Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทักษะจุลภาคเพื่อสร้างความรู้

พิมพ์ PDF

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 601.  ทักษะจุลภาคเพื่อสร้างความรู้

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004   บทที่ ๖ เรื่อง Microskills for Knowledge Creation

ทักษะจุลภาคเหล่านี้ ช่วยให้เกิดบริบทหรือสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน  ที่เอื้อต่อการสร้างความรู้ขึ้นใช้งาน   คือมี ความเอื้ออาทร (care),  ความเคารพซึ่งกันและกัน (respect), และความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (trust)  บรรยากาศเช่นนี้ ช่วยให้ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ฝังลึกที่ซับซ้อนมากๆ อย่าง ปัญญาญาณ (intuition)  โผล่ออกมาทำงาน เกือบจะอย่างอัตโนมัติ

ทักษะจุลภาคที่แสดงความเอาใจใส่ ต่อการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์ในขณะนั้น จะกระตุ้นการสร้างความรู้  โดยทักษะนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือวัจนะภาษา (verbal language)  กับอวัจนะภาษา  (non-varbal language)

ผลการวิจัยบอกว่า ร้อยละ ๖๕ - ๙๐ ของการสื่อสารแบบพบหน้า เป็นการสื่อสารแบบ อวัจนะ (non-verbal)  คือเป็นภาษาท่าทาง ไม่ใช่คำพูด

ทักษะจุลภาคที่สำคัญคือ ทักษะภาษา (ทั้งวัจนะ และอวัจนะ) ที่สร้าง care, respect & trust

ทักษะจุลภาคแบบอวัจนะ ได้แก่ การสบตา (eye contact), ภาษากาย (body language), น้ำเสียง (vocal style), การเปล่งเสียงแสดงความพอใจ หรือสนใจ (verbal following) เช่น อือ  ใช่เลย

ทักษะอนุภาคแบบวัจนะ ได้แก่ คำถาม ทั้งชนิดปลายเปิด และชนิดปลายปิด (open and closed question), การกล่าวทวน หรือกล่าวซ้ำในถ้อยคำใหม่ (paraphrasing), การสะท้อนความรู้สึก (reflection of feeling), การสะท้อนความหมาย (reflection of meaning), และ การกล่าวสรุป (summarization)

ทักษะจุลภาคเหล่านี้ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (care, respect, trust)  ระหว่างสมาชิกในหน่วยงาน  ความรู้ฝังลึกนอกจากอยู่ในตัวคนแล้ว ยังอยู่ในความสัมพันธ์ และงอกงามขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างคน

พฤติกรรมตามทักษะเหล่านี้ จะช่วยให้ หน่วยงาน/องค์กร มีความรู้ฝังลึกที่ทรงพลัง (ที่คู่แข่งไม่มี)  ออกมาใช้งาน  ช่วยให้สามารถสร้างนวัตกรรมในการทำงาน หรือในการสร้างสรรค์ “สินค้า” ใหม่ๆ  สร้าง competitive advantage แก่องค์กร

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/544051

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 01 สิงหาคม 2013 เวลา 21:50 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๑. ข้อสังเกตจากการประชุม การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๖ ผมไปร่วมประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง การศึกษาสำหรับอนาคตประเทศไทย ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล

ผมไปก่อนเวลา ๑ ชั่วโมง  ได้ไปเห็นบรรยากาศเบื้องหลังการประชุม  และเดาว่าการประชุมใหญ่ๆ ระดับชาติของราชการในปัจจุบันคงจะคล้ายๆ กัน  คือจัดโดย organizer  บรรยากาศตามความรู้สึกของผม (ซึ่งอาจต่างจากคนอื่น) คือเน้นความอลังการ์หรูหรา  แต่อ่อนด้านสาระ  สมัยผมหนุ่มๆ ผมจะบอกว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  ซึ่งเป็นคำที่แม่พูดบ่อยๆ

ไหนๆ ก็เขียนบันทึกแบบแหกคอกจารีตการเขียน บล็อก ที่เน้นเชิงบวกแล้ว  ก็ขอบันทึกความรำคาญเรื่องนักถ่ายรูปตนเองในการประชุม  ผมสังเกตว่าพวกครูชอบทำอย่างนี้มากที่สุด  มีคนบอกว่าเพื่อเอาไปเป็นหลักฐานการเข้าร่วมประชุม ลงใน portfolio  ผมมีความเห็นว่า มันทำให้ครูไม่สนใจสาระของการประชุม  หันไปสนใจแต่มุมถ่ายรูป  ไม่ทราบว่าอะไรในวงการศึกษาไทย ที่สร้างวัฒนธรรมนี้ในหมู่ครู

ที่น่าแปลกใจคืองานนี้จัดสถานที่โอ่อ่าอลังการ์มาก  แต่จอสำหรับฉาย PowerPoint ประกอบการบรรยายเล็ก และเครื่องฉายคุณภาพต่ำ  มองไม่ชัด  คนจัดเน้นสร้างความโอ่อ่า ไม่สนใจเรื่องที่จะช่วยให้การประชุมประสบผลสำเร็จเชิงสาระ

ผมนั่งสังเกตครู่หนึ่งก็เห็นว่า ที่จอมันไม่ชัดเพราะมันเป็นจอผ้าโปร่ง ไม่ใช่จอสำหรับฉาย LCD Projector  เมื่อมันโปร่ง แสงจากด้านหลังก็ทำให้ไม่ชัด  แถมเขายังเอาไฟ สป็อตไล้ท์ ฉายมาทางจอและคนฟังเสียอีก  แสดงให้เห็นว่า organizer ไม่รอบคอบ  และหน่วยราชการเจ้าของงานก็ตรวจงานไม่เป็น

เพราะ organizer ไม่เป็นงาน  ตอนประชุมในห้องใหญ่ จึงจัดเวทีให้ผู้พูดนั่งบังจอ  มาแก้เอาทีหลัง

งานจึงเด่นเฉพาะด้านโอ่อ่า  แต่ไม่เอื้อต่อการเก็บเกี่ยวสาระ

บ่นมาเสียยาว  คนอื่นเขาคงไม่รู้สึกอย่างนี้  คงเพราะผมตั้งใจไปเก็บเกี่ยวความรู้เรื่อง การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มากเกินไป

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้บริหารระดับสูงทางการศึกษาที่เข้าร่วม  ไม่เห็น ซีอีโอ ของหน่วยงานอีก ๔ แท่งของกระทรวงศึกษาฯ  เนื่องจากการประชุมนี้จัดโดยสภาการศึกษา  หน่วยงานแท่งอื่นใน ๕ แท่งจึงไม่เกี่ยว  สะท้อนภาพความไม่ร่วมมือกันของหน่วยงานทางการศึกษา  ทั้งๆ ที่สาระและเป้าหมายของการประชุมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบ้านเมือง เป็นคำตอบหนึ่งว่าทำไมคุณภาพการศึกษาไทยจึงต่ำเช่นนี้

การประชุมนี้มี low quality audiences มาก  สังเกตจากการพูดโทรศัพท์เสียงดัง และการคุยกันในห้องประชุม ระหว่างการประชุม รบกวนผู้อื่นที่เขาตั้งใจฟัง

ผมไปเข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของการประชุมนี้ จากการประชุมห้องย่อยภาคบ่าย  ว่าเป็นการประชุมเพื่อนำไปสู่การประเมินระบบการศึกษาไทยทั้งระบบ  ที่รัฐบาลไทยขอให้ UNESCO และ OECD เข้ามาศึกษาหรือวิจัยระบบการศึกษาไทย และเสนอแนะการดำเรินการปรับปรุง  เท่ากับรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ยอมรับว่า ตนจนปัญญาที่จะแก้ปัญหาที่หมักหมมและซับซ้อนนี้  ซึ่งเป็นปัญหาเชิงระบบ

เท่ากับยอมรับว่า เราไม่มีศักยภาพในการทำงานวิจัยระบบการศึกษา  ต้องขอความช่วยเหลือ (เข้าใจว่าเป็นการว่าจ้าง) UNESCO และ OECD  ต่างจากระบบสุขภาพที่ผมคุ้นเคย เรามีหน่วยงานที่ทำวิจัยระบบสุขภาพเป็นเครือข่ายนับสิบองค์กร  โดยมี สวรส. เป็นแม่ข่าย

ผมหวังว่า หลังจากการวิจัยชิ้นนี้ จะมีนักการศึกษาไทยจำนวนหนึ่ง ได้รับการพัฒนาศักยภาพของการวิจัยระบบการศึกษา  สำหรับทำงานวิจัยระบบการศึกษาเอง อย่างต่อเนื่อง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543991

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2013 เวลา 09:57 น.
 

คอรัปชั่นและศีลธรรมเสื่อมทราม

พิมพ์ PDF

คอรัปชั่นและศีลธรรมเสื่อมทราม

บทความเรื่อง Thailand 2020 : Impaired Vision เขียนโดย วรนัย วาณิชกะ ลงใน บางกอกโพสต์ วันที่ ๒๘ ก.ค. ๕๖ ซึ่งอ่านได้ที่นี่ แสดงความชื่นชม ท่าน รมต. คมนาคม  ที่พูดใน Bangkok Post Forum โดยนำเอาข้อมูลสถิติ มติ ค.ร.ม. ในโครงการพัฒนาประเทศที่สำคัญๆ มาชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไทยล่าช้ามาก ในการดำเนินการโครงการเหล่านั้น  คุณวรนัยบอกว่า ท่าน ร.ม.ต. เน้นแต่ความล่าช้าในการดำเนินการ  แต่ไม่ได้พูดเรื่องสำคัญอีก ๒ เรื่อง

คือเรื่อง คอรัปชั่น กับเรื่องความไร้ประสิทธิภาพ

นอกจากสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวัตถุ สำหรับ Thailand 2020 แล้ว  เราต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพคน คือด้านการศึกษา  และด้านคุณธรรม  รัฐบาลนี้และพรรคนี้ ได้ทำให้มาตรฐานคุณธรรมของสังคมไทยดีขึ้นหรือเลวลง

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543948

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2013 เวลา 09:47 น.
 

เด็กที่เรียนกวดวิชามาก การเรียนรู้ทักษะประยุกต์ใช้ความรู้ต่ำ

พิมพ์ PDF

ในการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  เมื่อเช้าวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๖  ช่วงที่ว่าด้วยเรื่อง ผลการประเมิน PISA ในประเทศไทย ดร. ปรีชาญ เดชศรี แห่ง สสวท. บอกว่า ผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบ PISA ของนักเรียนไทย ได้ผลออกมาชัดเจน แต่ท่านไม่กล้าพูดให้สาธารณชนรับรู้อย่างกว้างขวาง ว่าในกลุ่มเด็กที่กวดวิชามาก ผลการสอบ PISA ได้คะแนนต่ำ


ผมแปลกใจ ว่าทำไมท่านไม่ออกมาบอกสังคมให้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง  เพราะนี่คือความจริงจากผลการวิจัย  และความรู้นี้จะช่วยยืนยันต่อพ่อแม่ และนักเรียนที่ไม่ต้องการไปกวดวิชา  ว่าการกวดวิชาไม่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่แท้จริง


ผมตีความว่า เพราะการกวดวิชาเป็น teach for test  ไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง  แต่ PISA วัดการเรียนรู้ที่แท้จริง  คือข้อสอบ PISA เป็นข้อสอบที่โจทย์เน้นการเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน   คนที่ทำโจทย์ได้คือคนที่เรียนรู้ลึกในระดับนำความรู้ไปแก้ปัญหาได้


ผลการวิเคราะห์รายละเอียดของผลการสอบ PISA ของเด็กไทย  ตามที่ ดร. ปรีชาญ บอก  เป็นหลักฐานหนึ่งที่บอกเราว่า การเรียนกวดวิชาไม่ใช่การเรียนรู้ที่ดี ตามแนวทางของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543989

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 กรกฏาคม 2013 เวลา 09:51 น.
 

การเสวนาหัวข้อ “เปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจไทยสู้ธุรกิจบริการ”

พิมพ์ PDF

จากงานสัมมนา “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555
ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา

การเสวนาสาขาธุรกิจท่องเที่ยว ดร. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

ภาครัฐมีความประสงค์จะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวจากปัจจุบันที่อยู่ระดับหนึ่งล้านล้านบาทเป็นสองล้านล้านบาท เนื่องจากเป็นสาขาธุรกิจที่ได้รับผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ดีในสาขาท่องเที่ยวต้องประสบกับข้อจากัดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. การท่องเที่ยวทั่วโลกเติบโตได้เพียงร้อยละสามต่อปี แต่ในระดับภูมิภาคอาเซียนการท่องเที่ยวเติบโตได้มากเนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่า (Low Cost Airline) ซึ่งทาให้ชนชั้นกลางเดินทางได้มากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจะมีศักยภาพเติบโตได้มากถ้าหากสามารถแก้ไขข้อจากัดดังต่อไปนี้
- ความแออัดของท่าอากาศยานและระบบโลจิสติกส์ กรณีศึกษาที่ดีคือประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีนักท่องเที่ยวกว่า 60 ล้านคน เท่ากับจานวนประชากรในประเทศ แต่มีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวจานวนดังกล่าวได้
- กฎหมายและระเบียบไม่เอื้ออานวย เช่นการไม่ให้ Single Visa ในประเทศอาเซียน ในขณะที่กลุ่มประเทศ CLMV มีสัญญาร่วมกันว่าจะพัฒนาระบบ Single Visa ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าในข้อกฎหมายและระเบียบดังกล่าว
- คณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองมาจากหน่วยงานด้านความมั่นคงเกือบทั้งหมด ทำให้ไม่เข้าใจธุรกิจ จึงควรแก้โครงสร้างของปัญหานี้
- ประเทศไทยมีกฎหมายด้านความสะอาดแต่ไม่มีการบังคับใช้ เช่น ความสะอาดของป้ายโฆษณา และความสะอาดของถนน
- ปัญหาความปลอดภัย ส่วนหนึ่งมาจากโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้งตามกฎหมาย แนวทางการปรับปรุงควรจะนากรณีศึกษาในประเทศรัสเซียมาใช้ คือให้มีการจัดเก็บภาษีในอัตราเดียวกันหมดคือร้อยละ 13 ซึ่งจะทาให้ธุรกิจนอกกฎหมายเข้ามาสู่ในระบบ และรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น รัสเซียใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับคนเข้าเมืองที่เอื้อต่อการอนุมัติคนเข้าเมือง อาทิ กลุ่ม Expat ทาให้มีคนเข้ามาในประเทศมากขึ้น
- ปัญหาด้านเอกลักษณ์ ทำให้ประเทศไทยขาด Product Differentiation โดยสินค้าที่คล้ายๆ กันก่อให้เกิดการ Over-supply จึงทาให้เกิดการแข่นขันด้านราคา ตัดราคากันเองเพื่อแย่งลูกค้า

2.ประเทศไทยควรมองประเทศในอาเซียนนอกจากเป็นเสมือนประเทศคู่ค้า คู่แข่งแล้วให้คิดว่าเป็นประเทศคู่คิด (Partner) เช่น กรณีถ้าต้องขยายตลาดมุสลิม ประเทศไทยจาเป็นต้องร่วมมือกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน และต้องประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ CLMV เป็นต้น

3. รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในส่วนที่เอกชนไม่สามารถดาเนินการได้เอง อาทิเช่น การแก้กฎหมาย
4. ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งสาคัญในการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว แต่สิ่งที่สาคัญมากกว่าคือทัศนคติ (Mentality and Mindset) ของผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว หรือการปรับทัศนคติต่อนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ อาทิเช่น ความเข้าใจต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนจากประเทศต่างๆ ที่ผู้ให้บริการตระหนักว่านักท่องเที่ยวผู้ที่ใช้จ่ายมากที่สุดมักจะเป็นชาวเอเชีย ส่วนนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายน้อยมักจะมาจากประเทศเยอรมัน เป็นต้น

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:09 น.
 


หน้า 460 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632269

facebook

Twitter


บทความเก่า