Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Panel Discussion หัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) มี 3 เรื่อง

1.  นวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน

ทำอะไรใหม่

มีความคิดสร้างสรรค์

มีความรู้

2.  เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เป็น project

3.  โครงการประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

·  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนเป็นเรื่องใหญ่

·  สิ่งสำคัญสุดคือความสมานฉันท์ เป็นญาติผูกพันกันในฐานะคนไทย

·  คนไทยพร้อมรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่แล้วเพราะเป็นผู้นำแสงสว่างและความเจริญมาสู่เขา แต่ทำไมคนรับไม่ได้

·  ชนบทวันนี้มีไฟฟ้า และความสะดวก นี่คือเครื่องมือในการพัฒนาและสร้างความสับสน ต้องบริหารข่าวสาร ทำเรื่องราวดีๆให้เป็นเรื่องวิเศษ เป็นหน้าที่ชาวกฟผ.ทุกคน

·  บทบาทสำคัญชาวกฟผ.

1.ทำงานในหน้าที่ให้ดี

2.ดูแลสังคมให้ดี ปัญหาสังคมคือ สังคมถูกทอดทิ้ง คนไทยทุกคนต้องดูแลสังคม ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องวิเศษ

3.ต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ให้ชุมชนบอกเรา ว่ามีปัญหาอะไร มีข้อเสนอแนะอะไร วิธีนี้จะทำให้ได้รับความไว้วางใจมากขึ้น ไม่ใช่เราให้อย่างเดียว เราได้ด้วย อย่างน้อยก็ได้ความสุข

·  เราไปสามารถไปเยี่ยมชุมชนได้รูปแบบต่างๆเช่น

1.ในรูปโครงการ

2.การอบรม ดูงาน

3.ในฐานะส่วนตัว

·  ก่อนไปมหาวิชชาลัยอีสาน ควรจะอ่านข้อมูลก่อน

·  ชาวกฟผ.ลงไปชุมชนไปสอนทำก๋วยเตี๋ยว ถือว่าทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องวิเศษ ทำเรื่องง่ายก่อนแล้วค่อยทำเรื่องยาก

·  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะครบรอบ 100 ปี จะมอบบัณฑิต ตั้งสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติทำงานให้ชุมชน ทำโครงการ 3 วัน 3 คืน เวลาทำงานต้องได้ใจคนที่เกี่ยวข้อง

·  ชาวกฟผ.ไปในนามส่วนตัวลงชุมชน ทำอาหารร่วมกัน นำความคุ้นเคยไปติดต่อ เมื่อกลับมาแล้วก็ยังติดต่อสื่อสารกันถ่ายทอดให้ลูกหลาน

·  จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ผมมีเครือข่ายเป็นอาจารย์จากหลายสถาบัน

·  จุดสำคัญของสังคมไทยคือความเอื้ออาทร พร้อมที่จะเข้าใจกัน

·  ปัญหาใหญ่ของเราคือเรื่องสุขภาพ ถ้าบริโภคผักปลอดสารพิษก็ช่วยได้ กฟผ.มีเทคโนโลยีไปช่วยสร้างอาหารปลอดภัยในชุมชนได้ เพราะพอมีไฟฟ้า เราก็มีปั๊มน้ำ

·  อีกปัญหาคือการทำลายพื้นที่ป่า นำป่าดงดิบมาปลูกยางพารา

·  ประเทศไทยก็ทำอะไรไม่ทันเวลา ประชุมไซเตสออกกฎคุ้มครองไม้พยุงเมื่อหมดประเทศแล้ว

·  นักวิทยาศาสตร์นาซ่ามาแนะนำให้เตรียมอาหารใต้ดินไว้ จึงปลูกเผือกยักษ์ไว้

·  ปัญหาชีวิตแก้ได้ถ้ามีการจัดการความรู้และใช้ชุดเทคโนโลยี

·  เราควรไปช่วยให้กำลังใจ ช่วยเหลือเครื่องมือแก่ชุมชน

·  ควรนำจุดแข็งคือประโยชน์ไฟฟ้า มีการประเมินคุณประโยชน์ไปเสนอต่อชุมชน

·  ปัญหาคือชาวการไฟฟ้าทำงานแล้วไม่ค่อยเก็บผลงาน

·  ท่าทีลีลาการผูกมิตรสร้างเครือข่ายกับชุมชนไม่ยาก

·  เรียนในห้องได้ความรู้ เรียนนอกห้องได้ความจริง นำความรู้มาผสมผสานกับความจริง แล้วจะรู้จริง

·  ต้องสนใจชนบทแล้วชนบทก็จะไม่ทิ้งเรา ควรมาร่วมอุปการะสังคม

·  ยุคนี้คนไทยต้องมาทำงานเชิงลึก โดยลุกออกจากที่ทำงานมาช่วยหาทางแก้ปัญหา

·  ต้องคิดใหม่ หาช่องทางใหม่ๆ พัฒนาสังคมประเทศนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  ผมได้ไปเยี่ยมท่านครูบา

·  ความคิดท่านครูบาต้องนำไปคิดต่อ

·  ถ้ามี re-union ควรไปพบกันที่ศูนย์การเรียนรู้ของท่านที่บุรีรัมย์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

·  ผมมาในองค์การที่มี 2 บุคลิก ด้านหนึ่งเป็นพระเอก อีกด้านเป็นผู้ร้าย

·  สังคมจะดีขึ้นถ้าเป็นสังคมการเรียนรู้ องค์กรการเรียนรู้มีน้อยมาก ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกิด

·  ขาดความรู้มือหนึ่งที่เกิดจากกการสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง

·  ถ้าไม่ลงทุนการเรียนรู้และมีการวิจัยมี แค่ 0.2% ของ GDP เป็นสังคมอำนาจกับเงิน เราก็จะอยู่ในกรอบตลอด

·  การเรียนรู้ที่ดีคือ หาวิธีทุบกระถางของไม้ในกระถาง แล้วลงดิน จึงจะโตเป็นไม้ใหญ่ ไม่ต้องรอใครรดน้ำก็โตได้

·  ลุงประยงค์ รณรงค์ได้รับรางวัลแมกไซไซเพราะเป็นนำผู้ชุมชนเรียนรู้ เป็นชุมชนเข้มแข็ง ลุงประยงค์ได้รับเชิญไปพูดที่ ADB

·  CNN ยกย่องว่า ถ้าชุมชนอื่นทำได้แบบชุมชนไม้เรียงนี้ ก็จะอยู่รอดได้

·  ลุงประยงค์ทำวิจัยนำประสบการณ์มาวิเคราะห์ได้แผนแม่บทยางพาราไทย ถือเป็นนวัตกรรมจากชุมชนเรียนรู้

·  ท่านเป็นตัวอย่างว่า เงินแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้

·  ที่แก้ปัญหาไม่ได้เพราะขาดความรู้และปัญญา

·  ยุทธศาสตร์การพัฒนาไม้เรียง

·  เริ่มต้นจากการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการเรียนรู้ก็จะทำตามคำสั่งและงบประมาณ ถ้ามีการเรียนรู้และปัญญาก็พึ่งตนเองบริหารจัดการเป็น

·  ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองด้านอาหารและพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด 2 เรื่อง ดินเป็นปัจจัยการผลิตอาหารที่สำคัญ

·  ผมส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสบู่ดำ เป็นน้ำมันดีที่สุดสำหรับรถและเครื่องบิน เป็นเยื่อกระดาษยาวที่ดีที่สุดกก.ละ 500บาท ชาวบ้านไม่ทราบเพราะไม่มีใครบอก ชาวบ้านควรจะผลิตและใช้เอง ขายเยื่อกระดาษให้บ่อสร้าง

·  หนี้สินคือสิ่งที่ชาวบ้านปรับตัวไม่ได้ เพราะถูกกระตุ้นจากทุนนิยมจึงซื้อหมด

·  เราต้องการระบบชุมชนที่มีพลัง ชาวบ้านพึ่งตนเองได้

·  ระบบที่ดีคือระบบที่ทำให้คนทำถูกได้ง่าย ทำผิดได้ยาก

·  ต้องรู้จักคิดนอกกรอบบ้าง

·  อยากให้มีสังคมการเรียนรู้จึงทำงานกับชาวบ้าน

·  ผมให้ชาวบ้านทำแผนชีวิตจัดการชีวิตตนเอง  สมัยโบราณพ่อแม่บอกหมด ยุคสมัยเปลี่ยน ก็มีคนอื่นๆมาบอกทำให้สับสน การวางแผนชีวิตสำคัญมาก

·  ต่อมาทำแผนการเงิน ส่งเสริมให้ชาวบ้านออม วางแผนใช้หนี้

·  วางแผนอาชีพ ให้เลิกทำนา 300 กก ต่อไร่ ต้องเป็นผู้ประกอบการ ทำเกษตรผสมผสาน ทำไร่ได้ 1 ตันครึ่ง เรามีจุดแข็งที่ไม่มีใครแข่งได้ เช่นมีข้าวสังข์หยดมีวิตามินอีมาก ทำให้เป็นหนุ่มสาวนาน ไม่แก่ง่าย ตายยาก โลกกลับมาสนใจสุขภาพ ต้องรู้จักกระแสโลก จะได้ตอบสนองได้เหมาะสม

·  วางแผนสุขภาพ กินเป็น อยู่เป็น ไม่ต้องไปหาหมอ ยาดีที่สุดคืออาหาร โรงพยาบาลดีที่สุดคือครัว หมอที่ดีที่สุดคือตัวเรา เงินเดือนสูงขึ้นทำให้บริโภคไม่ระวัง ทำให้ไขมันสูงขึ้น

·  ถ้าคนคิดจะเรียนรู้ ก็จะไม่มีปัญหาเงินและที่ดิน ถ้าไม่มีความรู้ แม้มีเงินและที่ดินก็จะหมด

·  ต้องนำเนื้อหาชุมชนมาเรียนและมาร่วมแก้ปัญหากับชุมชน

·  ฝรั่งชื่อมาร์ตินบอกว่า คนไทยมีปัญหาวิธีคิด ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ น้ำ ดิน แดด แต่คนเข้าไปอยู่ในเมืองเพื่อรับค่าแรงวันละ 300 บาท พ่อเขารวยและมีความรู้ แต่ไม่มีความสุข แต่เขาอยากมีความสุข

·  จุดแข็งของไทย ไม่จำเป็นต้องวิ่งตามซัมซุง ซีพี แต่ผมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาวบ้านกำหนดว่าปลูกอะไร ขายอะไร

·  ยิ่งคุณเรียนในตำรามาก ก็จะติดกรอบ ต้องคิดนอกกรอบให้ได้

·  ต้องทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

·  ผมให้ชาวบ้านปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น

·  เรายังไม่ได้นำสิ่งที่ค้นพบจากวิจัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

·  Social Innovation กฟภ.

·  ปี 2503 ก่อตั้งกฟภ.

·  ปี 2539 SCADA

·  ปี 2547 SAP

·  ปี 2550 LO

·  ปี 2553 แผนแม่บท

·  วิวัฒนาการ

·  ยุคที่ 1 2503-2513 กฟภ.ต้องผลิตไฟฟ้าเองจ่ายไฟในเมืองใหญ่

·  ยุคที่ 2 ขยายไฟฟ้าชนบท

·  ยุคที่ 3 ขยายไปธุรกิจอุตสาหกรรม

·  ยุคที่ 4 เทคโนโลยี

·  ปัจจุบัน พัฒนาพร้อมแข่งขัน

·  นวัตกรรมไฟฟ้าชนบท

·  ตั้งแต่ปี 2510 เสนอโครงการขยายไฟฟ้า 4000 หมู่บ้าน คิดเป็นประมาณ 10% ดร.จุลพงศ์ ผู้ว่าการคนที่ 5 ไปนำเงินยูเสดและยูซ่อม ปี 2515 ทำ pre-feasibility study

·  ต่อมารัฐบาลออกแผน Accelerated Rural Electrification Program ประชาชนไม่ต้องออกเงินสมทบก่อสร้าง ได้ 6 หมื่นหมู่บ้าน

·  โครงการที่ธนาคารโลกให้เงินกู้ก็ไปทำที่อีสาน เป็นจุดเริ่มต้น แล้วก็มีการอนุมัติโครงการต่างๆ 50-60 โครงการ

·  ปัจจุบันทำได้ 74000 หมู่บ้าน

·  ทำจริงใช้เวลา 35 ปี ใช้เงินไปทั้งหมดเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

·  ลำตะคองใช้เงิน 3 หมื่นกว่าล้านบาท

·  กฟภ.ใช้เงินอย่างประหยัดมาก

·  กฟภ.ลงทุน infrastructure น้อย

·  กฟภ.สร้างองค์กรการเรียนรู้ได้แนวคิด Peter Senge  จะทำห้องค์กรเป็นอมตะ เจริญเติบโตมีนวัตกรรม

·  แล้วนำมาทำเป็นยุทธศาสตร์

1. LO Awareness

2. Knowledge Auditing

3. Knowledge Critique

·  โครงสร้างกฟภ.

·  ระดับสูง 130 คน

·  First line manager 19000 มีการสร้างทีมพลวัตรกฟภ.ที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดบรรยายวิชาการ ศึกษาดูงาน มีการทำ Team Learning และการทำวิจัย มีการแบ่งกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มละ 80 คน ในแต่ละกลุ่มมีประธาน รองประธาน และกรรมการ

·  ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกฟภ. ต้องสร้างวิสัยทัศน์ รอบรู้ เรียนรู้ มองไกลแล้วไปให้ถึง

·  สิ่งที่เป็นนวัตกรรมในสังคมเกิดจากวิสัยทัศน์ มองไกลแล้วไปให้ถึง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  กฟภ.มีปัญหาคือการขยายไฟฟ้าไปชนบท ก็ทำได้ดี

·  กัมพูชา ลาว พม่า การไฟฟ้าในชนบทมีไม่ถึง 50%

·  Social Innovation กฟภ.คือการพัฒนาบุคลากร

·  ผู้ว่าการกฟภ.ไม่ต่อเนื่อง

คุณศานิต นิยมาคม

·  เราส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สร้างความสุขคุณภาพชีวิตให้ประชาชนแต่บนเส้นทางที่ทำให้บรรลุเป้าหมายอาจกระทบชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน

·  จากการไปบางปะกง ประเด็นทางสังคมสำคัญมาก กฟผ.จะทำอย่างไรให้สังคมยอมรับ

·  ตอนแรก กฟผ.สร้างความเจริญ ตอนหลังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อมีการดำเนินการ

·  ตอนนี้มีกระแสสิ่งแวดล้อม เราต้องมีความรับผิดชอบ ต้องไปดูแลสังคม

·  เราต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชน สร้างโรงไฟฟ้าต้องฟังความเห็นของประชาชน

·  เราช่วยเหลือเกื้อกูลหน่วยงาน การให้ไม่ใช่คำตอบ ต้องสร้างสังคมที่มีความยั่งยืน โครงการต่างๆต้องเน้นเรื่องนี้

·  หลายหน่วยงาน CSV สร้าง Shared Value เหนือกว่า CSR

·  สิ่งสำคัญ

·  ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนเสมือนคนในครอบครัว ใช้วัฒนธรรมเข้าหา อ่อนน้อมถ่อมตน

·  เมื่อเร็วๆนี้เราจัด Focus Group ว่า ทำมาก คนกำกับดูแลเห็นว่าเราทำดี แต่คนนอกเขามองเห็นความตั้งใจ กฟผ.อยากสร้างโรงไฟฟ้า บางส่วนบอกว่า ทำไมไม่บริหารการจัดการไฟฟ้าให้ดีก่อน

·  ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจบริบทชุมชน

·  โครงการ CSR มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ มีโครงการที่ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

·  ต้อง Balance ภายในองค์กรและวิ่งไปหาโอกาสใหม่ ที่จะนะเป็นตัวอย่าง

·  การเข้าหาชุมชนต้องเข้าหาคนที่คนในชุมชนเชื่อถือ ท่านอาซิสเป็นประธานอิสลามที่สงขลา ท่านรองผู้ว่าการก็เข้าไปหา เข้าไปถามว่ามีอะไรที่คนในชุมชนเป็นกังวลกับการทำงานของกฟผ.ได้แล้วปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

·  การเข้าไปฟังเขาด้วยความอ่อนน้อมเป็นการให้เกียรติเขาแล้วเขาก็จะให้ความร่วมมือ

·  กฟผ.นำคนไปช่วยสนับสนุนโภชนาการและการตลาดกะปินาทับที่มีมูลค่าเพิ่มหาศาล เป็นการสร้างนวัตกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชน

·  เราศึกษาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สันกำแพง เราเข้าไปทำความคุ้นเคยชุมชน เขามาปรึกษาพลังงานแสงอาทิตย์จึงทดลองทำโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ตากร่มหน้าฝน มีการทำตู้อบกล้วยตากม้วนทำให้ผลิตภัณฑ์สะอาด มีราคา

·  ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานำเถ้าลอยลิกไนต์ทำปะการังเทียมมีการออกแบบมีการหมุนวนคลื่นในตัวปะการังแล้วลดแรงกระแทกคลื่นเซาะฝัง

·  กฟผ.ต้องอาศัยพวกเราทุกคนมาช่วยกันขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมเพราะทุกคนต้องดูแล Stakeholders แต่ละกลุ่ม ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

·  เราต้องสร้างให้สังคมรักผูกพัน เชื่อมั่นไว้วางใจ ต้องเข้าไปดูแลสังคมไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  อยากให้กฟผ.ฝึกเรื่อง CSR ให้กับทุกคนในองค์กร

·  กฟภ.ลงทุนทำเรื่ององค์กรการเรียนรู้

·  กฟผ.ต้องพัฒนาคนแล้วคนในชุมชนต่างๆมองในแง่ดีด้วย

ช่วงแสดงความคิดเห็น

1.มีประสบการณ์อะไรที่นำจากจะนะมาใช้กับที่อื่นไม่ได้

2.จากคุณศานิตพูดที่เปรียบเทียบกฟผ.กับกฟภ. คนรักกฟภ.มากกว่า จะทำ CSR อย่างไร

การรอนสิทธิ์ชาวบ้านไม่ให้ปลูกสิ่งก่อสร้างสูง จะเข้าหาชาวบ้านอย่างไร

3. ทำไมกฟผ.ไม่สามารถสร้างในที่เดิมที่ไม่มีการต่อต้าน

4. ในอนาคต จะมีถ่านหินสะอาด 3200 เมกกะวัตต์ วางแผนว่าจะไปทำโรงไฟฟ้าในภาคใต้ มีนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อชุมชนยอมรับกฟผ.มีบ้างไหม

5. ทั้งหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระแสต่อต้าน กฟผ.ถูกต่อต้านมากที่สุดเพราะตามกรอบ แต่เอกชนสามารถทำได้สำเร็จก่อนเราในพื้นที่เดียวกัน อาจใช้วิธีทางเศรษฐกิจทำให้เสร็จได้ ทุกหน่วยงานในกฟผ.เคยหารือร่วมกันหรือไม่ เมื่อเดือนที่แล้วมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เสนอว่าให้มีศูนย์ทำ CSR ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ยังไม่มีการสอน คนที่ทำอาศัยประสบการณ์ล้วนๆ กฟผ.น่าจะมีตัวกลางเผยแพร่งานกฟผ.และทำโครงการให้สำเร็จแต่ละโครงการ

6. Innovation ใหม่ๆด้านการสร้างโรงไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

·  ควรลงไปล่วงหน้าร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชุมชน ทำการบ้านเชื่อมสัมพันธ์ล่วงหน้า ควรจ้างมืออาชีพไปช่วยประสานให้นุ่มนวลและเป็นกันเองมากขึ้น นำความรัก ความเมตตา ความเข้าใจไปก่อน ต้องให้ประชาชนตอบคำถามแทนท่าน

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

·  กฟผ.ควรถอยมาอยู่ฝ่ายเทคนิคแล้วให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้นำในการประสานกับชุมชน

·  การหาที่ดินสร้างโรงไฟฟ้า ควรให้กระทรวงพลังงานหาที่ดินให้

·  กฟผ.ควรเป็นเถ้าแก่คุมการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

ดร.เสรี พงศ์พิศ

·  กฟผ.ก็ควรจะถอยไปตั้งหลัก สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้

·  ต้องสร้างภาคีเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน สนองความต้องการของชุมชน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งองค์กรต้องมีวิญญาณการทำงานร่วมกับชุมชน

·  อาวุธอย่างเดียวที่เหลือของคนยากคือวัฒนธรรม

·  ต้องใช้ทุนทางปัญญาและทุนทางสังคมสร้างนวัตกรรม

·  ถ้าจะตอบโจทย์ในการทำงานร่วมกับชุมชน ต้องทำงานเป็นภาคี ทำให้เกิดทุนทางปัญญาและทุนทางสังคม

·  ควรอ่านบทความของผมโลกเปลี่ยน เรียนรู้ อยู่รอดและบทความ ไฟดับ ก็ดี

·  ควรเข้าไปดูเว็บไซต์มหาวิทยาลัยชีวิต life.ac.th

คุณศานิต นิยมาคม

·  แต่ละที่บริบทไม่เหมือนกัน

·  ในอดีต ที่กระบี่ คนไม่ต่อต้านโรงไฟฟ้าเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดี

·  การทำงานต้องบูรณาการกันไป

·  ต้องมองปัญหา ดูว่ามีใครเกี่ยวข้อง ทำตามความต้องการชุมชน จะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  เรื่องชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยังมีช่องทางที่จะเกิดขึ้น

·  ควรให้ผู้นำระดับกลางและระดับล่างได้เรียนแบบรุ่น 9 แค่วันเดียวจะได้คิดร่วมกัน

·  ถ้าจะทำให้เกิดความสำเร็จ ต้องร่วมกันคิดและให้โอกาสการเรียนรู้เกิดขึ้นในมุมกว้าง ควรจัดโครงการ 2 วันให้คนกฟผ.ได้คิดเกี่ยวกับอนาคตกฟผ.

·  สิ่งสำคัญคือ การจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้ สถานการณ์การไฟฟ้าเปลี่ยนไปหมดแล้ว

·  ใน HR Function เรายังไม่ได้สร้าง Learning Organization

·  ฟังแล้วต้องหาประเด็นที่เกิด Value Added

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Learning Forum หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

·  องค์กรในประเทศไทยเช่น เนคเทคมีการฝึกอบรมสำหรับทุกระดับในเรื่องการสื่อสาร ให้พูดได้ พูดรู้เรื่อง ให้คนเขาใจและมีคนชอบ

·  รู้จักใครต้องรู้จักให้จริง ประเทศไทยบริหารภายใต้ Connection

·  บริหารสื่อต้องเข้าใจลักษณะและบทบาทของแต่ละสื่อ ต้องเข้าใจเหตุผลเบื้องลึกว่าทำไมเขานำเสนอข้อมูลในแง่ดีหรือแง่ร้าย

·  ต้องรู้จักบริหารจัดการประเด็น รู้ว่าเรื่องใดต้องพูดเวลาไหนกับใคร

·  ต้องรู้จักผู้ฟังก่อน เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องที่เขาอยากฟัง

·  องค์กรมีเรื่องราว 3 ด้าน

1.  Corporate Image เป็นสิ่งที่เราอยากเห็น

2.  Business Image เป็นสิ่งที่องค์กรทำ

·  สิ่งสำคัญคือ คนจำอะไรได้ สิ่งที่คนจำได้คือ Brand Image ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ

กิจกรรม อะไรควรเป็น Corporate Image และ Business Image ของกฟผ.และ Brand Image ควรจะเป็นอย่างไร

กลุ่ม 1

Corporate Image

·  โปร่งใส

Business Image

·  ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า

Brand Image

·  ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า

กลุ่ม 2

Corporate Image

·  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

Business Image

·  ผลิตไฟฟ้าขายในราคาที่เหมาะสม

Brand Image

·  ยังนึกไม่ออก

กลุ่ม 3

Corporate Image

·  โปร่งใส

·  CSR

Business Image

·  ความมั่นคง

·  ไฟฟ้าราคาถูก

Brand Image

·  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

กลุ่ม 4

Corporate Image

·  ค่าไฟสมเหตุสมผล

Business Image

·  ปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

Brand Image

·  ผลิตไฟฟ้าด้วยความโปร่งใส

กลุ่ม 5

Corporate Image

·  โปร่งใส

Business Image

·  ผลิตไฟฟ้าความมั่นคงสูง

Brand Image

·  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

·  อยากให้ค้นหาเจอ เพื่อจะได้เล่าให้ผู้อื่นฟัง เป็นข้อตกลงว่า

·  แม้สื่อมวลชนมีคำถามมากมายแต่สิ่งสำคัญคือคำตอบที่อธิบายให้เขาเข้าใจ

·  สิ่งที่คนจำได้ควรจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร

·  Corporate Image มาจากภารกิจและวิสัยทัศน์

·  Brand Image ควรแปลงมาจากผลสัมฤทธิ์

·  สิ่งที่คนเชื่อถือศรัทธาในแบรนด์เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล

·  ต้นทุนชื่อเสียงมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สิน เนื้อหาในข่าวมันเข้าไปสู่ความทรงจำกับกลุ่มเป้าหมาย

·  บางหน่วยงานก็ตั้งสำนักงาน Digital Communication คอยดูว่ามีใครพูดถึงหน่วยงานในโลก Social Media แล้วไปอธิบายให้คนกลุ่มเหล่านั้นให้เข้าใจ

·  Social Media ก็เป็นความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบหนึ่งด้านการสื่อสาร

·  วันหนึ่งมีข้อมูลมาถึงตัวเราวันละ 500-1000 ข้อมูลโดยประมาณ แต่เราจำได้ 2-3 เรื่อง

·  เรามีช่องทางสื่อสารข้อมูล แต่ถ้าเรื่องราวของท่านไม่น่าสนใจ ก็ไม่มีประโยชน์

·  เนื้อหาที่มี Business Image,Corporate Image และ Brand Image ต้องได้รับการปรุงแต่งให้น่าสนใจ

·  ดังนั้นต้องวิเคราะห์เป้าหมายผู้รับข้อมูลและความสนใจ รวมถึงวิธีการทำงานของแต่ละสื่อ

·  ถ้าให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ต้องเป็นเรื่องราวที่คนสนใจและมีผลกระทบต่อสังคม

·  ถ้าให้สัมภาษณ์นิตยสาร ต้องมีข้อมูลเชิงลึกเป็นพิเศษ

·  ดังนั้น Keyword สำคัญที่สุด มีความยาวไม่เกิน 30 วินาที ต้องอธิบายให้ได้ ต้องศึกษาธรรมชาติของแต่ละรายการให้ลึกซึ้ง รูปแบบการถามเป็นอย่างไร มีเวลาตอบเท่าไร ตอบสิ่งสำคัญ

·  สำนักข่าวต่างประเทศต้องการทราบคำตอบที่สะท้อนผลกระทบในระดับภูมิภาค ต้องเป็นข้อมูลผ่านการวิจัยและเป็นข้อเท็จจริง

·  Social Media ทำให้ทุกคนเป็นผู้ให้ข้อมูลได้

·  บางครั้งต้องสนใจผู้นำความคิดผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้วย

·  สื่อแต่ละสายมีคำถามที่สะท้อนภารกิจหน่วยงานเขา ซึ่งเป็นความสนใจของเขา

·  แต่ละองค์กรก็มีข้อกำหนดในการให้สัมภาษณ์บ้าง

·  ผู้บริหารสูงสุดต้องตอบได้ทุกประเด็น

·  ถ้าเป็นรองและผู้ช่วย ตอบได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง แต่ไม่รวมเรื่องประเด็นอ่อนไหวเช่นการเงิน

·  ถ้าเป็นระดับต่ำกว่านั้น ตอบได้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับนโยบาย

·  ข้อควรระวัง สิ่งที่พูดไม่เป็นข่าวเพราะ ความเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างผู้ให้ข้อมูลและนักข่าว นักข่าวสนใจประเด็นที่เป็นกระแสมากที่สุด ถ้าเรื่องนั้นเกินขอบข่ายหน้าที่ที่จะตอบ ควรจะมีข้อตกลงร่วมกันกับองค์กรว่า จะอธิบายประเด็นอ่อนไหวอย่างไรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่ออย่างไร

·  การให้สัมภาษณ์ ถ้าไม่ตรงโจทย์ก็ต้องไม่มีใครสนใจ

·  ถ้าอยู่ในฐานะผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องมีความพร้อมอธิบาย อย่าตอบในเรื่องที่ไม่รู้และไม่แน่ใจ เพราะมันเป็นชื่อเราและองค์กร

·  ต้องรู้เรา รู้เขา รู้โลก

·  ฝ่ายกลยุทธ์องค์กรแบ่งกันวิเคราะห์คู่แข่งเป็นทีม

·  ต้องรู้ว่า เราจะอธิบายหรือพูดอะไรบ้าง มันคือเนื้อหาหลักที่จะอธิบาย เราต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งและเตรียมประเด็นที่ดีพอ

·  ควรใช้ Mindmap มาเรียบเรียงลำดับความคิด

·  เวลาพูดแล้ว ต้องเช็คความเข้าใจว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่  ควรมีเอกสารประกอบให้

·  เราต้องมีข้อมูลของสื่อแต่ละสื่อว่าต้องติดต่อใคร (Update list) รวมทั้ง Update ความสัมพันธ์ ส่งการ์ดให้ในเทศกาลต่างๆ ส่งข้อมูลให้สื่ออย่างสม่ำเสมอ

·  ต้องเข้าใจว่า ข้อมูล Lifestyle และกระบวนการการทำงานของแต่ละสื่อ (Media Mapping)

·  อย่ามีประเด็นในการให้สัมภาษณ์มากจนเกินไป (One Message Key Message) ควรมีข้อมูลสำคัญชัดเจนเรื่องเดียว

·  เวลาให้สัมภาษณ์แล้ว ควรมีการทดสอบความเข้าใจ (Double Check)

·  ความใกล้ชิดผูกพัน นำมาซึ่งความสนิทสนมคุ้นเคย ต้องให้เวลาและความสนใจในกิจกรรมของสื่อนั้นบ้าง ส่งกระเช้าไปเยี่ยมเมื่อเจ็บป่วย

·  ต้องดูวิธีการสร้างเครือข่าย สื่อไทยไม่ทำงานโดยลำพัง รู้ว่าเขาชอบใครหรือไม่ชอบใคร

·  ความจริงใจสำคัญที่สุด อย่าคบสื่อเพราะเขามีประโยชน์ ต้องสนใจในระดับความเป็นเพื่อน

·  ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่าให้ข้อมูลเท็จ ถ้าเป็นเรื่องที่คุณพูดไม่ได้ ก็บอกว่า ผู้ที่ตอบได้ดีที่สุดในเรื่องนี้คือใครอาจเป็นระดับที่สูงกว่า หรือบอกว่ายังมีข้อมูลไม่พอที่จะตอบเรื่องนี้

·  ต้องมีความสม่ำเสมอ

·  ความจริงใจสำคัญที่สุด

·  วิธีการดูแลเรื่องสื่อ

·  เชิญมาพูดอธิบาย

·  จัดแถลงข่าว ต้องมีประเด็นที่ชัดเจนพอ อย่าบ่อยเกินไปเพราะไม่น่าสนใจ ต้องสร้างบรรยากาศ มีของตัวอย่างมานำเสนอ

·  การสัมภาษณ์ ต้องดูว่าเป็นความอยากของใคร จะได้เตรียมข้อมูลได้เหมาะสม

·  ต้องรู้ว่าสื่อไหนให้ความสนใจ

·  ข่าวแจก

·  จัดกิจกรรมให้นักข่าวสนใจ

·  ในการให้สัมภาษณ์ ต้องรู้สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ให้พูดตามผู้ใหญ่แล้วจะไม่ผิด

·  ควรมีแผนรองรับภาวะฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ

·  ปีนี้ ต้องให้ความสำคัญเรื่องสื่อมวลชน Social media และการหลอมรวมสื่อเข้าด้วยกัน

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

Managing Self Performance

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Learning Forum-Activities & Game Simulation

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

·  การเป็น The best ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่การเป็น great person เราสามารถเป็นได้ด้วยตนเอง

·  Competency หมายถึง กลุ่มความรู้ ทักษะและคุณลักษณะซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม ทัศนคติและแรงบันดาลใจที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

·  เราต้องเข้าใจตัวตนเราดีก่อน

·  คุณลักษณะที่มองเห็นคือ ทักษะและความรู้

·  คุณลักษณะที่มองไม่เห็นคือ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม การมองตนเอง

·  คุณลักษณะหนึ่งที่สำคัญที่เป็นสมรรถนะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ

1.  ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

กิจกรรม แข่งกระโดดสูง

บทเรียน

·  สิ่งที่ทำให้คนคิดว่าตนทำได้ดีและทำได้ไม่ดี ก็คือการขาดประสบการณ์ทำให้ทำได้ไม่ดี

·  คนเดิมกระโดด 2 ครั้งเป็นการ Benchmark จะได้เป็นการพัฒนา

·  คนทำได้ดีขึ้นเพราะการตั้งเป้าหมาย

·  สิ่งที่ทำให้คนมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีขึ้นและไปสู่เป้าหมายที่สูงกว่า ก็คือ การแข่งขัน คนชอบแข่งขันต้องทำให้ผลักดันตนเองได้

·  เคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือฝึกสภาวะจิตให้มองเห็นภาพตนเองเป็นผู้ชนะ

·  ต้องมีเป้าหมาย และลองทำอะไรบางอย่าง จะได้ข้อมูลไปปฏิบัติ

วิธีก้าวจากจุดที่คุณอยู่ข้ามไปสู่จุดที่คุณต้องการ

1.คุณต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง 100%

·  สูตร: รับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100% โดย ดร.โรเบิร์ต เรสนิก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

·  E (เหตุการณ์)+R (ตอบสนอง) = O (ผลลัพธ์)

·  ถ้าเรายังไม่พอใจผลลัพธ์ในปัจจุบัน เรามี 2 ทางเลือก

·  โทษเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์

·  เปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์

·  อย่างที่เป็นอยู่จนกว่าว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

·  คนเราไม่ได้เกิดมาล้มเหลว ถ้าไม่ล้มเลิก

·  บางทีเรามีปัญหาการสื่อสารในองค์กร ควรเปลี่ยนปัญหาเป็นคำถามว่า ควรทำอย่างไรให้การมีประสิทธิภาพ

·  ควรจะหยุดโค้ชตอนมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

·  สมองทำงานได้ทีละอย่าง ถ้าทำหลายอย่างจะทำให้เป็นมะเร็งและตายเร็ว ผู้หญิงมีภาระมากจึงทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

·  เราเป็นผู้ลงมือทำไม่ใช่รอให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น

·  ต้อง Empowerment Accountability

2.เข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้ คือ

·  เข้าใจตัวคนของคุณ

·  อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่คุณทำ

·  เห็นภาพการแสดงออกของผู้คนรอบตัวคุณอย่างไรในโลกอันสมบูรณ์แบบต่อการใช้ชีวิต

·  กิจกรรม ชมวีดิทัศน์ โจน จันได บทเรียนคือ คนเรามีสิทธิ์จะเปลี่ยนชีวิตตนเองได้ ต้องรู้จักเผชิญหน้ากับความจริง

·  คำกริยา 3 คำที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์ Be, Have, Do

·  ต้องแบ่งเวลามาคุยกันอย่างมีเป้าหมาย

·  จะประสบความสำเร็จได้ ต้องรู้ผลลัพธ์และลงมือปฏิบัติ

·  เวลาบริหารเวลาก็ต้องมีเข็มทิศชีวิตด้วย ต้องมีเป้าหมายก่อนที่จะบริหารจัดการเวลา

·  ภาวะทางจิตมีอิทธิพลต่อผลสำเร็จของการกระทำ

·  กิจกรรม Life Mapping วิเคราะห์ Discover ทำ Historical Scan หาจุดเปลี่ยนของชีวิตอย่างน้อย 5 จุดเปลี่ยน (Tipping Points Life map) แล้วจะทราบ Dream, Design และ Destiny

·  Hierarchy of Ideas

·  Chunking up คือ การคิดถึงจุดประสงค์ เจตนา ภาพรวม

·  Chunkingdown คือ การคิดถึงตัวอย่างเฉพาะเจาะจง

·  Chunkingside way คือ คิดว่ามีอะไรที่สามารถทำได้อีก  ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

·  R.P.M. เป็นการวางแผนชีวิตโดยคิดถึงสิ่งเหล่านี้

·  Result

·  Purpose

·  Massive Action Plan

·  ต้องเข้าใจว่าเป้าหมายในงานให้อะไรกับชีวิต แต่ต้องรู้เป้าหมายสุดท้ายในชีวิต

·  ต้องให้เห็นผลไม่ใช่ให้เห็นว่าเป็นแค่งานเท่านั้น

·  เมื่อรับงานมาแล้ว ถามว่าเราได้ประโยชน์อะไรจากงาน จะกลายเป็นตัวตนของเราในอนาคต

·  ควรชมลูกน้องที่คุณสมบัติที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

พิมพ์ PDF

Panel Discussion

หัวข้อ “ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

โดย  คุณไกรสีห์ กรรณสูต

อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติ ศานติจารี

อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร.จีระ: อยากให้การพบปะเจอรุ่นพี่รุ่นน้องได้เจอกันแบบนี้บ่อยๆ และมีการเชื่อมโยงกันทาง Social media กันอย่างต่อเนื่อง  อยากให้บรรยากาศวันนี้เป็นการแชร์ความรู้กัน

อาจารย์ ธรรมรักษ์: ธรรมภิบาล คือ การบริหารกิจการที่ดี สิ่งที่ค้นพบในการทำงาน คือ เปลี่ยนไปตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก คนที่บริหารกิจการที่ดีที่ค้นพบ คือ ถูก และสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น เน้นกรอบคิดและหลักนิยม โดยมีการสอน (teaching) และควบคุมกำกับ บังคับบัญชา ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบจากบนลงล่าง ผมรับราชการมีการตรวจสอบทุกขั้นตอน

การบริหารยุคเก่าเป็นการกำกับโดยระเบียบทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เหมาะสำหรับระบบเครื่องจักร

การบริหารกิจการที่ดีเป็นการริเริ่มของใหม่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 ทำอย่างไรให้คนมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะชินกับการดำเนินการแบบเก่าที่มีระเบียบแผนชัดเจน ขาดการเปลี่ยนแปลงใช้ความคิด แบบเก่า ที่ต้องเปลี่ยนเป็นความคิดแบบใหม่แบบมีส่วนร่วม อย่างบูรณาการไร้พรมแดน

Empower เป็นสิ่งจำเป็น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยได้ใช้ ใช้แต่ power

การสร้างผู้นำ ต้องเป็นผู้นำที่มีลักษณะที่มีความรู้สึกตระหนักในตนเองในเรื่องธรรมภิบาล

ประเทศไทยขาดเรื่อง Leadership อย่างมาก ซึ่งต่างจากในอดีตมาก

วิธีสร้างผู้นำนั้น ต้องสร้างการเรียนรู้ เรื่องธรรมาภิบาลให้เกิดเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ในองค์กร สิ่งที่ควรจะทำคือ ให้ผู้นำในองค์กร empower  และต้องเรียนรู้และตระหนักด้วยตนเอง คือให้เขาวิเคราะห์สถานการณ์เอง โดยลองให้วิเคราะห์ SWOT โดยให้ทุกคนมีส่วนเรียนรู้

ต้องมองด้วยกันว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบท และต้องทำอย่างโปร่งใส เพราะมีประชาธิปไตย และโลกเปิดกว้าง ถ้าเราไม่เรียนรู้ด้วยตนเองหวังพึ่งคนมาเล่า มาถ่ายทอด ก็ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองได้ ยุทธศาสตร์คือ คนระดับกลางบริหารการเปลี่ยนแปลง มีแผนร่วมคิดร่วมทำ ติดตามประเมินผล และต้องสร้างระบบที

ต้องปฎิบัติและเกิดจากการเรียนรู้ในหน่วยงาน เริ่มจากผู้นำหน่วยเริ่มจากคนระดับกลาง เห็นค่านิยมเอง เค้าก็จะไปเป็นตัวนำลูกน้อง และเมื่อขึ้นตำแหน่งก็จะสอนลูกน้องได้อย่างยั่งยืน

อ.จีระ: ในอนาคตขอความร่วมมือจากท่านธรรมรักษ์เพิ่มขึ้น ในรุ่น 9 มี issue อยู่ 4 เรื่อง ต้องจัดการกับชุมชน innovation ไม่เฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น จัดการกับความเปลี่ยนแปลงกับนโยบายรัฐบาลกับนักการเมือง  ซึ่งธรรมาภิบาลจะเป็นสิ่งที่ป้องกันไว้ได้ เรื่องสุดท้ายอยากเห็นกฟผ.เป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของประเทศ ต้องแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศ เน้นเรื่องความโปร่งใส

ท่านไกรสีห์: ท่านธรรมรักษ์ปูพื้นฐานเรื่องธรรมาภิบาลไว้เป็นอย่างดี  ข้อหนึ่งที่พ่อค้าบอกกับกฟผ.คือ คนกฟผ.เป็นคนดี และทำงานด้วยความสบายใจ เพราะทำงานแบบไม่มีการทุจริตกัน

ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้รับการประท้วงจากชาวบ้านเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานได้ยากขึ้น ส่งผลให้งานบางอย่างต้องยกเลิกไป ส่วนใหญ่เป็นงานที่มักจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน

ความสมดุลในการทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องมีการทำงานที่นึกถึงความปลอดภัยของชุมชนเรื่องสิ่งแวดล้อมและประชาชน ต้องไม่เน้นน้ำหนักไปที่เรื่องต้นทุนถูก การสร้างและทำแผนต่างๆ มีคนไม่เห็นด้วยเยอะ เพราะเราสร้างสายส่งไม่มีใครอยากให้ทำ เพราะที่จะราคาตก  การทำประชาพิจารณ์น้อยมาก เพราะเราถือว่ามีอำนาจพรบ.อยุ่ในมือ ส่งผลให้เริ่มปัญหา ประชาชนต่อต้าน ส่งผลให้กฟผ.เดินหน้าลำบาก และต้องคิดว่าทำอย่างไรกฟผ.ถึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ธรรมาภิบาล PATE

P=Participation การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญ

A=Answerability  ความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้ถูกต้อง

T=Transparency  ความโปร่งใส

E= Efficiency และ Effectiveness

เป็นการบริหารแนวใหม่ เพราะโลกให้ความสนใจกับโลกาภิวัตน์และกาบริหารจัดการที่ดีมากขึ้น มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง รัฐธรรมนูญปี 2540-2550 มุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการเป็นมนุษย์ และการกระจายอำนาจ

เรื่องภายนอกที่มากระทบกฟผ.เป็นเรื่องปัญหาจากมวลชน ซึ่งมีการปรับตัวที่ช้าเกินไป แต่ต้องยอมรับว่าปรับตัวช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก ซึ่งเป็นช่องว่างให้เกิดปัญหา ซึ่งยากที่จะทำการแก้ไข

การดำเนินงานทุกอย่างต้องให้ความสำคัญกับประชาชน และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้น

องค์ประกอบเพื่อความอยู่รอดของกฟผ.

-  ความคุ้มค่า

-  นิติธรรม ข้อสำคัญ คือ การใช้กฎหมายต้องไม่เลือกปฏิบัติ  คุณธรรม

-  การมีส่วนร่วม  ต้องเชิญประชาชนที่จะได้รับผลกระทบเข้ามาฟัง ก่อนทีจะสร้างอะไรก็ตาม และต้องฟังความเห็นจากประชาชนด้วย ให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเทคนิค และความจำเป็นต่างๆ

ระดับวางแผนร่วมกัน ซึ่งกฟผ.ยังไม่ได้ทำ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะต้องฟังความหวังจากประชาชน

-  ความโปร่งใส

สิ่งที่ประชาชนต้องการกับการทำงานของกฟผ.

-  Society approach แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่

-  มีทางเลือกหลายทาง

-  เข้าใจร่วมกัน

-  มีการออกแบบทางเลือกต่างๆร่วมกัน เปรียบเทียบว่าทางเลือกต่างช่วยด้านไหนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

-  ต้องให้การศึกษา และคุยเพื่อให้มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายร่วมกัน

อ.จีระ: ทุกปีท่านไกรสีห์จะมาร่วมกับการอบรม สรุปมี 2 เรื่อง คือ ธรรมาภิบาลจะทำให้อยู่อย่างยั่งยืน และเกิดจากการที่บริหารกาเปลี่ยนแปลงให้ได้

อยู่มา 9 รุ่นเห็นความเข้มแข็ง และเห็นจุดแข็งและจุดอ่อน ระหว่างengineering และชุมชน การที่เราต้องสร้างองค์การแห่งความเรียนรู้เป็นสิ่งทีจำเป็นเช่นกัน

ท่านสมบัติ: เรื่องธรรมาภิบาลมาเกิดหลังๆ  สมัยนั้นมีการบริหารงานที่ดี ตรวจสอบได้ ซื่อสัตย์สุจริต ธรรมภิบาลมีการจัดอบรมที่เยอะมาก คือ ขบวนการที่กับดูแลให้บริหารงานดีที่สุด เพื่อให้ผู้ส่วนได้ส่วนเสียได้รับความเป็นธรรม ผุ้ควบคุมคือ ฝ่ายบริหารโดยให้กรรมการมาเป็นคนควบคุม โดยใช้วิธีเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้

1.บริหารด้วยความครบถ้วน

2. ซื่อสัตย์สุจิตต่อตนเอง

3. ปฏิบัติตรามกฎระเบียบ

4. แสดงข้อมูลให้ทุกฝ่ายรับรู้

ตลาดหลักทรัพย์และองค์กรต่างๆมีการทำวิจัยว่า ธรรมภิบาลได้ประโยชน์อะไรกับองค์กร

หน่วยงานที่ไม่มีธรรมาภิบาล ก็จะไม่มีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นบริษัทต่างๆก็จะแข่งเรื่องธรรมาภิบาล

ดูเว็ปไซด์กฟผ. รู้สึกดีใจ ที่ได้เห็นวัฒนธรรมองค์กรที่ รักองค์กร  เชิดคุณธรรมและมีความสามัคคี ทำงานทุ่มเทเพื่อประโยชน์องค์กรมากกว่าส่วนตน  เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ากฟผ.มีธรรมภิบาล สมัยที่ผมทำงานกับผู้ว่าเกษม ปัจจุบันผ่านมา 43ปี  คุณภาพของกฟผ.ได้รับความเชื่อถือ และมีคุณภาพดี

กฟผ. ในสมัยก่อนไม่ได้ละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีกฏหมาย หลังจากมีกฎหมายก็ทำตามกฎหมาย ปี 35 ปีกาสำรวจความคิดเห็นทางสิ่งแวดล้อม

หลังปี 40 รัฐธรรมนูญแบ่งบาน นโยบายต้องกระจายให้ทุกคนต้องทราบ  พัฒนาปรับปรุงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีธรรมาภิบาลกัยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลังจากนั้นพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการทำงานเชิงรุก มีคนต่อต้านบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา

ผู้บริหารไม่เคยละเลยปัญหาการร้องเรียน แต่กฟผ.ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะ วัฒนธรรมที่ตกทอดกันมานาน สายงานที่มีคนช่วยกันดู และเรียนรู้ว่าใช้ระเบียบของworld bank ที่มีมาตรฐาน และมีความน่าเชื่อถือ

ผมเข้าเว็บไซด์ กฟผ.เข้าธรรมะออนไลน์  ซึ่งสื่อแล้วว่ากฟผ.มีธรรมาภิบาล ซึ่งสั่งสมวัฒนธรรมเรื่องความโปร่งใสมาอย่างยาวนาน ปัญหาขององค์กรอื่นที่มีเราไม่มี เพราะเจ้าของที่แท้จริง คือ ประชาชน แต่อยู่ในนามรัฐบาลเท่านั้นเอง

อ.จีระ: ท่านผู้ว่าท่าน 2 ท่านมีประสบการณ์และมุมมองที่ชัดเจน  รุ่นต่อไปต้องเชิญคนพูดเรื่องกฎหมายมาบ้างก็ดี ประเด็นของท่านสมบัติ คือ เรื่องความโปร่งใสของกฟผ. ซึ่งต้องมองไปเรื่องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนนอกองค์กร ที่ต้องจัดการเรื่องปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม กับชุมชน  และเรื่องธรรมาภิบาล  ของกฟผ.ก็ต้องรักษาไม่ให้มีอำนาจรัฐแทรกแซง

ปปช. เคยทำเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสนามบินสุวรรณภูมิ  แต่ในกฟผ.เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องที่โปร่งใสมาก

ธรรมาภิบาลของกฟผ.ควรกระเด้งไปช่วยเรื่องของชุมชน และปัญหาระหว่างประเทศที่ต้องจัดการ

คำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรม

1. คุณสมเกียรติ ขอบคุณท่านสมบัติที่ทำให้ธรรมาภิบาลของกฟผ. เป็นอันดับต้นๆของประเทศ

เรืองนิติธรรมของท่านไกรสีห์ การบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันทำได้ยาก เพราะในระยะยาวผู้ที่อยู่ไซด์งานกับชุมชนจะอยู่ยาก ควรทำเรื่องพรบ.กฟผ. ควรทบทวนว่าอันไหนแข็งไป และเอาเปรียบชุมชน

อ.จีระ: เห็นด้วยว่าเรื่องธรรมาภิบาลกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่เป็นจุดหักเหที่ทำแล้วสำเร็จ เช่นเดียวกับที่ผมทำเรื่องคนมา 35 ปี กฟผ.ต้องทำให้ถึงจุดที่เกิด outcome ไม่ใช่ทำแค่ CSR  ต้องทำให้เกิดเรื่องความสมดุลระหว่างชุมชนและกฟผ.

2. คุณสุวิทย์ เรียนท่านผู้ว่าไกรสีห์เรื่องระบบสายส่งการเมืองเข้ามาไม่ได้ กฟภ.สร้างสายมีสิทธิ์เดินสายตามถนน แต่กฟผ.ไม่มีสิทธิ์ เพราะอำนาจอยู่ที่ regulator ก็จะมีชุมชนมาต่อต้าน

อีกกรณีหนึ่ง โรงไฟฟ้าเอกชน กฟผ.ก็ต้องสร้างสายส่ง ซึ่งทำได้ช้าเพราะทำตามระเบียบ แต่เอกชนทำทุกอย่างได้เร็ว จึงมาฟ้องกฟผ.ว่าแกล้งบ้าง แต่กฟภ.อยากกฟผ.ให้ยก Network 115

อ.จีระ:ขอชมเชยว่าจับประเด็นดีมาก

3. กฟผ.มีธรรมภิบาลและเป็นจุดแข็งของกฟผ.อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาและบริหารงาน ประชาชนภายนอกเห็นอยู่แล้ว แต่ทำไมชาวบ้าไม่ยอมรับเวลาจะไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหน เพราะมีข้อบกพร่องเช่น เรามีความแตกต่างจากเค้า เช่น รายได้ ส่วนหนึ่งไม่มีการปรับตัว มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งต้องสร้างค่านิยม สร้างคนให้เป็นคนดี และให้ลงไปทำงานกับมวลชนให้ได้

บริษัทสามารถใช้อำนาจใต้ดินได้ ซึ่งต่างจากกฟผ.ที่ไม่สามารถให้เงินกับผู้มีอิทธิพลได้ซี่งเป็นข้อดีของกฟผ.

อ.จีระ :  hr for non hr เป็นแนวคิดที่ควรกระจายให้กฟผ. และ ต้องสร้างให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

โต๊ะสุดท้ายเรื่องท่าทีของกฟผ.ที่อยู่ชุมชนที่ต้องเฟรนลี่เป็นข้อดีอย่างมาก ที่ต้องได้รับการพัฒนา

Session นี้เป็นนวัตกรรมที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตรงตามความจริง และตรงประเด็น

คุณธรรมรักษ์: ได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย ประเด็นแรก กฟผ.มีความสำเร็จ มีธรรมาภิบาลในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน โดยเฉพาะความเข้มแข็งนี้โดยเฉพาะผู้นำในยุคแรก จนปัจจุบัน สร้างความยั่งยืนได้ จนถึงอนาคต

ขณะที่เราเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี ต้องไม่ติดยึดกับยุคปัจจุบัน ต้องปรับวิธีคิดไม่ยึดติดกับแนวคิดผู้นำในอดีต
อ.จีระ: ยุคนี้ต้องเตรียมตัวให้ดี ต้อง grooming new leader และต้อง balancing

อย่างเช่นรุ่นนี้ประธานรุ่นเป็นผู้หญิง

คุณธรรมรักษ์ สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ต้องวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนใช้ได้ สิ่งไหนใช้ไม่ได้ เพระเผชิญกับสิ่งใหม่ๆต่างกับสมัยผู้ว่าเกษม โลกใหม่เน้นไซเบอร์ ต้องทันโลก ต้องมีการตรวจสอบอย่างหนัก จึงต้องโปร่งใส มุ่งเน้นประชาชน มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำงานต้องbalancing มีทางสายกลาง

กฟผ. ต้องทำงานรับใช้ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพ เข้าไปสู่นาโน ไบโอเทค โลกสมัยนี้และรุ่นผมมันแตกต่างกัน  ปัจจุบัน ไอแพด และไอโฟน มีประโยชน์มาก แต่เราต้องถึงเทคโนโลยีพวกนี้ให้ได้ด้วย  ด้วยการเรียนรู้ ปรับตัวตลอดเวลา และต้องbalance กับนักการเมือง ไม่ให้มาแทรกแซง ซึ่งต้องทำชุมชนให้เข้มแข็ง โปร่งใส ตรวจสอบได้

ความท้าทายในอนาคตคือ งาน Social network กับชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องมองรอบข้าง มองโอกาส มองอุปสรรค ต้องมองให้ครบ การทำงานต้องมีประสิทธิภาพ และต้องมีประสิทธิผล ต้องมองผลลัพธ์ให้สังคมอยู่ดีมีสุข  ด้วยการทำงานร่วมกับชุมชนโดยเข้าไปอยู่เพื่อให้เห็นทั้งโอกาส และการคุกคาม  ทำงานเพื่อให้ชุมชนได้เห็นภาพกว้างๆ

สิ่งสำคัญที่สุด คือ Facilitators คือ ผู้อำนวยความสะดวกเรียนรู้จากการศึกษา ต้องเปลี่ยนครูให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพราะคนที่อยู่ในเหตุการณ์จะรู้ดีกว่าคนที่อยู่ข้างบน

ผมเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นการเรียนรู้จาก Case มากกว่าเรียนจากทฤษฎี

นิทาน นกกระจิบอยู่รอด นกกางเขนอกแดงสูญพันธุ์ นกกระจิบบินเป็นฝูง มีผู้นำฝูง จึงอยู่รอดเพราะอยู่เป็นชุมชน เพราะมีการถ่ายทอดความรู้

นกกางเขนอกแดงสูญพันธุ์ เป็นข้าราชการ มันชอบอยู่ที่มืด อยู่กับตัวเมีย เป็นนกรักษาอาณาเขต

เพราะฉะนั้นกาเรียนรู้ละทำงานกับชุมชน ต้องเป็นนกกระจิบจึงจะอยู่รอด

ท่านไกรสีห์: ประเด็นวันนี้คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้าง trust ให้ชาวบ้านหรือประชาชนให้ไว้วางใจกฟผ. ได้ ไม่ใช่แค่ให้กระบวนการเสร็จเท่านั้น

ธรรมะหลวงพ่อชา ท่านว่าพระไตรปิฎกเรารู้หมดก็ดี นำไปปฏิบัติก็ดี จนเห็นธรรมก็ดี แต่ที่ดีที่สุด คือ ใจเราเป็นธรรม คือ ยึดหลักความถูกต้อง การส่งคนที่ไปร่วมทำงานกับชุมชน คือ ต้องเลือกคนที่มีใจด้านนี้ด้วย

โรงไฟฟ้าจะนะ เป็นตัวอย่างที่ทำสำเร็จคือ

1. คนที่ไปมีใจที่จะไปและเหมาะที่ทำงานด้านนี้

2. วิธีการคือ ศึกษาหมดแล้วว่าต้องคุยกับใคร คือ นักการเมือง ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ใช้วิธีปูเสื่อคุยกับชาวบ้าน  และฟังความเห็นจากชาวบ้าน และต้องทำให้เค้ากระจ่าง มีทางป้องกัน ดูแลป้องกันอย่างไร และต้องชี้แจงและนำเสนอทางเลือกร่วมกัน  ซึ่งเป็นวิธีทำให้ชาวบ้านยอมรับได้เป็นอย่างดี ต่างจากโรงไฟฟ้าที่สงขลาเป็นอย่างมาก

การทำงานที่โจทย์เปลี่ยนจะเอาวิธีการสมัยก่อนมาทำไม่ได้แล้ว เพราะวิธีการทำงานก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย

แผน PDP รัฐบาล ให้กฟผ.ทำเฉพาะโรงถ่านหิน โรงนิวเคลียร์ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องดีลกับนักการเมือง แต่ต้องทำด้วยวิธีการที่ถูกต้องด้วย

ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมืองก็ดี เพราะเค้าก็มีอำนาจจัดสรรให้เราเช่นกัน

ท่านสมบัติ: สังคมยอมรับกฟผ.ในการที่เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล แต่ทำไมสังคมชุมชนไม่ยอมรับ ซึ่งกฟผ.เองก็ยังปรับปรุงอยู่

การทำความเข้าใจกับประชาชน ยังต้องพัฒนากับด้าน soft side หน่วยงานอื่นจ้างที่ปรึกษา ดังนั้นกฟผ.ควรจะจ้างบ้าง การทำ CSR บางทีก็ไม่ได้ผล

กฟผ.ต้องเปิดตัว ต้องหาคนที่ทำงานเป็น  รอบรู้ทุกด้าน และสามารถเข้ากับชาวบ้านได้

ข้อจำกัดของกฟผ. คือ เราทำยาก หน่วยงานอื่นทำง่าย ต้องมีการพัฒนาบุคลากรที่เรียนรู้ด้านสังคมากขึ้น

 

ผู้เข้าอบรม

4.  ข้อคิดเห็นคือ ผู้บริหารของเราหลังเกษียณแล้วไม่มีจุดด่างพล้อย ไม่มีเรื่องร้องเรียน องค์กรเราแตกแยกกับองค์กรอื่นมากเกินไป สิ่งที่เราขาด คือ ทำอย่างไรจุดแข็งจึงจะส่งต่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่คิดจะเอาเปรียบสังคม ชุมชน เพราะสิ่งที่เราขาดคือเร่องประชาสัมพันธ์

และสิ่งที่บุคคลภายนอกต้องการให้เราทำเพื่ออยู่อย่างยั่งยืนคือ ต้องทำอะไร

5. คุณชัยศักดิ์ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่ต้องให้คนนอกมองเราและบอกเรา  สิ่งที่ผมได้รับคือ ยอมรับด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม แต่กลัวเรื่องการบริหารจัดการเรื่องค่าไฟ 10 ปีที่ผ่านมา FT มีแต่ขึ้นอย่างเดียว คนเลยกลัวว่าไม่มีประสิทธิภาพการจัดการเรื่องค่าไฟอย่างเป็นธรรม และทำอย่างไรคนจึงจะยอมรับ

6. คุณภูวดา ขอถามเรื่องธรรมาภิบาล กฟผ.O&M ธุรกิจบำรุงรักษา และธุรกิจการขาย ซึ่งต้องรวดเร็วเพื่อแข่งกับบริษัทอื่นๆ จึงทำให้ธรรมภิบาลบางข้อขาดไป อยากให้ท่านช่วยแนะนำ Case study ให้ทุกท่านได้รับทราบ

ธุรกิจเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังพัฒนา แต่มักจะทำไม่ได้นาน จึงต้องหาบริษัทนายหน้าเข้ามาช่วย จึงขอถามว่าต้องอาศัยธรรมาภิบาลอย่างไร

เรื่อง CSR ผมยอมรับว่ามีปัญหาจริงๆ ผมไปสุราษฎร์ชาวบ้านแตกตื่นว่ามาทำไม เพราะการทำ csr เกี่ยวกับทุกคนในองค์กรที่ไปงานกับชาวบ้านจริงๆ ตั้งแต่ คนขับรถ และคนที่เข้าไปทำ Outsource ทุกคน

อ.จีระ: ขอชมเชยว่าทุกโต๊ะพูดได้ดี อยากให้มีบรรยากาศแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ

ท่านสมบัติ: แต่ละกลุ่มให้ข้อสังเกตชัดเจน ต้องทำเรื่อง FT ให้มีความเข้าใจกันทุกฝ่าย ที่ต้องทำงานร่วมกับประชาชนมากขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ด้านสื่อ และการสื่อสาร

บริษัทลูกของกฟผ. ต้องทำงานเพื่อให้ได้ผลกำไร ถ้าเราไม่ทำ ก็สู้กับคู้แข่งอื่นไม่ได้ ต้องประเมินผลตัวเองในการรับงานจากข้างนอกด้วย

จุดแข็งของเราคือ อยู่มานาน ประสบการณ์ดี

ท่านไกรสีห์: ต้องให้ชุมชนรู้ว่าเราเป็นมิตรต่อสังคม ซึ่งเรายังอ่อนประชาสัมพันธ์ การที่จะทำให้สังคมไว้ใจ ต้องอยู่ที่การกระทำของเราให้ดีที่สุด ในอดีตต้องยอมรับว่าเราพลาดไปบ้าง ซึ่งทำให้คนจำและไว้ใจเรา เพราะฉะนั้นตอนนี้ต้องทำให้สังคมไม่เดือดร้อน  และต้องมีการเปิดเผยข้อมูล FT ให้ชัดเจน ซึ่งกฟผ.ต้องเปิดเผยมากขึ้น เพื่อให้มีความเข้าใจมากที่สุดเพื่อปราศจากความกลัว

การทำธุรกิจภายนอกให้รวดเร็ว และแข่งขัน หลักธรรมาภิบาล คือ หลัก Efficiency ต้องไม่ผิดต่อหลักจรรยาบรรณ และไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล

เราต้องทำการ Utilization คนกับเครื่องมือ เพื่อหารายได้เข้ามาให้กับกฟผ. ทำเพื่อ Maximization

ท่านธรรมรักษ์: ควรเรียนรู้ความสำเร็จ จากท่านผู้ว่าที่ประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมาทุกท่าน ต้องแชร์ข้อมูล เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ทุกอย่างต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ควรเข้าถึง Social network เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์

อ.จีระ: ขอบคุณท่านผู้เข้าอบรมที่ให้ข้อเสนอแนะและคำถามที่ดี ขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่านในวันนี้ที่มาแชร์ความรู้กัน

ผมขอฝาก 2 เรื่อง คือ

1.  ต้องมี Deep exchange กับชุมชนมากขึ้น ต้องทำอย่างสมดุล และต่อเนื่อง ตามconcept Deep drive และต้อง relevance

2.  ภาวะผู้นำของรุ่น 9 นี้มีแน่นอน และท่านต้องขึ้นไปเป็นผู้นำ แต่กฟผ.เป็นองค์กรใหญ่ จึงขาดความคล่องตัวในการฉกฉวยโอกาสที่จะทำอย่างต่อเนื่อง เพราะผลลัพธ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อองค์การ แต่ไม่ Relevance ต่อองค์กร

แรงกดดันที่ทำให้เป็น Dynamic leadership ยังมีน้อย

3.  สิ่งที่พูดไปวันนี้คือ Journeyไปสู่เป้าหมาย และต้องลิงค์ไปสู่ Social media เพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้กันในอนาคต และต้องมี Process เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายให้เร็วขึ้น

-  ถ้าทำงานแบบ Top down ไม่มีความคล่องตัวและไม่มีความยืดหยุ่น ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จช้า

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

พิมพ์ PDF

หัวข้อ  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

27 มีนาคม 2556

ขอถามผู้เข้าอบรมว่าใครเป็นต้นแบบทางจริยธรรม

-  อดีตผุ้ว่ากฟผ. ท่านเกษม

-  ในหลวง

-  ท่านเปรม

สิ่งที่ได้จากการดู VDO

·  การเปลี่ยนแปลง

·  Power of Living

คนไทยเป็นประเทศที่ริเริ่มของอาเซียน แต่ตอนนี้เราอยู่อันดับที่ 8 หรือ 9 แต่เราต้องเข้าไปเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน

สิ่งที่ฝากไว้คือ คนไทยเป็นคนที่มาแต่ร่างจิตไม่มา

30 ปีก่อน ไทยกับเกาหลีใต้ใครเจริญกว่ากัน ไทยเจริญกว่าในทุกมิติ เมื่อก่อนเป็นไปไม่ได้ที่ประเทศเพื่อบ้านจะมาแข่งกับเราตอนนี้ในบางมิติ ลาว พม่า เขมร แซงหน้าเราไปแล้ว อย่าเรื่องข้าวที่ถูกแซงทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพ

การศึกษาส่วนใหญ่การศึกษาเรื่องที่ไกลตัว  ตอนนี้มีภัยพิบัติเกิดตามธรรมชาติ เป็นการปรับสมดุล เป็นผลพวงจากการที่เราช่วยกันเผาจนโลกเกิดความร้อน

การที่เกิดภัยพิบัติหัวใจความเป็นมนุษย์ทำงาน ออกมาช่วยเหลือกัน

การพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เกิดการอยู่รอด

การที่โอบามาชนะกาเลือกตั้งเพราะการเปลี่ยนแปลง เป็นการขยายพื้นที่ชีวิตและปัญหาของเรา ไม่ได้เปลี่ยนอดีตแต่เปลี่ยนปัจจุบัน

คำพูดของเด็กในวีดีโอกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนที่คนไทยดีกว่าคะ

ผู้ใหญ่ดีแต่พูดไม่ทำเป็นแบบอย่าง

องค์กรสีขาวเป็นองค์กรที่มองการไกลเช่นน้ำมันหมดโลกจะทำอย่างไร

สมองซีกซ้ายมีไว้คิด ซีกขวามีไว้รู้สึก

เรื่อง White ocean

-  ทำให้ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

ผลขององค์กรที่ทำให้มีจริยธรรมสูง

-  กำไรและผลประกอบการดี

-  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าองค์กรอื่น

-  เป็นองค์กรที่มีความสุข

-  เป็นองค์กรที่มีความคิดสร้างสรรค์

-  เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน

** หนังสือเรื่อง White Ocean สามารถดาวน์โหลดได้

องค์กรที่มีhigh performance ประกอบด้วย

1.  Trust สูง

2.  Speed การทำงานเร็ว

3.  ส่งผลให้ Cost ลดลง

ในทางกลับกัน

1.  Trust ต่ำ ส่งผลให้การทำงานสำเร็จน้อย

2.  Speed  การทำงานก็ช้ามาก

3.  ส่งผลให้ Cost สูงขึ้นมาก

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ

1.  Where are we?

2.  Where do we want to go?

3.  How do we get there?

1. Where are we?

-  การเกิดขึ้นขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม

Steve Jobs : “ถ้าเราหาหัวใจเจอ เราก็เป็นสุข” เค้าชอบวิชาประดิษฐ์ตัวอักษร เป็นที่มาของไอแพด ,ไอพอด

การที่เป็นคนรวยแต่นอนในสุสานก็ไม่มีค่าอะไร

2. Where do we want to go?

-  ตั้งเป้าหมายระยะยาว

Bill Gates: เรียนไม่จบ ลาออก เพราะตั้งใจมาทำฝันให้เป็นจริง

“มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง”

-  กระจายโอกาสให้คนทั้งโลก

-  พระพุทธเจ้าตั้งเป้าหมายว่า  1. เราเป็นเลิศที่สุด 2.เราเจริญที่สุด 3. เราประเสริฐที่สุด เรา หมายถึงมนุษย์

-  Purpose and passion เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในชีวิตเรา

-  ในหลวงทรงตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

3. How do we get there?

-  People ต้องดูแลคนทุกคนเหมือนเป็นกัลยาณมิตรเช่น ครู อาจารย์ เราจะเป็นอย่างไรดูได้จากคนที่เราคบ และต้องดู Social Progress

-  Planet ทรัพยากรธรรมชาติ

-  Profit กำไรและต้องดูแลสังคม

-  Passion  อุดมการณ์ และความศรัทธาอันแรงกล้า

-  “EVERYONE IS A WINNER”

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/531366

 

 

 


หน้า 501 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608464

facebook

Twitter


บทความเก่า