Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์ ทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิง เพื่อให้เป็น "ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑" ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๐ หรือศตวรรษที่ ๑๙ ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม   การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker และเป็น learning person   ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker   ชาวนาหรือเกษตรกร ก็ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker    ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ ๒๑ จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ หรือ learning skills

ที่การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคนไปเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง และพลิกผัน คาดไม่ถึง   คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะสูงในการเรียนรู้และปรับตัว

ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มี learning skills  และในขณะเดียวกันมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งไม่เหมือนการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๑๙

ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C


3R ได้แก่ Reading, 'Riting และ 'Rithmetics
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving
Creativity & innovation
Cross-cultural understanding
Collaboration, teamwork & leadership
Communications, information & media literacy
Computing & ICT literacy
Career & learning skills


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คือการเรียนรู้ 3R x 7C

ครูเพื่อศิษย์เอง ต้องเรียนรู้ 3R x 7C   เรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง   ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง

ดู 21st Century Learning Framework ได้ที่นี่

ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น facilitator ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) ของศิษย์   ผมจะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบันทึกต่อๆ ไป

ย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน   เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู

ครูจะต้องปรับตัวมาก  ซึ่งเป็นเรื่องยาก  จึงต้องมีตัวช่วย คือ PLC (Professional Learning Community)   ซึ่งก็คือการรวมตัวกันของครูประจำการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสกการณ์การทำหน้าที่ครูนั่นเอง   และ มสส. กำลังจะจัด PLC ไทย เรียกว่า ชร.คศ. (ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์)   หรือในภาษา KM เรียกว่า CoP (Community of Practice) ของครูเพื่อศิษย์นั่นเอง

ชร.คศ. คือตัวช่วยการเรียนรู้ของครู   ให้การปรับตัวของครู เปลี่ยนชุดความรู้และชุดทักษะของครู ไม่เป็นเรื่องยาก แต่จะสนุกเสียด้วยซ้ำ

เรื่อง PLC และ ชร.คศ. นี้ ผมจะเขียนโดยพิสดารในบันทึกต่อๆ ไป

 

วิจารณ์ พานิช
๑๕ ธ.ค. ๕๓
คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/415058

 

นายกรัฐมนตรีเพิ่งปราศรัยทางทีวี ชักชวนทุกฝ่ายหันมาคุยกันเพื่อแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น

พิมพ์ PDF

ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพิ่งออกทีวี (ช่วง 20.30 น วันที่ 2 สิงหาคม 2556) ชักชวนให้ผู้เกี่ยวข้องตัวแทนของกลุ่มต่างๆมาร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อวางรูปแบบของการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อาทิตย์หน้าจะเชิญมาประชุมร่วมกัน ผมเห็นด้วยกับเหตุผลและการนำเสนอของท่านนายก ที่เหลือก็อยู่ที่การดำเนินการตามที่ท่านพูด ท่านจะเชิญใครบ้าง การดำเนินการประชุมที่โปร่งใส และมีผู้ดำเนินรายการที่เป็นกลางและมีความสามารถในการควบคุม การประชุมควรจะมีการถ่ายทอดสดและ เปิดโอกาสให้ประชาชนในทุกกลุ่มมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
2 สิงหาคม 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 02 สิงหาคม 2013 เวลา 23:12 น.
 

การหลอมรวมระหว่างการเรียนวิชากับการเรียนรู้จากกิจกรรมนักศึกษา

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit)  หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๖ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของ Appendix B : Beyond the Classroom  เรื่อง Philadelphia University : Where Physical Education Makes a Play for Civic Education เขียนโดย Tom Schrand, Interim Dean, School of Liberal Arts, and Aurelio Valenta, Assistant Dean, Student Development, Philadelphia  University  เล่าเรื่องการจัดการเรียนรู้ด้านพลศึกษาเพื่อการเรียนรู้บูรณาการ นำไปสู่การจัดการเรียนรู้พลเมืองศึกษา หรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสำนึกพลเมือง  ในมหาวิทยาลัยฟิลาเดลเฟีย

มหาวิทยาลัยฟิลาเดลเฟีย ต้องการเคลื่อนจัดการเรียนรู้บูรณาการ ไปครอบคลุมการพัฒนาสำนึกพลเมืองของ นศ.  และเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  หลังจากทำโครงการ ๓ ปี ที่ได้รับทุนจาก  Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching และจาก AAC&U (Association of American Colleges and Universities) ชื่อ Integrative Learning Project จบ  มหาวิทยาลัยก็ดำเนินการ ขับเคลื่อนหลักสูตรที่เรียนในห้องเรียน ออกสู่ชุมชน  โดยจัดให้มีความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายวิชาการ กับฝ่ายกิจการนักศึกษา

ขั้นตอนแรกคือพาอาจารย์ และเจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนา นศ. ไปฝึก civic engagement & service learning ที่ AAC&U Greater Expectation Institute โดยดึงผู้บริหารหลายฝ่าย รวมทั้งรองคณบดีฝ่ายกิจการ นศ.  และบริษัทเอกชนที่จะช่วยงานในชุมชนได้ ในระหว่างการฝึก ได้มีการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่พัฒนา นศ.  รองคณบดีฝ่ายกิจการ นศ.  และ ผอ. การกีฬา ว่าน่าจะเพิ่มการฝึกกิจกรรมชุมชน (civic engagement) เข้ากับวิชาพลศึกษาอย่างเป็นทางการ   ซึ่งในที่สุดก็เกิดรายวิชา SERVE-101 ที่มีเป้าหมายให้ นศ. ได้เข้าใจความเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกของสังคมกับสังคมส่วนรวม  โดยให้ นศ. ได้ลงมือทำ และได้ทบทวนไตร่ตรองในภายหลังอย่างจริงจัง

ในรายวิชานี้ นศ. ได้มีโอกาสเลือกทำงานตามที่ตนสนใจและรัก ในประเด็นตัวอย่าง เช่น (๑) การขับเคลื่อนสังคมด้านสิทธิมนุษยชน  (๒) เด็กและเยาวชน  (๓) การพัฒนาชุมชน  (๔) การศึกษา  (๕) ความหิวโหยและการไร้บ้าน  (๖) เป็นต้น

ในการปฏิบัติงานนี้ นศ. จะได้ทำความเข้าใจผลกระทบและความหมายของกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม  กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ร่วมกับการใคร่ครวญไตร่ตรองหลังการปฏิบัติ  จะช่วยให้ นศ. เรียนรู้จากภายในตน เปลี่ยนแปลงสภาพของตนเองจาก “อาสาสมัคร” (บุคคลที่มีเจตนาดี แต่ไม่เข้าใจความซับซ้อนของปัญหาสังคม)  ไปสู่ “พลเมืองที่รับผิดชอบต่อประเด็นเชิงจริยธรรมในสังคม”   คือเป็นพลเมืองที่เข้าไปร่วมแก้ปัญหาสังคม

เมื่อนำเสนอร่างหลักสูตรผ่านกระบวนการอนุมัติของมหาวิทยาลัย  ก็ได้รับคำแนะนำให้จัดรายวิชานี้แบบ 3+1  คือให้ นศ. เลือกเรียนวิชานี้ต่อเนื่องได้ทั้งหมด ๔ ครั้ง   เพื่อให้ นศ. ที่สนใจจริงจัง มีโอกาสทำกิจกรรมต่อเนื่อง  เพื่อการเรียนรู้บูรณาการ สู่ความเป็นพลเมือง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544172

 

ความเห็นของผมเกี่ยวกับภาพรวมของระบบการศึกษาไทย

พิมพ์ PDF

ในการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  เมื่อบ่ายวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๖  ในห้องย่อยเรื่องเสวนา UNESCO และ OECD : นโยบายการศึกษาไทย เรื่องภาพรวมระบบการศึกษาไทย (Overall Assessment of Education Systems)  ทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นำเสนอโครงสร้างของการศึกษาไทย รวมทั้งสถิติทางการศึกษา  แล้วนักการศึกษาของ UNESCO และ OECD ชี้จุดแข็งของระบบการศึกษาไทย  และตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลหรือให้ความเห็น

มีคนให้ความเห็นหลากหลายเรื่อง  ผมได้ให้ความเห็นในประเด็นสำคัญ ๔เรื่อง คือ  (๑) inequity ที่พบบ่อยที่สุดในระบบการศึกษาไทย  (๒) ระบบการศึกษาไทยไม่เป็น Learning Systems  (๓) ผลของการกระจายอำนาจต่อห้องเรียน  (๔) ระบบการศึกษาไทยเป็นระบบแห่งศตวรรษที่ ๒๐  คือเป็นระบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้  ไม่ใช่เพื่อ active learning ให้เด็กได้ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้

จากข้อมูลผลการทดสอบ PISA ที่มีการนำเสนอตอนเช้า ว่าความแตกต่างในผลการทดสอบระหว่างโรงเรียน น้อยกว่าความแตกต่างของผลการทดสอบในนักเรียนห้องเรียนเดียวกัน  แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของนักเรียนห้องเดียวกันต่างกันมาก  สะท้อน inequity ระดับสูงในห้องเรียน  ผมขออธิบายว่า เป็นเพราะครูไทยเอาใจใส่เด็กเรียนเก่งหรือหัวไว ทอดทิ้งเด็กหัวช้า  จึงเกิด inequity ระหว่างเด็กหัวไวกับเด็กหัวช้า

ผมจึงให้ความเห็นว่า ในระบบการศึกษาไทย inequity สูงที่สุดอยู่ในห้องเรียนนั่นเอง  เป็น inequity ของการที่จะบรรลุผลการเรียนแบบ mastery learning  ที่มีสาเหตุจากการที่ครู (และวงการศึกษาไทยทั้งหมด) เอาใจใส่เด็กหัวไว ทอดทิ้งเด็กหัวช้า

ผมให้ความเห็นว่า ระบบการศึกษาไทยไม่เป็น Learning Systems เห็นได้จาก ระบบไม่มีความสามารถ ในการปรับตัวให้ดีขึ้น  ไม่มีกลไกสร้างข้อมูลหลักฐาน เพื่อการปรับตัว  ซึ่งก็คือกลไกวิจัยระบบการศึกษา ไม่มี ESRI (Education Systems Research Institute) แบบที่ทางระบบสุขภาพมี HSRI (Health Systems Research Institute)  มีการเสนอและผลักดันให้ตั้งสถาบันวิจัยระบบการศึกษา เป็นระยะๆ ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

ในประเด็นนี้ นักวิจัยจาก OECD บอกว่า ทางแคนาดา ก็บอกว่า งบประมาณวิจัยระบบสุขภาพของเขา คิดเป็น ๑๕ เท่าของงบวิจัยทางระบบการศึกษา

ในประเด็นการกระจายอำนาจทางการศึกษา ผมเสนอให้ทีมวิจัยตรวจสอบสิ่งที่อยู่ในกระดาษ กับสิ่งที่ปฏิบัติจริง  ซึ่งผมคิดว่าไม่ตรงกัน  ผมมีความเห็นว่า มองจากมุมที่ห้องเรียน การเรียนรู้ในห้องเรียนไม่ได้รับการกระจายอำนาจ หรือให้อิสระเพิ่มขึ้นเลย  การสั่งการจากส่วนกลางยังมาก หรืออาจยิ่งมากขึ้น เพราะเพิ่มการสั่งการจากเขตพื้นที่เข้ามาอีก  ครูต้องทำเอกสารส่งส่วนกลางมากเกินไป  จนมีเวลาเอาใจใส่ศิษย์น้อย

ผมมีความเห็นว่า การกระจายอำนาจต้องประเมินที่ห้องเรียน  หากมีการกระจายอำนาจจริง ครูต้องได้รับอิสระจากงานที่ไม่จำเป็น เพื่อเอาใจใส่ศิษย์เพิ่มขึ้น

ประเด็นที่สี่ เกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยในภาพรวม คือมันยังเป็นระบบการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๐  ที่เน้นสอนวิชา เน้นให้นักเรียนเรียนและรู้เหมือนๆ กัน  ไม่เป็นระบบที่ฝึกความแตกต่างให้แก่เด็ก  ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี ว่ามันเป็นของศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งการผลิตครู  การพัฒนาครู  การให้คุณให้โทษครู  บทบาทของผู้บริหาร ฯลฯ  พูดง่ายๆ ว่าล้าหลังทั้งระบบ

ที่จริงผมมีประเด็นจะให้ความเห็นอีกมาก แต่เกรงใจผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ  เพราะเขาก็อยากออกความเห็นเหมือนกัน  จึงนำความเห็นที่ยังไม่ได้พูดมาลงบันทึกไว้

ประเด็นที่ห้า วงการศึกษาไทยหลงเน้น teach to test  สอนเพื่อสอบ  เมื่อตอนเช้าก็ยังมีวิทยากรตั้งเป้ายกระดับผลการทดสอบ PISA เป็นอันดับที่ ๒๐  เป็นตัวอย่างของกระบวนทัศน์ที่ผิด คือเน้นสอนเพื่อสอบ  นำไปสู่การเรียนรู้ที่ให้น้ำหนักพัฒาการของเด็กเพียงด้านเดียว คือ intellectual development ในขณะที่การศึกษาที่ดี เด็กต้องพัฒนาครบทุกด้าน ทั้ง ๕ ด้าน คือ emotional, social, physical และ spiritual

ประเด็นที่หก  การไม่ร่วมมือ ไม่ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานใหญ่ ๕ หน่วยภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ  การประชุมในวันนี้มันฟ้อง  ไม่มี ซีอีโอ ในอีก ๔ หน่วยงานมาร่วมงานเลย

ประเด็นที่เจ็ด ยังไม่มีคนย้ำเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่จะมีผลต่อระบบการศึกษาอย่างมาก  และจริงๆ แล้ว เราได้เห็นผลอยู่ตำตา ที่การมีโรงเรียนขนาดเล็กถึง ๑๔,๐๐๐ โรงเรียน

ประเด็นที่แปด เวลานี้ในประเทศไทย โรงเรียนราษฎร์มีคุณภาพดีกว่าโรงเรียนของรัฐบาล  เพราะโรงเรียนราษฎร์เขามีอิสระที่จะเปลี่ยนแปลง  กลายเป็นโรงเรียนกระแสทางเลือก และเป็นตัวอย่างแก่ครูในโรงเรียนของรัฐที่ต้องการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของตน

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/544073

 

ชื่นชมผลงานวิจัยด้านการท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 ผมมีโอกาสเข้ารับฟังผลงานวิจัยชุดโครงการด้านการท่องเที่ยวของ สกว มีทีมงานวิจัยทีมหนึ่งซึ่งผลประทับใจงานวิจัยนี้มาก ผลงานที่ออกมาเกินความคาดหมายของทีมนักวิจัยเอง และเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จึงขอนำ e-mail ที่หนึ่งในนักวิจัยส่งถึงผม และได้แจ้งเวปไซดืที่สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและผลงานของนักวิจัยคณะนี้ โดยเฉพาะอยากให้เปิด วีดีโอ เพื่อชมผลงานครับ

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

/* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;}

เรียน ม.ล.ชาญโชติ / ม.ล.หทัยชนก

 

ทางทีมวิจัยขอขอบพระคุณที่ให้ความสนใจใน "กระบวนการ" ที่ได้ศึกษา และพัฒนาเป็นแนวความคิดในการทำวิจัยด้านการท่องเที่ยว ผ่านมิติด้านอาหาร ทั้งนี้ผมได้แนบไฟล์นำเสนอแนวคิดทีใช้ในงาน TRF Forum ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 56 ที่ผ่านมาเพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้นครับ ทั้งนี้สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ Website: http://www.routes2root.com และรบกวนท่านในการประชาสัมพันธ์การแบ่งปันข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่มีแนวคิดแบบ Routes to the Root ให้กับเครือข่ายด้วยนะครับ จะได้ช่วยกันสานต่อการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดนี้ต่อไป

 

ขอแสดงความนับถือ

 

__/\__

 

คงวุฒิ นิรันตสุข (หมู)

FTSU

 

T: 034-252409

F: 034-252409

M: 091-004-4847

E: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

W: http://www.pppysu.net

C: จิตเป็นนาย กายเป็นเรือ สติเป็นหางเสือ ปัญญาเป็นคนพาย

 


หน้า 459 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632681

facebook

Twitter


บทความเก่า