Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

พิมพ์ PDF
แง่คิดที่น่าสนใจของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า 
บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค 
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง 
ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว 
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย 
ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ 
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย 
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน 
นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น 
อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ล. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น 
ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง 
อาจารย์รุจิระ บุนนาค 
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 09:38 น.
 

ความหมายของแรงงาน

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญจากกระทรวงแรงงานให้เป็นวิทยากรปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ตลาดแรงงานฝีมือกับโลกการค้าเสรี ในวันที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 10.45-11.45 น

โจทย์ที่ได้มากว้างมากแถมมีเวลาแค่ 1 ชั่วโมง และไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้เข้ารับฟังเป็นใครมาจากไหน หลังจากทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้จัดงานทำให้ตัดสินใจ พูดเรื่องความหมายของแรงงาน ก่อนที่จะเข้าเรื่องตลาดแรงงานและเชื่อมโยงไปถึงโลกการค้าเสรี

 

ค้นพบรายงานวิจัยฉบับหนึ่ง กล่าวถึงความหมายของแรงงานไว้น่าสนใจดังนี้

"แรงงานมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้า และเป็นทุนมนุษย์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นได้ ตามความหมายของแรงงานเป็นประชากรที่อยู่ในวัยทำงานที่สามารถทำงานได้โดยใช้กำลังกายและกำลังความคิดที่มีหลายระดับความรู้ ความสามารถอันเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ซึ่งความหมายของแรงงานมีคำที่เกี่ยวข้องหลากหลายคำ ได้แก่ กำลังคน และกำลังแรงงาน นอกจากนี้ยังมีความหมายที่แบ่งย่อยลงไปเป็น ผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน ผู้ที่อยู่และไม่อยู่ในกำลังแรงงาน โดยที่ผู้มีงานทำยังจำแนกได้ตามสาขาการผลิตอีหลายประเภท ซึ่งแรงงานในทุกสาขาการผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสร้างประโยชน์ทั้งในระดับสถานประกอบการ สังคม และประเทศชาติ"

หลังจากได้ทำความเข้าใจกับข้อสรุปเบื้องต้น ผมได้สรุปความหมายของแรงงานในความเข้าใจของผมดังนี้

"แรงงานหมายถึงทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านการบริหารจัดการจนทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ"

แรงงานแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1  แรงงานฝีมือ (Skilled Labor) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งนี้ ความชำนาญในงานอาชีพสามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานด้วยตนเองได้

2  แรงงานกึ่งฝีมือ (Semi-skilled Labor) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติที่มีความชำนาญเพียงบางส่วนของงานอาชีพ

3  แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Labor) หมายถึง ผู้ที่ทำงานโดยใช้กำลังกาย ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญ เพียงได้รับคำแนะนำบ้างเล็กน้อยก็สามารถทำงานได้

จากการแบ่งประเภทแรงงานดังที่กล่าวไว้เบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า กระทรวงแรงงานได้พุ่งเป้าไปที่แรงงานในภาคการผลิตสินค้า และแรงงานด้านก่อสร้างเป็นหลัก ไม่ได้เน้นถึงแรงงานที่ใช้ความคิดและแรงงานในภาคบริการที่นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น

กระแสสังคมไทยในปัจจุบัน เน้นให้คนไทยจบการศึกษาระดับปริญาตรีเป็นอย่างต่ำ จึงไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและก่อสร้างที่เน้นแรงงานขั้นต่ำไม่จำเป็นต้องจบปริญาตรี

พูดถึงตลาดแรงงาน ต้องกล่าวถึงตลาดแรงงานในประเทศหรือตลาดแรงงานต่างประเทศ แรงงานคนไทย หรือแรงงานต่างด้าว

นักศึกษาจบปริญญาตรีไม่สามารถหางานที่ต้องการได้  ผู้ประกอบการไม่สามารถหาแรงงานที่มีคุณภาพได้  แรงงานขาดตลาด จึงทำให้ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่คนไทยไม่ต้องการทำ

สรุปได้ว่าในอนาคตประเทศไทยจะขาดแรงงาน ให้เตรียมรับแรงงานต่างด้าวในทุกระดับ แรงงานก็จะมีตำแหน่งงานมากขึ้นทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่มีแรงงานต่ำอีกต่อไป จะต้องพัฒนาคนไทยให้มีรายได้สูง และธุรกิจบริการจะเป็นธุรกิจที่เหมาะสมกับประเทศไทย

สำหรับความหมายของ "โลกการค้าเสรี" หมายถึงโลกสมัยนี้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน การกีดกันทางการค้าจะค่อยๆหมดไป การค้าจะเสรีมากขึ้น การค้าระหว่างประเทศจะมีความสำคัญมากขึ้น ตลาดการค้าจะเป็นตลาดโลก ค้าขายกับคนต่างชาติมากขึ้น ทำงานร่วมกับคนต่างชาติต่างศาสนา ตลาดแรงงานจะเป็นตลาดสากล อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศคงไม่ง่ายอย่างที่เข้าใจ แต่ละประเทศยังคงปกป้องคนของแต่ละประเทศไม่ให้ถูกต่างชาติมาแย้งงานทำ แต่ถ้าเข้าใจถึงกลไกการตลาด และยอมรับความจริงต้องเตรียมพร้อมในการแข่งขันในเวทีสากลสำหรับผู้ประกอบการ และแข่งขันในตลาดโลกสำหรับแรงงานระดับกลางขึ้นไป

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 10:08 น.
 

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

พิมพ์ PDF
วิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

ผมพบบทความที่น่าสนใจและคิดว่าเป็นประโยชน์ แต่ไม่สามารถค้นพบชื่อผู้เขียน จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ในบันทึกนี้ และต้องขอโทษที่ไม่สามารถแจ้งชื่อเจ้าของผลงานได้ กรณีที่ท่านเจ้าของบทความได้เข้ามาอ่านขอให้ท่านช่วยแสดงตัวด้วยครับ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าท่านผู้เขียนต้องได้รับบุญในผลงานของท่าน

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เกาถูกที่คัน ” หรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรค หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่าเราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างที่จะสำรวจ ค้นหาและประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้ายผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่าปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหามากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหาน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเราในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไรก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคนดังนี้

•  กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์

เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวมทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน

•  เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา

เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้ายวิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง

•  การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้นสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัยที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆโดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึกที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ

•  การประเมินระดับของปัญหา

เมื่อแน่ใจว่าปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้องและสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กรอะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่าปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อนจึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน

•  จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร

เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมดมาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอกเข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อยเราจะได้มั่นใจได้ว่าแผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ)

•  การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร

เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหาอาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผลควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน/ทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้(ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขหรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น

สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา
วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาบุคลากรขององค์กรควรจะทำอย่างเป็นระบบและเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มากเพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆมาไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตามควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ สุดท้ายนี้หวังว่าทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 10:12 น.
 

คนไทยควรเตรียมตัวอย่างไรกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พิมพ์ PDF
เป้าหมายจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558

การประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปี 2546  ผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ภายในปี พ.ศ.2558 โดยมีเป้าหมายให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี

แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC ในส่วนของการค้าบริการ มีเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การค้าบริการของอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ตามที่ปรากฎในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC Blueprint) สาระสำคัญของแผนงานประกอบด้วย

  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสาขาบริการสำคัญ 4 สาขา ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ, e-ASEAN (คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม) สุขภาพ และการท่องเที่ยว
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขา โลจิสติกส์ ภายในปี พ.ศ.2556
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขาอื่นๆที่เหลือภายในปี พ.ศ.2558

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลกระทบกับใครบ้าง ? ( ประชาชน ผู้ประกอบการ ประเทศชาติ ในด้าน เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ , ความมั่นคงของประเทศ,สังคม/สิ่งแวดล้อม)

ผลกระทบจะมีทั้งด้านบวก และด้านลบ

รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดขึ้น

ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านบวก ก็ควรจะแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านลบ ควรจะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม แต่ท้ายสุดผู้ได้รับผลกระทบจะต้องพิจารณาและหาทางปรับการบริหารและจัดการของตัวเองเพื่อให้เปลี่ยนจากปัญหาให้เป็นโอกาส

ไม่ว่าจะมีการเปิดเสรีการค้าหรือไม่ ผู้ประกอบการและประชาชน ต่างได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบกันเป็นปกติอยู่แล้ว

ผู้ที่ไม่ประมาท รู้จักการเรียนรู้ และเตรียมการอย่างมีแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ย่อมสามารถยืนหยัดอยู่ในเวทีโลกได้อย่างมั่นคง

ขอให้คนไทยทุกท่านได้ทำการศึกษาและเรียนรู้เรื่องการเปิดเสรีการค้า และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนอย่าจริงจัง และเตรียมการให้พร้อมเพื่อเป็นผู้ได้รับผลกระทบด้านบวก

โปรดแสดงความคิดเห็นหรือสอบถามข้อสงสัยได้ในเวทีนี้ครับ มาร่วมกันแสดงปัญญาเพื่อสร้างพลังให้กับคนไทยก่อนที่จะเป็นประชาคมอาเซี่ยนแบบสมบูรณ์ในปี 2558 ที่จะมาถึงในเร็วๆนี้

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

 

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวพร้อมแค่ไหนกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ?

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ให้บริการกับนักท่องเที่ยว และนักเดินทาง ทั้งคนในประเทศและคนจากต่างประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยวหลักที่อยู่ในกรอบของการเจรจาการค้าประกอบด้วย

1.การบริการด้านโรงแรมและร้านอาหาร

2.ตัวแทนการท่องเที่ยวและการบริการจัดการท่องเที่ยว

3.การบริการมัคคุเทศก์ (ไม่มีข้อผูกพันเปิดตลาด)

4.การบริการท่องเที่ยวอื่นๆ

แนวทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจด้านบริการท่องเที่ยว

1.ไม่มีข้อจำกัดการให้บริการข้ามพรมแดน

2.ทยอยให้ต่าชาติ(สมาชิกในกลุ่มอาเซียน)ถือหุ้นได้ถึง 70% ภายในปี 2553

3.ให้คนต่างชาติ(สมาชิกในกลุ่มอาเซียน)เข้ามาทำงานได้มากขึ้น

 

การเตรียมความพร้อมในการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ภาคเอกชน เร่งศึกษากฎเกณฑ์ ข้อตกลงรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงต่างๆอย่างเต็มที่ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการกับภาครัฐอย่างใกล้ชิด

ภาครัฐ กำหนดทิศทางนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจน เผยแพร่ความรู้ / ความคืบหน้าการดำเนินการให้ภาคเอกชนรับทราบเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมมาตราการป้องกันเหตุฉุกเฉินและมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านลบ มีมาตราการและกลยุทธ์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นรูปธรรมและช่วยเหลือได้จริง มีกลยุทธ์และนโยบายสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านบวก ให้มีการต่อยอดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้มากยิ่งขึ้นและนำผลประโยชน์โดยรวมให้กับประเทศชาติ

 

ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวไทย

จุดแข็ง

1. แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย ประกอบด้วย สถานที่ธรรมชาติ ทะเล ป่า เขา และสถานที่เกิดขึ้นโดยการจัดการของมนุษย์ ได้แก่สถานที่เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม โบราณสถาน และชุมชนต่างๆ ที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างแสดงถึงอารยะธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน

2.คนไทยมีความละเอียดอ่อน มีรอยยิ้มที่เป็นไมตรี และการให้อภัย เหมาะกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว

3.บุคคลากรด้านการท่องเที่ยวมีประสบการณ์สูงและมีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ

จุดอ่อน

1.การบริหารจัดการไม่เป็นระบบสากล โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2.ทักษะด้านภาษายังไม่ดีเท่าที่ควรสำหรับมัคุเทศก์ที่เป็นนักศึกษาจบใหม่

3.ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยมีขนาดเล็กเงินทุนต่ำเนื่องจากส่วนมากเป็นธุรกิจครอบครัว ขาดการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ

โอกาส

ผู้ประกอบการคนไทยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจการให้บริการด้านการท่องเที่ยว มากกว่าผู้ประกอบการชาติอื่นในอาเซียน มีโอกาสเข้าไปร่วมทุนหรือเข้าไปรับบริหารจัดการในประเทศอื่นๆในอาเซียน ตลาดใหญ่ขึ้น แต่การแข่งขันจะสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจของตัวเองให้มีบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง และมีโอกาสสร้างเครือข่ายเข้าไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ

สำหรับผู้มีอาชีพการให้บริการท่องเที่ยว ที่มีทักษะและความรู้ในด้านการให้บริการที่เหนือกว่าชาติอื่นๆในอาเซียน มีโอกาสหางานที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากขึ้น

อุปสรรค์

การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ทำให้เกิดการแข่งขันในทางที่ผิด ใช้กลโกงและการตัดราคา ทำให้การบริการตกต่ำ การไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ และการเอาเปรียบแรงงานของผู้ประกอบการ เลือกจ้างแรงงานต่างชาติที่มีค่าจ้างถูกกว่า

ภาครัฐไม่เข้าใจกลไกของธุรกิจท่องเที่ยวอย่างแท้จริง และขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจัง

 

ผมโชคดีที่ได้พบคุณกุลธิดา เลิศพงศ์วัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้เรียนท่านเรื่องคำถามของคุณวลัยลักษณ์ และคำตอบของผม หลังจากนั้นคุณกุลธิดา ได้ให้ความกรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10  (พ.ศ.2550-2554) ก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังปรากฏในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยเน้นให้คนไทยหรือทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ขณะที่ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการ และสติปัญญาทางอารมณ์ที่เข้มแข็งสามารถศึกษาหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การพัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ทั้งนี้ แผนพัฒนาฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางไว้ชัดเจนในแต่ละภาคี ทั้งภาครัฐ  ธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันทางสังคมต่างๆ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ

ในทางปฏิบัติ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่อาจคุ้มครองให้ลูกจ้างที่ได้มีการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วระยะหนึ่งให้มีรายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความจำเป็นพื้นฐานและการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว ขณะที่ รูปแบบของการจ้างงานแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานในระดับ Unskilled ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour Intensive) ซึ่งต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันสูง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการขึ้นค่าจ้าง โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการขนาดเล็ก อีกทั้ง ในประเทศไทย ยังไม่มีระบบหรือขาดเกณฑ์ระดับการประเมินสมรรถนะหรือเกณฑ์ตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดค่าจ้างตามระดับความรู้ ความสามารถ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการริเริ่มในการจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดกรอบและกลไกที่เกี่ยวข้อง คุณวุฒิวิชาชีพจะช่วยให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เหมาะสมตามระดับสมรรถนะและมาตรฐานอาชีพของตน ซึ่งแรงงานดังกล่าวสามารถพัฒนาสมรรถนะหรือศักยภาพของคนเองในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูงขึ้น


วันนี้ได้รับ e-mail จาก คุณพิมลพรรณเจ้าของธุรกิจนำเที่ยวที่เคยเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเพิ่มศักยภาพมัคคุเทศก์ไทยให้ก้าวทัน SME โดยมีผมเป็นผู้จัดทำหลักสูตรและเป็นวิทยากรหลัก

คุณพิมลพรรณกล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการกับ สสว ซึ่งเป็นโครงการที่ดี และมีข้อเสนอในทางสร้างสรรค์ จึงขอถือโอกาสนำมาเผยแพร่ ดังนี้

 

From: Kimeng [mailto: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Sent: Friday, March 11, 2011 8:40 PM
To: chanchot jombunud; Chayan Sukhumdecha; chaophraya TO; Chulaluck TO; Chaiyan TO; Pisit; Dome TO; Thannapat TO; Hui TO; Narumol TO; Parichart TO; Guide A
Subject: Re: Update อบรม Tour Operation ล่าสุด

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์และเพื่อนๆ

ขอบคูณค่ะอาจารย์ทียังนึกถึงพวกเรา ยังระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ 

พอดีมีโอกาศได้ไปสัมมนาเรื่อง medical tourism ของสสว ค่ะก็น่าสนใจดีค่ะ เขาหาผู้ประกอบการที่ต้องการ ทำเรื่อง medical tourism เพราะคาดว่าน่าจะมี ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น เพราะมีคนแก่เยอะ คนอยู่นาน Wellness, check up, Medical treatment เป็นสิ่งจำเป็น ค่ะ และลูกค้าอาจ combine service พวกนี้เข้าไปในการท่องเทียวค่ะ 

จุดประสงค์ของการประชุมคือ เขียน  ฺBusiness plan ก็มี format คลายๆกับของอาจารย์ค่ะ แต่เขาไม่ได้ให้ความรู้ เรื่อง กลยทธ์ มีการแบ่ง segment ให้เราได้เข้าใจ เบื้องต้น งานนี้ สสว มี consult ให้ด้วยค่ะ ถ้าใครเขียนแผนและส่งงานตาม step 

ไม่แน่ใจว่าจะสามารถผลักดันผู้ประกอบการได้กี่รายน่ะค่ะ ส่วนของหนู คิดว่าน่าจะทำงานกับ partner อีก 2 ท่าน เรานัดประชุมเสาร์นี้ะค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดู ความคุ้มทุนก่อน เพราะ พวกโรงพยาลให้ค่า commission น้อย ขณะที่ wellness service จ่ายสูงกว่าค่ะ

จริงอย่างอาจารย์ว่าทุกประการ โครงการของรัฐ ที่ต้องการส่งเสริม มีมากแต่ในขั้นปฏิบัติ เหลือน้อยเต็มทน ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่สละเวลาเขียน email ถึงทุกคนนะ่ค่ะ ขอให้อาจารย์มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงค่ะ

พิมลพรรณ

สวัสดีครับคุณพิมลพรรณ และทุกๆท่าน

แสดงว่าได้รับเอกสารแนบที่ส่งไปแล้วใช่ไหมครับ  เรื่อง Medical Tourism มีอนาคตครับ ควรจะเข้าร่วมโครงการของเขาเข้าใจว่าฟรี แต่ถ้าเสียเงินก็คงต้องพิจารณาดูให้รอบครอบว่าเราสามารถและสนใจจะทำทัวร์ทางนี้หรือไม่ เพราะถ้าเสียเงินแต่นำมาใช้อะไรไม่ได้ก็เสียทั้งเงินและเวลา แต่ถ้าฟรีก็ควรจะเข้าไปร่วมในโครงการ ดีใจครับที่มีการรวมตัวกันได้ ขอให้โชคดีครับ ติดขัดอะไรหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องใด ขอให้ติดต่อมาได้ตลอดเวลาครับ

รักและคิดถึง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียนอาจารย์
ไม่ได้เสียเงินค่ะ สสว ต้องการให้เกิด การปฏิบัติการจริง เขาพยายามจะเชื่อมต่อคนที่มี potential ที่สามารถ เริ่มต้นได้ โดยเฉพาะบริษัททัวร์ และ โรงแรม แต่ บริษัททัวร์ ถึงจะมีฐานลูกค้าแต่ก็ขาดความเข้าใจเรื่อง product และ service ยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่รู้จักเลยไม่ว่า จะเป็นเรื่อง process , Check supplier, liability , mixed tour service กับการรักษา ความเข้าใจของลูกค้า และสำคัญที่สุด เรื่องการแผนกาตลาดพูดกันน้อยมาก 
หนูแค่นึกเล่นๆ ว่าส่วนที่เขาขาด  อาจารย์ ก็สอนไปเยอะ  วิทยากรเป็น นักวิชาการ ไม่เคยทำธุรกิจ แน่นอน เลยค่ะ รวมทั้ง consultant ของ สสว ไม่เข้าใจธุรกิจทัวร์เลย เหมือนที่อาจารย์ว่า เขาไม่เข้าใจองค์รวมของธุรกิจบริการ หากสสว มีวิทยากรอย่างอาจารย์ หรือ consult อย่างอาจารย์ หนูว่าภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะท่องเที่ยวคงได้ประโยชน์เยอะค่ะ อันนี้ไม่ได้ยกยอกันเองน่ะค่ะ หรือ ว่าคนที่เป็น consult ที่เราเห็น  ดูแล้ว หากเป็นอย่างนี้โครงการ หลายๆโครงการก็เป็นแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำค่ะ  หน่วยงานราชการไทย ไม่สามารถ qualify consult ได้ค่ะ  เราภาคเอกชนจึงต้องทำตัวเองให้พึ่งตัวเองได้ จะว่าไปแล้วก็ดีเมือนกัน น่ะค่ะ

คือพอดีข้อมูลเรื่องการประชุมหนูมีแต่ hard copy ค่ะ ใครอยากได้ก็บอกน่ะค่ะ จะ copy ส่งไปให้ค่ะ

ส่วนเรื่องของบรฺษัทตัวเอง  ก็พยายามเขียนแผนขึ้นมาใหม่ แต่ทำได้ช้ามากค่ะ  พอดีได้เข้าไปดูข้อมูลสถิติ ของการท่องเที่ยวค่ะ ตอนนี้มีตัวเลขถึงปี  2010 แล้วค่ะ เพื่อน ๆลองไป ดู ตัวเลข และ plot grap ใน excel ดูซิค่ะ 

http://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php

มันก็ทำให้เห็นไร อยู่น่ะ ก่อน focus ตลาดที่เราต้องการค่ะ

วันนี้แค่นี้ก่อนน่ะค่ะ
พิมลพรรณ

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 11:05 น.
 

เรียนรู้เรื่องเงิน ในธุรกิจโรงแรม

พิมพ์ PDF
ควบคุมรายได้ป้องกันจุดรั่วไหล

ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เจ้าของโรงแรมส่วนมากที่ประสบผลสำเร็จจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จจากธุรกิจอื่นมาก่อน หรือเป็นกลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรม การเงิน ก่อสร้าง ฯลฯ ธุรกิจหลักมีความมั่นคงสูง จึงไม่มีปัญหาเรื่อง เงิน เนื่องจากผมเข้าไม่ถึงส่วนลึกของการบริหารจัดการด้านการเงินของธุรกิจโรงแรมทั้งหมดในช่วงที่ผมเคยบริหารโรงแรมที่ผ่านๆมา ผมจะดูแลเรื่องการบริหารจัดการด้านการตลาดและการขายเป็นส่วนมาก มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินบ้างเล็กน้อย จึงขอนำมากล่าวถึงเพื่อเป็นกรณีศึกษาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของผม

เรียนรู้เรื่อง เงิน : บริหารรายได้ธุรกิจโรงแรม

รายได้ธุรกิจโรงแรม แบ่งออกเป็นรายได้ใหญ่ๆ สองส่วนได้แก่ รายได้ในส่วนของห้องพัก และรายได้ในส่วนของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากห้องอาหาร ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุมสัมมนา Room Services นอกเหนือจากรายได้หลักใหญ่ๆทั้งสองส่วนแล้ว ยังมีรายได้อื่นอีก หลายอย่าง เช่นค่าเช่าร้านขายของ ค่าเช่าห้องเสริมสวย และรายได้อื่นๆที่นอกเหนือจากรายได้ที่กล่าวไปแล้ว แต่ละปีจะมีการตั้งเป้าหมายรายได้ค่าห้องพักและรายได้ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นหลัก ผู้บริหารสูงสุดจึงนำเป้ารายได้ไปจัดทำงบงบประมาณในการบริหารจัดการ สำหรับผมรับผิดชอบดูแลเฉพาะเป้ารายได้ในส่วนของห้องพัก

การตั้งเป้ารายได้ในส่วนของห้องพักในแต่ละปี ไม่เหมือนกับการตั้งเป้าขายสินค้า เพราะสินค้าสามารถผลิตและขาย ถ้าเหลือก็เก็บไว้ขายวันข้างหน้าได้ เมื่อผลิตไม่พอขายก็ผลิตเพิ่มได้ แต่ห้องพักต้องขายในแต่ละวัน เมื่อห้องพักเต็มแล้วก็ไม่สามารถขายเพิ่มได้ แต่เมื่อห้องว่างก็ไม่สามารถเก็บไว้ขายในวันข้างหน้าได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องขายห้องให้พอดีเต็มทุกวันซึ่งเป็นไปไม่ได้ นอกเหนือจากนั้นข้อสำคัญอยู่ที่การกำหนดราคาค่าห้องพัก

ก่อนที่จะได้เป้ารายได้ของทั้งปี จะต้องกำหนดเป้าย่อยในแต่ละเดือน ต้องมีการคำนวณที่มาที่ไปของรายได้ จำนวนห้องที่จะขายได้ในแต่ละชนิดห้องพัก ราคาขายต่อห้องต่อคืน จำนวนขายของแต่ละ Segmentation การตั้งเป้าจึงเป็นหัวใจสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดที่มาของรายได้หลักเพื่อให้ส่วนอื่นๆนำไปคำนวณหารายได้ในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ฝ่ายปฏิบัติการนำไปคำนวณจัดของบประมาณในการบริหารจัดการของแต่ละแผนกเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถในการให้บริการที่จะทำให้ได้รายได้ตามเป้า ก่อนที่จะไปถึงผู้บริหารการเงินที่จะนำไปวางแผนในการบริหารจัดการด้านการเงินทั้งหมด การบริหารจัดการด้านการเงินทั้งหมดจะอยู่ในการดูแลของเจ้าของ หรือผู้ที่เจ้าของแต่งตั้งโดยขึ้นตรงกับเจ้าของ

เนื่องจากห้องพักมีจำนวนจำกัดและมีห้องพักแตกต่างกันหลายชนิด มีราคาที่แตกต่างกัน จึงต้องวางแผนและควบคุมการปล่อยห้องพักให้เหมาะสม ต้องรู้ว่าห้องชนิดใดเหมาะสมกับลุกค้าประเภทใด จะเข้าถึงลูกค้าได้อย่างใด ลูกค้าประเภทใดจะมาพักช่วงไหน การปล่อยห้องพักว่างในแต่ละวันคือการสูญเสียรายได้ และไม่สามารถนำห้องว่างในวันนั้นๆไปหารายได้ทดแทนในวันข้างหน้าได้ การทำให้มีห้องพักว่างในแต่ละวันน้อยที่สุด หรือทำให้ห้องพักเต็มทุกวัน ยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะยังมีราคาห้องพักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางวันห้องพักขายได้แค่ 60% ของห้องทั้งหมด อาจมีรายได้มากกว่า การทำให้ห้องพักเต็ม 90% หัวใจจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้ได้รายได้จากการขายห้องพักตามเป้าที่วางไว้ในแต่ละวัน และถ้าทำรายได้มากกว่าเป้ายิ่งดี เพื่อทดแทนวันที่มีรายได้ต่ำกว่าเป้า ต้องดูรายงานการขายห้องวันต่อวันอย่างละเอียด จากรายงานในหลายมิติ นอกจากนั้นก็จะต้องดูรายงานการรับจองห้องพักล่วงหน้าตลอดจนข้อมูลการชำระเงินของห้องที่ถูกจอง รายงานลูกหนี้คงค้าง และรายได้ที่คาดการล่วงหน้า

บางครั้งการมีพนักงานขายหลายคนก็มีปัญหา โดยเฉพาะช่วงที่ลูกค้ามีความต้องการห้องพักสูง มีความต้องการห้องพักมากกว่าจำนวนห้องพักที่มี จะเกิดการแย่งห้องพักกัน การควบคุมการปล่อยห้องพักจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการบริหารรายได้ การจะให้ห้องกับลูกค้ารายใดจะต้องคิดในหลายๆด้านเช่น ลูกค้าต้องการห้องพักกี่คืน ราคาที่ตกลงเท่าใด ลูกค้ารายนั้นเป็นลูกค้าประจำที่ใช้เราอย่างสม่ำเสมอหรือว่านานๆใช้ครั้ง ลูกค้ารายนั้นจ่ายเงินทันที หรือเป็นเครดิต ก็ต้องดูว่าเครดิตดีหรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดจะต้องนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจให้ห้องพักกับลูกค้าที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับโรงแรมทั้งระยะสั้น ระยะยาว จึงไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ว่าจะให้ห้องกับรายใดโดยไม่มีการศึกษาอย่างรอบครอบ

หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทช่วงทำให้รายได้ห้องพักเข้าเป้าหรือไม่อยู่ที่ฝ่ายรับจองห้องพัก พนักงานบางคนจะปล่อยห้องให้กับคนที่มีความสนิทสนมหรือคนที่ชอบพอ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของโรงแรม ทำให้โรงแรมขาดรายได้ที่ควรจะได้ เช่นให้ห้องกับคนที่สนิทสนม ทั้งๆที่ควรจะให้ห้องพักกับรายอื่นที่โรงแรมได้ผลประโยชน์มากกว่า เช่นราคาดีกว่า ชำระเงินดีกว่า หรือบางครั้งกันห้องไว้ให้กับพวกตัวเอง และ ไม่ยอมปล่อยห้องให้กับรายอื่นที่พร้อมจ่ายเงิน  และในที่สุดห้องที่กันไว้ถูกยกเลิก ทำให้ห้องว่าง โรงแรมสูญรายได้ สิ่งผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานรับจองห้องพัก อาจมาจากการทุจริตของพนักงาน หรือจากความหย่อนยานในการควบคุมของผู้บังคับบัญชา หรือจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพนักงานและผู้บังคับบัญชา

เจ้าของบริษัททัวร์บางรายเก่งในการสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานรับจองห้องพัก และพนักงานบัญชีที่ดูแลเรื่องลูกหนี้ จะมีการนำของกำนันมาให้เพื่อให้พนักงานรับจองห้องพักปล่อยห้องให้ และให้พนักงานติดตามลูกหนี้ ไม่รายงานหนี้ค้างชำระเกินกำหนดของบริษัททัวร์ของเขากับผู้บริหารโรงแรม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แผนการเงินผิดพลาดได้ ถ้าผู้บริหารที่ไม่ควบคุมดูแลให้ดีก็จะไล่ไม่ทัน

อีกส่วนหนึ่งที่ต้องระวังคือพนักงานส่วนหน้า Front Office ผู้บริหารบางคนไม่เข้าใจ เพราะเห็นว่าห้องว่างจะทำให้เสียรายได้ ดังนั้น จึงปล่อยให้พนักงานต้อนรับ ขายราคาต่ำกว่าที่ได้กำหนดโดยอ้างว่าลูกค้าต่อราคาถ้าไม่ให้ก็จะไปพักที่โรงแรมอื่น การปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้จะเสียมากกว่าได้ เพราะถ้าลูกค้าอื่นที่จองห้องพักมาล่วงหน้าในราคาที่แพงกว่าทราบว่า โรงแรมยินยอมให้ลูกค้า walk in ต่อรองราคาค่าห้องพักได้ และสามารถได้ราคาที่ถูกกว่าลูกค้าประจำหรือลูกค้าที่จองมาล่วงหน้า เขาจะคิดว่าเขาถูกหลอกและขอยกเลิกการพักในคืนที่เหลือ นอกเหนือจากนั้นแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานเห็นช่องทางในการโกงโรงแรม เก็บเงินลูกค้าเต็มแต่รายงานว่าลดราคาให้ลูกค้า หรือบางที่ก็อ้างว่าลูกค้ารายนั้นเป็นลูกค้าที่เอเยนส่งมาให้ และนำผลต่างไปแบ่งกับเอเยน

รายงานการเงินในแต่ละวันสำคัญมาก ผู้บริหารจะต้องดูทุกวัน เพื่อติดตามและตรวจสอบเป้ารายได้ในแต่ละวัน และควบคุมการทำงานของพนักงานไปในตัว โรงแรมจะมีรายงานหลายๆตัวเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หลายๆโรงแรมหย่อนยานเรื่องการตรวจสอบรายงาน ผู้จัดการทั่วไปไม่เคยดูรายงาน พนักงานบัญชี หัวหน้าฝ่ายบัญชี และหัวหน้าฝ่ายการเงินไม่เข้าใจระบบการทำงานหรือไม่สนใจทำตามระบบ จะทำให้โรงแรมสูญเสียรายได้ และเกิดการรั่วไหลมาก จนทำให้โรงแรมขาดทุน

ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่ต้องมีระบบที่ดี และต้องปฏิบัติตามขั้นตอน อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ถ้าไม่มีการควบคุมที่ดี จะเกิดการรั่วไหลและเสียหายเป็นอย่างมาก ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ นับวันโรงแรมจะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ เจ้าของโรงแรมหลายรายไม่สนใจกับผลกำไรขาดทุนในส่วนของธุรกิจการให้บริการของโรงแรม เพราะใช้ธุรกิจโรงแรมเป็นตัวทำประโยชน์ในด้านภาษี หรือการฟอกเงินให้กับธุรกิจหลัก หรือใช้ธุรกิจโรงแรมเป็นตัวบังหน้าเพื่อผลประโยชน์ด้านอื่น จึงไม่สามารถบอกได้ว่าการบริหารจัดการด้านการเงิน มีประสิทธิภาพหรือไม่

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 กันยายน 2556

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 11:39 น.
 


หน้า 447 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611049

facebook

Twitter


บทความเก่า