Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ถอดบทเรียนชี้นำสังคม และผลักดันนโยบายสาธารณะ

พิมพ์ PDF

ในการประชุม คศ.นส. (เครือข่ายสร้างเสริมศักยภาพด้านนโยบายสาธารณสุขในคณะแพทยศาสตร์ไทย) ครั้งที่ ๖  ที่คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี   เมื่อวันที่ ๒๕ ก.. ๕๖  ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ นำหนังสือถอดบทเรียนชี้นำสังคม และผลักดันนโยบายสาธารณะ มาแจก

 

 

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก  ต่อนักวิชาการที่สนใจทำงานวิชาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

 

 

ผมค้นพบว่า หนังสือเล่มนี้ ดาวโหลดได้ฟรีที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ค. ๕๖

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2013 เวลา 12:01 น.
 

คนดีวันละคน : 257. รศ. ดร. โกศัลย์ คูสำราญ

พิมพ์ PDF

ดร. โกศัลย์เป็นคนเก่ง แบบที่ก้มหน้าก้มตาทำงาน ใช้ความสามารถที่โดดเด่นทำแต่งาน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง คนอย่างนี้หายากยิ่ง

คนดีวันละคน : 257. รศ. ดร. โกศัลย์ คูสำราญ

 

 

๗๐ ปี รศ. ดร. โกศัลย์ คูสำราญ คนเก่งที่ถ่อมตัว

วิจารณ์ พานิช

……………

รศ. ดร. โกศัลย์ คูสำราญ เรียนหนังสือรุ่นน้องผม ๑ ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธรุ่นเดียวกันกับ ศ. ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช เรียนจบระดับเตรียมอุดมศึกษาได้คะแนนเยี่ยมในกลุ่ม ๕๐ คนแรกของประเทศ ที่เรียกกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า “ติดบอร์ด” และได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ ไปจบปริญญาเอก สาขาเคมีจากมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด

จึงถือได้ว่าเป็นคนที่มีประวัติการเรียนเด่นมาก อย่างหาตัวจับยาก ท่านเป็นคนเงียบๆ ไม่แสดงตัว ไม่อวดตัว ผมมารู้จักกับท่านเมื่อผมมารับงานผู้อำนวยการ สกว. ในปี ๒๕๓๖ ในช่วงแรกทำงานอยู่ที่ชั้น ๑๘ ของอาคารมหานคร-ยิปซั่ม ซึ่งเป็นสำนักงานของ สวทช. จึงได้มีโอกาสรู้จักท่านซึ่งทำงานเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ผมรู้สึกว่าท่านเป็นคนโอภาปราศัย ต้อนรับผมซึ่งเป็นอาจารย์บ้านนอกเข้ากรุงอย่างมีอัธยาศัยดีมาก

ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการ สวทช.ในขณะนั้น กล่าวชมให้ผมฟังบ่อยๆ ว่า ดร. โกศัลย์ ทำงานเก่งมาก เป็นคนละเอียดรอบคอบ และความรู้ดีมากในทุกด้าน มีความซื่อสัตย์รับผิดชอบต่องาน และที่สำคัญ เป็นคนมีอัธยาศัยดีมาก

ต่อมามีการเปลี่ยนผู้บริหาร สวทช. และมีคนมาบอกผมหลายคน ว่า ดร. โกศัลย์ ไม่ได้รับต่อสัญญาการทำงานที่ สวทช. ทาง สกว. น่าจะชวนมาทำงาน จะมีคุณค่าต่อ สกว. มาก ตอนนั้น สกว. มีโครงการ คปก. (โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเศก) แล้ว โดยมี รศ. ดร. กำจัด มงคลกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ อาจารย์กำจัดกับผมตกลงกันว่า ผมจะไปเชื้อเชิญ ดร. โกศัลย์มาทำงานที่ สกว. ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ คปก. ทำงานบริการ คปก. คู่กับอาจารย์กำจัด ผมเข้าใจว่าทั้งสองท่าน รู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้ว จึงทำงานเข้าขากันอย่างดีเยี่ยม ทำงานโดยมีข้อมูล และมีความแม่นยำ ทำให้งาน คปก. ได้รับความเชื่อถือในความยุติธรรม ตรงไปตรงมา ในเรื่องการตัดสินทุน

เมื่อผมมีโอกาสได้สนทนาเรื่องต่างๆ กับ ดร. โกศัลย์มากเข้า ผมก็รู้ว่าท่านเป็นคนอ่านหนังสือมาก เป็นคนรู้ลึก และกว้างขวาง จดจำเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำ ต่างกับผมที่จำอะไรไม่ค่อยได้ เรื่องที่ ดร. โกศัลย์ชอบมีหลากหลายด้าน รวมทั้งด้านธรรมะ

เมื่ออาจารย์กำจัดขอเกษียณตัวเองจาก สกว. เมื่ออายุครบ ๗๐ ปี ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย ได้รับเชิญมาเป็นผู้อำนวยการ คปก. แทน โดย ดร. โกศัลย์ ยังคงทำหน้าที่รองผู้อำนวยการอย่างเดิม และเมื่อผู้อำนวยการ คปก. เปลี่ยนเป็น ศ. ดร. อมเรศ ภูมิรัตน ดร. โกศัลย์ก็ยังคงทำหน้าที่รองผู้อำนวยการอย่างดี โดยที่ ศ. ดร. อมเรศ มีอายุน้อยกว่า ผู้อำนวยการ คปก. ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่า ได้ ดร. โกศัลย์ เป็นแม่บ้านดูแลงานส่วนที่ เป็นรายละเอียดได้อย่างเรียบร้อยหมดจด ทุกคนสบายใจในความเป็นคนตรง ความซื่อสัตย์ หากไม่มี ดร. โกศัลย์ งาน คปก. จะไม่สามารถดำเนินการได้ผลสำเร็จเรียบร้อยได้ถึงขนาดนี้

เจ้าหน้าที่ของ คปก. ทุกคนบอกผมว่า เขาโชคดีที่ได้ทำงานกับ ดร. โกศัลย์ ได้มีท่านเป็นครูสอนงาน ทำให้เขาทำงานเป็นระบบ ละเอียด และเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นแบบอย่างที่ดีในการครองตน ให้แก่ทุกคนในหน่วยงาน

เมื่อผมกลับไปทำงานให้แก่ สกว. ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบาย คปก. ผมพบว่ารายงานการประชุม และเอกสารในแฟ้มประชุม ของโครงการ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าประทับใจมาก เป็นผลงานการวางรากฐานด้านงานธุรการของ คปก. โดย ดร. โกศัลย์อย่างไม่มีข้อสงสัย

ผมทราบข่าวเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ ว่า ดร. โกศัลย์ จะออกจาก สกว. จึงถามท่านว่าทำไมไม่อยู่ต่อ ท่านบอกว่าเป็นนโยบายของ สกว. ที่จะไม่ต่อสัญญาแก่พนักงานที่อายุเกิน ๗๐ ปี ไม่ใช่ท่านไม่ประสงค์จะทำงานต่อ

ผมจึงได้เรียนต่อท่านผู้อำนวยการ สกว. ศ. นพ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ว่า ดร. โกศัลย์ แม้จะอายุถึง ๗๐ ปีแล้ว แต่ท่านยังแข็งแรง ยังทำงานได้ดี คนที่ทำงานเก่ง ซื่อสัตย์ และทำแต่งาน ไม่เล่นการเมือง และไม่ถืออาวุโส อย่างนี้หายาก น่าจะหาทางดึงท่านไว้ทำงานต่อ โดยไม่ขัดกับนโยบายของคณะกรรมการ นโยบายกองทุน สนับสนุนการวิจัย โดยที่กติกาของ สกว. ไม่ควรถือตามแนวราชการ คือมีระเบียบเดียว ใช้บังคับทั่วกันหมด โดยไม่คำนึงถึงบริบทของงาน และเงื่อนไขอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ท่านผู้อำนวยการ สกว. ก็เห็นด้วย

ผมจึงถือโอกาสที่ รศ. ดร. โกศัลย์ คูสำราญมีอายุครบ ๗๐ ปี และออกจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการ คปก. เขียนบทความนี้สดุดีท่านไว้เป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง โดยหวังว่า ไม่ใช่เป็นการเขียนบทความ เนื่องในโอกาสที่ท่านออกจาก สกว.

ดร. โกศัลย์เป็นคนเก่ง แบบที่ก้มหน้าก้มตาทำงาน ใช้ความสามารถที่โดดเด่นทำแต่งาน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง คนอย่างนี้หายากยิ่ง

วิจารณ์ พานิช

๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2013 เวลา 07:52 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๘๑. สมบัติส่วนตนหรือสมบัติส่วนรวม

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๒๐ ก.ค. ๕๖ ผมไปร่วมกิจกรรมของ คศน. ที่ โรงแรม บั๊ดดี้ ใกล้บ้าน เข้าไปแล้วผมตรงเข้าไปที่ลานร้านอาหาร ที่สร้างยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ ๓๐ - ๔๐ เมตร พร้อมกับถามตนเองว่า การสร้างสิ่งก่อสร้างล้ำแม่น้ำอย่างนี้ผิดกฎหมายหรือไม่

เข้าไปเห็นการสร้างพื้นที่ปลูกผักตบชะวา ผมถามตนเองว่า นี่คือวิธีสร้างความตื้นเขินของแม่น้ำ เพื่อให้ที่ดินของตนงอก ใช่หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ และหากไม่ผิดกฎหมาย ผิดหลักการการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เน้นการมีพื้นที่สาธารณะไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือไม่

ผมบอก อ. หมอเฮ้าส์ ผู้จัดการโครงการ คศน. ว่าไม่ควรไปใช้บริการโรงแรมนี้ เพราะบุกรุกที่สาธารณะ ท่านบอกว่า หาที่ประชุม คศน. ยากขึ้นทุกวัน ครั้งก่อนก็ไปเจอการบุกรุกป่า พื้นที่ภูเขา คราวนี้บุกรุกแม่น้ำ ต่อไปสงสัยจะหาที่ประชุม คศน. ไม่ได้ 
จิตสาธารณะของผู้คนในสังคมไทย อยู่ในสภาพเข้มข้นหรืออ่อนแอ ระดับใด???!!!

ทำให้ผมได้โจทย์วิจัย เรื่อสถานภาพริมฝั่งแม่น้ำ กับการปฏิบัติตามกฎหมาย ที่น่าจะให้นักเรียนชั้นประถมปลายทำ เพื่อสร้างสำนึกสาธารณะ และเพื่อเรียนรู้ ๘ หน่วยสาระ

 

วิจารณ์ พานิช
๒๑ ก.ค. ๕๖

 

ร้านยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา

 

ถ่ายจากบนร้าน ให้เห็นว่ามันยื่นเข้าไปในแม่น้ำเพียงใด

 

แปลงผักตบชะวา

 

ถ่ายให้เห็นวิธีกันพื้นที่ ที่ควรจะเป็นที่สาธารณะ

 

 

ร้านอาหารใหญ่โตมาก

 

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2013 เวลา 07:57 น.
 

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๒๐. AAR

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ The Heart of Higher Education : A Call to Renewal เขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)


แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย


ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้ ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนา บูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้ บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

บันทึกตอนที่ ๒๐ นี้ เป็นตอนจบสำหรับการตีความหนังสือเล่มนี้ เป็นบันทึกสะท้อนความคิด (reflection) หรือ AAR ว่าผมเรียนรู้อะไรจากการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้

ผมบอกตัวเองว่า ความคิดที่ยึดถือกันตลอดมา ว่าการศึกษาทางโลกกับทางธรรมเป็นเรื่องแยกกัน เป็นคนละสิ่ง นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด เรื่องราวและวิธีการตามในหนังสือเล่มนี้บอกเราว่า มีวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้คนเราเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมไปพร้อมๆ กัน การเรียนรู้สองสายนี้ไม่แยกกัน แต่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน

ที่สำคัญอย่างยิ่ง การเรียนรู้สองสายนี้ไม่ขัดกัน ไม่ทำให้การเรียนรู้อีกสายหนึ่งด้อยลง และการเรียนรู้ทางธรรมนี้ ไม่จำกัดศาสนาหรือความเชื่อ ไม่ต้องบวชเป็นพระ

ในศตวรรษที่ ๒๑ การเรียนรู้มาบรรจบกันที่การฝึก ฝึกฝนตนเองด้วยการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุทักษะชุดหนึ่ง ที่เรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทักษะนี้มีความซับซ้อน แต่ฝึกไม่ยากเกินศักยภาพของมนุษย์ กล่าวใหม่ว่า คนที่มีสติปัญญาปานกลางทั่วๆ ไปฝึกได้ ฝึกแล้วจะมีสติปัญญาดีกว่าคนในสมัยปัจจุบันเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สติปัญญาที่จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันและอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง เอาแน่เอานอนไม่ได้ และเป็นโลกแห่งมายาความเย้ายวนล่อหลอก

การศึกษาในทุกระดับ ต้องเรียนรู้ให้เกิดพัฒนาการพร้อมกัน ๔ ด้าน คือด้านปัญญา (wisdom/cognitive), ด้านสังคม (social), ด้านอารมณ์ (emotional), และด้าน จิตวิญญาณ (spiritual) หรือจะเติมด้านที่ ๕ คือ พัฒนาการทางกาย (physical) ด้วยก็ได้ รวมเป็นการเรียนรู้บูรณาการ (Integrative Learning) หรือการเรียนรู้แบบงอกงาม/พัฒนา จากภายในตน (Transformative Learning)

การเรียนรู้แบบนี้ ทำโดยผู้เรียนลงมือทำ และคิดไตร่ตรอง (Learning by Doing) ครูทำหน้าที่สำคัญยิ่งกว่าการถ่ายทอดความรู้ คือทำหน้าที่ “ครูฝึก” /โค้ช ตรวจสอบระดับความรู้เดิมและจริตของศิษย์ และออกแบบกิจกรรมให้ศิษย์ลงมือทำ ให้ทั้งท้าทายและสนุก เมื่อทำได้สำเร็จเกิดความภาคภูมิใจ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้ต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ นศ. ลงมือทำ มีทั้งที่เน้นเป้าหมายพัฒนาปัญญา (cognition) เป็นหลัก และที่เน้นพัฒนาจิตตปัญญา (ethics, emotion, spiritual) เป็นหลัก แต่ไม่ว่าเน้นพัฒนาการด้านใด จะมีการเรียนรู้บูรณาการอยู่ด้วยเสมอ การเรียนรู้ส่วนที่เน้นปัญญา เมื่อตามด้วยกิจกรรมทบทวนไตร่ตรองใคร่ครวญ (reflection) หรือ AAR ครูจะสามารถนำหรือเอื้ออำนวย (facilitate) กระบวนการ ให้ นศ. เกิดการเรียนรู้ด้านใน (จิตตปัญญา) บูรณาการไปในเวลาเดียวกันได้เสมอ 
ทักษะของครูในศตวรรษที่ ๒๑ จึงเปลี่ยนจากทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ไปสู่ทักษะในการเอื้ออำนวย หรือเป็นครูฝึก ให้ นศ. เกิดการเรียนรู้ที่ลึก เชื่อมโยง และครบด้าน

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่นนี้ได้จริง สถาบันอุดมศึกษาต้องเปลี่ยนไปเป็น “ชุมชนเรียนรู้” (Learning Community) ที่ทั้งครูและ นศ. เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ ชุมชนของครู ร่วมกันเรียนรู้ทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ชุมชนเรียนรู้ของครู เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) บรรยากาศของสถาบันอุดมศึกษาเป็นบรรยากาศที่เปิดกว้าง เปิดรับ และเคารพความแตกต่างหลากหลาย และเรียนรู้จากความแตกต่างหลากหลายนั้น เพราะความแตกต่างหลากหลายเป็นธรรมชาติของโลกและสังคมยุคปัจจุบัน ยิ่งโลกถึงกันจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ สังคมยิ่งแตกต่างหลากหลายยิ่งขึ้น มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีทักษะที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในท่ามกลางความแตกต่างนั้น

โลก และความก้าวหน้าของวิทยาการในศตวรรษที่ ๒๑ ได้เผยให้เราเห็นความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่ง รวมไปถึงจักรวาล การเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์จึงต้องเลยไปจากการเรียนรู้ที่ครอบงำด้วยกระบวนทัศน์ “มนุษย์เป็นศูนย์กลาง” (Anthropocentric) ไปสู่กระบวนทัศน์ความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย ไม่มีศูนย์กลาง หรือมองศูนย์กลางเป็นสมมติ

ตามแนวทางของ “ศาสตร์ด้านการเรียนรู้” (Cognitive Psychology) สมัยใหม่ ความรู้เป็นสมมติ การรู้ของคนๆ หนึ่ง จะไม่เหมือนการรู้ของคนอื่น แม้จะผ่านประสบการณ์หรือกิจกรรมเดียวกัน คือการรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตน งอกงามพัฒนาขึ้นจากภายในตน ไม่ใช่รับถ่ายทอดจากภายนอก

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๒ ก.พ. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2013 เวลา 08:02 น.
 

ปฏิรูปเริ่มที่นักการเมือง

พิมพ์ PDF

ปฏิรูปเริ่มที่นักการเมือง

นสพ.ไทยรัฐฉบับวันที่ ๒๘ ส.ค. ๕๖ ลงบทรรณาธิการหน้า ๓ เรื่อง ปฏิรูปเริ่มที่นักการเมือง

อ่านได้ ที่นี่

และลงบทความ ในคอลัมน์หมายเหตุประเทศไทย โดย ลม เปลี่ยนทิศ เรื่อง จากปฏิรูปการเมือง สู่งานใหญ่ปฏิรูปประเทศ อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ส.ค. ๕๖

บนเครื่องบินกลับจากเชียงใหม่

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 


หน้า 452 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632408

facebook

Twitter


บทความเก่า