Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มีโรงเรียนไปทำไม : 3. ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา

พิมพ์ PDF

ปัจจัยสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ในปัจจุบันคือความกระตือรือร้นที่จะเรียน หรืออยากเรียน หากอยากเรียนจริงๆ ก็หาทางเรียนเองได้ไม่ยาก

 

มีโรงเรียนไปทำไม  : 3. ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา

บันทึกชุด มีโรงเรียนไปทำไม ๗ ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้  ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

เพราะอุดมศึกษาอเมริกันถูกตำหนิอย่างหนัก   ที่ค่าเล่าเรียนเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว อัตราเพิ่มสูงกว่าอัตราเพิ่ม จีดีพี ของประเทศ  และบัณฑิตที่จบเป็นหนี้สูงขึ้นๆ  และที่ร้ายมากคือเมื่อจบแล้วไม่มีงานทำ  ความเชื่อเดิมว่าการเรียนจบมหาวิทยาลัยเป็นเส้นทางสู่ชีวิตคนชั้นกลางถูกสั่นคลอน  คำนิยามว่า “ผู้มีการศึกษา” คือผู้เรียนจบมหาวิทยาลัย ถูกสั่นคลอน

อุดมศึกษาจึงมีการปรับตัว  จัดการเรียนรู้แบบใหม่ให้แก่คนอเมริกัน และแก่คนในโลก  เท่ากับสภาพการเรียนรู้แบบ “ทุกที่ ทุกเวลา ทุกคน” กำลังสร้างนิยามใหม่ของการเป็น “ผู้มีการศึกษา” ในโลก  โดยอาศัยโอกาสจากสภาพความอุดมความรู้ของโลก

เริ่มจาก (๑) การเปลี่ยนระบบรับรองระดับการศึกษา (accreditation)  ที่จะต้องรับรองที่ขีดความสามารถของบุคคล มากกว่า  ที่การผ่านการเข้าเรียนในโรงเรียน/มหาวิทยาลัย  คำถามคือ ระบบการศึกษามีความสามารถในการวัดทักษะที่กำหนดแค่ไหน  ผมเองมีความรู้สึกว่า วงการศึกษา (ไทย)  ขาดขีดความสามารถในการวัดดังกล่าว  จึงโมเมไปวัดที่ตัวความรู้ และที่การผ่านการสอนในโรงเรียน/มหาวิทยาลัย  ผมขอโทษหากความเข้าใจของผมคลาดเคลื่อน

เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบรับรองระดับการศึกษา ที่เน้นขีดความสามารถในการทำงาน (expertise)  MacArthur Foundation ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในการวัด expertise  เมื่อไรก็ตาม ที่โลกมีวิธีการวัด expertise ที่เชื่อถือได้  เมื่อนั้นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) ก็จะได้รับการยอมรับมากขึ้น  ความหมายในทางปฏิบัติของ “คนมีการศึกษา” จะเปลี่ยนไป  คนจะสามารถมีปริญญาได้โดยไม่ต้องผ่านมหาวิทยาลัย   หรือไม่ต้องมีปริญญาก็สามารถได้รับการยอมรับได้ หากมีความสามารถจริง

การเปลี่ยนแปลงประการที่ (๒) การเข้าถึงรายวิชาเปิดกว้าง เรียนที่ไหนก็ได้ ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต  ดังตัวอย่าง มหาวิทยาลัยพริ้นซตั้น, สแตนฟอร์ด, ดุ๊ก, จอร์เจีย เทค, และ เพนซิลเวเนีย ร่วมกันจัด Coursera เป็นระบบเรียน ออนไลน์ ฟรี  ไม่เสียเงิน  เวลานี้มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ๖๒ แห่ง  เปิดสอน ๓๓๖ รายวิชา  มีผู้เข้าเรียนกว่า ๓ ล้านคน

MIT จัด MITx เปิดโอกาสให้ นศ. เรียน ออนไลน์ได้ฟรี  และถ้าต้องการใบประกาศนียบัตรก็ต้องสอบ โดยเสียเงินค่าสอบ

การเปลี่ยนแปลงประการที่ (๓) ตลาดงาน ที่เปลี่ยนไปหลายด้าน  ด้านแรก การจ้างงานแบบประจำลดลง  หันมาจ้างงานเฉพาะด้าน/บางช่วงเวลา มากขึ้น  ซึ่งหมายความว่าการทำงานของคนจะเป็นนักวิชาชีพอิสระ (freelance) มากขึ้น  คาดว่าในปี ๒๕๖๓ ในสหรัฐอเมริกาจะมีคนทำงานแบบวิชาชีพอิสระมากกว่าทำงานประจำ  ในประเทศไทย บริษัทใหญ่ๆ ไม่พอใจขีดความสามารถในการทำงานของบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัย จึงพากันจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาของตนเอง ที่เรียกว่า corporate university  นศ. เรียนโดยการทำงานควบคู่ไปกับการเรียนวิชา   จะเห็นว่า ในยุคใหม่ การเรียนจะเข้าสู่การเรียนโดยลงมือปฏิบัติจริงมากขึ้น  เมื่อเรียนจบก็เข้าทำงานได้เลย

จะเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ในปัจจุบันคือความกระตือรือร้นที่จะเรียน หรืออยากเรียน  หากอยากเรียนจริงๆ ก็หาทางเรียนเองได้ไม่ยาก  จึงมาถึงประเด็นสำคัญคือ จะเรียนเองได้ต้องมีทักษะในการเรียนรู้  การศึกษาระดับพื้นฐานต้องฝึกทักษะในการเรียนรู้ให้แก่เด็ก  จนเด็กมีทักษะแก่กล้าตามที่ NCTE ระบุ (ตอนที่ ๑)  การเรียนด้วยตนเองจนจบปริญญาโดยไม่ต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยก็จะเป็นจริง

วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532901

ป.ล.มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตร คณะวิศวกรรมคอมพิเตอร์ จัดสร้างระะบบการสอบมาตราฐานวิชาชีพ 4 อาชีพ ประกอบด้วย การท่องเที่ยว โรงแรม เกษตร สุขภาพ และ logistic (อยู่ระหว่างการเริ่มต้น)

 

 

 

 

มีโรงเรียนไปทำไม : 1. ยุคความรู้หาง่าย นำสู่ความตายของ “ผู้ชราอายุยืน ๑๕๐ ปี”

พิมพ์ PDF

ทำไมต้องมีโรงเรียน ทำไมต้องไปโรงเรียน ในเมื่อโรงเรียนจัดการศึกษาผิดๆ และไม่ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างแท้จริง

 

มีโรงเรียนไปทำไม  : 1. ยุคความรู้หาง่าย  นำสู่ความตายของ “ผู้ชราอายุยืน ๑๕๐ ปี”

บันทึกชุด มีโรงเรียนไปทำไม ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้  ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

เหตุผลคือ ยุคนี้ความรู้หาง่าย   และคนเราขวนขวายเพื่อการเรียนรู้ได้ง่าย

การเรียนรู้ที่แท้จริงไม่ใช่การรับถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการสร้างความรู้ขึ้นจากการปฏิบัติ  แล้วเกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในตน  ยิ่งสิ่งที่ลงมือทำยิ่งท้าทายและสนุก และต้องค้นคว้ามาก ปรึกษาหรือร่วมมือกับคนอื่นมาก การเรียนรู้จะยิ่งลึกและกว้างขวาง  และเราสามารถเรียนรู้ได้กับคนทุกซีกโลก ผ่านทางระบบ อินเทอร์เน็ต

กระบวนการเรียนการสอนที่ใช้กันในระบบการศึกษาปัจจุบัน เน้นการถ่ายทอดความรู้  เน้นเนื้อหาวิชา  ซึ่งเป็นวิธีที่ล้าหลัง และไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง   การเรียนเนื้อหาวิชานั้น สมัยนี้หาได้ทั่วไปทั้งจากหนังสือ และจาก อินเทอร์เน็ต  หากโรงเรียนมีประโยชน์เพียงเป็นที่ถ่ายทอดเนื้อความรู้  ยุคนี้เรามีเครื่องมืออื่นที่ทำได้ดีกว่า สะดวกกว่า และสิ้นเปลืองน้อยกว่า

การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ในทุกที่ ทุกเวลา ร่วมกับใครก็ได้ที่เราชอบ  ไม่ใช่ร่วมกับครู และเพื่อนร่วมชั้นที่อายุเท่าๆ กัน ในห้องเรียน ในช่วงเวลาที่โรงเรียนเปิดเทอม เท่านั้น  และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อเราอยากเรียน ต่อสิ่งที่เราอยากรู้ ไม่ใช่เรียนตามที่มีคนอื่นมาบอกให้เราเรียน

หนังสือเล่มนี้จึงตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมีโรงเรียน ทำไมต้องไปโรงเรียน  ในเมื่อโรงเรียนจัดการศึกษาผิดๆ  และไม่ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างแท้จริง

โรงเรียนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีมาแล้ว ๑๕๐ ปี  คล้ายๆ กับว่า หลักการและรูปแบบการศึกษาคงที่ ๑๕๐ ปี  แต่โลกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  บัดนี้โลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในเรื่องเครื่องอำนวยความสะดวกในการเรียน  หากโรงเรียนจะดำรงอยู่ ก็ต้องไม่เป็นแบบเดิมๆ อีกต่อไป

โรงเรียนในปัจจุบัน เน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กสอบผ่าน นี่คือความผิดพลาด  การสอบผ่านกับการได้เรียนรู้อย่างครบถ้วนรอบด้าน บูรณาการ และรู้จริง เป็นคนละเรื่องกัน

ดังนั้น การดำเนินการปรับปรุงโรงเรียนให้ดีขึ้น ไม่เพียงพอเสียแล้ว  ต้องดำเนินการยกเครื่องโรงเรียน  ซึ่งหมายความว่า โรงเรียนต้องทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง  ไม่ใช่ improvement  แต่เป็น doing differently คือกิจกรรมที่โรงเรียนต้องไม่ใช่กิจกรรมแบบเดิม  ที่เช้าชึ้นมา นักเรียนมาโรงเรียน  ระฆังเข้าแถว  ชักธงชาติ  ครูอบรมหน้าเสาธง (นักเรียนตากแดดร้อน และไม่ได้ฟัง)  เดินแถวเข้าห้อง  สวดมนตร์ไหว้พระ (ยังมีอยู่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ)  ครูบอกว่าวันนี้จะเรียนอะไร  ฯลฯ  กิจกรรมแบบ “หลักสูตรกำหนด”  “ครูกำหนด”  เหล่านี้ต้องเลิก  เปลี่ยนไปเป็นกิจกรรมที่ “นักเรียนกำหนด”

ความอุดมของความรู้ มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด

“ความรู้หาง่ายอยู่ที่ปลายนิ้ว” เป็นคำที่พูดกันทั่วไป คือเรามีช่องทางต่อ อินเทอร์เน็ต ก็ค้นโดยใช้ กูเกิ้ล ได้  หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ปี ๒๕๕๕ บอกว่ามีคน ๒ พันล้านคนในโลก ที่เชื่อมต่อกันด้วย อินเทอร์เน็ต  (ตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น ๕ พันล้านในปี ๒๕๖๓)  เรามีเว็บเพจ ๑ ล้านล้านเว็บ  แต่ละวันมีคนเอาวิดีทัศน์ขึ้น YouTube ยาวเท่ากับเวลา ๘ ปี  วิกิพีเดียในภาคภาษาอังกฤษมี ๔ ล้านรายการ ฯลฯ

นอกจากความรู้หาง่ายแล้ว คนจำนวนมากก็เข้าถึงด้วย  ดังผลสำรวจในสหรัฐอเมริกา พบว่า ร้อยละ ๙๕ ของเด็กอายุ ๑๒ - ๑๗ ปี ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ  ในจำนวนนี้ร้อยละ ๗๖ ใช้ โซเชี่ยล มีเดีย  ร้อยละ ๗๗ มีโทรศัพท์มือถือ  สองตัวเลขหลังในคนอายุ ๑๘ - ๒๙ เพิ่มขึ้นเป็น ๘๔ และ ๙๗ ตามลำดับ  ข้อมูลเหล่านี้ในประเทศไทยอาจไม่สูงเท่า และแตกต่างไปตามกลุ่มตามระดับเศรษฐสังคม  แต่ก็มีแนวโน้มเดียวกัน คือความรู้มีมากและหาง่าย  ไม่จำเป็นต้องไปรับที่โรงเรียนก็ได้

เปรียบเทียบกับโลกสมัยเรายังเด็ก แตกต่างราวฟ้ากับดิน  สมัยโน้นโรงเรียนคือแหล่งความรู้ ที่หาที่อื่นได้ยาก

เขาอ้าง Michael Welsch ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแคนซัส สเตท ว่า “มีคอมพิวเตอร์อยู่ทั่วไป, มีสารสนเทศอยู่ทุกหนทุกแห่ง, มีเครือข่ายอยู่ทุกหนทุกแห่ง, มีความเร็วไม่จำกัด, เกี่ยวกับทุกสิ่ง, ทุกที่, ที่เครื่องมือทุกชนิด ที่ทำให้การติดต่อ จัดการ และเปลี่ยน ร่วมมือ และเผยแพร่”  นี่คือแหล่งเรียนรู้ ที่ไม่ใช่โรงเรียน

สำรวจนอกโรงเรียน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบเปลี่ยนยุค (disruption) เต็มไปหมด  แต่โรงเรียนยังเหมือนเดิม  (ถึงตรงนี้ผมขอแถมว่า รวมทั้งมหาวิทยาลัยด้วย)

และเพิ่มเติมได้อีกว่า โทรทัศน์มีหลายร้อยช่อง ดูด้วยโทรศัพท์มือถือก็ได้  เช่นเดียวกันกับวิทยุ

ข้อจำกัดคือ เราใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อการเรียนรู้ไม่เป็น  คนไทยเอาไว้เล่นและบันเทิงมากกว่าเพื่อเรียนรู้ หลายเท่านัก   รวมทั้งใช้ไปในทางเสื่อมเสีย แทนที่จะใช้ในทางสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้พัฒนาตน   นั่นคือสิ่งที่เราต้องส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนของเรามีทักษะ (และฉันทะ)  เพื่อให้เขา “มีการศึกษา” ในนิยามใหม่ ที่จะกล่าวในหัวข้อข้างล่าง

ผู้เขียนบอกว่า โลกยุคนี้เป็นโลกของการเชื่อมต่อ (connection)  ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อทาง อินเทอร์เน็ต  คนยุคนี้ต้องฝึกใช้ประโยชน์ของการเชื่อมต่อนี้  และฝึกให้เข้มแข็งรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของหการเชื่อมต่อ

ต้องรู้จักเข้าถึงการเชื่อมต่อ  ใช้เครื่องมือเพื่อเชื่อมต่อเป็น  เชื่อมต่อแล้วเข้าถึงความรู้หรือสารสนเทศที่ต้องการเป็น  ไม่มัวเสียเวลากับความรู้หรือสารสนเทศที่เขาเอามาล่อ  รู้จักแยกแยะระหว่างความรู้/สารสนเทศที่ดีกับที่ไม่ดี  รู้จักเลือกและใช้ประโยชน์ความรู้/สารสนเทศที่ดี/เหมาะสม ที่สุด  รู้จักเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับผู้อื่น ออนไลน์  ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง  และรู้จักแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้/สารสนเทศ กับคนอื่น (อย่างสร้างสรรค์)

เด็กของเรา “ไม่รู้หนังสือ” ในนิยามใหม่

คำว่า “รู้หนังสือ” (literacy) ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องนิยามใหม่   ว่าไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็น เท่านั้น อีกต่อไป  ต้องขยายไปสู่ความสามารถในการใช้ประโยชน์ของ ICT และการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตของตน

NCTE ของสหรัฐอเมริกา ได้นิยาม 21st Century Literacies ไว้ ที่นี่ ซึ่งจะเห็นว่า คำว่าเรียนเพื่อ “รู้หนังสือ” ไม่เพียงพอเสียแล้ว  หรือหากกล่าวแรงๆ ก็ต้องบอกว่าเป็นวิธีคิดที่ผิด ใช้ไม่ได้อีกต่อไป  การศึกษาเพื่อรู้หนังสือเป็นวิธีคิดของเมื่อ ๑๕๐ ปีที่แล้ว  ใช้ไม่ได้ในยุคปัจจุบันที่โลกมันเปิดและเชื่อมต่อ ถึงกันหมด  คนในสมัยนี้ต้องรู้วิธีเชื่อมต่อกับคนอื่นได้ทั่วโลก  และมีทักษะในการสร้างความรู้  และทักษะ(และฉันทะ) ในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับคนที่แตกต่างจากเราในด้านต่างๆ ทั่วโลก   และเนื่องจากการเรียนรู้ในสมัยนี้กับการทำงานเป็นสิ่งเดียวกัน  คนสมัยนี้จึงต้องมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ที่อาจจะมีความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ แตกต่างจากตัวเราโดยสิ้นเชิง

 

 

 

ข้อกำหนดของ NCTE : A New Set of 21st Century Competencies

 

การมีการศึกษา (Literacy)  เป็นชุดข้อปฏิบัติทางวัฒนธรรมและการสื่อสารของสมาชิก ของคนในสังคมกลุ่มหนึ่ง

เมื่อสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยน นิยามของคำว่า “มีการศึกษา” (literacy) ก็ต้องเปลี่ยนด้วย  เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้ทำให้สภาพแวดล้อมของการศึกษา ทวีความเข้มข้น และซับซ้อน  โลกในศตวรรษที่ ๒๑ จึงเรียกร้องให้ผู้มีการศึกษาต้องมีความสามารถ และสมรรถนะที่กว้างขวางมาก  คือมีชุดการศึกษาหลายชุด (many literacies)  ชุดการศึกษาเหล่านี้มีลักษณะ ซับซ้อน เป็นพลวัต ปรับตัวได้ และเชื่อมโยงผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์ โอกาสในชีวิต และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบุคคลและกลุ่มคน  บุคคลที่จะมีชีวิตที่ดีในสังคมโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ จะต้องมีความสามารถ

·  พัฒนาความสามารถ และความคล่องแคล่ว ในการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี

·  สร้างความเชื่อมโยง และความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมกับผู้อื่น  ลงมือเสนอ

และร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาความคิดอิสระของตน

·  ออกแบบและแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ต่อชุมชนโลก เพื่อเป้าหมายที่หลากหลาย

·  นำสารสนเทศจากหลากหลายทางในเวลาเดียวกัน มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ

จัดการ

·  สร้าง วิพากษ์ วิเคราะห์ และประเมิน สื่อผสม (multimedia)

·  เอาใจใส่ความรับผิดชอบด้านจริยธรรม ในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนนี้

 

 


 

 

ดังนั้น เราต้องสร้างคำใหม่ในภาษาไทย เพื่อสื่อคำว่า literacy ในภาษาอังกฤษ  เดิมเราใช้คำว่า “รู้หนังสือ”  ผมขอเสนอคำว่า “มีทักษะ”  โดยคำเต็มคือ “มีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑”  การศึกษาสมัยใหม่มีเป้าหมายเพื่อให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  และการจะพัฒนาทักษะชุดนี้ขึ้นในตัวได้  ผู้เรียนต้องมีความรู้แกน และความรู้หลักสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ เป็นฐานสำหรับงอกงามทักษะ  ซึ่งความรู้ชุดนี้ต้องเรียนไปพร้อมๆ กันกับการพัฒนาทักษะ

ภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่เดิมอาจสื่อคุณค่าที่ไม่ตรงกับคุณค่าแห่งยุคสมัย  เช่นคำว่า “รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา  รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”  เราต้องตีความคำว่า “รู้วิชา” เสียใหม่ ว่าหมายถึง “มีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑”

ในนิยามใหม่นี้ เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับของไทยส่วนใหญ่ ยัง “ไร้การศึกษา” (illiterate)

วิจารณ์ พานิช

๑๑ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532753

 

มีโรงเรียนไปทำไม : 2. โรงเรียนแบบเก่า โรงทรมานเด็กด้วยหลักสูตรที่พองขึ้นๆ

พิมพ์ PDF

ที่ร้ายที่สุดคือความคิดแบบบังคับบัญชา (command and control) ที่ครอบงำวงการศึกษา

 

มีโรงเรียนไปทำไม  : 2. โรงเรียนแบบเก่า โรงทรมานเด็กด้วยหลักสูตรที่พองขึ้นๆ

บันทึกชุด มีโรงเรียนไปทำไม รวม ๗ ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้  ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

สิ่งที่ผิดทางการศึกษา คือมุ่งจัดการศึกษาแบบ “มีข้อกำหนด” (prescriptive) ซึ่งก็คือหลักสูตร ที่นับวันจะพองตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณความรู้ที่เพิ่มขึ้น  กำหนดให้ต้องถ่ายทอดความรู้ตามที่กำหนด  และต้องจัดการสอบแบบการทดสอบมาตรฐาน ที่ล้าสมัย เพื่อดูว่าได้ผลตามที่กำหนดในหลักสูตรหรือไม่  และที่ร้ายที่สุดคือความคิดแบบบังคับบัญชา (command and control) ที่ครอบงำวงการศึกษา

ผมขออภัยท่านที่อยู่ในวงการศึกษา ที่ถอดความในหนังสือนี้มาลงบันทึกด้วยถ้อยคำรุนแรง  ผมไม่มีเจตนาลบหลู่  แต่ต้องการปลุกสำนึกว่าการศึกษาที่เราจัดให้แก่ลูกหลานของเราในเวลานี้นั้น มันผิด มันตกยุค  และเป็นเสมือนทำร้ายเด็ก  เพราะจะไม่ทำให้เด็กที่เป็นอนาคตของประเทศ มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑

หลักสูตรและโรงเรียนแบบเก่าที่ใช้มา ๑๕๐ ปี กำลังถูกท้าทายด้วยโอกาสเรียนรู้แบบใหม่ ที่เรียนได้จากทุกที่ ทุกเวลา โดยทุกคน  ขอให้ตั้งใจมีใจอยากเรียนรู้และเข้า อินเทอร์เน็ตได้

โรงเรียนแบบเก่า เรียนปีละ ๑๘๐ วัน  เด็กต้องแบกเป้หนักอึ้งมาโรงเรียน  เลือกครูไม่ได้ ครูแย่แค่ไหนก็ต้องไปเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด  วิชาไม่น่าสนใจก็ต้องเรียน  โรงเรียนมีสนามเด็กเล่นไม่พอก็ต้องแย่งชิงเอา  อาหารที่โรงอาหารกินไม่ลงก็ต้องกิน ฯลฯ

ที่น่ากังวลสำหรับผม แต่ไม่เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้คือ ครูมุ่งสอนวิชาเพื่อให้เด็กสอบผ่าน  ไม่ได้สนใจสอนความเป็นมนุษย์ที่พัฒนาครบด้านให้แก่เด็ก  เพราะเรื่องนี้ไม่มีการสอบ  เด็กถูกสอนมาก (ตามหลักสูตร) แต่ได้เรียนน้อย  ในขณะที่ประเทศที่การศึกษาคุณภาพดี เขาใช้หลัก สอนน้อย เรียนมาก  และเรียนอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดพัฒนาการครบด้าน

ที่เป็นตัวการแห่งความเสื่อมคือการประเมิน หรือการสอบ ที่เน้นสอบความรู้หรือการท่องจำ  เน้นสอบโดยส่วนกลาง  ที่ทำให้ครูไม่มั่นใจตนเอง ไม่ได้ฝึกฝนการประเมินการเรียนรู้ของเด็กด้วยตนเอง  มัวแต่ลนลานสอนให้ทัน ให้ครบตามหลักสูตร  โดยไม่ได้เอาใจใส่มากนักว่าเด็กได้เรียนหรือไม่  หรือสนใจแต่เด็กที่เรียนเก่งว่าได้เรียนรู้แล้ว  เด็กที่เรียนไม่เก่งครูสอนแล้วก็ถือว่าได้ทำหน้าที่แล้ว ที่ไม่รู้เพราะเด็กโง่เอง  นี่คือส่วนหนึ่งของข้อด้อยของโรงเรียนแบบเก่า

ผู้เขียนบอกว่า กฎหมาย No Child Left Behind ของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผลให้ระบบการศึกษาอเมริกัน เป็นการเรียนเพื่อสอบ  ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่า ก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับการมี สมศ.  และการสอบของส่วนกลางของไทย  ซึ่งก็มีส่วนทำให้การศึกษาไทยเป็นการสอนและเรียนเพื่อสอบเช่นเดียวกัน

การสอบอย่างที่ทำกันในปัจจุบัน ไม่ทำนายความสำเร็จในชีวิตอนาคตของเด็ก ซึ่งโลกและสังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปแบบคาดเดาไม่ได้  เพราะเป็นการทดสอบความรู้ในปัจจุบัน  ไม่ได้ทดสอบทักษะในการเรียนรู้ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ของเด็ก

บริษัท ไอบีเอ็ม ได้สอบถามความเห็นของผู้บริหาร ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของคนในอนาคตคืออะไร  ไม่มีคนตอบว่าคือผลสอบต่างๆ เลย  ปัจจัยที่มีคนตอบมากที่สุดคือ “ความริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการจัดการความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของโลก”  จึงเกิดคำถามว่า ระบบการศึกษาที่ช่วยให้เด็กพัฒนาคุณสมบัติที่ต้องการสองข้อนี้เป็นอย่างไร  คำตอบคือ ไม่ใช่โรงเรียนแบบเก่า อย่างแน่นอน

ผู้เขียนไม่โทษครู แต่โทษระบบ  ว่าระบบการศึกษาของอเมริกันไม่ดี  มีผลให้ครูออกจากอาชีพถึงครึ่งหนึ่ง ในเวลา ๕ ปีแรกของการเข้าสู่อาชีพครู

ทำให้ผมหันกลับมาตั้งคำถามต่อระบบของไทย

หนังสือยังบอกอีกว่า หากคิดเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่มาจากครอบครัวรายได้สูง  ผลการทดสอบสูงลิ่ว  สะท้อนให้เห็นความแตกต่าง หรือช่องว่างทางสังคมอย่างชัดเจน  ช่างเหมือนกับสยามประเทศอะไรอย่างนั้น  ต่างจากประเทศที่ผลการเรียนของเขาดี เช่นฟินแลนด์ ที่โรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพทัดเทียมกัน  และไม่มีการทดสอบจากส่วนกลาง

ในวาทกรรมปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้ ไอซีที เป็นเครื่องช่วยนั้น  มันซ่อนความเชื่อสองแนวไว้อย่างแนบเนียน  คือแนวอนุรักษ์ของเดิม เพิ่มประสิทธิภาพ (และประสิทธิผล) ด้วย ไอซีที  ใช้ไอซีทีช่วยถ่ายทอดเนื้อวิชาแทนครูเป็นส่วนใหญ่  โดยที่ครูผู้ช่วยคอยคุมเครื่อง และบอกเวลาหมดคาบหรือหมดชั่วโมง  และมีครูติวเต้อร์ หรือครูที่ปรึกษาให้นักเรียนบางคน ที่เรียนช้า หรือไม่เข้าใจ  การสอบก็เน้นสอบแบบเขียนเรียงความ  โดยมีการวิจัยพัฒนาเครื่องตรวจข้อสอบแบบเรียงความ ที่สามารถตรวจข้อสอบได้ ๑ หมื่นข้อ (คน) ใน ๑ นาที

ส่วนแนวยกเครื่องการเรียนรู้ใหม่นั้น จะเล่าโดยละเอียดในตอนที่ ๔  จุดสำคัญที่หนังสือเล่มนี้บอกคือ แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการสอนเนื้อหาด้วยเครื่อง ไอซีที นั้น  ยังไม่ใช่วิธีการของศตวรรษที่ ๒๑  ที่ผู้เรียนต้องมีอิสระ และมีอำนาจเหนือการเรียนรู้ของตนเอง  เราต้องไม่หลงพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยยังยึดติดที่เนื้อหาอย่างเดิม เพียงแต่เปลี่ยนผู้สอนจากเน้นครู มาเป็นเน้นให้เครื่องสอน  และเวลาสอบก็ยังเน้นสอบเนื้อหาอย่างเดิม เพียงแต่เปลี่ยนข้อสอบจากเน้นปรนัยมาเป็นอัตนัย แล้วใช้เครื่องตรวจ

ในการปฏิรูปการเรียนรู้ มีมายา  หรือการหลอกตัวเอง ทั้งแบบจงใจ และแบบไม่รู้ตัว   ผู้ที่กำลังปฏิรูปการเรียนรู้ไทยพึงตระหนักข้อนี้

วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๕๖

 

 

เป้าหมายในการจัดตั้ง "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

พิมพ์ PDF

มูลนิธินี้เริ่มทำงานมา 4 ปีแล้ว โดยใน 4 ปีแรก เป็นแค่ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" เป็นกลุ่มบุคคล แต่เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2556 ได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ฯ เรียบร้อยแล้ว เราจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา การให้ความรู้และการสร้างคนใน 20-40 ปี ข้างหน้า ได้แบ่งกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เป็นผู้สูงวัย มีประสบการณ์มาก ทั้งดี และไม่ดี กลุ่มนี้จะคัดเลือกผู้ที่มองเห็นและเข้าใจว่าคนยุคนี้เป็นยุคที่ยึดติดกับระบบทุนนิยม แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน โดยไม่คำนึกว่าได้มาอย่างไร ใช้อำนาจ เป็นใหญ่จึงหวงอำนาจไม่ยอมถ่ายอำนาจให้คนอื่น

กลุ่มที่สองเป็นคนที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก รู้แจ้งว่าระบบทุนนิยมจะล่มสลายเช่นเดี่ยวกับระบบสังคมนิยม ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในรุ่นนี้ จะใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอายุตั้งแต่ 49 ปีลงไปถึง 30 ปี กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังให้การสนับสนุน เป็นโค้ช และตัวอย่างที่ดีให้กับคนกลุ่มที่สาม

กลุ่มที่สาม ได้แก่กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษาและเริ่มทำงาน อายุ 29 ปีลงไป เด็กพวกนี้สับสน ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ขาดความศรัทธาและนับถือผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ คือคนกลุ่มที่หนึ่ง และคนกลุ่มที่สอง ส่วนมากไม่ทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กรุ่นนี้ใช้วิธีการสั่งการหรือควบคุมไม่ได้ ต้องใช้เหตุผลและวิธีการทางจิตวิทยาสูง เด็กรุ่นนี้เป็นเด็กยุด IT สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจาก Internet ทำให้เด็กเข้าใจว่าฉันรู้มาก จึงไม่ฟังผู้ใหญ่ เพราะคิดว่าผู้ใหญ่ล้าสมัย แต่สิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนรู้วิธีนี้เป็นดาบสองคม พวกเขารู้มากมายแต่ขาดประสบการณ์จริง รู้แบบผิวเผิน จึงต้องการผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่ง และผู้ใหญ่กลุ่มสอง ที่ให้ความสนใจและเห็นปัญหาด้านการสร้างทุนมนุษย์ในอนาคต เป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษา ผู้ให้การสนับสนุน และสร้างโอกาส กับคนกลุ่มสาม

สรุปว่าคนทั้งสามรุ่นจะต้องทำงานด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ให้ประสบผลตามเป้าหมายคือ ทำให้คนมีคุณค่า มีทุนมนุษย์ครบทั้ง 8 K และ 5 K ตามทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การสร้างคนดีคนเก่งได้จะต้อง ทำความเข้าใจเรื่อง Human Resource, Human Ca[ital ,Human Being ( คนเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนทุกคนมีทุน มีคุณค่า เข้าใจความเป็นคน คนต้องการอะไร ) ต้องทำความเข้าใจทั้ง 3 ความหมายอย่างล฿กซึ้ง และนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน จึงจะได้คนดีคนเก่ง คนดีคนเก่งคือคนที่ เก่งคน เก่งคิด เก่งทำงาน และเก่งในการดำรงชีวิต ขบวนการที่จะทำให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี คือการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการในทุกขั้นตอนของขบวนการสร้างคนดีคนเก่ง
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
14 เมษายน 2556

 

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ VS บทความ "มีโรงเรียนไปทำไม""

พิมพ์ PDF

เป้าหมายในการจัดตั้ง "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

จากบทความชุด "มีโรงเรียนไปทำไม" ของอาจารย์วิจารณ์ พานิช ตีความจากหนังสือ Why School? : How Education Must Change When Learning and Information Are Everywhere เขียนโดย Will Richardson บอกตรงๆ ว่า ระบบการศึกษาจะอยู่ในสภาพปัจจุบันไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงในทำนองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากบทความดังกล่าวนี้ทำให้เป็นการยืนยันว่าความคิดของผมและเพื่อนๆมาถูกทางแล้วที่เราร่วมกันจัดตั้ง "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" ขึ้นมา

มูลนิธินี้เริ่มทำงานมา 4 ปีแล้ว โดยใน 4 ปีแรก เป็นแค่ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" เป็นกลุ่มบุคคล แต่เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2556 ได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ฯ เรียบร้อยแล้ว เราจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา การให้ความรู้และการสร้างคนใน 20-40 ปี ข้างหน้า ได้แบ่งกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เป็นผู้สูงวัย มีประสบการณ์มาก ทั้งดี และไม่ดี กลุ่มนี้จะคัดเลือกผู้ที่มองเห็นและเข้าใจว่าคนยุคนี้เป็นยุคที่ยึดติดกับระบบทุนนิยม แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน โดยไม่คำนึกว่าได้มาอย่างไร ใช้อำนาจ เป็นใหญ่จึงหวงอำนาจไม่ยอมถ่ายอำนาจให้คนอื่น 

กลุ่มที่สองเป็นคนที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก รู้แจ้งว่าระบบทุนนิยมจะล่มสลายเช่นเดี่ยวกับระบบสังคมนิยม ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในรุ่นนี้ จะใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอายุตั้งแต่ 49 ปีลงไปถึง 30 ปี กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังให้การสนับสนุน เป็นโค้ช และตัวอย่างที่ดีให้กับคนกลุ่มที่สาม

กลุ่มที่สาม ได้แก่กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษาและเริ่มทำงาน อายุ 29 ปีลงไป เด็กพวกนี้สับสน ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ขาดความศรัทธาและนับถือผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ คือคนกลุ่มที่หนึ่ง และคนกลุ่มที่สอง ส่วนมากไม่ทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กรุ่นนี้ใช้วิธีการสั่งการหรือควบคุมไม่ได้ ต้องใช้เหตุผลและวิธีการทางจิตวิทยาสูง เด็กรุ่นนี้เป็นเด็กยุด IT สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจาก Internet ทำให้เด็กเข้าใจว่าฉันรู้มาก จึงไม่ฟังผู้ใหญ่ เพราะคิดว่าผู้ใหญ่ล้าสมัย แต่สิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนรู้วิธีนี้เป็นดาบสองคม พวกเขารู้มากมายแต่ขาดประสบการณ์จริง รู้แบบผิวเผิน จึงต้องการผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่ง และผู้ใหญ่กลุ่มสอง ที่ให้ความสนใจและเห็นปัญหาด้านการสร้างทุนมนุษย์ในอนาคต เป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษา ผู้ให้การสนับสนุน และสร้างโอกาส กับคนกลุ่มสาม

สรุปว่าคนทั้งสามกลุ่มจะต้องทำงานด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ให้ประสบผลตามเป้าหมายคือ ทำให้คนมีคุณค่า มีทุนมนุษย์ครบทั้ง 8 K และ 5 K ตามทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การสร้างคนดีคนเก่งได้จะต้อง ทำความเข้าใจเรื่อง Human Resource, Human Capital,Human Being ( คนเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนทุกคนมีทุน มีคุณค่า เข้าใจความเป็นคน คนต้องการอะไร ) ต้องทำความเข้าใจทั้ง 3 ความหมายอย่างลึกซึ้ง และนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน จึงจะได้คนดีคนเก่ง คนดีคนเก่งคือคนที่ เก่งคน เก่งคิด เก่งทำงาน และเก่งในการดำรงชีวิต ขบวนการที่จะทำให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี คือการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการในทุกขั้นตอนของขบวนการสร้างคนดีคนเก่ง
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
14 เมษายน 2556

ผู้ใดสนใจเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างคนดีคนเก่ง คนที่มีคุณภาพ สร้างความเจริญรุ่งเรื่อง และความมั่นคง ให้กับสังคมและประเทศชาติ  ประชาชนโดยรวมมีความสุข อย่างยั่งยืน ในอีก 20-40 ปี ข้างหน้า เชิญ แจ้งความจำนงมาที่ผมโดยตรง ทาง e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือ โทร 089-1381950

มูลนิธิต้องการผู้มีส่วนร่วมทั้งสามกลุ่มเป็นจำนวนมากครับ เป็นการร่วมมือกันสร้างคุณค่าของคน เริ่มจากตัวเราเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สิ่งที่เราเริ่มทำจะไปเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในคนกลุ่มที่ 4 คือลูกของคนที่มีอายุ 29 ปีลงไป กลุ่มที่หนึ่งทำเพื่ออนาคตของหลาน เหลน ตัวเองคงไม่ทันเห็นผลสำเร็จในชีวิต ของตัวเอง  คงจะตายไปก่อน แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นการทำเพื่อตัวเองก็ได้ เพราะเมื่อตายไปแล้วเกิดใหม่จะได้มารับอานิสงค์ที่ตัวเองทำไว้

 


หน้า 492 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8631467

facebook

Twitter


บทความเก่า