Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

นร./นศ. นักสื่อสารร่วมมือระดับโลก

พิมพ์ PDF

นักเรียนได้ฝึกทักษะพิเศษคือความเข้าใจคนในต่างประเทศ ต่างศาสนา/วัฒนธรรม เกิดทักษะความเข้าใจคนอื่น (empathy)

 

นร./นศ. นักสื่อสารร่วมมือระดับโลก

เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ ICT อีกรูปแบบหนึ่ง  นร. ต้องทำงานเป็นทีม ทำหน้าที่ต่างๆ กันถึง ๑๒ แบบ  เกิดการเรียนรู้ทักษะความเข้าใจ (empathy) เพื่อนมนุษย์ที่คิดต่างและอยู่ในต่างศาสนาต่างภูมิวัฒนธรรม  และการเรียนรู้อื่นๆ อีกรวม ๕ กลุ่ม

ใช้เครื่องมือสื่อสารทางไกลที่แทบไม่มีค่าใช้จ่ายเลยคือ Skype

ผมได้ทำ ScreenCapture ด้วยโปรแกรม Jing และนำออก Screencast ที่ http://screencast.com/t/aARXbkW9E4a เป็นการฝึกหัดการสื่อสารการปฏิรูปการเรียนรู้ในสังคมไทยด้วยสื่อผสม

วิจารณ์ พานิช

๑๖ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/533068

 

มีโรงเรียนไปทำไม : 4. โรงเรียนแบบใหม่

พิมพ์ PDF

ใน “โรงเรียนแบบใหม่” ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเกือบทุกสิ่ง นี่คือการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่อาจเรียกว่า Learners-Directed Education - การศึกษาแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับการศึกษาแบบเก่า ที่ครูและผู้บริหารระบบการศึกษาเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ นักเรียนเป็นเพียงผู้รอรับถ่ายทอดความรู้

 

มีโรงเรียนไปทำไม  : 4. โรงเรียนแบบใหม่

บันทึกชุด มีโรงเรียนไปทำไม รวม ๗ ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้  ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ผู้เขียนเล่าเรื่องลูกชายอายุ ๑๓ ปีของตน ชื่อ ทักเก้อร์  ที่เรียนโดยใช้ ซอฟท์แวร์ Minecraft ในการเรียนรู้แบบ plaern (play and learn)  โดยเรียนที่บ้านในช่วงฝนตกและอากาศหนาว  ออกไปเล่นนอกบ้านไม่ได้  Minecraft เป็นซอฟท์แวร์ ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วน คล้าย Lego  เป็นเกมเพื่อการเรียนรู้แบบ constructivist, social และได้รับการรับรองจากเว็บไซต์ด้านการศึกษาหลายแห่งว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษ

ทักเก้อร์วางเป้าหมายว่าจะสร้างบ้านของตนที่ไหน บ้านมีลักษณะอย่างไร  ในท่ามกลางภูมิประเทศแบบไหน  อยู่ใกล้บ้านเพื่อนคนไหน  แต่เมื่อสร้างบ้านแล้วตกกลางคืน (ของโปรแกรม)  ก็จะมีตัวประหลาดออกมากินบ้านและสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย  ผู้เขียนเล่าว่าในวันนั้นเอง ทักเก้อร์บ่นว่า “กลางคืนแล้ว ตัวประหลาดออกมาแล้ว  ผมยังไม่รู้วิธีจัดการมัน และยังไม่มีถ่านหินมาจุดไฟให้แสงสว่าง  พรุ่งนี้ผมต้องเริ่มสร้างบ้านใหม่”  แล้วผู้เขียนก็เห็นทักเก้อร์นั่งดูวิดีทัศน์วิธีเล่นเกมนี้  และในที่สุดก็ไปพบวิดีทัศน์ที่แนะนำวิธีเล่นเป็นขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นทักเก้อร์เอากระดาษมาจดขั้นตอนต่างๆ  แล้วต่อมาก็เห็นทักเก้อร์ใช้คอมพิวเตอร์ของพ่อทำ วิดีโอคอนเฟอเร้นศ์ กับเพื่อนผู้ชาย ๒ คนที่เคยเล่นเกมนี้มาก่อนแล้ว และเด็กผู้หญิงอีกคนหนึ่ง  ผู้เขียนเห็นทักเก้อร์ทำงานนี้อย่างมุ่งมั่น ใจจดใจจ่อ

ภายในวันนั้นเอง ทักเก้อร์ ก็มาชวนพ่อแม่ไปเยี่ยมบ้านของเขา  พาไปชมห้องต่างๆ ในบ้าน  ซึ่งมีห้องนอน เครื่องเรือน เตาผิง และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ  บ้านของเขาอยู่บนเนิน  นั่นบ้านของเพื่อนชื่อ เจ๊ค อยู่บนอีกเนินหนึ่งตรงกันข้ามอีกฟากหนึ่งของอ่าว  และยังมีปราสาทหลังหนึ่งอยู่บนเนิน  ทั้งพ่อและแม่ตกใจที่ลูกเรียนได้รวดเร็วถึงปานนั้น  และซักกันใหญ่ ว่าลูกเรียนอย่างไร

นี่คือการเรียนรู้ที่แท้จริง โดยไม่ต้องมีโรงเรียน  เรียนที่บ้าน ผ่านอินเทอร์เน็ต  ค้นหาความรู้เอาเองจาก อินเทอร์เน็ต  เอามาทดลองใช้  หากใช้ไม่ได้ผลก็หาใหม่ ลองใหม่  หาครูเอาเองจากอินเทอร์เน็ต  ร้องขอความช่วยเหลือไม่นานก็จะมีคนใจดีเข้ามาแนะนำ   หรืออาจจะกล่าวว่า นี่คือโรงเรียนแบบใหม่ ก็ได้

ทักเก้อร์ กำหนดเป้าหมายการเรียน หรือ “หลักสูตร” ของตนเอง  และปรับหลักสูตรของตนอยู่เสมอตามสิ่งที่ตนเรียนรู้แล้ว และสิ่งที่ตนอยากรู้ต่อไป  เขารวบรวม “ตำรา” ของเขาเอง เน้นจาก YouTube  เขาเสาะหาครูเอง จากเพื่อนๆ และจากคนที่ใช้ software นี้ทั่วโลก  เขาประเมินผลงานของตนเอง  ถ้ายังไม่ดีก็ยกเลิกแล้วทำใหม่  และอาจต่อเติมตกแต่งแก้ไข เมื่อเกิดแนวความคิดใหม่  และช่วยให้ความเห็นหรือ feedback แก่ “เพื่อนๆ” ในแวดวง อย่างสม่ำเสมอ

จะเห็นว่า ใน “โรงเรียนแบบใหม่” ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเกือบทุกสิ่ง  นี่คือการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่อาจเรียกว่า Learners-Directed Education - การศึกษาแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้  ซึ่งตรงกันข้ามกับการศึกษาแบบเก่า ที่ครูและผู้บริหารระบบการศึกษาเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้  นักเรียนเป็นเพียงผู้รอรับถ่ายทอดความรู้

สิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ระหว่างโรงเรียนแบบใหม่ กับโรงเรียนแบบเก่า  คือความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของเด็กหรือผู้เรียน  เพราะในโรงเรียนแบบใหม่ สิ่งที่เรียน (หลักสูตร) กำหนดโดยผู้เรียนเอง  และผู้เรียนเป็นเจ้าของและผู้อำนวยการ “หลักสูตร” นั้น

ในโรงเรียนแบบใหม่ การเรียนรู้ไม่ใช่การบริโภคความรู้หรือสารสนเทศ  เหมือนอย่างสมัยก่อนที่ความรู้หายาก  แต่ป็นการตั้งคำถาม /กำหนดเป้าหมายของการสร้างสรรค์ แล้วดำเนินการ หรือลงมือทำ ร่วมกับผู้อื่น  เป็นการทำงานจริง ในสภาพจริง  และแสดงบทบาทสร้างความรู้เพิ่มให้แก่โลก  ไม่ใช่บริโภคความรู้ของโลก  เป็นการสร้างนิสัยและทักษะของผู้รียนรู้ตลอดชีวิต  ในท่ามกลางโลกที่เชื่อมต่อและสารสนเทศมากล้น  จุดเน้นเปลี่ยนจากการจำเนื้อหา (content mastery) มาสู่การมีทักษะหรือความสามารถในการเรียนรู้ (learning mastery)  นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง  นักเรียนใช้ความสามารถในการเข้าถึงสาระวิชาและครู ในการทำงานสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ตามที่ตนปรารถนา

โรงเรียนและห้องเรียนแบบใหม่ กลายเป็น node ของ learning network ขนาดมหึมาในโลก  เลยจากห้องสี่เหลี่ยมหรือรั้วโรงเรียน  การเรียนรู้คือการทำงาน  เน้นการทำงานร่วมกับคนอื่น ไม่ใช่ทำคนเดียว

การสอบ ไม่เน้นสอบความรู้  แต่เน้นสอบสิ่งที่นักเรียนทำโดยการประยุกต์ใช้ความรู้  หรือสอบทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้

โรงเรียนแนวใหม่ เป็นการเรียนทำงาน หรือฝึกเพื่อชีวิตจริง  ไม่ใช่ที่เรียนวิชา เพื่อให้ได้เกรดสูง และได้หน่วยกิต เพื่อได้ประกาศนียบัตร และเพื่อการแข่งขันว่าข้าเก่ง เป็นที่ยอมรับของคนอื่น อย่างในโรงเรียนแบบเก่า

โรงเรียนแบบใหม่ มีข้อท้าทายตรงที่ประเมินแบบ quantitative ยากกว่าโรงเรียนแบบเก่า  เราจะวัดความริเริ่มสร้างสรรค์ ความอดทนทำงานต่อเนื่อง  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ทักษะความร่วมมือ  โดยการทดสอบแบบเก่าไม่ได้  เราต้องมีวิธีทดสอบแบบใหม่  ที่ให้คะแนนผลงานจริงๆ  จากการประเมินที่ทำต่อเนื่อง และเป็นการประเมินแบบ qualitative   เราต้องไม่พยายามประเมินเฉพาะส่วนที่วัดได้ และละเลยส่วนที่วัดไม่ได้ แต่สำคัญกว่า

ในโรงเรียนแนวใหม่ ความรู้เชิงเนื้อหา และความสามารถพื้นฐานมีความสำคัญ  เพื่อการสื่อสาร ทำงาน และแสดงเหตุผล นักเรียนต้องอ่านออกเขียนได้พูดเป็น  รวมทั้งต้องมีพื้นฐานแน่นด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ  แต่นักเรียนต้องไม่ใช่แค่รู้วิชาเหล่านี้  ต้องสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อความรู้อื่น และประยุกต์ใช้ประโยชน์เป็น

วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๕๖

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532978

 

บริการที่ไม่ประทับใจ

พิมพ์ PDF
DTAC บริการที่ไม่ประทับใจ ขบวนการขั้นตอนไม่เอื้อต่อความสะดวกของลูกค้า การให้ข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่ชัดเจน

ผมใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อยู่ 2 ค่าย ได้แก่ TRUE และ DTAC  โดยโทรศัพท์มือถือที่ใช้ครั้งแรกเป็นของ DTAC เป็นบริการรายเดือน ใช้ไปได้สักพักมีปัญหา จึงเลิกใช้บริการ ต้องเสียเวลาในการยกเลิกการใช้บริการ มีขั้นตอนมาก และต้องจ่ายเงินปิดบัญชีล่วงหน้า หลังจากนั้นหันไปใช้บริการของ ORANGE เมื่อ TRUE ซื้อ ORANGE จึงหันมาใช้บริการของ TRUE เป็นหลัก หลังจากนั้น ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรจึงหันมาเปิดใช้บริการของ DTAC โดยใช้ TRUE เป็นเบอร์หลักในการติดต่อโทรศัพท์ทั่วไป และใช้ DTAC เป็นเบอร์สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ

จำไม่ได้ว่าตอนเปิดใช้บริการของ DTAC ทำไมถึงเลือกการทำบริการกลุ่ม โดยเปิดเบอร์โทร 2 เบอร์ โดยใช้เอง 1 เบอร์ และ อีก 1 เบอร์ ให้ลูกสาวใช้ แต่ลงทะเบียนเป็นชื่อผม ใช้บริการอยู่นานมากเป็นสิบๆปี

ลูกสาวเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ และสามารถเบิกค่าโทรศัพท์ได้ แต่ต้องเป็นชื่อของลูกสาว แต่ปัจจุบัน เบอร์โทรที่ลูกสาวผมใช้เป็นเบอร์ที่จดทะเบียนกลุ่มในนามของผม จึงโทรแจ้งไปที่ call center ของ DTAC ได้รับการแจ้งว่าทั้งผมและลูกสาวต้องนำบัตรประชาชนไปทำการเปลียนที่ สำนักบริการของ DTAC ได้ถามว่าที่ The Mall งามวงศ์วานได้ไหม เจ้าหน้าที่ว่าได้ แต่ต้องไปทั้งสองคน ผมจึงได้นัดกับลูกสาว และในวันนี้ได้ไปที่ DTAC ที่ The Mall งามวงศ์วาน ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ถึงวัตถุประสงค์ที่จะมา เจ้าหน้าที่ให้กดบัตรคิว เมื่อถึงคิว เจ้าหน้าที่รับเรื่องไป และดำเนินการสักครู่ก้อออกมาบอกว่าต้องไปทำที่ สำนักบริการของ DTAC ที่นี่ทำไม่ได้ จึงให้เจ้าหน้าที่โทรไปที่ call center ก็ได้รับคำตอบว่าระบบไม่ได้ตั้งไว้ จึงต้องไปที่สำนักบริการที่ เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ เพราะต้องไปปลดเบอร์ของลูกสาวออกจากกลุ่มก่อน

ผู้ให้บริการ ไม่ได้คำนึงถึงความสะดวกของลูกค้า  ผมไม่เข้าใจจริงๆว่าทำไม่ต้องทำให้วุ่นวายอย่างนี้ ทั้งๆที่ไม่ได้ยกเลิก เพียงเปลี่ยนชื่อของผมเป็นชื่อลูกสาวสำหรับเบอร์ที่สอง  ผมเป็นเจ้าของเบอร์ทั้งสอง ใบเรียกเก็บเงินก็แยกเป็นสองใบอยู่แล้ว และก็ใช้บริการมานานมากแล้ว ความจริงเมื่อผมโทรไปแจ้งความจำนงก็ควรดำเนินการให้และถ้าต้องการหลักฐานของลูกสาวหรือต้องการทำสัญญาใหม่ก็ว่ากันให้ชัดเจน ไม่ใช่ทำให้เสียเวลา และทำเรื่องง่ายๆให้วุ่นวายโดยใช่เหตุ ผมไม่ได้ใช้เบอร์โทรศัพท์ ของค่าย นี้อยู่แล้วจึงพร้อมที่จะยกเลิก ผมเสียเงินฟรีๆเดือนละ 99 บาท โดยแทบไม่ได้ใช้โทรหรือรับสายเลยเป็นเวลามากกว่า 6 ปี แต่มาเจอเรื่องแบบนี้รู้สึกผิดหวังกับการบริหารจัดการและนโยบายของผู้บริหาร DTAC  ยุให้ลูกสาวยกเลิกเบอร์ไปเลยเพราะยุ่งยากมากนัก เมื่อไม่แคร์ลูกค้าก็ไม่ควรไปใช้บริการ แต่ลูกสาวไม่ยอมอ้างว่าเกี่ยวโยงกันหลายๆอย่าง

ผมไม่พอใจบริการเป็นอย่างมาก

1.โทรไป Call Center ก็ได้รับข้อมูลให้ไปติดต่อสำนักงาน DTAC ได้ถามว่าที่ The Mall งามวงศ์วานได้ไหม ได้รับคำตอบว่าได้ และยังกำชับให้นำบัตรประชาชนทั้งของผม และของลูกสาวไปด้วยและเจ้าตัวต้องไปทั้งคู่ พร้อม SIM cards ของทั้งสองเบอร์

2.เมื่อไปถึง DTAC ที่ The Mall วามวงศ์วาน ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ถึงวัตถุประสงค์ที่จะมาติดต่อ เจ้าหน้าที่ก็ไม่ว่าอะไร ให้กดบัตรคิวรอ

3.เมื่อถึงคิวรับบริการ เจ้าหน้าที่ทราบวัตถุประสงค์ ก็ขอเวลาเช็ค สักครู่ก็ขอบัตรประชาชน ของผมและลูกสาว สักครู่ก็บอกทำที่นี่ไม่ได้ จึงได้แจ้งว่าได้โทรถามมาล่วงหน้า เจ้าหน้าที่จึงโทรหา Call Center ซึ่งเจ้าหน้าที่ call center ก็ได้แต่ปฎิเสธว่าต้องให้ไปที่สำนักงานบริการของ DTAC ถามว่าอยู่ที่ไหนบ้างก็ไม่ตอบ จนถามว่าที่เซ็นทรัล ถนนแจ้งวัฒนะได้ไหม เจ้าหน้าที่ว่าได้ (ก็ไม่รู้ว่าไปจริงๆจะเหมือนกับที่ The Mall งามวงศ์วานหรือไม่)

ผมและลูกสาวหาเวลาว่างตรงกันได้ยากมาก ลูกสาวทำงานที่เพลินจิต เข้างานตั้งแต่ 08.00 น-18.00 น ส่วนผม ก็ยุ่งมากเอาเวลาแน่นอนอะไรไม่ค่อยได้ เรื่องแค่นี้ก็ต้องให้ไปดำเนินการพร้อมกันทั้งสองคน เป็นผมๆจะยกเลิกไปเลย และเปิดเบอร์ใหม่ ง่ายกว่ามาก แต่ลูกสาวไม่ยอม ยอมรับว่าผมหงุดหงิดกับการบริการที่ไม่เอาไหน มีพนักงานคนหนึ่งพยายามอธิบายและพูด ไม่ตรงประเด็น และเสียเวลา  ผมได้ถามว่าทำไมถึงดำเนินการแบบง่ายๆไม่ได้หรือ ทำไม่ต้องวุ่นวาย มีเหตุผลอะไร ก็ไม่ตอบคำถาม พูดแล้วทำให้เกิดอารมณ์มากขึ้น ผมจึงว่าไปว่าคุณภาพคนสมัยนี้ต่ำมาก สิ่งที่ผมต้องการได้รับการบริการจากเงินที่ผมเสีย ไม่ถือว่าเป็นบริการที่ให้กับลูกค้า สร้างปัญหาและความยุ่งยากให้ลูกค้า ปัญหาอยู่ที่ระบบการบริหารจัดการที่ไม่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า

หวังว่าการเผยแพร่ครั้งนี้จะเข้าถึงผู้บริหารของ DTAC เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุ่งแก้ไขระบบการบริหารจัดการที่ทำให้ลูกค้าพอใจ และไม่ต้องทำให้พนักงานต้องถูกลูกค้าโกรธเพราะไม่ได้รับการบริการที่ทำให้เกิดความพอใจอันเนื่องมาจากความไม่สนใจและการเอาใจใส่ในการบริการลูกค้าของระดับผู้บริหาร

ผมต้องขอโทษเจ้าหน้า DTC ที่ The Mall งามวงศ์วานที่ผมใช้อารมณ์กับเจ้าหน้าที่ผู้นั้น ผมเป็นผู้บริหารธุรกิจบริการท่องเที่ยวและโรงแรมมากว่า 40 ปี พอได้รับบริการแบบนี้ ทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นมาทันทีเพราะผมมีแต่แก้ไขปัญหาให้ลูกค้า พยายามหาวิธีลดความยุ่งยากและวุ่นวายกับลูกค้า วางระบบการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญลูกค้า คอยดูแลเอาใจใส่ไม่ให้มีปัญหา ถ้ามีปัญหาจะต้องมีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสมาแก้ไข ทันทีไม่ปล่อยให้ลูกค้าเกิดอารมณ์ เราทำงาน 24 ชั่วโมง 365 วัน ไม่เคยมีวันหยุด

เมื่อมาได้รับการบริการจากบริษัทใหญ่ๆที่เป็นระบบสัมปทานแล้ว รู้สึกหงุดหงิดมาก เพราะเขาเอาเปรียบลูกค้า และสร้างเงื่อนไข และหมกเม็ดกฎข้อบังคับต่างๆ ใช้เทคโนโลยีและระบบมาเป็นหลักเพื่อสร้างความได้เปรียบของเขาเอง โดยไม่คำนึงถึงลูกค้า ประเทศเราผู้ใช้บริการถูกเอาเปรียบจากผุ้ให้บริการมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรคุ้มครองผู้ใช้บริการที่มีประสิทธิภาพมาช่วยป้องกันมิให้ผู้ใช้บริการถูกเอาเปรียบอย่างที่เป็นอยู่

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

15 เมษายน 2556

 

 

Asia University Ranking 2013

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยไทย ๓ แห่งที่ติดอันดับ top 10 คะแนนยังห่าง top 3 มาก

 

Asia University Ranking 2013

ผม (อาจารย์วิจารณ์ พานิช ) ได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังนี้

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556 Times Higher Education (THE) ซึ่งเป็นสำนักจัดอันดับคู่แข่งของ QS Quacquarelli Symonds ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียที่เรียกว่า Asia University Rankings 2013 Top 100 ปรากฏว่า Top 10 ของเอเชีย ได้แก่ University of Tokyo, National University of Singapore (NUS), The University of Hong Kong, Peking University, Pohang University of Science and Technology (POSTECH), Tsinghua University, Kyoto University, Seoul National University, Hong Kong University of Science and Technology (HKUST) และ Korea Advanced Instute of Science and Technology (KAIST) ตามลำดับ

ประเทศไทย มีมหาวิทยาลัย 3 แห่งที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่ม Top 100 ของเอเชียในครั้งนี้ คือ อันดับ 55 King Mongkut's University of Technology, Thonburi (มจธ,) อันดับ 61 Mahidol University (มหิดล) และอันดับ 82 Chulalongkorn University (จุฬาฯ) สำหรับประเทศที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากที่สุดคือญี่ปุ่น ติดอันดับใน Top 100 ถึง 22 มหาวิทยาลัย ในขณะที่เกาหลีใต้ติดอันดับในกลุ่ม Top 10 มากที่สุด (อันดับ 5, 8 และ 10)

เกณฑ์ที่ THE ใช้ในการจัดอันดับ Asia University Rankings Top 100 ครั้งแรกนี้ เป็นเกณฑ์เดียวกับที่ THE ใช้ในการจัดอันดับ THE World University Rankings ประกอบด้วยตัวชี้วัด 13 ประการ ซึ่งจัดเข้ากลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้

1. Teaching: the learning environment (30%)

2. Research: volume (based on ISI databases), income and reputation (30%)

3. Citations: research influence (based on ISI databases) 30%

4. Industry income: innovation (2.5%)

5. International outlook: staff, students and research (7.5%)

จากเกณฑ์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยของไทยที่ติดอันดับมีคะแนนรวมเป็นดังนี้

มจธ. 30.3%, มหิดล 28.7% และ จุฬาฯ 24.8%

ในขณะที่ Top 3 ของเอเชีย มีคะแนนรวมเป็นดังนี้

University of Tokyo 78.3%, NUS 77.5% และ The University of Hong Kong 75.6%

ทั้งนี้รายละเอียดทั้งหมด สามารถดูได้ที่ลิงค์ต่อไปนี้

http://www.timeshighereducation.co.uk/world-university-rankings/2012-13/regional-ranking/region/asia

ผมจึงขอส่งข่าวสารนี้มายังอาจารย์ เพื่อการ ลปรร. ในแวดวงอุดมศึกษาของไทยต่อไป

ด้วยความเคารพและนับถือ

มงคล รายะนาคร

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532823

 

ครบเครื่องเรื่องในBlog GoToKnow

พิมพ์ PDF

วันนี้ขอนำบทความของ อาจารย์ สมศรี นวรัตน์ ศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อ่านแล้ว มีความสนุกสนาน ทำให้เพลิดเพลิน เข้ามาอ่านแล้วสบายใจ มีความสุขใจ พึงพอใจ อ่านแล้วได้ประโยชน์ทั้ง 2-3 ฝ่าย ทั้ง ด้านวิชาการ, ด้านEntertain ประมาณว่า “ครบเครื่องเรื่องในBlog GoToKnow”

 

 


1. ท่านรู้จัก Gotoknow.org ได้อย่างไร

ตอนเรียนPh.D ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านให้ผู้เขียนงาน และทำการบ้าน หรือ เขียนวิจารณ์หนังสือดีดี เช่น Necessary Revolution ของ BRYAN SMITH & NINA KRUSCHRITZ & JOE LAUR Purpose Linked Organization ของ ALAINA LOVE & MARC CUGNON,The Return of Depression Economics ของ PAUL KRUMAN แล้วท่านให้เขียนผ่านระบบของ GoToKnow ในวิชาที่เรียนของท่านอาจารย์ ในวิชาHRD. และระหว่างเรียนท่านได้พานักศึกษาไปร้านหนังสือ Kinokuniya (คิโนะคูนิยะ) สาขาสุขุมวิท เอ็มโพเรียมและหลังจากนั้นก็เข้ามาอ่านงานในBlog GoToKnow และ เขียนงานมาจนถึงปัจจุบันนี้นะคะ



2. ท่านสมัครเป็นสมาชิกGotoknow .org ได้อย่างไร

ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านสอนวิธีสมัครให้และแนะนำให้สมัครและเขียนบทความใน Gotoknow หรือ G2K ท่านบอกว่า "ต้องอ่านหนังสือมากๆ" และศึกษาถึงเทคนิกการเขียน ของนักแต่งแต่ละท่านด้วย ร่วมทั้งสำนวน โวหารด้วย ภาษา การวางประโยค การขึ้นต้นของเรื่องราว ลงท้ายและบทสรุป ที่ดีเขาทำอย่างไร?


3. ท่านมีวิธีการเขียนเรื่องเล่า (Best Practice) โดยมีแรงจูงใจในการเขียนมาจากอะไร

1) ก่อนที่จะเขียนบทความ ผู้เขียนจะมีการ Plot & Plan เรื่องราวที่จะเขียน หรือ มีการออกแบบ (Design) ไว้ในใจก่อน ที่จะลงมือเขียน บางครั้งต้องหาข้อมูลมาประกอบเพื่อให้การเขียนดีอย่างที่ใจตนเองต้องการ มีการวางแผน (Plan=P) ก่อนที่จะบันทึกงานเขียน (Do=D) เมื่อเขียนแล้ว ตรวจทาน (Check=C) ซ้ำอีกรอบนะคะ แล้วถ้ามีปัญหาจะเข้าไปแก้ไขอีกรอบ (Act=A)  ทำสิ่งเหล่านี้หลายๆรอบ หลายๆ ปี ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมากเลยนะคะ (Learning=L)

2) แรงจูงใจที่ทำให้อยากเขียนตอนแรก

(1)ได้รับการเสริมแรงจากท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านชมว่าเขียนบทความได้ดี ทำนให้ผู้เขียนรู้สึกภูมิใจใจตนเอง  ส่งผลให้มั่นใจในการเขียนของตนเองมากขึ้น  ขณะเดียวกัน ท่าน ศ.ดร. จีระ ท่านให้ผู้เขียนทำการบ้าน โดยอ่านหนังสือดีดี เช่น  GOOD  TO  GREATของ JIM COLLINS, Getting Things Done ของ David Allen, Highly Effctive Networking ของ Meet the Right People and Get a Great Job, Thinking in Systems ของ Donell H. Meadow แล้วท่านอาจารย์ให้นำเรื่องที่อ่านมาวิจารณ์ และเล่าเรื่องนั้นๆ ในBlog G2K แล้วท่านอาจารย์จะเข้ามาอ่าน และให้ข้อ Comment ทุกๆ ครั้งนะคะ


(2) ภายหลังเรียนจบวิชาHRD. แล้วจากท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้เขียนจะนำเอา เรื่องเล่าที่ได้รับรางวัลจาก สรพ.(สถาบันรับคุณภาพโรงพยาบาล) ที่เขียนจากผลงาน ซึ่งได้จากการทำงานในองค์กร/โรงพยาบาล แล้วได้นำเสนอในเวทีในงาน HA. Forums ในแต่ละปี มาเขียนลงใน Blog G2K  เพราะจะทำให้ผู้เขียนมีความแน่ใจ มั่นใจ ว่าน่าจะนำมาลงในBlogได้และดีในระดับหนึ่ง เพราะผ่านเวทีการคัดเลือกระดับชาติมาแล้ว หรือผ่านการรับรองมาแล้ว เช่น องค์กรที่มีชีวิต (Living Organization) หรือ เรื่องที่เป็นนวัตกรรมสำหรับดูแลผู้ป่วย เช่นเรื่อง “ขวดน้ำมหัศจรรย์พลิกผันสุขภาพของผู้ป่วยCOPD” หรือ นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมารดาและทารก หรือ เป็นกิจกรรมดีดีสู่ชุมชน “Good Value สู่ชนชน” หรือได้ Modelในการดูแลวัยรุ่น หรือ Modelในการดูแลแม่วัยรุ่น "Teen Moms"

(3) นำเรื่องที่ได้ทำในโครงการ จากการทำงานในโรงพยาบาลแล้วได้รับผลลัพธ์ดี นำมาเล่า นำมาสื่อสารใน Blog G2K เพื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน ที่เป็นโครงการที่น่าจะเป็นประโยชน์กับกลุ่มคนที่ทำงานสายงานเดียวกันซึ่งมีบริบทเดียวกัน

(4) การเล่าเรื่องที่จะ ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วย เช่น เทคนิคการเลิกบุหรี่ ด้วยวิธี 5A+5R+5D หรือ ปฏิทินยาสำหรับผู้สูงอายุ แล้วถ้ามีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยเขียนมาถามหรือโทรศัพท์มาถามผู้เขียนโดยตรง จะส่งผลให้ผู้เขียนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองมากยิ่งขึ้น

(5) แรงจูงใจจากเพื่อนๆ ในG2Kที่ให้กำลังใจ เป็นแรงเสริมทางบวกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยมีการเข้ามาทักทาย พูดเล่น คำชื่นชม ซึ่ง เป็นเสมือนยาบำรุงใจ, ยาวิตามินบำรุง ทำให้มีกำลังใจ ในการเขียนงานอย่างมาก เป็นความสุขใจที่ผู้เขียนได้รับและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมG2Kและสังคม Social Media นี้นะคะ

4.  ท่านมีเทคนิคในการเขียนเพื่อ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร

1) ชื่อเรื่องควร โดนใจผู้อ่าน สั้นกระซับ กระทัดรัดและ ท้าทายต่อการอยากเข้ามาอ่าน บทความหรืองานเขียน

2) เรื่องต้อง ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ถ้ามีข้อมูลเสริม ยิ่งจะช่วยให้น่าอ่านและอ่านแล้วได้ประโยชน์มากขึ้น

3) การวิเคราะห์ กลุ่มบุคคล ที่เข้ามาอ่าน Blog G2K ว่าอยู่ในช่วงวัยใด ภาพรวมเป็นใคร ผู้คนอยากอ่านอะไร อยากรู้อะไรและอะไรที่เราควรนำมาเสนอ ถึงจะเกิดประโยชน์มากสุด(เท่าที่เราจะทำได้) ตามบริบทของเรา (แบบบ้านลาดนะคะ)

4) ควรมี รูปภาพ เสริมบ้าง เพราะเป็นการยืนยันการเขียนบทความหรือเรื่องเล่าของผู้เขียน รูปภาพจะเสริมให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ดีมากกว่าการบรรยายด้วยตัวอักษร เป็นสีสัน เป็นเสน่ห์ของการเขียนอย่างหนึ่ง (คิดเองนะคะ)

5) เป็นเรื่องราวของ การทำกิจกรรมที่ดีและการปฏิบัติได้จริง เมื่อผู้เขียนทำกิจกรรมแล้ว เป็นสิ่งที่สามารถสร้างเสริมสุขภาพ ทำกิจกรรมแล้วเกิดผลดี มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน และน่าจะเสริมแรงและจูงใจของการอ่าน เช่น เมนูชูสุขภาพ, อาหารลดโรคลดอ้วน, เมนูบุญ-เมนูบาป, เมนูชูน้ำนม, ลดเอวลดอ้วน ฯลฯ จะช่วยให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้น(Learning) ประมาณเรื่อง 4'P, Purpose,Process, Performance, Person)

 

5.  ท่านคิดว่าท่านมีวิธีการเขียนหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกต่อยอดความรู้ได้อย่างไร

1) มีข้อคำถามทิ้งท้าย เพื่อให้ผู้อ่านบทความมีส่วนร่วมตอบ (Participation)และยังเกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีมีความสนิทสนมระหว่างผู้เขียนบทความกับผู้อ่านนะคะ

2) ควรเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาทางสังคม เรื่องที่สังคมให้ความสนใจหรือ เรื่องที่ส่งผลกระทบวงกว้างต่อสังคมไทยหรือสังคมโลก กำลังสนใจเป็นเรื่องสำคัญต่อทุกๆคนบนโลกใบนี้ซึ่งปัจจุบันเล็กและแคบไปแล้วเพราะ G2Kของเราไปสู่ WWW แล้วนะคะ เป็นเรื่องที่เป็นแบบแผนทางสังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม หรือเป็นเทศกาลทางสังคมซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เป็นเรื่องของคนบนโลกใบนี้ นะคะ

3) ควรเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่ผู้คนในสังคมสนใจ เช่น โรคที่เกิดใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก H7N9 หรือ เหตุการณ์ใหม่ๆ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อทุกๆ คน

4) ควรเป็นเรื่อง ที่ผู้อ่านบทความจะได้รับรู้ถึงผลประโยชน์ การเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็นและจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อตัวของเขา ครอบครัว ญาติ เพื่อนๆ และองค์กรหรือที่ทำงานของเขานะคะ รวมๆ แล้วคือ 4M+2T(Man, Money, Management, Material,Technology, Time,)

 

5) ควรเป็นเรื่องที่อ่านแล้ว มีความสนุกสนาน ทำให้เพลิดเพลิน เข้ามาอ่านแล้วสบายใจ, มีความสุขใจ พึงพอใจ อ่านแล้วได้ประโยชน์ทั้ง 2-3 ฝ่าย ทั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิชาการ, ด้านEntertain ประมาณว่า  “ครบเครื่องเรื่องในBlog GoToKnow”

 

 

 

6.  ท่านคิดว่ารางวัลสุดคะนึงมีผลต่อการเขียนของตนเองหรือสมาชิกหรือไม่ อย่างไร

1) มีผลมากต่อตัวเอง(ผู้เขียน)มาก เพราะทุกครั้งที่จะเขียนต้องระวังในการเขียนมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน ต้องคิดก่อนเขียนใน BlogG2K ก่อนอย่างน้อย 2-3 ชม. บางครั้งต้องคิดอยู่หลายวัน เพราะG2Tเป็นสื่อที่ออกไปแล้วออกไปเป็นวงกว้างมากนะคะ คนอ่านไปทั่ว(โลก) ก็น่าจะถูก นะคะ

2) การเขียนทุกๆครั้งต้อง คิด  คิดและคิดอย่างรอบครอบ และรอบด้าน มากพอสมควร เพื่อให้การเขียนนั้น เกิดผลกระทบ(Impact)ในทางบวกมากขึ้นและมีประโยชน์จริงๆ จะมากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่สถานการณ์นะคะ

3) การเขียนทุกๆ ครั้ง ควรเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน มิใช่เขียนเพราะอยากระบายความรู้สึกของตนเอง หรือ เขียนเพื่อให้ได้เขียน หรือเขียนเอาในลักษณะเชิงปริมาณแต่ละเลยเชิงคุณภาพ (คิดเองนะคะ)

4)  การเขียนทุกครั้งควรให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เกิดการรับรู้" เพื่อให้เกิดรับรู้ รับทราบสิ่งใหม่ๆ หรือ เรื่องเก่าแต่มีการพัฒนาขึ้น มีการต่อยอดขึ้น  หรือทำให้ผู้เข้ามาอ่าน Blog G2K ได้รับรู้สิ่งที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ สิ่งที่มีจริงเกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ในชุมชน ในสังคม หรือ ตามบริบทของเรา (แบบบ้านๆ คืองานของเรา)

5) มีผลต่อผู้เขียน ที่ทำให้ผู้เขียน ต้องอ่านหนังสือ  ต้องค้นคว้ามากขึ้น เพื่อที่จะหาความรู้ หาข้อมูลที่จะนำมาเสริมเพิ่มเติม ที่จะส่งผลให้ผู้เขียนขยันอ่านมากขึ้น ได้ไปอ่านงานเขียนของผู้อื่นมากขึ้น  ทำให้ตนเองได้เรียนรู้มากขึ้น เป็นการพัฒนาการอ่านของตนเองมากขึ้น (ในลักษณะ PDCA ==> PDSA ของตัวผู้เขียนค่ะ)

6) ผู้เขียน ต้องตื่นตัว ปรุกตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อใช้ความคิด ใช้ความพยายาม และอ่านบทความ อ่านงานวิชาการใหม่ๆ อยู่เสมอ อ่านผลงานของนักเขียนที่เราชอบและเป็นหนังสือที่ดีได้รับรางวัลในการแต่ง ใช้ภาษาที่งดงาม หวานและคม เช่นหนังสือความสุขของกะทิ

7. ทำให้ผู้เขียน ได้ฝึกการใช้ Technology หรือ IT ใหม่ๆ อยู่เสมอ นั้นคือได้ฝึกทักษะทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีมาใหม่ๆ ทุกๆ วัน เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ คู่กับการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันมากขึ้น

8. ทำให้ผู้เขียน ได้ฝึกฝนทักษะชีวิต มีทักษะชีวิตมากขึ้น ดีขึ้น เป็นทักษะชีวิตที่รอบด้าน ทั้งทางสังคม ทางการศึกษา ทักษะการสื่อสาร ทักษะการรู้จักการให้และการรับต่อกัน (ตามความคิดของผู้เขียน)

9. ทำให้ผู้เขียน ได้พบว่าเกิดมี ความสัมพันธ์และเป็นเครือข่ายกันและกัน ในวงเล็กๆ บ้าง วงใหญ่ๆ บ้าง (Connection & Network) เกิดเป็น เพื่อนๆ มีพี่ๆ มีน้องๆในสังคมของคนG2K ซึ่ง ประเมินค่ามิได้หรือตีค่าเป็นตัวเลขไม่ได้ นะคะ (ตามความคิดของผู้เขียน)

 


 

 

 

ขอบคุณมากค่ะ

 

ต่อด้วยการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ของ

วอญ่า-ผู้เฒ่า

โอ้ย..หิวขนมตาล

เรียนคุณหมอเปิ้ล

(6. ท่านคิดว่ารางวัลสุดคะนึงมีผลต่อการเขียนของตนเองหรือสมาชิกหรือไม่ อย่างไร

1) มีผลมากต่อตัวเอง(ผู้เขียน)มาก เพราะทุกครั้งที่จะเขียนต้องระวังในการเขียนมากขึ้นกว่าเดิม ต้องคิดก่อนเขียนในBlogG2K ก่อนอย่างน้อย 2-3 ชม.

2) การเขียนทุกๆครั้งต้อง คิด  คิด และคิดอย่างรอบครอบพอสมควร เพื่อให้การเขียนนั้น เกิดผลกระทบในทางบวกมากขึ้น และมีประโยชน์จริงๆ จะมากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่สถานการณ์

3) การเขียนทุกๆ ครั้งเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน มิใช่เขียนเพราะอยากระบาย หรือเพื่อให้ได้เขียน หรือ เขียนเอาในเชิงปริมาณแต่ละเลยเชิงคุณภาพ

4)  การเขียนทุกครั้งควรให้เกิด “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เกิดการรับรู้"  เพื่อให้เกิดรับทราบสิ่งใหม่ๆ หรือ เรื่องเก่าแต่มีการพัฒนาขึ้น มีการต่อยอดขึ้น  หรือทำให้ผู้เข้ามาอ่านBlog G2Kได้รับรู้สิ่งที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ สิ่งที่มีจริงในพื้นที่ ในชุมชน ในสังคม หรือตามบริบทของเรา

5) มีผลต่อผู้เขียน ทำให้ผู้เขียนอ่านหนังสือ  ค้นคว้ามากขึ้น หาความรู้ หาข้อมูลที่จะนำมาเสริมเพิ่ม ส่งผลให้ได้อ่านงานของผู้อื่นมากขึ้น  ได้เรียนรู้มากขึ้น เป็นการพัฒนาตนเองมากขึ้น (ในลักษณะ PDCA ==> PDSA ของตัวผู้เขียนค่ะ)

6) ผู้เขียนต้องตื่นตัว ปรุกตัวเองอยู่ตลอดเวลา ใช้ความคิด ใช้ความพยายาม และอ่านบทความ อ่านงานวิชาการใหม่ๆ อยู่เสมอ อ่านผลงานของนักเขียนที่เราชอบและเป็นหนังสื่อที่ดีได้รับรางวัลในการแต่ง ใช้ภาษาที่งดงาม เช่น หนังสือความสุขของกะทิ)

นี้ก็เป็นหลักการ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกรางวัลสุดคะนึง ที่กรรมการพิจารณา  ตามที่หมอดเปิ้น ถอดออกมา

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532893

 

 

 


หน้า 491 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8631206

facebook

Twitter


บทความเก่า