Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs

พิมพ์ PDF

คุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs โดย กฤษฎา เสกตระกูล
เอกสารบรรยายในโครงการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ 5 กันยายน 2548
Ryan et al. (1999, p.12-13) ได้รวบรวมและสรุปปัจจัยที่จะทำให้ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ 
และประสบความล้มเหลว โดยแยกได้เป็นดังนี้
10 ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
1) มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ (Willingness to succeed)
การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องทั้งลงทุนและลงแรง ต้องทำงานหนักแทบไม่จะ
ไม่มีวันหยุด เพราะต้องวางแผน ตัดสินใจ ดำเนินการ แก้ไขปัญหาอยู่เกือบตลอดเวลา ลักษณะดังกล่าวนี้จึงจำ
เป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
2) มีความมั่นใจในตนเอง (Self – confidence)
คนที่เชื่อมั่นในตนเองจะเป็นคนที่มีกำลังใจให้ตนเองสูง ไม่กลัวที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค จึงมี
โอกาสสูงที่จะบรรลุกับความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ คุณสมบัตินี้จะทำให้คนที่ทำงานด้วยหรือคนอื่นที่
เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นตามไปด้วย
3) มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจน (A clear business idea)
ผู้ประกอบการจะต้องรู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในธุรกิจอะไร ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนคืออะไร ธุรกิจของ
ตนเมื่อเทียบกับคู่แข่งมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังต้องรู้ยุทธวิธีว่าทำอย่างไร ธุรกิจของตนจึงจะ
ประสบความสำเร็จได้ เช่น รู้ว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนถูกใจผู้บริโภคได้มากกว่า
มีคุณภาพมากกว่า เป็นต้น
4) มีแผนงานที่เป็นระบบ (The business plan)
การมีเฉพาะแนวคิดทางธุรกิจที่ดีไม่ได้ยืนยันว่าผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จ แต่ควรจะมีแผน
งานที่เป็นระบบด้วย แผนงานนี้ เรียกว่า แผนธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถในการสร้างแผน
ธุรกิจ เพื่อชี้ให้เห็นว่า จะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยใคร เมื่อใด ใช้เงินทุนเท่าใด จะได้ผลอย่างไร การมีแผน
ธุรกิจที่ชัดเจนจะช่วยให้เราวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่และที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เหมือนมีแผนที่อยู่
ในมือทำให้ไม่หลงทาง
5) มีความสามารถในการบริหารการเงิน (Exact control of finances)
ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากสร้างตัวขึ้นมาได้จากการใช้ทักษะด้านการตลาด หรือการผลิต แต่มักละ
เลยไม่พัฒนาทักษะในเรื่องบัญชีและการเงิน โดยมักจะโยนให้เป็นหน้าที่ของพนักงานบัญชี ซึ่งเป็นสาเหตุ
หนึ่งที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของเงินทุนในกิจการ ยิ่งเมื่อกิจการเติบโต ความซับซ้อนและปริมาณของกิจกรรม
ทางการค้ายิ่งมีมากขึ้น ผู้ประกอบการควรทราบว่า ขนาดที่แท้จริงของกิจการเป็นอย่างไร เช่น มีสินทรัพย์ ราย
ได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เป็นอย่างไร ควรรู้วิธีการตรวจสอบฐานะทาวการเงินและผลการดำเนินงานของกิจ
การ จะได้รู้ปัญหาและหนทางแก้ไขปัญหาก่อนได้
6) มีความสามารถทางการตลาด (Targeted marketing)
ในยุคของการแข่งขันแบบนี้ ความสามารถทางการตลาดเป็นทักษะที่สำคัญที่จะทำให้กิจการอยู่รอดได้ ผู้
ประกอบการจะต้องแสดงฝีมือด้านนี้ให้เห็นชัดเจนว่า ตนเองรู้วิธีการที่จะนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาดให้
ประสบผลสำเร็จได้
7) มีความสามารถมองเห็นสภาพของการแข่งขันในอนาคตได้ (A step ahead of the competition)
ในการทำธุรกิจนั้น แนวคิดแผนงานมักกระทำกันในวันนี้ แต่การดำเนินงานจริงมักจะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งมีความไม่แน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีจะต้องคาดการณ์ได้แม่นยำว่าสภาพตลาดและการแข่งขันจะ
เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และทำการวางแผนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความ
พร้อม ไม่ได้รอคอยโอกาสทางธุรกิจเข้ามาเฉย ๆ
8) มีแหล่งสนับสนุนที่ดี (Management support)
ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จนั้นมักจะเป็นบุคคลที่รู้จักเครือข่าย แหล่งสนับสนุนต่าง ๆ ที่ที่มี
ผลต่อธุรกิจของตน เช่น ผู้ประกอบการอาวุโสที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันที่สามารถสนับสนุนแนวคิด และวิธีการ
แก้ไขปัญหาในลักษณะที่คล้ายกัน สถาบันการเงินที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเงินทุนและการขยายกิจการ
เป็นต้น การพัฒนาตนเองให้มีเครือข่ายกว้างขวางจะช่วยทำให้มีที่ปรึกษามากในการขอความสนับสนุนใน
ด้านต่าง ๆ ในอนาคต
9) มีทักษะในการประสานงาน (Cooperation)
ผู้ประกอบการควรทราบว่าตนเองไม่สามารถรู้ทุกเรื่อง และทำทุกเรื่องด้วยตัวคนเดียวได้ โดยเฉพาะเมื่อ
กิจการเริ่มขยายตัว การมีทักษะการประสานงานทั้งภายในกิจการ (กับพนักงานตนเอง) และกับภายนอกกิจการจะ
ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทักษะในการประสานงานนี้รวมถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การมี
ทักษะในการสื่อสาร การสั่งการ การมีภาวะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดงาน เป็นต้น
10) มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม (Clear company structure)
การจัดองค์กรที่เหมาะสมไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีโครงสร้างองค์กรเหมือนบริษัทใหญ่โดยทันที แต่
หมายถึงการมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน เหมาะกับขนาดของกิจการ และสามารถปรับเปลี่ยน
ได้เป็นระยะ ๆ ตามขนาดขององค์กรที่เติบโตขึ้น
10 ปัจจัยที่ทำให้ประสบความล้มเหลว
1) ไม่มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ (Weak personality)
บุคลิกภาพในที่นี้ หมายถึง ความเชื่อมั่นในตนเอง การมีพลังที่จะต่อสู้ ไม่ยอมแพ้ การขาดความมุ่งมั่นนี้
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการจำนวนมากที่ล้มลุกคลุกคลานมาหลาย
ครั้งกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องมีกำลังใจดีมาก ดังนั้นจึงต้องไม่คิดว่าจะไม่เจออุปสรรคใด ๆ เลยในการ
ทำธุรกิจ
2) ไม่ชอบพบปะผู้คน (The loner syndrome)
การทำธุรกิจจะต้องพบปะผู้คน ต้องรู้ความต้องการของผู้บริโภค รู้จักพนักงาน รู้จักผู้ผลิตและจำหน่าย
วัตถุดิบ รู้จักหน่วยงานราชการ และบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น เจ้าของกิจการจึงต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การที่มีนิสัย
ส่วนตัวไม่ชอบพบปะผู้คน เป็นคุณลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
3) ไม่มีแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน (Nebulous business ideas)
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวคือ บุคคลที่ไม่รู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในธุรกิจอะไร หรือรู้แต่ไม่ศึกษาว่าธุรกิจนั้น
กำลังถูกคุกคามจากอะไร คู่แข่งมีการปรับตัวอย่างไร ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมหรือไม่ มักจะทำ
ธุรกิจในรูปแบบเดิมอยู่ตลอดเวลา
4) ไม่มีแผนงานที่เป็นระบบ (No plan)
บางครั้งผู้ประกอบการมีแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน แต่เวลานำแนวคิดไปปฏิบัติลงในรายละเอียด กลับมี
ลักษณะเป็นมวยวัด อย่างนี้มีโอกาสจะล้มเหลวได้ง่าย เพราะแสดงถึง การทำงานแบบไม่เป็นระบบ การทำ
แผนงานเอาไว้จะทำให้กำหนดทิศทางและรายละเอียดเอาไว้ก่อน ทำให้ไม่ลืม เพราะสมองคนเราไม่สามารถ
จำทุกเรื่องและดึงออกมาทุกเรื่องอย่างเป็นระบบทุกครั้งที่เราต้องการได้
5) ไม่มีแหล่งเงินทุนของตนเอง (Too little financial backing)
แม้จะมีตัวอย่างมากมายของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการเริ่มต้นจากศูนย์ คือไม่มีเงินเลย
แต่ต้องทราบด้วยว่าในที่สุดกิจการที่จะเติบโตได้ก็ต้องใช้เงินทุน ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากศูนย์ก็ต้องเก็บ
หมอรอมริบให้ตนเองมีเงินทุนเพื่อใช้ดำเนินการเช่นกัน การขาดเงินทุนของตนเองทำให้ไม่มีฐานเงินทุนใน
ส่วนของเจ้าของ ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงมากสำหรับสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ให้
6) ไม่มีความรู้ในการบริหารกระแสเงินสด (Cash – flow troubles)
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวมักจะไม่มีความรู้ในการจัดการ วางแผนเกี่ยวกับกระแสเงินสดเข้าและออก เมื่อ
ขายสินค้าไปเกิดลูกหนี้ ถ้าประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ไม่ดี เกิดหนี้เสียมาก ก็จะทำให้กระแสเงินสดไม่เข้า
มาอย่างที่คาดหวังไว้ ในขณะที่ถ้าเงินสดรับที่เข้ามาช้านี้ ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าแรง ค่าสินค้า วัตถุดิบได้ ก็จะ
ทำให้เกิดภาวะขาดสภาพคล่อง และส่งผลลบต่อการดำเนินงานด้วย
7) ไม่มีกลยุทธ์การตลาดที่ดี (No marketing strategy)
สถิติในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของผู้ประกอบการรายใหม่ที่ล้มเหลวและออกไปจากตลาดสืบ
เนื่องมาจากการไม่มีกลยุทธ์และการวางแผนการตลาดที่ดีพอ ซึ่งส่งผลต่อการไม่สามารถขายสินค้าได้ เนื่อง
จากกลยุทธ์ที่ใช้ไม่สามารถตรงใจและดึงดูดใจลูกค้าได้
8) ไม่มีระบบการควบคุม (No controlling)
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวจำนวนหนึ่ง มักเป็นนักธุรกิจที่ชอบรุกไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงว่า
เมื่อสร้างธุรกิจขึ้นได้ตามความฝันแล้ว การจะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนจะต้องดำเนินการควบคุมให้ได้
ผลตามเป้าหมายอย่างไร การไม่มีระบบการตรวจสอบหรือการควบคุม จะทำให้ไม่สามารถทราบว่า แต่ละหน่วย
งานในกิจการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ระหว่างหน่วยงานหรือไม่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
9) ไม่มีบุคลากรที่ดี (The wrong people)
ผู้ประกอบการมักจะสูญเสียเงินทองเป็นจำนวนมากในการว่าจ้างพนักงานที่ไม่มีความรู้ ความสามารถที่
เหมาะสมมาช่วยงาน ทำให้ต้องลงมาดูงานในรายละเอียดทุกอย่าง ทั้งที่บางครั้งไม่จำเป็น ทำให้การทำงานขาด
ประสิทธิภาพ ไม่สามารถขยายงานได้ หรือบางครั้งทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานจนก่อให้เกิดความล้ม
เหลวได้
10) ไม่มีการคาดการณ์สภาพการแข่งขันได้อย่างเหมาะสม (Underestimating the competition)
การมีแนวคิดที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันเสมอไปว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะการแข่งขันในธุรกิจ
มีอยู่ตลอดเวลา เราทำสิ่งหนึ่งได้ คนอื่นก็อาจจะทำตาม หรือทำให้ดีกว่าได้ ผู้ประกอบการที่ไม่เรียนรู้สภาพที่
แท้จริงของตลาด หรือประมาณการระดับการแข่งขันต่ำกว่าความเป็นจริงมีโอกาสล้มเหลวได้มาก

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 มกราคม 2012 เวลา 14:15 น.
 

น้ำท่วม

พิมพ์ PDF

วันที่ 20 ตุลาคม หลังจากมีข่าวเรื่องน้ำทะลักเข้าคลองประปา ผมได้ไปดูและพบเจ้าหน้าที่เขาแจ้งว่าไม่ต้องตกใจเพราะเจ้าหน้าที่เขากำลังปรับระดับน้ำในคลองประปา ขอให้ไปรอฟังแถลงการณ์ ผมได้ตระเวนดูรอบๆหมู่บ้านที่ผมอาศัย และบริเวณหมู่บ้านและแหล่งชุมชนที่ใกล้เคียง พบบางแห่งมีน้ำซึม ส่วนหมู่บ้านที่ผมอยู่ไม่มีน้ำล้นออกมา ดูที่ท่อระบายน้ำก็ยังปกติ แต่มีคนห่วงภรรยาผมมากทั้งเพื่อนและพี่น้องต่างโทรมาให้ออกจากบ้านและไปพักที่บ้านญาติที่สุรินทร์ หรือบุรีรัมย์ ไม่มีใครฟังผม ในที่สุดทั้งครอบครัว ภรรยา ลูกทั้งสามคน น้องสาว ต่างเห็นด้วยกับการจัดเตรียมขนของขึ้นชั้นสอง และสั่งซื้อกระสอบทรายมาเพิ่มอีก 100 กระสอบ เหนื่อยกับการจัดเตรียมของทั้งวัน ภรรยาวิ่งซื้อของแห้งมากมายและจัดเตรียมของสองชุด คือชุดที่จะทิ้งไว้ที่บ้าน และของที่เตรียมตัวจะนำออกไป ผมเลยต้องเป็นเบ้รับใช้ตลอดในการวิ่งหาซื้อของ (ภรรยานำรถของเขาไปจอดที่จอดรถของกรมมาหลายวันแล้ว ลูกสาวคนโตนำรถไปจอดที่ทำงานของเขาเช่นกัน จึงเหลือรถของผมคันเดียว เดิมจะให้ผมไปหาที่จอดตั้งแต่เช้า ผมจึงโทรติดต่อพรรคพวกตามโรงแรมที่คิดว่าจะนำรถไปจอด ก็ได้มา 3-4 แห่ง แต่ผมยังไม่ยอมนำรถไปจอดโดยไม่ถึงเวลาจริงๆ) จน 16.00 น ข่าวจากทีวี และกระแสข่าวจาก social Media ของลูกสาว ทำให้ทุกคนตัดสินที่จะปิดบ้านและออกไปอยู่ที่อื่น จึงศึกษาหาเส้นทางไปจังหวัดสุรินทร์แต่ยังไม่สามารถหาเส้นทางที่เหมาะสมได้  เพราะไม่สามารถออกไปทางรังสิตได้ จึงตัดสินใจออกไปทางชลบุรีและไปหาที่นอนก่อน วันรุ่งขึ้นจึงคิดหาเส้นทางไปสุรินทร์

 

17.00 น ขึ้นทางด่วนมุ่งสูงชลบุรี ใช้เวลาจากถนนงามวงศ์วาน ขึ้นถึงทางด่วนร่วม 1 ชั่วโมง สาเหตุเพราะติดรถที่ไปจอดตรงทางขึ้นทางด่วน จอดแถวเดียวไม่ว่า เล่นจอดกันถึง 3 แถว จนในที่สุดรถยกต้องมานำรถกีดขวางจราจรออกไป ทำให้เสียเวลามาก เมื่อหลุดพ้นรถติดมาได้ ระหว่างวิ่งอยู่บนทางด่วนช่วงบางนาไปชลบุรี ฝนตกมาก ต้องค่อยๆขับไม่เกิน 60 ก.ม.ต่อชั่วโมง ถึงชลบุรี โทรหาเพื่อนขอให้ช่วยแนะนำโรงแรมเพื่อนอนพักหนึ่งคืน ก่อนเดินทางต่อไปสุรินทร์ในวันรุ่งขึ้น เพื่อหลายคนทราบเรื่องช่วยจัดหาโรงแรมให้พัก หลายแห่งด้วยกัน เช่นในจังหวัดชลบุรี บางแสน และพัทยา ในที่สุดเลือกพักที่บางแสน  The Tide Resort  เมื่อเข้าพักโรงแรมลูกสาวได้ติดตามข้อมูลตลอดเวลา ในที่สุดตกลงว่าวันรุ่งขึ้นจะไปพักที่พัทยา เพื่อดูสถานการณ์สัก 1-2 วัน แทนที่จะไปสุรินทร์ เพราะไกลเกิดไป และไม่แน่ใจเส้นทาง

 เช้าตื่นขึ้นมาภรรยาและลูกสาวตกลงที่จะกลับกรุงเทพ เพื่อมาเก็บของต่อเนื่องจากตอนออกจากบ้านรีบจนลืมเก็บของสำคัญอีกหลายรายการ

14.00 น กลับถึงบ้านทุกอย่างปกติ ยังไม่มีวี่แววน้ำเข้ามาในหมู่บ้าน และเริ่มมีความหวังว่าที่บ้านอาจจะรอดจากภัยน้ำท่วม หรืออาจจะมีน้ำเข้าบ้างแต่ไม่มาก ไม่ควรจะเกิน หน้าแข้งซึ่ง ทุกคนรับได้ จึงช่วยกันจัดเก็บของที่เหลือให้เรียบร้อยเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมโดยไม่ประมาท ลูกสาวและภรรยาได้ลุ้นติดตามข่าวจนถึง ตีสาม จึงเข้านอน ส่วนผมเพลียมากเลยนอนตั้งแต่หัวค่ำ

 

เช้าวันที่ 22 ตุลาคม ได้ขับรถจากบ้านในหมู่บ้านท่าทรายติดกับ North Park มาตามถนนหลักของหมู่บ้านผ่านโรงเรียนการเคหะท่าทราย (หนึ่งในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของเขตหลักสี่)ไปออกถนนประชาชื่นเลี้ยวซ้ายผ่านหน้ามหาวิทยาลัยธุรกิจไปออกแยกพงศ์เพชร (ถนนประชาชื่นช่วงจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตไปถึงสี่แยกพงศ์เพชรประมาณ 2-3 ก.ม. บางแห่งมีน้ำอยู่บนถนนฝั่งซ้ายเลียบคลองประปามีน้ำแฉะๆบนถนนนิดหน่อย) พอเลี้ยวซ้ายเข้าถนนงามวงศ์วาน ช่วงใต้สะพานขาลงข้ามแยกพงศ์เพชรมีน้ำท่วมขังพอประมาณ รถเล็กวิ่งได้สบายระยะทางไม่เกิน 100 เมตร พอพ้นช่วงน้ำขังก็เป็นถนนแห้งสนิทไปตลอดสายจนถึงถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนเข้าถนนวิภาวดีรังสิตผมเลี้ยวซ้ายเข้า Local Road เลียบทางรถไฟคู่ขนานไปกับถนนวิภาวดี เลี้ยวซ้ายเข้า North Park ผ่านทะลุ North Park ไปออกหลัง ม.ธุรกิจบัณฑิต และออกถนนประชาชื่น ถนนแห้งตลอด วิ่งย้อนเข้าไปในหมู่บ้านชินเขตที่โทรทัศน์แจ้งว่าน้ำท่วมปรากฏว่าในหมู่บ้านชินเขตบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำไม่ท่วม มีเพียงบริเวณหมู่บ้านชินเขตที่ด้านหลังติดกับคลองประปาน้ำเอ่อมาจากท่อระบายตามถนนที่อยู่ในพื้นที่ต่ำล้นมาท่วมถนนภายในหมู่บ้านชินเขตระยะสั้นๆรถเก๋งยังวิ่งได้ ที่เหลือถนนแห้งตลอด สรุปหมู่บ้านที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ถนนประชาชื่น  ถนนงามวงศ์วาน ถนนวิภาวดี น้ำยังไม่ท่วม มีเพียงพื้นที่บริเวณแอ่งเล็กๆเท่านั้นที่มีน้ำเอ่อท่วม รถวิ่งผ่านไปมาได้

ได้เข้าไปดูในถนนสามัคคี เริ่มจากถนนประชาชื่นบริเวณโรงผลิตน้ำประปาทะลุไปออกถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายไปพบสี่แยกแครายเลี้ยวซ้ายเข้าถนนงามวงศ์วานตรงไปที่แยกพงศ์เพชรถนนแห้งตามปกติ

 

สรุปได้ว่าการแจ้งข่าวจากทางโทรทัศน์แต่ละสถานีทำให้คนวิตกเพราะภาพสถานที่ๆน้ำท่วมออกอากาศซ้ำๆ และคนพูดบางที่ก็ไม่ตรงกับภาพที่ออกอากาศในชั่วนั้น การออกข่าวพูดในบริเวณกว้างทำให้คนเข้าใจผิด เช่นว่าน้ำท่วมชินเขต ความจริงบริเวณที่น้ำท่วมในชินเขตเล็กน้อยไม่ถึง 1%  ของหมู่บ้านทั้งหมด ข่าวที่ออกไปทำให้คนเข้าใจผิด หรือแม้นกระทั่งแจ้งว่าน้ำล้นคลองประปา ก็ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าน้ำล้นช่วงไหนบ้างมากน้อยแค่ไหน ถนนเลียบครองประปายาวมากไม่ต่ำกว่า 35 ก.ม. มีการกล่าวถึงเขตหลักสี่ หรือเขตดอนเมือง ต้องระบุให้ชัดว่าตรงจุดไหนระบุไปเลยว่าหมู่บ้านใดบ้างจะกระทบ ไม่ใช่ออกข่าวกว้างๆ ทำให้ญาติพี่น้องของคนที่ไม่อยู่ในบริเวณนั้นเข้าใจผิดและเป็นห่วงกันเกินเหตุ ทำให้แตกตื่น ผมสังเกตหลายครั้ง นักข่าวที่อยู่สถานีมักจะถามนักข่าวในท้องที่มากมาย หลายๆคำถามลึกกว่าที่นักข่าวท้องถิ่นจะรู้เมื่อถูกถามมากๆเลยตอบตามความคิดของตัวเอง :ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องและให้ประโยชน์ต่อผู้รับฟัง สร้างความเครียดและวิตกกับผู้ฟัง ข่าวบางครั้งออกซ้ำซาก โดยไม่ได้แจ้งว่าข่าวที่ออกเป็นช่วงเวลาเท่าใด เมื่อเอาข่าวซ้ำมาออกหรือเอาข่าวที่เกิดในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้มาออก ทำให้ข่าวไม่ถูกต้องในเวลานั้น

 

ดังนั้นเราต้องไปดูด้วยตาตัวเองในบริเวณรอบๆบ้านที่เราอยู่ และสังเกตดูระดับน้ำในท่อบนถนนในหมู่บ้านเราเป็นหลัก ข้อมูลข่าวสารที่ผมเห็นว่าใช้ได้ใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ที่สุด คือ วิทยุ FM คลื่น 92.5 (สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานนี้โทรทัศน์ Thai PBS รองลงมาก็เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 เดิม) TNN พอใช้ได้

 

สรุปทางรัฐต้องควบคุมการบริหารจัดการข่าวให้เกิดประโยชน์และตอบคำถามของประชาชนได้ ไม่ใช่แย่งกันออกข่าว และสร้างการแข่งขันในการแย่งผู้ชม  นักข่าวต้องมีทักษะและมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

22 ตุลาคม 2554

22.10

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2011 เวลา 22:56 น.
 

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อน ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

คณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ กำหนดประชุมในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๖.๓๐-๑๙.๐๐ น ณ Software Park โดยมีวาระการประชุมดังนี้

๑.เรื่องเพื่อทราบ

๒.รับรองรายงานการประชุมวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔

๓.เรื่องติดตาม

  • แผนงานด้านสมาชิก
  • แผนงานด้านวิชาการ
  • แผนงานด้านการหารายได้

๔.เรื่องเพื่อพิจารณา

  • จดทะเบียนนิติบุคคล
  • แต่งตั้งคณะทำงานเพิ่ม

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 18:28 น.
 

สมการธุรกิจ

พิมพ์ PDF

สมการธุรกิจ

ทุน+การจัดการ=ลูกค้า+รายได้-ค่าใช้จ่าย (การจัดการ)

ทุน = ทรัพย์สิน+ต้นทุนการจัดการ

การจัดการ = บริหารธุรกิจ+บริหารคน (ต้นทุนในการจัดการ)

การจัดการ =บริหารทรัพย์สิน+บริหารคน (รายจ่ายในการจัดการ)

คน = ทรัพย์สินมีชีวิต

 

ทุน+การจัดการ=ลูกค้า+รายได้-ค่าใช้จ่าย (การจัดการ)

การทำธุรกิจต้องมีการลงทุนในเบื้องต้น ได้แก่การซื้อหรือจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำมาทำธุรกิจ วัตถุดิบเหล่านี้เราเรียกว่าวัตถุดิบที่จับต้องได้หรือทรัพย์สินไม่มีชีวิต การทำธุรกิจเมื่อมีวัตถุดิบแล้วแต่ถ้าขาดการจัดการก็ไม่สามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ (ต้นทุนการจัดการเป็นต้นทุนที่คิดยากและจับต้องไม่ได้ ประกอบด้วยหลายๆปัจจัย) นักลงทุนโดยทั่วไปไม่ได้นำต้นทุนการจัดการมาคิด จึงทำให้ผลการทำธุรกิจผิดเป้าหมายและไม่สามารถทำให้ธุรกิจนั้นเดินต่อไปได้ เพราะไม่ได้หาเงินทุนเตรียมไว้สำหรับการจัดการ โดยทั่วไปคิดว่าการจัดการเป็นรายจ่าย ดังนั้นเมื่อหาเงินมาลงทุนในวัตถุดิบเสร็จเรียบร้อยก็สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ เมื่อเปิดดำเนินธุรกิจได้ก็จะมีรายได้เข้ามาหมุนเวียน และควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินรายได้ ทำให้การจัดการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นเหตุทำให้ไม่สามารถหาลูกค้าและมีรายได้ตรงตามเป้าที่คาดการไว้

ทุนทรัพย์สิน+ต้นทุนการจัดการ ทำให้เกิด

การทำธุรกิจ แต่ก่อนจะทำธุรกิจจะต้องมีวางแผนการตลาด ได้แก่การกำหนด Position ของธุรกิจเราว่าจะอยู่จุดใดของตลาด โดยการวิเคราะห์ คู่แข่งเรามีใครบ้าง (ศึกษารายละเอียดของคู่แข่งและนำมาเปรียบเทียบกับของเรา) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จำนวนส่วนแบ่งตลาด ต้นทุนการบริหารจัดการ ต้นทุนการผลิต ความคุ้มทุนของการทำธุรกิจ กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กำหนดราคาขายตาม segmentation ต่างๆ กำหนดช่องทางการเข้าถึงลูกค้าในแต่ละ segmentation กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างรายได้ให้ได้ตามเป้าที่กำหนด ทั้งหมดนี้คือขบวนการของการทำแผนการตลาด เป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ

 

 

การจัดการ = ธุรกิจ+คน (ต้นทุนในการจัดการ)

การจัดการในส่วนแรกนี้เป็นการจัดการในส่วนของเจ้าของ หรือผู้บริหารสูงสุด ต้องเป็นผู้กำหนดแผนธุรกิจ จัดหาเงินทุน บริหารการจัดการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้ โดยเริ่มตั้งแต่กำหนดผู้บริหารสูงสุด ได้แก่เจ้าของเป็นผู้บริหารสูงสุดเอง หรือจะจ้างมืออาชีพเข้ามาเป็นผู้บริหารสูงสุด หรืออาจจ้างบริษัทหรือกลุ่มใดเข้ามาบริหารโดยมีการทำสัญญาบริหาร ขอยกกรณีของเจ้าเลือกเป็นผู้บริหารสูงสุดเอง จัดหาผู้บริหารรองลงมาช่วยแบ่งเบาภาระในแต่ละส่วน ดังนั้นการทำธุรกิจจึงขึ้นอยู่ที่เจ้าของเป็นหลัก ผู้บริหารรองๆเป็นเพียงผู้ช่วยเท่านั้น ธุรกิจจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของแผนธุรกิจ การกำกับดูแลการบริหารจัดการให้ได้ตามแผน สร้างความชัดเจนในสายงานการบริหาร จัดหาผู้บริหารระดับรองที่เหมาะสมกับภาระรับผิดชอบที่มอบหมาย บริการจัดการทรัพย์สินที่จับต้องได้ และทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ( คน ) อย่างมีประสิทธิภาพ  กรณีตัวอย่างที่ยกมาเจ้าของสวมบทบาท 2 บทบาทในเวลาเดียวกัน จึงต้องรู้ตัวเองตลอดเวลาว่าในชั่วไหนเล่นบทบาทอะไร เพราะถ้าเล่นไม่ถูกบทในแต่ละชั่วเวลาและสถานการณ์บ่อยๆก็จะเกิดผลเสียตามมา

การจัดการ =ทรัพย์สิน+คน (รายจ่ายในการจัดการ)

การจัดการในส่วนนี้เป็นการจัดการของผู้บริหารระดับรองที่เจ้าของเลือกมาช่วย เจ้าของอาจจะคัดเลือกมาเพียงคนเดียวและให้เขารับผิดชอบในการบริหารจัดการในส่วนที่ท่านมอบหมายให้เขาทำ หรือเจ้าของอาจจะยังยึดการบริหารจัดการส่วนนี้ไว้เอง โดยเจ้าของคัดเลือกผู้ช่วยมาหลายๆคนและให้เขาทำงานตามที่เจ้าของสั่งให้เขาทำ การจัดการในส่วนนี้เป็นส่วนของการปฏิบัติการในการจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้งานและบำรุงรักษาดูแล บริหารคนตั้งแต่การจ้าง อบรม พัฒนา และสร้างแรงจูงใจ ทำให้ได้คนที่มีคุณภาพสามารถทำงานให้ลุล่วงตามมาตรฐานของแผนตลาด (แผนธุรกิจ) ที่วาง Position ไว้ การจัดการด้านการหาลูกค้า และการทำรายได้ให้ได้ตามแผนการตลาด การบริหารในส่วนนี้ต้องเป็นการบริหารต้นทุนการบริหารให้อยู่ในงบที่ตั้งไว้หรือสามารถลดต้นทุนได้มากกว่าแต่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน การทำรายได้ก็จะต้องได้รายได้ตามเป้าหรือมากกว่า มาตรฐานของการจัดการจะต้องสมดุลกับจำนวนลูกค้าและรายได้ หากมาตรฐานการให้บริการต่ำก็จะเป็นตัวแปรที่ทำให้จำนวนลูกค้าและรายได้ต่ำไปด้วย แต่ถ้าการจัดการอยู่ในมาตรฐาน หรือสูงกว่าก็จะทำให้จำนวนลูกค้าและรายได้สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าไม่ได้ผลตามที่กล่าวมาแสดงว่ามีการผิดพลาด ต้องไปหาสาเหตุและแก้ที่การบริหารจัดการในส่วนที่ผิดพลาดนั้น  แต่ถ้าไม่พบสาเหตุความผิดพลาดในการบริหารจัดการทั้งส่วนปฏิบัติการและส่วนหารายได้ ก็แสดงว่ามีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นแผนตลาดผิดพลาด ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนใหม่ หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการจะต้องดูตัวแปรจากภายนอก และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่ไม่กระทบกับแผนหลักของธุรกิจ ถ้าการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การบริหารจัดการจะไปกระทบแผนหลักก็จะต้องมีการทบทวน และวิเคราะห์อย่างละเอียด ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนแผนหลักธุรกิจ

 ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

29 สิงหาคม 2554

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 18:06 น.
 

แผนธุรกิจโรงแรม

พิมพ์ PDF

แผนธุรกิจโรงแรมจะต้องคำนึงถึงในทุกส่วนได้แก่

–                   การลงทุน (การลงทุนในการสร้างโรงแรม ระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ การลงทุนประกอบด้วยการลงทุนในสิ่งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้)

–                   การบริหารและการจัดการธุรกิจ (การบริหารและการจัดการที่ทำให้ธุรกิจอยู่ได้มีกำไรและมีความเจริญรุ่งเรื่องมากขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน)

–                   การบริหารและการจัดการคน ( เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจภาคบริการ คนเปรียบเหมือนกับเป็นวัตถุดิบของสินค้าถ้าการบริหารคนล้มเหลว สินค้าก็ไม่มีคุณค่า หรือมีคุณค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ลูกค้าก็จะไม่มาใช้บริการ ธุรกิจก็อยู่ไม่ได้)

ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจบริการประกอบด้วย

  • ให้บริการเช่าห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยว และผู้เดินทาง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
  • ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ใช้บริการห้องพักและคนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้บริการห้องพัก
  • ให้บริการอื่นๆที่เป็นการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพัก และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรม
  • ส่วนประกอบของสินค้าหลักในการทำธุรกิจโรงแรมได้แก่
    วัตถุดิบสิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่สถานที่ สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการบริการลูกค้า ระบบภายนอกต่างๆ เช่นระบบการส่งน้ำ ระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า เป็นต้น    ( ส่วนที่เป็นวัตถุภายนอก)
  • การบริหารจัดการธุรกิจ ได้แก่การจัดการเรื่องทรัพย์สิน และระบบการบริหารธุรกิจ ได้แก่ การก่อสร้าง การดูแลบำรุงรักษา การบริหารการจัดการเรื่องการเงิน การบริหารจัดการเรื่องการขาย การบริหารจัดการเรื่องการจัดซื้อเป็นต้น
  • การบริหารจัดการคน คือการบริหารจัดการเรื่องคน เริ่ม ตั้งแต่การว่าจ้าง การบริหารจัดการให้คนทำงาน การมอบหมายคนให้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถ การพัฒนาและสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนุกและรักในงาน มีทัศนคติที่ดี และมีจรรยาบรรณ
  • แผนการทำธุรกิจ หรือ แผนการตลาดที่ดีจะต้องคำนึงถึงการลงทุนที่เหมาะสม คือลงทุนแล้วมีผู้มาใช้บริการและมีรายได้จากผู้ใช้บริการคุ้มกับการลงทุน ( วางกลุ่มเป้าหมายลูกค้าได้ถูกต้อง) ( Property Position + Customer Target)
  • การลงทุนประกอบด้วย ทรัพย์สิน+ต้นทุนการบริหารจัดการด้านธุรกิจ+ต้นทุนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (ก่อนเปิดดำเนินการทางธุรกิจ)
  • มีการแยกแยะอย่างชัดเจน ระหว่างการลงทุนหลังการเปิดดำเนินธุรกิจ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
  • ต้องมีการเผื่อเหตุการณ์ภายนอกที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
  • เป็นแผนที่รอบครอบ มีข้อมูล และความชัดเจน อิงสิ่งที่เป็นจริง อย่าเขียนตามความพอใจที่อยากจะให้เป็น
  • แผนธุรกิจ หรือแผนการตลาดเป็นการวางแผนก่อนที่จะลงทุนทำธุรกิจ
  • เมื่อทำธุรกิจแล้วจะต้องมาทบทวนว่าแผนที่วางไว้ส่วนไหนถูกต้อง ส่วนไหนควรแก้ไข ปรับปรุง สินค้าได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ไหม ถ้าต่ำกว่ามาตรฐานต้องมาดูว่าส่วนไหน บกพร่อง เช่นห้องพักเก่าและมีปัญหาถูกลูกค้าต่อว่า ก็ต้องมาดูว่า โครงสร้างหมดสภาพหรือยัง หรืออยู่ที่การบริหารจัดการ และต้องแก้ให้ถูกต้อง
  • การจะปรับเปลี่ยนแผนการตลาดเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณาในทุกด้านไม่ใช่อยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

2 ธันวาคม 2553

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 18:30 น.
 


หน้า 533 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601467

facebook

Twitter


บทความเก่า