Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

หนังสือ Reckless Endangerment : How Outsized Ambition, Greed, and Corruption Led to Economic Armageddon เปิดโปงคอรัปชั่น (แบบถูกกฎหมาย) ในสหรัฐอเมริกาอย่างล่อนจ้อนและน่าขยะแขยง    ที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่เราเรียกว่า วิกฤตซับไพรม์ บอกเราทำนองเดียวกันกับหนังสือ The Price of Inequality ที่ผมเคยบันทึกไว้ที่นี่

ผมชื่นชมสังคมอเมริกัน ที่เขากล้าเปิดโปง และมีหลักฐานให้เปิดโปง    รวมทั้งมีความอดทนอดกลั้นต่อกัน   แต่ก็แปลกใจว่าทำไมไม่มีกฎหมายให้ฟ้องเอาผิดต่อคนเหล่านี้

แค่อ่านคำนิยมที่ปกหลังของหนังสือ   หรือใน เว็บไซต์ของ Amazon ที่ให้ไว้แล้วตรง Editorial Review เราก็จะเห็นภาพว่า ในสหรัฐอเมริกามีนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นนักวิชาการอยู่ในตัว    ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ   โดยทำงาน investigative journalism    และเลี้ยงตัวได้ดี    ผมฝันอยากให้สังคมไทยเรามีคนและระบบเช่นนี้บ้าง

คนที่เขียนหนังสือเช่นนี้ได้ต้องสะสมทุนปัญญาไว้มาก   ดังที่เขาเขียนไว้ใน Notes on Sources หน้า 309 ว่า ข้อมูลมาจากการทำงาน original reporting ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990s ถึงปี 2010   โปรดสังเกตคำว่า original reporting ผู้เขียนทั้งสองมีข้อมูลยืนยันการเขียนหนังสือเล่มนี้   ผู้มีชื่อถูกพาดพิงจึงฟ้องหมิ่นประมาทเขาไม่ได้

คนที่ถูกระบุเป็นตัวการใหญ่ของวิกฤตนี้คือ James A. Johnson, Chairman and CEO ของบริษัท Fannie Mae   ลองอ่านประวัติของเขาในวิกิพีเดียตาม ลิ้งค์ ที่ให้ไว้ดูนะครับ   จะเห็นว่าเขาทำร้ายสังคมด้วยการฉ้อโกงอย่างไร   และคนแบบนี้อาศัยความสามารถของตน อิทธิพลทางการเมืองและทางธุรกิจ สูบเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเข้าตนเองอย่างไร   เขาเกี่ยวข้องกับโอบามา ก่อนเป็นประธานาธิบดีด้วย   ผมเดาว่าคนแบบนี้มีอยู่ในทุกสังคม   และบางสังคมรวมทั้งไทย ยังไม่มีกลไกเปิดโปงคนแบบนี้อย่างในสหรัฐอเมริกา

วิจารณ์ พานิช

๗ ส.ค. ๕๕

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 08 กันยายน 2012 เวลา 20:16 น.
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

การบูรณาการงาน วทน. เข้ากับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และท้องถิ่นที่นี่

ผมมองว่าการดำเนินการเพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ต่างๆเกิดผลตามแนวทางที่วทน.ทำอยู่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมจึงขอเสนอให้จัดทำฐานข้อมูลสำหรับเชื่อมโยงผู้ใช้กับผู้ผลิตวทน.   โดยคำนึงว่าวทน. ที่มีอยู่เมื่อเอาไปใช้ต้องมีการปรับให้เหมาะมือผู้ใช้จึงควรมีฐานข้อมูล case story ที่เล่าเรื่องราวของการปรับเทคโนโลยี เอาไปใช้ตามบริบทของชุมชนหรือพื้นที่ แล้วเกิดผลดี

ผมมองว่า ควรหายุทธศาสตร์ในการใช้ วทน. เป็นพลังยกระดับสังคมไทย ให้เคลื่อนตัวไปสู่ความเป็น high-income country ก้าวข้าม middle-income trap ได้   ซึ่งอาจมีคนมองว่าเป็นเรื่องยาก ซึ่งผมเห็นด้วยว่ายาก แต่ไม่เหลือวิสัย ไม่พ้นความพยายาม   หากเราร่วมมือกันทั้งประเทศ   เราทำได้ หากเราสามัคคีร่วมมือกัน เลิกทะเลาะกันเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน   หันมาถือประโยชน์ชาติเป็นใหญ่

วทน. เป็นพลังก้าวกระโดด หากใช้เป็น

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ส.ค. ๕๕

 

 

 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 3. ทำไมจึงควรกลับทางห้องเรียน

ครูเพื่อศิษย์ต้องทำมากกว่าการกลับทางห้องเรียน

 

หนังสือ Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day บทที่ ๓ บอกเหตุผลที่ควรกลับทางห้องเรียน   หรืออีกนัยหนึ่งบอกว่า การกลับทางห้องเรียนมีผลอะไรบ้าง   พอจะสรุปได้ดังนี้

  • เพื่อเปลี่ยนวิธีการสอนของครู จากบรรยายหน้าชั้น หรือเป็นครูสอน ไปเป็น ครูฝึก   ฝึกการทำแบบฝึกหัด หรือกิจกรรมอื่นในชั้นเรียน ให้แก่ศิษย์เป็นรายคน   หรืออาจเรียกว่า เป็นครูติวเตอร์
  • เพื่อใช้เทคโนโลยีการเรียนที่เด็กสมัยใหม่ชอบ คือ ไอซีที   หรืออาจเรียกว่าเป็นการนำโลกของโรงเรียน เข้าสู่โลกของนักเรียน คือโลก ดิจิตัล
  • ช่วยเด็กที่มีงานยุ่ง เด็กสมัยนี้ธุระมาก   กิจกรรมมาก   บางคนเป็นนักกีฬา ต้องขาดเรียนไปแข่งขัน   แทบทุกคนมีงานเทศกาล ที่ตนต้องเข้าไปช่วยจัด   การมีบทสอนด้วยวิดีทัศน์อยู่บน อินเทอร์เน็ต ช่วยให้เด็กเหล่านี้เรียนไว้ล่วงหน้า   หรือเรียนตามชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น   รวมทั้งเป็นการฝึกเด็กให้รู้จักจัดการเวลาของตน
  • ช่วยเด็กเรียนอ่อนที่ขวนขวาย ในห้องเรียนปกติ เด็กเหล่านี้จะถูกทอดทิ้ง   แต่ในห้องเรียนกลับทาง เด็กเหล่านี้จะได้รับความเอาใจใส่ของครูมากที่สุด   คือครูเอาใจใส่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยอัตโนมัติ
  • ช่วยเด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน ให้ก้าวหน้าในการเรียนตามความสามารถของตน เพราะเด็กสามารถฟังวิดีทัศน์กี่รอบก็ได้ หยุดตรงไหนก็ได้ กรอกลับก็ได้   ผู้เขียนเล่าว่า เด็กที่หัวไวมากๆ บางคนดูวิดีทัศน์บางบทเรียนด้วย speed x2 ก็มี
  • ช่วยให้เด็กสามารถหยุด และกรอกลับครูของตนได้ ทำให้เด็กจัดเวลาเรียนตามที่ตนพอใจ   เบื่อก็หยุดพักได้   แบ่งเวลาดูวิดีทัศน์เป็นช่วงๆ ได้   เล่นสนุกด้วยการดูวิดีทัศน์ความเร็ว x2 ก็ได้
  • ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เรียกว่า การเรียนแบบ ออนไลน์   การกลับทางห้องเรียน ยังคงเป็นการเรียนแบบนักเรียนมาโรงเรียน   และนักเรียนสัมผัสครู   ห้องเรียนกลับทางเป็นการใช้พลังทั้งของระบบ ออนไลน์ และระบบพบหน้า   ช่วยเปลี่ยนหรือเพิ่มบทบาทของครู ให้เป็นทั้ง พี่เลี้ยง (mentor), เพื่อน  เพื่อนบ้าน (neighbor)   และผู้เชี่ยวชาญ (expert)
  • ช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนดีขึ้น หน้าที่ของครูไม่ใช่เพียงช่วยให้ศิษย์ได้วิชา หรือเนื้อหา   แต่ต้องกระตุ้นแรงบันดาลใจ (inspire)  ให้กำลังใจ  รับฟัง  และช่วยส่งเสริมให้เด็กฝันถึงอนาคตของตน   นั่นคือมิติของความสัมพันธ์  ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของศิษย์   ผู้เขียนเล่าว่า ประสบการณ์ของตนบอกว่า   หลังกลับทางห้องเรียน ศิษย์ที่มีปัญหาส่วนตัว กล้าปรึกษาครูผ่านทางช่องทางสื่อสารสมัยใหม่มากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนกันเอง ข้อเขียนในหนังสือ ในส่วนหัวข้อย่อยนี้ดีที่สุดสำหรับครูเพื่อศิษย์ และผมตีความว่า มีผลเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของนักเรียน   จากเรียนเพื่อทำตามคำสั่งครู   หรือทำงานเพื่อให้เสร็จตามข้อกำหนด   เป็นเรียนเพื่อตนเอง เพื่อการเรียนรู้ของตน   ไม่ใช่เพื่อคนอื่น   มีผลให้เด็กเอาใจใส่การเรียน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในห้องเรียน เกี่ยวกับการเรียน จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ   นักเรียนที่เข้าใจ ทำแบบฝึกหัดได้ จะช่วยอธิบาย หรือช่วยเหลือเพื่อน   สร้างไมตรีจิตระหว่างกัน

  • ช่วยให้เห็นคุณค่าของความแตกต่าง ซึ่งโดยธรรมชาติ เด็กในชั้นเรียนเดียวกันมีความแตกต่างกันมาก   มีความถนัดและความชอบที่แตกต่างกัน   การกลับทางชั้นเรียนช่วยให้ครูเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียน แต่ละคน   เพื่อนนักเรียนด้วยกันก็เห็น   และช่วยเหลือกันด้วยจุดแข็งของแต่ละคน

เนื่องจากครูเดินไปเดินมาทั่วห้อง   ครูจะสังเกตเห็นเด็กที่กำลังพยายามดิ้นรนช่วยตนเองในการเรียน   และสามารถเข้าไปช่วยเด็กที่ไม่ถนัดเรื่องนั้นให้เอาใจใส่เรียนเฉพาะ ส่วนที่จำเป็น   ไม่ต้องทำแบบฝึกหัดทั้งหมด   คือไม่ต้องทำแบบฝึกหัดส่วนที่เป็นความรู้ก้าวหน้าหรือท้าทายมาก   ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษในวิชานั้นเท่านั้น    ช่วยให้นักเรียนที่อ่อนในด้านนั้นไม่รู้สึกมีปมด้อย

  • เป็นการเปลี่ยนการจัดการห้องเรียน ผู้เขียนเล่าว่า ตนแปลกใจมากที่ปัญหาที่พบบ่อยในชั้นเรียนหายไปเอง    ได้แก่ ปัญหาเด็กเบื่อเรียน  ก่อกวนชั้นเรียน  หรือหลบไปนั่งใช้ สมาร์ทโฟน แช็ท กับเพื่อน   รวมทั้งสิ่งไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนอื่นๆ   เนื่องจากในห้องเรียนกลับทาง นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการ   ไม่ใช่เป็นผู้รับถ่ายทอดอย่างในห้องเรียนแบบเดิม   ไม่มีครูมายืนสอนปาวๆ หน้าชั้นให้น่าเบื่อหน่ายอีกต่อไป

แต่อย่าเข้าใจผิด ว่าเด็กเรียนอ่อนจะหมดไป   ครูยังคงมีประเด็นที่สำคัญกว่าในการจัดการชั้นเรียน ให้ครูได้ทำ   ซึ่งผมตีความว่า ห้องเรียนกลับทาง เปิดช่องให้ครูได้ทำหน้าที่สำคัญเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างคุณภาพแก่ชั้นเรียน   ให้นักเรียนได้เรียนรู้ดีที่สุดแก่ชีวิตในอนาคต   การสร้างสรรค์นี้มีได้ไม่จำกัด

  • เปลี่ยนคำสนทนากับพ่อแม่เด็ก จากถามว่าเด็กอยู่ในโอวาทของครูหรือไม่   ไปเป็นถามว่า เด็กได้เรียนรู้หรือไม่   หากเด็กคนไหนไม่ได้เรียนรู้เท่าที่ควร ผู้ปกครองและครูจะร่วมกันช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร
  • ช่วยให้การศึกษาแก่พ่อแม่ และคนในครอบครัว ผู้เขียนพบว่าพ่อแม่เด็กบางคนดูวิดีทัศน์ไปพร้อมกับลูก   บางบ้านดูกันทั้งบ้านก็มี   ทำให้ผู้ใหญ่ก็ได้เรียนวิชานั้นไปด้วย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ด้อยโอกาส
  • ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการจัดการศึกษา ผู้เขียนบอกว่า ในสหรัฐอเมริกา มีปัญหาคนไม่ศรัทธาเชื่อมั่นในระบบการศึกษา    การกลับทางห้องเรียน เอาคำสอนใน วิดีทัศน์ ไปไว้บน อินเทอร์เน็ต   เป็นการเปิดเผยเนื้อหาสาระของการเรียนแก่สาธารณะ   ใครๆ ก็เข้าไปดูได้   ผู้เขียนบอกว่าในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนต้องแข่งขันกันดึงดูดนักเรียนมาเรียน   ก่อนหน้าการกลับทางห้องเรียน  โรงเรียนที่เขาสอนสูญเสียนักเรียนบางคนให้แก่โรงเรียนในละแวก ใกล้เคียง   หลังจากกลับทางห้องเรียน นักเรียนเหล่านั้นกลับมา    ผมตีความว่า เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของการเรียนการสอน ให้แก่ผู้ปกครอง
  • นำไปสู่การเรียนรู้แบบ flipped-mastery approach

 

เหตุผลที่ผิด ในการดำเนินการกลับทางห้องเรียน

  • เพราะมีคนแนะนำให้ทำ จงไตร่ตรองเองจนเห็นคุณค่าชัดเจน แล้วจึงทำ   อย่าเชื่อใครง่ายๆ
  • เพราะคิดว่าเป็นการทำให้เกิด ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ การสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั้น รูปแบบการเรียนรู้ต้องนำเทคโนโลยี   ไม่ใช่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ
  • เพื่อแสดงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี จริงๆ แล้ว การกลับทางห้องเรียน ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนำสมัย
  • คิดว่าการกลับทางห้องเรียน เป็นเครื่องบอกว่า ตนเป็นครูที่ดี การเป็นครูดี มีมากกว่าสอนดี
  • คิดว่า การกลับทางห้องเรียน ช่วยให้ชีวิตการเป็นครูง่ายขึ้น การกลับทางห้องเรียนไม่ทำให้ชีวิตครูง่ายขึ้น

สรุปว่า การกลับทางห้องเรียน เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับช่วยให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดี ย้ำคำว่า อย่างหนึ่ง เพราะการเรียนรู้ที่ดียังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลากหลายประการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเป็นครูที่ดี ต้องทำมากกว่าการกลับทางห้องเรียน

 

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ย. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 500936
· สร้าง: 02 กันยายน 2555 13:23 · แก้ไข: 02 กันยายน 2555 13:24
· ผู้อ่าน: 76 · ดอกไม้: 5 · ความเห็น: 0 · สร้าง: ประมาณ 19 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
เวลาของครูจะใช้สำหรับมีปฏิสัมพันธ์สองทาง กับศิษย์ ทำให้เด็กที่เรียนช้าหรือหัวช้าได้รับการเอาใจใส่ ครูจะไม่ยืนอยู่หน้ากระดานดำที่หน้าชั้นอีกต่อไป แต่จะเดินไปเดินมาในชั้น เพื่อช่วยเหลือลูกศิษย์ที่มีปัญหาก

ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง  : 2. ห้องเรียนกลับทางเป็นอย่างไร

หนังสือ Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day บทที่ ๒ เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของผู้เขียนหนังสือท่านหนึ่ง คือ Aaron Sams ในวิชาเคมีสำหรับนักเรียน AP (โครงการเรียนล่วงหน้า - Advance Placement Program)

เขาบอกว่าต้องฝึกวิธีดูวิดีโอที่บ้านอย่างได้ผลดี ให้แก่เด็ก   เริ่มตั้งแต่แนะนำให้ขจัดสิ่งรบกวนสมาธิ ได้แก่ปิดโทรศัทพ์  ไอพ็อด  ทีวี  และตัวรบกวนอื่นๆ   แนะนำให้เด็กรู้จักหยุดวิดีโอ หรือดูบางตอนซ้ำ    บอกเด็กว่า โดยการดูวิดีโอ เด็กสามารถ “หยุด” และ “กรอกลับ” ครูได้   แนะนำให้กดปุ่มหยุด เพื่อจดบันทึกประเด็นสำคัญหรือคำถาม   แนะนำให้ไปศึกษา วิธีจดบันทึกแบบ Cornell สำหรับนำมาใช้

ตอนกลางคืนนักเรียนทุกคนได้ดูวิดีทัศน์สาระวิชาที่จะเรียนในวันรุ่งขึ้น พร้อมทั้งจดประเด็นสำคัญ  จดคำถาม หรือส่วนที่ไม่เข้าใจ

ชั้นเรียนในโรงเรียนนี้ให้เวลาคาบละ ๙๕ นาที

เริ่มด้วยการใช้เวลาสั้นๆ ทบทวนวิดีทัศน์ และตอบคำถามสิ่งที่ไม่เข้าใจหลังดูวิดีทัศน์   ซึ่งจะช่วยให้ครูได้แก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียนบางคน   หรือถ้าเด็กทั้งชั้นเข้าใจผิดก็แสดงว่าวิดีทัศน์มีข้อบกพร่อง ครูจะได้แก้ไข

หลังจากนั้น ครูมอบงานให้ทำ   โดยอาจเป็น lab, หรือเป็นกิจกรรมค้นคว้า, โครงงานหรือกิจกรรมแก้ปัญหา, หรือการทดสอบ    ตามปกติจะมีเวลาทำหลายกิจกรรมข้างต้น

เขายังคงให้คะแนนจากการทดสอบ เช่นเดียวกับการสอนแบบเดิม

บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง   คือไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้   แต่ทำบทบาทไปทางเป็นติวเตอร์   ซึ่งผมเรียกว่าเป็นโค้ช หรือเป็นผู้จุดประกาย โดยการตั้งคำถามยุแหย่ให้เด็กคิด สร้างความสนุกสนานในการเรียน   และเป็นผู้อำนวยความสดวกในการเรียน

เวลาของครูจะใช้สำหรับมีปฏิสัมพันธ์สองทางกับศิษย์   ทำให้เด็กที่เรียนช้าหรือหัวช้าได้รับการเอาใจใส่   ครูจะไม่ยืนอยู่หน้ากระดานดำที่หน้าชั้นอีกต่อไป   แต่จะเดินไปเดินมาในชั้น เพื่อช่วยเหลือลูกศิษย์ที่มีปัญหาการเรียน

กิจกรรมและเวลาที่ใช้ เปรียบเทียบระหว่างห้องเรียนแบบเดิม กับห้องเรียนกลับทาง แสดงในตารางข้างล่าง

 

ห้องเรียนแบบเดิม

ห้องเรียนกลับทาง

กิจกรรม warm-up 5 นาที

กิจกรรม warm-up 5 นาที

ทบทวนการบ้านของคืนก่อน 20 นาที

ถาม-ตอบ เรื่องวิดีทัศน์ 10 นาที

บรรยายเนื้อวิชาใหม่ 30 – 45 นาที

กิจกรรมเรียนรู้ที่ครูมอบหมายหรือ นร. คิดเอง หรือ lab 75 นาที

กิจกรรมเรียนรู้ที่ครูมอบหมายหรือ นร. คิดเอง หรือ lab 20 - 35 นาที

 

 

ในห้องเรียน ครู Aaron Sams จะเริ่มเวลา 75 นาทีสำหรับทำกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการแนะนำวิธีทำแบบฝึกหัด หรือทำร่วมกัน 2-3 ข้อ แล้วปล่อยให้นักเรียนทำเอง   แนะนำวิธีใช้คู่มือเฉลยคำตอบแบบฝึกหัด เป็นต้น   ครูจะเน้นช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักการ ไม่ใช่ท่องจำ   หัวใจคือครูเน้นทำหน้าที่ช่วยแนะนำการเรียนของเด็ก ไม่ใช่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ครูเปลี่ยนจากบทบาทปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งชั้น   เป็นมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเป็นรายคน

วิจารณ์ พานิช

๑ ก.ย. ๕๕

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 กันยายน 2012 เวลา 15:46 น.
 

ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการจัดการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยาย ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการจัดการ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทฤษฎี 3V

-         Value Added มูลค่าของคนจะแตกต่างกันไป

-         Value Creation หากมีความใฝ่รู้ ก็จะมีความคิดนอกกรอบได้

-         Value Diversity

ทุนที่สำคัญที่ขับเคลื่อนทางธุรกิจ 4 ทุน คือ

1. เงิน (money)

2. คน (man)

3. ทรัพยากรธรรมชาติ

4. เครื่องจักร  (material)

Production Function  : โดยที่ประเทศไทยสนใจเรื่องทรัพยากรมนุษย์น้อยที่สุด เพราะไทยมีทรัพยากรธรรมชาติมาก เพราะเมื่อก่อนฝ่ายบุคลากรมีบทบาทน้อย และไม่พัฒนา

วิชา MBA คนส่วนใหญ่เรียนจบมาแล้วทำงาน Routine มักจะไม่เกิดประโยชน์ ต้องมีการคิดนอกกรอบ ประเทศไทยจึงจะอยู่รอดได้ในอนาคต

ปัจจุบันองค์กรจะมีเด็กรุ่นใหม่ที่เก่งเยอะ เพราะฉะนั้นคนทุกคนต้องมีการใฝ่รู้ ต้องมีการกระตุ้นตัวเองให้เป็นเลิศ

Michael Hammer กล่าวว่า ทุกวันนี้โลกเราเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเรื่อง ธุรกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำนายได้ในอนาคต จึงจะต้องมีวิธีการจัดการทุนมนุษย์

สิ่งสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาให้คนให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง

ท่านพารณ อิศรเสนา ณ กล่าวว่า คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

1. การปลูกทรัพยากรมนุษย์

2. ใช้ประโยชน์จากคนเหล่านั้นได้อย่างไร เรียกว่า เก็บเกี่ยว (Harvest) เพื่อดึงความเป็นเลิศออกมา สิ่งแรกที่ควรศึกษา คือคุณธรรม จริยธรรม

3. ทำอย่างไรให้สำเร็จ

4. เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของทุกอย่างที่อยู่นอกองค์กร เช่น สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจสังคม การเมือง

การเอาชนะอุปสรรค ต้องวิ่งไปหามูลค่าเพิ่ม

1. ต้องค้นหาตัวเอง ขาดอะไร มีจุดอ่อนอะไร

2. องค์กรได้อะไร

3. ประเทศได้อะไร

4. โลกได้อะไร

เป้าหมายของอ.จีระ คือ การมาให้ความรู้ แล้วนศ.มาจากต่างที่ ซึ่งมีความหลากหลาย อยากให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

สุภาษิตจีน กล่าวว่า ปลูกพืชล้มลุก..  3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น..  3-4 ปี

พัฒนาคน..  ทั้ง

คือ ความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมของคน

ปัญหาวันนี้ คือ คนรุ่นเก่า และใหม่ คุยกันไม่รู้เรื่อง ทำให้ไม่ทำงานร่วมกัน ซึ่งจะต้องมีการทำงานด้วยกันจึงจะเกิดประโยชน์ ซึ่งการพัฒนาคนจะใช้เวลา

ความทะเยอทะยานของคนในประเทศไทย มีจำกัด ซึ่งอยู่ที่จิตวิญญาณ

 

วัตถุประสงค์วันนี้

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก  ประชาคมอาเซียน (AC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และการเตรียมความพร้อมเรื่องทุนมนุษย์
  2. เปิดโลกทัศน์ให้ทุกท่านเห็นการเปลี่ยนแปลง
  3. สร้างแรงบันดาลใจ มองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจ และสนุกกับการฟังในวันนี้
  4. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเองและค้นหาองค์กรของท่าน..ว่าจะปรับตัวอย่างไร?
  5. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Communities)

หลักการรู้- รัก - สามัคคี

-         รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง

-         รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ

-         สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

 

กฎของ Peter Senge : ไม่ควรสนใจการเรียนเพื่อสอบอย่างเดียว ต้องมีการอยากรู้อยากเห็น (Curiosity)

-         Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

-         Mental Models     มีแบบอย่างทางความคิด จุดอ่อนของคนไทย คือ ชอบลอก ชอบเชื่อสมมติฐานผิดๆ สังคมไทยทุกวันนี้ คือ เด็ก คิดไม่เป็น หรือ เรียกว่า Wisdom

-         Shared Vision      มีเป้าหมายร่วมกัน

-         Team Learning    เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

-         System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล  ถ้าไม่มีความคิดเป็นระบบก็ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้

 

 

ทฤษฎี 4L’s

1. Learning Methodology   มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2. Learning Environment    สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities  สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4. Learning Communities   สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 3L’s

1. Learning from pain                    เรียนรู้จากความเจ็บปวด ความล้มเหลว

2. Learning from experiences        เรียนรู้จากประสบการณ์

3. Learning from listening                          เรียนรู้จากการรับฟัง

ทฤษฎี 2R’s

1. Reality - มองความจริง  สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

2.  Relevance - ตรงประเด็น

ทฤษฎี 2I’s

1. Inspiration – จุดประกาย

2.  Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

ทฤษฎี C-U-V

1. Copy  น้อยๆ

2.  Understanding มากๆ

3. Value Creation/Value added

- การศึกษาเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุด

ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการจัดการทุนมนุษย์

-         3 V

-         ปลูก

-         เก็บเกี่ยว

-         Execution

+ Macro - Micro

ให้แต่ละโต๊ะสรุป 3 ประเด็น ที่อยากได้จากการเรียน

โต๊ะ 1

1. อยากได้ประสบการณ์ของอ. ทั้งชีวิตส่วนตัว และการงาน ทั้งที่สำเร็จ และล้มเหลว

2.กลยุทธ์การบริหารคน และการรักษาคนในองค์กรที่เก่ง

- ทั้งเรื่องความหลากหลายของเชื้อชาติ

3.กลยุทธ์ในการให้พนักงานมีความภักดีกับองค์กร

ความทะเยอะทะยาน คือ การทำให้เรามีเป้าหมายที่สูง ทั้งตัวเอง และส่วนรวม เหมือนการหาความรู้ การใฝ่รู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามคุณธรรม และจริยธรรม

โต๊ะ 2

1. การจัดระบบความคิด เพื่อให้เกิดมุมมองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

- ต้องมีเหตุและผล คิดนอกกรอบ

- ประเทศไทยต้อง Back to Basic

- data à information àKnowledgeà Value Added

2. วิธีการดึงศักยภาพของคนออกมา เพื่อความยั่งยืน

- การกระตุ้นให้คนเป็นเลิศ เป็นทั้งศิลปะ และวิทยาศาสตร์

- ต้องให้ CEO มาช่วย

- โลกอนาคตมีใหม่ๆมาเสมอ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ คน ในการนำพาองค์กรให้สำเร็จ

- หลักการเรียนที่สำคัญ คือ ต้องมี New Parameter อยู่เสมอ

3. อยากให้อาจารย์สอนเรื่องทุนทางอารมณ์และทัศนคติ

โต๊ะ 3

1.อยากทราบวิธี แนวคิดกับการค้นหาศักยภาพของตัวเรา โดยใช้ระบบการคิดเป็นระบบ

2.ทำอย่างไร เมื่อพัฒนาแล้ว จะรักษาไว้กับตัวเรา

- ตรงกับทฤษฎี Life Long Learning

3.ในอนาคตที่โลกเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไร เราจึงจะเอาชนะและอยู่รอดได้

โต๊ะ 4

1.อยากได้ประสบการณ์ทั้งภายใน และภายนอกว่ามีนวัตกรรมอะไรที่ใช้ในการบริหารคน

2.มีวิธีเก็บเกี่ยวและผลักดันศักยภาพอย่างไร ให้เกิดเป็นความยั่งยืน

3.ทำอย่างไรจึงจะเอาชนะอุปสรรค ที่เกิดจากความไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

โต๊ะ 5

1.กลยุทธ์วิธีการที่จะบริหารคนรุ่นเก่าและใหม่ โดยไม่เกิดความขัดแย้ง

- สามารถนำทฤษฎี 8K 5K มาประยุกต์ได้

2.วิธีการพัฒนาศักยภาพและวิธีการคิดให้ก้าวผ่านกำแพงของตัวเอง

3.อยากรู้วิธีการพร้อมของ HR และตัวเองในการรองรับAEC

-ให้เวลาอยู่กับตัวเอง ให้ นิ่ง และลึกเพื่ออยู่กับตัวเอง ประมาณ 30 นาที และอ่านหนังสือในสิ่งที่เราอยากอ่าน และอ่านหนังสือภาษาอังกฤษที่ดีไว้บ้าง

โลกเปลี่ยนจากยุคเกษตร ไปอุตสาหกรรม และยุค IT  ซึ่งในอนาคตจะต้องเน้น

-         Ethics+ การมีคุณธรรม เป็นคนดี

-         sustainability+ การอยู่รอด อย่างยั่งยืน  ขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์ ซึ่งสิ่งที่ทำในระยะสั้นต้อง อยู่รอดในระยะยาว

  • สุขภาพต้องแข็งแรง
  • เป็นคนที่ทันเหตุการณ์

-         wisdom+ หากได้รับการกระตุ้นก็จะมีมากขึ้น

-         creativity+ มาหลังจากจินตนาการ

-         Innovation+ การนำไอเดียใหม่ที่สร้างสรรค์ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้หลุดจากmiddle income trap

-         intellectual capital ทุนทางปัญญา

ในอนาคตในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์อีก 10 ปีข้างหน้า ต้องมองเรื่อง Intangible

การมองทรัพยากรมนุษย์อย่างครบวงจร ในเรื่องการออกแบบสถาปนิกในเรื่อง HR

 

-         คุณสมบัติของทุนมนุษย์เป็นที่น่าสงสัยว่า เราผลิตบุคลการแบบไหน

-         ทั้งปัญหาเรื่องการแข่งขัน ประชาธิปไตย ความยากจน สิ่งแวดล้อม โลกาภิวัตน์

-         ถ้าเจ้านายไม่มีกาพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร ก็จะมีปัญหาเรื่องการแข่งขัน ต้องมีการปลูก เพื่อทดแทนระบบการศึกษา

-         สังคมไทย เป็นประเทศที่มีทรัพยากรมนุษย์อ่อนแอ เพราะเด็กไทยไม่สนใจเรื่องเรียน สนใจแต่เรื่องปริญญา เพื่อเป็นใบเบิกทางในการทำงานเท่านั้น

-         ปริญญาไม่ใช่ปัญญา

ก่อนจะพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับประเทศ เราคงจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาประชากรขั้นพื้นฐาน ได้แก่

1. โครงสร้างประชากร เพราะไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน เพราะอัตราการตายและเกิดมีอัตราใกล้กัน ส่วนใหญ่ การเกิดเป็นผู้หญิงที่เข้าสู่การทำงาน ซึ่งไทยมีจำนวนมากที่สุดในโลก ปัญหาในอนาคต ประชากรลดลง แต่คุณภาพก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น

2. ปัจจุบันขาดแคลนแรงงาน และคุณภาพของแรงงาน

3. คนเข้าตลาดแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

4. การเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศต่างๆ การบริหารแรงงานที่มาจากหลายชาติ

สภาพแวดล้อมภายนอก หลายคนมองไปถึงโลกาภิวัตน์ และที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ “ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community:AC) และ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic  Community: AEC)จะกระทบต่อเราอย่างไร? สัญญาแรก คือ  การตกลงหลายกลุ่ม  ต้องนำมาประยุกต์กับ AEC

โลกาภิวัตน์และผลกระทบไม่ได้มีเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น

  1. Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
  2. เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AC & AEC
  3. เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน
  4. บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา   ติดตามใกล้ชิดกับบทบาท ปัจจุบันมีกลุ่ม บริท ได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้
  5. เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right สิทธิมนุษยชน
  6. เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นCrisis ที่น่ากลัวที่สุดในอนาคต
  7. เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
  8. เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทนซึ่งปัจจุบัน สนใจเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์
  9. เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯ
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 กันยายน 2012 เวลา 15:44 น.
 


หน้า 526 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8631430

facebook

Twitter


บทความเก่า