กระสุนก้อนหิน    ป๊อกเดียวยักษ์ล้ม และลุกยาก เพราะเกราะเหล็กหนักตั้ง ๕๐ กิโล    ชั่วพริบตาศีรษะยักษ์ก็หลุดจากร่างมาอยู่ในมือเดวิด

เดวิด ฉลาด ที่รู้เขา ว่าเขา (โกไลแอทแรงมาก มีเกราะป้องกัน แต่งุ่มง่าม และโง่    มายืนท้าโดยไม่คิดว่ามีวิธีต่อสู้กันแบบอื่น    เช่น เหวี่ยงกระสุนใส่หัวได้โดยวิธีง่ายๆ แต่อาศัยฝีมือ    เดวิดใช้โอกาสเลือกวิธีต่อสู้ ที่ตนได้เปรียบ   โดยที่โกไลแอท ก็เลือกวิธีต่อสู้แบบที่ตนถนัด แต่ไม่ใช่ผู้กำหนดวิธีการต่อสู้   ย่อมแพ้แล้วตั้งแต่แรก   เพราะโกไลแอท ไม่ รู้เขา”    และไม่มีวิธีกำหนดเงื่อนไขของการต่อสู่ให้ตนได้เปรียบ

ตัดฉากมาที่ นิวยอร์คย่าน Brownsville ที่มีอัตราอาชญากรรมสูงที่สุดในนิวยอร์ค เรื่องวิธีการที่หัวหน้าตำรวจ ชื่อ Joanne Jaffe ใช้ในการแก้ปัญหาอาชญากรรม    ซึ่งสรุปได้ว่า ตำรวจใช้วิธีการของนักจิตวิทยา    คือให้ความเห็นอกเห็นใจครอบครัวที่มีวัยรุ่นนักก่อปัญหา    โดยไม่เรียน ออกมามีชีวิตก่อกวนความสงบสุขของสังคม    อ่านวิธีการของหัวหน้านายตำรวจหญิงคนนี้แล้ว    ผมยกนิ้วให้ ว่า หลักการที่ทำใหเธอประสบความสำเร็จ คือ รู้เขา” เข้าใจเขา    ว่าครอบครัวที่มีเด็กที่เราตราว่าเหลือขอนั้นเขาอยู่กันอย่างไร เขาคิดอย่างไร   เข้าไปแสดงความเห็นใจเขา เข้าใจเขา ช่วยให้เขาเข้มแข็งขึ้น   อัตราอาชญากรรมลดลงกว่ายี่สิบเท่าใน ๓ ปี

เรื่องจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมือง ๓๐ ปี   ระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค กับผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแต๊นท์ ในไอร์แลนด์เหนือ   ก็มาจากการใช้อำนาจ แบบไม่เข้าใจความคิดของผู้เกี่ยวข้อง   คือไม่ รู้เขา รู้เรา”   โดยที่ แกลดเวลล์ อธิบายว่า เพราะไม่เข้าใจ Principle of Legitimacy (หลักการของความชอบธรรม)   ได้แก่ (๑) ผู้ถูกกระทบโดยกติกา มีส่วนกำหนดกติกา  (๒) กติกานั้นต้องสมเหตุสมผล และใช้อย่างคงเส้นคงวา   (๓) บังคับใช้อย่างเสมอหน้า ไม่เลือกปฏิบัติ

อ่านเรื่องราวของ IRA  และสงครามกลางเมืองในไอร์แลนด์ แล้ว ผมนึกถึงเหตุการณ์ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ในปัจจุบัน   ผมอยากให้ผู้รับผิดชอบสร้างสันติสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ อ่านหนังสือเล่มนี้

การเถียง แกลดเวลล์ ครั้งนี้ ไม่ได้เถียงแบบไม่เห็นพ้อง   แต่เถียงว่า มีวิธีตีความแบบอื่นได้ด้วย

ถ้าครูยอม หรือส่งเสริมให้ศิษย์เถียงครู หรือเถียงตำรา ได้อย่างนี้   สังคมไทยจะประเทืองปัญญาขึ้นมาก

แต่ที่ผมไม่เถียงเลย คือวิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง แบบขั้วตรงกันข้าม   ระหว่างการแก้แค้น กับการให้อภัย   ผมอยู่ข้างการให้อภัย   และการยึดถือแนวทางนี้ ทำให้ผมมีชีวิตที่ดีดังเช่นปัจจุบัน

เขียนถึงหนังสือเล่มนี้ หากไม่เอ่ยถึง กราฟรูปตัว ยู หัวกลับ (inverted U curve) ก็จะไม่ครบถ้วน   ปรากฏการณ์นี้ บอกเราว่า สิ่งที่ว่าดีนั้น หากมากเกินไป กลับก่อผลร้าย    ทำให้ผมเถียง มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ได้อีกข้อหนึ่ง    คือเรื่องทางสายกลาง    แต่ทางพุทธเราเอ่ยถึงทางสายกลางแบบเหมารวม    หากดูตามกราฟรูปตัวยูหัวกลับ    ในบางช่วงยิ่งมากยิ่งดี   แต่พอถึงจุดหนึ่ง ยิ่งมากยิ่งไม่ดี    คือ ทางสายกลางก็มีขอบเขตจำกัด

จึงมาถึงการตีความ กราฟรูปตัวยูคว่ำ  ว่าหมายถึงธรรมชาติของข้อจำกัด (limits)  และหมายถึงความซับซ้อนของสรรพสิ่ง    ที่คิดชั้นเดียวอาจจะผิด หรือไม่รอบคอบพอ    และบางเรื่องบางกรณี ความเป็นจริงมันตรงกันข้ามกับความเข้าใจหรือเหตุผลโดยทั่วไป

ผมชอบ มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ตรงนี้   เขาถนัดนำเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไป มาให้เราเรียนรู้    อาศัยข้อมูลหลักฐานมายืนยัน

ข้อเรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ คือ ข้อได้เปรียบ ที่ได้จากความอ่อนแอ หรือความผิดปกติบางด้าน   ทำให้ได้รับการยอมรับให้สดงพฤติกรรมที่แตกต่างจากประเพณีนิยมได้    นำไปสู่จุดเด่น ที่คนทั่วไปไม่มี    และสู่ความสำเร็จยิ่งใหญ่ในชีวิต    เขายกตัวอย่างหลายคน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ย. ๕๖

บนเครื่องบินไปริโอ เดอ จาไนโร

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:59 น.
 

ความหลากหลายและความเป็นชุมชนในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ปาฐกถารางวัล Johan Skytte 2006 เรื่อง E Pluribus Unum : Diversity and Unity in the Twenty-First Century. The 2006 Johan Skytte Prize Lecture   โดย Robert D. Putnam    บอกเราว่า โลกในยุคต่อไปผู้คนในแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น    ผลในระยะสั้นคือจะเกิดความตึงเครียด    แต่ในระยะยาวความหลากหลายนี้จะเป็นพลัง

ปาฐกถานี้เต็มไปด้วยข้อมูล ที่เป็นผลการวิจัยที่ซับซ้อน (multivariate analysis)  และต้องออกแบบอย่างดีจึงจะน่าเชื่อถือ    ผมไม่มีสติปัญญาจะประเมินความน่าเชื่อถือได้     จึงได้แต่เชื่อในชื่อ Robert Putnam

ความเป็นชุมชน หรือความรู้สึกอบอุ่นว่ามีเพื่อน มีเครือข่ายสังคม    เป็นทั้งเรื่องมีเครือข่ายจริงๆ   และเรื่องของความรู้สึก(perception)    อ่านในปาฐกถานี้แล้ว จะเห็นว่า “ความรู้สึก” ของมนุษย์นี้ มันซับซ้อน และอาจไม่ตรงตามสามัญสำนึก    เช่น อ่านตามรูปที่ ๓ - ๖ แล้วจะสรุปได้ว่า ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ในชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาตินั้น   ไม่ใช่ตัวการอยู่ที่คนต่างเชื้อชาติ แม้ต่อคนชาติพันธุ์เดียวกัน ก็รู้สึกไม่ปลอดภัย    และความไม่เชื่อถือ ไม่มั่นใจ (social trust ต่ำ)    ไม่ได้มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น    แต่มีต่อสถาบัน เช่นต่อรัฐบาลท้องถิ่นด้วย

ทำให้อดหวนคิดมาถึงเมืองไทยไม่ได้ว่า    สภาพบ้านเมืองของเราเวลานี้    แม้จะเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน    แต่ก็มีความไม่ไว้วางใจกันสูงมาก   ผมตีความว่า (ไม่ทราบตีความถูกหรือไม่) เวลานี��� social capital ในสังคมไทยตกต่ำลงอย่างน่ากลัว

ปาฐกถานี้ เริ่มต้นโดยบอกว่า การมีเครือข่าย มี social capital มีผลต่อสุขภาพของคน    ผมตีความต่อในฐานะหมอว่า    ทำให้สุขภาพจิตดี  ภูมิคุ้มกันโรคดี  เป็นโรคต่างๆ ยากขึ้น รวมทั้งโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง

กลับมาที่ผลการวิจัยที่นำเสนอในปาฐกถา    เขาสรุปว่า เวลานี้คนอเมริกันรู้สึกไม่สบายใจ ที่สังคมอเมริกันมีความหลากหลาย คือมีคนต่างชาติเข้าเมืองมากขึ้น

ผมได้รู้จักคำ social distance, social identity   เขาบอกว่า เมื่อคนเรามี social distance ระหว่างกันน้อย    ก็จะเกิดความรู้สึกว่ามี social identity เดียวกัน คือเป็นพวกเดียวกันทางสังคม    ผมตีความง่ายๆ ว่า หาก social distance น้อย คนเราจะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน   หาก social distance ห่างกัน ก็จะรู้สึกว่าเป็นคนละพวก    ย้ำว่านี่เป็นความรู้สึก    และเขาบอกว่า เมื่อคนเราเปลี่ยน social identity ของตน พฤติกรรมจะเปลี่ยนด้วย

social identity นี่แหละคือเครื่องมือช่วยให้ความหลากหลายทางเชื้อชาติ กลายเป็นพลัง    โดยจะต้องมีมาตรการทางสังคม และทางอื่นๆ เพื่อสร้าง shared identity ขึ้นในสังคมนั้นๆ    คือแต่ละคนต่างก็มี identity จำเพราะของตน   และในขณะเดียวกัน ก็มี shared identity ร่วมกับคนเชื้อชาติ (หรือศาสนา หรือ ฯลฯ) อื่นด้วย

เขายกตัวอย่างความสำเร็จในการสร้าง shared identity ในสหรัฐอเมริกา    เช่น เวลานี้ในกองทัพอเมริกัน มีสภาพเป็นสถาบันที่ “บอดสี”    คือไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกผิวสี   และยกตัวอย่างอิทธิพลของศาสนาคาทอลิก ในการสร้าง shared identity ระหว่างคนต่างเชื้อชาติ

ที่จริงสังคมไทยในภาพรวมมีความสามารถสูงในการสร้าง shared identity ระหว่างคนเชื้อชาติไทย  จีน  ไทยภูเขา    และในประวัติศาสตร์ สังคมไทยเป็นสังคมที่ผู้คนเป็นลูกผสม   ถือเป็นความสำเร็จในการสร้างกระบวนการ social assimilation ตามธรรมชาติ

เรื่องความหลากหลายและความเป็นชุมชน    มี shared social idendity ในสังคมไทย ในยุคนี้ น่าจะเป็นโจทย์วิจัยทางสังคมศาสตร์ ที่มีคถณประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 14:01 น.
 


หน้า 409 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8556415

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า