พระพุทธเจ้า ต้นแบบแห่ง innovator

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 1999 เวลา 07:00 น. พุฒิเชษฐื ภูริพงษ์ธนเจริญ บทความ - พัฒนาทุนมนุษย์
พิมพ์

พระพุทธเจ้า ต้นแบบแห่ง innovator

ในยุคปฎิวัติดิจิตอลทุกวันนี้ ผู้นำทางเทคโนโลยี และ innovator อย่างสตีฟ จอบส์, บิลล์ เกตส์, แลรี่ เพจ, มาร์ค ซัคเคอร์เบอร์ก, อีลอน มัสก์ ต่างก็ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก เนื่องจากเป็นผู้พัฒนาและนำเสนอเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เพิ่มศักยภาพให้ผู้คนและแก้ปัญหาสำคัญต่างๆของโลก และมีบทบาทที่เรียกได้ว่ากลบบทบาทของผู้นำทางการเมืองทั่วโลก คนรุ่นใหม่จำนวนมากถือเอาคนเหล่านี้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

แต่เรื่องราวของคนเหล่านี้ก็ถูกถ่ายทอดจากสื่อต่างๆโดยเน้นในเรื่องทรัพย์สินและชื่อเสียงที่เขาได้รับแทนที่จะเน้นในเรื่องคุณประโยชน์ที่คนเหล่านี้ทำเพื่อโลก ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่ต้องการต้นแบบของ innovator ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายต่อโลก โดยไม่ถูกกลบด้วยทรัพย์สิน เงินทอง และชื่อเสียง มิเช่นนั้นคนรุ่นใหม่เก่งๆของเราก็จะมุ่งทำเพื่อสิ่งภายนอกเหล่านั้นแทนที่จะทำเพื่อส่วนรวมและสังคมเราก็จะไม่มีโอกาสที่จะดีขึ้นเสียที

คนต้นแบบ innovator และ entrepreneur ในใจของผมเสมอมาก็คือพระพุทธเจ้า ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ทุกคนคงยอมรับในความดีความประเสริฐของท่าน แต่ข้อเสียคือเรามักจะเอาท่านไว้บนหิ้งบูชา เป็นบุคคลสูงส่งที่เราไม่อาจเอื้อมเอาเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ วันนี้ผมจะนำประวัติของท่านมาเล่าในฐานะของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ได้ค้นพบสิ่งล้ำค้าซึ่งได้สร้างประโยชน์ต่อคนทั้งโลกมาจนถึงทุกวันนี้ และมีเส้นทางชีวิตที่เป็นต้นแบบของ innovator ที่ทุกคนควรถือเป็นเยี่ยงอย่างในการดำเนินชีวิต แทนที่จะเก็บไว้บนหิ้งบูชา

ในยุคพุทธกาลนั่นมีกระแสตื่นตัวเหมือนกับที่ทุกวันนี้มีกระแสตื่นตัว startup แต่ในยุคนั้น (เรียกว่า axial age) ตื่นตัวกันเรื่องหาสัจธรรม spiritual truth เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทั้งในตะวันออกกลาง (อิสราเอล อิหร่าน) อินเดีย และ จีน แต่เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีสื่อสารอย่างทุกวันนี้ก็เลยต่างคนต่างก็ค้นหากันไปอิสระในอู่อารยธรรม 4 แห่งนี้

ในอินเดียคนก็ตื่นตัวกันมาก คนเบื่อสังคมเดิมๆที่ดูไม่มีแก่นสารก็ออกจากสังคมเดิมๆออกมาเป็นฤาษี ชีพราหมณ์ มาตั้งแคมป์กันฝึกโยคะ นั่งสมาธิ คนหาความจริงสูงสุดของชีวิต คล้ายๆ co-working space ในสมัยนี้ ฤาษีแบ่งกันใช้อาศรม แลกเปลี่ยนความรู้ไอเดียกันเพื่อไปให้ถึงฝัน ฝึกโยคะกันอย่างขมีขมัน

เจ้าชายสิทธัตถะ (ต่อไปขอเรียกสั้นๆว่าสิทธัตถะ) พ่อเลี้ยงดูอย่างดีปรนเปรอไม่อยากให้ออกบวชตามคำทำนายของพราหมณ์ แต่ก็มี angel (อันนี้ angel จริงๆคือเทวดา) ที่มาดลบันดาลใจ ไม่ได้ให้เงินแบบ angel investor แต่ให้แรงบันดาลใจเสกให้เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย กระตุ้นให้สิทธัตถะออกหาความจริง

ตอนสิตธัตถะออกบวชถึงขั้นต้องขัดใจพ่อ และหนีภรรยากับลูกมา ลำบากใจกว่าคนที่ลาออกจากงานมาเป็น entrepreneur หลายเท่า เริ่มแรกก็ไปฝึกวิทยายุทธขั้นพื้นฐานกับรุ่นพี่ก่อนคือ อุทกดาบส กับ อาฬารดาบส เรียนรู้พื้นฐานโยคะ วิปัสนาต่างๆ (เหมือนหลายๆคนที่เรียนรู้พื้นฐานการทำธุรกิจและเทคโนโลยีจากที่ทำงานก่อน) จนรุ่นพี่บอกสอนหมดพุงแล้วที่เหลือต้องไปค้นหาเอาเอง (ค้นได้อย่าลืมกลับมาบอกพี่ๆด้วย)

ท่านก็เริ่มเดินไปด้วยตัวเอง bootstrap จากสิ่งที่ได้เรียนรู้มา เริ่ม recruit ทีมงานเข้ามาร่วมเดินไปตามฝัน (ปัญจวัคคีย์ — จริงๆท่านไม่ได้ recruit แต่ปัญจวัคคีย์ขอเข้ามาร่วมกับท่านเอง) เพียรทำทุกรกิริยาซึ่งทุกคนเชื่อว่าเป็นวิถีที่ถูกต้องเพื่อให้บรรลุความจริง

เมื่อไปนานวันเข้าท่านก็เห็นว่าไม่น่าจะเป็นหนทางที่ถูก ท่านก็ pivot เลิกทำทุกรกิริยา พอ pivot ปั๊บลูกน้องก็เสื่อมศรัทธาปุ๊บตีจากท่านไป (innovator บางท่านต้อง pivot แล้วลูกน้องเซ็ง บ่น ก็ขอให้คิดว่าขนาดพระพุทธเจ้ายังเจอเลย ไม่เป็นไร เรื่องธรรมดา) ท่านก็ไม่ว่าอะไรเดินหน้าหาความจริงต่อไปตามลำพัง

ด้วยความตั้งใจอย่างสูงและภูมิปัญญาอันสูงส่งท่านก็ได้ค้นพบสัจจธรรม ซึ่งอาจจะเทียบได้กับการ achieve product market fit (เจ้าชายก็มาเป็นพระพุทธเจ้าณ จุดนี้เอง) คือค้นหาสิ่งที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ได้ แต่พอค้นพบก็เริ่มเห็นปัญหาความยากของธรรมะนั้นสูงเหลือเกิน จะมีใครฟังรู้เรื่องจริงหรือ (product มันดีแต่จะอธิบายให้คนเข้าใจและซื้อได้ยังไง)

คิดไปๆท่านก็ได้แนวคิดที่คล้ายๆ diffusion of innovation theory คือหลักการบัว 4 เหล่าที่เรารู้จักกัน (ประมาณเดียวกับการแบ่งลูกค้าเป็น innovator, early adopter, etc…) ทำให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะ innovate เรื่องธรรมะแต่ต้องเลือกลำดับในการ convert ให้ถูกและควรจะ focus กับคนที่พร้อมจะรับ innovation นี้ที่สุดก่อน และคนที่พร้อมลำดับถัดไป ตามลำดับ

กลับไปหารุ่นพี่ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่ม innovator ที่สุดแล้ว กะว่าจะนำธรรมะไปสอนปรากฎว่าเสียชีวิตไปแล้วทั้งสองคน จึงเดินทางไปหาลูกน้องเก่าปัญจวัคคีย์ผู้ซึ่งเป็นกลุ่ม innovator เหมือนกันคือค้นหาความจริงอยู่แล้ว พอเล่าให้ฟังแป๊บเดียวก็เข้าใจและขอบวช (ในรูปแบบนี้เทียบได้กับทั้ง convert ลูกค้า และ convert recruits ในจังหวะเดียวกัน เพราะสาวกทั้งรับเอาหลักธรรมไป = ซื้อ product และเข้ามาร่วมหมู่สงฆ์ = เข้ามา join team)

หลังจากปัญจวัคคีย์ กลุ่มถัดมาเป็น early adopter คือไม่ได้ออกบวชแต่เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายในโลก ก็คือยสะกุลบุตร 55 คน และภัททวัคคีย์ 30 คน เป็นลูกเศรษฐีกันทั้งสองกลุ่ม และก็เสพกามกันมาจนอิ่มเอียน หลังจากที่ convert สองกลุ่มนี้แล้วท่านก็ได้ convert พระอรหันต์รวมกันทั้งหมดถึง 90 องค์ ภายในเวลาสั้นๆ ท่านก็สั่งให้ทั้งหมดไปแผยแผ่ธรรมะ ให้เกิดเป็น viral campaign กระจายตัวออกไป

ขั้นต่อไปท่าน convert ชฎิล 3 พี่น้องซึ่งมีสาวกรวมกันถึง 1,000 คน ขั้นนี้ท่านต้องออกแรงเหนื่อยหน่อย ทั้งแสดงอิทธิฤทธิ์ (demo day) ทั้งแสดงธรรม (pitching) แต่ก็คุ้มมากๆเพราะชฎิล 3 พี่น้องนี้เป็นที่นับถือของคนเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ convert ชฎิล 3 พี่น้องและสาวกได้สำเร็จเหมือนเป็นการ cross the chasm เกิดการ reference บอกต่อจากชฎิลไปยังชาวเมืองราชคฤห์ (early majority) หลังจากนั้นไม่นานก็สามารถ convert คนทั้งเมืองได้ตามมาเป็นลำดับ

นอกจากนี้ที่เมืองนี้ท่านยังได้ venture capital รายแรกเข้ามาสนับสนุนคือพระเจ้าพิมพิสารบริจาคสวนเวฬุวันให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาคือวัดเวฬุวัน เป็น Headquarter แห่งแรกของพุทธศาสนา

ก่อนที่ท่านจะขยายพุทธศาสนาต่อได้มีการประชุม All-hand meeting เหล่าอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชา ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งโดยเนื้อหาถ้าเข้าไปดูรายละเอียดนั้นก็คือ Mission Vision statement บวกกับ Principle และ Standard Operating Procedure ของศาสนาพุทธและเหล่าสงฆ์เพื่อให้วัฒนธรรมองค์กรมีความชัดเจนและเข้มแข็ง

ในที่ประชุมเดียวกันท่านยังได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรให้ชัดเจน มีพระสารีบุตรเป็นมือขวาเปรียบได้กับ COO คือคนที่เทศนาได้เทียบชั้นกับพระพุทธเจ้า และพระโมคคัลลานะเป็นมือซ้ายคอยสนับสนุน หลังจากนั้นพุทธศาสนาก็เจริญมาตามลำดับจนถึงทุกวันนี้ ผลงานของท่านคือหลักธรรมนี้เป็นที่ยอมรับจากคนทั่วทุกมุมโลกไม่เว้นคนต่างชาติต่างศาสนา

จนถึงวันนี้องค์กรที่ท่านได้ก่อตั้งถึงจะมีเสื่อมถอยไปตามกาลเวลาแต่ก็นับได้ว่าเป็นองค์กรที่มีอายุยืนนานที่สุดมากกว่า 2,500 ปี เป็นองค์กรที่ตั้งมั่นแต่จะทำสิ่งดีเพื่อมนุษยชาติโดยไม่เลือกเพศ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยากจะหาใครเทียบได้ทั้งในอดีต แม้ผู้นำทางเทคโนโลยีที่เป็นที่ชื่นชมจากคนทั่วโลกในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จเทียบกับท่านได้เลยจริงๆ

ถ้าดูตามนี้เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เป็นเทวดายอดมนุษย์ที่จะเสกอะไรให้เกิดขึ้นก็ได้ตามใจ แต่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ใช้สติปัญญาพิจารณาหาวิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมาย ใช้ทั้งกลยุทธ์ กุศโลบาย และการบริหารจัดการ เหมือนกับ innovator ที่จะต้องใช้ความคิดพิจารณาว่าจะหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะผลักดันองค์กรให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าและ stakeholder อื่นๆสูงสุด

ผมหวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านได้ศึกษาชีวิตท่านเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการทำงานและใช้ชีวิต อย่าเพียงเก็บท่านไว้บนหิ้งไหว้บูชากันไปเพียงนั้นแต่เอาประวัติท่านมาเป็นแบบอย่างและกำลังใจในการทำงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้มนุษยชาติกันอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อทรัพย์สิน เงินทอง และชื่อเสียงที่ตัวเองจะได้เป็นหลัก แต่มุ่งประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับเป็นสำคัญ

Credit: Dr.Jay (https://drjaysayhi.com/2016/04/18/buddha-innovator/

)


แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 02 พฤษภาคม 2016 เวลา 11:18 น.