Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของ ผศ ทิพยวรรณ นิลทยา

พิมพ์ PDF

 

การเรียนจากประสบการณ์ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์

(ขอนำบทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา ใน www.gotoknow มาเผยแพร่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องของผู้นำ ที่ผมนำบทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเผยแพร่ก่อนหน้านี้)

 

ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง ภาวะผู้นำกับการพยาบาล

โดย ศาสตราจารย์ ดร นพ กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 (บทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา)

 

บรรยายให้กับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ได้ฝึกให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 เป็นพิธีกรแนะนำวิทยากร

นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ดีจนเป็นที่ประทับใจวิทยากร

 

อาจารย์เล่าให้นักศึกษาฟังว่า สมัยเด็กอาจารย์ถูกครูลงโทษ ทำให้ไม่ไปโรงเรียน ต่อมาช่วยงานที่บ้าน เลี้ยงเป็ด

เมื่ออายุ9 ปีไป ทำงานขายของที่ร้านคนจีนทั้งปี 40 บาท

ปีที่ 2 ทำงานทั้งปี มีรายได้ 60 บาท

สรุแล้ว สองปีที่ทำงานมีรายได้ 100 บาท

ในระหว่างที่ฝึกงานเถ้าแก่มีถังน้ำ อาจารย์ต้องหิ้วน้ำไปขายบริเวณสถานีรถไฟ ขายขันละ 5 สตางค์  บางครั้งรถวิ่งออกไปแล้ว อาจารย์จะาจารย์ต้องมีการสิ่งตามรถเพื่อขอขันคืน อาจารย์จึงเล่าว่าอเก่งเรื่องวิ่งขึ้นลงรถไฟ

ต่อมาอาจารย์ย้ายไปอุดร ธานีขายกะปิ น้ำปลา

อาจารย์ว่าประสบการณ์ดังกล่าวอาจารย์โชคดี

เพราะการทำงานคือ การเรียนหนังสือ

 

ที่สำคัญ อาจารย์ส่งหนังสือพิมพ์ที่อินทรอำรุง ครูเจริญ ปราบณศักดิ์ ใช้อาจารย์ไปซื้อบุหรี่ อาจารย์ชอบรับใช้ อยู่มาวันหนึ่ง คุณครูถามอาจารย์เรื่องการเรียน เสนอให้อาจารย์เรียน เข้าเรียน ม 1 ครูใหญ่ช่วยให้ครูสอนกวดวิชาให้ คนรูที่สอนบอกครูใหญ่ว่า อาจารย์เรียนไม่ได้ อาจารย์กล่าวว่าครูเจริญเป็นครูที่มีความเมตตา อาจารย์ใหญ่เจริญจึงสอนให้เอง ทำให้อาจารย์ผ่าน ม 1 ได้

อาจารย์ได้ให้นักศึกษารำลึกถึงภาวะผู้นำของครูเจริญด้วยการปรบมือให้

การทำงานคือการศึกษา

 

เมื่ออยู่ ม 4 อาจารย์พบผู้แทนราษฎรมาหาเสียง ผู้แทนฯเลยชวนอาจารย์ไปอยู่กรุงเทพ ขึ้นรถไฟไปกรุงเทพด้วยกางเกงขาสั้น ไม่สวมรองเท้า อยู่กับ สส ท่านทำงานทุกอย่างในบ้าน สส ได้ฝากให้ท่านเรียนโรงเรียนอำนวยศิลป์ ชั้น ม 5 ครูกวี พันธ์ปรีชา

สอบ ม 6 เข้าโรงเรียนเตรียมได้เลือกให้เป็นประธานนักศึกษาจบได้โล่พระเกี้ยวทองคำ จากนั้นเข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสอบข้ามฟากเรียนที่ศิริราช ตอนกลางคืนสอนติวที่สี่พระยาจนจบแพทย์ศิริราช

อาจารย์เล่าว่าเมื่อจบแล้วกลับไป เริ่มต้นชีวิตทำงานที่เมืองพลบ้านเกิด ทำงานที่สุขศาลา บ้านไม้มีเจ้าหน้าที่เรียกว่าสารวัตรสุขาภิบาลฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

อาจารย์จึงได้รับรางวัลแมกไซไซ โนเบลของเอเชีย ได้รับเครื่องราชย์จากจักรพรรรดิญี่ปุ่น

 

อาจารย์เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย 3 แห่งดังนี้

1.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

2.มหาวิทยาลัยนเรศวร

3.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

ประสบการณ์สอนให้เกิดการเรียนและสร้างภาวะผู้นำของอาจารย์ ดังนี้

  1. เรื่องการทำงานให้ทุ่มเทกับการทำงาน การรู้เรื่องงานเป็นการเรียนที่ไม่เป็นทางการ
  2. ภาวะผู้นำไม่เกี่ยวกับขาว ดำ อายุมาก น้อย แต่เกี่ยวกับประสบการณ์

บันได 3 ขั้น ของภาวะผู้นำประกอบด้วย

1.  ภาวะผู้นำรุ้จักเพิ่มค่าความหมายให้คนอื่น ยกย่องให้เกียรติ เช่น การดูแลผู้ป่วยที่อายุมาก ด้วยการสวัสดี ขอโทษ เป็นสิ่งที่ต้องสะสมไว้

จากการเยี่ยมโรงพยาบาลของญี่ปุ่น มีการสร้างคุณค่าหลังจากการออกกำลงกาย สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอโทษค่ะ ขอให้โชคดีค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ

2.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับงานที่เราทำ จากการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

3.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับตนเองเสมอๆช่วยเหลือผู้อื่นสังคม ด้วยการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองตลอดเวลา

 

อาจารย์มีแนวทางพัฒนานักศึกษาให้เกิดภาวะผู้นำโดย F4

FOCUS FLEXIBLE FAIR FUN

ท้ายที่สุด อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษามาเล่าเรื่องสรุปที่อาจารย์บรรยาย และแสดงความคิดเห็นพร้อมมอบรางวัลเป็นหนังสือ

นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นสรุปบทเรียนและแสดงความคิดเห็น

สรุปว่า ตัวแทนนักศึกษาดังกล่าวสามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำทางการพยาบาลจากการรับฟังแนวคิดของอาจารย์ในวันนี้ ที่สำคัญคือ เห็นแรงจูงใจของนักศึกษาในการทำความดีเพื่อเป็นคนดีเหมือนวิทยากร

เช่่นนี้ ย่อมบรรลุวัตถุประสงค์ของการบรรยายพิเศษวันนี้อย่างเป็นธรรมชาติดีแท้

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2016 เวลา 16:05 น.
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

คำนิยม หนังสือ โคงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย บทความของ อาจารย์วิจารณ์ พานิช

รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ส่งต้นฉบับหนังสือมาขอให้เขียนคำนิยม  อ่านครั้งแรกหนักใจ ไม่รู้จะเขียนอย่างไร  พออ่านรอบสองก็ได้แนวยุทธศาสตร์การเขียน  กลายเป็นการเขียนคำนิยมที่สนุกที่สุดชิ้นหนึ่ง  โปรดอ่านเอาเอง ว่าผมสนุกอย่างไร

 

คำนิยม

หนังสือ โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย

โดย สุธีระ ประเสริฐสรรพ์

วิจารณ์ พานิช

……………

 

ผมอ่านต้นฉบับหนังสือ โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทยโดย รศ. ดร.  สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ แล้วสรุปกับตนเองว่า นี่คือคำอธิบายขั้นตอนของการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ ที่เรียกว่า constructivism นั่นเอง

ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือเป็นธรรมชาติที่สุด เป็นการเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนตั้งหน้าตั้งตาขวนขวายสร้างความรู้บรรจุลงในสมองของตนเองแบบไม่รู้ตัว จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

แตกต่างจากการเรียนรู้แบบมุ่งรับถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปจาก “ผู้รู้” ที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน

ผมแปลกใจที่ดร. สุธีระเขียนในตอนท้ายของหน้า ๒๕ ว่าตนเหนื่อยกับการเขียนหนังสือเล่มนี้ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นผมกลับมองว่าดร.สุธีระสนุกสนานกับการกลั่นหรือตีความ “ปฏิเวธ” ของตนออกมาเป็น  “ปริยัติ” ใหม่คือหนังสือเล่มนี้

ผมมีความเชื่อว่าคนที่ไม่เคยเรียนรู้จาก “โครงงานฐานวิจัย” จะไม่กล้าเขียนหนังสือแบบนี้และมีความเชื่อต่อไปอีกว่าคนที่ไม่คุ้นกับการเรียนรู้แบบ “โครงงานฐานวิจัย” หรือเรียนรู้แบบสร้างความรู้จะอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่รู้เรื่องหรือรู้เรื่องก็รู้แบบไม่รู้จริงและผมเองก็ไม่กล้าอ้างว่าอ่านแล้วรู้เรื่องตามที่ดร.สุธีระอยากให้เข้าใจ

กล่าวใหม่การเรียนรู้แบบที่ดร.สุธีระพยายามอธิบาย (จนเหนื่อย) ในหนังสือเล่มนี้เป็นการเรียนรู้แบบยกกำลังสองคือเรียนรู้ทั้งสาระหรือทักษะเรื่องนั้นๆและเรียนรู้หรือฝึกทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมๆกันได้ทั้งทักษะด้านนั้นๆและทักษะการเรียนรู้

นี่คือการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑

การเขียนคำนิยมให้แก่หนังสือที่ดร. สุธีระเขียนนี้ผมสนุกมากและได้เรียนรู้มากเพราะต้องเขียนแบบ “ไม่กลัวผิด”  คืออ่านต้นฉบับแล้วก็ตีความเอาเองว่าผู้เขียนต้องการบอกอะไรแล้วเขียนเพื่อบอกผู้อ่านว่าเมื่ออ่านและตีความเช่นนี้แล้วผมอยากบอกอะไรแก่ผู้อ่าน

ผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะสนุกและได้ความรู้ยกกำลังสองของที่ผมได้คือได้แนวความคิดว่าการเรียนรู้นั้นไม่ใช่การรับถ่ายทอดความรู้ของผู้อื่นมาใส่สมองของเราทั้งดุ้นเรายิ่งมีต้นทุนความรู้และมีทักษะในการเรียนรู้มากเพียงใดเราจะยิ่งตีความแตกต่างจากต้นฉบับมากเพียงนั้น

เมื่อไรก็ตามที่เรากล้าแตกต่างกล้าบอกว่าเราเข้าใจหรือตีความเรื่องนั้นๆเหตุการณ์นั้นๆว่าอย่างไรโดยไม่กังวลว่าที่เราเข้าใจจะแตกต่างจากที่คนอื่นเข้าใจนั่นคือเครื่องพิสูจน์ว่าเรามีวิทยายุทธว่าด้วยการเรียนรู้พอใช้ได้แล้ว

แต่จริงๆแล้วกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้หยุดอยู่ที่การสร้างความรู้แต่ต้องโยงไปสู่การใช้ความรู้ด้วยดังระบุไว้ในหนังสือหน้า๘ ที่รูปปิรามิดการเรียนรู้และที่หน้าสุดท้ายแม้ว่าความรู้เป็นสากล  แต่การใช้ความรู้มีบริบท

จึงน่าจะสรุปได้ว่าการเรียนรู้จากโครงงานฐานวิจัยเป็นการเรียนรู้สองฐานคือฐานสากลกับฐานบริบทไปในเวลาเดียวกัน

กล่าวใหม่ในสำนวนบู๊ลิ้มเคเอ็ม(การจัดการความรู้) ว่า  การเรียนรู้ที่แท้จริงต้องเรียนให้ได้ทั้ง Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge ในเวลาเดียวกันหรือควบคู่กัน  และเมื่อทักษะแก่กล้า ก็จะสามารถเรียนรู้แบบใช้ให้ Tacit Knowledge กับ Explicit Knowledge มันยกระดับซึ่งกันและกัน  ในลักษณะของการหมุนเกลียวความรู้  เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด

ผมขอขอบคุณ รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ แทนประเทศไทย  ที่เขียนหนังสือโครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทยออกเผยแพร่  หนังสือเล่มนี้จะมีคุณูปการสูงยิ่งในการร่วมผลักดันการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย  นักการศึกษาทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ๓ จบ โดยแต่ละจบจับใจความแตกต่างกัน

 

 

วิจารณ์  พานิช

๘ กันยายน ๒๕๕๕

บนเครื่องบินกลับจากซิดนีย์

 

ปัญหาและอุปสรรคของคนทำความดี

พิมพ์ PDF

ทำความดีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและสังคมในประเทศไทยต้องมีความอดทนสูง ปัญหาที่คนดีๆมีกำลังช่วยสังคมและประเทศชาติต้องเลิกล้มความคิดเพราะข้าราชการที่มีความสำนึกต่ำเอาแต่ความชอบไม่ทำอะไร ไม่ใช่สมองทำงาน

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 4 ปี โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการ สร้างคนให้มีคุณค่า เพื่อรองรับภาคธุรกิจ หลังจาก 4 ปีในการสร้างเครือข่าย คณะกรรมการตกลงที่จะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลและดำเนินการต่างๆเป็นเวลา เกือบ 4 เดือนจึงสามารถยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเป็นมูลนิธิกับเขตหลักสี่ ก่อนที่จะผ่านด่านนี้ต้องใช้เวลาเกื่อบเดือนในการแก้ไขข้อบังคับ จัดเตรียมเอกสารต่างๆในการจดทะเบียน ทางเขตหลักสี่ไม่มีแบบฟอร์มหรือเอกสารใดๆที่จะส่งมอบให้ผู้แจ้งความจำนงในการขอจดทะเบียน เจ้าหน้าที่ บอกสิ่งที่ผู้ขอจดทะเบียนด้วยวาจา และถ่ายเอกสารตัวอย่างบางเรื่องให้ แต่ไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์ จึงทำให้ต้องเสียเวลาไปพบเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 ครั้ง จนสามารถยื่นเอกสารได้ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เขตหลักสี่ได้ส่งเรื่องไปให้ สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง  (วังไชยา ) กระทรวงมหาดไทย

ประมาณเกือบ 2 อาทิตย์ ได้รับโทรศัพท์แจ้งจากเจ้าหน้าที่สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมปกครอง แจ้งให้ไปพบเพื่อชี้แจงเรื่องเอกสารที่ส่งไปขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อไปพบ ก็แจ้งว่าในข้อบังคับที่เขียนไว้ เรื่องกรรมการ ทำให้สับสน และให้ไปจัดทำใหม่ตามตัวอย่างที่ให้มา จึงได้นำมาพิมพ์ใหม่ให้เป็นไปตามตัวอย่าง และได้ส่งไปให้เจ้าหน้าที่พิจารณา ปรากฎว่ามีการพิมพ์ตกหล่น ต้องนำมาแก้ไขใหม่ ในที่สุดต้องใช้เวลา 3 วันก่อนที่จะแก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้อง และส่งให้เจ้าหน้าที่ได้ หลังจากนั้นได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นอีกว่า ที่อยู่ของสำนักงานมูลนิธิที่ระบุในข้อบังคับ ไม่ตรงกับสำเนาเอกสารใบทะเบียนบ้าน ( ที่อยู่ที่พิมพ์ไว้ในข้อบังคับเป็นที่อยู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าในสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งทางเขตเองได้มีการแก้ไขเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อการขยายตัวของบ้านเมือง แต่ไม่ได้เปลี่ยนสมุดทะเบียนบ้านให้ ใช้แค่หมึกเขียนเพิ่มในสมุดทะเบียนแต่ไม่มีรายละเอียดพอ เรื่องนี้เป็นเรื่องของทางการเอง แต่ก็โยนให้ประชาชนต้องเดือดร้อน โดยการต้องเสียเวลาในการนำไปแก้ไขให้ตรงกับเอกสารที่ไม่ทันกับปัจจุบัน) หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้โทรแจ้งผมว่าเอกสารทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว จะทำเรื่องส่งให้วันนี้ (ศุกร์ที่ 2 พ.ย.2555)

วันเสาร์ที่ 3 ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ท่านเดิมโทรมาหา และขอโทษว่าได้ติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย เขาแจ้งว่า ตามหนังสือคำมั่นสัญญา ที่ผู้แจ้งความจำนงบริจาคเงินจำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) เพื่อเป็นทุนจัดตั้งมูลนิธิ จำนวน 23 ท่าน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน)  พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ไม่เพียงพอเพราะไม่เชื่อว่าผู้ให้คำมั่นสัญญานั้นมีฐานะมั่นคงเพียงพอหรือไม่ จึงต้องให้ส่งหลักฐานการเงินของแต่ละท่านไปให้

ผมว่าเป็นความซื่อบื้อของนิติกรท่านนั้น เป็นการทำงานแบบไม่ใช้สมอง เอาแต่ความสบายของตัวเอง ไม่ให้บริการหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มีความตั้งใจทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ  ผมกำลังขอ ชื่อ และ นามสกุลของท่านผู้นั้นอยู่ และคิดว่าจะโทรหานิติกรผู้นั้นหรือหัวหน้าเพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงว่า ปัญหาจริงๆอยู่ที่ไหน ควรจะแก้ไขอย่างไร หรือปล่อยให้เป็นแบบนี้

ไม่ใช่ว่าผมจะต่อต้านหรือไม่ยอมปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ ผมเป็นคนมีเหตุผล ไม่ต้องการให้สิ่งผิดๆผ่านไป และทำกันโดยความเคยชิน มักง่ายเอาแต่ความสบายของตัว โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนและวุ่นวายจากคนที่เขามีความตั้งใจทำความดี เพราะถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ คนดีๆพร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติก็จะหมดความอดทนเลยไม่อยากเปลืองตัวและเปลืองเวลากับสิ่งไร้สาระ

ข้าราชการต้องเป็นผู้ให้บริการประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ ไม่ใช้คอยแต่จะสร้างเงื่อนไข และความยุ่งยากเกินความจำเป็น

ขอให้พิจารณา ข้อบังคับด้านล่างที่กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับเอกสารคำมั่นในการบริจาคเงินทุนในการจัดตั้งมูลนิธิ เพราะถ้าผู้ที่ออกหนังสือคำมั่นบริจาคเงินไม่ทำตามหนังสือคำมั่น มูลนิธิที่ได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนก็ต้องสิ้นสุดการเป็นมูลนิธิ

ท่านนิติกรผู้นี้ดูหมิ่นประชาชนที่มีความตั้งใจบริจาคเงินเพื่อการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ผมคิดว่าผมทนไม่ได้ น่าจะฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาทให้เข็ด

ข้อความในกฎข้อบังคับมูลนิธิ

 

ข้อ 41 การสิ้นสุดของมูลนิธินั้นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุต่อไปนี้

41.1 เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว ไม่ได้รับทรัพย์ตามคำมั่นเต็มจำนวน


 

 

แผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬา

พิมพ์ PDF

แผนพัฒนาทุนมนุษย์

•แผนเตรียมความพร้อมเร่งด่วน
•เน้นให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อสร้างศักยภาพ
ในการแข่งขันแก่กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ภาคธุรกิจ SMEs และภาคท้องถิ่น
•แผนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน
•เน้นการสร้างบุคลากร และการสร้างองค์ความรู้
ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา
แผนพัฒนาทุนมนุษย์เตรียมความพร้อมเร่งด่วน

หลักการและเหตุผล

เป็นแผนการพัฒนาอย่างเร่งด่วนสำหรับทุนมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวและ
มีกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาจะเป็นบุคลากรที่มาจากหน่วยงานทั้งฝ่าย
ที่ออกนโยบาย และฝ่ายที่รับนโยบายมาปฏิบัติ ซึ่งจำต้องมีความรู้ และความเข้าใจพื้นฐานถึงแนวทางการบริหารจัดการอย่างเป็นเลิศในด้านต่างๆ รวมถึงแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน ผู้ประกอบการ ชุมชน และท้องถิ่นอย่างทั่วถึง เพื่อนำสู่การสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมพร้อมสู่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ

1.เพื่อพัฒนาบุคลากรของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจถึงทิศทาง
ของการท่องเที่ยวและกีฬาตามทิศทาง AEC Blueprint
2.เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและการกีฬา สู่การสร้างความเป็นเลิศภายใต้มาตรฐานสากล
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทย

ผลที่คาดว่าจะได้รับตามแผนพัฒนาฯ

1.บุคลากรภาครัฐ และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงทิศทางของการท่องเที่ยวและกีฬา สู่การเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามแนวทาง AEC Blueprint
2.บุคลากรภาครัฐ และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีศักยภาพ และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ที่สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาที่เป็นมาตรฐาน
สู่กลุ่มผู้ประกอบการ ภาคเอกชน สมาคมฯ ชุมชน ท้องถิ่น และประชาชน
4.การสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวและกีฬา จากเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ
ของกลุ่มท่องเที่ยวและกีฬา

กลุ่มเป้าหมายในตามแผนพัฒนาฯ

1.กลุ่มบุคลากรภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา กรมการท่องเที่ยว การกีฬาแห่งประเทศไทย ฯลฯ
2.กลุ่มบุคลากรภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย สำนักส่งเสริมการจัดประชุม สภาอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา สมาคมมวยแห่งประเทศไทย หอการค้า ฯลฯ
3.กลุ่มสถาบันส่งเสริมวิชาชีพ ได้แก่ มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
4.กลุ่มบุคลากรท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าชุมชนในระดับท้องถิ่น ฯลฯ

ขอบเขตด้านพื้นที่ของแผนพัฒนาฯ โครงการนำร่องแยกเป็น 6 กลุ่มตาม Cluster  อันได้แก่

1.กลุ่มภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน
2.กลุ่มภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด
3.กลุ่มภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ตาก ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
4.กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ โคราช สุรินทร์
5.กลุ่มภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎรธานี พัทลุง
6.กลุ่มภาคกลาง กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล

โดยแต่ละกลุ่ม จะประกอบด้วยบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคนั้นๆ จำนวน 6 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน รวมจำนวนกลุ่มเป้าหมายตามแผนพัฒนาทั้งสิ้น 240 คน

 

รูปแบบการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ

1.กิจกรรมการอบรมสัมมนา ความรู้ ความเข้าใจ และทิศทางการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านการบริหารจัดการ การสร้างสัมพันธภาพในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2.กิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Workshop)
3.กิจกรรมการศึกษาดูงาน ประเทศเมียนมาร์ จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม
หรือมาเลเซีย
4.กิจกรรมการฝึกปฏิบัติเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้

กรอบเวลาการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ

แผนพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ในระยะเร่งด่วน
เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน
ในปี พ.ศ. 2558 ดังนั้นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว
กลุ่มละ 2 สัปดาห์ จำนวน 6 กลุ่ม รวมกรอบเวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน

 

พระพุทธศาสนากับการตลาด บทความของ พระมหาหรรษา

พิมพ์ PDF

บทความของ รศ.ดร.พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร "พุทธวิพากษ์การตลาด กิเลสมาร์เก็ตติ้ง"

 

เมื่อวาน (๑๙ ตุลาคม ๕๕) รับนิมนต์อาจารย์เจ้าคุณพระสุธีธรรมานุวัตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ไปเป็นประธานสอบสารนิพนธ์ของนิสิตปริญญาเอก มจร นายชิณญ์ ทรงอมรศิริ เกี่ยวกับการนำเอาหลักการตลาดมาวิเคราะห์ และอธิบายปัจจัยแวดล้อม และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล เนื่องจากส่วนตัวกำลังเขียนหนังสือเรื่อง "พระพุทธศาสนากับการตลาด" ในเวลาเดียวกัน ครั้นได้อ่านงานของนิสิตท่านนี้ เห็นได้ชัดว่าเด็กหนุ่มท่านนี้ทำงานได้ค่อนข่างดี ปัจจัยสำคัญคือพื้นฐานด้านการตลาดที่นิสิตท่านนี้จบการศึกษา ดังนั้น เมื่อนำกรอบที่ได้มามองพระพุทธศาสนาจะทำให้มีทิศทางในการศึกษาและนำเสนอมากยิ่งขึ้น อาจจะติดขัดบ้างในประเด็นการวิเคราะห์แง่มุมทางพุทธเพราะยังเข้าไม่ถึงข้อมูลพื้นฐานสำคัญในหลายๆ ประเด็น แต่โดยภาพรวมแล้วเห็นว่า งานนี้จะมีคุณค่าต่อวงการตลาดตะวันออก ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการศึกษาและนำไปปฏิบัติ

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เรียน Mini MBA ด้านการตลาดมาจากสำนักพาณิชศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์ แม้ศักยภาพส่วนตัวจะเป็นนักการตลาดหัดขับ และมีความรู้เพียงน้อยนิด (Mini) ในศาสตร์ด้านนี้ แต่ก็ถือโอกาสแลกเปลี่ยนในห้องเรียนเสมือนจริงบ่อยๆ กับคณาจารย์จำประจำคณะ และอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียง สิ่งที่ทุกท่านเห็นสอดรับกันประการหนึ่งเกี่ยวกับ "จุดอ่อนของการตลาด" คือ "การตลาดกระตุ้นตัวตัณหา พระพุทธศาสนากระตุ้นตัวธรรมฉันทะดังนั้น ส่วนใหญ่ การตลาดมักจะเน้น "โฆษณา" กระตุ้นอารมณ์ (Emotion) เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความอยาก และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า มากกว่าคำนึงถึงคุณค่าของการใช้จริง (Function) ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "กิเลสมาร์เก็ตติ้" เพราะให้ความใส่ใจ และกระตุ้นตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ให้จำเริญและเพลิดเพลินกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ "การตลาดจะเน้นเสมอว่าต้องทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าแตกต่าง และได้รับการปฏิบัติที่แตกต่าง"   เพราะธรรมชาติของลูกค้าที่มีกำลังซื้อจะซื้อความแตกต่าง และความสะดวกสบายในการเข้าถึงสินค้าและการบริการที่ดีกว่า  ด้วยเหตุนี้ เจ้าของสินค้าและบริการจึงเน้นที่จะสนองตอบ และการปฏิบัติต่อลูกค้าที่มุ่งหวังจะได้รับการบริการที่แตกต่าง  และเพื่อให้ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจึงมีความจำเป็นต้องจ่ายในราคาที่แตกต่าง  จากเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงมีความจำเป็นต้องแบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) โดยการจัดกลุ่มคนออกเป็นบัตรทอง บัตรเงิน และบัตรธรรมดา หรือชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และชั้นประหยัด  แม้ว่าลูกค้าจำนวนตั้งใจจ่ายเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย และเข้าถึงการบริการที่ดีกว่า อย่างไรก็ดี จากตัวแปรดังกล่าว การตลาดอาจจะทำให้เราเห็นแง่มุมในเชิงลบ ๒ ประเด็นใหญ่ คือ (๑) ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ทั้งการเลือกปฏิบัติ สถานะทางสังคมที่แตกต่าง  ข่องว่างระหว่างความรวยกับจน และโอกาสในการเ้ข้าถึงการบริการที่ไม่เสมอภาคเนื่องจากมีกำลังซื้อน้อยกว่า (๒) หลายคนกำลังซื้ออัตตามาประดับตัวเอง โดยการซื้อเกียรติยศ ซื้อความมีหน้ามีตาในสังคม ว่าเป็นกลุ่มคนพิเศษ  ด้วยเหตุนี้  การตลาดในบางมุมจึงหมายถึงการทำการศึกษาและเข้าใจกิเลสของมนุษย์ แล้วนำกิเลสมนุษย์มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นรูปธรรมที่คนสามารถเข้าถึงและสัมผัสได้ โดยเฉพาะการตอบสนองกิเลสมากกว่าการพัฒนาคุณค่าแท้ของชีวิต

จุดเด่นในเชิงบวกที่น่าสนใจประการหนึ่งของการตลาดคือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้แก่สินค่า ผลิตภัณฑ์ (Product) ด้วยการจัดทำหีบห้อให้น่าสนใจ (Packaging) และการบริการ (Service) โดยการค้นหาจุดเน้นของตัวเอง Positioning) เพื่อฉีกแนวให้ผู้บริโภค หรือลูกค้าเห็นความแตกต่าง (Differentiation) ของสินค้าอย่างเห็นได้ชัดว่ามีความโดดเด่นอย่างไร ทั้งสี กลิ่น (Mood&Tone) คุณภาพของสินค้า ตราสินค้า และการบริการ จนนำไปสู่การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและการบริการในที่สุด ดังนั้น หลักการนี้ จึงเริ่มต้นจากการทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย (Perception) ว่าต้องการจะสื่ออะไร เพื่อนำไปสู่การตระหนักรู้ว่า สินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งมีความสำคัญต่อการตอบสนองทางอารมณ์และคุณค่าแท้ (Awareness)  และัตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและการบริการ (Action) ในหลายสถานการณ์ การตลาดที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เกิดจากการที่เ้จ้าของสินค้าทำให้ "ลูกค้ารับรู้ แต่ลูกค้าไม่เคยรู้สึก" ว่า เพราะเหตุใดสินค้านั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ

หากนำหลักการ และภาษาของการตลาดมาอธิบายในมิตินี้ พระพุทธศาสนาเคยใช้หลักการ "Differentiation" ในสมัยพุทธกาล (อาจเรียกชื่อไม่เหมือนกัน) เช่น เรื่อง จากวรรณะที่พระเจ้าสร้างมาเป็นการจัดแบ่งตามหน้าที่ทางสังคม กรรมและการเกิดใหม่ พระพรหมจากผูู้สร้างโลกมาเป็นผู้อาราธนาธรรม และพรหมวิหาร จากโมกษะมาเป็นนิพพาน และการบูชายัญด้วยสัตว์มาเป็นการปฏิบัติตามไตรสิกขา ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้พระองค์จะเป็นกษัตริย์ แต่ได้ออกแบบสังคมสงฆ์ให้สอดรับกับประชาธิปไตย ทั้งอุดมการณ์ ระบบ และวิถีประชาธิปไตยได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง การทำหีบห่อผลิตภัณฑ์ (Dhamma Packaging) ได้มีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค(Customers need) แล้วหลังจากนั้นจึงการออกแบบ และนำเสนอให้สอดรับกับผู้บริโภค และลูกค้า (Consumers&Customers) เช่น ธรรมะสำหรับชาวนาในกสิกสูตร ธรรมะสำหรับคนฝึกม้า ธรรมะสำหรับพ่อค้าในวาณิชชสูตร ทั้งวิสัยทัศน์ ความเชี่ยวชาญ และความสัมพันธ์ ธรรมะสำหรับคนมีความทุกข์ที่นางวิสาขาสูญเสียหลานสาว ธรรมะสำหรับผู้ปกครอง: ทศพิธราชธรรมฯลฯ

คำถามที่น่าสนใจอย่างยิ่งนั้น ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ซึ่งเป็นกรรมการ  ได้สอบถามนิสิตว่า  "ถ้าย้อนกลับไปได้ เราทราบว่าพระพุทธเจ้าใช้หลักการตลาดมาเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เราจะเลือกซื้อสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่พระองค์เสนอขายหรือไม่?!!??"  แม้คุณชิณญ์ในฐานะนักการตลาดได้ตอบคำถาม ดร.พิพัฒน์ในลักษณะ "เผื่อเหลือเผื่อขาด"  แต่บุคคลที่น่าจะตอบได้ชัดเจนท่านหนึ่ง อาจจะเป็น "ดนัย จันทร์เจ้าฉาย" ที่พยายามจะตอบว่า "การตลาดมีความจำเป็นต่อการพัฒนาองค์กรทางศาสนา เพราะหากต้องการให้หลักธรรมทางพุทธศาสนาแพร่ไปให้กว้างไกล การพึ่งพาการตลาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก  ดังนั้น พุทธศาสนาอาจจะต้องถูกทำให้เป็นสินค้า โดยเฉพาะเมื่อต้องการแข่งขันกับสินค้าและวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น ดนตรี กีฬา และความบันเทิง"

การตอบคำถามของนักการตลาดแบบ "White Ocean" ท่านนี้  อาจจะสรุปได้ว่า พระพุทธศาสนาแม้จะเป็นสิ่งที่ดี และมีคุณค่าแก่มนุษยชาติ แต่เพื่อทำให้สิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ และนำไปใช้ได้อย่างสมสมัยสอดรับกับความต้องการของมนุษยชาตินั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องอาศัยเครื่องมือ คือ "การตลาด" เข้าไปช่วยสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างแง่มุมเชิงบวกต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ประเด็นคือ สิ่งมีคุณค่า แม้จะมีคุณค่าในตัวของตัวเอง และหากจำเป็นจะให้สิ่งมีคุณค่าเกิดประโยชน์ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางการตลาดเข้ามาสร้างการรับรู้ให้แก่คนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ การตลาดจึงถือว่าจำเป็นในมุมมองของเขา

แง่มุมของดนัยค่อนข้างจะสอดรับกับมารา ไอน์สไตน์ (Mara Einstein) ที่ย้ำในประเด็นเดียวกันนี้ว่า "ศาสนาเป็นเหมือนกับตราสินค้าเช่นเดียวกับตราสินค้าอุปโภค และบริโภคอื่นๆ เพียงแต่ว่าตราสินค้าทางศาสนาจัดเป็น "ตราสินค้าหรือแบรนด์แห่งศรัทธา"  เพื่อสร้างการรับรู้ และรักษาความภักดีระหว่างศาสนากับลูกค้า ด้วยเหตุนี้ ศาสนาจึงมีความจำเป็นจะต้องปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการลูกค้า และสอดคล้องกับลักษณะของตลาด และวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น"

การตั้งข้อสังเกตของมาราว่า "ตราสินค้าของศาสนาเหมือนกับตราสินค้าอื่นๆ" นั้น อาจจะทำให้นักการศาสนาแนวอนุรักษ์นิยมมีท่าทีเชิงลบต่อมุมมองดังกล่าว แต่การนำเสนอว่า "เป็นตราหรือแบรนด์แห่งศรัทธา"  อาจจะทำหลายท่านมีความโน้มเอียงต่อท่าทีดังกล่าว  แต่หากมองในมิติของพระพุทธศาสนาแล้ว ตราหรือแบรนด์ของพระพุทธศาสนาเป็นทั้ง "แบรนด์แห่งศรัทธาและปัญญา"  กล่าวคือ สะท้อนแง่มุมทั้งอารมณ์ (Emotion) และการใช้สติปัญญาตระหนักรู้ และดำเนินชีวิต (Function) จะเห็นได้ว่า ในชุดขององค์ธรรมต่างๆ เมื่อเริ่มต้นด้วยศรัทธาแล้ว ปัญญาจะเป็นสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนองค์ธรรมศรัทธาอยู่เสมอ เช่น พละ ๕ และอริยทรัพย์

จะเห็นว่า การตลาดที่เน้นแต่ "อารมณ์" เพื่อกระตุ้นให้เกิดตัณหา หรือความรู้จักอยากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั้น อาจจะทำให้มนุษย์เผชิญหน้ากับการแสวงหาสิ่งเสพเพื่อตอบสนองความอยากอย่างต่อเนื่อง แต่การที่มนุษย์มีปัญญารู้เท่าทันความอยาก และเสพอย่างมีสติ โดยตระหนักรู้ถึงคุณค่าแท้ ย่อมทำให้มีท่าทีต่อบริโภคสินค้าและการบริการในฐานะเป็น "สิ่งจำเป็น" มากกว่า "จำยอม" และสนองตอบในฐานะเป็นทาสของการบริโภคเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ และกระแสสังคม หรือค่านิยมผิดๆ

สรุปแล้ว การตลาดจึงดำรงอยู่ในฐานะเป็น "เครื่องมือของศาสนา" มากกว่า "ศาสนาจะเป็นเครื่องมือของการตลาด"  เพราะการตลาดจะเข้ามาทำหน้าที่ในการพัฒนาช่องทางให้ศาสนาในฐานะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางสติปัญญา เพื่อจะพาให้มนุษย์หลุดรอดออกจากความกลัว ความสิ้นหวัง และไร้แรงบันดานใจ  และช่วยใช้หลักการศาสนาไปเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การค้นพบตัวเอง และเข้าถึงความจริงสูงสุดในทางศาสนา หากจะมองในมิตินี้ หากจะมองว่า ธรรมะเป็นประดุจแพข้ามฝาก การตลาดก็อาจจะเป็น "ถ่อ" หรือ "ใบพาย" เพื่อที่จะค้ำยัน และพายเพื่อช่วยให้แพไปถึงฝั่งโดยเร็ววัน


 


หน้า 520 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8654855

facebook

Twitter


บทความเก่า