Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เกาะติดบริการ OTT...ทีวีแห่งอนาคต ผู้เขียน: อิสระสรรค์ กันทะอุโมงค์

พิมพ์ PDF

Highlight

 

  • ด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่แพร่หลายในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และเกาหลีใต้ ทำให้มีธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Over-the-Top (OTT) เกิดขึ้น โดย OTT เป็นบริการแพร่ภาพเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเอง ที่มีจุดเด่นทั้งด้านราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ และความสะดวกสบายในการรับชมทุกที่ทุกเวลา ทำให้บริการดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการทีวีรายเดิมในระยะยาว

  • อีไอซีมองว่า OTT เป็นทั้งวิกฤติและโอกาสสำหรับผู้เล่นรายเดิมและผู้เล่นรายใหม่ในวงการสื่อ โดย OTT เป็นธุรกิจที่เหมาะสำหรับบริษัท Startup ในการก้าวเข้ามาพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในวงการสื่อยุคใหม่ให้ ได้ก่อนใคร ส่วนผู้ประกอบการทีวีรายเดิมจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ บริษัทโฆษณาก็ควรศึกษารูปแบบการลงโฆษณาตามสื่อออนไลน์ให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมของผู้รับชมที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไป

Over-the-Top (OTT) หรือบริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเองถือเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ประกอบกับผู้ให้บริการต้องการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ทำให้มีบริการรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Over-the-Top (OTT) เกิดขึ้น โดย OTT คือบริการสื่อสารและแพร่ภาพเนื้อหาผ่านแอพพลิเคชั่นบนอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม และผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายเอง ยกตัวอย่างเช่น Netflix และ Hulu ซึ่งเป็นบริการแพร่ภาพภาพยนตร์และรายการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ชมไม่ต้องติดตั้งเสาอากาศ หรือจานดาวเทียมเพิ่มเติม และผู้ประกอบการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณโทรทัศน์เหมือนผู้ประกอบการทีวีแบบดั้งเดิม (traditional TV)

กรณีศึกษาของวงการทีวีในสหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นว่าบริการ OTT มีความโดดเด่นเหนือกว่าการรับชมทีวีแบบดั้งเดิม ทั้งในด้านความสะดวกสบายในการรับชม ราคา ความหลากหลายของเนื้อหาและความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค บริการ OTT ถือเป็นการปฏิวัติสื่อครั้งยิ่งใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ท้าทายอุตสาหกรรมสื่อแบบเดิมๆ โดย OTT มีจุดเด่นในแง่ของการที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมเนื้อหาตามความต้องการ (video on demand) และสามารถใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ชนิดใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และสมาร์ททีวี นอกจากนี้ ยังมีอัตราค่าสมาชิกรายเดือนเฉลี่ยราว 8-10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถูกกว่าการสมัครสมาชิกเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมอย่างน้อย 8 เท่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่าใช้บริการในการรับชมจะสูงกว่าฟรีทีวี แต่ OTT ก็มีข้อได้เปรียบในเรื่องของความสามารถในการรับชมรายการหลายตอนแบบต่อเนื่อง (binge watching) โดยไม่มีโฆษณาคั่น และมีเนื้อหาที่หลากหลาย ทั้งภาพยนตร์ รายการทีวี ซีรีย์ยอดนิยมจากช่องทีวีต่างๆ และซีรีย์ที่ผลิตเพื่อออกอากาศเฉพาะบนช่องทางของตนยิ่งไปกว่านั้น การให้บริการ OTT ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ยังทำให้ระบบสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการรับชมและให้คำแนะนำรายการที่น่าสนใจตามความชอบของแต่ละบุคคล รวมถึงสามารถนำไปต่อยอดเพื่อจัดซื้อหรือผลิตเนื้อหาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น Netflix สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้ชมเริ่ม “ติด” ซีรีย์ตั้งแต่ตอนไหน โดยการวิจัยพบว่าผู้ชมมักติดซีรีย์ในตอนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตอนแรก ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ Netflix ในการปล่อยรายการทุกตอนออกมาพร้อมกัน (binge-release strategy) ทำให้ผู้ชมยังคงติดตามรายการเหล่านั้นอยู่ เนื่องจากสามารถรับชมรายการได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ต่างจากการรับชมทีวีแบบดั้งเดิมที่ผู้ชมต้องรอชมตอนต่อไปในอาทิตย์ถัดไป ทำให้อาจไม่ดูรายการเหล่านั้นต่อ หากรายการตอนแรกมีเนื้อหาไม่โดนใจ

ปัจจัยดังกล่าว ทำให้บริการ OTT ในสหรัฐฯ ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สวนทางกับธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมที่มียอดผู้ชมค่อยๆ หดตัวลง ที่ผ่านมา เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมในสหรัฐฯ ถือเป็นธุรกิจบันเทิงขนาดใหญ่ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึง 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี มีจำนวนสมาชิกกว่า 100 ล้านราย หรือคิดเป็นเกือบ 90% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด แต่เมื่อมีบริการ OTT ก้าวเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมในสหรัฐฯ เริ่มเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบริการ OTT โดยตั้งแต่ปี 2013 จำนวนสมาชิกเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมีแนวโน้มค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องราว 0.5-1% ต่อปี หรือประมาณ 1 ล้านคนต่อปี ขณะที่บริการ OTT เช่น Netflix และ Hulu มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของจำนวนสมาชิกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 18% และ 100% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ยอดสมาชิกรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม นอกจากนี้ สัดส่วนของเม็ดเงินโฆษณาตามสื่อทีวีในสหรัฐฯ ที่เคยมีส่วนแบ่งประมาณ 37% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดในปี 2015 ก็มีแนวโน้มกระจายไปยังสื่ออื่นมากยิ่งขึ้น โดย eMarketer บริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าเม็ดเงินโฆษณาตามสื่อทีวีจะค่อยๆ ลดลงประมาณ 0.5% ต่อปี สวนทางกับเม็ดเงินโฆษณาตามสื่อดิจิทัลที่คิดเป็นสัดส่วนราว 31% ของเงินโฆษณาทั้งหมดในปี 2015 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 37% แซงหน้าสื่อทีวีภายในปี 2018 สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมที่ลดลงของการรับชมทีวีแบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ การก้าวเข้ามาของ set-top-box เช่น Apple TV, Roku และ Chromecast ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปรับชมสื่อออนไลน์มากขึ้น จะเป็นปัจจัยผลักดันทำให้บริการ OTT เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง Park Associates บริษัทวิจัยตลาด พบว่าเกือบ 20% ของบ้านที่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในสหรัฐฯ จะต้องมีอุปกรณ์ set-top-box เช่น Apple TV, Roku และ Chromecast อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อช่วยแปลงทีวีธรรมดาให้สามารถรับชมรายการทางอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกับอินเทอร์เน็ตทีวี โดยการแพร่หลายของอุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้การรับชมบริการ OTT บนจอทีวีทำได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ พฤติกรรมการบริโภคสื่อของวัยรุ่นยุคใหม่ยังมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากขนบแบบเดิมๆ โดย Verizon ค่ายมือถือรายใหญ่ของสหรัฐฯ พบว่าราว 60% ของ Gen Y (อายุระหว่าง 15-34 ปี) จะเลือกรับชมรายการบันเทิงผ่านช่องทางออนไลน์แทนที่การรับชมผ่านทีวีแบบดั้งเดิม สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจ OTT ยังสามารถขยายตัวได้ต่อไป

สำหรับไทย แม้ว่าการให้บริการ OTT จะยังไม่แพร่หลาย แต่ด้วยอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคสื่อในระยะยาวเปลี่ยนไปได้ ปัจจุบัน ไทยมียอดจำหน่ายอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตในระดับที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนที่มียอดขายประมาณ 12 ล้านเครื่องต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตประมาณ 6% ต่อปี ในช่วงปี 2016-2020 รวมถึงยอดขายทีวีที่คาดว่าแต่ละบ้านจะหันมาใช้อินเทอร์เน็ตทีวีมากขึ้นเป็น 50% ของครัวเรือนทั้งหมดภายในปี 2020 ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากอินเทอร์เน็ตทีวีที่เริ่มมีขายอย่างแพร่หลายและมีราคาที่ถูกลง โดยมีราคาเริ่มต้นต่ำกว่า 10,000 บาท นอกจากนี้ การเข้าถึงบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตต่อครัวเรือนของไทยยังมีอัตราการเติบโตสูงถึง 15% ต่อปี ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคในไทยก็มีแนวโน้มเกาะกระแสการซื้อสินค้าไอทีมากขึ้น จากปัจจัยเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด เมื่อประกอบกับการขยายโครงข่าย 4G ของผู้ให้บริการมือถือ ซึ่ง Ericsson บริษัทสื่อสารและโทรคมนาคมรายใหญ่พบว่า เมื่อมีการเปิดใช้งาน 4G ในต่างประเทศ จะทำให้ผู้บริโภคกว่า 50% หันมารับชม video on demand อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ทำให้มีแนวโน้มว่าคนไทยจะหันมารับชมสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

แน่นอนว่าด้านหนึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ OTT แต่ในอีกด้านหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ประกอบการทีวีรายเดิม หากบริการ OTT ได้รับความนิยมในไทย ย่อมทำให้ระบบนิเวศของแวดวงทีวีและการสื่อสารเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยในกรณีศึกษาของสหรัฐฯ และแคนาดานั้น บริการ OTT อย่าง Netflix ใช้พื้นที่ traffic บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงถึง 36% 
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ขาดแรงจูงใจในการลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติม เนื่องจากไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ จากผู้ประกอบการ OTT นอกจากนี้ ผู้ประกอบการทีวีรายเดิมมีโอกาสสูญเสียรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่มีแนวโน้มกระจายไปยังสื่ออื่นๆ รวมถึงสื่อออนไลน์ที่มีจำนวน eyeball สูงกว่า แม้ว่าในปัจจุบัน เม็ดเงินโฆษณามากกว่า 60% จะกระจุกตัวอยู่ที่สื่อทีวี 
แต่เริ่มเห็นสัญญาณว่าเม็ดเงินโฆษณาจากสื่อดั้งเดิม ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 26% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดในปี 2010 มีแนวโน้มลดลงเหลือเพียง 21% ในปี 2015 และมีการกระจายไปยังสื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้านมากขึ้น โดยในอนาคต สื่อทีวีอาจเผชิญปัญหาในลักษณะเดียวกันกับสื่อดั้งเดิมได้

จะเห็นได้ชัดว่า มีผู้ประกอบการทีวีแบบดั้งเดิมบางรายเริ่มปรับตัว เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาของอุตสาหกรรมทีวีไทยที่มีมูลค่าราว 6-7 หมื่นล้านบาทต่อปี มีแนวโน้มเติบโตช้าลงตามสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณาและคนดูให้ได้มากที่สุด โดยในปัจจุบัน มีผู้เล่นหลายรายเริ่มหันมาให้บริการ OTT ยกตัวอย่างเช่น ช่อง 7 ที่เปิดเว็บไซต์ Bugaboo.tv และแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อให้บริการรับชมรายการทีวีย้อนหลัง รวมถึงการถ่ายทอดกีฬาสด โดยบางโปรแกรมจะออกอากาศเฉพาะบนเว็บไซต์เท่านั้น หรือ GTH Workpoint และไทยรัฐทีวี ที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Line เปิดแอพพลิเคชั่น Line TV เพื่อรับชมภาพยนตร์ ซีรีย์ และเพลงผ่านมือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ชมให้กับรายการแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการทีวีอีกด้วย

 

Implication.png

Implication.gif

  • บริษัท Startup มีโอกาสคว้าเม็ดเงินจากการพัฒนาบริการ OTT ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ บริการ OTT ถือเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เงินลงทุนในช่วงเริ่มต้นไม่สูงนัก จึงเหมาะแก่การเข้าไปลงทุนของผู้ประกอบการ Startup หน้าใหม่ โดยผู้ประกอบการ Startup ควรมุ่งเน้นซื้อลิขสิทธิ์เนื้อหาที่น่าสนใจ รวมถึงวิเคราะห์แนวทางการเก็บค่าสมาชิกหรือการลงโฆษณาในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดผู้บริโภค Gen Y และสร้างฐานคนดูให้ได้มากที่สุด โดยผู้ประกอบการอาจใช้กลยุทธ์ Freemium ให้คนดูรับชมเนื้อหาฟรีในบางส่วน แต่หากต้องการรับชมรายการส่วนที่เหลือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งน่าจะเหมาะกับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่คุ้นเคยกับการรับชมฟรีทีวีมากกว่าทีวีที่เสียค่าบริการ หรืออาจศึกษากลยุทธ์การตั้งราคาจากผู้ให้บริการ OTT ที่ประสบความสำเร็จอย่าง Netflix ที่มีการตั้งราคาในอัตราที่ต่ำและเหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละประเภท เช่น Basic Plan ที่มีราคาต่ำ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว หรือ Premium Plan ที่มีราคาสูงขึ้น เหมาะสำหรับการดูเป็นครอบครัว เนื่องจากสามารถรับชมผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อสูงสุดได้ถึง 4 เครื่องในเวลาเดียวกัน

  • ผู้ประกอบการทีวีรายเดิมจำเป็นต้องสร้างความยืดหยุ่น และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้ชมทุกกลุ่มอายุ กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจทีวีคือการพยายามแย่งชิงคนดูให้ได้มากที่สุด ซึ่งในระยะยาว หากบริการ OTT เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทยมากยิ่งขึ้น อีไอซีมองว่าผู้ประกอบการทีวีรายเดิม ทั้งฟรีทีวี เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม จะต้องปรับตัวไปสู่การลงทุนในทุกช่องทาง รวมถึงสื่อใหม่ๆ ในอนาคตเพื่อรักษาฐานคนดู ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อรับชมรายการ ทั้งที่เป็นรายการสดและรายการย้อนหลังในทุกอุปกรณ์ โดยอาจเพิ่มตัวเลือกการเก็บค่าสมาชิกในอัตราที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมบางกลุ่มที่ต้องการความต่อเนื่องในการรับชมทีวี นอกจากนี้ ผู้ประกอบการทีวีรายเดิมอาจร่วมมือเป็นพันธมิตรหรือควบรวมกิจการกับผู้ประกอบการ OTT เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านเนื้อหา เทคโนโลยี และฐานผู้ชม

  • บริษัทโฆษณาควรศึกษาการกระจายเม็ดเงินโฆษณาไปยังสื่อออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริโภคสื่อในอนาคต ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีหน่วยงานกลางที่วัดจำนวนผู้ชมผ่านสื่อออนไลน์ที่ชัดเจน ทำให้บริษัทโฆษณาลังเลในการลงโฆษณาตามสื่อออนไลน์ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว การบริโภคสื่อทีวีแบบเดิมมีแนวโน้มถูกแทนที่ด้วยสื่อออนไลน์ รวมถึงเริ่มมีการเปิดตัวบริการวัดผลโฆษณาออนไลน์ เช่น Nielsen ที่เปิดให้บริการ Digital Ad Ratings ในไทยเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยครอบคลุมข้อมูลทั้งจำนวนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ดูโฆษณา (reach) จำนวนครั้งที่เห็น (frequency) ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ชม (demographics) และเรตติ้งรวม (gross rating point) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตรายการ ผู้ขายโฆษณาและผู้ซื้อโฆษณาสามารถมองเห็นความนิยมของเนื้อหาต่างๆ ได้ชัดเจนและแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น บริษัทโฆษณาจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบและแนวทางการวัดผลโฆษณาออนไลน์ เพื่อให้การลงทุนซื้อโฆษณา รวมถึงการจัดโปรโมชั่นและแคมเปญพิเศษมีความเหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด 

  • ในระยะยาว ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรเตรียมการเพื่อกำหนดแนวทางกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสม เนื่องจากบริการ OTT จำเป็นต้องใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตในการกระจายเนื้อหาไปยังผู้ชม โดยที่ไม่ต้องลงทุนสร้างโครงข่ายเอง ทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจเสียประโยชน์และไม่กล้าลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้อินเทอร์เน็ตและการรับชมเนื้อหาของผู้บริโภคโดยตรง โดยปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาว่าควรมีการเก็บค่าบริการจากผู้ให้บริการ OTT หรือเว็บไซต์ที่ใช้พื้นที่ traffic บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงหรือไม่ หรือ ผู้ให้
    บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องให้บริการด้วยความเป็นกลาง (net neutrality) ดังนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุดต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
  • คัดลอกจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/1688

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 16:23 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๔. สี่สหายไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

พิมพ์ PDF

สี่สหายนัดพบกันทุกๆ ๔ เดือน ตาม บันทึกเหล่านี้ คราวนี้วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ เรานัดไปศึกษาหาความรู้จาก ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ส่วนหนึ่งเพราะว่า ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมก่อตั้งศูนย์นี้    เราอยากฟังคำอธิบายจากผู้ก่อตั้งตัวจริง

ที่จริงผมเคยไปชมศูนย์นี้แล้ว ๒ ครั้ง ดังบันทึก  แต่รู้สึกว่ายังเรียนรู้ไม่จุใจ    อยากไปดูตอนคนไม่มาก และมีคน ที่รู้จริงอธิบายให้ฟัง

ศ. ดร. ฉัตรทิพย์เตรียมตัวเป็นไกด์เต็มที่    มีเครื่องขยายเสียงพกพาขนาดเล็กไปด้วย     ทำให้เราได้ยินเสียงคำอธิบาย ชัดเจนดีมาก

ผมกลับมาที่บ้าน ไตร่ตรองว่าสิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือประวัติศาสตร์ของศูนย์ประวัติศาสตร์อยุธยา     เรียนจากคำบอกเล่า ของบุคคลผู้สร้างประวัติศาสตร์นั้น คือ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ป้ายที่หน้าทางเข้าที่จัดแสดง บอกว่าศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา    โดยรัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินให้ทั้งหมด

ศ. ฉัตรทิพย์เล่าว่ารัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินทั้งหมด ๙๙๙ ล้านเยน คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น ๑๗๐ ล้านบาท    เป็นค่าก่อสร้าง อาคาร ๗๐ ล้านบาท  ค่าก่อสร้างการจัดแสดง (exhibition) ๑๐๐ ล้านบาท   ท่านบอกว่า ส่วนสำคัญคือการจัดแสดง อาคารเป็นเพียงสิ่งที่ครอบส่วนจัดแสดงเท่านั้น

จริงๆ แล้วคณะผู้คิดโครงการตั้งใจจะให้ศูนย์ศึกษาฯ นี้ ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ (๑) วิจัยประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่ของสมัยอยุธยาเท่านั้น  (๒)​ จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยอยุธา  (๓) เป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด  (๔)​ ทำวิจัยระดับวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก โท    แต่ในที่สุดเวลาผ่านไป ๒๔ ปี (หลังพิธีเปิดในปี ๒๕๓๓) ศูนย์นี้ทำหน้าที่ข้อ ๒ เพียงอย่างเดียว

ตอนทำงานสร้างศูนย์นี้ร่วมกับทางญี่ปุ่น ทีมนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมกันทำงาน    แต่เมื่อสร้างเสร็จ กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบ    แม้ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยในเวลานั้น จะพยายามขอให้อยู่ในความดูแล ของทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อสืบสานหน้าที่อีก ๓ อย่าง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ    เวลานี้ศูนย์ฯ จึงทำหน้าที่ได้เพียงการจัดแสดง ดูแลโดย อบจ. พระนครศรีอยุธยา    และเราไปพบว่ามีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอย่างน่าชื่นชมคือห้องฉายภาพยนตร์ จอรอบทิศ เรื่องประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา ความยาว ๑๘ นาที ห้องปรับอากาศเย็นฉ่ำ    ให้บริการแก่ผู้ติดต่อมาเป็นคณะ ในราคาค่าบริการรอบละ ๔๐๐ บาท (ห้องจุกว่า ๕๐ คน)     ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า บริษัททัวร์บ่นว่าแพง

เราจะเห็นสภาพความคิดของราชการไทย ที่หวงสมบัติ และคิดแบบแยกส่วน ไม่ได้คิดถึงภาพรวมของประเทศ    มองศูนย์ศึกษาผิด มองเป็นพิพิธภัณฑ์    และในที่สุดศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ที่สมัยสร้างเสร็จใหม่ๆ ในปี ๒๕๕๓ ถือว่าทันสมัยที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้    เวลานี้มีแต่จะทรุดโทรมลงไป เพราะขาดการดูแลปรับปรุง    และในด้านเทคโนโลยี การจัดแสดง ซึ่งสมัย ๒๔ ปีก่อนถือว่าทันสมัยมาก    เวลานี้ก็ล้าหลังไปมาก

ผมถาม ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ว่าใช้เวลาก่อสร้างกี่ปี    ท่านบอกว่า ใช้เวลารวม ๓ ปี    โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง    ช่วงแรก ๑ ปี เป็นช่วงทะเลาะกัน ระหว่างฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น    ตอนแรกคิดกันว่าจะสร้างหมู่บ้านญี่ปุ่น    ในที่สุดตกลงกันว่า สร้างศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์    มีคนฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นจะเป็นผู้สร้างและออกแบบ    มีการลงหนังสือพิมพ์คัดค้าน    ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นยอมให้ฝ่ายไทยออกแบบทั้งอาคารและการจัดแสดง    ญี่ปุ่นเป็นเพียงผู้สร้างให้ ตามที่ฝ่ายไทยกำหนด

ช่วงที่สอง เวลา ๑ ปี เป็นช่วงของการวิจัย    เพื่อหารายละเอียดนำมาใช้สร้างโมเดลในการจัดแสดง    มีการทำงานร่วมกัน ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับศิลปิน    ส่วนด้านเทคโนโลยีทางญี่ปุ่นมีความรู้และประสบการณ์มาก    มีการจัดแสดงด้วยเทคโนโลยี diorama ซึ่งหมายถึงมีโมเดล กับภาพวาดด้านหลัง ให้เห็นเป็นภาพสามมิติ    ส่วนที่ยากคือส่วนนิทรรศการ ที่รายละเอียดมากมาย ต้องไม่ทำแบบเดาสุ่ม หรือจินตนาการ    ต้องหาหลักฐานอ้างอิง    แต่ก็มีส่วนที่ต้องใช้จินตนาการด้วย

ช่วงที่สาม เวลา ๑ ปี เป็นการสร้างอาคารครอบส่วนนิทรรศการ    ส่วนนี้ราคาเพียง ๗๐ ล้านบาท    ในขณะที่ส่วน นิทรรศการใช้เงิน ๑๐๐ ล้านบาท

ผมเพิ่งทราบว่านิทรรศการมี ๔ ส่วน หรือ ๔ พื้นที่    เมื่อเข้าไปก็จะเข้าไปในพื้นที่ “เมืองหลวง”   ทางซ้ายมือเป็นพื้นที่ “เมืองท่า”   ทางขวามือเป็นพื้นที่ “ชีวิตชาวบ้าน”  เดินตรงเข้าไปจากพื้นที่เมืองหลวงเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” หรือพื้นที่ของศูนย์กลาง อำนาจทางการเมืองการปกครอง

พื้นที่เมืองหลวง(พระนครศรีอยุธยาในฐานะราชธานี) มี ๓ นิทรรศการ    ส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือส่วนวังกับวัด ในพื้นที่เมืองโบราณ    ถัดไปทางขวาเป็น วัดไชยวัฒนาราม จำลองผังวัดในสมัยอยุธยา    ทางซ้ายเป็นพะเนียดคล้องช้าง เพราะถือว่าช้างมีส่วนสำคัญต่อความเป็นเมืองหลวง    พื้นที่นี้รศ. ดร. ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้ออกแบบ

ตอนคิดพื้นที่จัดแสดง มีการถกเถียงกันระหว่าง ศ. อิฌิอิ (ผู้ล่วงลับ) กับ ศ. ฉัตรทิพย์    ว่าจะยกเอาความเป็นเมืองหลวง หรือความเป็นเมืองท่าของอยุธยาเป็นประธาน    หรือเป็นจุดเด่น    ศ. ฉัตรทิพย์บอกว่า ต้องเอาความเป็นเมืองหลวง    แต่ ศ. อิฌิอิ เห็นว่าความเป็นเมืองท่าเด่นกว่า     แต่ในที่สุดท่านก็อนุโลมตามฝ่ายไทย    ศ. ฉัตรทิพย์ ยกย่องความใจกว้างของ ศ. อิฌิอิมาก

พื้นที่เมืองท่า(กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า) มีเรือสำเภาจีนจำลองขนาด ๑ ใน ๗ ของของจริง ตั้งเด่นเป็นประธาน    ด้านหลังเรือสำเภาจีนเป็นตู้กระจก มีเรือสินค้าฝรั่งหลายแบบจำลองขนาดเล็ก เทียบกับสำเภาจีน    ที่ผนังตึกมีแผนที่บอกเส้นทางเดินเรือ ค้าขาย มีปุ่มสวิตช์ไฟให้กดดูเส้นทางค้าขายในยุคต่างๆ    เดิมมีตัวอย่างสินค้าตั้งแสดง    แต่เวลานี้หายไปหมดแล้ว    อีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวการติดต่อค้าขาย กับญี่ปุ่น    พื้นที่นี้ ผศ. พลับพลึง คงชนะ เป็นผู้ทำวิจัยและออกแบบ

พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีทางเดินเข้าสู่พื้นที่ คล้ายเดินเข้าปราสาทขอม    แสดงการผสมผสานระหว่างศานาพุทธกับฮินดู    ภายในตั้งแสดงพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา    พื้นที่นี้ทำวิจัยและออกแบบโดย รศ. ดร. ธิดา สาระยา

พื้นที่แสดงชีวิตชาวบ้าน(ชีวิตชาวบ้านไทยในสมัยก่อน) ออกแบบโดย ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ดร. ชาคริต ชุ่มวัฒนะ    ก่อนเข้าพื้นที่นี้ มีกำแพงเก่าจำลอง ที่ผนังกำแพงเป็นภาพวาดแสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน     ถัดเข้าไป มีโมเดลพื้นที่วัดและหมู่บ้าน ตั้งเป็นประธานสวยงามมาก    ด้านในสุดเป็นบ้านจำลอง ที่ย่อส่วนให้เข้าอยู่ในอาคารได้    ขึ้นบันไดไปชมได้    ศ. ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ชมว่าเหมือนบ้านไทยโบราณจริงๆ คือบันไดไม่มีราว    คนแก่เดินขึ้นลงต้องหาที่เกาะกันจ้าละหวั่น

ในพื้นที่มีตู้ขนาดเล็ก จัดแสดงโมเดลของพิธีคลอด, โกนจุก, แต่งงาน, และเผาศพ    และมีสมุนไพรต่างๆ ตั้งแสดง    ศ. ฉัตรทิพย์ บอกล่วงหน้าว่า    มี เซ็นเซอร์ ที่เมื่อเดินผ่าน จะมีเสียงเพลงพื้นเมือง    แต่เวลาผ่านไปตั้ง ๒๔ ปี คงจะเสียหมดแล้ว    ปรากฎว่ายังใช้ได้ดีอยู่ ท่านดีใจมาก    และทำให้ผมนึกศรัทธา ว่าเทคโนโลยีญี่ปุ่นทนทานมาก    หรือมิฉนั้นก็เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ฯ ที่คอยซ่อมแซม    แต่เดาว่าน่าจะเป็นประการแรกมากกว่า     เพราะแม้ไฟฟ้าที่ดับไปเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีการซ่อม    ทำให้พื้นที่นี้มืดทึม

ศ. ฉัตรทิพย์ บอกว่า ตอนคิดกัน คุยกันว่าต้องแสดงชีวิตยามยาก หรือลำเค็ญด้วย    จึงมีภาพวาดแสดงชีวิตไพร่  โรคระบาด  และโจรปล้น

เสร็จจากชั้นบนที่เป็นพื้นที่จัดแสดง ที่กินเนื้อที่กว่าพันตารางเมตร    ศ. ฉัตรทิพย์ พาเราไปดูพื้นที่ชั้นล่าง ที่เดิมเผื่อไว้สำหรับเป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด    ซึ่งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ น้ำท่วมขึ้นสูงเกือบเมตร    หนังสือเสียหายหมด    หลังจากนั้นเจ้าชายญี่ปุ่นเสด็จมาเยี่ยม    เวลานี้กำลังก่อสร้างดัดแปลงพื้นที่เป็นศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอยุธยา

ศ. ฉัตรทิพย์ เอาหนังสือ IUDEA : ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพิธีเปิดศูนย์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓ ฉบับถ่ายเอกสาร ไปให้อ่านประกอบ    และมอบให้ผมเลย     เจ้าหน้าที่ของศูนย์บอกว่า มีคนมาถามซื้อบ่อยๆ แต่ไม่มีแล้ว     จริงๆ แล้ว หากอ่านจาก เว็บไซต์มีรายละเอียดดีทีเดียว    เป็นเว็บไซต์ของศูนย์อยุธยาศึกษา มรภ. พระนครศรีอยุธยา     ที่เว็บไซต์มีรูปด้านหน้าของศูนย์ ที่ ศ. ฉัตรทิพย์อธิบายว่า สร้างจำลองแบบป้อมในสมัยโบราณ

เราไปถึงเวลา ๑๑ น.    ดูเสร็จ ๑๓ น.   แล้วไปที่ร้านแพกรุงเก่า กินกุ้งแม่น้ำเผา     ขนมจีนแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา    และผัด สายบัว    อาหารอร่อยทุกอย่าง   คราวนี้ผมลืมถ่ายรูปอาหาร

 

๙ มี.ค. ๕๗

เนื่องจากระบบทำให้ไม่สามารถคัดลอกรูปภาพมาได้ ถ้าสนใจชมรูปภาพประกอบโปรดเข้าไปดูใน link ที่ผมคัดลอกมาครับ

สี่สหายนัดพบกันทุกๆ ๔ เดือน ตาม บันทึกเหล่านี้ คราวนี้วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ เรานัดไปศึกษาหาความรู้จาก ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ส่วนหนึ่งเพราะว่า ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมก่อตั้งศูนย์นี้    เราอยากฟังคำอธิบายจากผู้ก่อตั้งตัวจริง

ที่จริงผมเคยไปชมศูนย์นี้แล้ว ๒ ครั้ง ดังบันทึก  แต่รู้สึกว่ายังเรียนรู้ไม่จุใจ    อยากไปดูตอนคนไม่มาก และมีคน ที่รู้จริงอธิบายให้ฟัง

ศ. ดร. ฉัตรทิพย์เตรียมตัวเป็นไกด์เต็มที่    มีเครื่องขยายเสียงพกพาขนาดเล็กไปด้วย     ทำให้เราได้ยินเสียงคำอธิบาย ชัดเจนดีมาก

ผมกลับมาที่บ้าน ไตร่ตรองว่าสิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือประวัติศาสตร์ของศูนย์ประวัติศาสตร์อยุธยา     เรียนจากคำบอกเล่า ของบุคคลผู้สร้างประวัติศาสตร์นั้น คือ ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ป้ายที่หน้าทางเข้าที่จัดแสดง บอกว่าศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา    โดยรัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินให้ทั้งหมด

ศ. ฉัตรทิพย์เล่าว่ารัฐบาลญี่ปุ่นออกเงินทั้งหมด ๙๙๙ ล้านเยน คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น ๑๗๐ ล้านบาท    เป็นค่าก่อสร้าง อาคาร ๗๐ ล้านบาท  ค่าก่อสร้างการจัดแสดง (exhibition) ๑๐๐ ล้านบาท   ท่านบอกว่า ส่วนสำคัญคือการจัดแสดง อาคารเป็นเพียงสิ่งที่ครอบส่วนจัดแสดงเท่านั้น

จริงๆ แล้วคณะผู้คิดโครงการตั้งใจจะให้ศูนย์ศึกษาฯ นี้ ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ (๑) วิจัยประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่ของสมัยอยุธยาเท่านั้น  (๒)​ จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยอยุธา  (๓) เป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด  (๔)​ ทำวิจัยระดับวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก โท    แต่ในที่สุดเวลาผ่านไป ๒๔ ปี (หลังพิธีเปิดในปี ๒๕๓๓) ศูนย์นี้ทำหน้าที่ข้อ ๒ เพียงอย่างเดียว

ตอนทำงานสร้างศูนย์นี้ร่วมกับทางญี่ปุ่น ทีมนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมกันทำงาน    แต่เมื่อสร้างเสร็จ กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบ    แม้ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยในเวลานั้น จะพยายามขอให้อยู่ในความดูแล ของทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อสืบสานหน้าที่อีก ๓ อย่าง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ    เวลานี้ศูนย์ฯ จึงทำหน้าที่ได้เพียงการจัดแสดง ดูแลโดย อบจ. พระนครศรีอยุธยา    และเราไปพบว่ามีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอย่างน่าชื่นชมคือห้องฉายภาพยนตร์ จอรอบทิศ เรื่องประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา ความยาว ๑๘ นาที ห้องปรับอากาศเย็นฉ่ำ    ให้บริการแก่ผู้ติดต่อมาเป็นคณะ ในราคาค่าบริการรอบละ ๔๐๐ บาท (ห้องจุกว่า ๕๐ คน)     ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า บริษัททัวร์บ่นว่าแพง

เราจะเห็นสภาพความคิดของราชการไทย ที่หวงสมบัติ และคิดแบบแยกส่วน ไม่ได้คิดถึงภาพรวมของประเทศ    มองศูนย์ศึกษาผิด มองเป็นพิพิธภัณฑ์    และในที่สุดศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ที่สมัยสร้างเสร็จใหม่ๆ ในปี ๒๕๕๓ ถือว่าทันสมัยที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้    เวลานี้มีแต่จะทรุดโทรมลงไป เพราะขาดการดูแลปรับปรุง    และในด้านเทคโนโลยี การจัดแสดง ซึ่งสมัย ๒๔ ปีก่อนถือว่าทันสมัยมาก    เวลานี้ก็ล้าหลังไปมาก

ผมถาม ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ว่าใช้เวลาก่อสร้างกี่ปี    ท่านบอกว่า ใช้เวลารวม ๓ ปี    โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง    ช่วงแรก ๑ ปี เป็นช่วงทะเลาะกัน ระหว่างฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น    ตอนแรกคิดกันว่าจะสร้างหมู่บ้านญี่ปุ่น    ในที่สุดตกลงกันว่า สร้างศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์    มีคนฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นจะเป็นผู้สร้างและออกแบบ    มีการลงหนังสือพิมพ์คัดค้าน    ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นยอมให้ฝ่ายไทยออกแบบทั้งอาคารและการจัดแสดง    ญี่ปุ่นเป็นเพียงผู้สร้างให้ ตามที่ฝ่ายไทยกำหนด

ช่วงที่สอง เวลา ๑ ปี เป็นช่วงของการวิจัย    เพื่อหารายละเอียดนำมาใช้สร้างโมเดลในการจัดแสดง    มีการทำงานร่วมกัน ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับศิลปิน    ส่วนด้านเทคโนโลยีทางญี่ปุ่นมีความรู้และประสบการณ์มาก    มีการจัดแสดงด้วยเทคโนโลยี diorama ซึ่งหมายถึงมีโมเดล กับภาพวาดด้านหลัง ให้เห็นเป็นภาพสามมิติ    ส่วนที่ยากคือส่วนนิทรรศการ ที่รายละเอียดมากมาย ต้องไม่ทำแบบเดาสุ่ม หรือจินตนาการ    ต้องหาหลักฐานอ้างอิง    แต่ก็มีส่วนที่ต้องใช้จินตนาการด้วย

ช่วงที่สาม เวลา ๑ ปี เป็นการสร้างอาคารครอบส่วนนิทรรศการ    ส่วนนี้ราคาเพียง ๗๐ ล้านบาท    ในขณะที่ส่วน นิทรรศการใช้เงิน ๑๐๐ ล้านบาท

ผมเพิ่งทราบว่านิทรรศการมี ๔ ส่วน หรือ ๔ พื้นที่    เมื่อเข้าไปก็จะเข้าไปในพื้นที่ “เมืองหลวง”   ทางซ้ายมือเป็นพื้นที่ “เมืองท่า”   ทางขวามือเป็นพื้นที่ “ชีวิตชาวบ้าน”  เดินตรงเข้าไปจากพื้นที่เมืองหลวงเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” หรือพื้นที่ของศูนย์กลาง อำนาจทางการเมืองการปกครอง

พื้นที่เมืองหลวง(พระนครศรีอยุธยาในฐานะราชธานี) มี ๓ นิทรรศการ    ส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือส่วนวังกับวัด ในพื้นที่เมืองโบราณ    ถัดไปทางขวาเป็น วัดไชยวัฒนาราม จำลองผังวัดในสมัยอยุธยา    ทางซ้ายเป็นพะเนียดคล้องช้าง เพราะถือว่าช้างมีส่วนสำคัญต่อความเป็นเมืองหลวง    พื้นที่นี้รศ. ดร. ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้ออกแบบ

ตอนคิดพื้นที่จัดแสดง มีการถกเถียงกันระหว่าง ศ. อิฌิอิ (ผู้ล่วงลับ) กับ ศ. ฉัตรทิพย์    ว่าจะยกเอาความเป็นเมืองหลวง หรือความเป็นเมืองท่าของอยุธยาเป็นประธาน    หรือเป็นจุดเด่น    ศ. ฉัตรทิพย์บอกว่า ต้องเอาความเป็นเมืองหลวง    แต่ ศ. อิฌิอิ เห็นว่าความเป็นเมืองท่าเด่นกว่า     แต่ในที่สุดท่านก็อนุโลมตามฝ่ายไทย    ศ. ฉัตรทิพย์ ยกย่องความใจกว้างของ ศ. อิฌิอิมาก

พื้นที่เมืองท่า(กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า) มีเรือสำเภาจีนจำลองขนาด ๑ ใน ๗ ของของจริง ตั้งเด่นเป็นประธาน    ด้านหลังเรือสำเภาจีนเป็นตู้กระจก มีเรือสินค้าฝรั่งหลายแบบจำลองขนาดเล็ก เทียบกับสำเภาจีน    ที่ผนังตึกมีแผนที่บอกเส้นทางเดินเรือ ค้าขาย มีปุ่มสวิตช์ไฟให้กดดูเส้นทางค้าขายในยุคต่างๆ    เดิมมีตัวอย่างสินค้าตั้งแสดง    แต่เวลานี้หายไปหมดแล้ว    อีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวการติดต่อค้าขาย กับญี่ปุ่น    พื้นที่นี้ ผศ. พลับพลึง คงชนะ เป็นผู้ทำวิจัยและออกแบบ

พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีทางเดินเข้าสู่พื้นที่ คล้ายเดินเข้าปราสาทขอม    แสดงการผสมผสานระหว่างศานาพุทธกับฮินดู    ภายในตั้งแสดงพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา    พื้นที่นี้ทำวิจัยและออกแบบโดย รศ. ดร. ธิดา สาระยา

พื้นที่แสดงชีวิตชาวบ้าน(ชีวิตชาวบ้านไทยในสมัยก่อน) ออกแบบโดย ศ. ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ ดร. ชาคริต ชุ่มวัฒนะ    ก่อนเข้าพื้นที่นี้ มีกำแพงเก่าจำลอง ที่ผนังกำแพงเป็นภาพวาดแสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน     ถัดเข้าไป มีโมเดลพื้นที่วัดและหมู่บ้าน ตั้งเป็นประธานสวยงามมาก    ด้านในสุดเป็นบ้านจำลอง ที่ย่อส่วนให้เข้าอยู่ในอาคารได้    ขึ้นบันไดไปชมได้    ศ. ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ชมว่าเหมือนบ้านไทยโบราณจริงๆ คือบันไดไม่มีราว    คนแก่เดินขึ้นลงต้องหาที่เกาะกันจ้าละหวั่น

ในพื้นที่มีตู้ขนาดเล็ก จัดแสดงโมเดลของพิธีคลอด, โกนจุก, แต่งงาน, และเผาศพ    และมีสมุนไพรต่างๆ ตั้งแสดง    ศ. ฉัตรทิพย์ บอกล่วงหน้าว่า    มี เซ็นเซอร์ ที่เมื่อเดินผ่าน จะมีเสียงเพลงพื้นเมือง    แต่เวลาผ่านไปตั้ง ๒๔ ปี คงจะเสียหมดแล้ว    ปรากฎว่ายังใช้ได้ดีอยู่ ท่านดีใจมาก    และทำให้ผมนึกศรัทธา ว่าเทคโนโลยีญี่ปุ่นทนทานมาก    หรือมิฉนั้นก็เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ฯ ที่คอยซ่อมแซม    แต่เดาว่าน่าจะเป็นประการแรกมากกว่า     เพราะแม้ไฟฟ้าที่ดับไปเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีการซ่อม    ทำให้พื้นที่นี้มืดทึม

ศ. ฉัตรทิพย์ บอกว่า ตอนคิดกัน คุยกันว่าต้องแสดงชีวิตยามยาก หรือลำเค็ญด้วย    จึงมีภาพวาดแสดงชีวิตไพร่  โรคระบาด  และโจรปล้น

เสร็จจากชั้นบนที่เป็นพื้นที่จัดแสดง ที่กินเนื้อที่กว่าพันตารางเมตร    ศ. ฉัตรทิพย์ พาเราไปดูพื้นที่ชั้นล่าง ที่เดิมเผื่อไว้สำหรับเป็นศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด    ซึ่งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ น้ำท่วมขึ้นสูงเกือบเมตร    หนังสือเสียหายหมด    หลังจากนั้นเจ้าชายญี่ปุ่นเสด็จมาเยี่ยม    เวลานี้กำลังก่อสร้างดัดแปลงพื้นที่เป็นศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอยุธยา

ศ. ฉัตรทิพย์ เอาหนังสือ IUDEA : ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพิธีเปิดศูนย์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓ ฉบับถ่ายเอกสาร ไปให้อ่านประกอบ    และมอบให้ผมเลย     เจ้าหน้าที่ของศูนย์บอกว่า มีคนมาถามซื้อบ่อยๆ แต่ไม่มีแล้ว     จริงๆ แล้ว หากอ่านจาก เว็บไซต์มีรายละเอียดดีทีเดียว    เป็นเว็บไซต์ของศูนย์อยุธยาศึกษา มรภ. พระนครศรีอยุธยา     ที่เว็บไซต์มีรูปด้านหน้าของศูนย์ ที่ ศ. ฉัตรทิพย์อธิบายว่า สร้างจำลองแบบป้อมในสมัยโบราณ

เราไปถึงเวลา ๑๑ น.    ดูเสร็จ ๑๓ น.   แล้วไปที่ร้านแพกรุงเก่า กินกุ้งแม่น้ำเผา     ขนมจีนแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา    และผัด สายบัว    อาหารอร่อยทุกอย่าง   คราวนี้ผมลืมถ่ายรูปอาหาร

 

๙ มี.ค. ๕๗

เนื่องจากระบบทำให้ผมไม่สามารถคัดลอกในส่วนที่เป็นรูปภาพมาเผยแพร่ในหน้านี้ได้ หากท่านใด้องการชมภาพประกอบโปรดเข้าไปดูได้ใน like :

http://www.gotoknow.org/posts/565346

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 เมษายน 2014 เวลา 17:09 น.
 

มิตรภาพ ไทย-ลาว

พิมพ์ PDF
8-9 เมษายน 2537 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวภายหลังจากที่ทรงเป็นประธานร่วมกับ ฯพณฯนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาวในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาวที่จังหวัดหนองคาย โดยเป็นการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศครั้งแรกในรอบ 27 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว อันเป็นโครงการในพระราชดำริ ร่วมกับประธานประเทศลาวที่เมืองนาซายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ รวมทั้งทอดพระเนตรโครงการส่งเสริมกิจกรรมโรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าฯ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีด้วย
Like ·  · 
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 23:22 น.
 

หมดเวลาความขัดแย้งของประเทศไทยแล้ว

พิมพ์ PDF

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเยี่ยม จ.พิจิตร

ที่ จ.พิจิตร บ่ายวันนี้ / เวลา ๑๔.๐๐ น. ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ความรู้รักสามัคคีสร้างความปรองดองชาติไทย" แก่หัวหน้าส่วนราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ สมาชิกเหล่ากาชาด ภาค ๙ คณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ณ หอประชุมใหญ่ โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม อ.เมือง จ.พิจิตร 

ม.ล. ปนัดดา กล่าวตอนหนึ่งว่า หมดเวลาความขัดแย้งของประเทศไทยแล้ว ถือเป็นห้วงเวลาที่ผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ ทำให้ไทยล้าหลัง ผู้คนแตกแยกเพราะระบบการเมืองที่ขาดระบบแบบแผนและไม่ยึดหลักธรรมาภิบาลตามที่ต่างเคยถวายคำสัตย์ปฏิญาณและให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาชน ทำให้สังคมเกิดความเห็นแก่ตัว ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย ทั้งที่ในอดีตบ้านเมืองไทยเป็นแบบอย่างทางตรรกะแห่งความเป็นอารยประเทศ คนไทยเป็นชนชาติที่เปี่ยมด้วยไมตรีจิตและจริงใจ

เราคนไทยทุกคนต้องหันกลับมามองย้อนสู่อดีตแห่งความภาคภูมิใจและเดินไปข้างหน้าเพื่อดำรงรักษาชาติประเทศที่มีความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ลูกหลาน ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันเสริมสร้างแบบอย่างที่สร้างสรรค์ ต้องไม่ลืมว่า "เราทุกคนรักจังหวัดของเราได้ รักภาคของเราได้ แต่เราต้องรักประเทศไทยยิ่งกว่า" ไม่ใช่ให้ปัญหาทางการเมืองที่ขาดจรรยาบรรณมาแบ่งแยกพี่น้องคนไทยออกจากกัน ม.ล. ปนัดดา กล่าว

๑๘ มิ.ย. ๕๗ / OPMT 26

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2014 เวลา 18:14 น.
 

พระพุทธเจ้า ต้นแบบแห่ง innovator

พิมพ์ PDF

พระพุทธเจ้า ต้นแบบแห่ง innovator

ในยุคปฎิวัติดิจิตอลทุกวันนี้ ผู้นำทางเทคโนโลยี และ innovator อย่างสตีฟ จอบส์, บิลล์ เกตส์, แลรี่ เพจ, มาร์ค ซัคเคอร์เบอร์ก, อีลอน มัสก์ ต่างก็ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก เนื่องจากเป็นผู้พัฒนาและนำเสนอเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เพิ่มศักยภาพให้ผู้คนและแก้ปัญหาสำคัญต่างๆของโลก และมีบทบาทที่เรียกได้ว่ากลบบทบาทของผู้นำทางการเมืองทั่วโลก คนรุ่นใหม่จำนวนมากถือเอาคนเหล่านี้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

แต่เรื่องราวของคนเหล่านี้ก็ถูกถ่ายทอดจากสื่อต่างๆโดยเน้นในเรื่องทรัพย์สินและชื่อเสียงที่เขาได้รับแทนที่จะเน้นในเรื่องคุณประโยชน์ที่คนเหล่านี้ทำเพื่อโลก ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่ต้องการต้นแบบของ innovator ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายต่อโลก โดยไม่ถูกกลบด้วยทรัพย์สิน เงินทอง และชื่อเสียง มิเช่นนั้นคนรุ่นใหม่เก่งๆของเราก็จะมุ่งทำเพื่อสิ่งภายนอกเหล่านั้นแทนที่จะทำเพื่อส่วนรวมและสังคมเราก็จะไม่มีโอกาสที่จะดีขึ้นเสียที

คนต้นแบบ innovator และ entrepreneur ในใจของผมเสมอมาก็คือพระพุทธเจ้า ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ทุกคนคงยอมรับในความดีความประเสริฐของท่าน แต่ข้อเสียคือเรามักจะเอาท่านไว้บนหิ้งบูชา เป็นบุคคลสูงส่งที่เราไม่อาจเอื้อมเอาเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ วันนี้ผมจะนำประวัติของท่านมาเล่าในฐานะของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ได้ค้นพบสิ่งล้ำค้าซึ่งได้สร้างประโยชน์ต่อคนทั้งโลกมาจนถึงทุกวันนี้ และมีเส้นทางชีวิตที่เป็นต้นแบบของ innovator ที่ทุกคนควรถือเป็นเยี่ยงอย่างในการดำเนินชีวิต แทนที่จะเก็บไว้บนหิ้งบูชา

ในยุคพุทธกาลนั่นมีกระแสตื่นตัวเหมือนกับที่ทุกวันนี้มีกระแสตื่นตัว startup แต่ในยุคนั้น (เรียกว่า axial age) ตื่นตัวกันเรื่องหาสัจธรรม spiritual truth เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทั้งในตะวันออกกลาง (อิสราเอล อิหร่าน) อินเดีย และ จีน แต่เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีสื่อสารอย่างทุกวันนี้ก็เลยต่างคนต่างก็ค้นหากันไปอิสระในอู่อารยธรรม 4 แห่งนี้

ในอินเดียคนก็ตื่นตัวกันมาก คนเบื่อสังคมเดิมๆที่ดูไม่มีแก่นสารก็ออกจากสังคมเดิมๆออกมาเป็นฤาษี ชีพราหมณ์ มาตั้งแคมป์กันฝึกโยคะ นั่งสมาธิ คนหาความจริงสูงสุดของชีวิต คล้ายๆ co-working space ในสมัยนี้ ฤาษีแบ่งกันใช้อาศรม แลกเปลี่ยนความรู้ไอเดียกันเพื่อไปให้ถึงฝัน ฝึกโยคะกันอย่างขมีขมัน

เจ้าชายสิทธัตถะ (ต่อไปขอเรียกสั้นๆว่าสิทธัตถะ) พ่อเลี้ยงดูอย่างดีปรนเปรอไม่อยากให้ออกบวชตามคำทำนายของพราหมณ์ แต่ก็มี angel (อันนี้ angel จริงๆคือเทวดา) ที่มาดลบันดาลใจ ไม่ได้ให้เงินแบบ angel investor แต่ให้แรงบันดาลใจเสกให้เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย กระตุ้นให้สิทธัตถะออกหาความจริง

ตอนสิตธัตถะออกบวชถึงขั้นต้องขัดใจพ่อ และหนีภรรยากับลูกมา ลำบากใจกว่าคนที่ลาออกจากงานมาเป็น entrepreneur หลายเท่า เริ่มแรกก็ไปฝึกวิทยายุทธขั้นพื้นฐานกับรุ่นพี่ก่อนคือ อุทกดาบส กับ อาฬารดาบส เรียนรู้พื้นฐานโยคะ วิปัสนาต่างๆ (เหมือนหลายๆคนที่เรียนรู้พื้นฐานการทำธุรกิจและเทคโนโลยีจากที่ทำงานก่อน) จนรุ่นพี่บอกสอนหมดพุงแล้วที่เหลือต้องไปค้นหาเอาเอง (ค้นได้อย่าลืมกลับมาบอกพี่ๆด้วย)

ท่านก็เริ่มเดินไปด้วยตัวเอง bootstrap จากสิ่งที่ได้เรียนรู้มา เริ่ม recruit ทีมงานเข้ามาร่วมเดินไปตามฝัน (ปัญจวัคคีย์ — จริงๆท่านไม่ได้ recruit แต่ปัญจวัคคีย์ขอเข้ามาร่วมกับท่านเอง) เพียรทำทุกรกิริยาซึ่งทุกคนเชื่อว่าเป็นวิถีที่ถูกต้องเพื่อให้บรรลุความจริง

เมื่อไปนานวันเข้าท่านก็เห็นว่าไม่น่าจะเป็นหนทางที่ถูก ท่านก็ pivot เลิกทำทุกรกิริยา พอ pivot ปั๊บลูกน้องก็เสื่อมศรัทธาปุ๊บตีจากท่านไป (innovator บางท่านต้อง pivot แล้วลูกน้องเซ็ง บ่น ก็ขอให้คิดว่าขนาดพระพุทธเจ้ายังเจอเลย ไม่เป็นไร เรื่องธรรมดา) ท่านก็ไม่ว่าอะไรเดินหน้าหาความจริงต่อไปตามลำพัง

ด้วยความตั้งใจอย่างสูงและภูมิปัญญาอันสูงส่งท่านก็ได้ค้นพบสัจจธรรม ซึ่งอาจจะเทียบได้กับการ achieve product market fit (เจ้าชายก็มาเป็นพระพุทธเจ้าณ จุดนี้เอง) คือค้นหาสิ่งที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ได้ แต่พอค้นพบก็เริ่มเห็นปัญหาความยากของธรรมะนั้นสูงเหลือเกิน จะมีใครฟังรู้เรื่องจริงหรือ (product มันดีแต่จะอธิบายให้คนเข้าใจและซื้อได้ยังไง)

คิดไปๆท่านก็ได้แนวคิดที่คล้ายๆ diffusion of innovation theory คือหลักการบัว 4 เหล่าที่เรารู้จักกัน (ประมาณเดียวกับการแบ่งลูกค้าเป็น innovator, early adopter, etc…) ทำให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะ innovate เรื่องธรรมะแต่ต้องเลือกลำดับในการ convert ให้ถูกและควรจะ focus กับคนที่พร้อมจะรับ innovation นี้ที่สุดก่อน และคนที่พร้อมลำดับถัดไป ตามลำดับ

กลับไปหารุ่นพี่ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่ม innovator ที่สุดแล้ว กะว่าจะนำธรรมะไปสอนปรากฎว่าเสียชีวิตไปแล้วทั้งสองคน จึงเดินทางไปหาลูกน้องเก่าปัญจวัคคีย์ผู้ซึ่งเป็นกลุ่ม innovator เหมือนกันคือค้นหาความจริงอยู่แล้ว พอเล่าให้ฟังแป๊บเดียวก็เข้าใจและขอบวช (ในรูปแบบนี้เทียบได้กับทั้ง convert ลูกค้า และ convert recruits ในจังหวะเดียวกัน เพราะสาวกทั้งรับเอาหลักธรรมไป = ซื้อ product และเข้ามาร่วมหมู่สงฆ์ = เข้ามา join team)

หลังจากปัญจวัคคีย์ กลุ่มถัดมาเป็น early adopter คือไม่ได้ออกบวชแต่เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายในโลก ก็คือยสะกุลบุตร 55 คน และภัททวัคคีย์ 30 คน เป็นลูกเศรษฐีกันทั้งสองกลุ่ม และก็เสพกามกันมาจนอิ่มเอียน หลังจากที่ convert สองกลุ่มนี้แล้วท่านก็ได้ convert พระอรหันต์รวมกันทั้งหมดถึง 90 องค์ ภายในเวลาสั้นๆ ท่านก็สั่งให้ทั้งหมดไปแผยแผ่ธรรมะ ให้เกิดเป็น viral campaign กระจายตัวออกไป

ขั้นต่อไปท่าน convert ชฎิล 3 พี่น้องซึ่งมีสาวกรวมกันถึง 1,000 คน ขั้นนี้ท่านต้องออกแรงเหนื่อยหน่อย ทั้งแสดงอิทธิฤทธิ์ (demo day) ทั้งแสดงธรรม (pitching) แต่ก็คุ้มมากๆเพราะชฎิล 3 พี่น้องนี้เป็นที่นับถือของคนเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ convert ชฎิล 3 พี่น้องและสาวกได้สำเร็จเหมือนเป็นการ cross the chasm เกิดการ reference บอกต่อจากชฎิลไปยังชาวเมืองราชคฤห์ (early majority) หลังจากนั้นไม่นานก็สามารถ convert คนทั้งเมืองได้ตามมาเป็นลำดับ

นอกจากนี้ที่เมืองนี้ท่านยังได้ venture capital รายแรกเข้ามาสนับสนุนคือพระเจ้าพิมพิสารบริจาคสวนเวฬุวันให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาคือวัดเวฬุวัน เป็น Headquarter แห่งแรกของพุทธศาสนา

ก่อนที่ท่านจะขยายพุทธศาสนาต่อได้มีการประชุม All-hand meeting เหล่าอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชา ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งโดยเนื้อหาถ้าเข้าไปดูรายละเอียดนั้นก็คือ Mission Vision statement บวกกับ Principle และ Standard Operating Procedure ของศาสนาพุทธและเหล่าสงฆ์เพื่อให้วัฒนธรรมองค์กรมีความชัดเจนและเข้มแข็ง

ในที่ประชุมเดียวกันท่านยังได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรให้ชัดเจน มีพระสารีบุตรเป็นมือขวาเปรียบได้กับ COO คือคนที่เทศนาได้เทียบชั้นกับพระพุทธเจ้า และพระโมคคัลลานะเป็นมือซ้ายคอยสนับสนุน หลังจากนั้นพุทธศาสนาก็เจริญมาตามลำดับจนถึงทุกวันนี้ ผลงานของท่านคือหลักธรรมนี้เป็นที่ยอมรับจากคนทั่วทุกมุมโลกไม่เว้นคนต่างชาติต่างศาสนา

จนถึงวันนี้องค์กรที่ท่านได้ก่อตั้งถึงจะมีเสื่อมถอยไปตามกาลเวลาแต่ก็นับได้ว่าเป็นองค์กรที่มีอายุยืนนานที่สุดมากกว่า 2,500 ปี เป็นองค์กรที่ตั้งมั่นแต่จะทำสิ่งดีเพื่อมนุษยชาติโดยไม่เลือกเพศ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยากจะหาใครเทียบได้ทั้งในอดีต แม้ผู้นำทางเทคโนโลยีที่เป็นที่ชื่นชมจากคนทั่วโลกในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จเทียบกับท่านได้เลยจริงๆ

ถ้าดูตามนี้เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เป็นเทวดายอดมนุษย์ที่จะเสกอะไรให้เกิดขึ้นก็ได้ตามใจ แต่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ใช้สติปัญญาพิจารณาหาวิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมาย ใช้ทั้งกลยุทธ์ กุศโลบาย และการบริหารจัดการ เหมือนกับ innovator ที่จะต้องใช้ความคิดพิจารณาว่าจะหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะผลักดันองค์กรให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าและ stakeholder อื่นๆสูงสุด

ผมหวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านได้ศึกษาชีวิตท่านเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการทำงานและใช้ชีวิต อย่าเพียงเก็บท่านไว้บนหิ้งไหว้บูชากันไปเพียงนั้นแต่เอาประวัติท่านมาเป็นแบบอย่างและกำลังใจในการทำงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้มนุษยชาติกันอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อทรัพย์สิน เงินทอง และชื่อเสียงที่ตัวเองจะได้เป็นหลัก แต่มุ่งประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับเป็นสำคัญ

Credit: Dr.Jay (https://drjaysayhi.com/2016/04/18/buddha-innovator/

)


แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 02 พฤษภาคม 2016 เวลา 11:18 น.
 


หน้า 552 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3056
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8646974

facebook

Twitter


บทความเก่า