Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

พระบรมราโชวาท

พิมพ์ PDF
“...หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ และหญ้าที่มีคุณอย่างหญ้าแฝก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรงๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคง และมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนา ทำให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี 

...คนเราก็เช่นเดียวกัน มีทั้งบุคคลที่มีชีวิตอยู่โดยเปล่าประโยชน์ และบุคคลที่มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ต้นหญ้าจึงเป็นบทเรียนได้อย่างดีเลิศ สำหรับนำมาพิจารณาเทียบเคียงให้เป็นคติในการดำเนินชีวิตของบุคคล ว่าควรจะประพฤติปฏิบัติตนอย่างวัชพืช ซึ่งอยู่ ณ ที่ใดก็มีแต่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ที่นั้น หรือควรจะประพฤติตนอย่างเช่นหญ้าแฝก ซึ่งมีแต่สร้างสรรค์ประโยชน์และความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่ตนและแก่แผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัย”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ 
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2540

ขอทรงมีพระพลานามัยที่ดีและแข็งแรง 
ทรงพระชนมายุที่ยืนยาว ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ..

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:51 น.
 

เงินถุงแดง

พิมพ์ PDF

เงินถุงแดง มรดกจากรัชกาลที่ ๓ ที่ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้....พระมหากษัตริย์ในบรมราชจักรีวงศ์ตลอด 9 รัชกาล ได้พระราชกรณียกิจนานัปการพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ฝ่ามรสุมจากมหาอำนาจ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนตลอดจวบจนปัจจุบัน....
“เงินถุงแดง” มรดกจากรัชกาลที่ ๓ ของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ เนื่องจากทรงพระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับใช้ในราชการแผ่นดิน มิได้พระราชทานให้เป็นประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ มิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ โดยยอมให้ขุนนางกล่าวร้ายพระองค์ และเมื่อไม่มีเงินเบี้ยหวัดก็เลาะทองเบ็ญจาออกจ่ายแทนเงินสดโดยไม่แตะต้องเงินก้อนนี้ พระคุณและพระเนตรอันกว้างไกลของพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทำให้เงินก้อนนี้ยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้ ช่วยกอบกู้บ้านเมืองไทยให้รอดพ้นจากการคุกคามและยึดครองของฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๕....

ข้าพระพุทธเจ้าปวงชนชาวไทย.... น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม.....

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

24 พ.ย.2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:56 น.
 

จากกัปตันเรือบรรทุกน้ำมัน

พิมพ์ PDF

ข้อมูลจาก - คุณ Saroche Glinrong เล่า ใน FB

เรื่องจริง..จากอ่าวไทย....ผมเป็นกัปตัน เรือบรรทุกน้ำมัน แต่ไม่ขอบอกชื่อนะครับ ขณะนี้เรือผมได้ทอดสมออยู่ที่หาดแหลมเจริญ เพื่อรอรับน้ำมันดีเซลจากIRPCหรือTPIเก่าละครับ แต่เมื่อปตท.ได้ซื้อไปก็เปลี่ยนชื่อเป็นIRPC ผมรับน้ำมันเพื่อส่งไปที่เขมรและเวียดนาม
เรื่อผมบรรทุกก๊าซLPGไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรือบรรทุกก๊าซ แต่ผมมีเพื่อนที่เป็นกัปตันเรือบรรทุกแก๊สLPGอยู่หลายคนพวกจะมารับ แก๊สLPGจากIRPCเพื่อไปส่งเขมรและเวียดนาม เหมือนผม เดือนละหลายเที่ยวเรือ ขณะที่ผมกำลังโพสอยู่นี่ก็มีเรือแก๊สรอรับอยู่ 3 ลำ
ตั้งแต่ผมเดินเรือ มายังไม่เคยเห็นเรือแก๊สที่นำเข้าเลยแม้แต่ลำเดียว มีแต่เรือส่งออก ปตท. บอกได้นำเข้าแก๊ส มาจากต่างประเทศปีละเป็นล้านตัน แล้วเขาเอาเข้ามาทางไหนละครับ ถ้าทางเรือผมไม่เคยเห็น เคยเห็นแต่เรือส่งออก ลองมาดูที่แหลมเจริญที่ระยองซิครับมีเรือมาคอยรับทุกวันละครับ เพื่อส่งไปเขมร เวียดนาม แล้วไอ้นักวิชาการด้านน้ำมันที่มาออกรายการตาสว่างนะครับ เขาเป็นอดีตคนที่ทำงานปตท. สิ่งที่เขาพูดนะ เป็นการแก้ต่างให้ทั้งนั้น
ปตท. ได้ไปลงทุนในการวางท่อแก๊ส NGV จากมาเลเซีย และพม่า ตั้งหลายแสนล้านบาท ปตท.จึงต้องการให้คนไทยใช้ NGV เพราะก๊าซ
NGVเขา มีกันทุกประเทศละครับ เขมรตอนนี้ก็เจอ ก๊าซ NGV อยู่หลายหลุม เวียดนามก็เจอ พม่าเขาก็มีเยอะ ทั่วโลกเขามีกันหมด ถ้าคนไทยไม่ใช่NGV แล้ว ปตท. จะเอาไปขายใครละครับ ต้องบังคับให้คนไทยใช้ให้ได้ โอยอ้างว่าก๊าซNGVปลอดภัยกว่า จริงๆแล้วไม่ใช่หลอกครับ อันตรายพอๆกันละครับ เพราะNGVเป็นก๊าซที่มีแรงดันสูง โอกาสที่จะระเบิดก็ยอมมีสูงตามไปด้วย ถ้ามันอยู่ในกระโปรงหลังรถ มันจะออกไปไหนละครับ มันก็จะระเบิดอยู่ที่ท้ายรถละครับ ตอนนี้ยังไม่มีเรือลำไหนสามารถบรรทุกก๊าซ NGVได้เลย เรือที่บรรทุกLPGไม่สามารถ บรรทุก NGVได้ เพราะNGV มีแรงดันสูงกว่าLPGหลายเท่า ปตท. เลยไม่สามารถส่งออกได้
นอกจากมาหลอกขายคนไทย ตอนนี้โรงกลั่นเป็นของ ปตท. เกือบหมดแล้ว ปั้มน้ำมันที่ไม่มีโรง
กลั้นก็ต้องไปซื้อน้ำมันจาก ปตท. มาขายอีกที เลยต้องขายแพงกว่า ปตท. ปตท.ไม่ได้ช่วยอะไรคนไทยเลยนะครับ...(กัปตัน..รักเมืองไทย)

อ่านแล้วถ้าเป็นจริงตามที่แจ้งมา ก็แสดงว่าโจรที่ปล้นคนไทยมาตลอดก็คือโจรปตท นี่เอง แล้วเราคนไทยจะปล่อยโจร ปตท ปล้นคนไทยไปตลอดชีวิตหรือครับ รัฐบาลหลายรัฐบาลก็ถูกล้มโดยพลังประชาชนมาหลายรัฐบาลแล้ว และทำไมโจร ปตท จึงยังไม่มีใครทำอะไร

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

24 พ.ย.2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 18:53 น.
 

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๑. ความเห็นใจ (๒) การจัดการเด็กที่ไม่เชื่อฟัง / การจัดการความสัมพันธ์

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๙ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21stCentury เขียนโดย Annie Fox, M.Ed. 

ตอนที่ ๑๑นี้ ตีความจากบทที่ ๕ How Can I Make It Better? Modeling Compassion to Teach Kindness   โดยที่ในบทที่ ๕มี ๔ ตอน   ในบันทึกที่ ๑๐ได้ตีความตอนที่ ๑ และ ๒ ไปแล้ว    ในบันทึกที่ ๑๑ จะเป็นการตีความตอนที่ ๓ และ ๔

ทั้งบทที่ ๕ ของหนังสือ เป็นเรื่องการฝึกลูก/ศิษย์ ให้รู้จักให้อภัย   ทั้งให้อภัยตนเอง และให้อภัยผู้อื่น   ไม่ถือเอาความผิดพลาดมาเป็นอารมณ์ที่กัดกร่อนจิตใจ   แต่ถือเป็นการเรียนรู้

ตอนที่ ๓เป็นเรื่องถ้าไม่ทำตามสั่งจะถูกสเปรย์พริกไทย นี่เป็นเรื่องจริงในสหรัฐอเมริกา  ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ป. ๒ และเป็น “เด็กพิเศษ” ที่อาละวาดในโรงเรียน ครูเอาไม่อยู่   จึงเรียกตำรวจ    ซึ่งมาพร้อมอาวุธ คือ สเปรย์พริกไทย    และขู่ว่าหากไม่หยุดอาละวาดจะโดนสเปรย์พริกไทย    เมื่อเด็กไม่หยุด ตำรวจก็สเปรย์จริงๆ    พ่อจึงไปฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย และเป็นข่าว

นั่นเป็นวิธีนำเรื่องของผู้เขียน เข้าสู่ประเด็นที่ลูก/ลูกศิษย์ ไม่เชื่อฟัง จะทำอย่างไร

คำตอบคือ การเลี้ยงลูก หรือดูแลลูกศิษย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน   ต้องใช้ความรักความเข้าใจเป็นหลัก    ไม่ใช่ใช้ความรุนแรงเป็นหลัก (อย่างสเปรย์พริกไทย)    การแก้ปัญหาโดยใช้ความรักความเข้าใจทำโดย ค่อยๆ แสดงมุมมองของตน  สังเกต  ตั้งคำถาม  ฟัง  ทำความเข้าใจ  และแสดงออกด้วยความเมตตาเห็นอกเห็นใจ

ยามลูก/ศิษย์ แสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง    ให้ตั้งคำถามว่า “เมื่อเธอมีความรู้สึกเช่นนี้ เธอต้องการให้ผู้อื่นช่วยเหลือเธออย่างไร”   แล้วฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำความเข้าใจ

ยามที่มีคนในบ้าน/โรงเรียน มีอารมณ์เศร้าหรือก้าวร้าวรุนแรง    ให้ถือโอกาสถามลูก/ศิษย์ ว่าเราควรช่วยเหลือเขาอย่างไร

จะเห็นว่า เราสามารถใช้ชีวิตจริงของการมีอารมณ์รุนแรงควบคุมตัวเองไม่ได้ ทั้งของตนเอง และของผู้อื่น เป็นบทเรียน ฝึกฝนเรียนรู้ “ความเป็นคนดี” ของเรา (และของลูก/ศิษย์ ของเรา) ได้เสมอ

ในบ้าน ควรทำความตกลงกันระหว่างพ่อแม่ลูก ว่ายามที่มีคนมีอารมณ์หรือแสดงความก้าวร้าว   คนอื่นๆ จะช่วยตั้งคำถามว่า ตนจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

คำถามของครูของลูกผู้เขียน “ลูกสาวอายุ ๑๕ ขออนุญาตออกเดทกับชายหนุ่มอายุ ๑๘   ตนไม่อนุญาต โดยอธิบายว่า ระดับความเป็นผู้ใหญ่ต่างกันมากเกินไป   เธอไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่เถียง    ต่อมาจับได้ว่ายังคบเพื่อนชายคนนั้นอยู่   จึงริบโทรศัพท์มือถือ และห้ามออกนอกบ้าน   และบอกว่า เมื่อเลิกคบชายคนนี้ ก็จะได้รับความเชื่อถือกลับมาใหม่    และจะได้รับสิ่งต่างๆ คืน    เราทำเกินไปหรือเปล่า    เราจะช่วยให้ลูกสาวเข้าใจเรา และช่วยแนะนำเธอได้อย่างไร”

คำตอบของผู้เขียน “ตอบยากว่าพ่อแม่ทำเกินไปหรือไม่   เพราะไม่ได้ฟังคำปรึกษาหารือ และน้ำเสียงที่พูดกับลูก   แต่เห็นด้วยว่าลูกสาวยังเด็กเกินไปที่จะคบเพื่อนชายอายุ ๑๘   และคุณได้อธิบายแก่ลูกอย่างชัดเจนแล้ว    เมื่อเธอโกหก การลงโทษที่ทำไปน่าจะเหมาะสมแล้ว

สำหรับคำถามว่า ทำอย่างไรให้ลูกสาวเข้าใจคุณนั้น   ขอบอกว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะให้เด็กอายุ ๑๕ เข้าใจความคิดของคนอื่น ที่แตกต่างจากความคิดของตน   จึงแนะนำให้ทั้งครอบครัวไปขอคำแนะนำช่วยเหลือจาก นักครอบครัวบำบัด (family therapist) ที่มีความรู้ความชำนาญ   ในบรรยากาศที่เป็นกลาง ด้วยความช่วยเหลือของนักวิชาชีพ   การสื่อสารกันในครอบครัวน่าจะดีขึ้น”

คำถามรอบ ๒ จากพ่อ “ได้ติดต่อนัดไปขอคำแนะนำจากนักครอบครัวบำบัดแล้ว    แต่เมื่อบอกลูกสาว เธอก็โวยวาย   ว่าพ่อแม่ไม่ไว้ใจถึงกับพาไปหาคำปรึกษาเชียวหรือ   ตนเกรงว่าเรื่องจะไปกันใหญ่   เกรงว่ายิ่งห้ามจะเหมือนยิ่งยุ”

คำตอบของผู้เขียน “คุณทำถูกต้องแล้ว   ขอให้บอกความคาดหวังต่อพฤติกรรมของลูกสาวให้ชัดเจน   เมื่อไรก็ตามที่สังเกตเห็นพฤติกรรมที่ถูกต้องของลูกสาว ให้รีบกล่าวยกย่อง แสดงความพอใจว่าเป็นการแสดงวุฒิภาวะ   และเมื่อเธอทำไม่ถูกต้อง ก็ให้เข้มงวดวินัย   อย่าไปสนใจคำโวย   ให้บอกเสมอว่า พ่อแม่รักลูก และเรารู้ว่าเราทั้งครอบครัวต้องการความช่วยเหลือ   ไม่ใช่เฉพาะลูกที่ต้องการความช่วยเหลือ   เราทั้งครอบครัวจะไปรับความช่วยเหลือด้วยกัน

ขอให้โชคดีกับนักครอบครัวบำบัด   และอย่าคิดว่าไปครั้งเดียวจะเห็นผลเด็ดขาด   ขอให้ไปตามนัดครั้งต่อไป   แต่ถ้านักครอบครัวบำบัดคนแรกไม่ดี ขอให้หาคนใหม่   แล้วไปรับบริการสม่ำเสมอ   ช่วงวัยทีนเป็นช่วงที่ยากทั้งต่อเด็กและต่อพ่อแม่   นักครอบครัวบำบัดที่ดีจะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น   แต่พ่อแม่ต้องอดทน ช่วยกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว”

ตอนที่ ๔ เป็นเรื่อง อย่าด่วนสรุป เล่าเรื่องตัวผู้เขียนเองที่หมั่นทำดร เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีแก่เด็กๆ    แต่แล้ววันหนึ่งก็เกือบพลาด    ว่าสีเสื้อผ้าไม่ได้ทำให้และกำลังเดินจากไป    ลางสังหรณ์ทำให้ผู้เขียนเดินข้ามถนนไปหายายแก่ เพื่อถามว่าต้องการให้ช่วยอะไร    แล้วจึงได้โอกาสทำความดี นำบัตรอวยพรคริสตมาสไปส่งไปรษณีย์

เป็นการแสดงตัวอย่างว่า คนเราไม่ควรด่วนสรุปในเรื่องใดๆ    ควรฟังหรือหาข้อมูลให้ถ่องแท้เสียก่อน    เพื่อจะได้ไม่ “ก้าวพลาด”

คำถามของหนุ่ม ๑๖ “ผมชอบเสื้อผ้าสีดำ    แต่แม่บอกว่า นั่นมันชุดนักเลง  และเป็นพวกติดยา    ผมพยายามบอกว่านี่มันเป็นเรื่องแฟชั่น    แม่ไม่ฟัง และขู่ว่าจะไม่ให้ผมออกนอกบ้าน    ผมพยายามทำความเข้าใจจากมุมของแม่   ว่าผมกำลังจะเสียคน   ทำอย่างไรจะให้แม่เข้าใจว่า การแต่งชุดดำจะไม่เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดของผมไปในทางชั่วร้าย”

คำตอบของผู้เขียน “ฉันชื่นชมที่เธอเข้าใจความคิดของแม่    และอคติต่อการแต่งชุดดำของแม่    เพราะแม่มีอคตินี้ และเพราะแม่รักเธอมาก    แม่จึงกลัวเธอเสียคนเมื่อเธอชอบแต่งชุดดำ    วิธีทำให้แม่สบายใจ ว่าการแต่งชุดดำไม่ได้ทำให้เธอชั่วร้ายก็คือพิสูจน์ความประพฤติของเธอให้แม่เห็น    ว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลง

ขอให้เข้าใจแม่ ว่าแม่แดร์ต่อมุมมองของคนอื่น โดยเพาะอย่างยิ่งมุมมองของคนในเครือญาติ ต่อลูกของตน    ดังนั้นขอให้คุยกับแม่ ว่าเธอรู้และเข้าใจความรักและความห่วงใยของแม่ ที่ต้องการให้ลูกเติบโตเป็นคนดี    และเธอจะไม่ทำให้แม่ผิดหวัง”

อ่านบทนี้แล้ว ผมคิดว่าชีวิตของคนแต่ละคนเปรียบเสมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย    ทางแพร่งระหว่างทางสู่ความดี กับทางสู่การเสียคนดูไม่ต่างกันมาก   และมีมายาความหลอกสวงซ่อนอยู่    พ่อแม่/ครู เป็นคนที่มีคุณค่ายิ่งที่จะช่วยเด็กให้แยกแยะทางทั้งสองได้

 

วิจารณ์ พานิช

๘ เม.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:14 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๓๕. นั่งทำสมาธิซึมซับบรรยากาศการประชุมที่ห้องประชุมสันติไมตรี

พิมพ์ PDF

ผมได้รับการติดต่อทาง อีเมล์ จากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ย. ๕๖ ส่งสำเนาหนังสือเลขที่ ศธ ๐๒๐๘/๓๖๔๔ เชิญประชุม ดังนี้ “ด้วยกระทรวงศึกษาธิการจะจัดประชุม ปฏิรูปการศึกษา ในวันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖  เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี หลังใน ทำเนียบรัฐบาล   เพื่อเสนอสถานการณ์ปัจจุบัน  และแนวทางการปฏิรูป การศึกษาในภาพรวม  การพัฒนา ICT เพื่อการเรียนรู้   และการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ วรรคสาม   โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม”

หนังสือนี้บอกว่าให้ตอบภายในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖   ผมสงสัยว่า คนที่ได้รับหนังสือ ที่ส่งเป็นกระดาษ จะได้รับภายในวันเดียวและตอบทันหรือ   แต่เมื่อไปประชุมเห็นมีข้าราชการผู้ใหญ่ และผู้ได้รับเชิญ มาประชุมเต็มห้อง    รวมเจ้าหน้าด้วย ร่วม ๑๐๐ คน    ก็คิดว่าเขาคงมีวิธีติดต่อนัดหมาย ทางอื่นด้วย

โชคดี ที่ช่วงปลายเดือนกันยายน นัดของผมเบาบางลง    จึงรับนัดนี้ได้    และได้มีโอกาสไปนั่งทำสมาธิ ซึมซับบรรยากาศของการประชุม ที่นานๆ ผมจะมีโอกาสได้เข้าไปประชุมสักครั้งหนึ่ง

สัมผัสแรกของการประชุม ผมรู้สึกว่า ท่านนายกรัฐมนตรีพูดคล่องดี    และต่อมาก็รู้สึกว่าท่านสรุป ประเด็นได้ดี    แต่เมื่อคิดลึกๆ ผมสรุปว่าการประชุมทั้งหมดนั้น มีความลึกซึ้งแบบที่ฝรั่งเรียกว่า skin deep

และเมื่อจบการประชุม ผมเรียนคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่นั่งใกล้ๆ กันว่า    ผมคิดว่า หากดำเนินการตามแนวที่เสนอและสรุป    อีก ๑๐ ปีมาประชุมกันใหม่   จะพบว่าคุณภาพการศึกษาไทย ยิ่งตกต่ำลงไปอีก

ท่านปลอบใจผมว่า เรื่องลึกๆ เอาไปพูดกันข้างนอก    พูดกันที่นี่เอาเรื่องกรอบใหญ่ๆ พอแล้ว    ผมสรุปกับตนเองว่า ผมเป็นคนหน่อมแน้ม คิดทำงานใหญ่ระดับการเมืองไม่เป็น    และโชคดีที่ผมตัดสินใจ ไม่ยกมือขอพูด

การไปประชุมแบบนี้ ถือว่าได้รับเกียรติและการยอมรับนับถือสูงมาก    และผมคิดว่า เป็นการไป ช่วยกันทำหน้าที่ให้แก่บ้านเมือง    โดยไม่มีเงินเบี้ยประชุม หรือค่าเดินทางใดๆ ทั้งสิ้น    แม้การเซ็นชื่อเข้าประชุม ก็ไม่มี   รวมทั้งไม่มีรายงานการประชุมครั้งก่อนๆ เพื่อความต่อเนื่อง   ผมเดาว่า อาจเกิดจากครั้งก่อนๆ ผู้จัดการ ประชุมคือสภาพัฒน์ แต่คราวนี้จัดโดยกระทรวงศึกษาฯ    ปัญหาขาดวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมข้ามหน่วยงาน ข้ามกระทรวงกัดกร่อนสังคมไทยอย่างน่าตกใจ

ไม่ทราบว่าผมมีอคติกับเจ้าหน้าที่ในสถานที่ราชการระดับสูงอย่างทำเนียบรัฐบาลหรือเปล่า    ผมคิดว่าเขาทำงานเป็นแต่ด้านพิธีกรรม    ไม่มีเนื้อใน    และไม่มีความสามารถด้านการจัดการ

อย่างเรื่องการจราจรในทำเนียบรัฐบาลนั้น สับสนที่สุด    มีเจ้าหน้าที่มากมายโดยไม่จำเป็น   ผมเปรียบเทียบระบบการจัดการการจราจรของทำเนียบรัฐบาล กับที่ SCB Park Plaza แล้ว คิดว่าต่างกัน อย่างฟ้ากับดิน    บรรยากาศในทำเนียบรัฐบาลของเราไม่ควรจะต่ำต้อย   ดูสับสน และรกรุงรัง จากการจัดการที่ต่ำขนาดนั้น

ที่จริงเอกสารและสาระในที่ประชุมดีทั้งนั้น   เหมือนกับเอกสารด้านการศึกษาอื่นๆ ของไทย    ที่ถ้าตีความสาระได้ลึก และปฏิบัติได้จริง    ผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษาของประเทศก็จะไม่ตกต่ำขนาดนี้

เรื่องนี้คุณหมอสุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค. ปรารภกับผมในห้องประชุมก่อนเริ่มประชุม   ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง    ผมบอกหมอสุภกรว่า สิ่งที่เขียนกับสิ่งที่ทำเป็นคนละสิ่ง    ไม่แน่ใจว่าคนเขียนกับ คนทำเป็นคนละคนหรือเป็นคนกลุ่มเดียวกัน   ถ้าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน ก็แสดงว่าเขาไม่เข้าใจสิ่งที่เขียนอย่างแท้จริง

ผมกลับมาไตร่ตรองความเห็นที่พูดกับหมอสุภกร แล้ววิพากษ์ตัวเองว่า ผมพูดผิด

คำอธิบายใหม่ของผม    ว่าทำไม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ   และเอกสารนโยบายการศึกษาต่างๆ ของไทย ต่างก็ดีทั้งสิ้น    แต่เมื่อนำมาปฏิบัติ คุณภาพการศึกษากลับเลวลง     อธิบายว่า เพราะใช้กระบวนทัศน์ที่ผิด ในการจัดการ    คือระบบการศึกษาเป็นระบบที่ซับซ้อนยิ่ง (complex-adaptive systems)     แต่การจัดการของ กระทรวงศึกษาธิการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการแบบ simple system    และใช้วิธีการบริหารงานแบบ ล้าสมัย ผิดยุค    คือแบบควบคุม-สั่งการ (command & control)    มีผลให้ครูมีคุณภาพต่ำ

คนมักกล่าวโทษ สาเหตุที่ครูมีคุณภาพต่ำ ว่าเป็นเพราะสังคมไม่เห็นคุณค่าของการเป็นครู    คนที่มาเรียนครูจึงเป็นคนที่แข่งขันไปเรียนอย่างอื่นไม่ได้   ผมเถียง    ว่าแม้สภาพจะเป็นเช่นนั้น   แต่เมื่อมาเป็นครูแล้ว    หากการบริหารงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาครูเป็นไปอย่างถูกต้อง    คุณภาพการศึกษาของเราจะดีกว่านี้มาก

ที่ผ่านมา ๓๐ - ๔๐ ปี และยิ่งนับวัน ระบบการส่งเสริมและพัฒนาครู ก็ยิ่งผิดพลาดมากขึ้นๆ    เพราะเป็นระบบที่แยกตัวครูออกจากศิษย์    ไม่ให้แรงจูงใจครูด้วยผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของศิษย์    และที่ร้ายยิ่งกว่านั้น คือไม่ให้เกียรติครู

บาปจากการไม่ให้เกียรติครูโดยระบบการบริหารการศึกษาในปัจจุบัน ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาไทย ตกต่ำ    ดังคำอธิบายในบันทึกนี้

สรุปว่า การประชุม ๒ ชั่วโมง ต้องการขับเคลื่อน ๓ เรื่อง    คือ การผลิตคนให้ตรงความต้องการ ของนายจ้าง    การพัฒนา ICT เพื่อการเรียนรู้   กับเรื่องการศึกษาทางเลือก

ในบรรยากาศเช่นนี้ ผมนึกถึงคุณมีชัย วีระไวทยะ ทุกที    หากท่านนั่งใกล้ผม และมีคนเสนอว่า ต้องผลิตคนให้ตรงความต้องการของนายจ้าง    ท่านจะกระซิบบอกผมว่า คนไทยเพียง 30% เท่านั้น ที่เป็นลูกจ้าง

ท่านเห็นไหม ว่าการประชุมในทำเนียบรัฐบาลเอื้อผลประโยชน์ของใคร    ผมไม่คิดว่า คนจัดการประชุมจงใจ   แต่น่าจะเป็นเพราะการประชุมนี้ลึกซึ้งในระดับ skin deep มากกว่า

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:29 น.
 


หน้า 420 จาก 556
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5585
Content : 3038
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8557403

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า