Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทุนมนุษย์กับการศึกษา Architecture of Human Resource

พิมพ์ PDF

ประเด็นพิจารณาเรื่องทุนมนุษย์กับการศึกษา –Architecture of Human Resource 

                ๑.สถานการณ์ปัจจุบัน  คนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพ แต่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาและสติปัญญา เด็กและเยาวชนมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น  แต่คุภาพการศึกษายังมีปัญหามาก เด็กมีพัฒนาการด้านความสามารถทางเชาว์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ค่อนข้างต่ำ คนไทยเกือบร้อยละ ๖๐ ของผู้มีอายุเกิน ๑๕ ปีขึ้นไป ไม่สามารถคิดเป็น ทำเป็น ทำให้ขาดทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ผลิตภาพในวัยแรงงานต่ำ 

                ๒..ปัญหามาจากระบบครอบครัวไทยมีความเปาะบางทั้งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กระแสโลกาภิวัตน์ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากการอยู่ร่วมกัน ของ พ่อ แม่ ลูก หลาน ที่มีการสืบทอดมรดกทั้งวิถีการดำรงชีวิต ค่านิยม วัฒนธรรม และทรัพย์สิน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีน้อยลง ขาดกลไกการอบรมที่เชื่อมโยงกันในลักษณะบ้าน วัด โรงเรียน ส่งผลให้ขาดพื้นฐานที่ดีที่จะเป็นปัจจัยหล่อหลอมให้เกิดการพัฒนาทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2011 เวลา 16:03 น.
 

คนไทยควรเตรียมตัวอย่างไรกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พิมพ์ PDF

การประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปี 2546  ผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ภายในปี พ.ศ.2558 โดยมีเป้าหมายให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี

แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC ในส่วนของการค้าบริการ มีเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การค้าบริการของอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ตามที่ปรากฎในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC Blueprint) สาระสำคัญของแผนงานประกอบด้วย

  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสาขาบริการสำคัญ 4 สาขา ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ, e-ASEAN (คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม) สุขภาพ และการท่องเที่ยว
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขา โลจิสติกส์ ภายในปี พ.ศ.2556
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขาอื่นๆที่เหลือภายในปี พ.ศ.2558
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:04 น.
 

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ โดย ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก

พิมพ์ PDF

หลักการและเหตุผล

ธุรกิจบริการไม่ต่างจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ เพราะปัจจัยมนุษย์มีความสำคัญสูงในการให้บริการ ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญเท่านั้น หากยังต้องการความรับผิดชอบ ความสามารถในการบริการและการมีคุณธรรมและจริยธรรม มนุษย์หรือบุคลากรจึงต้องมีการลงทุนด้านการศึกษาและพัฒนาในการเพิ่มทักษะให้ตนเอง การพัฒนาดังกล่าว ต้องอาศัยทุนทั้งที่เป็นของตัวเองหรือได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ดังนั้น เราจึงพบว่ามนุษย์มักได้รับการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของตนหรือผู้ปกครองเป็นสำคัญ

การบริการการศึกษาในปัจจุบันแม้ว่ามีการให้บริการอย่างกว้างขวาง มีธุรกิจภาคการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความต้องการของมนุษย์ แต่สถานศึกษาส่วนมากเน้นการประกอบการทางธุรกิจเป็นสำคัญ ประกอบกับการให้การศึกษามักเป็นการผลิตแบบภาพรวมไม่ได้เน้นที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่าที่ควร และยังด้อยด้านการสร้างและพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพที่เหมาะสมอย่างแท้จริง ในขณะที่ภาคธุรกิจบริการมีความขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้านสูง และประสงค์จะให้มีการเตรียมและส่งเสริมแรงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับแรงงานที่ขาด

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2011 เวลา 16:07 น.
 

หัวใจของธุรกิจบริการอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์

พิมพ์ PDF

โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการ

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)

แผนการดำเนินการปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒

 

ชื่อโครงการ                    พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ

แผนงาน                                                สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเหมาะสมเข้าสู่ภาคธุรกิจบริการ

พัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการให้มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้

ยุทธศาสตร์                          พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจบริการให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก

หลักการและเหตุผล

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:10 น.
 

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเครือซิเมนต์ไทย

พิมพ์ PDF

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเครือซิเมนต์ไทย


 

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพร

 

 

ความพอประมาณ

  • ปรับโครงสร้างธุรกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่จริง เหลือเพียง 5 กลุ่มธุรกิจหลักส่งผลให้ธุรกิจหลักมีลักษณะความเชื่ยวชาญเฉพาะขององค์กร

  • ลดบทบาทกิจการที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน การจัดการทรัพยากร และรักษาสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อให้สามารถเติบโตต่อไปในอนาคต

  • มุ่งรักษาระดับอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่กู้ยืมมากเกินไปจน  ทำให้มีภาวะหนี้สูง


 

ความมีเหตุผล

  • ลดบทบาทในธุรกิจที่ไม่ถนัดหรือขาดความเชี่ยวชาญ ส่งผลให้ทุ่มเทการใช้ทรัพยากรในธุรกิจที่ถนัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • เร่งการส่งออก เพื่อชดเชยตลาดภายในประเทศที่หดตัวและเพื่อใช้ทรัพยาในการผลิตอย่างมีประสิทธิผล

  • บริหารลูกหนี้การค้า(Accounts Receivable) และเจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) เพื่อให้ได้เงินสดเร็วที่สุด

  • เน้นประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมต้นทุน

  • ประเมินผลการดำเนินงานด้วยอัตราส่วนของกำไรก่อนภาษีเงินได้ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าเสื่อมราคา และรายจ่ายตัดบัญชี รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วมต่อทรัพย์สินในการดำเนินงานเพื่อตรวจสอบว่าทรัพย์สินที่ใข้ในการดำเนินการนั้นได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุน

  • ใช้นโยบายไม่ปลด (Layoff) พนักงาน แต่มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแทน

  • ติดตามและตรวจสอบสถานะทรัพย์สินของ SCG อย่างใกล้ชิดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

การมีภูมิคุ้มกัน

  • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลให้มีกระบวนการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  • เพิ่มสัดส่วนการส่งออก ทำให้มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ อันเป็นการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรูปแบบหนึ่ง

  • ออกหุ้นกู้ในประเทศ เพื่อทดแทนเงินกู้จากสถาบันการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

  • กำหนดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงไว้ในแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ

  • มุ่งมั่นพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ เน้นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล และมีเหตุผลในการพัฒนาอย่างเหมาะสมกับงาน

 

ความรู้

  • พัฒนาระบบการบริหารองค์ความรู้ภายในองค์กร และต่อยอดสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ส่งผลให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม

 

คุณธรรม

  • ถ่ายทอดหลักคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เพื่อประโชยน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิต

 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 23:53 น.
 


หน้า 535 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629075

facebook

Twitter


บทความเก่า