ความสุข ความเจริญ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

วันพฤหัสบดีที่ 04 มีนาคม 2021 เวลา 17:26 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ประชาสัมพันธ์ - ประชาสัมพันธ์
พิมพ์

ความสุขความเจริญกับทรัพย์สินทางปัญญาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 โดย พันเอกชาติวัฒน์ คงอุทัยสกุล

บทคัดย่อ (บทนำ)

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอดีตพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้ทรงครองราชย์มานานที่สุดกว่าพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใดในประวัติศาสตร์และได้ทรงยึดถือพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขมหาชนชาวสยาม” เป็นหลักชัยในการทรงงานตลอดระยะเวลาที่ทรงทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ไทยได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แบบซึ่งถือได้ว่าเป็นความโชคดีที่สุดของ ประชาชนชาวไทยในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมาจากการที่พระองค์ได้ทรง ทำหน้าที่พระมหากษัตริย์ไทยอย่างเต็มกำลังนั้น ได้เกิดองค์ความรู้ เกิดปรัชญา และเกิดแนวทางสำคัญและเป็นประโยขน์ต่อประเทศไทย ต่อคนไทยและชาวโลกอย่างมากมายโดยเฉพาะหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) โดยเฉพาะการรับมือกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันซึ่งเป็นสงครามเศรษฐกิจ โลก จึงถือได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่พระองค์ทรงกระทำมา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาทั้งหมดหากนำมารวบรวม นำมาวิเคราะห์ นำมาพิจารณา นำมาไตร่ตรองและนำมาสังเคราะห์ให้เป็นหลักการ เป็นแนวคิด เป็นแนวปฏิบัติอย่างสอดคล้องจนเกิดเป็นนวัตกรรมการจัดการและบริหารที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้ประโยขน์ในการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสงครามเศรษฐกิจโลกได้นั้้นก็จะถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับคนไทยและมนุษยชาติที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้และที่สำคัญกว่านั้นคือการได้สนองพระปฐมบรมราชโองการของรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า "เราจะสืบสานรักษาและต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" ซึ่งเป็นการเทิดพระเกียรติอย่างสูงสุด ให้สมกับความเสียสละ ความทุ่มเทของพระองค์ท่านที่ได้ทรงงานอย่างหนักเพื่อคนไทยมาตลอดเวลา ๗๐ปีครองราชย์ที่ผ่านมาซึ่งจะเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของโลกที่ได้เคยมีองค์พระมหากษัตริย์ที่เป็นพระอริยะที่ได้พระราชทานความรู้ ความเข้าใจที่สำคัญให้แก่มนุษยชาติในการดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีและความเป็นปกติสุขอย่างยั่งยืน

          เพื่อให้การเทิดพระเกียรติอย่างสูงสุดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยและเกิดเป็นมรรคผลต่อมนุษยชาติ เราคนไทยทุกคนควรร่วมกัน สร้างทรัพย์สินทางปัญญาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ด้วยการนำองค์ความรู้ หลักการทรงงานและผลงานต่างๆของพระองค์ท่านมาสร้างเป็นลายแทง ขุมทรัพย์สำคัญของโลกเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตที่เป็นปกติสุขของมนุษยชาติ ที่เรียกว่า “การสร้างความสุข ความเจริญ”

          สถานการณ์โลกในปัจจุบัน (๒๕๖๓) โลกและประเทศไทยประสบวิกฤตการณ์สำคัญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส ๑๙ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและ เศรษฐกิจอย่างสาหัสในรอบกว่าศตวรรษที่ผ่านมาทำให้มนุษยชาติและคนไทยสูญเสียการดำรงชีวิตที่เป็นปกติ  ตกงาน ขาดรายได้ สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ธุรกิจล้มละลาย ฆ่าตัวตายและมีความหวาดผวาเสียขวัญ ไม่สามารถการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่จะนำมาซึ่งการพึ่งพาตนเองได้เป็นปกติ รัฐบาลแต่ละประเทศต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการเยียวยาและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ได้รับผลกระทบในด้านต่างๆในเบื้องต้นและจะต้องใช้เวลาอีกนานในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดจากผลกระทบของการแพร่ระบาด rolex ρεπλίκα แม้กระทั่งเลชาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้โดยสรุปสาระสำคัญว่า เราอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๑๐ ปีที่เราจะฟื้นจากผลกระทบจาก สถานการณ ์การแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส ๑๙ นี้ และผลกระทบนี้มิได้กระทบแต่เรื่องสุขภาพ ของมนุษยชาติแต่มีผลกระทบต่อ เศรษฐกิจและความยากจนของทุกประเทศบนโลกนี้ โดยเฉพาะประเทศ กำลังพัฒนา ที่จะต้องเลือกระหว่างการนำเงินไปจ่ายค่าวัคซีน หรือไปจ่ายหนี้สาธารณะก่อนและวัคซีนไม่ใช่คำตอบเดียวในการแก้ไข ปัญหานี้ จากสถานการณ์สำคัญดังกล่าวนี้ เราจะเห็นได้ว่าหากมนุษยชาติและ คนไทยมีภูมิคุ้มกันเพียงพอเราจะรับมือและอยู่กับเชื้อไวรัสนี้ได้เป็นปกติ ซึ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นภูมิปัญญาและเครื่องมือสำคัญใน การแก้ไขปัญหาของสถานการณ์โลกและประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ทรงพระราชทานนี้มีวัตถุประสงค์ สำคัญคือ “การสร้างภูมิคุ้มกัน” ซึ่งผมขอแบ่งเป็น 9 ด้านดังนี้

 ๑. ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ๒.ภูมิคุ้มกันทางสังคม ๓.ภูมิคุ้มกันทางสิ่งแวดล้อม ๔.ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม

 ๕.ภูมิคุ้มกันทางปัญญา ๖.ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ๗.ภูมิคุ้มกันทางสุขภาพ ๘.ภูมิคุ้มกันทางครอบครัว ๙.ภูมิคุ้มกันของชาติ 

ซึ่งหากมนุษยชาติและคนไทยได้เรียนรู้และศึกษาการสร้างภูมิคุ้มกันทั้ง ๙ ด้านนี้ เราทุกคนก็จะมีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ต่อการรับมือต่อ การเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบซึ่งนั่นคือความเป็นปกติสุขที่มนุษยชาติทุกคน ต้องการสูงสุด หากแต่การสร้างบทเรียนและหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันน้ั้น คนไทยและมนุษยชาติควรร่วมกันศึกษาและพัฒนาให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและนำมาปฏิบัติได้จริง มีผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้จริงย่อมเป็นทางออก ในการสร้างความสุขความเจริญให้แก่มนุษยชาติและคนรุ่นหลัง ที่สำคัญกว่านั้นคือ การสร้างองค์ความรู้นี้เป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญา ถวายพระบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ρολόγια αντίγραφο มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะเป็นผู้เริ่มต้นการสร้างปรัชญาสำคัญนี้และพระราชทานแก่คนไทย และมนุษยชาติได้มีและเป็นภูมิปัญญาสำคัญของโลกต่อไป ซึ่งกระผมจะขออธิบายการสร้างภูมิคุ้มกันทั้ง ๙ ด้านด้วยหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในบทต่อไป

บทที่ ๑ ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ

บทที่ ๒ ภูมิคุ้มกันทางสังคม

บทที่ ๓ ภูมิคุ้มกันทางสิ่งแวดล้อม

บทที่ ๔ ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม

บทที่ ๕ ภูมิคุ้มกันทางปัญญา

บทที่ ๖ ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

บทที่ ๗ ภูมิคุ้มกันทางสุขภาพ

บทที่ ๘ ภูมิคุ้มกันทางครอบครัว

บทที่ ๙ ภูมิคุ้มกันของชาติ