Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่า นั้น นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 19. เคล็ดลับส่งเสริมการเรียนอย่างเป็นองค์รวม (๒)

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๑๙ นี้ ได้จากบทที่ ๑๑ ชื่อ Tips and Strategies to Promote Holistic Learning   โดยในตอนที่ ๑๘ ได้บันทึก คล. ๔๓ - ๔๘ ไปแล้ว    ในตอนที่ ๑๙ นี้จะเป็น คล. ๔๙ - ๕๐

การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่านั้น   นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม   คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

 

คล. ๔๙  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายด้วย

นศ. สมัยนี้นั่งนิ่งๆ นานๆ ไม่เก่ง   และได้บันทึกแนะนำการกิจกรรมละลายพฤติกรรม   กิจกรรมกลุ่มย่อย และกิจกรรมให้ นศ. เคลื่อนไหวไปแล้ว    ต่อไปนี้เป็น ๔ กิจกรรมเพิ่มเติม ที่เสนอให้นำไปปรับใช้

  • กิจกรรมปาลูกบอลล์ ถือเป็นกิจกรรมกึ่งทบทวนสาระ กึ่งปลุกให้ตื่น   เป็นกิจกรรมที่ครูให้ นศ. ทำหลังจากได้ผ่านการเรียนแบบที่ต้องใช้สมองมาก จนรู้สึกล้า     ทำโดยให้ นศ. ยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน    ครูปาลูกบอลล์เด็กเล่น ไปยัง นศ. คนหนึ่ง    นศ. ที่โดนปาต้องพูด ๒ ประโยค    (๑) ในการเรียนที่เพิ่งผ่านมา ประเด็นใดสำคัญหรือตนสนใจเป็นพิเศษ  (๒) ประเด็นใดยังไม่ชัดเจน    แล้วปาคนต่อไป

จนครบ

  • กิจกรรมการอภิปรายแบบ snowballing ทำโดยฉายประเด็นคำถามที่จะให้อภิปรายคำตอบขึ้นจอ   ให้ นศ. นึกสักครู่    แล้วจับคู่อภิปรายกัน ให้เวลา ๕ นาที    แล้วจับกลุ่ม ๔  ให้เวลา ๑๐ นาที    ต่อด้วยกลุ่ม ๘  ให้เวลา ๒๐ นาที   เช่นนี้ไปเรื่อยๆ คือจำนวนสมาชิกกลุ่มเพื่มขึ้นเท่าตัว และเวลาสำหรับอภิปรายแลกเปลี่ยน ก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวด้วย    ทำเช่นนี้จนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งห้อง

เขาบอกว่า กิจกรรมที่เปลี่ยนสภาพกลุ่มไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ทำให้เกิดสภาพที่ นศ. ได้รับการปลุกให้ตื่นตัว

  • กิจกรรม snowball ทำโดยตั้งคำถามให้ นศ. ตอบลงบนกระดาษ    แล้วปั้นกระดาษเป็นลูกบอลล์ และปาไปมาเป็นเวลา ๑ นาที    เมื่อครูบอก “หยุด” นศ. ผลัดกันอ่านคำตอบจากกระดาษในมือให้เพื่อนฟัง

วิธีนี้เหมาะแก่การให้ นศ. เปลี่ยนอิริยาบท ในคาบการเรียนนานๆ

  • กิจกรรม ค็อกเทล ปาร์ตี้ ให้ นศ. ยืนคุยกับเพื่อน แบบจับกลุ่มตามสบาย และเคลื่อนตัวเปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ    เพื่อคุยกันในประเด็นคำถามหรือการเรียนรู้ที่ตกลงกัน   ครูคอยดูแลว่า นศ. ได้รู้จักกันทั้งห้อง   โดยทำหน้าที่ “เจ้าภาพ”  คอยแนะนำให้ นศ. รู้จักกัน และคุยกัน    ครูอาจทำหน้าที่ เสิร์พ เครื่องดื่ม (ไม่ผสมแอลกอฮอล์) และของว่าง

กิจกรรมเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ นศ. ได้เรียนรู้ตามจริตของตน หรือของคนสมัยใหม่    ที่นั่งเรียนนานๆ ไม่เก่ง    ต้องการการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนอิริยาบท และการสังสรรค์    หากนำมาใช้ใน นศ. ไทย ควรพิจารณาปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม นศ. ไทย

 

คล. ๕๐  นำเสนอเอกสารรายวิชาแบบรูปภาพหรือกราฟฟิก

ปัญหาของ นศ. ปัจจุบันคือไม่ชอบอ่านตัวหนังสือยาวๆ    และมีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า นศ. จำนวนมากไม่ได้อ่านเอกสารรายวิชา    ทำให้ขาดข้อมูลประกอบการเรียนของตน    ดังนั้นจึงมีคนแนะนำให้เขียนเอกสารอธิบายรายวิชาเป็นตาราง หรือเป็นกราฟฟิก    ย่อลงในหน้าเดียว     เพื่อให้น่าอ่าน และดึงดูดจริตของ นศ. ในยุคปัจจุบัน

เขาให้ตัวอย่างการเขียนคำอธิบายรายวิชาชนชั้นทางสังคม เป็นแบบร้อยแก้ว  แบบเป็นตาราง  และแบบเป็นแผนผังหรือกราฟฟิกบอกความสัมพันธ์ของทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดและดำรงอยู่ของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม    ซึ่งเมื่อผมพิจารณาแล้ว เห็นว่าวิธีนำเสนอทั้ง ๓ แบบ ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน   คือหากมีทั้ง ๓ แบบ จะยิ่งช่วยเพิ่มความกระข่าง    แต่นี่คือความคิดของคนชอบอ่าน อ่านแล้วพิจารณา    หากต้องอนุโลมตามนิสัยของ นศ.  ก็น่าจะพิจารณาทดลองนำเสนอหลายแบบ แล้วให้ นศ. โหวด ว่าชอบแบบไหนมากที่สุด   เสนอแบบนี้ งานของครูเพิ่มขึ้น   แต่ก็อาจนำมาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยการเรียนการสอนได้

 

เป็นอันว่า ได้นำเสนอเคล็ดลับ ที่อาจารย์ใช้ดึงดูดความสนใจของ นศ. รวม ๕๐ เคล็ดลับครบถ้วนแล้ว    โดยผม AAR ว่า เคล็ดลับส่วนใหญ่ อยู่บนฐานของบุคลิกลักษณะของ นศ. สมัยใหม่   ที่ไม่เหมือนคนสมัยที่ครูเป็นเด็ก   คนเป็นครูต้องทำหน้าที่ครูแก่ศิษย์โดยรู้ใจ และเอาใจศิษย์    ไม่ใช่สอนตามใจครู

หากเน้นสอนตามใจครู    นศ. ก็จะรู้สึกไม่สนุก และขาดความสนใจ

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๕

 

· เลขที่บันทึก: 504719
· สร้าง: 06 ตุลาคม 2555 17:19 · แก้ไข: 06 ตุลาคม 2555 17:20
· ผู้อ่าน: 47 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 2 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
บันทึกที่เกี่ยวข้อง
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

เผลอแป๊บเดียว มูลนิธิสยามกัมมาจลก็ทำงานมาได้ ๕ ปีแล้ว    โดยตั้งปณิธานความมุ่งมั่นไว้ว่า มูลนิธิฯ มุ่งทำงานด้านพัฒนาเยาวชน เน้นที่การสร้างจิตอาสา วิญญาณสาธารณะ หรือการทำเพื่อผู้อื่น   โดยมูลนิธิไม่ต้องการทำงานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์   ต้องการทำประโยชน์แก่สังคมไทยอย่างแท้จริง   แถมคณะกรรมการ CSR ของธนาคารยังกำหนดด้วยว่า ให้เน้นทำงานแบบเป็น catalyst ไม่เน้นลงมือทำเอง    แต่ให้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานพัฒนาเยาวชน

ตอนนี้ผมได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์    และในการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ ๒๘ ส.ค. ๕๕   คณะกรรมการก็ได้ทบทวนงานในภาพรวมของมูลนิธิสยามกัมมาจลว่ามี ๓ ขา   คือ (๑) สื่อสารเพื่อเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาเยาวชน  (๒) สร้างเครือข่าย  (๓) ต่อยอดกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว

โดยคุณเปา (ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร) ผู้จัดการมูลนิธิ ได้สรุปเสนอที่ประชุมว่า ปัจจัยความสำเร็จของงานพัฒนาเยาวชนมี ๘ ประการ ได้แก่ (๑) พัฒนาการในการดำเนินการ จนทำได้เอง เป็นเจ้าของโครงการเอง (๒) การมีพี่เลี้ยงหรือผู้สนับสนุน  (๓) มีโอกาส  (๔) มีการเรียนรู้ และพัฒนาต่อเนื่อง  (๕) มีเครือข่าย  (๖) มีการขยายผล  (๗) มีกลไกสนับสนุน  และ (๘) มีผู้สนับสนุนหรือเป็น catalyst   โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลอยู่ในกลุ่มนี้   โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลไม่เน้นสนับสนุนเงิน   แต่เน้นสนับสนุน (เป็น enabler/empowerment) ให้เกิดปัจจัยความสำเร็จทั้ง ๘ ประการนี้

คณะกรรมการ CSR แนะนำให้เพิ่มปัจจัยความสำเร็จอีก ๒ ประการคือ (๙) ระบบข้อมูล   (๑๐) ความน่าเชื่อถือด้านการเงิน ซึ่งก็คือทักษะในการทำบัญชีมาตรฐาน และระบบตรวจสอบ

คณะกรรมการฯ ตั้งคำถามว่า ที่ดำเนินการมา ๕ ปี บรรลุผลกระทบต่อสังคมตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่   ตกลงกันว่า มอบให้ฝ่ายจัดการไปคิดหาวิธีประเมินและทีมประเมินมาเสนอในการประชุมคราวต่อไป

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ส.ค. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 504462
· สร้าง: 04 ตุลาคม 2555 09:38 · แก้ไข: 04 ตุลาคม 2555 09:38
· ผู้อ่าน: 102 · ดอกไม้: 10 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 3 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Why Obama Must Goโดย Niall Fergusonในนิวสวีค ฉบับวันที่ ๒๗ ส.ค. ๕๕   ทำให้ผมสงสัยว่านักเขียนผู้นี้เป็นใคร   เมื่อค้นด้วย Google ก็พบว่าเป็นถึง chair professor ที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด และอื่นๆ    และเป็นนักเขียน   ที่สำคัญประกาศตัวเป็นอนุรักษ์นิยม   และเป็นผู้สนับสนุน Mitt Romney ให้เป็นประธานาธิบดี   คือเล่นการเมืองเต็มตัว

 

อ่านประวัติใน Wikipedia แล้วผมก็ประจักษ์ในความเก่งของนักวิชาการท่านนี้   ที่สร้างมิติใหม่ให้แก่วิชาการด้านประวัติศาสตร์   คือเก่งในการตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยสมมติฐานใหม่   ที่ไม่เคยมีคนคิดมาก่อน

 

ผมชอบบรรยากาศทางวิชาการและการเมืองใน สรอ. ที่เปิดเผยโปร่งใส และเปิดกว้าง   นักวิชาการสามารถประกาศตัวเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองได้   แต่เมื่อสวมหมวกวิชาการก็ต้องอยู่กับหลักฐานและความแม่นยำทางวิชาการ

 

โปรดอย่าเข้าใจว่าผมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการเป็นนักวิชาการที่เล่นการเมืองแบบ Niall Ferguson   ที่ผมชอบคือการเป็นนักวิชาการที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ และแม่นยำด้านข้อมูลหลักฐาน   รวมทั้งเปิดกว้างต่อการตรวจสอบทางวิชาการ และสุดท้าย เอาวิชาการเข้าไปแนบชิดสังคมและเหตุการณ์บ้านเมือง    ซึ่งในกรณีของศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ท่านนี้คือเข้าไปแนบชิดกับการเมืองอเมริกัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 504467
· สร้าง: 04 ตุลาคม 2555 10:01 · แก้ไข: 04 ตุลาคม 2555 10:01
· ผู้อ่าน: 106 · ดอกไม้: 12 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 3 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
ดอกไม้
ให้ดอกไม้ สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank EGA, Blank Wasawat Deemarn, และ 10 คนอื่น.
Facebook
Twitter
Google

ความเห็น

เป็นแบบอย่างหนึ่งที่น่าสนใจครับอาจารย์

Ico_66560_279400792177916_1026659708_n
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้
ชื่อ: ชาญโชติ
อีเมล: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ข้อความ:
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ เขียนแบบ Markdown ได้
แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค
ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่อรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม New!
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๕๐
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
ครูต้องจัดให้การเรียนรายวิชามีความแตกต่าง ใน นศ. แต่ละคนได้ เพื่อให้ นศ. แต่ละคนได้เรียนในสภาพที่ท้าทายพอเหมาะ โดยครูหาทางทำความเข้าใจความแตกต่างของ นศ. แต่ละคน แล้วออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่น เพื่อ นศ. แต่ละคนจะเลือกเรียนตามที่เหมาะแก่ตน

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 17. เคล็ดลับท้าทาย นศ. ในระดับที่พอดี

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๑๗ นี้ ได้จากบทที่ ๑๐ ชื่อ Tips and Strategies for Ensuring Students Are Appropriately Challenged

 

คล. ๓๘  ประเมินจุดเริ่มต้นของ นศ.

เนื่องจาก นศ. ในแต่ละชั้น จะมีพื้นความรู้เกี่ยวกับวิชานั้น ไม่เท่ากัน   ดังนั้นครู (และ นศ.) ต้องเข้าใจระดับพื้นความรู้ของ นศ. แต่ละคน   จึงต้องดำเนินการทดสอบพื้นความรู้ของ นศ.   ในวิชาฟิสิกส์มีการทดสอบ Force Concept Inventory in Physics ในวิชาเคมีก็มี the California Chemistry Diagnostic Test ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้   หากครูสอนวิชาอื่น อาจต้องพัฒนาแบบทดสอบขึ้นใช้เอง    โดยมีหนังสือสำหรับค้นคว้าได้แก่ Tools for Teaching และ The knowledge survey :A tool for all reasons

วิธีประเมินพื้นความรู้ของ นศ. แบบที่เรียกว่า the knowledge survey เป็นวิธีการวัดพื้นความรู้และผลการเรียนรู้ที่แตกต่างจาก Pre-test – Post-test   ในลักษณะที่ PTPT วัดที่รายละเอียดของเนื้อวิชา    แต่ the knowledge survey เน้นถามความมั่นใจที่จะตอบข้อสอบตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา

 

คล. ๓๙  ติดตามประสิทธิผลในการเรียนของชั้น

ครูต้องหมั่นถามความเห็นจาก นศ.   ว่าสามารถติดตามการเรียนได้ดีหรือไม่   โดยใช้วิธีการทั้งแบบ ไม่ต้องรู้ว่าเป็นความเห็นของใคร (anonymous)    และแบบถามจากกลุ่ม นศ.

เทคนิค “กระดาษแผ่นจิ๋ว”  (ในหนังสือ Classroom assessment techniques : A handbook for college teachers หน้า ๑๔๘ - ๑๕๓)   โดย ๒ นาทีก่อนจบคาบเรียน   แจกกระดาษแผ่นเล็กๆ   ให้ นศ. แต่ละคนเขียน ๒ ประโยค (ไม่ต้องลงชื่อ)ว่าได้เรียนรู้อะไร   ส่วนไหนยังเข้าใจไม่ชัด   ครูเอาไปอ่านภายหลังเพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงชั้นเรียน

เทคนิค “ดัดแปลงจากกระดาษแผ่นจิ๋ว”  (ในหนังสือ Learner-centered assessment on college campuses : Shifting the focus from teaching to learning หน้า ๑๓๒ - ๑๓๓)   ให้เขียนก่อนจบคาบ ๑๕ - ๒๐ นาที   แล้วครูเอามาตอบหรืออธิบายในชั้นเรียน

ทั้งหมดนี้ ได้ประโยชน์ทางอ้อมด้วย คือให้ นศ. เห็นว่าครูให้ความสำคัญต่อการเรียนของ นศ. มากกว่าการสอนของครู

 

คล. ๔๐  ให้ นศ. เรียนรู้การประเมินตนเอง

ครูต้องช่วยให้ นศ. ประเมินการเรียนและกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง   เพื่อให้ นศ. สามารถรับผิดชอบการปรับให้การเรียนของตนอยู่ในสภาพที่ “มีระดับความท้าทายที่เหมาะสม”   โดยอาจทำงานทบทวนความรู้เพิ่ม   ขอความช่วยเหลือ   หรือท้าทายตนเองด้วยบทเรียนที่ก้าวหน้าหรือยากขึ้น

เขาแนะนำเครื่องมือ Diagnostic Learning Logs โดยให้ นศ. ทำบันทึกรายการ ๒ รายการ สำหรับแต่ละคาบของการเรียน    คือรายการประเด็นสำคัญที่ตนเข้าใจ    กับรายการประเด็นที่ตนยังเข้าใจไม่ชัดเจนพร้อมข้อแนะนำวิธีแก้ไข   บันทึกนี้ช่วยทั้งครู และช่วย นศ.

การใช้ Learning Logs เป็นเครื่องมือสำหรับ นศ. ประเมินการเรียนรู้ของตนเองนี้ คงจะมีหลายแบบ   ศ.เอลิซาเบธ แนะนำแบบที่ระบุไว้ในหนังสือ Learner-centered teaching  : Five key changes to practice (Weimer M, 2002) ด้วย

 

คล. ๔๑  จัดองค์ประกอบของรายวิชาให้มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อสนอง นศ. เป็นรายคน

หัวใจคือการเรียนรู้ของ นศ.   ไม่ใช่การสอนของครู   และสไตล์การเรียนรู้ของ นศ. แต่ละคนไม่เหมือนกัน   ดังนั้น ครูต้องจัดให้การเรียนรายวิชามีความแตกต่างใน นศ. แต่ละคนได้   เพื่อให้ นศ. แต่ละคนได้เรียนในสภาพที่ท้าทายพอเหมาะ   โดยครูหาทางทำความเข้าใจความแตกต่างของ นศ. แต่ละคน   แล้วออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่น เพื่อ นศ. แต่ละคนจะเลือกเรียนตามที่เหมาะแก่ตน   โดยครูพึงเอาใจใส่ความแตกต่างในประเด็นต่อไปนี้

  • ระดับ : หาก นศ. แสดงความเข้าใจสาระนั้นๆ ในระดับหนึ่งแล้ว    ให้ลองจัดให้เรียนสาระที่ซับซ้อนขึ้น หรือให้ลองทำโจทย์ประยุกต์ใช้ความรู้แบบที่ซับซ้อน
  • วิธีเข้าถึงสาระ : เปิดหลากหลายช่องทางที่ นศ. เข้าถึงสาระวิชาได้  ได้แก่การนำเสนอของครู  ตำรา  เอกสาร online  ภาพยนตร์  ไฟล์เสียง  และ CAI (Computer-Assisted Instruction)
  • กระบวนการเรียนรู้ : ใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น การเขียน  การอภิปราย  การสร้างสรรค์  ในหลากหลายระดับความยาก ความซับซ้อน การใช้เวลา การช่วยเหลือจากเพื่อน หรือจากครู
  • ผลิตผล : ให้มีหลักฐานแสดงผลิตผล หรือผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้หลากหลายแบบ นอกเหนือจากการให้ตอบข้อสอบตามปกติ   เช่น การเขียนเรียงความ,  เขียน web page,   นำเสนอเป็นเสนอสื่อผสม,  สาธิต,  role play,  การสร้างโมเดล,  นิทรรศการ,  เป็นต้น
  • พื้นที่ห้องเรียน : ให้สามารถจัดห้องเรียนได้หลายแบบ ไม่ใช่มีแต่จัดโต๊ะนักเรียนเรียงเป็นแถวหันหน้าสู่กระดานดำหรือจอหน้าห้อง อย่างสมัยก่อน   ทั้งนี้เพื่อการเรียนเป็นกลุ่มย่อย   การทำงานกลุ่ม   และการค้นคว้า online   พื้นที่ห้องเรียนไม่ควรจัดแบบเดียวเป็นการถาวร    ควรเปลี่ยนแปลงไปตามวิธีการเรียนรู้ในแต่ละคาบ
  • วัสดุ : วัสดุประกอบการเรียนไม่ได้มีเฉพาะหนังสืออีกต่อไป   แต่มีวัสดุ อีเล็กทรอนิกส์ และ online ให้เข้าถึงได้หลากหลาย   ครูควรเลือกใช้วัสดุหลากหลายชนิดในการสอน เช่น คำคม,  แผนผัง,  รูปภาพ,  คลิปภาพยนตร์,  ผลการประเมิน,  podcast เป็นต้น    และควรเปิดโอกาสและส่งเสริม ให้ นศ. สื่อสารการเรียนรู้ของตนออกมาหลายช่องทาง เช่น เขียนรายงาน, เสนอเป็น presentation, นิทรรศการ, วิดีทัศน์, บันทึกเสียง, เว็บเพจ, บันทึกกิจกรรม, ภาพ, ข้อวิเคราะห์และสะท้อนความคิด, วิกิ, บล็อก, เป็นต้น
  • เวลา : หาทางสร้างความยืดหยุ่นในการเรียน ในท่ามกลางข้อจำกัดของภาคการศึกษา    โดยครูตั้งคำถามกับตนเอง เช่น “เมื่อไรควรเรียนในชั้นรวม กลุ่มย่อย หรือคนเดียว”  “มีเวลาที่การเรียน ๓ แบบนี้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ไหม”  “นศ. ควรทำอย่างไร หากบางคนทำงานเสร็จเร็ว”  “ในการเรียนแบบ online กิจกรรมแบบไหนควรทำพร้อมกัน  กิจกรรมแบบไหนควรต่างคนต่างทำ”

 

คล. ๔๒   ใช้ตัวช่วย (scaffolding) เพื่อช่วยให้เรียนสิ่งที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น

หนังสือให้ตัวอย่างขั้นตอนที่ช่วย นศ. ให้เขียนบทความวิจัยได้

  • โมเดล มีตัวอย่างรายงานผลการวิจัยให้ดู    จะยิ่งดีหากเป็นผลงานของ นศ. ปีก่อนๆ    ทำโดยแบ่ง นศ. ออกเป็นกลุ่มย่อย และแจกผลงานรายงานผลการวิจัยของ นศ. ปีก่อนๆ ให้ดู กลุ่มละ ๒ - ๓ รายงาน
  • คิดออกมาดังๆ ในระหว่างทำงานนั้น
  • จงคาดหวังความยากลำบาก ครูอภิปรายกับ นศ. ว่าคาดหวังความยากลำบาก หรือความผิดพลาดตรงไหนบ้าง  และหวังความช่วยเหลืออย่างไร   เช่นการหาข้อมูลจะทำได้ครบถ้วนไหม   จะต้องระวังปัญหาถูกกล่าวหาว่าขโมยผลงาน (plagiarism) อย่างไร
  • สอนซึ่งกันและกัน ขอให้ นศ. อภิปรายผลงานของตนกับเพื่อน   โดยอาจจับกลุ่มย่อย ผลัดกันนำเสนอร่างรายงาน   และให้ข้อติชมเสนอแนะซึ่งกันและกัน

ศ. เอลิซาเบธ บอกว่า วิธีการใช้ตัวช่วยนี้ มีคนไม่เห็นด้วย   ตำหนิว่าเป็นการลดโอกาสที่ นศ. จะใช้ความพยายามเอาชนะความท้าทายเอง    ผมคิดว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของ นศ.   หากงานนั้นยากมาก จน นศ. มีโอกาสถอดใจสูงมาก   การใช้ตัวช่วยก็น่าจะเหมาะสม

วิจารณ์ พานิช

๓ ต.ค. ๕๕

 

· เลขที่บันทึก: 504452
· สร้าง: 04 ตุลาคม 2555 06:15 · แก้ไข: 04 ตุลาคม 2555 06:15
· ผู้อ่าน: 49 · ดอกไม้: 5 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 4 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

ทุนมนุษย์กับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC)

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

Workshop

  1. ฟังแล้วคิดว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียนหรือครู 3 เรื่องคืออะไร
  2. ถ้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าอยากมี โครงการหนึ่งที่เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนจะทำอะไร

ยกตัวอย่าง

ดร.จีระ ได้ดีเพราะครอบครัว และโรงเรียนเทพศิรินทร์

ทุน

  1. เงิน    - เงินที่มีอยู่ได้มาจากอะไร ได้มาจากคน

-          ทุนอย่างหนึ่งคือเรื่องเงิน คนที่ทำเรื่องเงินต้องเกิดมาเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม

  1. ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ – ขึ้นอยู่กับคุณภาพของชาวนา  ถ้าคุณภาพของชาวนาดี เกษตรจะดี
  2. ทุนทางวัตถุ โรงงาน เทคโนโลยี  - ต้องมีการเรียนรู้ก่อนที่จะทำสิ่งต่าง ๆ
  3. ทุนทางทรัพยากรมนุษย์

สรุป ทุนที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น หนังสือ 8K’s จึงสอนให้เรามีคุณสมบัติที่ดี

ทุนมนุษย์แปลว่า เราต้องเสียก่อนถึงได้มา ต้องลงทุน ครอบครัวต้องลงทุนให้เรา ตั้งแต่กินนม ตอนเรียนหนังสือก็ต้องเสียสละ

ถ้าลงทุนไปแล้ว 10 บาท คืนสังคม 20 บาท แสดงว่าการลงทุนโอเค สรุปคือไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการลงทุน แต่อยู่ที่วิธีการลงทุน

 

อาเซียน คือการมีความสัมพันธ์กับ 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า

สิ่งสำคัญคือ

1.ต้องเข้าใจประเทศเหล่านี้มากขึ้น เพื่อมีความสัมพันธ์กับเขา 3 เรื่อง คือ

- เรื่อง เศรษฐกิจ

- ความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม และ

- ความมั่นคงทางการเมือง

2. ถ้าคนในบ้านในประเทศไทย เป็นคนดี คนเก่งเราจะอยู่ได้  ศักยภาพของคนในบ้าน ต้องมี 8K’s ,5K’s เราจะอยู่รอด แต่ถ้าเราเปิดอาเซียนเสรี แล้วสื่อสารไม่ได้ เราก็จะแพ้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเรื่องการสื่อสารภาษาต่างประเทศ

3. การที่เราอยู่อาเซียนมีการเซ็นสัญญากับประเทศอีก 6 ประเทศเพิ่มเติมคือ จีน ญี่ปุน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  สรุปคือ ถ้าเป็นนักเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าต้องรีบศึกษาเรื่องทฤษฎี ทุนมนุษย์ 8K’s  เกิดมาอย่าเสียชาติเกิดต้องทำประโยชน์ให้กับสังคมไทย

การปรับตัวในวันนี้

  1. สิ่งแรกคือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ ขยายตลาดจาก 60 ล้าน เป็น 600 ล้านคน
  2. ต้องรู้จักตัวเองว่าเก่งอะไร  คนไทยต้องรู้จักคนไทยด้วยกันเอง
  3. การมี 8K’s 5K’s ได้ ต้องเป็นคนใฝ่รู้   เราต้องรู้เขา รู้เรา เช่น ว่าเพราะอะไรประเทศฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะ  ดังนั้นเวลาเราเห็นเขา เราต้องเรียนรู้กับเขา และเขาต้องเรียนรู้จากเรา ดังนั้นควรเรียนรู้ภาษาเพื่อสื่อสารได้
  4. ต้องศึกษาทฤษฎี ทุน 8K’s  5K’s

อย่างแรกคือ ทุนมนุษย์เรียกว่าทุนตัวแม่ เช่นคนเราเกิดมาเหมือนกัน  เรียนเท่ากัน แต่บางครั้งความเก่งอาจไม่เท่ากัน จึงเป็นที่มาของทุนที่ 2 ถึง ทุนที่ 8 คือ

Human Capital               ทุนมนุษย์

Intellectual Capital        ทุนทางปัญญา

Ethical Capital               ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital        ทุนแห่งความสุข

(ทำเพราะอยากทำ ไม่ใช่เพราะต้องทำ ต้องค้นหาตัวเองว่าชอบหรือเปล่า)

Social Capital                ทุนทางสังคม

(การเป็นคนมีคุณภาพต้องมีเครือข่าย ไม่ใช่การทำตัวเป็นกะลาครอบ)

Sustainability Capital       ทุนแห่งความยั่งยืน

(การใช้ชีวิตที่ยั่งยืน คือวิธีการ ทุนมนุษย์คือตัวเรา จะฝังอยู่ในตัวเรา คนเราต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ต้องพร้อมว่าสถานการณ์ในโลกเปลี่ยนทุกวัน อย่าล้าสมัย ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลง เราต้องคิดระยะสั้นเพื่ออยู่รอดในระยะยาว)

Digital Capital                ทุนทาง IT

Talented Capital           ทุนทางความรู้ ทักษะ  และทัศนคติ

(ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ เป็นตัวบ่งบอกว่าเราจะเก่งจริงได้หรือไม่ ตัวอย่าง ไทเกอร์วู้ดส์ มีทักษะดี ความรู้ ใจนิ่ง แต่ความสำเร็จของคนเก่งไม่เท่ากัน ทัศนคติที่ดีคือ Attitude หรือ Mindset คือสิ่งที่เราต่อสู้ในโลกนี้)

ทฤษฎีทุน 5K’s (เมื่อมีพื้นฐานดีแล้วค่อยต่อยอด)

Creativity Capital          ทุนแห่งการสร้างสรรค์

(ต้องมีสินค้า บริการใหม่ ๆ แข่งกับเขา)

Knowledge Capital    ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital        ทุนทางอารมณ์

(คนประสบความสำเร็จต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง)

Cultural  Capital            ทุนทางวัฒนธรรม

(ศึกษารากเหง้า ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเราว่าเป็นอย่างไร)

มูลค่ามี 3 เรื่องคือ

1.Value Added

2.Value Creation

3.Value Diversity

คำถาม มีอยู่ว่า เราจะสร้าง 8K’s และ 5K’s ได้อย่างไร อย่างวันนี้เราสร้างไม่ได้ดีเพราะการศึกษาอ่อนแอ

สรุปคือ 8K’s 5K’s คือคุณสมบัติที่พึงปรารถนา แต่เราจะพัฒนาได้อย่างไร

การดูแลทุนมนุษย์มี 3 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

  1. ปลูกขึ้นมา จะปลูกทุนมนุษย์อย่างไรให้มีคุณภาพ
  2. เก็บเกี่ยว
  3. สร้างมูลค่าเพิ่ม 3 V

สิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนและศึกษาของมนุษย์คือ Learning how to learn เรียนอะไร วิเคราะห์อะไร เอาไปใช้ได้จริงหรือไม่   เรียนแล้วจะทำอะไร

1. อาจารย์ที่ดีต้องกระตุ้นให้เด็กคิด

2. ต้องกระตุ้นให้เรียนมีความสุข มีบรรยากาศที่ดี

3. การเรียนไม่ควรท่องจำมากเกินไป ควรมีการปะทะกันทางปัญญามากขึ้น โลกในอนาคตจะไม่มี 1+1 =2 อีกต่อไป แต่ต้องเป็น 1+1 = 100 เป็นต้น และคำถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำถามเปิด เช่นประเทศไทยอีก 20 ปีจะเป็นอย่างไร  Education คือคิดเป็นวิเคราะห์เป็น

4.ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ และข้ามศาสตร์

สรุป คือ

อาเซียนเสรีทำให้เราเข้มแข็งขึ้น

อาเซียนเสรีทำให้เราเข้มแข็งขึ้น

มีทุนอยู่ 4 ชนิด คือ เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ ถ้ามีทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จะสามารถจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้

 

Workshop

  1. ฟังแล้วคิดว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียนหรือครู 3 เรื่องคืออะไร
  2. ถ้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าอยากมี โครงการหนึ่งที่เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนจะทำอะไร

 

กลุ่มที่ 1

1. ฟังแล้วคิดว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียนหรือครู 3 เรื่องคืออะไร

ข้อ 1 เรื่องการศึกษามีความสำคัญมากเนื่องจากไทย ความรู้เรื่องอาเซียนมีน้อย ภาษาไม่ดี เน้นการทำให้การศึกษาไทยเข้มแข็งขึ้น

ข้อ 2 การมีหัวคิด ไม่เลียนแบบ  จากทุนความคิดสร้างสรรค์

ข้อ 3 ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประสานแนวทางเป็นกระบอกเสียงให้คนไปปรับใช้  ในทุนความยั่งยืน

2. ถ้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าอยากมี โครงการหนึ่งที่เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนจะทำอะไร

คิดโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไทยกับประเทศในอาเซียน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา  ให้มาเรียนรู้และอยู่ร่วมกัน

ดร.จีระ เสนอว่า ถ้าในอนาคตอยากมี Youth Camp เกี่ยวกับอาเซียน มีที่จะทำร่วมกับปปช.ในการแก้ปัญหาคอรัปชั่น  ขอชื่นชมโครงการที่เสนอนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการมอง 2 R อย่างแลกคือเป็นความจริง และตรงประเด็น

อย่างสโมสรไลออน มีโครงการแลกเปลี่ยนอยู่แล้วเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมภาษา อย่างอาจารย์จีระ มีค่ายต่อต้านคอรัปชั่นที่ร่วมกับ ปปช. ถ้าร่วมกันตรงนี้จะเป็นประโยชน์มากโดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านก่อน

 

กลุ่ม 2

1. ฟังแล้วคิดว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียนหรือครู 3 เรื่องคืออะไร

1.ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องหลักการดำเนินชีวิต มีสติแก้ปัญหาต่าง ๆ และ ไอที และควบคุมอารมณ์ให้ได้

2.ความรู้และคุณธรรม  ความรู้ต้องสร้างสรรค์ คนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ เสมอ แต่ถูกปิดกั้นด้วยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ   ต่อมาคือความรู้ไม่อยากให้ลืมรากเหง้าของประเทศไทยเรา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเรา

3. ความสุข ขอให้อยู่บนรากฐานไม่เบียดเบียนคนอื่น ทำในสิ่งที่พึงพอใจ ไม่ให้สังคมเดือดร้อน

ดร.จีระ เสนอว่า

-          ต้องคิดดี มีจิตสาธารณะ มีนวัตกรรม (คิดแล้วนำไปทำ) และมีการทำ Network

-          ข้อสอบที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต คือข้อสอบไม่มีผิดหรือถูก ต้องรับฟังความคิดอย่าปิดกั้น

-          เสนอให้ทุกคาบสอน 40 นาที อีก 10 นาทีให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แล้วถามว่าเอาไปใช้อะไรบ้าง

2. ถ้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าอยากมี โครงการหนึ่งที่เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนจะทำอะไร

โครงการภาษาต่างแดน เนื่องจากโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้ภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่เน้นต่อการบ้าน ทำให้นักเรียนภาษาไม่ค่อย เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลักแต่ก็อยากให้มีภาษาอาเซียนเพิ่มมาด้วย

1.การแลกเปลี่ยน

2.การหาความรู้ทางอินเตอร์เน็ต ติดต่อสื่อสารกับประเทศอื่น ๆ ดู ทำให้ได้ภาษาไปด้วย

ดร.จีระ เสนอให้เอาความรู้ที่มีอยู่ไป Apply และประยุกต์กับโลกปัจจุบัน  คนในห้องสามารถเก่งเท่ากันได้ ถ้ากระตุ้นให้เด็กคิด ต้องเปิดโอกาสให้คนมีศักยภาพ มีเสรีภาพในการคิด  ตัวอย่างสุภาษิตจีน “ปลูกแตงกว่า 3 เดือน ปลูกมะม่วง 3 ปี ปลูกมนุษย์ ชั่วชีวิต”

คุณศักดิ์ชัย บอกว่า หาจากอินเตอร์เน็ตดีมาก เพราะมีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการผู้รู้จริง ๆ จะประสานให้ ในอาเซียนภาษากลางคืออังกฤษ อยากให้ศึกษาแบบเรียนรู้เข้าใจซึ่งกันและกัน

สิ่งที่ต้องการคือให้อาจารย์พูดภาษาอังกฤษและมี สำเนียงที่ถูกต้อง ให้ชาวต่างชาติฟังออกด้วย

 

กลุ่ม 3 (อาจารย์)

1. ฟังแล้วคิดว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียนหรือครู 3 เรื่องคืออะไร

1.การสร้างคนสำคัญยิ่ง ดังนั้นจึงไปปรับการเรียนรู้และวิธีการเรียนในห้องเรียน

2.การปลูกฝังรากเหง้าความเป็นไทย ว่าคืออะไร

3.การพัฒนาครูและนักเรียนไม่ปิดกั้นการเรียนรู้ของตนเอง

ดร.จีระ ฝากท่านผอ.ว่าอาจมี Experiment และมีการสอนเชิงนวัตกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นความรอบรู้ มี Dialogue และ Commentator อย่าคิดว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทันที แต่มีความหวังที่เกิดได้

ยินดีที่อาจารย์เห็นคุณค่า 8K’s 5K’s ซึ่งไม่สามารถสอนได้ด้วยวิธีการแบบเดิม ต้องมีการปรับให้ทันสมัยตามยุค

การสร้าง Habit ของ Life Long Learning คือการเรียนยุคใหม่ ในอนาคต เด็กอาจฉลาดกว่าครูก็ได้ ครูต้องฝึกการเรียนรู้ตลอดเวลา แล้วเอาความรู้ไปปะทะกับความจริง และไปถ่ายทอดให้เด็กนำไปใช้ เพราะทุกวันนี้ ไทยอ่อนแอทางการศึกษามาก เทพศิรินทร์ร่มเกล้าอาจเป็นตัวอย่างพิเศษที่ทำสิ่งนี้ก็ได้

2. ถ้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าอยากมี โครงการหนึ่งที่เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนจะทำอะไร

การพัฒนาการสื่อสารของครู เช่นที่คุณศักดิ์ชัยพูดเรื่องการสอนเป็นภาษาอังกฤษให้นักเรียน

และอีกโครงการคือการเรียนการสอนเรื่องวัฒนธรรมอาเซียน

 


หน้า 524 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5605
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8599271

facebook

Twitter


บทความเก่า