Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๖๑๗. ความเจ็บป่วยให้โอกาสอยู่กับตัวเอง (บันทึกตามัว ๑)

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๕ ก.ค. ๕๕ ผมออกจากบ้านตีห้าครึ่ง ไปยังหอประชุมกองทัพเรือ เพื่อทำหน้าที่ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล   หลังจากลงทะเบียนรับบัตรผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ผมก็ขึ้นไปยังห้องโถงรับประทานอาหาร   รับอาหารกล่อง โดยผมเลือกข้าวหมูแดง    และไปนั่งรับประทานที่โต๊ะเดียวกันและคุยกับทีมจากศิริราช   สักครู่ ศ. พญ. สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองอธิการบดีก็มานั่งและคุยด้วย


เวลานั้นน่าจะ ๗ น. เศษๆ   ทันใดนั้นผมรู้สึกเหมือนมีฝ้ามาบังตา    ตอนแรกคิดว่าแว่นตาเปื้อนน้ำข้าวหมูแดง    ถอดแว่นออกมาดูก็สะอาดดี   คิดว่ามันเปื้อนตาหรือขนตา   เช็ดด้วยทิชชูก็ไม่หาย    ลองปิดตาข้างขวา ตาซ้ายมองเห็นดี    ลองปิดตาข้างซ้าย ตาขวาฝ้ามาก และเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า บางส่วนเหมือนมีสิ่งที่เป็นเส้นคล้ายขยุ้มขนตามาบัง    ผมไม่ได้บอกใคร และยังคงอ่านคำถวายรายงานได้โดยไม่มีใครรู้ว่าตอนนั้นผมมีตาเดียวที่ใช้การได้   และอยู่จนตลอดงาน   แม้ตอนร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวันกับสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ผมก็ทำหน้าที่ได้ตามปกติ


กลับมาบ้านตอนเย็น จนถึงตอนเช้า อาการยังคงเดิม ไม่หนักขึ้นหรือเบาลง   ผมมีประชุมที่มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา    เมื่อไปถึงผมขอให้คุณโสภาพรรณช่วยติดต่อท่านคณบดี ศ. นพ. อุดม ของศิริราช   ท่านบอกให้รีบไปศิริราชทันที


ที่ศิริราชผมได้รับการดูแลแบบวีไอพี   อ. หมอปรีชา สุนทรานันท์ อดีตรองอธิการบดี และเวลานี้มาเป็นรองคณบดี มารับพาไปห้องตรวจตาที่ตึกสยามินทร์ ชั้น ๑   และได้รับการตรวจอย่างละเอียดและรอบคอบ แถมยังได้รับเลี้ยงอาหารเที่ยงจาก อ. หมอจุฑาไล ตัณฑ์เทอดธรรม หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา    นอกเหนือจากที่ท่านกรุณารับผมเป็นคนไข้ของท่าน    โดยจะต้องขยายม่านตาเพื่อตรวจ    แต่สงสัยว่ามุมตรงม่านตาของผมมันน่าจะแคบ   และถ้าแคบเมื่อหยอดยาขยายม่านตา ความดันในตาจะสูง เกิดโรคต้อหินแทรกซ้อนตามมา    ท่านจึงขอให้ อ. หมออังคณาช่วยตรวจมุมตา ก็พบว่าแคบจริง   และตรวจความดันตาปกติ    อ. หมออังคณาจึงกรุณายิงเลเซอร์ป้องกันม่านตาไปกองที่มุมและทำให้เกิดความดันในตาสูง   โดยยิง ๒ เครื่อง เครื่องหลังเป็น YAG Laser ทำให้ผมมีประสบการณ์นี้เป็นครั้งแรก    ตอนยิง YAG Laser ครั้งแรกไฟมันแรงกระตุกจนผมสะดุ้ง ทั้งๆ ที่ อ. หมออังคณาเตือนแล้วว่าจะเจ็บหน่อย


ตอนก่อนยิงเลเซอร์ พยาบาลหยอดยาชาและยาหดม่านตา    รอจนม่านตาหดจึงยิงเลเซอร์    ยิงเลเซอร์เสร็จก็ต้องหยอดยาขยายม่านตา    พยาบาลบอกว่าต้องรอนานหน่อย เพราะเพิ่งหยอดยาหดม่านตา    แต่โชคดี ม่านตาของผมมันไม่ค่อยดื้อ เขายอมขยายในเวลาไม่นาน    และ อ. หมอจุฑาลัย ก็ได้ตรวจตาผมด้วยเครื่อง slit lamp และวินิจฉัยว่าเป็นโรค vitreous hemorrhage หรือเลือดออกในวุ้นในลูกตา    ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงน้อยที่สุดในกลุ่มโรคที่สงสัย    ที่สำคัญคือหายเป็นปกติได้


แต่หมอไม่สามารถตรวจดูจุดที่เลือดออกว่าเป็นอย่างไร เพราะเลือดออกมาก บังหมด มองจอตา (เรตินา) ไม่เห็นเลย    แต่ดีตรงที่ตาซ้ายของผมปกติดี ไม่มีร่องรอยของเบาหวานหรือหลอดเลือดเสื่อม (จากความดันโลหิตสูง)    หมอพูดกันว่ามีเม็ดสีมากขึ้นนิดหน่อย ซึ่งก็เป็นปกติสำหรับคนแก่


ตอนเช้า หลังจากไปถึงศิริราชสักครู่ ท่านคณบดีอุดมก็มาเยี่ยม และทำหน้าที่ญาติผู้ป่วย ซัก อ. หมอจุฑาไลว่าคิดถึงโรคอะไรบ้าง    ได้รับคำตอบว่า

๑. เลือดออกในวุ้นในลูกตา (vitreous hemorrhage)

๒. หลอดเลือดอุดตัน ซึ่งอาจเป็นหลอดเลือดดำ หรือหลอดเลือดแดงก็ได้

๓. จอตาลอก (retina detachment)


ผมได้รับคำแนะนำให้พักโดยเลือกได้ ๒ ทาง คืออยู่โรงพยาบาล หรือพักอยู่กับบ้าน    ผมรีบเลือกพักอยู่กับบ้านโดยสัญญาว่าจะปฏิบัติตัวเป็นคนไข้ที่ดี  หมอห้ามไม่ให้เดินทาง ไม่ใช้สายตาแบบที่ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลา คือการอ่านหนังสือ    ห้ามเบ่งอึ ห้ามไอ จาม วิ่งออกกำลัง เดินมากๆ    ให้นอนหนุนศีรษะสูง เพื่อให้เลือดตกลงล่าง   โดยได้รับคำบอกว่า อาการจะหายภายในเวลาระหว่าง ๔ วันถึง ๑ เดือน และเมื่อเลือดถูกดูดซึมไปจนเหลือน้อยลง ให้ไปตรวจหาร่องรอยสาเหตุที่เลือดออก   ส่วนอีกคำสั่งหนึ่งมาจากหมอประจำดวงใจคือสาวน้อย บอกให้หยุดกินน้ำมันปลา (fish oil) เพราะมันอาจทำให้เลือดออกง่าย


ผมบอกสาวน้อยให้ซื้อผลไม้มากินป้องกันท้องผูก    คืนวันที่ ๖ เขาจึงเอาผงไฟเบอร์ธรรมชาติที่มีขายเป็นซอง ชื่อ Mucilin มาละลายน้ำให้ดื่ม   ดังนั้นเช้าวันที่ ๗ ผมจึงถ่ายคล่องเป็นพิเศษ


ผมเตรียมพักผ่อนสายตา ด้วยการรับรู้ผ่านประสาทหูแทน    จึงได้โอกาสเอาเสียงของการประชุมต่างๆ ที่ผมบันทึกด้วย MP3 เอามาเก็บไว้ใน HDD ถ่ายกลับมาลงในเครื่องเล่น MP3 และนอนฟังด้วยความเพลิดเพลินและประเทืองปัญญา


นอกจากนั้น เจ้า iPod รุ่นเก่า ๒ ตัว ที่ไม่ค่อยได้ใช้ ก็ได้มีโอกาสทำหน้าที่  ผมเอามาอัดไฟ และฟังเพลงคลาสสิคของโปรด   รู้สึกว่าเพลงไพเราะจริงๆ   คงเพราะผมจิตว่าง ไม่ต้องกังวลถึงงานที่จะต้องทำ    เพราะต้องปลดการเดินทางและงานต่างๆ ออกไปหมด


การวิ่งออกกำลังสะเทือน หมอห้ามเด็ดขาด   ให้รอจนหาย   เป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกขาดหายไป จึงคิดจะใช้การขี่จักรยานแทน    แต่สาวน้อยสั่งห้าม บอกว่าอย่างน้อยให้มั่นใจว่าเลือดหยุดแน่นอนก่อน


ลูกสาว ๒ คนที่อยู่บ้านเดียวกัน และสาวน้อย รู้ใจว่าผมเป็นคนแก่ไฮเปอร์    เขาจึงช่วยกันหาทางเกลี้ยกล่อมให้ผมพักสายตาให้ได้


ผมทดลองสมมติว่าผมตาบอดทั้งสองข้าง ผมจะใช้ประสาทหูเพื่อการรับรู้และเรียนรู้แทนได้แค่ไหน   ผมรู้ว่าหากสมมติเป็นจริง งานทั้งหลายก็หายวับไป    ผมจะกลายเป็นคนแก่อยู่กับบ้าน เดาว่าคงมีคนคอยดูแล    ผมจะต้องหาความสุขจากประสาทสัมผัสอื่น ซึ่งตัวสำคัญคือโสตประสาท    ผมจึงทดลองหัดฟังเสียงต่างๆ ให้ได้สุนทรีย มากกว่าที่ได้ในชีวิตตามปกติ ที่มีช่องทางรับรู้หลายช่องทาง    ซึ่งก็คือการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งนั่นเอง    ไม่ทราบว่าอุปาทานหรือไม่ ผมฟังเพลงได้ไพเราะขึ้น   ผมฝึกแยกเสียงเครื่องดนตรี และฝึกสัมผัสความไพเราะของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด   ชีวิตสนุกไปอีกแบบ


๗ กรกฎาคม ๕๕ (วันที่ ๓ ของอาการ) อาการตาขวามัวยังคงเดิม   ไม่ดีขึ้นหรือเลวลง    แต่สังเกตว่า สิ่งที่บังตาขวาเป็นขยุ้มเส้นๆ มันหนาตัวขึ้น และช่องว่างระหว่างเส้นกว้างขึ้น   ผมพยายามจำภาพสิ่งนี้ เพราะเข้าใจว่าคือก้อนเลือดที่ออกไปอยู่ในวุ้นตา    ผมต้องการสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายในตาขวา


ผมเอา iPod เก่า 80GB มาเลือกฟังเพลง   เพลงในนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากความกรุณาของ รศ. ดร. สุกรี เจริญสุข ให้เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ใส่ให้ เมื่อ ๕ - ๖ ปีที่แล้ว   ผมคิดว่า iPod ให้เสียงเพลงที่ไพเราะกว่า iPhone 4   ไม่ทราบว่าหูของผมฝาดไปหรือไม่


ตอนเช้าอากาศดี ผมไปนั่งที่ระเบียงหน้าบ้านเพื่อซึมซับธรรมชาติสีเขียวของต้นไม้   สลับกับออกไปนั่งในสนามหญ้าข้างบ้าน   ฟังเพลงและรับลมอ่อน ยามเช้าด้วยความสดชื่น   ช่วงหนึ่งนกปรอดเขามาร้องบนต้นไม้เสียงขรม   เดาว่าเป็นเสียงเชียร์ของพ่อแม่นก ให้ลูกนกขยันหัดบิน   เพราะวันก่อนผมเห็นตัวลูกนกที่บ้านลูกสาว    เขาทำรังที่ระเบียงบ้านลูกสาว


ผมลองเข้าไปฟังเพลงจาก YouTube ด้วย iPad   ฟังเพลงของ Vanessa Mae ที่เคยอ่านพบว่าร่ำรวยมาก   ได้เห็นหน้าตาและการแต่งตัวทั้งตอนเริ่มดัง กับเดี๋ยวนี้ ซึ่งเปลี่ยนไปมาก    และเพลงและดนตรีก็เปลี่ยนไปเป็น stage show มากขึ้น   เดาว่าการแสดงดนตรีของเขาคงจะมีฝ่ายต่างๆ มากำหนดมากมาย   โดยฝีมือสีไวโอลินของเธอก็นับว่าขั้นเทพ (ธิดา)   ผมฟัง Beethoven Symphony No. 9 ใน YouTube เทียบกับฟังใน iPod พบว่า ใน iPod ไพเราะกว่า


ผมได้โอกาสฝึกตนเอง ให้มีชีวิตอยู่กับโสตสัมผัส มากกว่าจักษุสัมผัส




วิจารณ์ พานิช

๘ ก.ค. ๕๕

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/497384

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 11:56 น.
 

JJ2013V8_5 ตามรอยเรียน รู้ Learn เพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมปัญญา

พิมพ์ PDF
การฝึกฝนอาจารย์ใหม่ให้เกิด Team Teaching เพื่อสร้างเด็กนิสิต เกิด Team Learning จะช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้ง ครู และ นิสิต เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life Long Learning

ตามรอยเรียน รู้ Learn

การพัฒนาด้วยการประเมินตนเอง หรือ Self Reflection ด้วยการเขียนการรายงานประเมินตนเอง หรือ SAR


หน่วยงานที่ ๕ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ ที่ JJ ได้ออกไปประเมิน Learn เพื่อพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา


เรื่องราวดีดี ที่ได้ สร้างความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพของการบริหารการศึกษา เป็นจุดเน้น มากกว่าที่จะไป ต่อรองการเรื่อง คะแนน


การทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้ประเมิน และ ผู้รับการประเมินทำให้ เกิดความเข้าใจ ถึงเจตนารมณ์ ของการพัฒนาที่เป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่พึงกระทำ ของ สกอ


การมองหาจุดเน้น เพื่อแสดง อัตตลักษณ์ ของสถาบัน จะถูกถ่ายทอดไปให้ นิสิต เพื่อเกิดพัฒนาการเป็น บัณฑิตที่พึงประสงค์

การฝึกฝนอาจารย์ใหม่ให้เกิด Team Teaching เพื่อสร้างเด็กนิสิต เกิด Team Learning จะช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้ง ครู และ นิสิต เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life Long Learning

JJ2013

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545079

 

วิธีติดต่อ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

อีเมล พิมพ์ PDF

เป็นการติดต่อคนที่ไม่มีสำนักงานประจำ    และไม่ใช้เลขานุการแบบพร่ำเพรื่อ

  • วิธีที่สะดวกที่สุด ทาง อี-เมล์ pvicharn(at)gmail.com ไม่ต้องใช้กระดาษ และรวดเร็ว ถึงตัวผมแน่
  • การนัดประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ที่ผมรับใช้อยู่  ในกรณีการติดต่อกับผม อยากขอให้เลิก Fax ไปที่ สคส.    เพราะผมไม่ได้เข้าไปทำงานที่ สคส. เป็นประจำแล้ว   จะมีผลทำให้ผมได้รับเรื่องล่าช้า    ขอให้ติดต่อทาง อี-เมล์แทน    และเอกสารหรือแฟ้มประชุมก็อยากให้ส่งเป็น attached files ทางอี-เมล์    หรือจะแจ้ง URL และ password ให้ผมเข้าไป download เอกสารเอาเองก็ได้
  • เอกสารถึงผมที่ส่งเป็น Fax ไปที่ สคส.   โดยไม่ได้บอกวิธีติดต่อกลับทาง อี-เมล์    อาจไม่ได้รับการตอบเลย เพราะไม่สะดวกที่จะตอบโดยตัวผมเอง
  • หากจำเป็นต้องส่งเอกสาร หรือแฟ้มประชุมจริงๆ ขอให้ส่งทางไปรษณีย์ ไปที่บ้าน
    ๔๗/๒๑๖  หมู่บ้านสิวลี   ถ. สุขาประชาสรรค์ ๓
    ต. บางพูด   อ. ปากเกร็ด   จ. นนทบุรี  ๑๑๑๒๐ 
    หมายเหตุ


(๑) ที่บ้านผมไม่มีเครื่องรับส่ง Fax 
(๒) อย่าส่งโดยวิธี EMS หรือลงทะเบียน   เพราะเมื่อบุรุษไปรษณีย์มาส่งและไม่มีคนที่บ้านเซ็นรับ    เขาจะแจ้งให้ผมไปรับเองทีที่ทำการไปรษณีย์ ยิ่งยุ่งยากหนักเข้าไปอีก

หรืออาจให้ messenger เอาไปส่งที่บ้านก็ได้   แต่ที่บ้านอาจไม่มีคนอยู่     ในกรณีเช่นนี้ ให้ฝากไว้ที่ป้อมยามของหมู่บ้าน    หรืออาจโทรศัพท์สอบถามก่อน ที่ ๐๒ ๙๖๓ ๒๑๖๓ ว่ามีคนอยู่บ้านหรือไม่   โปรดอย่าใช้โทรศัพท์นี้หลัง ๒๑.๐๐ น. เพราะจะไม่มีคนรับ (หลับแล้ว) 
หากเป็นเอกสารที่ไม่ด่วน   อาจส่งไปที่ 
สำนักงานนายกสภามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา   จ. นครปฐม  ๗๓๑๗๐ 
โทรศัพท์ ๐๒ ๘๔๙ ๖๓๓๓
โทรสาร  ๐๒ ๘๔๙ ๖๓๑๔
เลขานุการชื่อ คุณโสภาพรรณ (ลูกหว้า)


• ผมเป็นคนไม่ชอบพูดโทรศัพท์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างประชุม   จึงไม่นิยมให้เบอร์โทรศัพท์มือถือแก่ใครๆ และโทรศัพท์มือถือก็มักจะปิดหรือเปิดแบบสั่น ซึ่งบางครั้งก็ไม่รู้สึก    จึงต้องขออภัยที่หลายครั้งผมไม่ได้รับโทรศัพท์ที่โทรเข้ามือถือ

 

วิจารณ์ พานิช
๑๐ เม.ย. ๕๑

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:08 น.
 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 603. การสนทนาเพื่อปลดปล่อยความรู้ฝังลึก

พิมพ์ PDF
การพูดคุยแบบรังสรรค์ (generative conversation) จะช่วยให้ความรู้ที่ซ่อนอยู่ เผยตัวออกมา การพูดคุยแบบนี้เน้นการตั้งคำถาม ในบรรยากาศเท่าเทียมกัน และร่วมมือกัน คุยกันด้วยท่าทีเปิดกว้าง มีการตั้งคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งออกความเห็นออกมาจากใจ ไม่เน้นถูก-ผิด

 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 603. การสนทนาเพื่อปลดปล่อยความรู้ฝังลึก

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004   บทที่ ๘ เรื่อง Tacit Knowledge and Conversation  แนะนำวิธีสนทนาเพื่อให้ความรู้ฝังลึกออกมาทำงาน

การพูดคุยแบบใช้อำนาจเหนือ จะปิดกั้นความรู้ฝังลึก ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์  การพูดคุยแบบรังสรรค์ (generative conversation) จะช่วยให้ความรู้ที่ซ่อนอยู่ เผยตัวออกมา  การพูดคุยแบบนี้เน้นการตั้งคำถาม  ในบรรยากาศเท่าเทียมกัน และร่วมมือกัน  คุยกันด้วยท่าทีเปิดกว้าง  มีการตั้งคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งออกความเห็นออกมาจากใจ ไม่เน้นถูก-ผิด

ท่าที ๓ อย่าง มีความสำคัญต่อการปลดปล่อยความรู้ฝังลึก  และช่วยให้เกิดการสร้างความรู้

1.  เป็น “ผู้ไม่รู้ ท่าทีเช่นนี้ จะเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่ง หรือคนอื่นๆ แสดงความคิดเห็นออกมา  รวมทั้งช่วยสร้างบรรยากาศของความเท่าเทียมกัน  ไม่เน้นอันดับการบังคับบัญชา  ท่าที “ผู้ไม่รู้” ของฝ่ายผู้ฟัง จะช่วยให้ฝ่ายผู้ฟังเอาใจใส่ “การสนทนาออกมาภายนอก” (outer conversation) ของผู้อื่น  และในขณะเดียวกัน เอาใจใส่ “การสนทนาภายใน” (inner conversation) ของตนเอง

2.  สนใจอยากรู้ การแสดงความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสภาพนี้ จะอยู่ในท่าทีไม่สรุป ไม่มั่นใจ  และอยากฟังข้อคิดเห็นแบบอื่น  จะช่วยกระตุ้นผู้อื่นให้แสดงข้อคิดเห็นที่หลากหลายออกมา

3. ร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อให้ความรู้ฝังลึกที่ร่วมกันปลดปล่อยออกมา รวมตัวและสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ หรือการแก้ปัญหา

ท่าทีทั้งสาม ทำให้เกิดบรรยากาศของการตั้งคำถาม หรือสนใจใคร่รู้ร่วมกัน  ทำให้เกิดความร่วมมือกันมองหา หรือสร้าง มุมมอง โอกาส แนวคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ร่วมกัน

ท่าทีทั้งสามจึงเป็นบ่อเกิดของความสร้างสรรค์ (creativity)  แบบที่เป็นความสร้างสรรค์ร่วม (collective creativity)

วิจารณ์ พานิช

๗ ส.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545269

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:13 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๘. เข็มทิศสังคม

พิมพ์ PDF

อ. ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ อ. สุภรต์ จรัสสิทธิ์ แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม. มหิดล นัดมาสัมภาษณ์ เช้าวันที่ ๒ ก.ค. ๕๖ เพื่อประเมินแผนงาน NPI ของ สสส.  ที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการชี้ทิศทาง  และเคยเล่าเรื่องราวไว้ ที่นี่ และมีเว็บไซต์ของโครงการ ที่นี่ โครงการนี้ดำเนินการโดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ

ผมมองโครงการ NPI เป็น “เข็มทิศสังคม”  เราต้องการเข็มทิศใหม่  เพราะเข็มทิศเดิมที่ใช้อยู่มันชักนำโลก ไปในทางที่บิดเบี้ยว หรือสุดโต่ง ไร้สมดุลหรือความพอดี

เข็มทิศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ GDP  ชี้แต่ผลสำเร็จทางเศรษฐกิจ  ยิ่งนับวันก็จะเห็นว่า มันชักนำผู้คนและสังคม ไปในทางแห่งความโลภ เห็นแต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นหลัก

มีความพยายามที่จะหาเข็มทิศใหม่มาใช้นำทางสังคม  NPI เป็นหนึ่งในนั้น

แผนงาน NPI ระยะแรกดำเนินการมาเกือบ ๓ ปี  และได้ข่าวว่า สสส. จะให้ทุนสนับสนุนต่อในระยะที่ ๒  เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับตำบล  อำเภอ  และจังหวัด

GDP มีจุดแข็งตรงที่มันเป็นตัวเลขตัวเดียว ดูง่าย เข้าใจง่าย ใช้เปรียบเทียบได้ง่าย  และจุดอ่อนของมันก็คือสิ่งเดียวกันกับจุดแข็ง  คือมันง่ายจนมันไม่ได้บอก “สุขภาวะ” ที่แท้จริงของสังคม  และผู้คนมักโมเมว่าตัวเลข GDP บอกความเจริญก้าวหน้าของสังคม  ซึ่งจริงเพียงไม่ถึงครึ่ง  ยังมีส่วนอื่นที่ GDP ไม่ได้บอกหรือบอกไม่ได้  แต่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากเท่าหรือมากกว่า คือด้าน

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:30 น.
 


หน้า 457 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632570

facebook

Twitter


บทความเก่า