Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

วันที่ 24 พ.ย.2556

พิมพ์ PDF
วันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของประเทศไทยที่คนไทยทุกคนควรจะทำหน้าที่แสดงออกถึงความรักและความหวังดีต่อประเทศไทยอย่างจริงใจ... ความแตกต่างทางความคิดไม่ใช่เรื่องผิด หากแต่คนไทยทุกคนควรจะรู้จริง เข้าใจ คิดเป็น มองปัญหาด้วยความเป็นกลาง และมองที่จุดหมายปลายทางของประเทศไทย คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของความสุขของประชาชนและความอยู่รอดของประเทศไทยในระยะยาวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้..

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คัดลอกจาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=773127689379356&set=pcb.773128432712615&type=1&theater

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 17:51 น.
 

๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘

พิมพ์ PDF
๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘
ร่วมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นฯ แห่งองค์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า
เนื่องในวโรกาส วันเสด็จสู่สวรรคาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430) 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430) 
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430) 
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484) 

พระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ต่อจาก สมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นเวลานาน ๑๕ ปี ทรงสืบสานพระราชกรณียกิจพัฒนาประเทศชาติ ต่อจากพระชนก ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล ตราพระราชบัญญัติการประถมศึกษาเป็นการวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ให้พสกนิกรของพระองค์ ทรงตั้งคลังออมสินหรือธนาคารออมสินเพื่อให้ประชาชนรุจักการออมทรัพย์ ทรงตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
การส่งทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 1
ในตอนแรกไทยรักษาความเป็นกลางอย่างมั่นคงแต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิดพระองค์ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลในการให้ประเทศไทยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะจะมีผลดีในการที่ประเทศไทยจะเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการประณามว่า “เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายละเมิดเมตตาธรรมของมวลมนุษย์ มิได้มีความนับถือต่อประเทศเล็ก ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นผู้ก่อกวนความสุขของโลก” ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นดังที่พระองค์ทรงคาดไว้ คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ

สวรรคต 
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา แต่รัชกาลที่ 7 มีพระราชประสงค์กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6 เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน และถือว่าวันพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนส่วนพระบรมราชสรีรางคารได้เชิญไปประดิษฐาน ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร และเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระปฤศฤๅงค์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ส่วนพระบรมอัฐิส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระวิมานองค์กลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ อีกส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระวิมานพระอัฐิ วังรื่นฤดี ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว

คัดลอกจาก facebook เผยแพร่โดย คุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 18:16 น.
 

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประชาชน

พิมพ์ PDF

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประชาชน

ดังเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประชาชาติ สถาบันประมุขของประเทศ รัฐสภา รัฐบาล ศาล และองค์กรอื่นของรัฐทุกองค์กร ล้วนอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ สถาบันการเมืองการปกครองทุกสถาบันย่อมมีอำนาจหน้าที่เฉพาะเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น

บทบาทโดยธรรมชาติของรัฐธรรมนูญคือการสร้างความชอบธรรมและสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้กับระบอบการปกครองของประเทศ กล่าวสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความชอบธรรมและเสถียรภาพทางการเมืองย่อมมาจากการให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่แก่ประชาชนภายใต้หลักนิติธรรม(rule of law) การแยกใช้อำนาจอย่างอิสระ(separation of powers) และการตรวจสอบการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจฝ่ายบริหาร ตลอดจนอำนาจฝ่ายตุลการ (check and balances) โดยต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลาว่าทุกสถาบันทุกองค์กรของรัฐนั้นมิใช่เป็นเจ้าของอำนาจการปกครองเสียเอง แต่เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยมติมหาชน

การเมืองการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 มิได้มอบอำนาจสูงสุดให้แก่รัฐสภา รัฐบาล หรือศาล แต่อย่างใด หากแบ่งอำนาจหน้าที่ให้ภายใต้กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลดังกล่าวแล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในปัจจุบัน ใช้หลักการความสูงสุดแห่งรัฐธรรมนูญ (supremacy of constitution )

ระบบรัฐสภาของไทยมิได้ใช้หลักการความสูงสุดแห่งรัฐสภา (supremacy of parliament) เหมือนดังที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ที่เคยบัญญัติไว้ว่า “สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

จริงอยู่ รัฐสภาย่อมประกอบด้วยผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในสภา แต่มิได้หมายความว่ารัฐสภาจะสามารถใช้อำนาจสูงสุดแทนประชาชนได้แต่ฝ่ายเดียว เพราะอำนาจอธิปไตยของประชาชน(sovereignty of people) ได้แบ่งให้แก่ฝ่ายต่างๆ ตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุล ดังนั้นจึงไม่มีฝ่ายใดมีอำนาจสูงสุด 

หากกล่าวตามหลักการของจอห์น ล็อค นักปรัชญาประชาธิปไตยชาวอังกฤษ อำนาจของรัฐสภาต้องมีข้อจำกัด 4 ประการ คือ
1. รัฐสภาจะต้องใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น จะใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวตามอำเภอใจไม่ได้
2. รัฐสภาต้องทำหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
3. รัฐสภาไม่อาจใช้อำนาจยึด “ทรัพย์สิน” ของประชาชนได้โดยพลการ
4. รัฐสภาไม่อาจโอนอำนาจของตนที่ได้รับมาจากประชาชนให้แก่ใครได้

เช่นเดียวกัน มองเตสกิเออ นักปรัชญาประชาธิปไตยชาวฝรั่งเศส เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติว่า "หากถูกควบรวมอยู่ในคนๆ เดียว หรืออยู่ในกลุ่มคนกลุ่มใด เสรีภาพของประชาชนก็มีไม่ได้ เพราะอาจเกิดสภาพของความหวาดกลัว หรือไม่เช่นนั้นผู้ปกครองหรือองค์กรดังกล่าวอาจออกกฎหมายทรราชขึ้นมาใช้อย่างกดขี่ ดังนั้นอำนาจตุลาการจึงต้องแยกออกไปอย่างเด็ดขาดจากอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร เพื่อให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการคุ้มครอง"

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางการเมืองในยุคปัจจุบันตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ได้มอบสิทธิการตีความแห่งรัฐธรรมนูญแก่ศาลรัฐธรรมนูญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 216 วรรค 5 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า

“คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ”

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีคำกล่าวของเอ็ดมันด์ เบอร์ก นักการเมืองและนักปรัชญาเสรีนิยมชาวอังกฤษว่า

“รัฐสภาไม่ใช่เป็นแหล่งประชุมของตัวแทนจากกลุ่มผลประโยชน์คนละขั้วที่ขับเคี่ยวกัน โดยที่ตัวแทนเหล่านั้นจำต้องทำตัวเป็นเอเยนต์ และเป็นผู้สนับสนุนประโยชน์ของกลุ่มตน เพื่อต่อต้านเอเยนต์ และผู้สนับสนุนประโยชน์ของกลุ่มอื่น 

แต่รัฐสภาเป็นสภาแห่งการพิจารณาตัดสินใจของชนชาติหนึ่งที่มีผลประโยชน์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือผลประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด อันเป็นความดีส่วนรวมที่เกิดจากเหตุผลร่วมของประชาชนทั้งปวง”

แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรอื่นใด จะไม่มีสิทธิ์ตีความแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ตรงกันข้าม การ่วมกันตีความรัฐธรรมนูญ และการร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในทางวิชาการอย่างกว้างขวาง ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ เพียงแต่การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือการวินิจฉัยของบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรอื่นใดที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีผลลบล้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เว้นเสียแต่ว่าบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรเหล่านั้นได้นำความเห็นแย้ง หรือแตกต่างของตนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ปปช. ในกรณีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ "ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" โดยอาจสงวนความเห็นต่างของตนไว้เพื่อต่อสู้คดี หรือเพื่อดำเนินการตรวจสอบถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

หากรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ประชาชน รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยึดถือคำวินิจฉัยเด็ดขาดของศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะไม่ให้ความไว้วางใจ และหมดความเชื่อถือในรัฐาธิปัตย์ จนถึงขั้นขัดขืนคำสั่งของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารซึ่งจะก่อให้เกิดความแตกแยกระส่ำระสาย และความขัดแย้งอย่างรุนแรงก็อาจจะเกิดลุกลามบานปลาย กลายเป็นสภาพการเมืองที่ล้มเหลวได้

ดังนั้น ดิฉันจึงใคร่ขอเรียกร้องให้หัวหน้ารัฐบาล ประธานฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรการเมืองทั้งหลาย ยอมรับและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และแสดงความรับผิดชอบตามรูปแบบวิธีในระบอบประชาธิปไตย ดังนี้

1) ประธานและรองประธานรัฐสภา ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง

2) หัวหน้าฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี ขอพระราชทานร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับคืนมา

3) นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเหมือนดังอารยประเทศที่ปฏิบัติเป็นปกติ หรือยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวิธีในระบอบประชาธิปไตย

ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่เสถียรภาพทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยและความสงบสุขของประชาชาติอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา 

รสนา โตสิตระกูล
สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ
24 พฤศจิกายน 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 19:31 น.
 

อ่านไม่ออก นับไม่เป็น

พิมพ์ PDF
ผมสนใจที่เขาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และบอกว่า ร้อยละ ๒๓ ของเด็ก ม. ๖ ด้อยด้านทักษะการอ่านระดับพื้นฐาน (rudimentary reading skills) โดยเด็กเหล่านี้อ่านป้ายถนนออก เขียนชื่อตนเองได้ แต่เมื่อให้กรอกแบบฟอร์มเสียภาษี ทำไม่ได้ หรือให้อ่านข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ แล้วให้สรุปสาระ ทำไม่ได้

อ่านไม่ออก นับไม่เป็น

บทความเรื่อง Can’t Read, Can’t Count  โดย Rodger Doyle ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2001    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่า จากการศึกษาในปี 1999 มีคนอเมริกันที่หางานทำ ร้อยละ ๓๘ ทดสอบพบว่าไม่มีพื้นความรู้ด้าน อ่าน เขียน เลข เพียงพอสำหรับทำงาน   ไม่มีใครต้องการจ้าง

บทความนี้ระบุปัญหา แต่ไม่ได้แนะทางแก้   เป็นบทความสั้นๆ เกี่ยวกับปัญหาในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว   ซึ่งน่าจะคล้ายกับสภาพของไทยในเวลานี้มาก   คือนักเรียนในระดับมัธยมในสัดส่วนที่สูง ขาดทักษะพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตในอนาคต    เขียนถึงตอนนี้ผมคิดต่อว่า แล้วในอนาคตเขาจะดำรงชีพอย่างไร    ผมตอบว่า เมื่อประกอบสัมมาชีพไม่ได้    คนเราก็ย่อมเอาตัวรอดด้วยมิจฉาชีพ

เขาเอ่ยถึงข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศออกมาในเดือนสิงหาคม 2001  ว่า กว่าหนึ่งในสามของนักเรียนชั้น ม. ๖ ทั้งหมด    และกว่าสองในสามของนักเรียนผิวดำชั้น ม. ๖   ไม่มีสมรรถนะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์   เขียนถึงตอนนี้ ผมนึกถึงครูชั้นประถมในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผมไปรู้จักเมื่อเกือบสิบปีก่อน เป็นคนพูดเก่งมาก    แต่เขียนหนังสือไม่เป็นประโยค     น่าตกใจมาก

ในบทความมีกราฟแท่งแสดงร้อยละของเด็กนักเรียน ม. ๖ ที่สมรรถนะด้านอ่าน และคณิตศาสตร์ ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน แยกเป็นเชื้อชาติ   ซึ่งที่แย่ที่สุดคือคนดำ แย่รองลงมาคือฮิสแปนิก   ที่น่าแปลกใจคือเด็กจากเอเซีย มีสัดส่วนเด็กที่ด้อยด้านคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด ต่ำกว่าเด็กขาว

ผมสนใจที่เขาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง   และบอกว่า ร้อยละ ๒๓ ของเด็ก ม. ๖ ด้อยด้านทักษะการอ่านระดับพื้นฐาน (rudimentary reading skills)   โดยเด็กเหล่านี้อ่านป้ายถนนออก   เขียนชื่อตนเองได้   แต่เมื่อให้กรอกแบบฟอร์มเสียภาษี ทำไม่ได้   หรือให้อ่านข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ แล้วให้สรุปสาระ ทำไม่ได้

เขาบอกว่า ที่จริงนักเรียนเหล่านี้ยังขาดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์    แต่ ข้อด้อยเหล่านั้นยังไม่ก่อปัญหาต่อชีวิตเท่ากับ ด้อยสมรรถนะด้านคณิตศาสตร์และด้านการอ่าน

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ต.ค. ๕๖

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:09 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๔๐. นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี ๒๕๕๖

พิมพ์ PDF

ในวันที่ ๙ ต.๕๖ มีงานแถลงข่าวนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี ๒๕๕๖ ในงานมีการเสวนาพิเศษเรื่องทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศไทย”    ดรยงยุทธยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า ระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ล้าหลังระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งอยู่ที่ระดับราวๆ อันดับที่ 30 ของโลก ในขณะที่ระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ที่ประมาณอันดับที่ 50    จุดอ่อนแออยู่ที่งบประมาณวิจัยของประเทศ ซึ่งคงที่อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 0.2 ของ จีดีพี มาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี    ทำให้ประเทศต่างๆ แซงหน้าไป    หากยังเป็นเช่นนี้ ประเทศจะอ่อนแอในระยะยาว

ดรทวีศักดิ์กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.   ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยควรมียุทธศาสตร์ซื้อเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อยอด ไม่ใช่ซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปอยู่เรื่อยไป อย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ดรดำริ สุโขธนังอดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม    และที่ปรึกษา สวทน.   ให้ข้อมูลว่าสวทนตั้งในปี ๒๕๕๑สมัยที่ ศดรยงยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ไทยจ่ายค่า technololy fee ปีละ 1.6 แสนล้าน หากมีการลงทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแผนยุทธศาสตร์ ที่ สวทนจัด    ประเทศจะประหยัดได้มาก

ที่น่าชื่นใจคือ ปีนี้ภาคเอกชนได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นคือนายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ กับนายวิทูร ลี้ธีระนานนท์ สองพ่อลูกแห่ง หจกสามารถเกษตรยนต์ ที่ จชัยนาท   จากผลงานรถตัดอ้อยที่มีกระบะบรรทุกท่อนอ้อย ทำงานแบบอัตโนมัติ โดยที่นายสามารถเรียนจบแค่ ป๗ เท่านั้น โดยรถตัดอ้อยโมเดลนี้นับเป็นโมเดลที่ ๖   ที่มีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ    โมเดลนี้ส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย ราคาขายในประเทศ ครึ่งหนึ่งของที่นำเข้า     แต่บริการซ่อมจะดีกว่า

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่ม ได้แก่สถาบันจีโนม สวทช., และสถาบัน ดีเอ็นเอ เทคโนโลยีมก.   โดยมี ดรสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง เป็นหัวหน้า    จากผลงานการใช้เทคโนโลยีฐานจีโนมมิกส์ ตรวจสอบจีโนมอย่างรวดเร็ว ใช้ควบคุมคุณภาพอาหารส่งออก และส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์พืช

ผมชอบใจมาก ที่ ดรสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง บอกว่า เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การจัดการ ศิลปะ   เป็นรูปธรรมจับต้องได้

สถาบันจีโนม เริ่มตั้งปี๒๕๔๒  ใช้ตรวจพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม พบว่าไม่ใช่พันธุ์ตามเป้าหมาย นำไปสู่การแก้ไข    ทำให้ ปีต่อมาไม่ต้องนำเข้า   ประหยัดหลายพันล้านบาท ตรวจพันธุ์ข้าว ยืนยันคุณภาพต่อลูกค้าต่างประเทศ ทำให้ขายส่งออกได้ราคา จากตันละ $500 เป็น 800  ได้เงินเป็นแสนล้าน เวลานี้แยกเป็นหน่วยตรวจข้าวโดยเฉพาะ โดยสถาบันจีโนมทำงานพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตรวจผลิตภัณฑ์การเกษตรอย่างอื่นต่อไป เช่น ถั่ว

ดรสมวงษ์บอกว่า การตรวจนี้ไม่ใช่ของใหม่    ในต่างประเทศมีให้บริการ    แต่สู่ของสถาบันจีโนมไม่ได้ เพราะแม่นยำ  เร็ว  ราคาไม่สูง  จึงแข่งกับต่างประเทศได้ หน่วยงานนี้เป็นผลของความร่วมมือระหว่าง สวทชกับ มก.  เป็นหน่วยหารายได้พึ่งตนเองได้ ยั่งยืน กระทรวงพาณิชย์สนับสนุนเงิน๔๐ ล้านเพื่อตั้งหน่วยตรวจข้าวส่งออก ผลงานชิ้นนี้ช่วยการบังคับใช้กฎหมายโดยกระทรวงพาณิชย์

 

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้แก่ ดรบุญรัตน์โล่ห์วงศ์วัฒน หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมโลหะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ    จากผลงาน การออกแบบวัสดุโดยใช้หลักการทางอุณหพลศาสตร์และการปรับปรุงโครงสร้างเชิงโลหะวิทยา เพื่อพัฒนาระบบโลหะผสม และคิดค้นเทคนิคการผลิตใหม่สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับไทย ซึ่งเมื่อฟังแล้ว ก็เห็นว่าน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

เพราะได้ค้นพบวิธีผลิตโลหะผสมเช่น ทอง 18k ให้เป็น metallic glass    คือขึ้นรูปได้แบบปลาสติค    สมารถใช้กระบวนการผลิตแบบปลาสติค มาใช้กับโลหะได้    เวลานี้อยู่ระหว่างคุยกับโรงงาน 2-3 แห่ง

ผมได้รับทราบด้วยความตกใจว่า นักวิจัยด้านโลหะวิทยาทั้งประเทศมีเพียง 30 คน

ผมเห็นด้วยกับผู้พูดบนเวทีว่า ข่าวรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นนี้ น่าจะช่วยจุดประกายให้เด็กไทยสนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจะช่วยให้ประเทศไทยออกจาก middle income trap   โดยเราต้องเพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับความสามารถสูง อีกหลายเท่าตัวของที่มีอยู่ในปัจจุบัน    และเราต้องช่วยกันเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาคำพูด ตามนโยบายเพิ่มงบประมาณวิจัยของประเทศเป็น 1% GDP

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:13 น.
 


หน้า 418 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8559605

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า