Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๘๙. อ่านหนังสือ

พิมพ์ PDF

หนังสือ กระบวนการภาวนาศึกษา เมื่อความรู้แปรเป็นความรัก พินทุสร ติวุตานนท์ แปล  จาก Meditation as Contemplative Inquiry : When Knowing Becomes Love by Arthur Zajonc

ปีเต้อร์ เซงเก้ เขียนคำนำว่า นี่คือหนังสือชี้ทางปิดช่องว่างระหว่าง วิทยาศาสตร์ จิตสำนึก และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

หนังสือเล่มนี้ ว่าด้วยการเรียนรู้ด้านใน  ที่จะต้องคู่ หรือผสาน ไปกับการเรียนรู้ด้านนอก  ซึ่งผมเชื่อว่า การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องดำเนินควบคู่กัน ตั้งแต่เกิด ไปจนตาย  ในระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ ต้องจัดการเรียนรู้ควบคู่นี้ ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก  ไปจนจบ ม. ๖  ปวช., ปวส., ปริญญาตรี โท เอก และตลอดไป

ใครไม่รู้วิธีจัดการศึกษาแบบนี้ ให้ไปดูที่ โรงเรียนนอกกะลา และโรงเรียนทางเลือกอื่นๆ

ผมเชื่อว่า มีวิธีการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติที่ง่าย  ที่จะให้เกิดการเรียนรู้ทั้งสองด้านไปพร้อมๆ กัน และเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน   ที่ใช้ได้กับเด็กทุกวัย   โดยเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้จากเน้นครูสอน ไปเป็นเน้นให้นักเรียนปฏิบัติเป็นทีม  ตามด้วยการเขียนรายงานกระบวนการทำงานโดย นร. แต่ละคน  และ team presentation ของแต่ละทีม  ตามด้วยการทำ AAR หรือ reflection ในชั้น  โดยครูมีทักษะในการตั้งคำถามให้ นร. AAR ทั้งความรู้ด้านนอก และความรู้ด้านใน

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532717

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๑๗. เคาะกระโหลกด้วยกะลา : AAR จากการเปิดรับ tacit และ explicit knowledge จากโรงเรียนนอกกะลา

พิมพ์ PDF

 

จะว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่ทราบผมเขียนบันทึกที่๑จากการไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยยังไม่ได้อ่านหนังสือ๒เล่มที่ผมซื้อติดมือมาคือโรงเรียนนอกกะลากับคนบนต้นไม้ทั้งสองเล่มเขียนโดยผอ.วิเชียรไชยบัง

ที่ว่าโชคดีก็เพราะทำให้ผมเขียนจากการตีความกระท่อนกระแท่นของผมเองจากการไปเห็นและฟังจากครูบันทึกนั้นจึงถือว่าเป็น original idea หรือการตีความของผมล้วนๆ

ที่ว่าโชคร้ายก็คือที่ผมตีความนั้นมีอยู่แล้วทั้งหมดในหนังสือ๒เล่มนี้มีมากกว่าที่ผมตีความได้อย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ "ทำอย่างไร" (how)   และ "ทำไมจึงทำอย่างนั้น" (why)

บันทึกนี้จึงได้จากการตีความและใคร่ครวญจากความรู้๒แหล่งจากการไปเยี่ยมชื่นชมกับการอ่านหนังสือและเข้าเว็บเข้าบล็อก (lamplaimatpattanaschool.blogspot.com) รวมทั้งดู YouTube (ค้นด้วยคำว่า LPMPและคำว่า โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา)

ผมตีความว่าที่โรงเรียนนี้นักเรียนและครูใช้ (ฝึก) KM อยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกตัวและสิ่งที่ลปรร.กันนั้นส่วนใหญ่เป็น tacit knowledge คือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ

ผมได้รู้จักPygmalion Effect หรือ Rosenthal Effect เป็นทฤษฎีที่บอกว่าพฤติกรรมของครูมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหากครูคิดว่าเด็กบางคนไม่เก่งท่าทีแบบไร้สำนึกของครูจะไปลดความเชื่อถือตัวตนของเด็กทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองไม่กล้าจินตนาการการที่ครูจำแนกเด็กเก่งไม่เก่งจึงก่อผลร้ายต่อการเรียนรู้พัฒนาการและอนาคตของเด็กส่วนใหญ่ตรงกันข้ามถ้าครูยกย่องชมเชยให้กำลังใจและแสดงความคาดหวังที่สูงต่อเด็กเด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ลองอ่าน Wikipedia หัวข้อPygmalion Effectดูนะครับว่าที่จริงแล้วท่าทีและความคาดหวังของนักเรียนต่อครูที่เป็นด้านบวกจะให้ผลทำนองเดียวกันคือทำให้เป็นครูที่ดีขึ้นทำให้ผมคิดต่อว่าที่จริงในชีวิตประจำวันของผู้คนหากเราสัมพันธ์กันด้วยจิตวิทยาเชิงบวกความคาดหวังต่อกันเชิงบวกจะเกิด synergy ระหว่างกันกระตุ้นซึ่งกันและกันให้ทำงานประสบความสำเร็จได้ดีขึ้นที่จริงนี่คือบรรยากาศที่เราสร้างสำหรับใช้เครื่องมือ KM ในการทำงานนัก HRD ดู YouTube เรื่อง Pygmalion Effect : Amanaging the Power of Expectations, 3rd Ed ได้ที่นี่และมีคนแนะใน YouTube ว่าหนังคลาสสิคเรื่อง My Fair Lady เป็นตัวอย่างของ Pygmalion Effect ที่ดี

นี่คือทฤษฎีหรือวิชาการว่าด้วยโลกแห่งมิตรไมตรีที่ผู้คนใช้จิตวิทยาเชิงบวกต่อกันกระตุ้นความมานะพยายามต่อกันและกันโลกจะก้าวหน้าและงดงามขึ้น

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตีความ IQ ใหม่เป็น Intellectual Qutient (สติปัญญา) ไม่ใช่ Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) เพราะ Intelligent Quotient เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเปลี่ยนแปลงยากแต่ Intellectual Quotient พัฒนาได้อย่างมากมายและหลากหลายวิธีเป็นสิ่งที่โรงเรียนควรเน้นหรือเอาใจใส่พัฒนาเด็ก

ผมชอบบทสรุปในหนังสือคนบนต้นไม้หน้า๘๘ "ความฉลาดทางวิชาการและความฉลาดทางสังคม (พฤติกรรม) ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ IQ (ในที่นี้หมายถึง Intelligent Quotient) ของเด็กแต่สัมพันธ์กับความคาดหวังของครูต่อเด็ก"   และข้อความในหน้า๑๔๑ "ความรู้เป็นเรื่องของอดีตแต่จินตนาการเป็นเรื่องอนาคตที่ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด"

จะเข้าใจวิธีคิดออกแบบการดำเนินการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดีต้องเข้าไปอ่านบันทึกของผอ.วิเชียรในLamplaimatpattanaschool.blogspot.comดู YouTubeและค้น Googleโดยค้นด้วยคำว่าlpmp,โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาสารคดีแผ่นดินไท๓ตอนใน YouTube น่าเข้าไปดูเพื่อทำความเข้าใจมากดูได้ที่นี่ตอนที่๑๒๓จะเข้าใจได้ดีจริงๆต้องไปฝึกงานคือต้องเรียนรู้จากการลงมือทำแล้วตีความจากสัมผัสของตนเองและอ่านหนังสือและดูวิดีโอประกอบจึงจะเข้าใจได้ลึกจริงๆเพราะโรงเรียนนี้ได้สร้างวิธีการ 21st Century Learning แบบของตนเอง มายาวนาน ๘ ปี   ผ่านการเรียนรู้และปรับตัวมากมาย   และยังเรียนรู้และปรับตัวต่อเนื่อง

ผมตีความว่า นี่คือองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization)    และดำเนินการแบบ เคออร์ดิค อย่างแท้จริง    โดยที่ครูทุกคนเป็น “ครูเพื่อศิษย์

 

 

วิจารณ์ พานิช 
๕ ต.ค. ๕๔

คัดลอกจาก        http://www.gotoknow.org/posts/465409

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2013 เวลา 08:37 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๐๓ก. เรียนรู้ 21st Century Learning ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

พิมพ์ PDF

ผมติดตาม ดร. เจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่ ผู้ประสานงานโครงการ LLEN ของ สกว. ไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เมื่อเย็นวันที่ ๒๕ - เที่ยงวันที่๒๖ ก.ย. ๕๔   ไปแล้วจึงรู้ว่าโรงเรียนนี้ได้คิดค้นวิธีการเรียนรู้แห่งศตวรรษใหม่ (21st Century Learning) ขึ้นในบริบทไทย โดยไม่ได้ลอกเลียนของใครมา    น่าทึ่งจริงๆ   เราไปเห็นทั้ง PBL และ PLC ในบริบทไทยและบริบทของโรงเรียนที่ไม่เลือกนักเรียนเก่งใช้วิธีคัดเลือกโดยจับฉลากเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามความเป็นจริงในสังคมเราไปเห็นโรงเรียนที่ไม่บ้าอวดความ “เก่งวิชา” ของนักเรียนทั้งๆที่จริงๆแล้วเขาเก่ง

หัวใจสำคัญคือ เน้น “สอนคน” ไม่ใช่ “สอนวิชา”และในการ “สอนคน” นั้นเน้น “สอนแบบไม่สอน”    คือเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเองจึงจัดบรรยากาศสถานที่และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันเองให้กระตุ้นการเรียนรู้โดยที่การเรียนรู้นั้นเลยจากเรียนรู้วิชาการเพื่อสติปัญญาไปสู่การเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจด้านสุนทรียภาพและด้านการคิดและจินตนาการ

นักเรียนทุกชั้นจะใช้เวลา ๒๐ นาทีของทุกเช้าระหว่างเวลา ๘.๒๐ - ๘.๔๐ น. เรียน “จิตศึกษา”ถือเป็นการเตรียมพร้อมจิตใจหรือสมองต่อการเรียนในวันนั้นเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มEQ (Emotional Quotient) & SQ (Spiritual Quotient) และผมตีความว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนา EF (Executive Functions) ของสมอง และผมตีความว่า การกล่าวคำขอบคุณพ่อแม่ ชาวนา ฯลฯ ก่อนรับประทานอาหารเที่ยงที่นักเรียนกล่าวดังๆ พร้อมกัน    และพิธีชักธงชาติ และสวดมนตร์ที่หน้าเสาธง ก็เป็นการฝึกฝนด้าน “จิตศึกษา” ด้วย

วิธีเรียน “จิตศึกษา”ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีความหลากหลายที่ผมไปเห็นมีการเดินจงกรมการนั่งสมาธิการใช้จินตนาการต่อ Lego    ชั้น ป. ๑ เอาคลิปหนีบกระดาษ ๔ อันมาต่อเลข 7    ในเอกสารบอกว่าอาจใช้เวลาทำประโยชน์แก่สังคม    ตามในบทความเรื่อง การเรียนรู้ในวัยเยาว์  : 3. พัฒนาการสมองด้าน Executive Functionที่ลงใน บล็อก council วันนี้ บอกว่าวิธีเพิ่ม EF ของสมองมี ๖ วิธี

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากตนเอง จากการคิด ไม่ใช่จากการเชื่อ   โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงไม่มีการสอบอย่างที่ใช้กันในกระทรวงศึกษา    คือไม่จัด Summative Evaluation เลย   แต่ผมกลับเห็นว่า นักเรียนถูก “สอบ” แบบไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาแต่เป็นการสอบแบบ Formative Evaluation   คือสอบเพื่อทำความเข้าใจความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนแต่ละคน   ผมคิดว่า นี่คือจุดแตกต่างที่สำคัญและกล้าหาญยิ่ง

ครูของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จึงมีทักษะด้านการทดสอบนักเรียนที่ล้ำลึกมาก    และในการตีความของผม แทนที่ครูจะเน้น “สอน” แบบบอกข้อความรู้แก่เด็กครูกลับเน้นชักชวนให้เด็กคิดและแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการต่างๆนานาและคอยสังเกตเด็กว่ามีการเรียนรู้ก้าวหน้าไปอย่างไรสำหรับนำมาใช้ปรับบทบาทของครูเองและสำหรับนำมาใช้จัดกระบวนการเพื่อช่วยเด็กที่เรียนบางด้านได้ช้าข้อความในย่อหน้านี้ผมตีความเอาเองจากการไปเห็นเพียงครึ่งวันจึงต้องย้ำว่าไม่ทราบว่าตีความถูกต้องหรือไม่

แทนที่ครูจะเน้น “บอก” เด็กครูกลับเน้น “ถาม”ตั้งคำถามง่ายๆเพื่อชวนเด็กคิดเองแล้วตามมาด้วยคำถามที่ยากขึ้นหรือค่อยๆนำไปสู่กระบวนการคิดหาคำตอบหรือข้อความรู้ด้วยตนเอง

คำตอบของนักเรียนเท่ากับเป็น “ผลการสอบ” ทางอ้อมที่ครูใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคนนอกจากนั้นนักเรียนแต่ละคนต้องเขียนรายงานว่าตนเรียนรู้อะไรโดยเน้นเขียนเป็นผังความคิด (mind mapping)   เขียนด้วยลายมือของตนเองต่อเติมศิลปะเข้าไปตามจินตนาการของตนดังนั้น ที่หน้าห้องและในห้องเรียนจึงมีรายงานของนักเรียนสำหรับแต่ละบทเรียนติดอยู่อย่างเป็นระเบียบ เต็มไปหมดนักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าในเรื่องนั้นๆเพื่อนคนอื่นๆเข้าใจว่าอย่างไรและครูก็ได้ตรวจสอบว่านักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจหัวข้อนั้นและมีความก้าวหน้าของการเรียนรู้อย่างไรนี่คืออีกกิจกรรมหนึ่งของ formative evaluation หรือการ “สอบแบบไม่สอบ” หรือ “สอบเพื่อพัฒนา”

จึงเท่ากับนักเรียนเรียนรู้แบบทำโครงงาน(project) ที่เป็นการทำงานเป็นทีม (team learning) แล้วเขียนรายงานเป็นรายคน    เพื่อสรุปว่าตนเรียนรู้อะไร   ตอน เรียน/ทำงาน เป็นทีม ก็ได้ฝึกทักษะด้านความร่วมมือ (collaboration skills) หลากหลายด้าน   รวมทั้งทักษะด้านความแตกต่างหลากหลาย  และทักษะอื่นๆ ใน 21st Century Skills    แล้วได้สะท้อนการเรียนรู้ของตนออกมาเป็นรายงาน โดยการเขียนด้วยลายมือ ตกแต่งด้วยศิลปะตามจินตนาการของตน   ย้ำว่ารายงานต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์   เพื่อป้องกันการคัดลอกกัน   นักเรียนจะได้รับการอบรมให้ซื่อสัตย์ ทำงานด้วยตนเอง ไม่คัดลอกกัน   และเนื่องจากไม่มีคะแนน ไม่มีดาว เด็กจึงไม่ลอกกัน

การ“สอบแบบไม่สอบ” ครั้งใหญ่มีขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของ quarter โดยนักเรียนจะจัด การรายงานผลการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของตนต่อทั้งโรงเรียน   และผู้ปกครองก็ได้รับเชิญ มาฟังด้วยการรายงานนี้อาจจัดเป็นละครหรือเป็นหนังสั้นจึงเท่ากับทั้งโรงเรียน (และผู้ปกครอง) ได้มีส่วนประเมินการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของนักเรียนแต่ละชั้นด้วยวิธีการ  “สอบแบบไม่สอบ”

การเรียนแบบนี้ นักเรียนจะค่อยๆ บ่มเพาะตัวตนของตน เกิดความมั่นใจตนเองไปพร้อมๆ กันกับความเคารพผู้อื่น   และเห็นข้อจำกัดของตนเอง   ครูจะแสดงตัวอย่างการเคารพตัวตนของนักเรียน โดยไม่มีการดุด่าว่ากล่าว    ไม่มีการขึ้นเสียง   ไม่มีการลงโทษ   เมื่อเด็กทำผิดวินัยครูก็จะถามว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น   คำถามที่ถามต่อๆ กันจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ และหาทางแก้ไขตนเอง   ดังนั้น การทำผิดวินัยจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

การเรียนรู้ที่นี่มีผู้ปกครองมาร่วมด้วย    มีโครงการผู้ปกครองอาสา    ในวันที่ผมไปชม ในชั้นอนุบาล ๑ มีคุณตา และคุณแม่ของเด็กเข้าไปนั่งสังเกตการณ์ในห้องด้วย    รวมทั้งจะมีคนหรือองค์กรในชุมชนเข้ามาร่วมบางโครงการ    ตรงกับหลักการที่ระบุใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ระบุให้ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้จากหลากหลายแหล่งในสังคม

นักเรียนได้รับการฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา (ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑) ผ่านกติกาต่างๆ    คนที่มาโรงเรียนสาย ไม่ทันเวลาเคารพธงชาติและสวดมนตร์ จะต้องมาทำกระบวนการดังกล่าวเอง ตามกติกาว่าทุกคนต้องเคารพธงชาติและสวดมนตร์ก่อนเข้าห้องเรียนทุกวัน

ผมสรุปว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการเรียนรู้แบบเน้น “เรียนความรู้มือหนึ่ง” ไม่ใช่เน้นเรียนแบบคัดลอกหรือแบบจดจำ “ความรู้มือสอง” จากครูหรือตำรา

จะเขียนต่ออีก ๑ ตอน  หลังจากค่อยๆ เคี้ยวเอื้องความประทับใจ

 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ ก.ย.๕๔

คัดลอกจาก            http://www.gotoknow.org/posts/463231

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๘๙๐. พลังรักพลังอำนาจพลังการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

พลังรัก พลังอำนาจเป็นหนังสือแปล  จากหนังสือPower and Love : Theory and Practice of Social Change โดย Adam Kahane  แปลโดย ดร. สันติ  กนกธนาพร และดร. สุมิท  แช่มประสิทธิ์  เสนอสมดุลแห่งพลังที่สร้างปาฏิหาริย์มาแล้วทั่วโลก

นี่คือเรื่องการจัดการความขัดแย้ง  โดยไม่ตกลงกันเรื่องความขัดแย้ง  แต่จินตนาการอนาคตร่วมกัน  มีกระบวนการฝันร่วมกันจนทุกฝ่ายเกิดการเปลี่ยนแปลงจากก้นบึ้งของหัวใจ (transformation)

ผมตีความว่า นี่คือหนังสือว่าด้วยการขับเคลื่อนพลังด้านบวกของความเป็นมนุษย์  ให้ค่อยๆรวมตัวกันเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ทรงคุณค่าร่วมกัน  ก้าวข้ามความข้ดแย้งในอดีต และปัจจุบันไปสู่อนาคตที่วาดฝันร่วมกัน

เป็นหนังสือที่อธิบายทั้งด้านบวก และด้านลบของความรัก และของพลังอำนาจ  โยงสู่การทำให้ด้านบวกของสองสิ่งนี้สร้างพลังยกระดับซึ่งกันและกัน  ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดได้

 

 


 

 

"อำนาจที่ปราศจากความรักไม่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จ

 

 

ความรักที่ปราศจากอำนาจก็ไม่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน"

 

 


ขั้วตรงข้ามของความรุนแรงคือ ความสร้างสรรค์  ไม่ใช่สันติภาพ  หากจะแก้ความรุนแรงต้องแก้ด้วยความสร้างสรรค์  ไม่ใช่ด้วยการเรียกร้องหาสันติภาพ

เป็นหนังสือว่าด้วย scenario thinking - การฝึกฝนให้เกิดความคิด และการกระทำที่สร้างสรรค์ในบริบทของการเปลี่ยนแปลง ความซับซ้อนและความไม่แน่นอน  ด้วยภาพที่เลือนรางในอนาคต

กุญแจสำหรับสร้างความจริงใหม่ให้แก่สังคม มี ๒ ดอก  และต้องใช้ทั้ง ๒ ดอกประกอบกัน  คือ (๑) การเปิดใจของเราเชื่อมโยงกับใจ (ที่เปิด) ของผู้อื่น  (๒) การเติบโตเปลี่ยนแปลงด้วยอำนาจและความรัก

"อำนาจ" ในที่นี้หมายถึงแรงขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้านลบคืออำนาจเพื่อบงการ  ด้านบวกคืออำนาจเพื่อบรรลุ

สองด้านของความรักคือ ด้านบวกความรักสู่การสร้างสรรค์  ด้านลบความรักสู่การทำลายล้าง

ความรักจะสร้างสรรค์ได้ต้องได้พลังจากอำนาจด้านบวก

หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยเรื่องเล่า  ที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้เขียน(Adam Kahane) เรียนรู้จากประสบการณ์จริงอยู่ตลอดเวลา  และอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์นั้นเอง ตกผลึกออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้  หนังสือแ่ห่งพลังความรัก...และอำนาจ  โดยนิยามอำนาจแตกต่างไปจากความเคยชินของคนไทย...หมายถึงแรงขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ผมตีความว่า นี่คือพลังหยิน-หยางในคติตะวันออก  หยินคือความรัก หยางคืออำนาจ  หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องราวของการประยุกต์ใช้พลังหยินหยางให้เสริมกันในสถานการณ์จริง

หนังสือพลังรักพลังอำนาจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นทันใดด้วยตัวเอง  แต่ก่อเกิดสั่งสมมาจากสำนักคิด-สำนักปฏิบัติ-สำนักเรียนรู้  ที่เน้นความรู้จากการปฏิบัติ  ที่มีPeter SengeOtto ScharmerJoseph Jawarskiเป็นต้นเป็นสมาชิกกลุ่ม

รวมทั้งต่อยอดจากหนังสือวิธีสร้างปาฏิหาริย์เมื่อสถานการณ์ถึงทางตัน ที่แปลจากSolving Tough Problems : An Open Way of Talking, Listening, and Creating Realities

ผมชื่นชมที่หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากการAAR  หรือreflection ประสบการณ์จริงของผู้เขียน  คือ Adam Kahane  และผมเชื่อว่าพลังแบบนี้แหละที่จะช่วยปลดปล่อยประเทศไทยออกจากวิกฤตความขัดแย้ง

รวมทั้งชื่นชมการทำงานวิชาการ (วิจัยปฏิบัติการ) ควบคู่ไปกับงานบริการที่ปรึกษาเพื่อรับใช้สังคมหรือรับใช้โลก   ที่น่าจะเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมหรือแนวโน้มของการทำงานวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสังคม


วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532719

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๖. ประยุกต์หลัก ๗ ประการต่อการเรียนรู้ของตนเอง (จบ)

พิมพ์ PDF

 

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๖ เป็นตอนสรุป และทบทวนว่า หลัก ๗ ประการสู่การเป็น “ครูเพื่อศิษย์” ชั้นยอด เป็นอย่างไร  เอามาใช้กับตัวเราเอง ได้อย่างไร   เป็นตอนสุดท้าย ของบันทึกชุด “การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร”

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนุกและประเทืองปัญญา  และนำมาถอดความเขียนแบบตีความและเติมความ  ไม่ได้เขียนตามข้อความในหนังสือเสมอไป  อ่านแล้วบอกตัวเองว่า ความรู้ด้านการศึกษาของโลกก้าวไปไกลมาก  วงการศึกษาไทยไม่ได้ติดตาม และยังทำหลายๆ อย่างแบบผิดๆ กันอยู่

ดังเมื่อผมนำบางส่วนไปพูดที่ มจธ.  อาจารย์ด้านศึกษาศาสตร์ท่านหนึ่งลุกขึ้นบอกว่า  มีส่วนที่วงการศึกษาศาสตร์ไทยยังไม่รู้

ขอเรียนว่า การอ่านบันทึกตีความและเติมความ ๑๖ ตอนในชุด การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร ไม่ทดแทนการอ่านหนังสือด้วยตนเอง   เพราะสาระในหนังสือมีมากกว่านับเป็นสิบเท่า   ผมจึงอยากให้มีผู้แปลออกเผยแพร่ต่อสังคมไทย   จึงได้แนะนำต่อ ดร. ปกป้อง จันวิทย์ แห่งสำนักพิมพ์ open world  และทราบว่าคุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผู้แปลหนังสือขายดีทักษะแห่งอนาคตใหม่กำลังแปลอยู่  และผมสัญญาว่าจะเขียนคำนิยมให้

ผมไม่เชื่อว่า ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แตกฉานจริง  เพราะผมไม่ได้ทดลองนำไปปฏิบัติ  จึงคิดว่า บันทึก ๑๖ ตอนของบันทึกชุด การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร นี้  น่าจะมีข้อบกพร่องอยู่ไม่น้อย

สาระในหนังสือที่ผมติดใจที่สุดคือเรื่อง เรียนให้รู้จริง (Mastery Learning)  ซึ่งจะต้องเป็นเป้าหมายสำหรับผู้เรียนทุกคน  แต่เวลานี้ผมเดาว่า นักเรียนไทยไม่ถึงร้อยละ ๑๐ บรรลุการเรียนรู้ขั้นนี้

คำแนะนำในหนังสือ บอกเราว่า นักเรียนทุกคนบรรลุการ “รู้จริง” (mastery) ได้  หากเราปฏิรูปการเรียนรู้ของไทยเสียใหม่   ให้เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียน ปฏิบัติ (practice)  คือต้องเป็น การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Practice-Based Learning หรือ Action Learning)  ตามด้วย การไตร่ตรองสะท้อนกลับ (Reflection) หรือ AAR ด้วยตนเอง

โดยครูทำหน้าที่ ครูฝึก (coach)  คอย ให้คำแนะนำสะท้อนกลับ (Feedback) เป็นกำลังใจ และแนะนำการปรับปรุงเพื่อยกระดับทักษะบางส่วนที่ยังด้อย  พร้อมๆ กันนั้น ก็ฝึกให้ นศ. รู้จักให้คำแนะนำสะท้อนกลับแก่ตนเอง (Self-Feedback)  เพื่อปูทางไปสู่ความสามารถเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของตนเอง (Self-Directed Learner) ได้

ผมบอกตัวเองว่า ตัวผมเองก็ต้องหมั่นฝึกฝนตามคำแนะนำในหนังสือเล่มนี้  เพื่อยกระดับการเรียนแบบรู้จริงของผมให้ยิ่งขึ้นไปอีก   ที่ทำการบ้านเขียนบันทึกลง บล็อก อยู่นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกหัด

เพราะนักเรียนยังเป็น ผู้ฝึกใหม่ การฝึกที่ดีจึงต้องทำเป็นขั้นตอน  เริ่มจากฝึกทีละทักษะย่อย  แล้วจึงฝึกทำหลายทักษะพร้อมกัน  แล้วจึงฝึกปฏิบัติจริง  ความสำคัญของ “ครูฝึก” อยู่ตรงนี้

ผมได้ตระหนักว่า หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อครูฝึก  เพื่อช่วยให้ครูเปลี่ยนบทบาทจาก ครูสอน สู่ ครูฝึก ได้อย่างมีหลักวิชา และมีประเด็นให้ตั้งโจทย์ เก็บข้อมูล เอามาทำวิจัย สร้างผลงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน (Scholarship of Instruction)  ได้ผลงานวิชาการแท้ สำหรับความก้าวหน้าของครู ได้อย่างสมภาคภูมิ

สาระที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เป้าหมายของการเรียนรู้ ไม่ได้มีเฉพาะเป้าหมายเชิงปัญญา (Intellectual Development) เท่านั้น  ยังมีเป้าหมายที่พัฒนาการอีก ๔ อย่าง คือ กาย (Physical Development),  อารมณ์ (Emotional Development), สังคม (Social Development),  และจิตวิญญาณ (Spiritual Develoment)  โดยส่วนพัฒนาการด้านจิตวิญญาณนี้ไม่มีระบุในหนังสือ  ผมเติมเข้าไปเอง เพื่อให้ครบตามคติตะวันออกของเรา

ครูเพื่อศิษย์พึงตระหนักในเป้าหมายพัฒนาการทั้ง ๕ ด้านนี้อยู่ตลอดเวลา  และหาทางทำให้การฝึกปฏิบัติในกิจกรรมทุกกิจกรรม นำไปสู่พัฒนาการหลายด้านในเวลาเดียวกัน

สิ่งที่ผิด คือ เมื่อต้องการพัฒนาเป้าหมายใด ก็จัดวิชาสำหรับเรียน  นั่นคือวิธีคิดแบบแยกส่วน ซึ่งผิด

ผมได้ตระหนักว่า การเป็นผู้มีทักษะในการกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ เป็นสุดยอดของทักษะว่าด้วยการเรียนรู้   และทักษะนี้เชื่อมโยงกับทักษะการมีวินัยในตนเอง (Sefl-Discipline)  ในคาถาองค์ ๔ ที่ผมถือเป็นหัวใจของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  คือ คาถา ๓ร ๑ว ได้แก่ ทักษะสร้างแรงบันดาลใจแก่ตนเอง (ร แรงบันดาลใจ)  ทักษะในการเรียนรู้ ( ร เรียนรู้)  ทักษะความร่วมมือ ( ร ร่วมมือ)  และทักษะความมีวินัยในตนเอง บังคับตัวเองได้ (ว วินัย)

ผมได้เรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติ ๗ ประเด็นหลัก เพื่อการเรียนแบบรู้จริง  แล้วบอกตัวเองว่า ผมจะไม่มีวันรู้จริงในประเด็นทั้ง ๗ ในหนังสือ  เพราะผมไม่ได้ลงมือปฏิบัติในฐานะที่เป็นครูฝึก  หนังสือเล่มนี้เขียนให้ครูฝึกอ่านแล้วเอาไปปฏิบัติ   เพื่อจะได้เข้าใจลึกขึ้น และปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

ผมจึงนำบันทีกทั้ง ๑๖ ตอนนี้ มาฝาก ครูเพื่อศิษย์ ทั้งหลาย  เพื่อให้ท่านมีอาวุธสำหรับการทำหน้าที่ ครูฝึกเพื่อศิษย์ได้ผลดียิ่งขึ้น  และสนุกสนานยิ่งขึ้น  ครูเพื่อศิษย์นอกจากมีใจให้แก่ศิษย์แล้ว  ยังต้องมีทักษะของครูฝึก ที่สอดคล้องเหมาะสมต่อสภาพของศิษย์ อีกด้วย

 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ม.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/532720

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2013 เวลา 11:18 น.
 


หน้า 493 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8631816

facebook

Twitter


บทความเก่า