Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๕. เที่ยวทะเลแหวก

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๙ มิ.ย. ๕๖ เป็นวันตีกอล์ฟสำหรับนักกอล์ฟ  คนไม่ตีกอล์ฟก็ไปเที่ยว  มากระบี่ต้องไปเที่ยวทะเล  เพราะทะเลสวยมาก  สมัยก่อนตอนทำงานอยู่ที่หาดใหญ่เกือบ ๒๐ ปี  ผมไปประชุมที่กระบี่บ่อย แต่ประชุมเสร็จก็กลับ  ไม่เคยลงเรือเที่ยวทะเลเลย  เคยแต่ไปวัดถ้ำเสือ แต่ผมก็ไม่ชอบพระที่เน้นทำเครื่องรางของขลัง

ราวๆ ปี ๒๕๔๙ เคยไปเกาะลันตา กับคณะของโรงเรียนรุ่งอรุณ เพื่อใช้การจัดการความรู้ในการพัฒนาชุมชนอูรักลาโว้ย

มา รีทรีต ของธนาคารไทยพาณิชย์คราวนี้เราเตรียมไปเที่ยวทะเลเต็มที่  และในที่สุดคณะโปรแกรม ๓ ก็ได้สมาชิกอาวุโส คือคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณเอกกมล คีรีวัต, รศ. ดร. กุลภัทรา สิโรดม, และครอบครัวผม ๕ คน คือสาวน้อย ลูกสาว ๒ คน หลานสาว และผม  รวมเป็น ๘ คน

โปรแกรม ๓ เป็นการเที่ยวทะเลแบบไม่ยาวมาก  โดยมีจุดเด่นคือทะเลแหวก ซึ่งมีชื่อเสียงระดับ unseen Thailand  แล้วไปอ่าวพระนาง เดินชมชายหาด  กินอาหารเที่ยงที่โรงแรมรายาวดี   แล้วกลับโรงแรม  เข้าใจว่า ทริปอื่นๆ ที่ไปทะเล ก็แวะชมทะเลแหวก

ทะเลแหวก จริงๆ คือเกาะ ๓ เกาะ ได้แก่เกาะไก่  เกาะหม้อ  และเกาะทับ มีหาดทรายต่อกัน  เวลาน้ำลงหาดทรายก็โผล่ขึ้นมาให้คนเดินไปมาได้  พอน้ำขึ้นก็ต้องลุยน้ำ   ดูวิดีโอเรื่องทะเลแหวก ที่นี่

เราไปขึ้นจากเรือที่เกาะหม้อ เวลา ๙.๑๕ น. แดดเปรี้ยงแล้ว  และมีนักท่องเที่ยวมาแล้วจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  โดยที่น้ำเริ่มขึ้น และหาดทรายต่อระหว่างเกาะทับกับเกาะไก่ก็ค่อยๆ เรียวแคบลงทุกที   สมาชิกทัวร์คนอื่นๆ เดินไปจนถึงเกาะไก่  แต่ผมเดินไปกับสาวน้อยได้เกือบครึ่งทางผมก็ชวนกลับ เพราะแม้เข่าซ้ายของเธอจะดีขึ้นมากแล้ว  แต่ก็ยังคงต้องถือไม้เท้าช่วยลดน้ำหนักที่ลงเข่าซ้าย  เราไปนั่งพักกินลมที่ร่มไม้ชายหาดของเกาะทับ  และได้สังเกตเห็นว่านักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวจำนวนมาก

เราใช้เวลาที่ทะเลแหวกเพียง ๔๕ นาที ก็ขึ้นเรือ  ไปชม “หัวไก่” ที่ทำให้เกาะนี้ได้ชื่อว่าเกาะไก่  เกาะนี้เป็นเกาะใหญ่ ส่วนเกาะทับและเกาะหม้อเล็กนิดเดียว  ที่บริเวณใกล้เกาะไก่ตรงที่มองเห็นหัวไก่ ทางทัวร์เตรียมขนมปังไว้ให้เลี้ยงปลา  ซึ่งมีปลาเสือฝูงใหญ่  คนที่สนุกที่สุดคือ แม็ป หลานสาวผม  กับคุณหญิงชฎา  ซึ่งวันนี้เป็นตากล้องควงสองกล้องคู่  เพราะทริปนี้วิวสวยจริงๆ

จากนั้นเขาพาเราแวะที่เกาะปอดะ  ซึ่งเป็นชื่อภาษายาวี ของคำว่าเต่า  เกาะนี้คือเกาะเต่านั่นเอง  โดยที่หัวเต่ากับตัวเต่าเป็นคนละเกาะอยู่ใกล้กัน  มองไกลๆ เหมือเต่าว่ายน้ำอยู่  เราไปเข้าห้องน้ำที่ร้านอาหารบนเกาะ  และยืนชมทิวทัศน์อยู่ครู่หนึ่ง โดยที่ตรงหน้าเราเป็นเกาะที่เป็นหัวเต่า  หมู่เกาะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ  อุทยานแห่งชาติทางทะเล หาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี แปลกที่เกาะนี้มีรั้วลวดหนามล้อม  ไก๊ด์เล่าว่าเกิดจากการขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างใครก็ไม่ทราบ  เรายืนคุยกันครู่หนึ่งก็มีนักท่องเที่ยวทะยอยมาที่ร้านอาหาร  เกาะนี้อยู่ไม่ห่างจากเกาะไก่

แล้วจึงไปขึ้นบกที่อ่าวไร่เลย์ ส่วนที่เป็นด้านติดทะเลของโรงแรมรายาวดี  ชมถ้ำพระนาง  เดินเล่นริมชายหาดที่มีฝรั่งมานอนอาบแดด และมีคนไทยมาเล่นน้ำกันมาก  ที่นี่ผมได้เห็นต้นกระทิงต้นใหญ่ที่ริมชายหาด  ออกดอกเต็มต้น  เป็นข้อมูลว่าต้นกระทิงทนดินเค็มได้ดี

ที่ถ้ำพระนาง มี “ปลัดขิก” ทำด้วยไม้มากมาย   นอกจากนั้น ยังมี ปลัดขิก เพ่นพ่านอยู่แถวที่อื่นๆ บริเวณชายหาดและถ้ำ  รวมทั้งบริเวณหน้าผาสำหรับปีนด้วย

ที่ตรงใกล้ๆ กับหน้าผาสำหรับปืน มีหินย้อยก้อนใหญ่  มีเก้าอี้ให้คนขึ้นไปยืนเอานิ้วยื่นไปแตะปลายหินย้อย เพื่อถ่ายรูป  แถมยังมีฝรั่งหนุ่มๆ มาพยายามปีนหน้าผาไม่สำเร็จ  จึงหันมาปีนหินย้อยแทน  เป็นภาพอุจาดตา ที่นักท่องเที่ยวไม่เคารพและรักษาทรัพย์สมบัติทางธรรมชาติ ของท้องถิ่นที่ตนมาเยือน

คุณหญิงชฎากับผมจึงไปห้ามปราม  เรื่องนี้จะต้องเขียนอีกบันทึกหนึ่งเพื่อบอกคนไทย และทางการของจังหวัดกระบี่ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้พิจารณาทำหน้าที่คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวให้ดีกว่านี้

เรากินอาหารเที่ยงที่ภัตตาคารตรงหน้าถ้ำ ติดกับชายหาด ของโรงแรมรายาวดี  อาหารมาช้าอย่างน่าตกใจ เราพูดกันว่า สงสัยจะมีแม่ครัวอาหารไทยคนเดียว

กลับมาที่โรงแรม ดูรูปที่ถ่ายในวันนี้แล้ว พบว่าสวยจริงๆ  วันนี้ลมฟ้าอากาศเป็นใจมาก ท้องฟ้าสดใส แทบไม่มีเมฆ  และอากาศบริสุทธิ์ไม่มีฝุ่นละอองในอากาศ  จึงทำให้ภาพถ่ายสวยมาก  สวยอย่างอัศจรรย์ทีเดียว  ตอนนั่งเครื่องบินกลับกรุงเทพในวันที่ ๓๐ มิ.ย. เครื่องบินบินผ่านทะเลฝั่งอ่าวไทย มีเมฆมาก  และเหนือผืนดินจังหวัดกระบี่ก็มีเมฆมาก  การที่ท้องฟ้าฝั่งทะเลอันดามันในวันที่ ๒๙ มิ.ย. สดใส จึงเป็นบุญของพวกเราที่ไปเที่ยวในวันนี้

 

๒๙ มิ.ย. ๕๖

 

 



น้ำทะเลสีคราม



ก่อนขึ้นฝั่ง น้ำทะเลสีมรกต



ทรายขาว น้ำ(ทะเล)ใส ฟ้าคราม งามยิ่ง



คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม กับครอบครัวของผม



ทะเลแหวก ยามน้ำลง เดินจากเกาะทับไปเกาะไก่บนหาดทรายเชื่อมระหว่างเกาะได้


สาวน้อยกับสันทรายระหว่างเกาะ


มุมสงบที่ผมชอบมาก


อีกมุมสงบและความงาม


ความงามของทะเลแหวก


ภาพทะเลแหวกจากร่มไม้


หัวไก่


ปลาเสือ


หาดถ้ำพระนาง



ถ้ำพระนาง เต็มไปด้วยปลัดขิก ที่มีคนนำมาบูชาพระนาง



หาดไร่เลย์ อยู่ไกลลิบๆ

 


 

 

 

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 07:34 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๙๖. คุณค่าฝังลึก

พิมพ์ PDF

ผศ. กัลยาณี พรพิเนตรพงศ์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่ง อีเมล์ มาดังนี้

เรียน  อาจารย์วิจารณ์  ที่เคารพอย่างสูง

ด้วยทางโครงการจะจัดพิมพ์หนังสือหาดทรายเล่ม 1 เพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 3

จำนวน 5,000 เล่มค่ะ โดยมีหลายฝ่ายเข้ามาช่วยสนับสนุนงบประมาณ

เนื่องจากทางโครงการไม่มีงบประมาณที่จะพิมพ์มากนัก ตอนนี้หน่วยที่ต้องการ

จำนวนมากไปเผยแพร่ในพื้นที่ตน  จึงต้องจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนด้วย

การพิมพ์หลายหน่วยงานพร้อมกันคราวนี้ทำให้ต้นทุนเหลือเพียง 20 บาท/เล่ม

คราวนี้ได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก 4 หน่วยงาน คือ นสธ. อบจ.กระบี่

เทศบาลนครสงขลา และ สมาคมท่องเที่ยวเกาะสมุย  โดยเขาเอาไปเผยแพร่

กันเอง  ก็ทำให้เบาแรงไปมาก

ทาง อบจ.กระบี่ ได้ขอให้ลงภาพหาดทรายที่กระบี่เพิ่มในหนังสือ เพื่อจูงใจให้

ชาวกระบี่สนใจ และส่งภาพทะเลแหวกมาให้ (เป็นภาพถ่ายทางอากาศ)

ดิฉันพบภาพทะเลแหวกในบทความของอาจารย์ใน gotoknow (ภาพที่แนบมา)

ซึ่งเป็นภาพที่สวยมาก และสะท้อนมูลค่าการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการได้ดีมาก

จึงอยากจะขออนุญาตนำภาพนี้ลงในหนังสือหาดทรายเล่ม 1 ที่จะพิมพ์เป็นครั้งที่ 3

นี้ และขออนุญาตลงชื่ออาจารย์กำกับไว้ด้วย  โดยจะจัดลงไว้ในหน้าที่ 51 และ

คัดบางภาพเดิมออกค่ะ

การพิมพ์ครั้งที่ 3 นี้ ได้ปรับแก้เล็กน้อย เช่น เปลี่ยนภาพ ที่ 1 และภาพที่ 21

และ edit เล็กน้อยเพื่อความชัดเจนขึ้นค่ะ

จึงเรียนมาเพื่อรายงานให้ทราบความคืบหน้า และขอความอนุเคราะห์

ภาพต้นฉบับเพื่อจัดลงหนังสือ

ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

กัลยาณี  พรพิเนตพงศ์

 

 

ทำให้ผมปิ๊งแว้บว่า ภาพทะเลแหวก และเรื่องเล่าการไปเที่ยว ที่ผมนำลงใน บันทึกนี้ หลายคนอ่านหรือดูแล้วก็คงผ่านเลย โดยชมว่าภาพสวย    แต่เมื่อ ผศ. กัลยาณีอ่านพบ เธอก็เห็นคุณค่า    ยิ่งทาง อบจ. กระบี่ จะยิ่งเห็นคุณค่าของบันทึกนี้    ผมอยากให้ ผู้ใหญ่ของ อบจ. กระบี่ อ่านบันทึกนี้ด้วย

 

 

“คุณค่าของสิ่งต่างๆ นั้น   แต่ละคนตีคุณค่าต่างๆ กัน   คุณค่าจึงมีหลายมิติ   มิติที่ผมเฝ้าฝึกตนเองให้มองเห็นหรือสัมผัสได้ คือคุณค่าฝังลึก ที่มองเห็นยาก    และนำออก ลปรร. กับผู้คน    ผมเชื่อว่า คนที่เข้าถึงคุณค่าในระดับนามธรรมเช่นนี้ จะมีชีวิตที่งดงามใสสะอาด    คนเราควรหมั่นฝึกฝนตนเองในด้านนี้    ถือเป็นมิติหนึ่งของ การศึกษาหรือการเรียนรู้

 

อย่างเช้ามืดวันนี้ ผมนั่งรถแท้กซี่ไปสนามบินกับลูกสาวคนโต   ผมชวนเขาคุยเรื่องคุณค่าที่ตระกูลเล็กๆ ที่เป็นชาวบ้านนอกของผมยึดถือ   ในลักษณะ unwritten code of ethics ประจำตระกูล ที่ยึดถือต่อๆ กันมา

 

หนังสือหาดทรายของทีมนักวิชาการทีมนี้มีอีก ๒ เล่ม คือ ,

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ส.ค. ๕๖

ห้องรับรองผู้โดยสารการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 07:38 น.
 

ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พิมพ์ PDF
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือทั้ง 3 ภาคส่วน ภาคของผู้ประกอบการ ภาคแรงงาน ภาคการศึกษา ด้วยการสนุบสนุนจากภาครัฐ

คำถามจากคุณ วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ ( 5 มีนาคม 2554)

ปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ  ค่อนข้างจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างก็พูดถึงกันมาก  ทั้ง ๆ ที่ ไทยเราเองก็มีทรัพยากร แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม คนไทยก็มีใจรักในด้านบริการ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เกิดปัญหา ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้มีผลต่อทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมากที่สุด และเพราะอะไร?

  1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร  ความไม่ชัดเจน  หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ?

คำตอบ: ทั้งสองอย่างครับ นโยบายไม่ครอบคลุม และไม่ชัดเจน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นแผนที่มีการบูรณาการนำเอาส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนขององค์กรรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน กำหนดเรื่องของแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละอาชีพโดยทำให้เกิดทุนมนุษย์ภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างสมดุล

สำหรับเรื่องการนำไปปฏิบัติก็เป็นปัญหาอย่างมากเพราะระบบและขบวนการปฏิบัติมักจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการปฏิบัติ เรามักจะมีแผนมากมายแต่ไม่ครอบคลุมอย่างที่กล่าวในเบื้องต้น จึงทำให้ไม่มีการนำไปปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้ ในส่วนของภาครัฐมีส่วนของความเข้าใจของผู้ได้รับมอบหมายให้นำไปปฏิบัติ กำลังของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะไม่มีงบประมาณที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม หรือไม่มีงบประมาณ ผู้บริหารมอบหมายงานแต่ไม่ได้ให้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม

นโยบายของภาครัฐ แบ่งออกเป็นดังนี้

1.1นโยบายระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนที่ 1-7 เน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับการเติบโตของระบบทุนนิยม (เศรษฐกิจนำสังคม) และเป็นแผนที่กำหนดโดยภาครัฐเป็นหลักไม่ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากนัก

ตั้งแต่แผนที่ 8- ร่างแผนที่ 11 ที่กำลังจะนำออกใช้ในเดือนตุลาคม 2554 ได้มีการปรับแผนโดยเน้นเรื่องคนเป็นหลักให้ความสำคัญในด้านคนมากขึ้น นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นความสำคัญด้านสังคมนำเศรษฐกิจ (ผมเห็นด้วยเพราะเมื่อสังคมเข้มแข็งเศรษฐกิจจะตามมาเอง)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนในภาพใหญ่เป็นภาพรวมของแต่ละประเทศ ผมอ่านร่างแล้ว คิดว่าแผนในภาพกว้างค่อนข้างดีแต่ยังมีเวลาในการเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังไม่ชัดเจน

1.2 แผนของแต่ละกระทรวง ปัจจุบันเป็นแผนที่ปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรี ไม่ได้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นแผนหลัก อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

นอกเหนือจากนั้นแล้วก็ยังมีแผนของกรม และแผนของหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ที่ไม่รองรับซึ่งกันและกัน ต่างแผนต่างไปคนละทาง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ดังนั้นจะหวังพึงแต่แผนของภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เอกชนต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคส่วนของธุรกิจ ขององค์กร และของชุมชนแต่ละชุมชนเอง โดยภาครัฐต้องเน้นที่แผนพัฒนาคนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ (ทรัพยากรมนุษย์) เพื่อให้เน้นเรื่องการมีจริยธรรม คุณธรรม และการให้การสนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนเป็นหลัก สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในภาครัฐให้มีทุนสังคมมากๆ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าจะเกิดผลสำเร็จได้ภาคเอกชนต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

การนำนโยบายไปปฏิบัติยิ่งเป็นปัญหาหนักเพราะเมื่อตัวแผนนโยบายเองมีปัญหา การนำไปปฏิบัติก็ยิ่งมีปัญหา เพราะปฏิบัติกันไปคนละทิศละทาง เสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมที่ควรจะได้รับการสนับสนุนก็ไม่ได้ งบประมาณถูกใช้ไปกับกิจกรรมที่ง่ายๆเพื่อให้เกิดผลงานว่าได้ทำแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลของความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง จึงทำให้คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

 

 

2.ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย

คำตอบ : จริงๆค่าแรงงานที่เรากำหนดกันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงความจริง เรามีการกำหนดเฉพาะค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือ คิดว่าถ้าแรงงานต่ำจะทำให้ภาคการลงทุนในประเทศขยายตัว แต่ไม่ได้คิดถึงค่าครองชีพที่แท้จริง เศรษฐกิจของประเทศไม่ได้อยู่ที่แรงงานขั้นต่ำ  รายได้ของมนุษย์เงินเดือนมีความสำคัญกับแรงจูงใจ และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย?

เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ จริงๆการแก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างที่เหมาะสมและถูกต้อง จะต้องทำให้เกิดสภาวิชาชีพบริการ เพื่อให้มีองค์กรที่มาขับเคลื่อนในการสร้างมาตรฐานแรงงานและกำหนดอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละธุรกิจ

การกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำมีขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ในการคำนวณค่าแรงให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคการผลิต ฝ่ายตัวแทนของผู้ประกอบการพยายามกดค่าแรงขั้นต่ำเพราะต้องการให้ทุนการผลิตต่ำ รัฐก็ไม่ต้องการให้ค่าแรงสูงเพราะกลัวว่าต่างชาติจะไม่มาลงทุน แต่ในความเป็นจริง แรงงานที่มีฝีมือถูกจ้างในราคาที่สูงกว่าแรงงานขั้นต่ำหลายเท่า อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับค่าแรงขั้นต่ำคือการจ่ายค่าชดเชยของผู้ประกอบการที่เลิกจ้าง เป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบแรงงาน

 

 

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

คำตอบ : คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถในตัวเองสูง ส่วนของผู้ประกอบการ (เจ้าของ) ขาดการมองระยะไกล มองผลประโยชน์ของตัวเอง แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันเอง ไม่ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน ขาดการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ หวังผลระยะสั้น ขาดความจริงใจ ไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ลงทุนด้านคน

มนุษย์เงินเดือน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ ขาดความมั่นคงทางอาชีพ ไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการพัฒนาทุนมนุษย์จากผู้ประกอบการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย ได้แก่ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายมนุษย์เงินเดือน ฝ่ายการศึกษา โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

คนไทยเก่งและฉลาดแต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และขาดการสนับสนุน คนไทยสู้ต่างชาติได้สบายถ้าได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่ระบบและกลไกของธุรกิจ SMEs และ MSEs ไทย ต้องแก้ที่ระบบและกลไกของภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจ SMEs และ MSEs ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมพอเพียงกับค่าครองชีพ ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มองเห็นอนาคตในอาชีพ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

มีนาคม 2554

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 09:29 น.
 

ชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเมือง

พิมพ์ PDF

ผมเองเคยพยายามจัดตั้ง ชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านที่ผมอยู่ โดยเริ่มจากการจัดหาองค์กรที่สามารถให้การสนับสนุนได้ และผมก็สามารถหาผู้สนับสนุน จากมหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิต โรงเรียนราชวินิจ บางเขน โรงเรียนการเคหะท่าทราย โรงเรียนอนุบาลเข็มทอง องค์กรเหล่านี้จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยการเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในหน่วยงานของตน ทำให้ผมสามารถสร้างเครือข่ายได้ในทุกระดับ คือระดับอุดมศึกษา มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เป็นผู้ขับเคลื่อน ระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย ให้ โรงเรียนราชวินิต บางเขน เป็นผู้ขับเคลื่อน ร่วมกับ โรงเรียนการเคหะท่าทราย และโรงเรียนอนุบาลเข็มทองเป็นผู้ขับเคลือนเด็กอนุบาลและผู้ปกครอง สถาบันการศึกษาทั้ง 4 ให้ความร่วมมือ หลังจากนั้นจึงได้ติดต่อเขต และผู้นำท้องถิ่น และผู้แทนท้องถิ่น เมื่อทุกภาคส่วนเห็นด้วย จึงกำหนดให้แต่ละส่วนจัดหาสมาชิก เพื่อมาเลือกกรรมการเพื่อบริหารงาน ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แต่ปรากฎว่าไม่มีผู้ขับเคลื่อนในการหาสมาชิก และช่วงนั้นผมต้องไปต่างประเทศเป็นเวลา เดือนกว่าๆ เมื่อกลับมาทุกอย่างไม่ก้าวหน้า และผมก็มีงานยุ่งมาก จึงไม่ได้ดำเนินการต่อ

การเรียนรู้ทางทฤษฏีอย่างเดียวไม่เกิดผล ต้องสร้างสังคมที่เรียนรู้จากการปฎิบัติ มีหัวหน้าและกิจกรรมในแต่ละวัย ผมมีการจัดเป็นแผนงานไว้ทุกขั้นตอน แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนนั้นๆ ต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับ สร้างงานให้คนในชุมชน ต้องทำให้คนที่ไม่มีงานทำมีรายได้ บริหารความเป็นอยู่ในชุมชนให้สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ ผู้นำชุมชน หรือผู้แทนชุมชนต้องลงมามีส่วนร่วม

ผมได้นำความคิดและการดำเนินการที่ผ่านมาไปนำเสนอในการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง เมื่อต้นเดือน กันยายน ที่ผ่านมา และได้รับความสนใจจากหลายๆท่านุ ทำให้เห็นช่องทางที่จะนำเข้าเป็นโครงการของวุฒิอาสาธนาคารสทอง ท่านใดสนใจมีส่วนร่วมโปรดติดต่อผมได้ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือโทร 089-1381950

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

Seminar on Linked Open Data

พิมพ์ PDF

Seminar on Linked Open Data

(Attached to The 1st SRII Asia Summit 2013)

Centara Grand & Bangkok Convention Centre, Central World, Bangkok
September 18th, 2013

09:00 - 10:00 Introduction to Linked Data and its Life-Cycle
by Soren Auer, University of Bonn and Fraunhofer IAIS, Germany
10:00 - 11:00 From Unstructured information to Linked Data
by Axel-C. Ngonga Ngomo, University of Leipzig
11:00 - 11:15 Coffee Break
11:15 - 12:15 Localization issues to the LOD cloud
by Key-Sun Choi, Korea Advanced Institute of Science and Technology, Korea
12:15 - 13:00 Lunch
13:00 - 13:45 โครงการ Data Taxonomy กรมสรรพสามิต
โดย จุมพล ริมสาคร กรมสรรพสามิต
13:45 - 14:30 Linked Open Government Data
โดย วิลาศ วูวงศ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14:30 - 15:15 การประยุกต์ใช้ Linked Data ในโครงการ Data Taxonomy กรมสรรพสามิต และสาธิตผลงานโครงการ Data Taxonomy กรมสรรพสามิต
โดย ชุติพร อนุตริยะ, มหาวิทยาลัยชินวัตร และทีมงาน
15:15 - 15:30 Coffee Break
15:30 - 16:00 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับ Linked Data โดยใช้โปรแกรม OAM
Development of Linked Data Applications using OAM Tools
โดย มารุต บูรณรัช, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

https://sites.google.com/site/lod2013bkk/
 


หน้า 449 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611013

facebook

Twitter


บทความเก่า