Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โกงเมืองในภาคธุรกิจสหรัฐอเมริกา

พิมพ์ PDF

โกงเมืองในภาคธุรกิจสหรัฐอเมริกา

นสพ. The Wall Street Journal วันที่ ๒๗ - ๒๙ ก.ย. ๕๖ ลงข่าว J.P. Morgan CEO Takes His Case to Washington

ข่าวบอกว่าธนาคาร J.P. Morgan Chase & Co. น่าจะเจรจาขอรอมชอมกับอธิบดีกรมอัยการของสหรัฐ    ยอมจ่ายเงิน$11,000 ล้าน   หรือประมาณ 350,000 ล้านบาท    แลกกับการไม่โดนดำเนินคดีอาญาฐานทุจริตฉ้อโกง รวม ๗ คดี

การกระทำผิดเกิดช่วงปี ค.ศ. 2005-2007 และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา    ที่เรียกว่า Subprime Mortgage Crisis ในปี 2008  ก่อผลสะเทือนไปทั่วโลก    และยังส่งผลจนถึงปัจจุบัน จากมาตรการแก้ไขอัดฉีดเงินออกสู่ตลาด

ข่าวบอกว่า ในปีที่แล้ว มีการตกลงจ่ายเงินชดเชยการทำผิดเรื่องวิกฤติฟองสบู่การกู้เงินซื้อบ้านนี้ เป็นคดีใหญ่ๆ รวม ๕ คดี   รวมเงิน $25,000 ล้าน    แต่หาก J.P. Morgan ยอมจ่าย $11,000 ล้าน    ก็จะเป็นก้อนเงินที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทหนึ่งยอมจ่าย แลกกับการไม่โดนฟ้อง ในคดี Subprime Crisis

เป็นการเรียนรู้ด้านลบของระบบทุนนิยม ที่เน้นกำไรสูงสุด   ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 07:18 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : 2003a. ไม่รับบรรยาย 21st Century Learning แก่สถาบันเดียว

พิมพ์ PDF
หากเป็นเรื่องของสถาบันเดียว ผมจะไปเป็นวิทยากรกระบวนการของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ของการประยุกต์ใช้ วิธีจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning นั่นคือ สถาบันต้องจัด case study อย่างน้อย ๓ กรณีมานำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อยกระดับความรู้ภาคปฏิบัติ สู่การดำเนินการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ให้นักเรียน/นักศึกษา ได้รับประโยชน์มากขึ้น

ชีวิตที่พอเพียง : 2003a. ไม่รับบรรยาย 21st Century Learning แก่สถาบันเดียว

ในช่วงเวลาประมาณ ๒ ปีที่ผ่านมา    ได้มีความตื่นตัวเรื่องการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑   ที่รูปแบบการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปจากวิถีปฏิบัติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างสิ้นเชิง    ผมได้เขียน บล็อก ออกเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมาย    รวมทั้งได้รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสืออกเผยแพร่ทั้งเป็น eBook ให้ download ได้ฟรี    และพิมพ์เป็นเล่มออกจำหน่าย    บางเล่มเป็นหนังสือขายดี

บัดนี้ น่าจะถึงยุคลงมือทำเสียที    ไม่ใช่ยุคฟังคำบรรยายแนวคิดใหม่วิธีการใหม่อีกแล้ว

จึงขอประกาศว่า ต่อไปนี้ผมไม่รับไปพูดแบบบรรยายเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ให้แก่สถาบันใดสถาบันหนึ่ง    ที่จัดเป็นการภายในของสถาบันอีกต่อไป

หากเป็นเรื่องของสถาบันเดียว    ผมจะไปเป็นวิทยากรกระบวนการของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ของการประยุกต์ใช้ วิธีจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning นั่นคือ สถาบันต้องจัด case study อย่างน้อย ๓ กรณีมานำเสนอ   และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อยกระดับความรู้ภาคปฏิบัติ   สู่การดำเนินการอย่างเป็นระบบมากขึ้น    ให้นักเรียน/นักศึกษา ได้รับประโยชน์มากขึ้น

ต่อไปนี้ 21st Century Learning Movement ของสังคมไทยต้องเข้าสู่ยุคปฏิบัติ   เพื่อให้ศิษย์ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง    ไม่ใช่วนเวียนอยู่ที่ผลประโยชน์ของครู    ที่ฟังบรรยายแล้วคิดว่ารู้ หรือมีความสุขจากการฟัง แต่ไม่เอาไปปฏิบัติ

ครู/อาจารย์ ไทย ต้องทำตัวเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    โดยลงมือทำ    แล้วนำผลของการกระทำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   เพื่อให้เกิดผลดีต่อศิษย์ยิ่งขึ้น   และเมื่อ Learning Outcome ของศิษย์สูงขึ้น   ครูและโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ก็มีชื่อเสียง    มีความภาคภูมิใจ    ในสภาพเช่นนี้ผมยินดีเข้าร่วมขบวนการเต็มที่

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 07:34 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : 2003. เดินออกกำลังที่ตลาดหาดใหญ่

พิมพ์ PDF

เช้ามืดวันที่ ๓๐ ส.ค. ๕๖ ผมออกจากโรงแรมเซนทารา กลางเมืองหาดใหญ่   เดินออกไปทางถนน สาย ๓หรือนิพัทธ์อุทิศ ๓ เดินไปทางทิศใต้   ความรู้สึกแรกคือความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่าตอนที่ผมออกมาวิ่งเมื่อหลายปีที่แล้ว อย่างมากมาย   ทางเท้าปูด้วยกระเบื้องเคลือบสวยงาม และเป็นสีและลายชุดเดียวกันทั้งหมด   และไม่มีเสาไฟและสายไฟริมถนน รกรุงรังอีกแล้ว    ทราบภายหลังว่า ทางเทศบาลจัดการเอาลงใต้ดินหมด

ยามเช้าวันนี้อากาศเย็นสบาย   รถยังมีน้อยมาก จึงไม่มีเสียงหนวกหู   และไม่รู้สึกว่ามีมลพิษทางอากาศอย่างในเมือง โดยทั่วไป    ผมเดาว่าอีกสักชั่วโมงเดียว อากาศและบรรยากาศก็จะไม่ดีอย่างนี้

เดินผ่านมูลนิธิสงเคราะห์คนชราอนาถา อยู่ติดกับสมาคมกว๋องสิว ทำให้ผมนึกชมสปิริตคนจีน   ที่มีจิตสาธารณะ และจิตกุศล รวมตัวกันบริจาคเงินตั้งสมาคมและมูลนิธิช่วยเหลือกัน   โดยเฉพาะช่วยเหลือคนชราอนาถา    ที่หาดใหญ่มีหลายมูลนิธิ   ทำอย่างไรสังคมไทยจะปลูกฝังจิตสาธารณะให้เข้มแข็งเช่นนี้บ้าง

ผมเดินไปจนสุดถนนสาย ๓ แล้วเลี้ยวขวา ไปสู่ถนนสาย ๑  ผ่านร้านที่ผมคิดถึงบ่อยๆ และไม่ได้ไปกินนานมากแล้ว  ชื่อร้านเจ็งง้วน อยู่ปลายสุดถนนสาย ๑ ทางทิศใต้   ลักษณะของร้านยังเหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน คือไม่หรูหรา    สมัยผมไปกิน อาหารอร่อยและมีลักษณะจำเพาะ   ได้แก่ปลากระบอกนึ่งเกลือ   เต้าหู้ทอด (กินกับน้ำจิ้มคือน้ำเกลือใส่ต้นกระเทียมหั่น  หากใช้น้ำจิ้มผิด จะโดนดุ)  แฮ่กึ๊น  ฯลฯ

ผมเดินขึ้นเหนือไปตามถนนสาย ๑   ถ่ายรูปถนนและอาคารบ้านเรือน   จนไปพบคนกำลังเอากรงนกกรงหัวจุกมาแขวนที่หน้าร้านหลายกรง    ความชอบนกชนิดนี้ ทำให้ผมอดถ่ายรูปไม่ได้    สมัยผมอยู่หาดใหญ่ ผมเลี้ยงนกชนิดนี้ และชนิดอื่นๆ ที่บ้านพัก    ช่วงที่บ้าเลี้ยงนก ผมเลี้ยงราวๆ ๒๐ ตัว

เดินผ่านอาคารเก่าที่เดาว่าเขาคงอนุรักษ์ไว้    มีการปรับปรุงและทาสีใหม่หลากสีสวยงามเป็นลูกกวาดทีเดียว

ตอนเช้าเช่นนี้ ร้านที่เปิดมักเป็นร้านอาหาร ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารจีน จำพวกแต้เตี๊ยม   และมีร้านอิสลามด้วย

การได้ไปเดินออกกำลังกายและชมบรรยากาศ และชีวิตผู้คนยามเช้าที่หาดใญ่วันนี้ ทำให้ผมรำลึกถึงวันเก่าๆ   ที่ผมไปอยู่ที่หาดใหญ่เกือบ ๒๐ ปี   ผมแทบไม่เคยได้มาชมบรรยากาศยามเช้าตรู่ในเมืองเช่นนี้ เป็นการทำความรู้จักซึมซับบ้านเมือง และชีวิตผู้คนที่ดีมาก

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ส.ค. ๕๖

 

มูลนิธิสงเคราะห์คนชราอนาถา

สมาคมกว๋องสิวหาดใหญ่

ร้านเจ็งง้วน

นกกรงหัวจุก

 

ทางเท้าและถนนที่เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

 

อาคารเก่า

 

อาคารเก่าทาสีลูกกวาด

 

บรรยากาศสวยงาม

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 07:46 น.
 

ขอความร่วมมือทางออนไลน์จากประชาชนได้อย่างไร

พิมพ์ PDF

ดิฉันเองคิดว่า การที่ สรอ. เข้ามาสนับสนุนการเติบโตของชุมชน GotoKnow ของเรา และ สรอ. ได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกในประเด็นต่างๆ ของ สรอ. ขอความรู้ หรือที่เรียกว่า Crowdsourcing เพื่อนำไปประกอบการกำหนดนโยบายทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นโครงการที่มีประโยชน์มากนะคะ

เช่น ในปีที่ผ่านมา สรอ. ขอความรู้จากชุมชน  GotoKnow ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และข้อมูลที่ได้ทางทีมงานก็นำมารวบรวมและสกัด แล้วจึงนำมาเผยแพร่ต่อในเวลาต่อมา นี่เป็นตัวอย่างต้นแบบในการบูรณาการด้าน e-Participation หรือ การมีส่วนร่วมของประชาชนทางออนไลน์ กับด้าน e-Policy ค่ะ

แต่นี่ก็คงเป็นแค่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ค่ะ สรอ. ยังสามารถทำอะไรได้อีกเยอะแยะกับการสร้าง e-participation ค่ะ เช่น การทำ votes และ polls หรืออาจจะเป็นการ online public decision making ในระดับต่างๆ เป็นต้น

แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือทำอย่างไรจึงจะได้ความใส่ใจและความกระตือรือร้นจากประชาชนในต่อการมีส่วนร่วมเหล่านี้อย่างต่อเนื่องทางออนไลน์

ดิฉันคิดว่าไม่ยากนะคะแต่ต้องทำอย่างจริงจังค่ะ ด้วยวิธีการเหล่านี้ค่ะ เช่น

 

  1. สรอ. ควรมีเว็บไซต์กลางของการทำ e-participation ค่ะ
  2. สื่อสารออนไลน์กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ จะสั้นแบบรายวัน หรือจะยาวหน่อยแบบรายสัปดาห์ และมีหลายช่องทางให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารได้ค่ะ
  3. นอกจากมีเนื้อหาที่เกิดขึ้นจากทางภาครัฐแล้วควรจะสร้างให้เกิดเนื้อหาจากทางประชาชน แสดงให้เห็นการสื่อสารแบบสองทางที่เป็นไปอย่าง active ไม่ใช่มีเพียงแค่ข้อมูลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงด้านเดียวค่ะ
  4. โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสำคัญกับการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Contribution) ของประชาชนค่ะ เช่น hilight ประโยคเด่นของประชาชน เป็นต้น
  5. ชี้แจงกันให้ชัดค่ะว่า ข้อมูลจากประชาชนได้นำใช้เป็น input ในด้านอะไร และเผยแพร่ผลลัพธ์ให้ประชาชนได้ทราบด้วยค่ะ

น่าสนุกนะคะ ถ้ามีให้วิธีการมีส่วนร่วมทางออนไลน์ของประชาชนมากกว่าวิธีการทำ Crowdsoucring อย่างที่ทำใน GotoKnow แต่อย่างไรก็ตามประชาชนควรได้เห็นประโยชน์และได้เห็นผลลัพธ์ด้วยค่ะ

 

รบกวนขอความเห็นจากทุกท่านด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จันทวรรณ

 

บริการออนไลน์ของรัฐมีครอบคลุมแล้วหรือยังค่ะ

พิมพ์ PDF

เมื่อพูดถึงคำว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ดิฉันเชื่อว่าหลายๆ ท่านจะคิดถึงการให้บริการออนไลน์ของรัฐเป็นสิ่งแรกค่ะ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการนำเอาบริการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องไปรับบริการมาอยู่บนออนไลน์ให้ได้มากที่สุดค่ะ

 

การจะทำรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ น่าจะเริ่มที่บริการพื้นฐานทั้งหลายจะต้องนำมาเป็นบริการออนไลน์ให้หมดค่ะ และให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ทางออนไลน์ค่ะ ไม่ใช่มีเว็บไซต์เพียงเพื่อขอแบบฟอร์มแล้วต้องไปแจ้งยื่นเรื่องต่อที่หน่วยบริการนะคะ

มีบริการอะไรอีกบ้างค่ะที่ทุกท่านอยากให้มีทางออนไลน์ ดิฉันคงคิดคนเดียวไม่หมดนะคะ

  • จ่ายค่าสาธารณูปโภค
  • ทำบัตรประชาชน
  • แจ้งย้ายที่อยู่
  • แจ้งเกิด แจ้งตาย
  • จ่ายภาษี
  • เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าปรับ
  • การจัดการบ้าน ที่ดิน รถ

รบกวนขอความเห็นจากทุกท่านด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จันทวรรณ

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 07:50 น.
 


หน้า 443 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610235

facebook

Twitter


บทความเก่า