Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

มรภ. เลย จัดการสัมมนา นศ. ระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ที่กรุงเทพ และเชิญผมไปบรรยายเรื่อง บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่ และ 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ส.ค. ๕๖

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

ผู้ถามท่านแรก นายฤตธวัช พินิจนึก

 

ผู้ถามท่านที่สอง ผศ. ดร.มัณฑนา อินทุสมิต

 

ถ่ายภาพร่วมกับอาจารย์ที่มาร่วมฟัง

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 03 ตุลาคม 2013 เวลา 06:58 น.
 

บทเรียนดีๆ ที่เยอรมนี กับการพัฒนาทุนมนุษย์ของ กสทช.

พิมพ์ PDF

บทเรียนดีๆ ที่เยอรมนี กับการพัฒนาทุนมนุษย์ของ กสทช.

ผมเขียนมาจากเมือง Boppard ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำไรน์ของเยอรมัน ขณะนำคณะผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนัก กสทช. 26 คนมาศึกษาดูงานเปิดโลกทัศน์ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

การเรียนรู้ในครั้งนี้ ลูกศิษย์ของผมทั้ง 26 คนได้ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ภายในประเทศที่กรุงเทพฯ มาแล้ว 6 วันเต็ม การมาทัศนศึกษาที่เยอรมันทำให้การเรียนมีความหมายและมีคุณค่ามากขึ้น อย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญต่อการทำงานและการพัฒนาองค์กร ต้องทำให้ดี มีประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อผู้เข้าอบรมให้สามารถค้นหาตัวเอง และเกิดแรงบันดาลใจ ที่จะทำประโยชน์สู่องค์กรอย่าง กสทช. เมื่อผมได้มีโอกาสก็จะทำให้ดีที่สุด

มีตัวอย่างที่เคยทำมาแล้วอย่างต่อเนื่องในหลายองค์กร เช่น ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องรวม 9 รุ่น ถือว่าเป็นโครงการที่สร้างผู้นำอย่างแท้จริงและได้ผล

สำหรับสำนักงาน กสทช. รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 หลังจากที่ได้ทำรุ่น 1 ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว หวังว่าจะได้สร้างผู้นำอย่างต่อเนื่อง เพราะกสทช. เป็นองค์กรที่สำคัญและเป็นที่พึ่งของคนไทย

การมาครั้งนี้มีกิจกรรมศึกษาดูงาน 3 แห่ง ดังนี้

แห่งแรกที่เมืองมิวนิค ณ Siemens AG บริษัทที่เก่าแก่กว่า 100 ปี ของเยอรมัน เป็นองค์กรระดับข้ามชาติที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก มีธุรกิจกับประเทศไทยในหลาย ๆ ด้านที่น่าสนใจมาก ก็คือ ซีเมนส์ซึ่งมองอนาคตอยู่เสมอว่าจะเกิดอะไรขึ้น มองแนวโน้มที่สำคัญของโลก และจะปรับตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะวิเคราะห์แนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อสังคม เรียกว่า “Mega Trends” ประกอบด้วย

- ภาวะโลกร้อน

- ประชากรสูงอายุของโลก

- การขยายตัวของเมือง

- โลกาภิวัตน์

ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้ทำให้บริษัทฯ ต้องมีนโยบายที่จะสร้างธุรกิจใหม่เพื่อรองรับ เช่น

- พลังงานทดแทน

- การดูแลสิ่งแวดล้อม

- การสร้างภูมิคุ้มกันกับผู้สูงอายุ เช่น สุขภาพอนามัย และการรักษาพยาบาลแบบใหม่

- และการมองโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นการพัฒนาเมืองที่พึ่มขึ้นใหม่ ๆ อย่างมียุทธศาสตร์

เน้นการสร้างนวัตกรรม Innovations ซึ่งมาจากการลงทุน R&D ของบริษัทเอง ให้สัดส่วนถึง 5% จากรายได้ของบริษัท

การพัฒนา R&D จะเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งมีบทบาทสำคัญและสร้างทุนมนุษย์ที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลกไม่ใช่เน้นเฉพาะคนเยอรมัน ดังเช่น บริษัท ซีเมนส์ฯ ที่ประเทศไทยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นคนไทยหลายตำแหน่ง

ผมคิดว่าบทเรียนสำคัญของ กสทช. คือ กสทช. ต้องกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาวของกสทช.อีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไรโดยดูเรื่อง Trends ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อประเทศไทยและ ASEAN ต้องเตรียมยุทธศาสตร์และทุนมนุษย์ที่จะสร้างในอนาคต ถ้ากสทช.สนใจเรื่องคุณภาพของทุนมนุษย์อย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า กสทช.จะเป็นองค์กรที่คนไทยยอมรับมากขึ้น

จากการที่ได้สัมผัสกับผู้นำทั้ง 26 ท่าน พบว่า มีศักยภาพสูงมากและมีหลากหลายสาขาวิชาชีพ น่าภูมิใจที่จะเป็นหลักของประเทศต่อไป

หน่วยงานที่ได้ไปดูก็คือ Benz ที่เมือง Stuttgart

น่าสนใจที่พวกเราได้เข้าไปดู Museum ของเขา น่าประทับใจมาก ได้รับบทเรียนว่า

-เกิดจากความชำนาญเรื่องวิศวกรรมเครื่องกลของผู้ก่อตั้ง 3 ท่าน

-การจะทำอะไรสำเร็จต้องอดทนต่อเนื่องเป็นเวลานาน ล้มเหลวก่อน จึงสำเร็จ

-ความสำเร็จของ Benz ไม่ได้มาง่ายๆ

แม้จะเป็นรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จ ต้องพบปัญหาอย่างต่อเนื่องใหม่ๆท้าทาย มีอุปสรรคมากมาย ต้องคิดถึงสิ่งที่ผู้บริโภคและตลาดยอมรับ

ได้รับฟังการบรรยายถึงยุทธวิธีของ Benz ในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งคล้ายๆกับซีเมนส์คือ ผู้บริหารจะมองการณ์ไกล บริหารโอกาสและพร้อมรับภัยคุกคามได้อย่างไร

ผมประทับใจตรงที่กว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในระดับต้นๆของโลก ก็ไม่ได้ประมาท ต้องมองอนาคตว่าจะเกิดความท้าทายใหม่จากปัจจัยอะไรบ้าง พัฒนาทุนมนุษย์ของพนักงานบริษัทเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนสร้าง Brand ของตัวเอง เพราะมีปัจจัยท้าทายมากมายเช่น

-ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พอเพียง เช่น ถนนและจราจรที่ติดขัด

-พลังงานแพง

-ปัญหาสิ่งแวดล้อม

-ค่านิยมการใช้รถที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะวัยรุ่นจะมองรถยนต์สำคัญน้อยลง

-คู่แข่งรถยนต์ที่จะเกิดอย่างน่ากลัวเช่นประเทศจีนเป็นต้น

บทเรียนจากทั้งสองบริษัทที่น่าสนใจคือ วิธีการนำเสนอ ทำได้ดี ชัดเจนและเน้นภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท ซึ่งในอนาคต กสทช.จะต้องมีวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์ขององค์กรให้อยู่ในระดับสากล สำคัญที่สุดคือ กำหนดยุทธศาสตร์ของกสทช.ในอนาคต 10 ปีว่า จะนำอะไรไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนที่เสียเปรียบให้มากที่สุด

เป็นองค์กรอิสระซึ่งเป็นที่ไว้ใจของประชาชน ทำงานเพื่ออนาคตของประเทศไทย เช่น มีส่วนร่วมสร้างการศึกษาให้มีคุณภาพ มีส่วนร่วมในการสาธารณสุข แก้ปัญหาส่วนรวม รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย

สุดท้ายที่ Frankfurt ได้เข้าเยี่ยมพบรองกงสุลใหญ่ คุณจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ ผมภูมิใจในตัวลูกศิษย์ทั้ง 26คนมากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านกงสุลอย่างกว้างขวางโดยเน้นถึงปัญหาของประเทศ แสดงให้เห็นว่าการมา Germany ครั้งนี้ ทั้ง 26 ท่านมีความใฝ่รู้ที่กว้างและลึก สามารถที่จะนำความรู้เหล่านี้มาใช้ที่องค์การอย่าง กสทช. เพื่อประโยชน์ของประเทศต่อไป

ภาพบรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 9 กันยายน 2556 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.  ดูงานณ บริษัท Siemens AG เมือง Munich สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับผู้อำนวยการกลุ่มงานของสำนักงาน กสทช. ขอขอบคุณ Mr. Guenther Petrasch,Head of International Relations, CorporateCommunications and Government Affairs (CC GA)  ที่ให้เกียรติบรรยายและต้อนรับคณะเป็นอย่างดี

ภาพบรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 10 กันยายน  2556 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.  มาดูงาน ณ บริษัท Daimler AG เมือง Stuttgart ขอขอบคุณ Mr. Gerd-Udo Hauser, Director Intl. Diplomatic Relations ที่ให้เกียรติบรรยายให้ความรู้แก่คณะ

ภาพบรรยากาศกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 11 กันยายน 2556  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นำคณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช. มาที่สถานกงสุลใหญ่ เพื่อเยี่ยมคารวะพร้อมรับฟังความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมนีจากท่านรองกงสุลใหญ่ นครแฟรงค์เฟริต คุณจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ และท่านกงสุล ภานุฤทธิ์ จำรัสโรมรัน

จีระ หงส์ลดารมภ์

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์ 0-2273-0181


แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2013 เวลา 10:35 น.
 

บทเรียนราคาแพงจากการต่อสู้ของ 2 คู่กัด Obama (โอบามา)/Putin (ปูติน)และ Mayweather (เมย์เวทเธอร์)/Alvarez (อัลวาเรซ)

พิมพ์ PDF

เดือนกันยายนเป็นฤดูฝนที่ถึงแม้น้ำจะไม่ท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ แต่ฝนก็ตกหนักและท่วมเป็นจุดๆ

n ปัญหาม็อบของภาคใต้ยังไม่จบ รัฐบาลอย่าประมาทควรเอาใจใส่แก้ปัญหาหาทางออกให้สำเร็จ

n อนาคตประเทศไทยไปทางไหน ยังไม่มีใครทราบเพราะมีรัฐบาลที่เน้นผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม

n อยากได้รัฐบาลเป็นที่พึ่งระยะยาวของคนไทยทั้งประเทศ แต่ก็ยังไม่มี

n อยากได้รัฐบาลที่มีความรู้ ทันโลกภายนอกได้ พร้อมจะปรับและเปลี่ยนแปลง

n แต่ก็ยังต้องรอไปก่อน

สุดท้ายขอเตือนคนไทยทุกๆ คนว่า ความเสี่ยงเรื่องรักษาวินัยทางการคลัง อันตรายจากการจัดสรรงบประมาณที่เน้นประชานิยมและความตกต่ำทางเศรษฐกิจอันน่าวิตกในระยะยาว

สัปดาห์นี้มีบทเรียนราคาแพงมาฝากผู้อ่านจากการต่อสู้กัน 2 คู่ คู่หนึ่งเป็นระดับการเมือง อีกคู่หนึ่งในระดับกีฬา

ขอพูดเรื่องกีฬาก่อน เพราะในเมืองไทยจะมองกีฬาเป็นเรื่องของผู้สนใจกีฬาเท่านั้น ไม่ได้มองกีฬาเป็นภาพใหญ่เป็นบทเรียนของชีวิตของการทำงาน

ผมโชคดีได้เล่นกีฬาตั้งแต่เด็กๆ ปัจจุบันก็จะออกกำลังกายอยู่เสมอ ติดตามดูและอ่านวิเคราะห์กีฬาอย่างต่อเนื่องเป็นชีวิตที่มีค่า มีความสุขจากการได้บทเรียนดีๆ ปัจจุบันก็ช่วยสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยในฐานะอุปนายกคนที่ 1

ตัวอย่าง คู่กัดที่น่าสนใจคือ มวยคู่หยุดโลก ระหว่าง Mayweather กับ Alvarez มีบทเรียนที่น่าสนใจเป็นควันหลงหลังสามารถนำมาเรียนรู้หลายๆ เรื่อง

Alvarez เป็นชาวเม็กซิกัน หนุ่มกว่า Mayweather เกือบ 13 ปี คือ อายุแค่ 23 ปี แถมยังเป็นนักมวยที่มีน้ำหนักมากกว่าคือ รุ่นใหญ่กว่า

ส่วน Mayweather ถือว่าเป็นนักมวยอายุมาก คือ 36 ปี การชกครั้งนี้แบกน้ำหนักกว่า 15 ปอนด์ ก่อนชกคาดว่านักมวยหนุ่มสด และน้ำหนักมากกว่าน่าจะชนะสบายๆ เพราะมีพละกำลังดีกว่า ฝีมือก็สูสี

แต่ปรากฏผลออกมาผิดคาดเพราะใน 12 ยก ที่ชกกัน Mayweather ชกชนะแบบสบายอย่างคาดไม่ถึง จึงมีบทเรียนวิเคราะห์กันว่า

- ประสบการณ์สำคัญกว่าความหนุ่ม

- ลำพังเพียงความหนุ่มและพละกำลังไม่พอ

อะไรจะสำคัญกว่ากันจากผลของมวยคู่นี้พบว่าความหนุ่มที่มีพละกำลังมากกว่า แต่ขาดประสบการณ์ทำไม่สำเร็จและพ่ายแพ้ในที่สุด

ดังนั้นยุคสังคมผู้สูงอายุในเมืองไทยยังมีประสบการณ์ที่จะช่วยประเทศได้มาก ดังนั้น คนทุกๆ วัยไม่ว่าหนุ่มสาวหรือแก่ ต้องทำงานร่วมกันคือผสมระหว่างประสบการณ์และวัยหนุ่มพลังมากเข้าด้วยกัน ผมจะขอเรียกว่าเป็นระบบ Synergy

แต่ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างวัยหรือระหว่างรุ่น Generation ในเมืองไทยมีมากมายต่างคนต่างคิดว่ามีดีถ้าไม่สร้างสะพาน (Bridge) ให้วัยหนุ่มกับวัยสูงอายุได้ทำงานร่วมกัน ผลงานก็จะได้ไม่เป็นเลิศ

ดังนั้นจึงฝากให้ช่วยกันคิดว่า วัยแก่ที่พยายามเรียนรู้จากวัยหนุ่ม ขณะที่วัยหนุ่มก็ต้องยอมรับฟังและศึกษาประสบการณ์ของวัยสูงอายุด้วย

แต่ที่ยังทำไม่สำเร็จ เพราะยังไม่มีสะพานเชื่อม 2 วัยเข้าด้วยกัน จึงเป็นบทเรียนราคาแพง จึงไม่ไปสู่มูลค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity)

ส่วนอีกคู่ ระหว่างโอบามากับปูตินเป็นบทเรียนทฤษฎีผู้นำของผมเรื่องจังหวะและความเร็วให้เป็นประโยชน์ (Rhythm and Speed) ซึ่งผมได้เขียนไว้ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้นำหลายปีแล้ว

ต้องยอมรับว่าปัญหาซีเรียมีทางออกแบบฉลาดเฉลียวจากการที่ปูตินซึ่งตามปกติจะค้านนโยบายของสหรัฐทุกๆ ด้าน แต่เมื่อปูตินเห็นโอกาสและจังหวะก็ได้แสดงออกมาว่า “ฉันต้องการจะเป็นแนวร่วมกับโอบามา” ด้วยการเจรจาให้ซีเรียยอมรับว่ามีอาวุธเคมีพร้อมที่จะให้สหประชาชาติ ร่วมกับสหรัฐทำลายอาวุธเคมีที่มีอยู่

ผลประโยชน์ของรัสเซียคืออะไร?

1.รัสเซียไม่ต้องการให้มีอิสลามหัวรุนแรงเป็นศัตรูกับรัสเซียในอนาคต ถ้าอิสลามหัวรุนแรงมีอาวุธเคมีด้วย วันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาถล่มรัสเซีย เพราะรัสเซียมีชาวมุสลิมเป็นศัตรูในประเทศอยู่หลายกลุ่ม

2.ประเด็นที่ 2 ในช่วง 20 ปี หลังสงครามเย็น รัสเซียถูกสหรัฐ ครองเป็นเจ้าโลกคนเดียว สหรัฐเป็นผู้นำของโลก การที่ปูตินเสนอให้ทำลายอาวุธเคมีของซีเรียแสดงให้เห็นว่า รัสเซียมีอิทธิพลในความเป็นผู้นำของโลกเท่าๆ กับสหรัฐ หากสำเร็จก็จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

และโอบามาได้อะไร? โอบามาต้องการหลีกเลี่ยงสงครามเพราะต้องใช้เงินมาก เศรษฐกิจไม่แข็งพอ

-ถ้าโจมตีซีเรียก็ไม่จบ คงจะมีผลกระทบต่อเนื่องแบบในอิรักและอเมริกาอาจจะถูกโจมตีกลับ แบบ 9/11

-การใช้วิธีการทูต ให้ได้ถือว่าโอบามาใช้จังหวะและความเร็ว เช่นกัน

แต่ข้อเสียก็คือ คนในอเมริกา มองโอบามาว่าอ่อนแอ ไม่เด็ดขาด ไม่ได้แสดงความเป็นผู้นำให้เป็นที่พึ่งของโลก

ผู้อ่านก็ลองไปคิดว่าบทเรียนของคู่กัดทั้งสองคู่ น่าสนใจและนำมาใช้ได้อย่างไร?

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์ 0-2273-0181

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2013 เวลา 10:38 น.
 

ประเทศไทยช่วงนี้ตกต่ำ 3 เรื่อง

พิมพ์ PDF

ประเทศไทยช่วงนี้ตกต่ำ 3 เรื่อง

- การศึกษา ตกต่ำ แพ้ แม้กระทั่งกัมพูชา

- เศรษฐกิจตกต่ำส่งออก = 0, GDP เหลือ 3%

- ประธานสภาฯ หลงอำนาจตกต่ำทางจริยธรรม

ในระหว่างที่มีเรื่องร้อนๆ ม็อบยางพารา เป็นการแสดงถึงความประมาทและไม่จริงใจของรัฐบาลที่มองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ปล่อยให้บานปลายลุกลามไม่จบซะที คงเป็นประเด็นที่ผู้อ่านต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ส่วนการแสดงศักยภาพของคุณยิ่งลักษณ์ เรื่องเชิญผู้นำของโลกมาสร้างภาพลักษณ์กับประชาธิปไตยของระบอบทักษิณเพื่อปรองดองก็ผิดคาดว่าไม่เป็นไปตามที่คาด เพราะผู้เชี่ยวชาญที่มาโดยเฉพาะโทนี่ แบลร์ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เสียงข้างมากหรือเลือกตั้งเท่านั้น ต้องเป็นประชาธิปไตยที่ทำคุณประโยชน์ให้ประชาชนส่วนใหญ่และต้องเคารพเสียงข้างน้อยด้วย อย่าให้เสียงข้างมากลากไป

ทำให้คนชาวโลก ได้เข้าใจและเห็นปัญหาของรัฐบาลระบอบทักษิณมากขึ้นว่า ชนะเลือกตั้งได้แต่ต้องบริหารประเทศ
ด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ทุกๆ คน หน้าแตกไปตามๆ กัน

สัปดาห์นี้ ผมมีเรื่องจะแบ่งปัน 3 เรื่อง ทั้งหมดเป็นเรื่องของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะวิกฤติและเป็นช่วงตกต่ำสุดขีด ซึ่งคนไทยในประเทศควรสำนึกและช่วยกันหาทางแก้ไขลำพังแค่รอให้มีรัฐบาลที่ดีแก้อย่างเดียวคงไม่ได้ผลจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกๆ คน

โทนี่ แบลร์

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

จาตุรนต์ ฉายแสง

เรื่องแรก เป็นข้อคิดเห็นของลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณชัยพร เหมะ ขอให้ผมวิเคราะห์บทบาทของประธานสภาฯ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

ผมคิดว่า จุดอ่อนของคุณสมศักดิ์มีอยู่หลายเรื่อง แต่เรื่องใหญ่ๆ น่าจะมาจากความสับสนของท่านระหว่าง คำว่า “ผู้นำ”

ผู้นำในความหมายของคุณสมศักดิ์คือ ตำแหน่งหน้าที่กฎหมายรองรับ เช่น ตำแหน่งประธานสภา ตำแหน่งปลัดกระทรวงหรืออธิบดีหรือตำแหน่งรัฐมนตรี

ภาษาอังกฤษเรียกว่า ผู้นำที่มาจาก Authority (รองรับด้วยกฎหมายและกฎระเบียบ) แต่ คุณสมศักดิ์ ท่านลืมไปว่าปัจจุบันการวิเคราะห์เรื่องผู้นำไม่ใช่เรื่องอำนาจหน้าที่เท่านั้น แต่เน้นเรื่องศรัทธา หรือ Trust ที่เกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้น ซึ่งการจะสร้างศรัทธาได้ต้องทำ 4 ขั้นตอน

- Self Trust ศรัทธาตัวเอง นับถือตัวเองก่อน

- Relationship ศรัทธากับความสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น ให้เกียรติพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่เข้าใจแต่พรรคตัวเอง

- Organization Trust ศรัทธาให้องค์กร (สภาผู้แทนฯ)

- Social Trust ศรัทธาที่สังคมทั่วๆ ไปยอมรับ

สรุปคือ ลูกน้องท่านประธานน่าจะนำบทความของผมไปให้ท่านอ่านต่อ เพราะท่านตกทั้ง 4 เรื่อง

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ประธานสมศักดิ์จะถูกคนกล่าวหาว่า

- บ้าอำนาจ

- บ้าส่งให้ตำรวจมาควบคุม สส.เพราะไม่ปฏิบัติตาม

เป็นความตกต่ำอย่างมหาศาลของประธานสภาฯ คนปัจจุบัน

ส่วน การตกต่ำอย่างเสียศักดิ์ศรีของประเทศไทยอีกเรื่องคือ การจัดอันดับ

ดังนั้น การศึกษาอยู่ระดับ 8 ของ ASEAN แพ้ แม้กระทั่งเขมรหรือเวียดนาม เรื่องเวียดนาม ผมคิดว่าเข้าใจรับได้แต่เขมรผมว่ามาก คาดไม่ถึง

ผมติดตามเรื่องนี้มานาน ไปพูดที่กระทรวงศึกษาฯ ช่วงแรกๆ ก็อาจจะถูกข้าราชการประจำโจมตีผมว่าอยู่ข้างนอก ไม่รู้เรื่อง แต่บัดนี้ผลงานประจักษ์ประเทศไทยล้มละลายทางปัญญา ผมพูดมานานก่อนมีการจัดอันดับออกมา ผลของการจัดอันดับครั้งนี้ ทำให้คนไทยตื่นตัวมากขึ้น

ผมคิดว่า มีเหตุผลและปัจจัยหลายๆ ด้าน เริ่มแรก คือ

ค่านิยมของการศึกษา คือบ้าปริญญาแต่ไม่บ้าปัญญา เน้นเพื่อประดับบารมี ไม่เน้นการแสวงหาความรู้และเอาความรู้ไปแก้ปัญหา

- ขาดคุณภาพ มีแต่ปริมาณ

- ขาดวิธีการเรียนรู้ที่นำไปใช้ คือ เรียนแบบตำราโบราณ ไม่เน้นความจริงและก็ลอกๆ กัน และเน้นที่สอบไม่มีการวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนกัน

- มีการร่วมศูนย์อำนาจไว้ ที่ส่วนกลางมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้สถานศึกษามีเสรีภาพ

- ปฏิรูปการศึกษาแต่ปฏิรูปโครงสร้างเป็นแท่งๆ มากขึ้น มี C 11 มากขึ้น แต่ไม่มีการบูรณาการข้ามแท่งหรือปฏิรูปพฤติกรรมของผู้บริหาร

- ครูขาดขวัญกำลังใจ

- เด็กไม่มีความสุขในการเรียน เรียนเพื่อสอบ

การเมืองแทรกแซงมากเกินไป เรื่องการศึกษาครูกลายเป็นฐานเสียงทางการเมืองมากกว่าเป็นมืออาชีพ ผมคิดว่าความตกต่ำครั้งนี้เป็นกระจกส่องให้ต้องปรับปรุงอย่างแท้จริง

ผมเชื่อว่าเรื่องการศึกษาแก้ได้ แต่ต้องแก้ด้วยมืออาชีพและมีการเมืองสนับสนุน เป็นวาระแห่งชาติและต่อเนื่องอย่าทำแบบฉาบฉวย

สุดท้าย

ที่คาดไว้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ประมาณ 4% ตอนนี้คาดว่าคงจะไม่เกิน 3.50% หรือต่ำกว่านั้น แต่ที่น่ากลัวเป็นการตกต่ำอีกเรื่องหนึ่งคือ เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ของแพงทั้งแผ่นดิน ก๊าซขึ้น ทางด่วน ไฟฟ้า ผู้อ่านจึงต้องวิเคราะห์ว่าอนาคตของเศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน?

ถ้าคนไทยยังมีความรู้สึกสบายๆ นายกฯก็เดินทางไปต่างประเทศเดือนละ 2 ครั้ง

ความตกต่ำเหล่านี้ “ใครจะช่วยเราได้”

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์ 0-2273-0181

 

 

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๕. จริยธรรม (๒) ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นตัวของตัวเอง

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21stCentury เขียนโดย Annie Fox, M.Ed.

ตอนที่ ๕นี้ ตีความจากบทที่ ๒How Should I Know What to Do? Doing the Right Thing is Good Karma โดยที่ในบทที่ ๒มี ๔ ตอน ในบันทึกที่ ๔ได้ตีความตอนที่ ๑ และ ๒ ไปแล้ว ในบันทึกที่ ๕ จะเป็นการตีความตอนที่ ๓ และ ๔

ตอนที่ ๓ของบทที่ ๒เป็นเรื่องการทำสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่หวังผลตอบแทน อ่านชื่อหัวข้อแล้ว ผมนึกถึง คนระดับ ๖ และระดับความต้องการตามแนวคิดของ Maslow แต่ข้อความในหนังสือไม่ตรงกันกับที่ผมตีความหัวข้อ คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพสังคมในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่ตกอยู่ใต้แรงกดดัน และการรังแก จากเพื่อน เพราะวัยรุ่นมีความต้องการการยอมรับจากเพื่อนสูงอย่างไร้เหตุผล

ผมอ่านสาระในตอนนี้แล้วตีความว่า เป็นเรื่องของการเคารพตนเอง และเคารพคนอื่น (เพื่อน) เด็กและเยาวชนต้องได้รับการฝึกฝนให้มีความเคารพตนเอง (มั่นใจตนเอง) และเคารพคนอื่น (เพื่อนๆ) ในเวลาเดียวกัน ให้พื้นฐานจิตใจส่วนนี้แข็งแรงมั่นคง เพื่อให้บังคับใจตนเองให้มีการ ตัดสินใจอย่างยึดมั่นในคุณธรรม (ethical decision-making) ได้ แม้ยามมีอารมณ์ชั่ววูบ ไม่ปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบนั้นเข้าครอบครองตัวตน จนแสดงพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายหรือรังแกผู้อื่น ผู้เขียนใช้คำว่า thoughtful reflective behavior

คำถามของครูของลูกผู้เขียน ตนพบว่าลูกชายวัยรุ่นของตนมีนิสัยเอาแต่ใจตัว ชอบบังคับเพื่อนหญิงให้ทำตามที่ตนต้องการ เมื่อเพื่อนไม่ทำตามก็ทิ้งเพื่อน ตนเองเป็นแม่ที่เลี้ยงลูกคนเดียว จึงเสียใจมาก ที่ลูกมีนิสัยเช่นนี้ ตนจะคุยกับลูกอย่างไรดี

คำตอบของผู้เขียน หลักการพูดกับลูกวัยรุ่นคือ ให้หลีกเลี่ยงการเทศนา หรือสั่งสอนลูก แต่ให้ตั้งคำถามให้ลูกคิด และให้เป็นฝ่ายรับฟังลูกมากกว่าเป็นผู้พูด ผู้เขียนแนะนำให้หาโอกาสคุยกับลูกชายเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อน ทั้งเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ ใครก็ตามที่อยากได้เพื่อนที่ดี ตนต้องเป็นเพื่อนที่ดีก่อน เพราะความสัมพันธ์เป็น ถนนสองทาง เราต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราต้องการให้เขาดีต่อเราอย่างไร เราต้องดีต่อเขาอย่างนั้น ผู้เขียนแนะให้แม่ถามลูกชายว่า รู้ไหมว่าเพื่อนชายที่ดีเป็นอย่างไร แล้วให้ปิดปากไม่พูดอะไรอีก

ถ้าลูกชายตอบว่า ผมไม่ทราบ ก็ให้บอกว่า ถ้าอย่างนั้นแม่จะบอกให้ ในฐานะที่แม่เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ชอบให้มีคนมากดดันให้ทำในสิ่งที่ตนไม่พร้อมที่จะทำ ผู้ชายที่กดดันผู้หญิงเพื่อความต้องการของตนเองฝ่ายเดียว เป็นคนที่ไม่เคารพอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้หญิงที่ดี เป็นคนที่เคารพตนเอง และจะไม่ยอมทำตามแรงกดดันใดๆ และจะบอกให้อีกฝ่ายหนึ่งเลิกกดดัน ลูกเองมีสิทธิที่จะบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้เลิกกดดันให้ลูกทำสิ่งที่ลูกไม่ชอบ และต้องเคารพในสิทธิของเพื่อนหญิงที่จะบอกให้ลูกเลิกกดดันในเรื่องนั้น

ตอนที่ ๔ ของบทที่ ๒ เป็นเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของแรงกดดันจากเพื่อน (peer pressure) ผู้เขียนแนะนำให้พ่อแม่/ครู ชวนเด็กทำแบบสอบถามตรวจสอบความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งเขามีคำเฉพาะว่า Sheeple Quiz แล้วนำผลมาคุยกัน เพื่อให้เด็กเข้าใจว่า ตนต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นเหมือนแกะในฝูง ที่ทำตามๆ กันไป

ผมเองมองต่างจากข้อเขียนในตอนนี้ ว่าการเรียนแบบ PBL และเรียนเป็นทีม ที่มีช่วงเวลา reflection/AAR จะค่อยๆ หล่อหลอมทักษะการเป็นตัวของตัวเอง และเคารพความแตกต่างของคนอื่น ขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เป็นทักษะที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติและเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว หากค่อยๆ หล่อหลอมตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ เมื่อเข้าวัยรุ่น สภาพตกเป็นเหยื่อของแรงกดดันจากเพื่อน ก็จะไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก การเรียนรู้ที่ถูกต้องในวัยเด็ก จึงเป็นการป้องกันปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นไปโดยปริยาย หรือกล่าวในมุมกลับว่า สภาพปัญหาการข่มเหงรังแก และพฤติกรรมถูกกดดันจากเพื่อน เป็นอาการของความผิดพลาดของระบบการศึกษา

คำถามจากครูของลูกผู้เขียน พ่อแม่ส่วนใหญ่กลุ้มใจที่ลูกทำตามกระแส แต่ตนกลุ้มใจจากพฤติกรรมตรงกันข้ามของลูกสาว คือเธอชอบนุ่งกางเกงขาสั้นและเสื้อเชิ๊ร์ตของผู้ชาย ข้อดีคือเธอไม่บ้าผู้ชาย แต่ก็ไม่แต่งผมแบบผู้หญิง ตนอยากให้ลูกสาวเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็กังวลว่าลูกสาวจะเป็นพวกต่อต้านประเพณีนิยม และเป็นห่วงว่าลูกสาวไม่มีเพื่อน เพราะทำตัวแตกต่างมาก ตนควรตักเตือนลูก หรือปล่อยให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง

คำตอบของผู้เขียน จงมองลูกในแง่ดี และมองหาแง่ดีของลูกให้พบ และเลิกวิตกกังวลกับลูกสาว เพราะลูกเป็นคนเข้มแข็ง กล้าแตกต่าง สิ่งที่แม่ควรทำคือเน้นให้ positive reinforcement แก่ลูก เพื่อให้ลูกค่อยๆ ค้นพบตัวเอง จงส่งเสริมให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ให้ลูกเป็นอย่างที่แม่อยากให้เป็น

จะเห็นว่า การหล่อหลอมให้เด็กเติบโตเป็นคนดีนั้น เกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมาก ในหลายกรณีพ่อแม่หลงทำร้ายลูกด้วยความรัก และความปรารถนาดีต่อลูก โดยการตั้งความหวังให้ลูกเป็นอย่างที่ตนต้องการ ไม่ได้เน้นส่งเสริมสนับสนุนให้เขาเติบโตเป็นคนดีตามแบบที่ตัวเขาเองอยากเป็น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ มี.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 ตุลาคม 2013 เวลา 08:11 น.
 


หน้า 441 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610235

facebook

Twitter


บทความเก่า