Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

กระแสต่อต้านการเมืองชั่ว

พิมพ์ PDF
เราต้องต่อต้านการเมืองชั่ว ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยที่ต้องตระหนักว่า ผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประเทศ จนคนไทยทนไม่ไหว ก่อโดยรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ที่กำลังรักษาการอยู่นี่แหละ การให้เขารักษาการไปตามปกติ จึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เขาทำชั่วต่อไปอีก ดังที่เราก็เห็นอยู่ ว่าเขาไม่ได้หยุดยั้งเลย

กระแสต่อต้านการเมืองชั่ว

น่าดีใจ ที่คนไทยตื่นขึ้นมาประท้วงการเมืองชั่วกันอย่างกว้างขวาง   ไม่ปรองดองกับความชั่ว   แต่อย่าเพิ่งตายใจ   อย่าคิดว่าจะกำจัดรากเหง้าของการเมืองชั่วได้อย่างง่ายดาย

ผมเอารูปโปสเตอร์ต่อต้านการเมืองชั่วมาให้ดู   ๓ รูปแรกถ่ายที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๕๖

๒ รูปหลังถ่ายที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๑๖ ธ.ค. ๕๖   โดยรูปที่ ๔ ถ่ายตอน ๘.๔๐ น.   พอกลับออกมาจากการประชุม เวลาเกือบ ๑๓ น.   เปลี่ยนป้ายประท้วงแล้ว ทีมผู้เปลี่ยนป้ายกำลังถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอยู่พอดี

 

ผมคิดว่า

ผมคิดว่าเราต้องต่อต้านการเมืองชั่ว ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยที่ต้องตระหนักว่า ผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประเทศ จนคนไทยทนไม่ไหว    ก่อโดยรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ที่กำลังรักษาการอยู่นี่แหละ   การให้เขารักษาการไปตามปกติ จึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เขาทำชั่วต่อไปอีก   ดังที่เราก็เห็นอยู่ ว่าเขาไม่ได้หยุดยั้งเลย

ผมจึงเรียกร้องให้ มีกระบวนวางแนว/กรอบการปฏิรูปประเทศเสียก่อนจัดการเลือกตั้ง    และมีรัฐบาลคนกลางมาจัดการเลือกตั้ง และเริ่มการปฏิรูปฯ

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 11:59 น.
 

Stop promoting pseudo –Democracy - Tarisa Watanagase

พิมพ์ PDF
หยุดประชาธิปไตยปลอม

Stop promoting pseudo –Democracy

 

This following article may help to brighten and broaden the LACK OF knowledge of the mentioned French/IMF economist and the western media.

 

 

Ms. Tarisa Watanagase, former Governor of the Bank of Thailand.

 

"Stop promoting pseudo -Democracy.......We need the real democratic countries condemn such Pseudo-democratic government

 

The latest bout of nation-wide protests has erupted in Thailand, this time in opposition of the highly controversial Amnesty bill. The bill was originally proposed by the government to “heal the political divide” by granting a blanket amnesty to non-leader participants in the numerous rallies and political protests since the military coup in 2006 which ousted Thaksin, the brother of the current prime minister. The bill was substantially expanded in its second reading to pardon the leaders and those involved in the 2010 riots, in which pro-Thaksin supporters torched government buildings and major department stores. The riots subsequently led to clashes with authorities, resulting in over 90 deaths, many with bullet wounds from sources that have yet to be identified. Furthermore, the bill would extend to cover all corruption cases brought up in the aftermath of the coup, including those against Thaksin. But perhaps most shocking is the bill’s extension to 2004, two years before the coup, when the Thaksin regime brutally cracked down on a group of protestors in Tak Bai, southern Thailand. Police allegedly fired into the crowd, killing seven; the remaining were arrested and piled horizontally onto trucks for a long drive to a military camp, during which 78 detainees died of suffocation. If the current government cites the unconstitutional nature of the coup as evidence for the illegitimacy of the corruption charges issued in its aftermath, on what grounds would amnesty be justifiable for such a crackdown which took place under a democratically elected government?

 

Thailand is no stranger to corruption and political exploitations. Respondents in a June 2013 survey estimated that 30-35% of government and state-enterprise project funding are lost to corruption, mostly into the hefty pockets of politicians. Transparency International’s Corruption Index ranked Thailand at 88 out of 176 countries in 2012, with a score of 37 out of 100. But the audacity and brazenness of this bill are unprecedented. If passed, it would compromise the already weak moral institutions of the country in a blatant message that crime can go unpunished. How could the parliament push and vote for a bill that deviates substantially from the principles adopted in its first reading, violates the principles of human rights, overrides the verdict of the court, and promotes immoral and fraudulent behaviors despite wide-spread protests? It is all under the guise of “Democracy”. With its absolute majority in the parliament, the ruling party claims it has the mandate of the majority of the population and therefore has the right to proceed. With parliamentary checks and balances out of order, protestors have taken to the streets in the hope that their voices may be heard by the Senate, that it may reject the bill.

 

The U.S. and the world have recently witnessed the government shutdown and debt ceiling saga with frustration. This is a vivid example of how even the world’s most advanced democracy can be flawed. In this case however, one can reasonably expect U.S. voters to vent their anger in the next election. Unfortunately for Thailand, where political problems are deeply rooted in its economic, educational and societal divides between the urban rich and the rural poor, problems cannot be solved with a simple spoonful of democracy to lead to a change for the better in the next election. When the first priority of the rural poor is to put food on the table, political interests and the sustainable future of the country become secondary. Votes can be easily played into the hand of politicians with questionable moral standards and conscience. Simply holding elections does not guarantee a democratic outcome. This is a common outlook in the West on the political situation in developing countries: that democratically elected governments represent the will of the people and are therefore legitimate. Objectively speaking, democracy is a long-term goal; the immediate concerns are reducing the inequality on all fronts as this is a prerequisite for a resilient and better functioning democracy. In the meantime, peaceful protests which raise political awareness, and even the occasional bloodless coup in the past, have been part of the growing up process toward a more genuine democracy. Blindly supporting an elected regime and condemning any action against it as undemocratic will only promote pseudo-democracy.

 

Tarisa Watanagase"

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 12:44 น.
 

เวทีปฏิรูปประเทศไทย ต้านคอรัปชั่น ของ สกว.

พิมพ์ PDF
การคอร์รัปชั่นทางการเมืองยากจะแก้ไขเพราะเกี่ยวโยงกับขบวนการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีการจ่ายสินบนหรือใช้ตำแหน่งอิทธิพลในการเข้าถึงสัมปทานหรือใบอนุญาตในการเข้าถึงทรัพยากรหายาก เช่น ที่ดินสาธารณะ หรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการอนุญาตจากภาครัฐ เช่น เหมืองแร่ ดาวเทียม โครงการขนาดใหญ่ทางด้านสาธารณูปโภค วงเงินที่เกี่ยวข้องมีอัตราสูง ทำให้เป็นแรงจูงใจให้บุคคลที่เกี่ยวข้องแสวงหากำไรที่เกินปกติ และพบว่าถ้านักการเมืองหรือนักธุรกิจรวมถึงข้าราชการเข้าไปในวงจรจะมีครอบครัวเศรษฐีได้หลายชั่วอายุคน แม้ในปี 2544 จะมีการก่อตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ทำให้องค์กรมีเขี้ยวเล็บมากขึ้นและดำเนินคดีกับนักการเมืองได้ แต่ก็น่าจะทำได้มากกว่านี้ เช่น กรณีจำนำข้าวยังเอาผิดใครไม่ได้

เวทีปฏิรูปประเทศไทย ต้านคอรัปชั่น ของ สกว.

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ธ.ค. ๕๖

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 12:47 น.
 

ศ. นพ. ประเวศ วะสี แนะปฏิรูปประเทศไทย ๘ เรื่อง

พิมพ์ PDF

ศ. นพ. ประเวศ วะสี แนะปฏิรูปประเทศไทย ๘ เรื่อง

ประเทศไทยติดอยู่ในโครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาช้านาน การปฏิรูปจึงควรปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ การปฏิรูปเป็นเรื่องยากต้องอาศัยพลังพลเมืองที่เข้มแข็ง การปฏิรูปและการสร้างพลังพลเมืองที่เข้มแข็งจึงต้องควบคู่กันไป...

ศ. นพ. ประเวศ วะสี แนะปฏิรูปประเทศไทย ๘ เรื่อง

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 14:04 น.
 

คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

พิมพ์ PDF

คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

 

วันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๖  หลังจบการประชุมคณะกรรมการตัดสินผลงานวิจัยเด่น สกว.   ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กับผมถือโอกาสอยู่คุยกันต่อ    เรื่องแนวทางส่งเสริมการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เรามีความเห็นพ้องกันว่า ความเข้มแข็งทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง    หรือมองมุมกลับ หากยังปล่อยให้การวิจัยด้านนี้ยังอ่อนแอ อย่างในปัจจุบัน    จะมีผลร้ายต่อสังคม

ผมให้ความเห็นกับท่านว่า    สกว. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัย อย่างน่าชื่นชมมาก    แต่ความสำเร็จนั้น เอียงไปข้างสาขาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี    สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ได้รับอานิสงส์เท่าที่ควร    สะท้อนว่า แนวทางการจัดการงานวิจัยของ สกว. นั้น  น่าจะยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติของงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

จึงน่าจะมีการพัฒนาองค์กร และระบบบริหารงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขึ้นมาในสังคมไทย   แบบเดียวกับที่ผมและคณะพัฒนา สกว. และระบบการจัดการงานวิจัยของ สกว. ขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว

เราคุยกันถึงองค์กรแบบ The Social Science Research Council ในสหรัฐอเมริกา     The Social Science and Humanities Research Council ของแคนาดา    Arts and Humanities Research Council ของอังกฤษ

ดร. ธเนศ เอ่ยถึงตัวอย่าง ARI NUS   ที่เริ่มต้นด้วยการไปดึงตัว Prof. Anthony Reid มาจาก ANU   โดยที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์ให้งบประมาณหนุนการจัดตั้ง ARI (Asia Research Institute) เต็มที่    ผมให้ความเห็นว่า กรณีเช่นนั้นเกิดยากในประเทศไทย   เพราะรัฐบาลไม่มองมหาวิทยาลัยและวิชาการเป็นเครืองมือ ในการสร้าง ความเข้มแข็งของประเทศ    บางรัฐบาลระแวงมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ

ผมชี้ให้เห็นว่า การมี สกว. ในสังคมไทยเป็นอุบัติเหตุ หรือเหตุบังเอิญ    เกิดจากการมีรัฐบาลอานันท์ และมี ศ. ดร. ไพจิตร เอื้อทวีกุล ที่มีสายตากว้างไกล   ผมยังมองไม่เห็น ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง ในสภาพปัจจุบัน จะเห็นความสำคัญของการก่อตั้ง สำนักงานสนับสนุนการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แต่เราก็ไม่สิ้นหวัง    เราต้องช่วยกันคิดหาช่องทางสร้างความเจริญด้านวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น Knowledge-Based Society   หลุดพ้น  middle-incoem trap ให้ได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 14:41 น.
 


หน้า 411 จาก 557
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5603
Content : 3043
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8590980

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า